นั่งสมาธิแล้ว ลมหายใจแผ่วลงๆ จนรับรู้ไม่ได้ว่ามีลม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย saxford, 31 กรกฎาคม 2013.

  1. saxford

    saxford Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +78
    สวัสดีคับ ขอเข้าเรื่องเลยนะครับ ผมนั่งสมาธิแล้วประสบกับสภาวะดังนี้ครับ

    นั่งสมาธิไป จนลมหายใจแผ่วลงๆ มากจนลมหายใจหายไป ในขณะเกือบไม่มีลมหายใจนั้น กลับมีสภาวะฟุ้งซ่านเกิดขึ้น

    เอาจิตไปจับคำภาวนาก็ไม่ได้เพราะจับแปปเดียวมันก็ปล่อยอีก เอาไปจับลิ้นปี่ก็ไม่ได้เพราะมันไม่พองไม่ยุบแล้ว เอาไปจับปลายจมูกก้ไม่ได้เพราะแทบไม่รู้สึกถึงลม

    แล้วแบบนี้พอลมหายใจผมหายไป ผมควรจะเอาจิตไปจับกับอะไรครับ

    รายละเอียดการนั่งสมาธิ

    นั่งแบบ ดูลมหายใจเข้าออก คำภาวนาคือพุทโธ สมถะกรรมฐาน
     
  2. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    อันที่จริง หากสงบจริง ไม่มีลมหายใจแล้ว จิตรู้ว่าไม่มีลมหายใจ ก็รู้อยู่อย่างนั้นแหละครับ
    พอเอะใจ มันไปหมายมั่นให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมี พอลมหายใจหายไป จิตยังหมายมั่นว่าจะต้องเกาะกับอะไร
    ก็เกาะกับความไม่มีนั้นแหละ ประคองอยู่กับความไม่มี นิ่งสงบให้อยู่ตัว
    ที่กล่าวมานั้นแสดงว่ายังไม่สงบจริง จิตมันเคลื่อนง่าย เอาว่า ทำให้จิตเกาะกับพุทโธ ให้มันแนบแน่นอย่างไม่เอะใจในความสงบให้ได้ก่อน ทำให้ชำนาญ เท่านั้นก็ควรค่าแก่การงานแล้ว
    ในกรณีนี้ ปัญญาตามจิตไม่ทัน สมาธิเคลื่อนง่าย ไม่แน่นหนามั่นคง เพราะสติปัญญา อินทรีย์ยังไม่ดีพอ
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    กำลังจะเป็นเอกคัตตารมณ์ในระดับฌานที่ ๔
    ตรงนี้จะมีเพียงอารมณ์เดียวคืออารมณ์นิ่ง หรือเรียกว่าอุเบกขา เนื่องจากปล่อยวางอารมณ์ทั้งปวงแต่ยังไม่สมบูรณ์
    อารมณ์ทั้งหลายเขาก็เป็นอนิจจัง เขาย่อมไม่เที่ยง เขาหายก็เรื่องของเขา ทำมาอย่างไรก็ให้ทำต่อไปครับ
    ให้ปฏิบัติเช่นเดิมลมไม่มีแต่ก็มีร่างกายอยู่ใช่ไหมครับ ให้ดูกายย่อยที่สติปรากฏชัดที่สุดซึ่งอยู่ตรงกลางใบหน้า ให้ดูที่ตรงนี้ต่อไป หากอารมณ์ฌาน๔บริบูรณ์จะวางร่างกาย ร่างกายก็หายไปอีก แต่ความรู้สึกที่ใบหน้าจะมีอยู่
    แม้นร่างกายหายไปก็ให้ดูในส่วนที่เหลือก็คือความรู้สึกที่ใบหน้าต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าความรู้สึกนี้ก็หายไปอีกครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2013
  4. saxford

    saxford Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +78
    น้อมรับครับ
    ขอบคุณครับ
     
  5. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,773
    สวัสดีคับ ขอเข้าเรื่องเลยนะครับ ผมนั่งสมาธิแล้วประสบกับสภาวะดังนี้ครับ
    นั่งสมาธิไป จนลมหายใจแผ่วลงๆ มากจนลมหายใจหายไป ในขณะเกือบไม่มีลมหายใจนั้น กลับมีสภาวะฟุ้งซ่านเกิดขึ้น
    เอาจิตไปจับคำภาวนาก็ไม่ได้เพราะจับแปปเดียวมันก็ปล่อยอีก เอาไปจับลิ้นปี่ก็ไม่ได้เพราะมันไม่พองไม่ยุบแล้ว เอาไปจับปลายจมูกก้ไม่ได้เพราะแทบไม่รู้สึกถึงลม
    แล้วแบบนี้พอลมหายใจผมหายไป ผมควรจะเอาจิตไปจับกับอะไรครับ

    ------->ข้างบนนี้ขอแยกเป็นสองส่วนนะครับ
    1.เมื่อฟุ้งซ่านแล้วควรทำอย่างไร
    2.หาลมหายใจไม่เจอ

    1.เมื่อเกิดอาการฟุ้งซ่านขึ้น คือคุมอารมณ์ไม่ได้ คุมความคิดไม่ได้ ให้กำหนดสตินั่งมองอาการ ตามดูความคิดไปเรื่อยๆครับ
    มองดูการเกิดของมัน มองดูอาการที่มันฟุ้งไปมาของมัน ดูไปจนเห็นว่ามันจบการฟุ้งยังไง
    มองเฉยๆนะครับ มองจนมันดับไปเอง แล้วก็มาเริ่มมองลมหายใจใหม่ มานับหนึ่งกับการนั่งกรรมฐานใหม่ ถ้ายังนั่งต่อไหวนะครับ

    2.หาลมหายใจไม่เจอ ดูจากคำอธิบายของคุณนะครับ สติของคุณตามอาการแผ่วลงของลมหายใจไม่ทัน แค่นี้แหละครับ
    ที่ต้องทำมี 2 ทางเลือกนะครับ ก็คือ
    .....2.1 หัดเจริญสติปัฏฐาน 4 หมวด กายานุปัสนา ควบไปด้วย ทำทุกบรรพนะครับ ตามแต่สถานะการณ์จะเอื้ออำนวยให้ฝึกบรรพไหน
    พอสติแข็งแรงขึ้นมันจะตามลมหายใจไปติดๆได้เอง ไม่ว่าจะเบาแค่ไหน
    .....2.2 ลองเปลี่ยนหมวดกรรมฐานไปเลย เช่นลองฝึกกสิณดู

    แต่แนะนำว่าให้ฝึกกรรมฐานที่เรารู้สึกชอบนะครับ ถ้าชอบอานาปานุสติไม่อยากฝึกกรรมฐานกองอื่น ก็ฝึกอานาปานุสติเหมือนเดิมนั่นแหละครับ
    แต่ให้ไปฝึกสติควบไปด้วยตามข้อ 2.1

    --------------------------------------------------------------------------------------------------

    รายละเอียดการนั่งสมาธิ
    นั่งแบบ ดูลมหายใจเข้าออก คำภาวนาคือพุทโธ สมถะกรรมฐาน

    ----->อันนี้ไม่ใช่ส่วนของคำถามนะครับ แต่แถมให้
    เอาไว้สังเกตุความก้าวหน้า

    ถ้าจิตของคุณ เกาะติดกับ ลมหายใจ จนเข้าเขตุของ...
    อุปจารสมาธิ คุณจะได้นิมิตเป็นภาพอะไรซักอย่างสีขาวขุ่น ไหวไปมาเล็กน้อย ทอประกายระยิบระยับ เช่น น้ำตก สำลี ก้อนเมฆ หรือ อื่นๆ เป็นต้น
    ฌาน1 ภาพจากอุปจารสมาธิ จะหยุดการเคลื่อนไหว

    ถ้าภาพอื่นโผล่ขึ้นมา เช่น เห็น นรก สวรรค์ ผีสาง เทวดา บ้านเมือง วิวทิวทัศน์ อะไรเทือกนี้ ที่มันไม่ได้เกี่ยวกับลมหายใจเลย
    ก็อย่าไปให้ความสนใจกับมัน มันมา เดี๋ยวมันก็ไป

    ถ้าจิตของคุณ เกาะติดกับคำภาวนา พุทโธ จนเข้าเขตุของ...
    อุปจารสมาธิ ลมหายใจจะแยกออกจากคำภาวนา ลมหายใจก็ส่วนลมหายใจ คำภาวนาก็ส่วนคำภาวนา แยกกันเด็ดขาดไม่สัมพันธุ์กัน ไม่ขัดกันด้วย
    ฌาน1 คำว่าพุทโธ จะเริ่ม ภาวนาซ้ำไป ซ้ำมา แบบอัตโนมัติ จังหวะของคำว่าพุท กับโธ จะสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ลงตัว ไปเรื่อยๆแบบ ไม่ขาดสาย

    --------------------------------------------------------------------------------------------------

    เอาใจช่วยครับ
     
  6. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ฌานที่๔ จะมีความละเอียดอ่อนสูงมาก เบามาก พอถึงสภาวะนี้ต้องตั้งสติให้ดี
    วิธีปฏิบัติที่ผมแนะให้จะให้ผลสูงเลยฌานที่๔ ไปอีก เป็นธรรมขั้นสูงที่มีคำอธิบายในตำราโดยทั่วไปแต่ไม่ตรงกับหลักปฏิบัติที่คุณกำลังปฏิบัติ ผมขอแนะว่ายังไม่ควรเปิดตำราใดๆดูเพราะจะทำให้สับสนในการปฏิบัติ หากไม่สงสัยอะไรจะดียิ่งและปฏิบัติไปให้ถึงที่สุดตามที่ผมแนะไว้ คุณจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องด้วยตัวคุณเอง หากติดขัดอะไรก็สอบถามได้
    เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2013
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    "วิธีการทำใจให้สงบ ท่านผู้ไม่เคยภาวนา ขอให้นำคำบริกรรมคำใดก็ได้ เช่น พุทโธ หรือธัมโม หรือสังโฆ เข้ามาบริกรรมอยู่ที่จิต แล้วมีสติเป็นเครื่องควบคุมรักษาจิต ไม่ให้เผลอไปที่ไหน ให้มีแต่คำบริกรรมภาวนาติดแนบอยู่กับจิตนี้เท่านั้น ไม่ปล่อยวาง ไม่เผลอไปไหน ทุกข์ยากลำบากก็ไม่สนใจ มีแต่จะจดจ่อดูจิตกับคำบริกรรมด้วยสติโดยถ่ายเดียวเท่านั้น จิตใจเมื่อได้รับการอารักขาด้วยสติแล้วจะค่อยสงบตัวลงๆ กิเลสความยุ่งเหยิงวุ่นวายไม่เข้ามารบกวน ตอนนั้นแหละ ตอนที่เราจะได้เห็นความสงบเย็นใจ และ ความสุขที่ตามหามาทั้งชีวิต"

    ~หลวงตาบัว ญาณสัมปันโน~
     

แชร์หน้านี้

Loading...