สวัสดีทุกท่าน ทุกนามค่ะ
พักหลังมานี่ ฝันแต่จำไม่ได้เรื่อยเลย เหมือนพอตื่นมาเช้าๆ ทำโน่น ทำนี่ จะเห็นเหตุการณ์ในความฝันขึ้นมาลางๆ ... ว่าแบบเมื่อืนฝันนะ แต่ฝันว่าอะไรไม่รู้ จำไม่ได้
ยิ่งพอพยายามนึก ยิ่งเลือนลาง 555+ เลยต้องมารอฟังท่านอื่นๆต่อไปค่ะ:cool:
นิทาน เรื่อง "พญานาค"
ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย คุรุวาโร, 31 ธันวาคม 2011.
หน้า 754 ของ 1157
-
ภาษาสวยงามจริงค่ะพี่นุ๊ก แต่อ่านแล้วกลับเศร้าจับใจ:'( -
เมื่อคืน ก่อนนอนอธิฐานไปว่า หากท่านเจ้าที่ต้องการสื่อสารอะไรให้ทราบ ก็ขอให้คืนนี้นิมิตอีกครั้ง แล้วก็ฝันค่ะ แต่จำไม่ค่อยได้เลย เลือนลางไปหมด จำตอนท้ายได้แค่ว่า อยู่ในวัด แล้วเหมือนกำลังจะกลับหรือไปไหนต่อนี่แหละ แต่ก็มีคนบอกให้ไปกลับรถในวัด นั่งกันไปหลายคนค่ะ เป็นคนในครอบครัว เราก็กลับรถกัน แล้วก็จำอะไรไม่ได้อีกเลย :'(
-
-
ปยานาคขอเล่านิทาน ให้อ่านอีกเรื่องแล้วก็จะไป....
เรื่องจิ้งจอกผยอง
ในอดีตกาลนานมาแล้ว ยังมีราชสีห์ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำ กิจวัตรของราชสีห์ในแต่ละวัน ก่อนที่จะออกไปหากินอาหาร ราชสีห์จะต้องออกมายืนนอกถ้ำแล้วคำรามด้วยเสียงอันดัง เป็นการข่มขวัญศัตรูก่อนเสมอ
วันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกได้ผ่านไปทางถ้ำนั้น พอได้ยินเสียงคำรามของราชสีห์ ก็ให้รู้สึกกลัวเป็นกำลัง จึงเข้าไปหมอบอยู่แทบเท้าของราชสีห์
ราชสีห์เห็นดังนั้น จึงถามว่าต้องการสิ่งใด สุนัขจิ้งจอกก็บอกไปว่า
" ถ้าท่านกรุณา ก็ขอได้โปรดรับข้าไว้เป็นบ่าวของท่านด้วยเถิด"
" เจ้าประสงค์เช่นนั้นหรือ...? " ราชสีห์ย้อนถาม
" ข้าประสงค์เช่นนั้น ท่านราชสีห์ " สุนัขจิ้งจอกตอบอย่างทันควัน
ราชสีห์จึงตอบตกลง บอกว่า "เอาละ ถ้าเช่นนั้น เจ้าก็จงมาอยู่กับข้าในถ้ำนี้"
และนับตั้งแต่สุนัขจิ้งจอกได้มาอยู่ถ้ำกับราชสีห์ ร่างกายของสุนัขจิ้งจอกก็ได้อ้วนพี เนื่องจากได้กินเนื้ออันเป็นเดนจากราชสีห์ อย่างอิ่มหมีพีมันทุกวัน
วันหนึ่ง ราชสีห์ก็บอกกับสุนัขจิ้งจอกว่า..... -
-
"วันนี้เจ้าจงขึ้นไปบนยอดเขานะ แล้วมองลงมายังเชิงเขา หากเจอะเจอสัตว์ชนิดใด แล้วเจ้านึกอยากจะกิน เจ้าก็จงมาบอกเรา"
ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ทำตามคำของราชสีห์อย่างว่าง่าย พอสุนัขจิ้งจอกมาบอกข่าว ราชสีห์ก็จะทำหน้าที่ไปจับสัตว์นั้นมาเป็นอาหาร แล้วมาแบ่งให้สุนัขจิ้งจอกกินอยู่เป็นประจำ
อยู่มานานวันเข้า สุนัขจิ้งจอกชักจะลืมตัว เพราะไปนึกเปรียบเทียบกับราชสีห์ว่า ราชสีห์มีสี่ขา ตัวเราก็มีสี่ขา ราชสีห์มีฟัน ตัวเราก็มีฟัน ราชสีห์จับสัตว์มาเป็นอาหารได้ แล้วทำไมตัวเราจะทำอย่างนั้นบ้างไม่ได้ เมื่อคิดเช่นนั้น ก็ให้รู้สึกลำพองใจเป็นกำลัง
วันหนึ่งสุนัขจิ้งจอกจึงได้บอกกับราชสีห์ว่า
"ข้าแต่ท่านราชสีห์ ท่านเองก็หาอาหารให้ข้ากินมาช้านานแล้ว ต่อแต่นี้ไป ข้าจะขอเป็นฝ่ายหาอาหารมาให้ท่านบ้าง"
"แต่เราคิดว่า....." ราชสีห์กำลังจะอ้าปากเพื่อท้วงติง
สุนัขจิ้งจอกชิงพูดตัดหน้าเสียก่อนว่า
"ท่านราชสีห์ อย่าปฏิเสธเลย" เอาอย่างนี้...หากท่านไม่เชื่อฝีมือ ก็ขอให้ข้าได้แสดงฝีมืออวดท่านก่อนก็แล้วกัน" -
ในเมื่อเป็นความประสงค์ของสุนัขจิ้งจอกเช่นนั้น ราชสีห์จึงไม่ปฏิเสธ แต่ในใจก็รู้ล่วงหน้าแล้วว่า จะเกิดอะไรขึ้น
สุนัขจิ้งจอกเมื่อได้รับอนุญาตจากราชสีห์เช่นนั้นแล้ว ก็จึงเดินเยื้องย่างวางท่าดั่งพญาราชสีห์ ในใจคิดว่า เราจะจับสัตว์ใดมาเป็นอาหารดีนะ
กระต่ายรึ....เล็กไป
กวางรึ.....ก็เล็กอยู่นั่นแหละ
งั้นวัวรึ...ก็ยังไม่ใหญ่เท่าไหร่
ถ้าจะให้เป็นที่ประจักษ์ต้อง "ช้าง"
ถ้าเราสามารถล้มช้าง และนำมาเป็นอาหารได้ ราชสีห์ก็จะเชื่อถือในฝีมือเรา
เมื่อคิดดังนั้นแล้ว สุนัขจิ้งจอกก็ไปคอยเฝ้าดูว่า ช้างจะเดินผ่านมาเมื่อไหร่ ตัวเองจะได้แสดงฝีมือสังหารช้าง เพื่อให้ราชสีห์ยอมรับนับถือตน
และแล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึง.... -
พอช้างป่าเชือกหนึ่งเดินผ่านมา สุนัขจิ้งจอกก็กระโดดหมายจะขึ้นกระพองช้าง ดังที่ราชสีห์เคยกระทำ แต่อนิจจา! กระโดดพลาด แทนที่จะขึ้นไปอยู่บนกระพองช้าง ก็กลับร่วงลงมาอยู่แทบเท้าช้างแทน ช้างก็เลยยกเท้าขึ้นเหยียบสุนัขจิ้งจอก จนร่างแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี
นิทานเรื่องนี้ ก็สอนให้คนเรารู้จักประมาณตนเอง ก่อนที่จะทำอะไรลงไป ควรดูกำลังของตัวเองก่อน ว่าตัวเองมีความสามารถที่จะทำอย่างนั้นได้หรือไม่ หากไม่รู้จักประมาณ เรื่องมันก็จะลงเอยดังสุนัขจิ้งจอกในเรื่องนี้ คือแทนที่จะได้แสดงความสามารถ ก็กลับต้องเอาชีวิตมาทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
คนเราแต่ละคนมีความสามารถเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน
ฉะนั้น เราจึงต้องยอมรับในความสามารถของคนอื่น และในขณะเดียวกันก็ต้องรู้กำลังความสามารถของตัวเองด้วย ว่าทำได้แค่ไหน
ถ้าเรารู้จักประมาณตัวเองในทุกๆ ด้าน ชีวิตก็จะไม่ประสบกับความหายนะดังเช่นสุนัขจิ้งจอกในเรื่องนี้
นิทานเรื่องนี้จึงจบลงด้วยประการฉะนี้...เอวัง -
มาแว้วววว...อิ่มแล้วจ้า โม้ต่อนะ หายไปตั้งนานไม่มีอะไรให้อ่านกันเลย
จะขอคุยเรื่องอินทรีย์ ไม่ใช่จุลินทรีย์นะ คนละเรื่องกัน ว่าแล้วก็เขยิบมาใกล้ๆ
การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน
เพราะว่าถ้า สัทธินทรีย์ ความเชื่อของผู้ปฏิบัติแก่กล้า แต่อินทรีย์นอกนั้นอ่อนไซร้
วิริยินทรีย์ ความพากเพียรก็จะไม่อาจทำปัคคหกิจ กิจคือการยกจิต
สตินทรีย์ สติไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ กิจคือการดูแลจิต
สมาธินทรีย์ ไม่อาจทำอวิกเขปกิจ กิจคือทำจิตไม่ให้สัดซ่าย
ปัญญินทรีย์ ไม่อาจทำทัสสนกิจ กิจคือการเห็นตามเป็นจริง
เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์ อันกล้านั้น ผู้ปฏิบัติต้องทำให้ลดลงเสีย ด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม คือให้ใช้ปัญญาพิจารณาดู ศรัทธา กับ ปัญญา เป็นธรรมคู่ ดุจพาหนะคู่เอก
เมื่อเราใช้ปัญญา ศรัทธาอันกล้าย่อมจะลดลง คือไม่เอาแต่เชื่อท่าเดียว รู้จักความจริงว่ามีอยู่อย่างไรในสภาวธรรม และรู้จักตามเหตุตามผล หรือไม่ทำในใจอย่างที่ทำเข้าแล้ว
เอาแค่นี้ก่อนพอให้รู้ทาง เพราะศัพท์แสงภาษาบาลี มันชักจะทำให้ปวดเศียรเวียนเกล้า แต่เราท่านก็ได้เห็นแล้ว การปฏิบัติธรรมสมาธินั้น จำจะต้องเตรียมรู้ลู่ทางและอุบายธรรมหลายขั้นตอน ไม่ใช่ได้คำว่า "พุทโธ" แล้วมานั่งขัดสมาธิภาวนากัน อย่างนั้นก็ทำได้ แต่เราพากันมาติดแค่พุทโธ แล้วก็นั่งงงสงสัยอยู่อย่างนั้น
ยังมีอีก เพียงทำอินทรีย์ให้เสมอกันยังไม่พอ ยังต้องทำอินทรีย์สองคู่ให้เสมอกันอีก ท่านกล่าวว่า
ในอินทรีย์ห้านั้น บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญความเสมอกันแห่ง ศรัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ เพราะว่าบุคคลผู้มีศรัทธาแก่กล้าแต่ปัญญาอ่อน ย่อมเป็นผู้เลื่อมใสในสิ่งที่มิใช่วัตถุแห่งความเลื่อมใส
บุคคลผู้มีปัญญากล้า แต่ศรัทธาอ่อนย่อมตกไปข้างอวดดี เป็นคนแก้ไขไม่ได้ หมายความว่า ปัญญามาก รู้ไปหมด แต่ไม่ศรัทธาที่จะปฏิบัติ ก็มีแต่ปัญญาไม่ได้มรรคผลอันใด ต่อเมื่อปรับปัญญาและศรัทธา ให้เสมอกัน บุคคลนั้นๆ จึงจะเลื่อมใสในวัตถุแห่งความเลื่อมใสได้
ท่านกล่าวต่อไปว่า โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) ย่อมครอบงำผู้มีสมาธิกล้า แต่มีวิริยะอ่อน เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายโกสัชชะ
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ย่อมครอบงำบุคคลผู้มีวิริยะกล้า แต่สมาธิอ่อน เพราะวิริยะเป็นฝักฝ่ายอุทธัจจะ
แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว จะไม่ตกเป็นในโกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) เพราะฉะนั้น อินทรีย์ทั้งสองคู่นั้น ผู้ปฏิบัติต้องทำให้เสมอกัน ด้วยอัปนาจะมีได้ก็เพราะอินทรีย์ทั้งสองเสมอกัน
อินทรีย์มีกำลังแต่ละข้อ ควรแก่การงานต่างกัน นัยหนึ่ง ศรัทธา แม้มีกำลังมากก็ควรแก่สมาธิ หรือแก่ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐาน เมื่อศรัทธาความเชื่อมีกำลังอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติเชื่อดิ่งลงไป จักบรรลุอัปนาได้
เอกัคตาสมาธิมีกำลัง ก็ควรแก่ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐาน ด้วยเมื่อเอกัคตามีกำลังอย่างนั้น ย่อมจะบรรลุอัปนาได้
ปัญญามีกำลัง ย่อมควรสำหรับผู้บำเพ็ญวิปัสสนา ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ คือเห็นแจ้งในพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้
แม้สมาธิและปัญญา ทั้งสองเสมอกัน อัปนาก็คงมีได้และเกิดได้
ส่วนสตินั้น ย่อมมีกำลังในที่ทั้งปวง เพราะสติรักษาจิตไว้ แต่ความตกไปในอุทธัจจะ เพราะอำนาจศรัทธา วิริยะ ปัญญา อันฝักฝ่ายอยู่กับอุทธัจจะ และรักษาจิตไว้ แต่ที่ตกไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายโกสัชชะ
เพราะฉะนั้น สติ จึงเป็นที่ปรารถนาในที่ทั้งปวง ดุจเกลือสตุเป็นที่ปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง และดุจผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง ย่อมเป็นที่ปรารถนาในสรรพราชกิจ
เพราะฉะนั้น ในอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่า สติ เป็น คุณชาติ จึงปรารถนาในสิ่งทั้งปวง เพราะเหตุใด? เพราะจิตมีสติเป็นที่อาศัย สติมีการรักษาเอาไว้ได้ เป็นเครื่องปรากฏ การยกและข่มจิตเว้นสติหามีได้ไม่ -
-
ว่าจะเล่าความฝันหน่อย ลืมแล้วอ่า
-
ต่อไปจะกล่าวถึง อัปนาโกศล วันนี้ไม่มีนิทานพญานาคให้อ่าน อ่านเรื่องที่มีประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติที่เพิ่งเริ่มต้นหรืออยู่ระหว่างทาง ไปก่อนนะจ๊ะ
อัปนาโกศล ว่าด้วยความฉลาดในนิมิต
อันความฉลาดในการทำนิมิตแห่งจิตเอกัคตา มีปฐวีกสิณเป็นต้นยังทำไม่ได้ ความฉลาดในอันยังนิมิตทำแล้ว หรือเกิดขึ้นแล้วให้เจริญ และความฉลาดในการรักษานิมิตที่ได้ชื่อว่าความฉลาดในนิมิต นับว่าสำคัญมากสำหรับผู้ปฏิบัติ
ที่ว่าฉลาดนั้น สิ่งสำคัญคือ ประคับประคองจิต เช่น จิตที่ยังไม่มีนิมิต เราจะต้องใช้สติคอยดู คอยรู้ว่า อารมณ์มันละเอียดเพียงใด อยู่ในขณะจิตไหน พอมันเกิดนิมิตเต็มที่แล้ว มันเป็นอย่างไร และเมื่อมันจะหายไป เพราะเหตุใด
ผู้ปฏิบัติจะต้องจดจำไว้ให้ดีให้แม่นยำ เราจะได้รู้ว่า ขณะจิตไหน นิมิตจะเกิด นิมิตเกิดขึ้นแล้วดำรงอยู่ และหายไป เราจะประคองจิตไว้อย่างไร นิมิตจึงจะคงอยู่ตลอดไป ทำให้เกิดขึ้นในภายหลังได้ง่าย เพราะการรักษานิมิตให้ทรงอยู่นั้น เราจะต้องฝึกให้คล่องให้ชำนาญจนเป็นวสี
ที่เรียกว่า วสี นั้น มีอยู่ห้าประการ คือ
1. ชำนาญในการนึกหน่วง เช่น เมื่อนิมิตเกิดขึ้นแล้ว เราก็ประคองจิตให้อยู่กับที่นั้น นึกหน่วงไว้ไม่ให้เคลื่อนที่
2. ชำนาญในการเข้า นี่ก็ต้องอาศัยที่ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดจดจำขณะจิตตอนนิมิตจะเกิดนั้นได้อย่างแม่นยำ
3. ชำนาญในการยั้งอยู่
4. ชำนาญในการออก ซึ่งต้องอาศัยการกำหนดจดจำของผู้ปฏิบัติทั้งสิ้น
5. ชำนาญในการพิจารณา ซึ่งหมายถึงการหมั่นทบทวนการเข้าออก การยั้งอยู่ จนกระทั่งคล่องแคล่วชำนาญนั่นเอง
ในเรื่องนี้ครูบาอาจารย์ท่านก็สอน เพราะเห็นความสำคัญในวสี ซึ่งเป็นบาทฐานให้ก้าวไปสู่ฤทธิ์อภิญญาก็ได้ ไปสู่อริยภูมิโลกุตระถึงความหลุดพ้นก็ได้
ความสำคัญที่ผู้ปฏิบัติควรสนใจ คือ รู้จักยกจิตในสมัยที่ควรยก การยกจิตนั้นคืออะไร?
เช่นในกาลใดจิตของผู้ปฏิบัติเกิดความเพียรย่อหย่อน ในการนั้นอย่าเจริญสัมโพชฌงค์สาม มี ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นอาทิ แล้วเจริญสัมโพชฌงค์สาม มี ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นต้น
ในเรื่องสัมโพชฌงค์นี้ ท่านที่ยังไม่เคยทราบหรือเข้าใจคงต้องชี้แจงกันหน่อย สัมโพชฌงค์มีอยู่ เจ็ด ประการ ความหมายของสัมโพชฌงค์ก็คือ ธรรมที่เป็นองค์ประกอบของธรรมที่เป็นเหตุให้รู้อริยสัจสี่ และบรรลุถึงอริยสัจสี่ ขอให้ทำความเข้าใจในสัมโพชฌงค์ทั้งเจ็ด เป็นข้อๆ ไป
1. สติสัมโพชฌงค์ หมายถึง สติที่มีความเจริญตั้งอยู่สืบต่อกันได้ในอารมณ์ของสติปัฏฐานสี่ ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม โดยภาวนาติดต่อกัน ด้วยอำนาจของวิปัสสนาย่อมทำลายความประมาท และทำให้สัมโพธิญาณ คือมรรคจิตทั้งสี่ เกิดขึ้น
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ หมายถึง ปัญญาที่มีความเจริญ คือรู้รูป รู้นาม โดยความเป็นไตรลักษณ์ ด้วยอำนาจของวิปัสสนาภาวนาย่อมทำลายโมหะ ทำให้สัมโพธิญาณคือมรรคจิตสี่เกิดขึ้น
3. วิริยสัมโพชฌงค์ หมายถึง ความเพียรที่มีความเจริญอย่างแรงกล้าจากสัมมัปธานทั้งสี่ เข้าถึงวิริยะ อิทธิบาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ และสัมมาวายามะ ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายโกสัชชะ คือความเกียจคร้านลงได้ และทำให้สัมโพธิญาณคือมรรคจิตสี่เกิดขึ้น
4. ปิติสัมโพชฌงค์ เป็นปิติที่มีความเจริญชุ่มชื่นในใจในอารมณ์ของการเจริญวิปัสสนาภาวนา ย่อมทำลายอรติ คือความไม่ยินดีและทำให้สัมโพธิญาณคือมรรคจิตสี่เกิดขึ้น
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือความสงบกายสงบใจในการเจริญสติปัฏฐานอยู่ในอารมณ์ของรูปนาม โดยความเห็นเป็นไตรลักษณ์ ความสงบนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของวิปัสสนา สามารถทำลายความหยาบกระด้างของกาย และความเร่าร้อนของใจลงได้ เข้าถึงสัมโพธิญาณคือมรรคจิตสี่เกิดขึ้น
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือสมาธิที่มีความเจริญตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์สติปัฏฐานเป็น สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สมาธิสัมโพชฌงค์ สัมมาสมาธิ ด้วยอำนาจของการเจริญวิปัสสนาภาวนา จนสามารถทำลายความฟุ้งซ่าน และทำให้สัมโพธิญาณคือมรรคจิตสี่เกิดขึ้น
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่มีความเจริญมาก สามารถกระทำให้้องค์ธรรมแห่งการรู้อริยสัจสี่ โดยการทำหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือ ย่อมกระทำศรัทธากับปัญญา วิริยะกับสมาธิ สองคู่ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ให้มีความเสมอภาคกัน มิให้ยิ่งหย่อนกว่ากัน รักษาดุลยภาพไว้โดยความเป็นมัชฌิมาปฏิปทาไว้ได้อย่างมั่นคง พร้อมกับทำลายนิวรณธรรม ทำให้สัมโพธิญาณคือมรรคจิตสี่เกิดขึ้น -
การนำเอาสัมโพชฌงค์เจ็ด มากล่าวถึงให้เข้าใจนี้ ก็เพื่อผู้ปฏิบัติจะได้รู้วาระของจิตอันสูงเข้าไปตามลำดับ เมื่อดำเนินจิตอยู่จะได้รู้ว่ามาถึงไหนแล้ว ไม่ใช่ไม่รู้ที่รู้ทาง เคว้งคว้างอยู่
สัมโพชฌงค์นี้ ท่านถือว่าเป็นองค์แห่งการบรรลุถึงโลกุตรมัคคญาณ มีอุปมาดังนก ธรรมดาเป็นสัตว์ที่เกิดขึ้น 3 ครั้ง
ครั้งแรก เกิดขึ้นเป็นฟองไข่จากท้องของแม่นก
ครั้งสอง เกิดเป็นตัวนกออกจากเปลือกไข่
ครั้งสาม เมื่อขนแห้งบริบูรณ์ด้วยปีกและหาง แข็งแรงพอที่จะบินไปตามชอบใจได้ จัดเป็นการเกิดเป็นครั้งที่ 3 ข้อนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติที่มีความพยายามในการเจริญสติปัฏฐานก็ฉันนั้น
เมื่อปรากฏศีลวิสุทธิและจิตวิสุทธิแล้ว รอดพ้นจากการฉันทนิวรณ์เป็นต้น นับว่าได้เกิดออกจากท้องแม่นกเป็นครั้งที่ 1
เมื่อเข้าถึงทิฐิวิสุทธิ หรือความเห็นอันบริสุทธิ์ ได้เห็นรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ วิปัสสนาญาณเกิดแล้ว ย่อมพ้นจากอวิชชาคือความไม่รู้อย่างหยาบ นับว่าได้ออกมาจากเปลือกไข่แล้ว
และเมื่อสัมโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการแก่กล้า และบรรลุมรรคผลได้ตามความประสงค์แล้ว ก็รอดพ้นจากโลกียธรรมทั้งปวง นับได้ว่าเป็นลูกนกโตเต็มที่ บริบูรณ์ด้วยขน ปีก และหาง สามารถบินได้ตามที่อุปมัยฉันนั้น
เมื่อพิจารณาตามสภาพธรรมชาติของสัมโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการจะเห็นว่า
สติเจตสิก นั่นแหละที่เรียกว่า สติปัฏฐาน เมื่อเจริญขึ้นก็มีสภาพเป็น สตินทรีย์ สติพละ ถึง
สัมมาสติ ก็เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์
ปัญญาเจตสิก ที่เจริญขึ้นเป็นวิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ได้แก่เข้าถึงปัญญาวิสุทธิ 5 ประการ
วิริยเจตสิก ที่เจริญขึ้นเป็น สัมมัปธาน วิริยิทบาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์
ปิติเจตสิก ที่เจริญขึ้นจากการเจริญสติปัฏฐานเป็นต้น เรียกว่า ปิติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิเจตสิก คือกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ ที่เจริญขึ้นจากการเจริญสติปัฏฐาน เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
เอกัคตาเจตสิก ที่เจริญเป็น สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในการเจริญสมถภาวนา เป็นตัวบริกรรมสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ สำเร็จเป็นสมาบัติแปด และในวิปัสสนาภาวนา และอัปปณิหิตสมาธิ คือสมาธิที่ตามเห็นไตรลักษณ์ จนถึงมรรค ผล นิพพาน เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ -
น้องsaekue20 นึกได้หรือยังจ๊ะ รออ่านหนออยู่นะ...:cool:
-
-
-
-
นึกได้แล้ว ฝันว่า แม่ได้ทำการย้ายสุสานพ่อ ร่างพ่อที่เป็นซากศพ กลับ มีหนังเนื้อ และ พุดกับผม แต่ ผมจำไม่ได้ว่าพ่อพูดอะไร หลังจากพูดเสร็จ ท่านก็กลับเป็นซากศพเหมือนเดิม ประมาณนี้แหละครับ
-
เราต่างก็เวียนว่ายตายเกิดมาเช่นเดียวกัน อาจมีสักชาติที่เป็น
แต่ที่คุณคุรุวาโรดูบอกนั้น เรายังไม่ใช่ค่ะ อิอิ
หน้า 754 ของ 1157