ผมปรารถนาให้ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ได้มีสัมมาทิฎฐิ มีความเห็นตรง มีความเห็นชอบตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อจะได้มีดวงตาเห็นธรรม
ไม่ใช่ไปเชื่อตามคำอาจารย์ของตน ซึ่งป่านนี้คงเสวยผลกรรมที่ทำไว้อย่างทรมานแสนสาหัส เนื่องเพราะมีมิจฉาทิฎฐิเป็นตัวนำพาไป
ท่านเตชปญฺโญ ภิกขุ ผู้เป็นลูกศิษย์ ยังไม่สายเกินไปที่ท่านจะเปลี่ยนจากมิจฉาทิฎฐิมาสู่สัมมาทิฎฐิ ท่านยังมีโอกาสที่จะแก้ไขความผิดพลาด ความเข้าใจผิด ตีความผิดๆ ได้
แนวทางที่ท่านปฏิบัติมา ท่านอาจปฏิบัติตามแนวทางของสุกขวิปัสโก ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่พระพุทธเจ้าท่านทรงวางไว้ ตามแนวทางนี้ท่านสามารถบรรลุมรรคผลได้ หากท่านมีสัมมาทิฎฐิ แต่ท่านไม่สามารถพบเห็น นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน ได้ ท่านจึงไม่เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสกล่าวไว้
ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนให้ท่านลองหันมาปฏิบัติในแนวทางของ เตวิชโช ฉฬภิญโญ หรือปฎิสัมภิทัปปัตโต แนวทางใดแนวทางหนึ่งตามแต่จะถูกจริตของท่าน เพื่อไปพิสูจน์คำกล่าวขององค์สมเด็จพระพิชิตมารว่า สิ่งที่ท่านตรัสไว้เกี่ยวกับ นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน มีจริงหรือไม่
ขอท่านอย่ามัวแต่แสดงโวหารว่าท่านมีภูมิรู้ยิ่งกว่าสามัญชนคนธรรมดาอยู่เลย ท่านควรเร่งปฏิบัติให้เห็นจริงตามคำสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์ เพื่อท่านจะได้ชื่อว่าเป็นสาวกที่ดีของพระองค์ และไปแก้ไขในสิ่งผิดพลาดที่ท่านกระทำมาในอดีต
ขอโมทนาหากท่านจะกลับมาเป็นผู้ที่มีสัมมาทิฎฐิในอนาคตข้างหน้า
.
น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.
?
-
ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)
0 vote(s)0.0% -
เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)
0 vote(s)0.0%
หน้า 36 ของ 104
-
-
ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ
<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p>เรารู้จักตนเองอย่างถูกต้องแท้จริงแล้วหรือยัง?
ถ้าใครยังไม่รู้จักตนเองอย่างถูกต้อง ก็ขอเชิญมาค้นหาตัวเองจากหนังสือธรรมะวิทยาศาสตร์ :
"ฉันคืออะไร?"(ศึกษาชีวิตโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์)
http://www.whatami.net/web-w/hatami/for/am.html
จากเวบไซต์สำหรับผู้แสวงหาความจริง...."ฉันคืออะไร?"
http://www.whatami.net</o:p> -
ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ
เช่นนั้น "ความตาย" ก็คือสิ่งดับทุกข์ทั้งปวงน่ะสิครับ เพราะตายแล้วสูญ (แบบที่ท่านเตชปัญโญ กล่าว) แล้วพระพุทธเจ้าท่านจะกล่าวถึงพระนิพพานไว้ทำไมเหรอครับท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ????
ถ้าตายแล้วสูญ แล้วพระพุทธเจ้าท่านจะทรงสอนให้รักษาศีล ฝึกสมาธิ และเจริญวิปัสนา สอนให้ละกิเลส ให้มันลำบากทำไมเหรอครับท่านเตชปัญโญ ภิกขุ?<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
***นิพพาน ในความหมายของคุณโยมคืออะไร?***
***คุณโยมลองแสดงความเห็นมาบ้าง?***
***พระพุทธเจ้าสอนให้เราดับทุกข์ในปัจจุบัน****
***เหมือนไฟที่กำลังลุกท่วมหัวเราอยู่ ทำไมเราไม่รีบดับมันก่อน***
***เราหวังแต่ว่าจะไปดับมันเมื่อตายแล้วอย่างนั้นหรือ?***
***ศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีเพื่อดับทุกข์ในปัจจุบัน***
***การห่วงว่าจะมีทุกข์อีกเมื่อตายแล้วนี้ ก็ทำให้เป็นทุกข์ขึ้นมาอีก***
***อาตมาบอกว่า -
*พระพุทธเจ้าสอนให้เราดับทุกข์ในปัจจุบัน****
***เหมือนไฟที่กำลังลุกท่วมหัวเราอยู่ ทำไมเราไม่รีบดับมันก่อน***
----------------------------------------------------------------------------------
ถูกต้องครับท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ข้อนี้ผมเห็นด้วย และไม่เถียงอะไรท่านเลย
(ศาสนาพุทธนั้นศึกษาแล้วต้องปฏิบัติด้วยครับถึงจะเห็นผล)
***เราหวังแต่ว่าจะไปดับมันเมื่อตายแล้วอย่างนั้นหรือ?**
---------------------------------------------------------------------------
ต้องรีบปฏิบัติณ.ปัจจุบันนี้แหละครับ ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ
ผมเห็นด้วยกับท่านเตชปัญโญ ภิกขุครับ
แต่เท่าที่ผมอ่านมา ก็ยังไม่เห็นมีท่านใดกล่าวไว้นี่ครับว่าให้ไปปฏิบัติหลังจากตายไปแล้ว
หรือถ้ามี ก็รบกวนท่านเตชปัญโญ ภิกขุ นำมาให้ผมได้เห็นสักหน่อยนะครับ
เ่อ่อ.....ผมขอถามท่านเตชปัญโญ ภิกขุ 2 ข้อสั้นๆ ครับเพราะเป็นประเด็นหลักที่ผมสนทนากับท่าน
1.ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ กล่าวว่า เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏก เป็นเรื่องที่พวกศาสนาอื่นนำมาแทรกไว้ ใช่มั่ยครับ ?
2. ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ เชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดหรือไม่ครับ ?
ผมขอถามท่านเตชปัญโญ 2 ข้อนี้ก่อนครับ ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยนะครับท่าน ขอคำตอบแบบตรงๆ นะครับ. -
joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต
คุณของพระพุทธศาสนา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
<HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->
คุณของพระศาสนาที่สุดประเสริฐในโลกคือ
พระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาที่ผู้รู้จริง
รู้ถูกต้องย่อมรู้ชัดว่า มีคุณสมบัติดั่งเพชรแท้
น้ำงามบริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซนต์
ไม่มีวัตถุแปลกปลอมใด
ไม่มีความสกปรกเศร้าหมองใด จะสามารถแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเพชรได้แม้แต่น้อย ได้แต่เพียงห้อมล้อมอยู่ภายนอกเท่านั้น ดังนั้นที่มีการกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเศร้าหมองแล้ว เสื่อมแล้ว จึงเป็นการกล่าวผิดอย่างสิ้นเชิง
พระพุทธศาสนาไม่มีเศร้าหมอง
พระพุทธศาสนาไม่มีเสื่อม
ผู้แวดล้อมหรือพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ที่ประพฤติผิดศีลธรรมวินัย
ขาดเมตตากรุณา
เช่นนี้ที่เป็นผู้สกปรก
เศร้าหมองและเสื่อม
คือเสื่อมจากความดีงามความเจริญรุ่งเรืองความร่มเย็น
ผู้ทำความเสื่อมความเศร้าหมอง
จึงจะเป็นผู้เสื่อมผู้เศร้าหมอง
พระพุทธศาสนาไม่ได้ทำความเสื่อมความเศร้าหมองใดๆ แม้แต่น้อย
พระพุทธศาสนาจึงไม่เสื่อมไม่เศร้าหมองแม้แต่น้อย
ขอให้ช่วยกันถือหลักนี้ไว้
เมื่อมีผู้ทำบาปทำกุศล ทำความสกปรกเศร้าหมองผิดศีลผิดธรรมวินัยมีมากมายขึ้นเพียงไร ก็ให้รู้ว่าเขาเหล่านั้นทำตัวเขาเองให้สกปรกเศร้าหมอง มีความน่ารังเกียจ มีความเสื่อมจากสิริมงคลและความเจริญด้วยคุณงามความดีนานาประการ
ผู้ที่ทำความชั่วร้ายต่างๆ มีใจที่สกปรกด้วยอำนาจของกิเลสที่รุนแรง สามารถทำให้โลกนี้วุ่นวายเดือดร้อนได้ ดังที่กำลังเป็นอยู่ในทุกวันนี้ ความเดือดร้อนวุ่นวายน่าสะพึงกลัวที่พากันต้องเผชิญอยู่หนักหนาในขณะนี้
: พระวรธรรมคติ
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14262
ดังนั้นพระอลัชชีที่กล่าวตู่พระธรรมละเมิดคำสอนพระศาสดาและพระอรหันตสาวกไม่เชื่อในพระไตรปิฏก บอกว่าตายแล้วสูญเป็นมิจฉาทิฏฐิเป็นผู้สกปรกก่อความมัวหมองให้พระศาสนา หากเห็นแก่พระศาสนาก็จงละทิฏฐินี้เสียเถอะครับ -
หลวงพี่ ผมว่าแล้วว่าหลวงพี่เสียเวลาเปล่าแน่
พวกนี้เขาไม่ได้ต้องการเหตุผลจากหลวงพี่หรอก
เขาเพียงต้องการจะเอาผิดกับหลวงพี่เท่านั้น
เขาถามๆ ไปยังงั้นเอง เขาไม่ได้ฟังหรอกว่าหลวงพี่พูดอะไร
เขาเพียงจะหาวิธีให้หลวงพี่พูด แล้วเขาก็จะหาวิธีจับผิดคำพูดของหลวงพี่ เพื่อดิสเครดิต
(ผมลองให้เขาวิจารณ์ลัทธิจานบิน เขาไม่แม้แต่จะเอ่ยถึง)
พระพุทธเจ้ายังเลือกโปรดสัตว์ ไม่ได้พยายามสอนบัวทุกเหล่า
คนพวกนี้เหมือนที่ท่านเว่ยหลางกล่าวไว้ว่า "ถูกพระไตรปิฎกพลิกอ่าน" ไม่ใช่ "พลิกพระไตรปิฏกอ่าน"
หากหลวงพี่ต้องการให้คนเหล่านี้เชื่อ หลวงพี่ต้องเปิดสำนักผลิตพระเครื่องที่ป้องกันระเบิดนิวเคลียร์ ชีวภาพ เคมี แบบ 3-in-1 แล้วแจกจ่าย
อย่างนี้ หลวงพี่ไม่ต้องใช้เหตุผลว่าพระเครื่องหลวงพี่ช่วยให้แคล้วคลาดได้อย่างไร
รับรองพวกเขาไม่ถามสักแอะ
แถมยังคลานเข้ามาให้หลวงพี่ลูบหัวเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกต่างหาก -
ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ
1.ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ กล่าวว่า เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเป็นเรื่องที่พวกศาสนาอื่นนำมาแทรกไว้ ใช่มั่ยครับ ?
2. ท่านเตชปัญโญ ภิกขุเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดหรือไม่ครับ ?<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p></o:p>
**คำตอบอยู่ในหนังสือของอาตมานี้***<o:p></o:p>
๕. พระไตรปิฎก<o:p></o:p>
พระไตรปิฎก ก็คือ ตำราที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเอาไว้ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก โดยพระไตรปิฎกของทางเถรวาทนี้จะแยกได้ ๓ หมวดหมู่ คือ
๑. พระวินัยปิฎก คือหมวดหมู่ที่รวบรวมเรื่องที่เกี่ยวกับศีลหรือวินัยของพระสงฆ์ทั้งหมดเอาไว้<o:p></o:p>
๒. พระสุตตันตปิฎก คือหมวดหมู่ที่รวบรวมคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเอาไว้ทั้งหมด
๓. พระอภิธรรมปิฎก คือหมวดหมู่ที่รวบรวมคำสอนที่แต่งขึ้นในภายหลังโดยพระสาวก
การบันทึกคำสอนในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนชีพอยู่นั้น จะใช้วิธีการท่องจำปากต่อปาก โดยใช้พระสงฆ์จำนวนมากมาท่องจำสืบต่อๆกันไว้ จนภายหลังเมื่อพระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว จึงได้มีการนำมาบันทึกไว้เป็นตัวอักษร และมีการตรวจทานแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง
ชาวพุทธของทางเถรวาทนี้จะยึดถือว่า พระไตรปิฎกทั้งหมดนั้นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง แต่ถ้าเราจะศึกษาพระไตรปิฎกทั้งหมดแล้ว เราก็จะพบกับคำสอนที่ขัดแย้งกัน เช่น ส่วนมากจะมีคำสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดอย่างของพราหมณ์ (อัตตา) และบางแห่งก็มีคำสอนเรื่องความจริงสูงสุดของธรรมชาติเรื่องของความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ที่ขัดแย้งกับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และบางแห่งก็มีหลักที่สอนไม่ให้เชื่อจากใครๆ แม้จากตำรา หรือจากครูอาจารย์ของเราเอง เป็นต้น
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าคำสอนของพุทธศาสนานั้นมีอยู่ ๒ ระดับ คือ ระดับธรรมดา (ศีลธรรม) กับ ระดับสูง ซึ่งคำสอนระดับศีลธรรมนั้นก็ได้แก่พวกคำสอนเรื่อง การให้ทาน การรักษาศีล การช่วยเหลือผู้อื่น การมีความกตัญญูกตเวที การมีความขยัน อดทน ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย เป็นต้น ซึ่งมีไว้สำหรับสอนบุคคลที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์น้อย เช่น ชาวบ้านทั่วๆไป โดยมีจุดหมายอยู่ที่ความสงบสุขทั้งของส่วนตัวและของสังคม ซึ่งคำสอนระดับศีลธรรมนี้ ส่วนมากก็จะมีคำสอนเหมือนเรื่องการเวียนว่านตายเกิดอย่างของพราหมณ์ อยู่ด้วยเกือบทั้งหมด เพราะเป็นคำสอนที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติง่าย รวมทั้งชาวบ้านก็ชอบด้วย
ส่วนคำสอนระดับสูงนั้น จะเป็นคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ ในชีวิตปัจจุบันที่เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นคำสอนให้เข้าใจถึงความจริงแท้ของธรรมชาติ แต่ว่ามันอาจจะดูขัดแย้งกับคำสอนระดับศีลธรรม คือศีลธรรมจะสอนว่ามีตัวตน แต่ระดับสูงจะบอกว่าไม่มีตัวตน หรือไม่มีจิตหรือวิญญาณที่จะออกจาร่างกายไปเวียนว่ายตายเกิด และสอนไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้นแม้แต่พระพุทธเจ้าหรือตำราพระไตรปิฎกก็ตาม ซึ่งหลักคำสอนที่สอนไม่ให้เชื่อจากใครแม้จากตำรานี้ จะเป็นหลักคำสอนระดับสูง ที่เอาไว้ตรวจสอบ ว่าคำสอนใดเป็นของพระพุทธเจ้าจริงหรือไม่ <o:p></o:p>
๖. การประยุกติธรรมะในการสอน<o:p></o:p>
ถ้าเราจะเข้าใจว่า การสอนธรรมนั้นจะมีวิธีการสอนอยู่ ๒ ลักษณะ คือ (๑) สอนโดยยกตัวตนบุคคลเป็นที่ตั้ง กับ (๒) สอนโดยยกธรรมะเป็นที่ตั้ง เราก็จะเข้าใจได้ว่าคำสอนในพระไตรปิฎกนั้น ไม่มีความขัดแย้งกันเลยเป็นส่วนใหญ่ เพราะการสอนโดยยกตัวตนบุคคลเป็นที่ตั้งนั้น จะเอาไว้สอนชาวบ้านในระดับศีลธรรม โดยเอาธรรมะมาสมมติเป็นตัวตนบุคคล หรือสถานที่ให้เหมือนกับอย่างของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งชาวบ้านเขาก็เข้าใจกันอยู่ก่อนแล้ว ส่วนการสอนโดยยกธรรมะเป็นที่ตั้งนั้น จะสอนเรื่องความจริงแท้ของธรรมชาติ หรือเรื่องการดับทุกข์ (อริยสัจ ๔) โดยจะเอาไว้สอนเฉพาะคนที่มีปัญญาเท่านั้น <o:p></o:p>
อย่างเช่น ที่สอนว่า ถ้าทำความดี เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วจะได้เสวยสุขเป็นเทวดาบนโลกสวรรค์ หรือ ถ้าทำชั่ว เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วก็จะถูกลงโทษในนรก หรือเมื่ออยู่ในสมาธิและตายไป ก็จะเกิดเป็นพรหม หรือเมื่อหมดกิเลสก็จะหยุดเวียนว่ายตายเกิดหรือบรรลุถึงนิพพาน เป็นต้น ซึ่งนี่เป็นการสอนแบบยกตัวตนบุคคลเป็นที่ตั้งในการแสดงธรรม สำหรับสอนบุคคลในระดับศีลธรรม
แต่สำหรับบุคคลที่มีสติปัญญา เมื่อฟังคำสอนนี้แล้วก็จะเข้าใจได้ว่า นี่เป็นการสอนโดยเอาธรรมะมาสมมติเป็นตัวตนบุคคล และเขาก็จะสามารถแยกแยะเอาคำสอนที่ฟังมานี้ มาตีความเป็นธรรมะระดับสูงได้ อันได้แก่ เมื่อเราทำความดี เมื่อทำเสร็จ ขณะจิตที่เกิดขึ้นใหม่ก็จะมีความสุขใจ อิ่มใจขึ้นมาทันที(ขึ้นสวรรค์) หรือถ้าทำความชั่ว เมื่อทำเสร็จ ขณะจิตต่อไปก็จะเกิดความทุกข์ใจ ร้อนใจขึ้นมาทันที(ตกนรก) หรือเมื่อมีสมาธิ ขณะจิตต่อไปก็จะสงบสุขอย่างยิ่ง(เกิดเป็นพรหม) หรือเมื่อจิตหมดกิเลส ก็จะหยุดการปรุงแต่งให้เกิดความยึดถือว่ามีตัวตนใดๆขึ้นมา แล้วจิตก็จะสงบเย็น(นิพพาน) เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อเราพบคำสอนในพระไตรปิฎก หรือจากครูอาจารย์ใดๆ ที่สอนแบบมีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดอย่างของพราหมณ์ ก็ขอให้เข้าใจว่านั่นเป็นวิธีการสอนบุคคลในระดับศีลธรรม จะได้ไม่มีความเข้าใจสับสน ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วคำสอนระดับศีลธรรมนั้น ก็มีคำสอนระดับสูงซ่อนอยู่ด้วยเสมอ
----------------------------------------------
<o:p> ขอแนะนำหนังสือ "ไม่มีศาสนา"
http://www.whatami.net/web-w/hatami/for/no.html
สำหรับคนไม่มีศาสนา
จากเวบไซต์ http://www.whatami.net</o:p> -
แหม สนทนาตั้งนาน ผมพึ่งจะรู้ว่า ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ เป็นภิกษุสงฆ์ ุยึดหลักนิกาย เซน (แต่ไม่ใช่เซนดั่งเดิมนะแต่เป็นเซนแบบท่านพุทธทาส)
ผมว่าถ้ายังจะสนทนาต่อไปก็คงจะหาข้อยุติไม่ได้ เพราะ ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ มีศรัทธาในตัวท่านพุทธทาส อย่างแรงกล้า... (แต่ท่านและอาจารย์ท่าน นั่นจะรับมาถูกหรือผิดนั้นคงต้องคิดครับ)
ผมพอจะสรุป หลักการของเซน สั้นๆ คือ "ทุกอย่างเป็นสูญตา" ใช่มั่ยครับ ท่านเตชปัญโญ ภิกขุ ?? (แต่เซ็นดั่งเดิมเค้าไม่ปฏิเสธเรื่องเวียนว่ายตายเกิดนะครับ)
ผู้บรรลุสูงสุดของเซ็น คือ แบบ สุขวิปัสโก นั่นเอง โดยท่านจะสอนเน้นดับทุกข์อย่างเดียว อย่างอื่นไม่สน เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และเรื่องนรก สวรรค์ มีปรากฏอยู่ในพระสูตรของท่านเว่ยหล่าง เรื่อง จิตเดิมแท้ และ ถือศีลแต่ตกนรก เป็นต้น แต่เหตุไฉนท่านพุทธทาสกลับปฏิเสธในเรื่องนี้หนอ ??
สรุป นิกายเซน (แบบดั่งเดิมที่ไม่ใช่ท่านพุทธทาสเีขียน) เค้าเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด นรก,สวรรค์ฯ
แต่เ้ค้าจะไม่ค่อยกล่าว แต่จะเน้นให้ดับทุกข์เร็วที่สุด แค่นั้นเองครับ
(เป็นความเห็นส่วนตัวครับ ผิดถูกอย่างไรขออภัยด้วย) -
ตอบข้อข้องใจ โดย เตชปญฺโญ ภิกขุ
ขอเชิญทุกท่านค้นหาพระพุทธเจ้า... จากหนังสือ..<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
"พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน?"<o:p></o:p>
http://www.whatami.net/web-w/hatami/for/bu.html
จากเวบไซต์ ฉันคืออะไร?<o:p></o:p>
http://www.whatami.net
<o:p></o:p>
-
joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต
จากพุทธาปทานชื่อ ปุพพกรรมปิโลติ ที่ ๑๐
ว่าด้วยบุพจริยาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระไตรปิฎกเล่ม ๓๓ ข้อ ๓๙๒
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก ประทับนั่งอยู่ที่พื้นหินอันเป็นรัมณียสถานโชติช่วงด้วยแก้วต่างๆ ในละแวกป่าอันมีกลิ่นหอมต่างๆ ใกล้สระอโนดาต ตรัสชี้แจงบุพกรรมทั้งหลายของพระองค์ ณ ที่นั้นว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังกรรมที่เราทำแล้วของเรา
เราเห็นภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่งแล้วได้ถวายผ้าเก่า เราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกเพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้น ผลแห่งกรรม คือการถวายผ้าเก่า ย่อมอำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า
ในกาลก่อน เราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่นมัว จึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ (แม้) เราจะกระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา
ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้าย (ตอบ) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำกล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานานถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง
เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุตวา อันชนทั้งหลายสักการะบูชา สอนมนต์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่ ก็เราได้เห็นฤๅษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤๅษีผู้ไม่ประทุษร้ายโดยบอกกะพวกศิษย์ของเราว่า ฤๅษีพวกนี้มักบริโภคกาม แม้เมื่อเราบอก (เท่านั้น) พวกมาณพก็เชื่อฟัง ครั้งนั้นมาณพทั้งปวง เที่ยวไปศึกษาในสกุลๆ พากันบอกแก่มหาชนว่า ฤๅษีผู้
นี้มักบริโภคกาม ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านั้นได้คำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่น้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์จับใส่ลงในซอกเขา และบด (ทับ) ด้วยหิน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นพระเทวทัตจึงผลักก้อนหิน ก้อนหินกลิ้งลงมากระทบนิ้วแม่เท้าของเราจนห้อเลือด
ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ใส่ไฟเผา (ดัก)ไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัตจึงชักชวนนายขมังธนูผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อ ให้ฆ่าเรา
ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัดพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนีแม้กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย วิงแล่นเข้าไปในคอก (ท้อง) เขา (วงกต) เบื้องหน้าผู้ประเสริฐ
ในกาลก่อน เราเป็นนายทหารราบ (เป็นแม่ทัพ) ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วยหอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ ไฟนั้นยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทั้งสิ้น (อีก) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป
ในกาลก่อนเราเป็นเด็ก (ลูก) ของชาวประมงอยู่ในบ้านเกวัฏฎคามเห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะ (ปวดศรีษะ) ได้มีแล้วแก่เราในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน พระเจ้าวิฎฏภะฆ่าแล้ว
เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง แต่อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว
อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน
ในกาลนั้น เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้ห้ามบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง) ได้มีแล้วแก่เรา
เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร (ตาย) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้นโรคปักขันทิกาพาธจะมีแก่เรา
เราชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่ากัสสปะในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหนโพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติธรรมที่ทำได้ยากมาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้น จึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอันบุพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด (บัดนี้) เราเป็นผู้ล้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน พระชินเจ้าทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุสงฆ์ ที่สระใหญ่อโนดาต ด้วยประการ ฉะนี้แลฯ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติอันเป็นปุพจารีตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แลฯ
ที่มา:
http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=15095
<!-- / message --><!-- sig -->เห็นเถียงมาเยอะแล้วอ่านเรื่องนี้นะครับพระพุทธเจ้าท่านไม่เคยสอนว่าตายแล้วสูญแต่กับตรัสเล่าพระจริยากรรมเก่าของพระองค์อัเป็นเครื่องยืนยันว่าโลกหน้าสวรรค์นรกมีจริง ใครที่ไม่เชื่อโดยเฉพาะว่าเป็นพระสงฆ์ด้วยเเล้วผมว่าเรียกว่าอลัชชีเถอะครับ
-
ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี
อนุโมทนาครับ สวรรค์มีจริง นรกมีจริง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
-
พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน?
พุทธศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนของท่านผู้รู้ ซึ่งผู้รู้ในที่นี้จะหมายถึง พระพุทธเจ้า ที่เป็นศาสดาของพุทธศาสนา โดยปัจจุบันผู้ที่นับถือพุทธศาสนาได้มีการแบ่งแยกหลักคำสอนและการปฏิบัติออกไปเป็นนิกายใหญ่ๆ ๒ นิกาย คือ (๑) มหายาน ที่มีผู้นับถือมากทางประเทศจีน ไต้หวัน เวียดนาม และ (๒) เถรวาท ที่มีผู้นับถือมากทางประเทศไทย ลาว พม่า ซึ่งแม้แต่ในแต่ละนิกายก็ยังมีการแบ่งแยกเป็นนิกายย่อยๆอีกมากมาย ซึ่งก็ทำให้เกิดความแตกแยกกันขึ้นมาในหมู่ของชาวพุทธเอง เพราะไม่มีใครยอมรับหลักการของนิกายอื่นพุทธศาสนาคืออะไร?<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p></o:p>
เท่าที่เราทุกคนพอจะรู้มาก็คือ พระพุทธจ้าคือผู้ที่ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ (อริยสัจ ๔ คือวิธีการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน) ซึ่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก็คือ การค้นคว้าจนพบวิธีการดับทุกข์ด้วยพระองค์เอง โดยไม่เชื่อจากใครๆ เมื่อตรัสรู้แล้วพระองค์ทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็น พุทธะ ที่แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานพระพุทธเจ้าคือใคร?<o:p></o:p>
<o:p></o:p>
คำว่า -
พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน?
สิ่งสำคัญในการค้นคว้าก็คือ พุทธะจะต้องมีเหตุมีผลในการศึกษา, ไม่ศึกษาเรื่องไร้สาระ, ต้องมีสมาธิ, ต้องมีใจเป็นกลาง, ไม่ลำเอียง, ไม่โลภ, ไม่โกรธ, ไม่ลังเล, ยอมรับเหตุผลและความจริงที่ปรากฏ, มีความอดทน, และมีเมตตาอย่างเสมอหน้า ซึ่งนี่คือลักษณะจิตของพุทธะที่เราจะต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นภายในจิตของเรา เราจึงจะพบพระพุทธเจ้าได้จริง และต่อจากไปนี้เราจะใช้เหตุใช้ผลในการศึกษาเพื่อค้นหาพระพุทธเจ้ากันต่อไปเราจะเชื่อคนอื่นได้หรือไม่?<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
<o:p></o:p>
พุทธะจะไม่เชื่อจากคนอื่นเด็ดขาด เพราะอะไร? เพราะถ้าเราเชื่อตามคนอื่น ถ้าคนที่เราเชื่อนั้นมีความเห็นผิดมาก่อน แล้วเราเชื่อเขา เราก็จะพลอยมีความเห็นผิดตามเขาไปด้วยทันที ดังนั้นเมื่อเรายังไม่รู้ว่าใครสอนผิดหรือถูก ถึงแม้ดูจากภายนอกว่าใครจะน่าเชื่อถืออย่างยิ่งก็ตาม เราจะไม่เสี่ยงไปเชื่อใครอย่างเด็ดขาด ถ้าเราหลงไปเชื่อใครเข้า แล้วบังเอิญเขาสอนผิด เราก็จะพลอยเกิดความเห็นผิดตามเขาไปด้วยทันที
<o:p></o:p>
พุทธะจะไม่เชื่อจากตำราอย่างเด็ดขาด เพราะอะไร? เพราะตำรานั้นอาจถูกเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนจากต้นกำเนิดได้เสมอ หรือถ้าคนที่เขียนตำรานั้นมีความเห็นผิดมาก่อน ตำรานั้นก็จะกลายเป็นตำราที่ผิดไปด้วยทันที หรือถึงแม้ถ้าผู้เขียนตำรานั้นเขียนถูก แต่ถ้าตำรานั้นบังเอิญถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดมาก่อนที่จะมาถึงเรา แล้วเราเชื่อตำรานั้น เราก็จะมีความเห็นผิดไปด้วยทันที
<o:p></o:p>
พุทธะจะไม่เชื่อตัวเองอย่างเด็ดขาด เพราะอะไร? เพราะความรู้หรือความเห็นของเรานั้นมาจากไหน? ถ้ามาจากคนอื่น แล้วถ้าคนอื่นเขามีความเห็นผิดมาก่อน แล้วเรายึดเอามาเป็นความเห็นของเรา เราก็จะมีความเห็นผิดอยู่เป็นพื้นฐานเสมอ เมื่อเชื่อตัวเอง ก็จะทำให้เราเกิดความเห็นผิดขึ้นมาทันที หรือถ้าเราเชื่อจากสามัญสำนึกของเราเอง ที่เป็นความรู้สึกธรรมดาๆ ที่พอรู้สึกว่าดีเราก็เชื่อ แต่พอรู้สึกว่าไม่ดีเราก็ไม่เชื่อ มันก็อาจผิดได้ง่ายเพราะมันเป็นการคาดเดาตามความรู้สึกของจิตที่ไม่มีปัญญา หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริง
<o:p></o:p>
พุทธะจะไม่เชื่อเหตุผลอย่างเด็ดขาด เพราะอะไร? เพราะเหตุผลนั้น ยังเป็นการคาดคะเนอย่างมีหลักการเท่านั้น เหตุผลยังไม่ใช่ความจริง แม้เหตุผลจะน่าเชื่อที่สุดก็ตาม ถ้าเหตุที่เรารู้มามันผิด ผลมันก็จะผิดตามไปด้วยทันที เหตุผลเป็นเพียงบันไดไปสู่ความจริงเท่านั้น ตราบใดที่เรายังไม่พบความจริงเราก็จะยังไม่เชื่อ แม้เหตุผลนั้นจะใกล้ความจริงอย่างยิ่งแล้วก็ตาม
<o:p></o:p>
เมื่อไม่ให้เชื่อจากคนอื่น ไม่ให้เชื่อจากตำรา ไม่ให้เชื่อจากตัวเอง และไม่ให้เชื่อแม้จากเหตุผลที่น่าเชื่อที่สุด แล้วจะให้เชื่อจากอะไร?เราจะเชื่ออย่างไรจึงจะไม่ผิด?<o:p></o:p>
<o:p></o:p>
พุทธะจะเชื่อจากความจริงที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น คือเมื่อสิ่งใดเกิดขึ้นมาให้เราได้รับรู้จริง หรือเห็นจริงอย่างแน่ชัดแล้ว เราจึงเชื่อได้ว่านั่นถูกต้องหรือจริงแท้แน่นอน ไม่ผิดพลาด
<o:p></o:p>
ถ้าเราเชื่อตามคนอื่น หรือเชื่อจากตำรา หรือเชื่อจากสามัญสำนึกของเราเอง หรือเชื่อจากเหตุผล ก็แสดงว่าเราไม่ได้เห็นจริงด้วยตัวของเราเองเลย แล้วอย่างนี้จิตของเราจะเป็นพุทธจริงได้อย่างไร เราต้องเชื่อความจริงที่เราสามารถพบเห็นได้จริงเท่านั้น เราจึงจะเป็นพุทธะได้จริง แม้เราจะรู้เห็นหรือได้รับรู้เพียงเล็กน้อยเท่าที่เราจะสามารถรับรู้ได้ แล้วเราก็เชื่อของเราเพียงเท่านี้ โดยไม่สนใจว่าใครจะคุยโอ้อวด ว่าเขามีความรู้อย่างกว้างขวางมากมาย หรือล้ำลึกสักเท่าใดก็ตาม เราจึงจะเป็นพุทธะจริง
<o:p></o:p>
แต่ถ้าเราเชื่อว่า -
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า?
(1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา), คือความเป็นกฎตาย ตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา), คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้ง ขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้ เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะ ชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนิ้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(2) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(5) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(6) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(7) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(8) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(9) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(10) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น).
(11) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ ตาม, ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว; คือความตั้งอยู่แห่งธรรมดา, คือความเป็นกฎตายตัวแห่งธรรมดา, คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึง พร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำ ให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้วในบัดนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู: เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล : ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้น อันเป็น ตถตา คือความเป็น อย่างนั้น, เป็น อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น, เป็น อนัญญถตา คือความไม่เป็นไปโดย ประการอื่น, เป็น อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น). -
ข้อความอันสองอันล่าสุดนั้น สอนคนอื่นแล้วอย่าลืมสอนตัวเองนะ
ส่องกระจกซะบ้าง ไม่ผิดศีลหรอก บทความที่เขียนหน่ะ ย้อนกลับมาสอนตัวเองซะนะ
เรื่องนี้เค้ารู้กันมานานโข จนในที่สุดเค้ารู้ว่าต้องปฏิบัติ เพื่อพิสูจน์
ไม่ใช่เชื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
เค้าเห็นว่าคุณยังหลงอยู่ ก็อยากช่วย
ดันโดนคำด่า สาดทอ เสียดสี ออกจากปากพระเลยนะเนี่ย
ขอย้ำ
-
คุณยายทองหมายถึงการปฏิบัติอย่างที่คุณยายทองขมักเขม้นนำมาโพสให้ผู้อ่านในเว็บบอร์ดนี้ได้อ่านอยู่บ่อยๆ อย่างด้านล่างนี้หรือเปล่า
ผมสงสัยจริงๆ ว่าไอ้ที่คุณยายทองบอกว่าตัวเองรู้มานานโขแล้วนั้น คุณยายทองรู้อะไรมาบ้าง ลองแถลงความรู้ด้านธรรมะของพระพุทธเจ้าที่คุณยายทองได้เรียนรู้มาให้ผู้ที่โง่เขลาในที่นี้ได้รับทราบบ้างจะเป็นบุญกุศลเป็นอย่างยิ่ง
========================
ถึงผู้ที่จะเรียนไสยศาสตร์
http://palungjit.org/showthread.php?t=27128
--------------------------------------------------------------------------------
1. ควรรักษาศีลให้ครบ เป็นปกติ
2. ควรสวดมนต์สรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นประจำ
3. ต้องสวดมนต์บทกันภัย ตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น ยอดพระกันไตรปิฎกมงคลจักรวาล ชินบัญชร พระปริตร ฯ เป็นประจำ
4. ควรปฎิบัติตัวอยู่ในหลักธรรมอันดี หลักสำคัญคือ พรหมวิหาร 4, มงคลสูตร 32
5. สมาธิต้องดี ต้องได้อุปาจารสมาธิเป็นอย่างต่ำ ญาณ 4 นี่วิเศษเลย
6. เพื่อกันภัย ควรมีน้ำพระพุทธมนต์ 7 วัด 9 วัด ติดไว้ประจำไม่ขาด และต้องมีปริมาณมากเพียงพอ
7. เรียนผูก อย่าลืม เรียนแก้ ไว้ด้วย
8. ต้องถือข้อห้ามในบางวิชา ให้แม่นมั่น มิฉะนั้นจะเสียใจ สักยันต์เต็มหลัง อาจกลายเป็นลวดลาย ไว้ข่มขวัญเฉยๆ แค่ความอยู่คงอาจหายไป
9. ต้องเข้าพิธีครอบครู เป็นประจำ (ปกติปีละครั้ง เป็นอย่างน้อย)
10. อย่าได้พร่ำบ่น สวดบทมนต์เป็นประจำเป็นอันขาด เพราะของจะแรง และร้อนมากเกินไป ควรว่าเฉพาะกาลเช่น วันพระ 2 ครั้ง/เดือน อย่างมาก 4 ครั้งต่อเดือน แต่บทพระพุทธมนต์ บทสรรเสริญของพุทธศาสน์ สวดได้ทุกวันยิ่งดี
*สำเร็จวิชาแล้วต้องสงเคราะห์คนอื่น แต่วิชาปล่อยของอัปมงคลทั้งหลาย เรียนแล้วอย่าไปสงเคราะห์ใครเข้าล่ะ
ขอให้ทุกท่านอย่าประมาท พึงสังวรว่าให้อะไรไป จะได้รับสิ่งนั้น เป็นกฎธรรมดา ถ้าคิดจะส่งของไปทำร้ายใคร ของนั้นจะกลับเข้าตัว ไม่ช้าก็เร็ว เป็นไปตามกฎแห่งกรรม ครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
==================
อานุภาพคาถาเงินล้าน
http://palungjit.org/showthread.php?t=14541
--------------------------------------------------------------------------------
เรื่องนี้ได้รับถ่ายทอดมา ฟังเพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติ สาเหตุมาจากการอ่านเจอวิชาตักน้ำของหลวงพ่อสุ่น ที่น้ำเต็มโอ่งอยู่ตลอดเวลาแม้ไม่ต้องไปตักน้ำก็เต็ม จึงคิดหยอกๆถามอาจารย์ว่ามีคาถาตักเงินมั้ยครับ อาจารย์จึงเมตตาเล่าว่ามีสิ.............
รายแรก "ขายของโดยจดรายการสินค้าและราคา -เงินทอน(เงินต้น) หลังจากนั้นภาวนาคาถาเงินล้าน จนเป็นสมาธิ แล้วอธิฐาน แล้วภาวนาไป ขายไป ว่างๆก็ภาวนาจนเป็นสมาธิ สลับไปเรื่อยๆ จนปิดร้าน เชื่อหรือไม่ว่า เงินที่ได้รับ มากกว่าเงินที่จดไว้ในรายการ + เงินทอน โดยมีเงินเกินมามากกว่า 1000 บาท ถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อยนะครับ"
รายที่ 2 "สั่งซื้อสินค้า 1 โหล ได้มา เกินถึง 1/2 โหล บางทีของ 12 ชิ้น ขายแล้วน่าจะได้กำไร 200-300 แต่ปรากฎว่าขายได้กำไรถึง 500-600 บาท
ที่เห็นกันจะๆที่สุดคือ ไปเบิกเงินธนาคารมา 10,000 บาท ยอดเยินในบัญชีก็แจ้งว่าถอน 10,000 บาท แต่ไม่ต้องนับ นำมาใส่กล่องหรือห่อไว้ หลังจากนั้นสวดมนต์ไหว้พระ สวดคาถาเงินล้านจนเกิดสมาธิ ถอนจากสมาธิแล้วอธิฐาน หลังจากนั้นก็ภาวนาคาถาจนหลับไป ตื่นเช้าสวดมนต์ไหว้พระและว่าคาถาอีกจนเป็นสมาธิแล้วอธิฐานซ้ำ จากนั้นมาเปิดห่อเงินปรากฎว่านับได้ 12,000 บาท เกินมาถึง 2,000 บาท"
.... ท่านใดมีประสบการณ์อย่างไรโปรดเล่าสู่กันฟังบ้าง .... -
ข้อความผมโพสไว้มีมากมายครับ
อาจเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นๆ
เว้นไว้ที่เห็นๆ ก็มี dhammadasa กับ เตชปัญโญ นี่แหละ
อ่านข้อความอื่นๆ บ้างนะครับ เผื่อหูตาจะได้สว่างขึ้น
ให้คลิกที่ชื่อ และเลือกค้นหาโพสเพิิ่มเติมของ ยายทองประสา
และอย่าลืมไปทำฌาน 4 ให้เกิดล่ะ
แล้วจะหมดสงสัย หมดปรามาสพระรัตนไตร-พระไตรปิฎก
ทำฌาน 4 น่ะรู้มั้ย dhammadasa
ถ้าไม่รู้ ก็เข้าไปดูที่บล็อคยายทองประสาบ้าบ้าบอบอได้
คลิกลิ้งค์ข้างล่างนี้นะครับ -
ตายแล้วสูญเรื่องเล็กๆ สัตว์เดียรฉานบรรลุอรหันต์นี่สิเรื่องใหญ่ มีพุทธทาสผู้เดียวเท่านั้นที่สอนได้ แม้พระพุทธเจ้าก็ยังบารมีน้อยกว่าพุทธทาสเยอะ เพราะไม่สามารถสอนสัตว์เดรัชฉานให้บรรลุนิพพานได้
แต่พุทธทาสทำได้ๆๆๆๆ
_________________________________________________________
พุทธทาส:-สำหรับสัตว์เดียรฉาน ก็คือสัตว์เดียรฉานที่ไม่มีความร้อน ความร้อนของสัตว์เดียรฉานก็คือความร้ายกาจที่เป็นอันตรายแก่มนุษย์ นี่เรียกว่าความร้อน ถ้าสัตว์เดียรฉานนั้นได้รับการฝึกดี จนเป็นสัตว์ที่ดีไม่มีอันตรายอีกต่อไป หมดพยศร้ายแล้ว เช่น ช้างป่า วัวป่า ที่เอามาฝึกจนหมดพยศร้ายแล้ว ก็เรียกว่ามัน นิพพาน
นิพพานในชีวิตประจำวัน
พุทธทาส:-สัตว์ป่าจับมาจากในป่า เช่นควายป่า ช้างป่า อะไรป่านี่ มันดุร้ายเหลือประมาณ อันตรายเหลือประมาณ; เขาเอามาเข้าคอกเข้าที่ บังคับฝึกหัดไปจนสัตว์เหล่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว จนช้างป่านั้นเชื่องเหมือนกับแมว ทำอะไรก็ได้; อย่างนี้ก็เรียกว่า มันนิพพาน
นิพพานสำหรับทุกคน -
[๑๗๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภัททาลิ เปรียบเหมือนนายสารถีฝึกม้าคนขยัน
ได้ม้าอาชาไนยตัวงามมาแล้ว ครั้งแรกทีเดียว ฝึกให้รู้เหตุในการใส่บังเหียน. เมื่อนายสารถีฝึก
ให้มันรู้เหตุในการใส่บังเหียน ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ
ยังมีอยู่ทีเดียว เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น. มันจะสงบลงได้ในการ
พยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ ในการที่ม้าอาชาไนย
ตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดย
ลำดับ. นายสารถีฝึกม้า จึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการเทียมแอก เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้
เหตุในการเทียมแอก ความประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่
ทีเดียว เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึกฉะนั้น. มันจะสงบลงได้ ในการ
พยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ ในการที่ม้าอาชาไนย
ตัวงามสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนืองๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดย
ลำดับ. ......ฯ -
สัตว์เดรัจฉานนั้น มนุษย์สามารถนำมาฝึกมาหัดให้เป็นไปตามที่มนุษย์ต้องการได้ จะฝึกจะหัดอย่างไรก็ได้ แม้สัตว์นั้นจะดุร้ายสักปานใด ก็สามารถนำมาฝึกมาหัดให้เชื่องและรับฟังคำสั่งได้
แต่จะฝึกจะสอนให้สัตว์ไปพระนิพพานนั้น โดยส่วนตัวคิดว่า คงเกินวิสัยที่จะทำได้ สัตว์เดรัจฉานนั้นยังมีวาระกรรมที่จะต้องบำเพ็ญบุญบารมีอีกมาก ยังต้องมาเกิดเพื่อชดใช้กรรมและสร้างกุศลอีกหลายครั้ง อย่างเก่งเท่าที่เคยได้อ่านและได้ยินได้ฟังมา ก็มีสุนัขที่อยู่ตามวัดวาอารามนี่แหละที่ตายจากความเป็นสุนัขในชาตินั้นแล้วไปเกิดเป็นเทวดา เพราะอนิสงส์ที่เฝ้ารักษาสมบัติของพระพุทธศาสนา และฟังธรรมและเสียงสวดมนต์ที่พระท่านสวดเป็นประจำ เมื่อจิตน้อมนำรับฟังด้วยความเคารพ พอตายจากความเป็นสุนัขในชาตินั้นก็ไปเกิดเป็นเทวดาในภูมิต้นๆ ได้
นอกจากนี้ ก็มีแมวที่คนเขาเลี้ยงไว้ เมื่อตายแล้ว เจ้าของเขาอุทิศบุญกุศลให้ พอแมวได้โมทนาบุญแล้วก็ทำให้ผลบุญนั้นส่งให้แมวไปเกิดเป็นเทวดา แต่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟังหรือได้อ่านมาก่อนเลยว่า สัตว์เดรัจฉานนั้น เมื่อตายจากความเป็นสัตว์ในชาตินั้นแล้วจะไปพระนิพพานได้
ฉะนั้น เราในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ก็อย่าให้อายสุนัข สุนัขมันยังรู้จักฟังธรรมและน้อมนำด้วยความเคารพ ไม่คิดคัดค้านพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เราซึ่งโชคดีได้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีสติปัญญา ความรู้ความสามารถ เฉลียวฉลาดกว่าสัตว์เดรัจฉาน ย่อมต้องใช้สติปัญญาที่มีอยู่เลือกพิจารณารับฟังหลักธรรมคำสั่งสอนที่ถูกต้องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าไปเลือกรับฟังคำสอนของสมมติสงฆ์ที่เป็นมิจฉาทิฎฐิ และที่ร้ายที่สุดอย่าไปหลงเชื่อรับฟังคำสอนของเหล่าอลัชชีและเหล่าเดียรถีย์ เพราะไม่อย่างนั้น เมื่อตายจากความเป็นคนในชาตินี้ ก็จะมีทุกขติภูมิเป็นที่ไป มันน่าอายสุนัขน้อยอยู่เมื่อไร...
.
.
หน้า 36 ของ 104