นันทิขยสูตร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย vilawan, 16 มีนาคม 2010.

  1. vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    นันทิขยวรรคที่ ๑
    นันทิขยสูตรที่ ๑
    [๒๔๕]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง
    ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ
    เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน และราคะ
    เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ
    ภิกษุเห็นใจอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง
    ความเห็นของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ
    เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ
    เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๑






    </PRE>

    นันทิขยสูตรที่ ๒
    [๒๔๖]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง
    ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ
    เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ
    เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว
    ภิกษุเห็น เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
    อันไม่เที่ยงนั่นแลว่าไม่เที่ยง
    ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ
    เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ
    เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๒






    </PRE>

    นันทิขยสูตรที่ ๓
    [๒๔๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุ
    โดยอุบายอันแยบคายและจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
    แห่งจักษุตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายอันแยบคาย
    และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ
    เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ
    เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย
    และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง
    เมื่อใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย
    และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ
    เราจึงเรียกว่าจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๓






    </PRE>

    นันทิขยสูตรที่ ๔
    [๒๔๘]ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูป
    โดยอุบายอันแยบคายและจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป
    ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย
    และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะจึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ
    เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ
    เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย
    และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง
    เมื่อใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย
    และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์
    ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ
    เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน
    เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ
    เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๔
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.898132/[/MUSIC]





    </PRE>

    <O:p</O:p<O:p</O:p






    </PRE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 181.mp3
      ขนาดไฟล์:
      297.4 KB
      เปิดดู:
      155
    • 182.mp3
      ขนาดไฟล์:
      314 KB
      เปิดดู:
      127
    • 183.mp3
      ขนาดไฟล์:
      392.9 KB
      เปิดดู:
      172
    • 184.mp3
      ขนาดไฟล์:
      399.4 KB
      เปิดดู:
      95
    • นันทิขยสูตร.txt
      ขนาดไฟล์:
      487 bytes
      เปิดดู:
      113
  2. บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ย่อมเบื่อหน่ายธรรมารมณ์






    อนุโมทนา สาธุการค่ะ
     
  3. ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731

แชร์หน้านี้