นิโรธ...สมาบัติ...หนทางดับทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ทานตะวัน10, 7 มีนาคม 2016.

  1. ทานตะวัน10

    ทานตะวัน10 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +2
    นิโรธสมาบัติมีสภาวะอย่างไรนำสื่อได้ไหม
    เทียบบัญญัติไว้ว่าหนทางดับทุกข์
    ทุกข์ดับหรือยัง

    เทียบบัญัติได้ตรงไหน
    มีผลต่อทางโลกอย่างไร
    ขอท่าน...ช่วยชี้นำทำประโยชน์ด้วยเทอญ
     
  2. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,160
    ค่าพลัง:
    +1,231
    คุณเข้าใจสับสน ระหว่างคำว่า นิโรธ (ความดับทุกข์) ในอริยสัจจ์
    กับคำว่า นิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นชื่อสมาธิบัติชนิดหนึ่ง มีอยู่แต่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    และผู้เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยบุคคชั้นอนาคามีขึ้นไป(ตำราเขาว่าไว้งั้น)

    นิโรธสมาบัติ มีชื่อเต็มว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่าธรรมเป็นเครื่องดับสัญญาและเวทนา
    เป็นคุณธรรมที่ละเอียดอ่อนกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    โดยมากผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้ จะมีแต่บุคคลระดับ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    และพระอรหันต์บางรูปที่เชียวชาญสมาบัติเท่านั้น
    เข้าครั้งละ 7-45 วัน เชื่อกันว่าตัวผู้เข้าจะไม่มีสัญญาและเวทนาเหลืออยู่เลย
    และจะไม่มีการตายหรือนิพพานในขณะที่อยู่ในนิโรธสมาบัตินั้น

    เชื่อกันว่า ใครได้ถวายทานกับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ผู้ออก
    จากนิโรธสมาบัติมาใหม่ๆ ผู้นั้นจะได้รับบุญสูงยิ่ง บุญอาจส่งผลในชาตนี้เลยทีเดียว
    และตรงกันข้าม ถ้าผู้ใดประทุษร้าย หรือพยายามทำร้ายผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ
    ผลบาปก็จะสนองทันตา เช่นอาจถูกแผ่นดินสูบ หรือตกนรกกันขณะนั้นเลยทีเดียว

    สรูปแล้ว นิโรธ กับนิโรธสมาบัติ เป็นคนละอย่างกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2016
  3. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,160
    ค่าพลัง:
    +1,231
    สรูป ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นอริยะบุคคลตั้งแต่ชั้นอนาคามีขึ้นไป
    และต้องเป็นผู้เขี่ยวชาญเรื่องการเข้าสมาบัติด้วย

    ผู้เข้านิโรธสมาบัติ โดยมากมักจะเป็น บุคคลระดับพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    และพระอรหันตสาวก ผู้ชำนาญอภิญญาสมาบัติ

    แม้แต่พระอรหันตสาวกทั่วๆไปที่ไม่ชำนาญทางสมาบัติก็ยังทำไม่ได้

    ได้ทำบุญบูชาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์
    ขณะที่ท่านเข้านิโรธสมาบัติ หรือเพิ่งจะออกจากนิโรธสมาบัตมาใหม่ๆ
    ได้บุญมากกว่าการทำบุญในยามปกติ
    แต่ถ้าเป็นการไปรบกวนหรือทำร้ายท่านในขณะเข้านิโรธสมาบัติ ก็เป็นบาปมหันต์เช่นกัน
     
  4. มิลินท์

    มิลินท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +25
    ไม่เคยเข้าสมาบัติ แต่ค้นตำรามาตอบให้ค่ะ

    สมาบัติ หมายถึง ภาวะสงบปรานีตซึ่งพึงเข้าถึง;

    สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น

    สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติ กล่าวคือ สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ ถ้าเพิ่ม นิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

    นิโรธสมาบัติ คือการเข้านิโรธ คือ ดับสัญญาความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ , พระอรหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติ ๘ แล้วจึงจะเข้านิโรธสมาบัติได้ (ข้อ ๙ ในอนุปุพพวิหาร ๙)

    ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ป.อ. ปยุตฺโต

    +++++++++
    อ่านแล้วมึน เข้าใจอยู่ส่วนเดียวคือ เกี่ยวกับขันธ์ ๕
     
  5. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314

    ขอบใจจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มีนาคม 2016
  6. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ผู้ตั้งคำถามคนแรกนั้นตั้งคำถามได้ดี ... ส่วนผู้ที่ตอบให้คุณข้างบนนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อหล่ะเพราะอ้างตำรา จึงอาจจะมีผิดพลาดได้ง่ายหรืออาจจะผิดหมดเลยก็ว่าได้

    ส่วนผู้ที่จะตอบให้คุณได้ชัดเจนคาดว่าคงเป็น คุณ ฐสิษฐ์929 แต่ไม่รู้ว่าเขายังอยู่หรือว่างรึป่าว แต่ผมยืนยันหนักแน่เลยว่าคำตอบที่ผ่านมาบ้างบนนี้ผิดอย่างแน่นอน มีหลายประเด็นบ่งบอกอยู่เพราะอย่าลืมสิว่า ผู้ตอบหรือเรา ๆ ท่าน ๆ ก็ยังเป็นฆราวาสหรืออาจจะเป็นปุถุชนที่ยังอ้างตำราอยู่จึงยังไม่มีสภาวะอะไรไปวิจารณ์มากนัก เว้นแต่ผู้เป็นพหูสูตนะอาจจะพอตอบได้ ... รอติดตามคำตอบผู้อื่นต่อไปในวันนี้ละกันนะครับ รอ ๆ ๆ ...
     
  7. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +494
    อรูปฌาน5-8
    ถ้าผผิดก็ขอโทษด้วย
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014









    ขอชี้แนะเท่านั้น
    ไม่ได้หวังว่า จะมีคนมาเข้าใจได้
    เพราะผู้ที่อ่าน ส่วนใหญ่จะไม่เคยฝึกอรูปญาน
    โดยเฉพาะ อรูปญานที่สี่ คือ ลืมเลือน
    จึงขอพูดไว้ เป็นแนวทางเท่านั้น
    เมื่อมีคนที่เคยฝึก เข้ามาอ่าน
    เดี๊ยวก็นึกออกได้
    ก็คงจะมาเฉลยเอง

    รูปญาน คือ ญานที่เน้นการจดจำรูป
    ไม่เน้นที่ความรู้สึก
    แต่ไปเน้นที่ การจดจำ แทน
    ดังนั้น ผู้ที่ฝึก ไม่จำเป็นต้องมีปัญญามากก็ได้
    ยิ่งมีปัญญาน้อยเท่าไหร่
    ก็ยิ่งฝึกได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
    จึงทำให้ผู้ที่มีปัญญามาก
    ไม่ค่อยอยากฝึก รูปญาน
    เพราะไม่ค่อยเห็นผล

    ส่วน อรูปญาน คือ ญานที่เน้นลงไปที่ความรู้สึก อย่างเดียว
    โดยแยกประเภทไว้เป็นสี่อย่าง ไม่ได้เรียงกัน
    เพราะฉะนั้น ตอนที่ฝึก
    ถ้ามีครูอาจารย์ที่ดี
    มาคอยควบคุมดูแลสั่งสอน
    ก็อาจจะฝึกอย่างเดียว
    แล้วสำเร็จ อรูปญานที่สี่ เลยก็ได้
    แต่โอกาส ก็มีน้อยมาก
    เพราะครูที่จะมาสอน
    ก็ต้องผ่านการฝึก
    มาตั้งแต่ ขั้นอากาส
    แล้วเรียงตามลำดับไป
    จึงจะสามารถสอนศิษย์
    ให้สำเร็จได้เร็วกว่าตนเอง
    เรียกว่า การย่นเวลาในการฝึก
    และ ตัวลูกศิษย์เองก็ต้องมีอุปนิสัย
    เหมือนกับอาจารย์ คล้ายๆกับเป็น คู่แฝดกัน
    จึงจะจูนกันติด สอนกันได้ เข้าใจเหมือนกัน

     
  9. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    นิโรธสมาบัติคือสภาดับของความคิด(กิเลสมันก็อยู่ในความคิด ความทุกข์ก็อยู่ในความคิด)
    เพ่งฌานถึงฌาน9 หรือญาน9 เป็นนิโรธสมาบัติหรือเรียกอักนัยหนึ่งว่าอัพยากตาธรรม, วิสังขารธรรม, สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ, อรหันตมรรค (ตอบตามครูบาจารย์สอน ไม่ใช่อย่างในตำรา)
    มีผลต่อทางโลกอย่างไรนั้นก็คือไม่กลับมาเกิดอีกตลอดไป
    เจริญในธรรม
     
  10. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    นั่นไงหล่ะ คุณฐสิษฐ์929 แวะมาจริง ๆด้วย นึกว่าจะไม่แวะมาซะแล้ว ผมรอติดตามคำของคุณอยู่พอดี (- -)

    ทีนี้หากถามต่อไปอีกว่า "ไม่กลับมาเกิดอีก" แสดงว่าหลุดพ้น แล้วบอกว่าดับความคิด ถ้าดับความคิดแล้วจะอยู่อย่างไร จะเอาอะไรมาพูดมาสอน ตรงนี้เคยมีคนถามผมนั่นเองครับจึงนำมาถามต่อ
     
  11. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ถามถ้าดับความคิดแล้วจะอยู่อย่างไร
    ตอบเป็นขณะเข้านิโรธสมาบัติ ใช่ว่าจะดับตลอดไป เมื่อออกนิโรธก็เป็นเหมือนคนธรรมดา จะบอกจะสอนกันตอนนี้
    (เข้านิโรธเป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ออกจากนิโรธเป็นอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ)
    ดับความคิดนั้นไม่ตายหรอก มันจะทุกข์ตายก็เพราะความคิดนั้นละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2016
  12. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31

    ผมมีอีกคำถามต่อจากคำตอบเมื่อกี๊นะครับ คือ ขณะเข้านิโรธสมาบัติกับขณะออกจากนิโรธสมาบัติ คำถามคือว่า
    1. "ขณะที่ท่านผู้นั้นออกจากนิโรธสมาบัติจะมีระดับสมาธิระดับใด หรือฌานใดหรือไม่ หรือว่า จะไม่แตกต่างจากคนธรรมดา ตรงนี้คือพูดถึงสภาวะของสมาธินะครับ ... เพราะผมก็ยังไม่เข้าใจตรงนี้นักว่าจะรู้สึกต่างกันกับคนธรรมดามั้ยนั่นเองครับ"
    2. "หากช่วงนั้นท่านออกสอนธรรม ทีนี้ถ้าท่านจะเข้านิโรธสมาบัติจะต้องผ่าน รูปฌาน 4 อรูปฌาณ 4 อีกมั้ยครับ ต้องลำดับขึ้นไปทีละฌานรึป่าว ..."

    ขอความกรุณาด้วยนะครับ มิใช่ถามให้ติดนะครับ อย่าเข้าใจผิด ... เพื่อประโยชน์ต่อผมเองและผู้ที่ได้มาอ่านครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ (- -)
     
  13. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014







    จะให้ข้อคิดอีกนิดว่า

    จะเปรียบเทียบ นิโรธสมาบัติ
    กับ วิธีที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    สอนมโนมยิทธิ ให้กับลูกศิษย์
    โดยให้ลูกศิษย์บางคน
    ขึ้นไปนอนบน สวรรค์ ที่วิมานของตน

    โดยที่ อาจจะมีลูกศิษย์บางคน
    สามารถไปแดนนิพพานได้
    ก็ให้ไปบ่อยๆ จิตใจจะได้ซึมซาบ นิพพาน ทีละนิดๆ
    จนเต็มอยู่ในกมลสันดาน
    ต่อไป เมื่อไม่มีคนสอนให้
    ตัวลูกศิษย์คนนั้น ก็จะไปเองได้
    ด้วยตัวเค้าเอง ไม่ต้องคอยพึ่งพิงอาจารย์อีก

    ทีนี้ นิโรธ อยู่ตรงนี้
    ก็คือ การลองเข้านิพพานดู ขนะที่ตัวเองยังไม่ตาย
    หรือ การลองตายดู ว่าตัวเองจะทำใจได้หรือยัง
    หรือ จะตัดสินใจตายได้หรือยัง
    หรือ มันยังมีสิ่งอื่นต้องทำอยู่อีกหรือไม่

    เมื่อจะเข้าต้องเข้าจาก อรูปญาน ที่สี่
    คือ เริ่มตัดอาการรับรู้ออกทีละอย่าง ทีละส่วน
    เป็นขั้นเป็นตอนไป พอถึง อรูปญานที่สี่
    ก็ให้ใส่ มรนัง ไปหา นิพพานัง
    หรือ ขันห์ห้า ไปหา นิพพานัง
    ตรงนี้ฝึกครั้งแรก ต้องมีอาจารย์คอยควบคุม
    ตามไปเห็นด้วย ว่าศิษย์ของตัวเองทำถูกวิธีหรือไม่

    มรนัง คือ สายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    ขันธ์ห้า คือ สายพระป่า

    แต่ยังมีวิธีฝึกอีกหลายอย่าง
    แต่ขอกล่าวไว้เพียงอย่างเดียว
    เพราะวิธีอื่น มีขั้นตอนที่แตกต่างกัน
    แต่มีวิธีการ น้อมนำจิต หรือ ส่งจิต ที่เหมือนกัน

    บางคนเข้าใจว่า นิโรธ เป็นเรื่องของพระอรหันต์อย่างเดียว
    พระอริยะชั้นอื่น ยังทำไม่ได้
    อันนี้ ไม่ถูก
    ความจริง พระอริยะชั้นไหน ก็เข้านิโรธได้
    เพราะ การเข้ามีขั้นตอนเหมือนกัน
    แต่ถ้าเป็นพระอริยะชั้นอื่น ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
    เมื่อเข้านิโรธแล้ว กิเลสของตัวเองยังไม่หมดสิ้น
    จะรู้สึกกลัวตาย กลัวนั่น กลัวนี่ อยู่
    แสดงว่า ยังไม่ได้พระอรหันต์

    ส่วนพระอรหัตน์ ท่านหมดกิเลสแล้ว
    เมื่อท่านเข้านิโรธ ท่านจะไม่เหลือ
    อาการกลัวนั่น กลัวนี่ เลย
    แต่อาจจะมีบ่วงเล็กน้อย เรื่องแผยแผ่อยู่
    ท่านก็จะเริ่มสอนธรรม
    ที่ระดับพระอนาคา หรือ พระอรหันต์ด้วยกันเท่านั้น
    ที่จะฟังเข้าใจได้ วิเคราะห์ได้ สังเคราะห์ได้
    นอกนั้น ถือว่า ไม่ใช่กิจ
    ท่านจะแกล้งหลงๆ ลืมๆ มันบ้าง
    ให้คนอื่นทำบ้าง ทำบ้าๆใบ้ๆบ้าง
    เพื่อไม่ให้คนอื่นมาใช้ท่าน
    หรือ มาว่าท่าน แล้วจะตกนรกกันซะหมด

    เพราะฉะนั้น เวลาไปวัดป่า
    อย่าไปใช้พระ ไม่ว่าขอร้องเรื่องอะไรก็ตาม
    อาจจะตกนรกโดยไม่ได้ตั้งใจ
    แต่ถ้าหาก ท่านช่วยสงเคราะห์
    ก็ไม่เป็นไร
     
  14. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ผมมีอีกคำถามต่อจากคำตอบเมื่อกี๊นะครับ คือ ขณะเข้านิโรธสมาบัติกับขณะออกจากนิโรธสมาบัติ คำถามคือว่า
    1. "ขณะที่ท่านผู้นั้นออกจากนิโรธสมาบัติจะมีระดับสมาธิระดับใด หรือฌานใดหรือไม่ หรือว่า จะไม่แตกต่างจากคนธรรมดา ตรงนี้คือพูดถึงสภาวะของสมาธินะครับ ... เพราะผมก็ยังไม่เข้าใจตรงนี้นักว่าจะรู้สึกต่างกันกับคนธรรมดามั้ยนั่นเองครับ"
    2. "หากช่วงนั้นท่านออกสอนธรรม ทีนี้ถ้าท่านจะเข้านิโรธสมาบัติจะต้องผ่าน รูปฌาน 4 อรูปฌาณ 4 อีกมั้ยครับ ต้องลำดับขึ้นไปทีละฌานรึป่าว ..."

    ขอความกรุณาด้วยนะครับ มิใช่ถามให้ติดนะครับ อย่าเข้าใจผิด ... เพื่อประโยชน์ต่อผมเองและผู้ที่ได้มาอ่านครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ (- -)
    1.เข้าฌานนิโรธเป็นฌานที่9 เวลาออกก็ลดลำดับฌานลงจาก8 7 6 5 4 3 2 1 และออกจากฌาน เป็นสภาวะเหมือนกับคนธรรมดา แต่การออกเข้าจากฌานของพระอริยเจ้านั้นกระทำได้ตลอดเวลา โดยปกติท่านจะเข้าฌาน
    2.เวลาเข้านิโรธสมาบัติก็ต้องลำดับฌานแล้วแต่ละท่านว่ามีความชำนาญเพียงใด หากชำนาญมากๆเพียงพริบตาเดียวเท่านั้น
     
  15. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ขอคารวะ ท่าน ฐสิษฐ์929

    ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญ ฝั่ง อรูปญาน จริงๆ
    หากในบอร์ด ไม่มีท่านคอยชี้แนะ
    เชื่อได้ว่า ต่อไป คงไม่ใครรู้จัก อรูปญาน
    ก็ขอให้มุ่งมั่นสั่งสอนต่อไป
    อย่าได้กลัวคนคอมเมนต์นะครับ

    สาธุ อนุโนทามิ ขออนุโมทนา
     
  16. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ไม่ได้กลัวที่เงียบไปเพราะไม่มีสาระใดๆต่างหากครับ
     
  17. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    เริ่มจะข้องใจขึ้นมาแล้วว่า ตกลงเป็นอย่างไรกันแน่ ... ก็ขอความเห็นทั้งคุณฐสิษฐ์ และ คุณ nilakarn ด้วย ตรงที่ว่า "ผู้ที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้"

    1. ส่วนใหญ่ว่ามีกล่าวในพระไตรปิฎกว่า เข้าได้เฉพาะ พระอนาคามีกับพระอรหันต์
    2. พระอริยบุคคลทุกอริยภูมิเข้าได้ ...(คุณ nilakarn พิมพ์บอกไว้)
    3. บางท่านก็ว่า เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น

    ตกลงยังไงแน่ครับเนี่ย ขอความเห็นท่านด้วยครับ
     
  18. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นครับ
    พระอนาคายังสังโยชน์อีก 5 ตัว
    รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
    อย่างที่ผมอธิบายนิโรธสมาบัติคือการดับความคิด ดับความคิดผลที่เนื่องด้วยความคิดดับทั้งหมด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ต่างเนื่องอยู่ในความคิดทั้งสิ้น หากพระอนาคามีเข้านิโรธธรรมได้ก็คงได้เป็นพระอรหันต์เท่านั้นเอง
    ใครก็ได้หากเข้านิโรธสมาบัติได้ ก็ได้เป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอนครับ
    เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2016
  19. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014





    ผมจะบอกว่า ผู้ที่ผ่าน อรูปญานขั้นสูง เท่านั้น
    จึงจะมีสิทธิ์ เข้านิโรธได้
    ส่วนพระอรหันต์ ที่ไม่ได้ฝึก อรูปญานที่สี่
    หรือฝึกแล้ว แต่ไม่ถึง ก็เข้าไม่ได้ครับ
    เพราะอรูปญาน ผู้ที่ฝึกจะต้องฝึกดับส่วนที่รับรู้ ทีละส่วนๆ
    ดับได้ทุกส่วน เรียกว่า เข้านิโรธ


    ก็เหมือนกับที่เราฝึก มโนมยิทธิ ตอนไปเที่ยวสวรรค์ เที่ยวนิพพาน
    เวลาฝึกกับอาจารย์ ทำไมเห็นชัดแจ๋วเลย
    แต่พอกับมาฝึกคนเดียวที่บ้าน มองเห็นรางๆ
    ก็เพราะว่า ตอนฝึกกับอาจารย์
    เราใช้กำลังของอาจารย์ไปดูสวรรค์ จึงชัดเจนมาก
    แต่พออยู่คนเดียว ใช้แต่กำลังของเรา ที่มีน้อยมาก
    จึงเห็นแค่เรือนรางแค่นั้นเอง

    ทีนี้ คงมีคนสงสัยว่า ถ้าอย่างนัันจะฝึกไปทำไม
    เมื่อไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่

    ประโยชน์ของมันก็มีอยู่ คือ
    ผู้ที่เห็นได้ ก็จะเข้าใจได้ว่า สวรรค์นั้นมีอยู่จริงๆ
    นิพพานก็มีอยู่จริงๆ ไม่ใช่เรื่องหลอกลวง
    ก็หมดสิ้นความสงสัย

    นิโรธ นี่ก็แนวเดียวกัน
    หากมีพระอรหันต์ ที่เก่งสมาบัติ
    เข้านิโรธสมาบัติ ท่านก็จะคอยแนะนำได้
    ถึงลูกศิษย์ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์
    ก็สามารถทำได้ ด้วยกำลังของอาจารย์
    ต่อไป เมื่ออยู่คนเดียว ก็สามารถเข้าได้เอง
    แต่อาจจะเลือนราง เพราะกำลังไม่สูงพอ
    เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็จะเข้าได้เต็มที่
    เพราะกำลังของตัวเองเต็มแล้ว



    ผู้ที่ฝึกแนวนี้ได้
    สมัยก่อนก็มี ตอนที่พระพุทธเจ้า ยังอยู่
    พระอรหันต์รูปหนึ่ง ตรวจดูว่า
    พระพุทธเจ้าปรินิพพานหรือยัง
    ด้วยการเข้าสมาธิพร้อมกัน
    แล้วคอยดูวิธีการที่พระพุทธองค์ ดับขันธ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 เมษายน 2016
  20. นิพพิชฌน์55

    นิพพิชฌน์55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2016
    โพสต์:
    185
    ค่าพลัง:
    +31
    ขอบคุณในความกรุณาในคำตอบ ในพระธรรมที่ท่านแสดงและบอกไว้ทั้งสองท่านครับ เป็นประโยชน์อย่างมาก

    แต่เท่าที่ดูทั้งสองท่านก็แตกต่างกันอยู่ ถ้าผมถามท่านทั้งสอง ให้พิจารณาคำตอบของกันและกันหล่ะครับ จะกล้าวิจารณ์หรือไม่ครับ ... อันนี้ตั้งคำถามฝากไว้นะครับ ไม่ตอบก็ไม่เป็นไรครับหากเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ เพราะเกรงว่าจะเป็นโทษนั่นเอง ... บางทีผมอาจจะถามตรงนะ ขออภัยหากทำให้ไม่ชอบใจครับผม สาธุในพระธรรมครับผม (- -)
     

แชร์หน้านี้

Loading...