นิทานธรรมบท เรื่องพระโสไรยเถระ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนคลาย, 30 ตุลาคม 2005.

  1. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=644 border=0><TBODY><TR><TD width=644 colSpan=2>




    </TD></TR><TR><TD width=560>
    เรื่องพระโสไรยเถระ [๓๒]


    ข้อความเบื้องต้น

    พระศาสดายังพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ตํ มาตา ปิตา กริยา"เป็นต้น ซึ่งตั้งขึ้นในโสไรยนคร ให้จบลงในพระนครสาวัตถี. เศรษฐีบุตรกลับเพศเป็นหญิงแล้วหลบหนี

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี, ลูกชายของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขกับสหาย ผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำด้วยบริวารเป็นอันมาก.ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระ มีความประสงค์จะเข้าไปสู่โสไรยนครเพื่อบิณฑบาต ห่มผ้าสังฆาฏิภายนอกพระนคร. ก็สรีระของพระเถระมีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐี เห็นท่านแล้ว จึงคิดว่า" สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ ควรเป็นภริยาของเรา, หรือสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น." ในขณะสักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เพศชายของเศรษฐีบุตรนั้น ก็หายไป, เพศหญิงได้ปรากฏแล้ว. เขาละอายจึงลงจากยานน้อยหนีไป. ชนใกล้เคียงจำลูกชายเศรษฐีนั้นไม่ได้ จึงกล่าวว่า "อะไรนั่น ๆ ?" แม้นางก็เดินไปสู่หนทางอันไปยังเมืองตักกสิลา.


    พวกเพื่อนและพ่อแม่ออกติดตามแต่ไม่พบ

    ฝ่ายสหายของนาง แม้เที่ยวค้นหาข้างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ได้พบ.
    ชนทั้งปวงอาบเสร็จแล้วได้กลับไปสู่เรือน; เมื่อชนทั้งหลายกล่าวกันว่า
    " เศรษฐีบุตรไปไหน ?" ชนที่ไปด้วยจึงตอบว่า " พวกผมเข้าใจว่า
    " เขาจักอาบน้ำกลับมาแล้ว." ขณะนั้น มารดาและบิดาของเขาค้นดูในที่
    นั้น ๆ เมื่อไม่เห็น จึงร้องไห้ รำพัน ได้ถวายภัตเพื่อผู้ตาย ด้วยความ
    สำคัญว่า " ลูกชายของเรา จักตายแล้ว."



    นางเดินตามพวกเกวียนไปเมืองตักกสิลา

    นางเห็นพวกเกวียนไปสู่เมืองตักกสิลาหมู่หนึ่ง จึงเดินติดตามยานน้อยไปข้างหลัง ๆ. ขณะนั้น พวกมนุษย์เห็นนางแล้ว กล่าวว่า "หล่อนเดินตามข้างหลัง ๆ แห่งยานน้อยของพวกเรา (ทำไม ?) พวกเราไม่รู้จักหล่อนว่า ' นางนี่เป็นลูกสาวของใคร ?' นางกล่าวว่า " นาย พวกท่านจงขับยานน้อยของตนไปเถิด. ดิฉันจักเดินไป," เมื่อเดินไป ๆ (เมื่อยเข้า)ได้ถอดแหวนสำหรับสวมนิ้วมือให้แล้ว ให้ทำโอกาสในยานน้อยแห่งหนึ่ง(เพื่อตน).



    ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น

    พวกมนุษย์ คิดว่า " ภริยาของลูกชายเศรษฐีของพวกเรา ในกรุงตักกสิลา ยังไม่มี, เราทั้งหลายจักบอกแก่ท่าน, บรรณาการใหญ่(รางวัลใหญ่) จักมีแก่พวกเรา." พวกเขาไปแล้ว เรียนว่า " นาย แก้วคือหญิง พวกผมได้นำมาแล้ว เพื่อท่าน." ลูกชายเศรษฐีนั้นได้ฟังแล้ว ให้เรียกนางมา เห็นนางเหมาะกับวัยของตน มีรูปงามน่าพึงใจ
    มีความรักเกิดขึ้น จึงได้กระทำไว้ (ให้เป็นภริยา) ในเรือนของตน.



    ชายอาจกลับเป็นหญิงและหญิงอาจกลับเป็นชายได้

    จริงอยู่ พวกผู้ชาย ชื่อว่าไม่เคยกลับเป็นผู้หญิง หรือพวกผู้หญิงไม่เคยกับเป็นผู้ชาย ย่อมไม่มี. เพราะว่า พวกผู้ชายประพฤติล่วงในภริยาทั้งหลายของชนอื่น ทำกาละแล้ว ไหม้ในนรกสิ้นแสนปีเป็นอันมากเมื่อกลับมาสู่ชาติมนุษย์ ย่อมถึงภาวะเป็นหญิง สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ ถึงพระอานนทเถระ ผู้เป็นอริยสาวก มีบารมีบำเพ็ญมาแล้วตั้งแสนกัลป์
    ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ในอัตภาพหนึ่ง ได้บังเกิดในตระกูลช่างทองทำปรทารกรรมไหม้ในนรกแล้ว, ด้วยผลกรรมที่ยังเหลือ ได้กลับมาเป็นหญิงบำเรอเท้าแห่งชายใน ๑๔ อัตภาพ, ถึงการถอนพืช (เป็นหมัน )ใน ๗ อัตภาพ. ส่วนหญิงทั้งหลาย ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น คลายความพอใจในความเป็นหญิงก็ตั้งจิตว่า " บุญของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อกลับได้อัตภาพเป็นชาย" ทำกาละแล้ว ย่อมกลับได้อัตภาพ
    เป็นชาย. พวกหญิง ที่มีผัวดังเทวดา ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย แม้ด้วยอำนาจแห่งการปรนนิบัติดีในสามีเหมือนกัน. ส่วนลูกชายเศรษฐีนี้ ยังจิตให้เกิดขึ้นในพระเถระโดยไม่แยบคาย จึงกลับได้ภาวะเป็นหญิงในอัตภาพนี้ทันที.



    นางคลอดบุตร

    ก็ครรภ์ได้ตั้งในท้องของนาง เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกับลูกชายเศรษฐีในตักกสิลา. โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางได้บุตร ในเวลาที่บุตรของนางเดินได้ ก็ได้บุตรแม้อีกคนหนึ่ง. โดยอาการอย่างนี้ บุตรของนางจึงมี ๔ คน, คือบุตรผู้อยู่ในท้อง ๒ คน บุตรผู้เกิดเพราะอาศัยเธอ(ครั้งเป็นชายอยู่ ) ในโสไรยนคร ๒ คน.



    นางได้พบกับเพื่อนเก่แล้วเล่าเรื่องให้ฟัง

    ในกาลนั้น ลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง ( ออก) จากโสไรยนครไปสู่กรุงตักกสิลาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขเข้าไปสู่พระนคร. ขณะนั้น นางเปิดหน้าต่างบนพื้นปราสาทชั้นบน ยืนดูระหว่างถนนอยู่ เห็นสหายนั้น จำเขาได้แม่นยำ จึงส่งสาวใช้ให้ไปเชิญเขามาแล้ว ให้นั่งบนพื้นมีค่ามาก ได้ทำสักการะและ
    สัมมานะอย่างใหญ่โต.

    ขณะนั้น สหายนั้นกล่าวกะนางว่า " แม่มหาจำเริญ ในกาลก่อนแต่นี้ ฉันไม่เคยเห็นนาง, ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ไฉนนางจึงทำสักการะแก่ฉันใหญ่โต, นางรู้จักหรือ ?"

    นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ท่านเป็นชาวโสไรยนคร มิใช่หรือ ?
    สหาย. ถูกละ แม่มหาจำเริญ.

    นางได้ถามถึงความสุขสบายของมารดาบิดา ของภริยา ทั้งของลูก
    ชายทั้งสอง

    สหายนอกนี้ตอบว่า " จ้ะ แม่มหาจำเริญ ชนเหล่านั้น
    สบายดี" แล้วถามว่า " แม่มหาจำเริญ นางรู้จักชนเหล่านั้นหรือ ?"

    นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ลูกชายของท่านเหล่านั้นมีคนหนึ่ง,เขาไปไหนเล่า ?

    สหาย. แม่มหาจำเริญ อย่าได้พูดถึงเขาเลย; ฉันกับเขา วันหนึ่งได้นั่งในยานน้อยอันมีความสุขออกไปเพื่ออาบน้ำ ไม่ทราบที่ไปของเขาเลย.เที่ยวค้นดูข้างโน้นและข้างนี้ (ก็) ไม่พบเขา จึงได้บอกแต่มารดาและบิดา (ของเขา), แม้มารดาและบิดาทั้งสองนั้น ของเขา ได้ร้องไห้คร่ำครวญ ทำกิจอันควรทำแก่คนผู้ล่วงลับไปแล้ว.

    นาง. ฉัน คือเขานะ นาย.

    สหาย. แม่มหาจำเริญ จงหลีกไป. นางพูดอะไร ? สหายของฉันย่อมงามเหมือนลูกเทวดา, (ทั้ง) เขาเป็นผู้ชาย (ด้วย).

    นาง. ช่างเถอะ นาย ฉัน คือเขา.
    ขณะนั้น สหายจึงถามนางว่า " อันเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?"
    นาง. วันนั้น เธอเห็นพระมหากัจจายนเถระผู้เป็นเจ้าไหม ?
    สหาย. เห็นจ้ะ.

    นาง. ฉันเห็นพระมหากัจจายนะผู้เป็นเจ้าแล้ว ได้คิดว่า ' สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ควรเป็นภริยาของเรา, หรือว่าสีแห่งสรีระของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั่น,' ในขณะที่ฉันคิดแล้วนั่นเอง เพศชายได้หายไป, เพศหญิงปรากฏขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฉันไม่อาจบอกแก่ใครได้ ด้วยความละอาย จึงหนีไปจากที่นั้นมา
    ณ ที่นี้ นาย.

    สหาย. ตายจริง เธอทำกรรมหนักแล้ว, เหตุไร เธอจึงไม่บอกแก่ฉันเล่า ? เออ ก็เธอให้พระเถระอดโทษแล้วหรือ ?

    นาง. ยังไม่ให้ท่านอดโทษเลย นาย, ก็เธอรู้หรือ ? พระเถระอยู่ ณ ที่ไหน ?
    สหาย. ท่านอาศัยนครนี้แหละอยู่.

    นาง. หากว่า ท่านเที่ยวบิณฑบาต พึงมาในที่นี้ไซร้, ฉันพึงถวายภิกษาหารแก่พระผู้เป็นเจ้าของฉัน .

    สหาย. ถ้ากระนั้น ขอเธอจงรีบทำสักการะไว้, ฉันจักยังพระผู้เป็นเจ้าของเราให้อดโทษ.



    นางขอขมาพระมหากัจจายนเถระ

    เธอไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วเรียนว่า " ท่านขอรับ พรุ่งนี้ นิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผม."

    พระเถระ. เศรษฐีบุตร ท่านเป็นแขกมิใช่หรือ ?
    เศรษฐีบุตร. ท่านขอรับ ขอท่านอย่าได้ถามความที่กระผมเป็นแขกเลย, พรุ่งนี้ ขอนิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผมเถิด.

    พระเถระ รับนิมนต์แล้ว. สักการะเป็นอันมาก เขาได้ตระเตรียม
    ไว้แม้ในเรือนเพื่อพระเถระ. วันรุ่งขึ้น พระเถระได้ไปสู่ประตูเรือน.
    ขณะนั้น
    เศรษฐีบุตรนิมนต์ท่านให้นั่งแล้ว อังคาส (เลี้ยงดู) ด้วยอาหารประณีต พาหญิงนั้นมาแล้ว ให้หมอบลงที่ใกล้เท้าของพระเถระ เรียนว่า" ท่านขอรับ ขอท่านจงอดโทษแก่หญิงผู้สหายของกระผม (ด้วย)."

    พระเถระ. อะไรกันนี่ ?

    เศรษฐีบุตร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในกาลก่อน คนผู้นี้ได้เป็นสหายที่รักของกระผม พบท่านแล้ว ได้คิดชื่ออย่างนั้น; เมื่อเป็นเช่นนั้นเพศชายของเขาได้หายไป, เพศหญิงได้ปรากฏแล้ว: ขอท่านจงอดโทษเถิด ท่านผู้เจริญ.

    พระเถระ. ถ้ากระนั้น เธอจงลุกขึ้น, ฉันอดโทษให้แก่เธอ.



    เขากลับเพศเป็นชายแล้วบวชได้บรรลุอรหัตผล


    พอพระเถระ เอ่ยปากว่า "ฉันอดโทษให้" เท่านั้น เพศหญิง
    ได้หายไป, เพศชายได้ปรากฏแล้ว.เมื่อเพศชาย พอกลับปรากฏขึ้นเท่านั้น.

    เศรษฐีบุตรในกรุงตักกสิลาได้กล่าวกะเธอว่า " สหายผู้ร่วมทุกข์ เด็กชาย ๒ คนนี้เป็นลูกของเราแม้ทั้งสองแท้ เพราะเป็นผู้อยู่ในท้องของเธอ (และ) เพราะเป็นผู้อาศัย
    ฉันเกิด, เราทั้งสองจักอยู่ในนครนี้แหละ, เธออย่าวุ่นวายไปเลย."

    โสไรยเศรษฐีบุตร พูดว่า " ผู้ร่วมทุกข์ ฉันถึงอาการอันแปลกคือ เดิมเป็นผู้ชาย แล้วถึงความเป็นผู้หญิงอีก แล้วยังกลับเป็นผู้ชายได้อีก โดยอัตภาพเดียว (เท่านั้น); ครั้งก่อน บุตร ๒ คนอาศัยฉันเกิดขึ้น, เดี๋ยวนี้ บุตร ๒ คนคลอดจากท้องฉัน; เธออย่าทำความสำคัญว่า' ฉันนั้นถึงอาการอันแปลก โดยอัตภาพเดียว จักอยู่ในเรือนต่อไปอีก,
    ฉันจักบวชในสำนักแห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา เด็ก ๒ คนนี้ จงเป็นภาระของเธอ, เธออย่าเลินเล่อในเด็ก ๒ คนนี้"
    ดังนี้แล้ว จูบบุตรทั้ง ๒ ลูบ(หลัง) แล้ว มอบให้แก่บิดา ออกไปบวชในสำนักพระเถระ, ฝ่ายพระเถระ ให้เธอบรรพชาอุปสมบทเสร็จแล้ว พาเที่ยวจาริกไป ได้ไปถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ. นามของท่านได้มีว่า " โสไรยเถระ."

    ชาวชนบท รู้เรื่องนั้นแล้ว พากันแตกตื่นอลหม่านเข้าไปถามว่า
    "ได้ยินว่า เรื่องเป็นจริงอย่างนั้นหรือ ? พระผู้เป็นเจ้า."
    พระโสไรยะ. เป็นจริง ผู้มีอายุ.
    ชาวชนบท. ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าเหตุแม้เช่นนี้มีได้ (เทียวหรือ ?); เขาลือกันว่า "บุตร ๒ คนเกิดในท้องของท่าน, บุตร ๒ คนอาศัยท่านเกิด" บรรดาบุตร ๒ จำพวกนั้น ท่านมีความสิเนหามากในจำพวกไหน ?
    พระโสไรยะ. ในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้อง ผู้มีอายุ.
    ชนผู้มาแล้ว ๆ ก็ถามอยู่อย่างนั้นนั่นแหละเสมอไป. พระเถระ
    บอกแล้วบอกเล่าว่า " มีความสิเนหาในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้องนั้นแหละ
    มาก." เมื่อรำคาญใจจึงนั่งแต่คนเดียว ยืนแต่คนเดียว. ท่านเข้าถึงความ
    เป็นคนเดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ บรรลุ
    พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.
    ต่อมา พวกชนผู้มาแล้ว ๆ ถามท่านว่า " ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า
    เหตุชื่ออย่างนี้ได้มีแล้ว จริงหรือ ?"
    พระโสไรยะ. จริง ผู้มีอายุ.
    พวกชน. ท่านมีความสิเนหามากในบุตรจำพวกไหน ?
    พระโสไรยะ. ขึ้นชื่อว่าความสิเนหาในบุตรคนไหน ๆ ของเราย่อมไม่มี.
    ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลพระศาสดาว่า " ภิกษุรูปนี้พูดไม่จริงในวันก่อน ๆ พูดว่า ' มีความสิเนหาในบุตรผู้อยู่ในท้องมาก ' เดี๋ยวนี้ พูดว่า ' ความสิเนหาในบุตรคนไหน ๆ ของเราไม่มี,' ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล พระเจ้าข้า."



    จิตที่ตั้งไว้ชอบดียิ่งกว่าเหตุใด ๆ

    พระศาสดา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราพยากรณ์
    อรหัตผลหามิได้, (เพราะว่า) ตั้งแต่เวลาที่บุตรของเรา เห็นมรรคทัสนะ<SUP>๑</SUP>ด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ความสิเนหาในบุตรไหน ๆ ไม่เกิดเลย,จิตเท่านั้น ซึ่งเป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้ ย่อมให้สมบัติที่มารดาบิดาไม่อาจทำให้ได้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

    ๙. น ตํ มาตา ปิตา กริยา อญฺเ? วาปิ จ ?าตกา
    สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร.

    "มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำ
    เหตุนั้น (ให้ได้), (แต่) จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว
    พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น."


    แก้อรรถ


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ ความว่า มารดาบิดา (และ)ญาติเหล่าอื่น ไม่ทำเหตุนั้นได้เลย.บทว่า สมฺมาปณิหิตํ คือ ชื่อว่า ตั้งไว้ชอบแล้ว เพราะความเป็นธรรมชาติตั้งไว้ชอบในกุศลกรรมบถ ๑๐.บาทพระคาถาว่า เสยฺยโส นํ ตโต กเร. ความว่า พึงทำ
    คือย่อมทำเขาให้ประเสริฐว่า คือเลิศกว่า ได้แก่ให้ยิ่งกว่าเหตุนั้น.จริงอยู่ มารดาบิดา เมื่อจะให้ทรัพย์แก่บุตรทั้งหลาย ย่อมอาจให้ทรัพย์สำหรับไม่ต้องทำการงานแล้วเลี้ยงชีพโดยสบาย ในอัตภาพเดียวเท่านั้น, ถึงมารดาบิดาของนางวิสาขา ผู้มีทรัพย์มากมายถึงขนาด มีโภคะมากมาย ได้ให้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีพโดยสบายแก่นาง ในอัตภาพเดียว

    ๑. บาลีบางแห่งว่า มตฺตสฺส ทิฏฺ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2005

แชร์หน้านี้

Loading...