นิมิต และ ภวังค์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 22 ธันวาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นิมิต และ ภวังค์

    นิมิต มีความหมายหลายประการ เช่น เครื่องหมาย, อาการเชิญชวนให้เขาถวาย แต่ในที่นี้จะกล่าวถึง นิมิต อันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ กรรมฐาน คือ สิ่งที่ปรากฎหรือแสดงให้นักปฏิบัติรับรู้ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงเรื่องฌาน,สมาธิแล้ว จึงจำเป็นต้องกล่าวถึง นิมิตอันมักจะเป็นผลข้างเคียงหรือเครื่องเคียงที่มักเกิดร่วมด้วยเสมอๆ และจัดว่าเป็นบ่วงมารอันหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าไปอยากหรือไปยึดด้วยเหตุผล กลใด ก็ตามก็จัดว่า เป็นบ่วงมารทีเดียว ซึ่งจักผูกมัดสัตว์ไว้ไม่ให้เห็นธรรม กล่าวคือ เกิด วิปัสสนูปกิเลสจัดอยู่ทั้งในข้อโอภาส,ญาณและอธิโมกข์ จึงขอกล่าวเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจบ้าง นิมิตอันเกิดแต่การปฏิบัติพระกรรมฐาน ผู้เขียนจำแนกออกเป็นไปใน ๓ ลักษณะใหญ่ ที่มักเกิดขึ้นทั่วไปเสมอๆ ในการปฏิบัติ มีดังนี้

    รูปนิมิต โอภาส คือ แสง, สีต่างๆขึ้น, การเห็น ภาพ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติ เช่น การเห็นภาพอดีต อนาคต หรือเห็นภาพในสิ่งที่อยากเห็น เช่น เทวดา วิมาน แม้แต่พระพุทธเจ้า หรือโอภาส การเห็นเป็นแสง สีต่างๆอันล้วนน่าพิศวงชวนให้ตื่นตาเร้าใจ จึงมัก อธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างงมงายด้วยอวิชชาอันมีมาแต่การเกิด หรือการเห็นในสิ่งที่กำหนดเป็นกสิณหรือคำบริกรรมในการปฏิบัติภาวนา

    เสียงนิมิตการได้ยินเป็นเสียงอันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติ เช่น เป็นเสียงเตือน เสียงเทพ เสียงระฆัง เสียงสวดมนต์ เสียงพูดต่างๆ เสียงคนพูดบอกกล่าวต่างๆ แม้แต่เสียงในใจจากผู้ที่พบปะ จึงมักน้อมเชื่ออย่างงมงายด้วยอธิโมกข์เพราะอวิชชาความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ตามความจริง

    นามนิมิตเป็นความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติ แต่มิได้เกิดแต่ปัญญาเห็นความจริง เช่น เกิดความคิดความเข้าใจในเรื่องราวที่พิจารณา หรือศึกษา หรืออยากรู้ หรือเป็นความรู้ในธรรมต่างๆนาๆที่พิจารณา ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่มักจะผิดถ้าไม่ได้เกิดแต่การพิจารณาโดยปัญญาอย่างถูกต้อง และเมื่อเกิดถูกต้องขึ้นบ้าง ก็กลับเป็นบ่อเกิดของอธิโมกข์อย่างแรงกล้ามักเกิดขึ้นในภาวะของภวังคจิต จิตจึงเกิดการอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างรุนแรงแต่เป็นไปอย่างผิดๆหรือขาดเหตุผล จึงยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสในข้อญาณ คือไปยึดไปเข้าใจว่าเป็นความเข้าใจเหล่านั้นต้องเป็นไปอย่างถูกต้องแน่นอนด้วย อธิโมกข์เป็นเครื่องหนุน

    บางครั้งยังเกิดนิมิตทางจมูก คือ กลิ่นก็มี ฯ.

     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นิมิต ในช่วงแรก มักเกิดในช่วง ภวังค์

    ภวังค์หรือภวังคจิต คือ ภาวะที่เรียกพื้นจิต อันคือ ภาวะที่จิตหยุดจากการรับรู้อารมณ์ กล่าวคือ ภาวะที่จิตหยุดการเสวยอารมณ์จากภายนอก อันเนื่องมาจากทวารทั้ง ๖ จิตเพียงรับรู้จิตที่เกิดแต่ภายในเอง, ส่วนภาวะจิต ที่จิตมีการรับรู้อารมณ์ภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖ เรียกกันว่า " วิถีจิต " อันเป็นภาวะของปุถุชนในชีวิตประจำวันทั่วไป ภาวะทั้ง ๒ นี้ จึงเกิดในภาวะที่เกิดดับสลับกันนั่นเอง กล่าวคือเมื่อไม่อยู่ในวิถีจิตเมื่อใด ก็เกิดภวังคจิตขึ้น เมื่อวิถีจิตเกิด ภวังคจิตก็ดับไป


    ภวังคจิต ที่เกิดในฌาน,สมาธิ แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ

    แบบแรก ภวังคบาตเมื่อเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติสมถะนั้น เป็นไปในลักษณะที่รู้สึกวูบๆวาบๆ หรือรู้สึกวูบทิ้งดิ่ง คล้ายตกเหวหรือตกจากที่สูง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดั่งสายฟ้า เป็นแบบไม่รู้สติ ไม่รู้ตัว ควบคุมไม่ได้ กล่าวคือ ถ้าบริกรรม หรือกำหนดจิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดก็ตาม หรือพิจารณาธรรมใดๆอยู่ สิ่งนั้นก็จะเลือนวูบหายไป อาจรู้สึกราวกับตกจากที่สูง วูบลงมา อาจเกิดภาพนิมิตสั้นๆอันเกิดแต่จิตภายในเองขึ้นแทน เกิดขึ้นช่วงระยะสั้นๆ แล้วก็อาจมีสติกลับไปอยู่กับอารมณ์เดิมหรือคำบริกรรมเดิม เกิดได้หลายๆครั้ง หรืออาจเลื่อนไหลไปตามลำดับภวังค์ หรือหลับไปเลยด้วยความสบาย ดังนั้นเมื่อเกิดภวังค์ดังนี้ขึ้นก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาอย่าตกใจหรือดีใจ อย่าไปปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ ว่าเป็นฤทธิ์ เป็นเดช เป็นบุญ เป็นกุศล หรือไปเข้าใจผิดว่าจิตทิ้งออกไปจากร่าง ฯ. ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า เป็นเพียงการแสดงว่า จิตเริ่มเป็นสมาธิในระดับหนึ่งเท่านั้น เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาในขั้นตอนของการปฏิบัติฌานสมาธิด้วยจุดประสงค์ไปในการเป็นเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนา, อาการที่เกิดขึ้นนั้น เกิดแต่จิตหยุดการรับรู้การเสวยอารมณ์ภายนอกจากทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ชั่วขณะในขณะนั้น รับรู้อยู่แต่จิตภายใน (ที่รู้สึกตกวูบดิ่งนั่นไง) เรียกภวังค์ที่เกิดแบบนี้ว่า ภวังคบาต คือ เกิดขึ้นและหายไปอย่างรวดเร็วดังอสุนีบาต กล่าวคือ เกิดอาการลงภวังค์ตกวูบลงไปอย่างรวดเร็ว แล้วมีสติวาบหรือแว๊บกลับมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน จึงเกิดอาการวูบวาบ หรือดั่งดิ่งลงจากที่สูงให้รู้สึกดังที่กล่าว
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แบบที่ ๒ ภวังคจลนะ

    เป็นภาวะที่ลง
    ภวังค์ไปอย่างบริบูรณ์ จึงไม่วูบวาบดังภวังคบาตข้างต้น ดังนั้นจิตจึงหยุดการรับรู้อารมณ์จากทวารทั้ง ๖ ตามสภาวธรรมหรือธรรมชาติของภวังค์เอง แต่ยังเคลื่อนไหว(จลน์)กล่าวคือ ไหลเลื่อนท่องเที่ยวเตลิดเปิดเปิงหรือเพลิดเพลินไปในอารมณ์ภายในหรือจิตภายในของตน คือ อยู่ในภาวะของภวังค์เอง ไม่มีสติ วาบกลับมาดังข้างต้น จริงๆแล้วจึงขาดสติต่ออารมณ์ภายนอก กล่าวคือ มีสติรู้อยู่แต่จิตภายในของตนเท่านั้น จึงขาดสัมปชัญญะ จึงไร้ที่ยึด,ไร้ที่หมายจากอารมณ์ภายนอกโดยตรง เพราะขาดการเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้จากภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง๖ เหลืออยู่แต่การรับรู้อารมณ์ที่เกิดแต่จิตภายในของตนแต่ฝ่ายเดียว จึงค่อนข้างบริสุทธิ์ แต่ขาดสติอันเนื่องกับปัญญาจึงย่อมไร้การควบคุม จึงเคลื่อนไหวหรือไหลเลื่อนล่องลอยไปตามกำลังของจิตภายใน ในสภาวะของภวังค์ก็ย่อมมีอาการสุข สบาย เคลิบเคลิ้ม เพราะการขาดจากการรบกวนแทรกซ้อนของอารมณ์จากภายนอกซึ่งรวมทั้งกิเลสอันก่อความขุ่นมัวต่างๆ จึงระงับไปทั้งหมดของนิวรณ์ ๕ ต่างๆ และสติอันเป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงค่อนข้างบริสุทธิ์ในภาวะนี้ แต่ก็ทำให้เปราะบางและอ่อนไหวเป็นที่สุด เนื่องจากขาดสติในสิ่งอื่นๆ คือขาดสัมปชัญญะที่เป็นเกราะป้องกันภัย จึงอาจไปไวต่อการรับรู้ที่อาจแทรกซ้อนเบาๆหรือแวบหลุดเข้ามาได้บ้าง หรือเกิดแต่ความคิดที่เกิดแต่จิตภายในที่ผุดขึ้นมาเองบ้าง ในภาวะเช่นนี้ จึงเกิดนิมิตได้ต่างๆนาๆขึ้นได้อย่างชัดเจนที่สุดในภวังค์แบบนี้ อันเป็นไปตามสิ่งที่หลุดแทรกซ้อน หรืออารมณ์ภายในที่ผุดขึ้นมานั่นเอง เนื่องจากขาดสิ่งมารบกวนดังกล่าว ภาวะของภวังค์ที่เป็นแบบนี้เรียกว่า ภวังคจลนะ คือ ภวังค์ที่มีการเคลื่อนไหวไปในอารมณ์ที่เกิดแต่ภายในต่างๆ ในสภาวะนี้นี่เอง ถ้าการปฏิบัติไม่ถูกต้องดีงามไปในทางมีปัญญาหรือวิปัสสนา คือ ไม่มีการตั้งสติพิจารณาธรรมหรือบริกรรมก่อสติโดยการวิตกวิจารหรือสมาธิไว้เป็นแนวทางอันถูกต้องดีงามแต่เบื้องต้นเสียก่อนแล้ว หรือมีผู้สอนชี้แนวที่นักปฏิบัติอธิโมกข์คอยจูงจิตหรือป้อนความคิดไปผิดทางด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา)ให้เห็นหรือคิดหรือเพ่งในสิ่งใด จิตก็จะถูกชักจูงเลื่อนไหลให้เกิดเห็นนิมิตนั้นๆขึ้น หรือเกิดความเข้าใจ(นามนิมิต)ต่างๆไปตามนั้น, จึงเกิดการเห็น ,ความเข้าใจไปตามนั้น ในสภาวะภวังคจลนะนี้นี่เอง แล้วไปยึดติด, ยึดถือ, ยึดเชื่อด้วยอธิโมกข์จึงขาดการพิจารณา และเป็นไปอย่างรุนแรงด้วยอำนาจของฌานสมาธิเป็นเครื่องหนุน จึงเกิดการเข้าใจธรรมกันอย่างผิดๆ ดังไปยึดไปเชื่อในสิ่งที่ไปเที่ยวไปเห็นในสิ่งต่างๆ เช่น ภาพที่เป็นกสิณนั้นๆ นรก สวรรค์ วิมาน เทวดา พระพุทธเจ้า แสง สี เสียงต่างๆ อันล้วนแล้วแต่วิจิตร ชวนตื่นตา เร้าใจ ไม่เคยพบเคยเห็นและแสนสบายเช่นนี้ แล้วจึงพากันยึดติด ยึดถือ ปรุงแต่งกันไปต่างๆนาๆด้วยอวิชชา

    ผู้เขียนกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อการดำเนินไปในวิปัสสนา เพื่อจะไม่ไปยึดไปอยากให้เกิดวิปัสสนูปกิเลส

    จึงขอร้องอย่าให้ผู้ใดนำความรู้ความเข้าใจนี้ไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อประโยชน์ทางโลก อันจักเป็นกรรมอันเกิดแต่เจตนาที่ต้องได้รับการสนองอย่างแสนสาหัสในภาคหน้าและรับรองว่าไม่สามารถหลีกหนีได้ ผู้รู้เข้าใจแล้วก็พึงแก้ไขเสีย อย่าปล่อยให้เป็นกรรมของตนเลย
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แบบที่ ๓ ภวังคุปัจเฉทะ

    เป็นลักษณะที่จิตลงภวังค์แล้วขาดความรู้สึกรับรู้อารมณ์ภายนอก แต่ไม่ท่องเที่ยวไปในภายใน กล่าวคือ มีสติ จากการสั่งสม,ความชำนาญในการปฏิบัติ จึงไม่ปล่อยให้จิตเพลิดเพลินเตลิดเปิดเปิงไปในอารมณ์ภวังค์ เช่นดังในภวังคจลนะ แต่มี สติ ก็เพียงแค่รู้อยู่ (เอกัคคตารมณ์) ยินดีอยู่ในความสงบ (อุเบกขา) แต่ขาดสัมปชัญญะ เป็นลักษณะของฌาน ๔ อันประกอบด้วยองค์ฌานทั้ง ๒ หรืออัปปนาสมาธินั่นเอง จึงเป็นที่พักผ่อนของจิตจึงสร้างกำลังของจิตอันดียิ่ง แต่ไม่สามารถวิปัสสนาได้ ต้องถอนออกมาจากความสงบนั้นเสียก่อน เรียกภวังค์แบบนี้ว่า ภวังคุปัจเฉทะ

    นิมิตเหล่านี้ เกิดมากน้อยในนักปฏิบัติแตกต่างกันไปแล้วแต่ฌานวิสัยอันเป็น อจินไตยอาจมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป แล้วแต่จริต สติ ปัญญา ตลอดจนแนวการปฏิบัติ แต่ถ้านักปฏิบัติเป็นวิปัสสนูปกิเลส หรือฝึกกระทำบ่อยๆด้วยติดใจหรือติดเพลิน เช่น น้อมจิตฝึกหัดให้เห็นภาพอยู่บ่อยๆ คือทำอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ก็ย่อมเกิดความชำนาญขึ้น ในที่สุดก็จะเกิดการน้อมนึกขึ้นในวิถีจิตตามปกติธรรมดาขึ้นได้ และมักเกิดขึ้นกับผู้ที่ปล่อยเลื่อนไหลไปแต่ในฌานสมาธิเป็นระยะเวลานานๆโดยขาดการวิปัสสนา แต่ก็จะเป็นไปในที่สุดเหมือนนิมิตในการปฏิบัติดังที่หลวงปู่ดูลย์ ได้กล่าวไว้ "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง" เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะส่วนใหญ่เกิดแต่สัญญาหรือใจของนักปฏิบัตินั่นเอง แล้วยังร่วมด้วยการไปปรุงแต่งอีกต่างๆนาๆร่วมอีกด้วยอวิชชาจึงพากันไปยึดด้วยอธิโมกข์ ภาพที่เห็นที่เกิดอันมิได้มีบาทฐานเกิดมาแต่ญาณความเข้าใจอันเกิดจากการเห็นเหตุอย่างแจ่มแจ้งและอุเบกขาความเป็นกลางอย่างแท้จริง สิ่งที่เห็นจึงผิดไป หรือผิดบ้างถูกบ้างอันเป็นวิสัยปกติธรรมดา แต่ถ้าบังเอิญถูกก็ไปสำคัญมั่นหมายว่าเป็นจริงเป็นจัง ถ้าผิดก็ลืมเลือนไปเสียหรือแก้ตัวแทนตนเป็นพัลวัน จึงล้วนแฝงและเป็นไปตามความคิดปรุงของผู้ที่เห็นโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชานั่นเอง อันประกอบไปด้วยความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่ตาเห็น หูได้ฟัง ความคิดที่คิด และความเชื่อความยึดของผู้เห็นนั่นเองเป็นองค์ประกอบสำคัญ หรือจะกล่าวง่ายๆก็คือ เป็นการแปลงสัญญา หรือความรู้สึก ความเข้าใจ ความคิดต่างๆที่ได้รับเป็นข้อมูลจากอายตนะต่างๆในขณะนั้นเป็นภาพขึ้นมา อันมักเกิดแต่การฝึกฝนและการปฏิบัตินั่นเอง กล่าวคือ การแปลงความคิดความเห็นให้เป็นภาพขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง ถ้าท่านเข้าใจในเรื่องคอมพิวเตอร์บ้าง ก็เปรียบเสมือนหนึ่งการแปลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์จากโปรแกรมWord ที่ใช้ในการพิมพ์(เปรียบเป็นความคิด) แปลงเป็นไฟว์หรือข้อมูลแบบรูปภาพในโปรแกรมAcrobat (เปรียบดังนิมิตหรือภาพหรือความคิดที่น้อมขึ้น)ในชั่วพริบตานั่นเอง อันเกิดแต่การฝึกหัดและมีฐานข้อมูลและโปรแกรมอยู่แล้วนั่นเอง

    ผู้ที่หลงติดในนิมิตนั้น นอกจากจะมีความเชื่อความยึดที่หลงผิดไปตามรูป เสียง ความคิด ของนิมิตแล้ว จึงทำให้หลงผิดเห็นผิดไม่สามารถดำเนินไปในธรรมได้(วิปัสสนูปกิเลส) ภายหลังยังทำให้เกิดอาการอึดอัดหรือเจ็บป่วยต่างๆเหมือน " จิตส่งใน" ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่อง"จิตส่งใน เป็นภัยต่อนักปฏิบัติ" เหตุก็เพราะขณะจิตที่น้อมนึกภาพขึ้นนั้น เป็นสภาวะของมิจฉาสมาธิที่ต้องก่อขึ้น ต้องกระทำขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง จึงยังผลให้เกิดการเสพและติดเพลินองค์ฌานขึ้นได้โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง อันคือนันทิหรือตัณหา นิมิตที่เห็นหรือเข้าใจจึงเป็นเหยื่อล่อให้ดำเนินไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ในที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะได้ดำเนินไปถึงองค์ธรรมนันทิความติดเพลิน,ความติดใจอยาก,ความติดชอบในนิมิตเหล่านั้นเสียแล้ว


    http://www.nkgen.com/

     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อนุโมธนาครับ...
     
  6. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    อนุโมทนา สาธุ....

    สัมมาทิฐิ สติ...นี่แหละจะพาเราไปจุึดหมาย...


    สาธุ...
     
  7. Add-on

    Add-on Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2008
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +64
    อันตรายๆ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ดัน
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    นามนิมิตเป็นความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติ แต่มิได้เกิดแต่ปัญญาเห็นความจริง

    อนุโมทนา ค่ะ

    อ่านแล้ว นึกถึง ปัญญา เห็นทุกขเวทนา(สัญญา สังขาร)

    กับ ปัญญา เห็น ทุกขสัจจ์(ความจริงของสัญญา สังขาร) อริยสัจจ์ มันต่างกัน

    ด้วย รู้ สัญญา กับ รู้ ความจริงของสัญญา

    คิดพิจารณา ยัง ไม่ใช่ รู้

    รู้ แล้ว ยังยึดอยู่ ก็ ไม่ใช่ รู้ด้วยปัญญา อันยิ่ง

    รู้ แล้ว ทำได้จริง จึง เป็น รู้ ด้วยปัญญา อันยิ่ง รู้ ละ วาง ด้วย ปัญญา

    (ฟุ้งธรรม ก็เป็น วิปัสนูกิเลส นินา)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2008
  10. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    หึหึ..ที่เห็นนั้นไปสำคัญว่านั่นใช่ล่ะก้อ...ระวัง ต่อมน้ำตาจะแตกเอาทีหลัง
    จงสำรวมระวังเถิด...



    สาธุ
     
  11. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    อนุโมธนา

    ยังสงสัย บางประการ เกี่ยวกับ ภวังค์ คุปัจเฉทะ อยู่หน่อย ตามที่แสดงเอาไว้

    "อันเป็นลักษณะที่จิตลงภวังค์แล้วขาดความรู้สึกรับรู้อารมณ์ภายนอก แต่ไม่ท่องเที่ยวไปในภายใน กล่าวคือ มีสติ จากการสั่งสม,ความชำนาญในการปฏิบัติจึงไม่ปล่อยให้จิตเพลิดเพลินเตลิดเปิดเปิงไปในอารมณ์ภวังค์ เช่นดังในภวังคจลนะ แต่มี สติ ก็เพียงแค่รู้อยู่ (เอกัคคตารมณ์) ยินดีอยู่ในความสงบ(อุเบกขา) แต่ขาดสัมปชัญญะ เป็นลักษณะของฌาน ๔ อันประกอบด้วยองค์ฌานทั้ง ๒ หรืออัปปนาสมาธินั่นเอง จึงเป็นที่พักผ่อนของจิตจึงสร้างกำลังของจิตอันดียิ่ง แต่ไม่สามารถวิปัสสนาได้ ต้องถอนออกมาจากความสงบนั้นเสียก่อน เรียกภวังค์แบบนี้ว่า ภวังคุปัจเฉทะ"

    หาก โยง ภวังคุปเฉทะ กับ ณาน 4 แล้ว ว่า เป็นภาวะขาด สัมปชัญญะ อันนี้ ในความเห็นส่วนตัว น่าจะไม่สมบรูณ์นัก หากจะกล่าวว่าผู้ที่หลงอยู่ในณาน ยังมีความยินดีพอใจในอารมณ์ ณาน จะ ขาดสัมปชัญญะ อันนี้เห็นด้วย แต่หากผู้ที่ดำเนินเข้าถึงจตุตถณาน 4 ได้อย่างเข้าใจแท้จริง ก็มิอาจกล่าวว่าหลงได้ เมื่อคำนึงพิจารณากลับไปมาตามอักษร ก็ยังมิอาจเห็นความเชื่อมโยง แต่หากพิจารณาในองค์ เดียวๆ ไม่เชื่อมโยงกันแล้ว ก็นับว่าเป็นประโยฃน์ ในสิ่งที่แสดงเป็นอันมาก

    เมื่อลองพิจารณาในสภาวะธรรมตามความเป็นจริงแล้ว สองสิ่งที่กล่าว มิอาจนับว่าเป็นสิ่งเดียวกันเลย ในภวังนั้นหากจะกล่าวว่ามิอาจพิจารณา หรือวิปัสสนาได้นั้น พอเข้าใจอยู่ แต่หากใน ณาน โดยเฉพาะณาน 4 นั้น การพิจารณากับมีสภาพความเป็นกลางอุเบกขาตรงธรรม เพราะมีอุเบกขา มิยินดียินร้ายกับสภาพธรรมที่ปรากฏ

    ขอลองวินิจฉัยละเอียดอีกคราวในประเด็นนี้ เพื่อความมิคาดเคลื่อนในธรรม

    ใน จุตตถณาน
    "เพราะ มีสติบริสทุธ์เพราะอุเบกขาอยู่ อทุกขมสุขเวทนา ความไม่คำนึงแห่งใจ เพราะบริสุทธิ์ แล้ว สติบริสุทธิ์ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ แนทะ อธิโมกข์ วิระยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันสารีบุตรอันกำหนดได้ตามลบำดับบท "
    อนุปทสูตร พระสุตตันตปิฏก เล่มที่ 6 อนุปทวรรค

    หากเป็นท่านที่มาจาก nkgen ก็ขออนุโมธนาด้วยครับ เข้าไปอ่านบ่อย ๆ
    เป็นประโยชน์ครับ

    ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ
     
  12. azalia

    azalia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +579
    [​IMG] สาธุๆ ปั่นกระทู้อีกรอบ...

    ดูเหมือนมีบางตอนหายไป....

    ส่วนการเกิดภวังค์ขั้นอริยมรรค....มีอยู่ในพระไตรปิฎก

    พระอภิธรรมปิฎก บทที่ ๙ - มรรควิถี
     
  13. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ขอขอบพระคุณท่านและอนุโมทนาบุญด้วยครับ ที่เลือกเอาสิ่งดีๆมาให้พิจารณา
     
  14. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    เรื่องฌาณ 4 เป็นเรื่องที่ยังไม่สมบูรณ์ของเว็บนี้ แต่อื่นๆ นั้น โอเค...
    ภวังคุปัจเฉท ไม่ใช่ลักษณะของฌาณ 4 แต่เป็นภวังค์ที่เกิดในฌาณ 4
     
  15. จื่อหลิง

    จื่อหลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +698
    ผมติด ภวังคบาท นี่แหละ ไปไม่ได้สักที
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,905
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,021
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [87] นิมิต 3 (เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจอันเป็นตัวแทนของสิ่งที่ใช้อารมณ์กรรมฐาน — sign; mental image)
    1. บริกรรมนิมิต (นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตตระเตรียมหรือนิมิตแรกเริ่ม ได้แก่สิ่งใดก็ตามที่กำหนดเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือ พุทธคุณที่นึกเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจเป็นต้น — preliminary sign) ได้ในกรรมฐานทั้ง 40
    2. อุคคหนิมิต (นิมิตที่ใจเรียน, นิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตนั้นเพ่งหรือนึกกำหนดจนเห็นแม่นในใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตา หลับตามองเห็น เป็นต้น — learning sign; abstract sign; visualized image) ได้ในกรรมฐานทั้ง 40
    3. ปฏิภาคนิมิต (นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง ได้แก่ นิมิตที่เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตนั้น แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากสัญญา เป็นเพียงอาการปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิจึงบริสุทธิ์จนปราศจากสีเป็นต้น และไม่มีมลทินใดๆ ทั้งสามารถนึกขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา — sign; conceptualized image) นิมิตนี้ได้เฉพาะในกรรมฐาน 22 คือ กสิณ 10 อสุภะ 10 กายคตาสติ1 และอานาปานสติ 1

    เมื่อเกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น จิตย่อมตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ จึงชื่อว่าปฏิภาคนิมิตเกิดพร้อมกับอุปจารสมาธิ เมื่อเสพปฏิภาคนิมิตนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิก็จะสำเร็จเป็นอัปปนาสมาธิต่อไป ปฏิภาคนิมิตจึงชื่อว่าเป็นอารมณ์แก่อุปจารภาวนาและอัปปนาภาวนา.
    :- https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=87
     
  17. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ความหมายที่โยมเอามาลง ดูเหมือนจะแทงกบนะโยม..
     
  18. BENATO

    BENATO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,582
    ค่าพลัง:
    +1,917
    เหมือนยังไง..? ครับท่าน.. :p:p

    สรุป.. โดน รึ ไม่โดน..? ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...