บทความ...กระดานเล่าสู่กันฟัง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 19 ตุลาคม 2014.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การเห็นความจริงตามที่เป็นนี้เองที่เป็นฐานของปัญญาบารมี อันเป็นบารมีสุดท้าย ปัญญาประกอบด้วยปัญญาจากการฟัง ปัญญาจากการคิดไตร่ตรอง และปัญญาจากการภาวนา ริมโปเชบอกว่า เราไม่สามารถละทิ้งปัญญาแบบใดไปได้ เพราะปัญญาจากการภาวนานั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีการฟังและการพิจารณาไตร่ตรอง และปัญญาจากการภาวนานั้นก็คือหัวใจของการหลุดพ้น เนื้อหาของปัญญาจากการภาวนา ก็คือมองเห็นว่าสิ่งต่างๆ ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็น “ของว่าง” หรือเป็น “ศูนยตา” นั่นเอง
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ธรรมทานใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ดีแล้ว
    ขอน้อมถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นำมาฝากสำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนค่ะ

    พรหมวิหารสี่
    ข้อเมตตาและกรุณาเจโตวิมุตติ


    กรุณาเจโตวิมุตติ

    อนึ่ง ตรัสสอนให้เจริญกรุณา คือแผ่จิตออกไปด้วยกรุณาเป็นความเอื้ออารี คิดช่วยให้พ้นทุกข์เดือดร้อนต่าง ๆ ว่าถึงอัปปมัญญา ก็แผ่ไปในสัตว์บุคคลทุกถ้วนหน้า และในทิศทั้งหลายทั่วทิศเหมือนอย่างเมตตานั้น

    เมื่อกรุณาบังเกิดขึ้นในจิต จิตก็จะพ้นไปจากวิหิงสา คือความคิดเบียดเบียนต่าง ๆ หรือโทมนัส เช่นความรู้สึกเสียใจเมื่อได้เห็นทุกข์ของคนที่เป็นที่รัก เป็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกรุณาจึงเป็นเจโตวิมุตติ

    ความพ้นแห่งใจอีกข้อหนึ่ง เรียกว่ากรุณาเจโตวิมุตติ

    เมื่อเป็นชื่อของธรรมก็แปลว่า ธรรมที่ทำให้ได้รับความพ้นแห่งใจคือกรุณา และกรุณาดังกล่าวมานี้ เมื่อแผ่ให้ละเอียดยิ่งขึ้น
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตรัสแสดงไว้ว่า มีอากาศเป็นอย่างยิ่ง คือมีช่องว่างหรือความว่างเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะว่าเมื่อยังไม่ว่าง ยังมีสัตว์บุคคลทั้งหลายอยู่ แม้ว่าผู้อบรมเจริญกรุณาจะไม่มีจิตเบียดเบียนใคร และมุ่งช่วยให้พ้นจากความทุกข์ทั้งสิ้น แต่แม้เช่นนั้น สัตว์บุคคลนั้น ก็ยังเบียดเบียนกันอยู่ ทำให้มีความทุกข์เดือดร้อนต่าง ๆ ที่นั่นบ้างที่นี่บ้าง เพราะผู้ที่ไม่มีกรุณานั้นก็ยังมีอยู่เป็นอันมากในโลกนี้ ผู้ที่มีกรุณาจริง ๆ นั้นมีน้อย สัตว์บุคคลทั้งหลายจึงต่างเบียดเบียนซึ่งกันและกันเป็นอันมาก เกือบจะทั้งโลก และทั้งถ้าไม่มีใครเบียดเบียน สัตว์บุคคลนั้น ๆ เองก็ต้องมี ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณะทุกข์เบียดเบียน เป็นภัยอันตรายที่พระพุทธเจ้าก็ตรัสเรียกว่า อมาตาปุตติกภัย ภัยที่แม่กับลูกก็ช่วยกันไม่ได้ อันภัยอื่น ๆ นั้นก็อาจจะช่วยกันได้บ้าง ช่วยกันไม่ได้บ้าง เช่นว่าอัคคีภัย อุทกภัย แต่ว่าชราภัย พยาธิภัย มรณะภัยนั้นช่วยกันไม่ได้

    ฉะนั้น เมื่อยังมีสัตว์มีบุคคลอยู่ จึงต้องเป็นทุกข์เพราะเบียดเบียนซึ่งกันและกันบ้างเพราะชราภัย พยาธิภัย มรณะภัยบ้าง เป็นอันว่าต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนอยู่นั่นเอง
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หัดปฏิบัติสุญญตา พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนให้หัดปฏิบัติสุญญตา คือความว่าง
    ที่แรกก็ให้หัดปฏิบัติทำความรู้ที่เป็นสัญญา คือ กำหนดหมายว่า ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล
    เป็นป่าเขาลำเนาไม้ไปทั้งหมด

    และต่อจากนั้น ก็ให้ทำสัญญาคือความกำหนดหมายว่า แม้ป่าเขาลำเนาไม้ต่าง ๆ ก็ไม่มี มีแต่แผ่นดินราบเป็นหน้ากลองไปทั้งหมด

    จากนั้นก็ให้หัดทำสัญญาว่า แม้แผ่นดินที่ราบเป็นหน้ากลองนั้นก็ไม่มี มีแต่อากาศคือช่องว่างไปทั้งหมด คือเป็นความว่างไปโดยรอบในทิศทั้งปวง ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคลบ้านเมืองไม่มีป่าเขาลำเนาไม้ ไม่มีแผ่นดินเป็นอากาศคือความว่างไปทั้งหมด

    และเมื่อกำหนดอากาศสัญญา ความกำหนดหมายว่าเป็นอากาศคือความว่างไปทั้งหมดดั่งนี้ ก็ไม่พบอะไรที่จะถูกเบียดเบียนอันจะต้องให้ช่วย

    เพราะฉะนั้น จึงได้ตรัสไว้ว่า กรุณาเจโตวิมุตตินั้นมีอากาศคือความว่างเป็นที่สุด เป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ก็เป็นอันว่าสิ้นเขตของกรุณาเจโตวิมุตติ เพราะว่าจะไม่พบอะไรที่ต้องแผ่กรุณาออกไปอีก เมื่อยังมีอะไรที่จะต้องทุกข์ ก็จะต้องแผ่กรุณาออกไปอีกนั่นเอง ไม่สิ้นสุดลงไปได้

    ในเมื่อปฏิบัติลงไปจนในอากาศ ว่างไปหมดแล้ว ไม่พบอะไรที่จะต้องการแผ่เป็นกรุณา ก็เป็นอันว่าสิ้นเขตของกรุณา
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    การปฏิบัติแผ่เมตตา แผ่กรุณาแม้ดังกล่าวมานี้
    ก็เป็นการปฏิบัติอบรมโพชฌงค์ทั้งเจ็ด

    เพราะว่าจะต้องมีสติ คือความระลึกได้
    จะต้องมีธรรมวิจัยคือความเลือกเฟ้นธรรม
    จะต้องมีวิริยะคือความเพียร
    และย่อมจะมีปีติคือความอิ่มเอิบใจ
    มีปัสสัทธิ คือความสงบกายสงบใจ
    มีสมาธิคือความตั้งใจมั่น
    มีอุเบกขาคือความเพ่งเข้ามาดูสมาธิจิตนั้นภายใน

    คัดลอกจาก...
    ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน-หน้า ๖๒-๖๓
    พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายก
     
  7. เทวินตพรหม

    เทวินตพรหม พรหมวิหาร4มรรคมีองค์แปด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,002
    สพพทานํ ธมมทานํ ชินาติ ธรรมทานชนะการให้ทานอื่นทั้งปวง

    ทานกุศลแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ 1. อามิสทาน 2.ธรรมทานและอภัยทาน

    อย่างไรจึงเรียกว่า ธรรมทาน ?

    ปฏิบัติ ธรรมเองเพื่อชำระกิเลสออกจากกาย วาจา ใจของตนเอง ตั้งตนอยู่ในคุณความดี เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น เรียกว่าแจกธรรมะ ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ที่ดำเนินชีวิตประจำวันพูดแต่คำพูดไม่ดี ทำแต่กรรมที่ไม่ดี คิดแต่ความคิดที่ไม่ดีมาตลอด ประพฤติปฏิบัติตัวอย่างที่เลวแก่ผู้อื่น ชื่อว่าแจกอธรรม

    ธรรมทาน ต้องปฏิบัติเองเพื่อละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส เพื่อชำระกิเลสหยาบ กลาง และละเอียดๆ ยิ่งๆขึ้นไปถึงวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งใจ แล้วจึงจะพบสันติสงบ และจะถึงนิพพานคือความดับกิเลสไม่มีเหลือ

    จะถึงนิพพานต้องเป็นลำดับจนถึงที่สุดอย่างถาวรนี่เรียกว่าธรรมทาน

    เบื้องต้นเป็น ปฐมคือทำความดี ละชั่ว ทำใจให้ใสเองทั้งหมด และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น แล้วยังให้การแนะนำสั่งสอนอบรมผู้อื่น ให้ประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามพระธรรม พระวินัย และสนับสนุนอุปการะแก่ความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอ บเช่นนั้นของบุคค หรือคณะบุคคล ผู้ที่กำลังเพียรประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อชำระกิเลสแห ่งทุกข์นั้นให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ตรงนี้ก็ยิ่งด้วยธรรมทานไปอีก

    อย่างไรเรียก อภัยทาน ?

    ก็ เมื่อบุคคลเจริญธรรมขึ้นด้วยทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล เพื่อละชั่ว ทำดี ฝึกอบรมจิตใจให้ผ่องใสและอบรมปัญญาให้บริสุทธิ์ยิ่งข ึ้นเพียงใด ความเข้าใจ ความซึ้งใจในบาปบุญคุณโทษก็เจริญมากขึ้น

    และพรหมวิหาร ธรรมอันมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็เจริญขึ้นเป็นบุญบารมี เป็นเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี อุปบารมี และ ปรมัตถบารมียิ่งขึ้นเพียงนั้น

    ความเห็นอกเห็นใจเข้าใจในความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของสัตว์โลกผู้ยังมีจักษุอันมืดบอดด้วยความหลงผิด จึงคิดผิด พูดผิด ทำผิดๆ ในเราก็มีมากขึ้น ความรักปรารถนาให้สัตว์โลกเป็นสุขด้วยเมตตาพรหมวิหาร ธรรม และความเวทนาสงสารปรารถนาให้สัตว์โลกให้พ้นจากความทุ กข์ด้วยกรุณา พรหมวิหารธรรม แม้จะถูกกร้าวร้าว ปรามาส ล่วงเกิน และถูกก่อกรรมทำเข็ญแก่ตนมาแล้วมาก จากทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตเพียงใด ย่อมไม่ติดใจโกรธพยาบาทยิ่งขึ้น และสามารถอดทน อดกลั้นต่อความก้าวร้าว ปรามาส ล่วงเกิน ความเบียดเบียนจากสัตว์โลกทั้งหลายผู้ล่วงเกิน และผู้เบียดเบียนโดยรอบทั้งหลายเหล่านั้น ได้มากขึ้นเพียงนั้น จนถึงวางใจเป็นอุเบกขาไม่ยินดี ยินร้ายได้มั่นคง นี้ชื่อว่า อภัยทาน จัดเป็นทานอันเยี่ยมยอดไปอีก

    ธรรมทาน คืออะไร

    ธรรม ทาน คือ การให้คำแนะนำสั่งสอนสิ่งที่ดี บอกศิลปวิทยาที่ดีที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต เป็นเหตุให้มีความสุข รวมถึงการอธิบายให้รู้และเข้าใจในเรื่องบุญบาป ให้ละสิ่งที่เป็นอกุศล ดำรงตนอยู่ในทางกุศล ซึ่งจะนำพาตนให้สะอาดบริสุทธิ์ หมดจดจากกิเลสอาสวะทั้งปวงได้

    ประเภทของธรรมทาน

    ธรรมทาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิทยาทาน และ อภัยทาน

    1. วิทยาทาน
    วิทยาทาน คือ การให้ความรู้ ยังแบ่งออกได้อีกเป็นวิทยาทานทางโลก และวิทยาทานทางธรรม

    วิทยาทานทางโลก คือ การสั่งสอนให้เกิดความรู้ความสามารถในเชิงศิลปวิทยาการ เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ด้วยความสะดวกสบายทุกอย่าง ดังนั้นทางพระพุทธศาสนาได้จัดความรู้ว่าเป็นขุมทรัพย ์อย่างหนึ่ง ชื่อ องฺคสมนิธิ แปลว่า ขุมทรัพย์ติดตัวได้ บุคคลผู้มีความรู้ดี จึงเปรียบได้ว่ามีขุมทรัพย์ติดตัวไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เชื่อมั่นได้ ว่าจะสามารถใช้ปัญญารักษาตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยได้ แน่นอน

    วิทยาทานทางธรรม (จัดเป็นธรรมทานแท้) คือ การให้ความรู้ที่เป็นธรรมะนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่ประเสร ิฐ ด้วยเหตุที่ว่า การดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั้น ถ้าขาดเสียซึ่งหลักธรรม ชีวิตก็จะพบแต่ความทุกข์ เดือดร้อน ผิดหวังตลอดไป ต่อเมื่อได้ยินได้ฟังธรรม และนำมาประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม ย่อมเกิดความเจริญงอกงามในชีวิตของตน ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ในที่สุดก็ทำให้รู้แจ้งเห็นแจ้งในพระธรรมคำสอนของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า และเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้
    การให้คำสอนที่ถูกต้องที่เป็นธรรมะนั้น เปรียบได้กับการให้ขุมทรัพย์ที่เป็นอมตะติดตัวไว้ หรือให้ประทีปแสงสว่างที่คอยติดตามไป ดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า การ ให้ธรรมทาน เปรียบเหมือนการให้ ขุมทรัพย์ หรือประทีปที่จะเป็นเครื่องส่องทางชีวิต ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องดีงาม นำชีวิตไปสู่ความสุขความเจริญ

    และเมื่อยังต้องเวียนว่ายตาย เกิดอยู่ในวัฏสงสาร ย่อมเป็นผู้ไม่ตกต่ำ มีชีวิตที่ดีงาม ได้เกิดในสุคติภพ เมื่ออบรมบ่มบารมีแก่กล้าแล้ว ย่อมสละละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง เข้าถึงพระนิพพานได้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มี-พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง

    2. อภัยทาน
    อภัยทาน คือ การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีภัยแก่ตนและผู้อื่น ไม่ถือโทษโกรธเคืองในการ ล่วงเกินของผู้อื่น ไม่มีเวร ไม่ผูกเวรกับผู้ใด ทั้งยังมีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นนิตย์



    การให้อภัย เป็นการให้ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เป็นการให้ที่ง่าย แต่ที่บางคนทำได้ยาก เพราะมีกิเลสอยู่ในใจ ต้องอาศัยการฟังธรรม ประพฤติปฏิบัติธรรมบ่อยๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นคุณ ประโยชน์ของการให้อภัย แล้วจะให้อภัยได้ง่ายขึ้น
    หากมองเผินๆ จะดูเหมือนว่าการให้อภัยเป็นการให้ประโยชน์สุขแก่ผู้ อื่น ทำให้ผู้อื่นมีความสุขสบายใจ แต่แท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์สุขมากที่สุดก็คือตนเอง เพราะทุกครั้งที่ให้อภัยได้ จะรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ สดชื่นแจ่มใส มีความสุข


    นอก จากนี้ การช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายให้ปลอดภัย หรือพ้นจากอันตรายนั้นได้ เช่น การช่วยปล่อยสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่าให้พ้นจากการถูกฆ่า ดังประเพณีปล่อยสัตว์ปล่อยปลา ก็นับว่าเป็นอภัย ทานเช่นกัน เพราะได้ให้ความไม่มีภัย ให้ความเป็นอิสระแก่สัตว์เหล่านั้น
    การให้ความ ปลอดภัย ให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการไม่เบียดเบียน จัดเป็น การให้ที่สูงขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มหาทาน ซึ่งท่านจัดไว้ในเรื่องศีล

    ส่วน การให้อภัย คือ ทำตนเป็นผู้ไม่มีภัยกับตนเอง ใครที่สามารถสละภัย คือโทสะออกจากใจได้ มีจิตใจสงบ สะอาด จิตจะประกอบไปด้วยเมตตา เมื่อทำไปแล้วถึงระดับหนึ่ง จัดว่าเป็นการภาวนา ที่ เรียกว่า เมตตาภาวนา ซึ่งมีอานิสงส์สูงยิ่ง


    อานิสงส์ของธรรมทาน

    ธรรมทานนี้มีอานิสงส์มาก ดังที่มีการพรรณนาคุณไว้ในอรรถกถาธรรมบท 1 ว่า
    แม้ ทายกจะถวายจีวรอย่างดีที่สุดแด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ที่นั่งติดๆ กันเต็มห้องจักรวาลนี้ ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า ด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท และจีวรทานนั้นมีค่าไม่ถึงเศษส่วน 16 แห่งพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา

    แม้ทายกจะถวายโภชนะข้าวสาลี กอปรด้วยสูปะพยัญชนะ (แกงและกับข้าว) อันประณีต เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้าก็ดี จะถวายเภสัชทาน มี เนยใส เนยเหลว น้ำผึ้ง เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระพุทธเจ้า ที่นั่งติดๆ เต็มห้องจักรวาลก็ดี ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระพุทธเจ้าอนุโมทนา ด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท

    จัก ไม่กล่าวคำที่กระทบตนและผู้อื่น คือไม่แสดงธรรมโดยยกความดีของตัวเองเพื่อโอ้อวด หรือ ยกความผิดพลาดหรือจุดด้อยของคนอื่นขึ้นมาเป็นเหตุเพื ่อประจานความผิด หรือกล่าวล้อเลียนเขา ต้อง กล่าวมุ่งอธิบายธรรมะจริงๆ และหากต้องยกตัวอย่างประกอบในการอธิบายเพื่อความเข้า ใจในธรรมนั้น ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้อื่นเสียหายได้

    ผู้ ที่จะให้ธรรมทาน พึงตั้งอยู่ในองค์คุณดังกล่าวมานี้ จะยังประโยชน์ใหญ่ อานิสงส์ยิ่งใหญ่ให้เกิด ขึ้นกับผู้แสดงธรรมได้อย่างเต็มที่ ทำให้ผู้แสดงธรรมได้บุญกุศลมหาศาล ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส สรรเสริญว่า บุคคลให้ธรรมเป็นทาน โดยไม่ปรารถนาลาภสักการะ ย่อมมีอานิสงส์ประมาณมิได้


    บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย บุณยกร ใน วิถีธรรมะ-วิถีพุทธะ
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    บทอธิษฐานขออโหสิกรรม
    สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี


    บทอธิษฐานขออโหสิกรรม

    "กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมัง
    อะสัญจิจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม."

    กรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ทั้งโดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโปรดยกโทษให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย

    แม้แต่กรรมใดที่ใครๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้นกลับมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไปด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้

    ขอให้ข้าพเจ้าพร้อมทั้ง ครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า พ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจความทุกข์อย่าได้ใกล้ ความเจ็บไข้อย่าได้มี ขอได้มีความสุขสวัสดีมีชัย เสนียดจัญไรและอุปัทวันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสิ้นหายไป นึกคิดปรารถนาสิ่งใดที่เป็นไปโดยชอบประกอบด้วยธรรมแล้ว ขอให้สิ่งนั้นจงพลันสำเร็จ ลงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จเทอญ
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คำอธิษฐานอโหสิกรรม

    ข้าพเจ้า.....(บอกชื่อ)...ขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใด ในชาติใดๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย แม้แต่กรรมที่ใครๆ ได้ทำกับข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น และขอยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้มีอุปการคุณของข้าพเจ้า จงมีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ.

    คำขอขมาโทษ (กรรมชั่ว)

    กรรมชั่วอันใดที่ข้าพเจ้า.....(บอกชื่อ)...ทำไว้ ด้วยกาย วาจา ใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ เพราะความไม่รู้ เพราะความหลง เพราะความงมงาย เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขอจงโปรดยกโทษ ให้ข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยาก ลำบากเข็ญใจ อันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสูญสิ้นไป ข้าพเจ้าปรารถนาสิ่งใดที่ดี ขอให้สมปรารถนา นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ. (อธิษฐานตามที่ปรารถนา)
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คำขอขมาและอธิษฐานจิต (สำหรับอธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอน)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

    หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินบิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วยกาย วาจา ใจ

    ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ข้าพเจ้าขออนุญาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีตขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระ ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใด ๆ โรคภัยใด ๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้จนตราบเข้าสู่นิพพานเทอญ

    ข้าพเจ้าขอถอนคำสัญญา คำสาบาน คำอธิษฐาน ที่ผูกมัดตัวเองและผู้อื่น ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระจากสัญญาทั้งปวง (หากข้าพเจ้าหมดอายุแล้ว ข้าพเจ้าขออยู่ต่อเพื่อสร้างบารมี) หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความอาฆาต ความพยาบาท และคำสาปแช่งในทุกชาติ ทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรม ขอให้พ้นจากนรกภูมิ และพบแสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    10-09-2012

    คืนแรกที่ภาวนาคาถาเพ่งนิมิต รู้สึกร้อนเหมือนปรับธาตุในร่างกาย เห็นความสว่างของสีเทาปนม่วง

    คืนที่สองภาวนาอีก เห็นตัวเองนั่งสมาธิแล้วมีควันสีขาวพวยพุ่งออกมาจากกลางใจมือ ครอบคลุมตัวเองไว้

    คืนที่สามภาวนา เหมือนนั่งบำเพ็ญตบะอยู่ท่ามกลางกองไฟ มีกระแสอุ่นๆ ออกมาจากกลางใจมือ

    คืนที่สี่ภาวนาอีก เห็นนิมิตธาตุดิน เป็นก้อนสีเทา

    เมื่อคืนไม่ได้สวดมนต์ นั่งสมาธิ คิดว่าถ้านั่งอีก คงได้นิมิตธาตุน้ำ ก็จะครบ 4 ธาตุพอดี
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    27/7/2013
    ชื่อเรื่องอะไรดีนะ

    "บอกกับตัวเองทุกครั้งที่จะร้องไห้ ว่าอย่าร้องไห้ ไม่ควรร้องไห้"
    "ทำไม"
    "เมื่อได้ตัดสินใจแล้ว ไม่มีอีกความเสียใจ มันร้องอยู่ในใจอ่ะจิ แงๆ มันผ่านไปแล้ว หวนไปอีกไม่ได้"
    "55555555"
    "เพราะว่ามันคือความจริง มีเพียงวันข้างหน้าเท่านั้น ที่เราจะเติมแต่งให้เป็นไป พี่ไม่เคยคิดที่จะเดินย้อนหลัง วันข้างหน้าเป็นอย่างไร ก็สุดแท้แต่เบื้องบน แต่ว่าหัวใจมันก็มีสิทธิดิ้น ก็ปล่อยให้มันดิ้นไป...แข็งนอกอ่อนใน"
    "เหมือนกัน"
    "ถ้าเค้ามาอ้อนวอน คงใจอ่อน จึงต้องหนี"
    "หนี ความรู้สึกตัวเองอ่ะ ลำบากนะพี่"
    "พี่ร้องไม่ได้ จะเปลี่ยนเรื่องคิดใหม่ทันที"
    "มันข่มไว้ แล้วมันแน่นอ่ะ เค้าต้องปลดปล่อย"
    "ใช่ ความรู้สึกตัวเองหนีไม่ได้ ก็เลยต้องใช้ธรรมะเข้าช่วย มองให้เห็นสัจธรรม พิจารณาปักลงไปให้เห็นว่ามันไม่มีตัวตน ไม่มีอะไรเลย ความรักของพี่มันว่างเปล่า"
    "ทำให้มันว่างด้วยตัวเรา อืม"
    "ใช่ ต้องทำ ต้องเห็นด้วยใจ"
    "หุยยากน่ะ"

    :oops::oops::oops::oops::oops::oops::oops::oops:

    ...แค่เรื่องขำๆ ในห้วงเวลาหนึ่ง....
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    รายการคนอวดของ
    ที่พึ่งที่ระลึก


    ชิ้นนี้เป็นกระดาษธรรมดาอัดกรอบพลาสติกกันน้ำ ด้านหลังเป็นผ้าสบงหรือจีวรไม่รู้อ่ะ เก่ามากหลายสิบปีแล้วนะชิ้นนี้ กรอบเดิมไม่เคยอัดพลาสติกใหม่เลย

    แขวนมาตั้งแต่สี่-ห้าขวบ จำความได้แล้ว อาจารย์ที่เป็นฆราวาสให้พ่อกับแม่มา ให้นำมาให้ลูกๆ แขวนกัน

    บ้านเราจะระลึกถึงคุณแห่งพระมหากษัตริย์ไทยทั้งเก้ารัชกาล

    มาเปลี่ยนเป็นเหรียญรัชกาลที่ห้า ตอนโตแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ละครในห้วงแห่งความคำนึง

    "ความรักยึดเจ้าไว้กับวัฏฏะ เป็นรักที่เต็มไปด้วยรากเหง้า รากเหง้ากิเลสย่อมหยั่งรากลึกข้ามภพชาติ เจ้าจงตรองในปัญญาว่าสิ่งใดนำพาข้ามพ้น หากความปรารถนาอันเพียรทำมา มิได้ได้มาง่ายดาย จงตัดรากเหง้ากิเลสทั้งหลายดังที่พระบารมีเพียรกระทำ ที่อยู่อาศัยอยู่ในจิตของเจ้า เพียงละเมฆหมอกแห่งความอาลัยอันมีกิเลสพรางในตาเจ้าออกเสีย เจ้าเห็นเราในเจ้า เจ้าอยู่ในเรา รากแก้วหยั่งลึกเพียงใดหากแต่แห้งเหี่ยวเฉาตายได้ หากขาดน้ำหล่อเลี้ยง เพียงละแล้วในขันธ์ทั้งหลายออก เหลือเจ้า ดวงตาของเจ้าจักเห็นเพียงเรา ไม่มีสิ่งใดแล้ว ปณิธานแลปรารถนาทั้งหลายเคลือบด้วยหมอกมัวปกคลุมมิให้เห็นความจริง ตัดเสียทั้งสิ้นแล้วจักเหลือแต่เรา"

    มารคือคนที่เรารัก
    เจ็บปวดหลาย
    เพราะละความรักมันละยาก
    ตัดหยังกะตัดได้แต่ตัดรักตัดอาลัยยากยิ่ง

    เราก็ต้องโทษตัวเองว่าเราเป็นมารตัวเองได้บ่
    เราละบ่ได้เอง
    ทรมานดีเนาะความฮัก
    บททดสอบนี้

    ถึงว่าข้อยเห็นเจ้าลอยอยู่กลางอากาศ
    ภาวะเคว้งคว้างไม่รู้จะไปไหนดี
    ข้อยเลยทักเจ้มะวาน
    ทั้งที่ยุ่งเป็นอิบ้าในออฟฟิศ

    ทำให้ข้อยนึกถึงชาติขององค์สุมนา
    ชาตินั้นก็ช่วงชิงกัน
    ข้อยเป็นเหมือนสิ่งของ
    ตกลงฟ้าให้ข้อยเป็นอิหยังกันแน่

    เป็นแบบนี้หลายชาติ
    เป็นสิ่งที่หากได้ไปแล้วจะกำทุกอย่างไว้ในมือ

    กรรมอันใดหนอ

    ข้อยนึกถึงเมยาวีปรีย่า
    เป็นแบบเดียวกัน
    แล้วท่านก็เลือกสละตัวเอง

    ตอนนี้ข้อยก็อยากตายให้พ้นๆ ไป

    สุดท้ายเจ้าก็คิดแบบนี้นี่เอง

    แม่ย่ากฤษณาตายเพราะท่านช่วยโลกไว้

    :(:(:(:(:(
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    นำมาฝากค่ะ เนื้อหาค่อนข้างยาว จะตัดทอนมาลงก็เกรงว่าผู้อ่านๆ แล้วจะไม่เข้าใจ

    ปัญญาอบรมวิมุตติ อุบายในการประหารกิเลส

    วิโมกข์:
    เมื่อเราเจริญสติในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมด้วยความเพียร คือทำบ่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนมีทั้งความผ่องใส รู้ตื่น เบิกบาน อิ่มเอิบ แผ่ซ่านทั่วร่างกายและจิตใจ ตามที่คุณโยมความรู้ตัวได้มีประสบการณ์นั้น ต่อไปอาตมาก็อยากจะให้อุบายในการประหารกิเลส คือให้ใช้สติที่ตื่นตัวและมีกำลัง ดูให้รู้ให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง คือเห็นว่ากายก็ส่วนหนึ่ง จิตที่ไปเสวยอารมณ์เป็นวิญญาณทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง และใจผู้รู้คือสติ ก็อีกส่วนหนึ่งต่างหาก คือเห็นเป็น ๓ มิติ คือมีสติที่เราบำเพ็ญดีแล้วจนเป็นใจผู้รู้แยกออกมาจากกายและแยกออกมาจากจิตที่ไปเสวยอารมณ์นั้นๆ
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    โดยทั่วไป คนเรามักติดการกำหนดจนกลายเป็นสมถะโดยไม่รู้ตัว เช่น กำหนดอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน แบบจงใจเกินไป จนยืน เดิน นั่ง นอน ไม่เป็นธรรมชาติ เหตุเป็นเพราะกำหนดด้วยความนึกคิดหรือความนึกคิดไปกำกับหรือปรุงแต่งโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้ากำหนดเป็นหรือที่อาตมามักใช้คำพูดว่า ระลึกรู้ด้วยใจ ก็คือ การกำหนดรู้ด้วยใจหรือความรู้สึกที่ออกมาจากใจ ระลึกรู้หรือรู้สึกถึงอาการของการเคลื่อนไหวทางกายนั้นๆ โดยไม่ไปจัดแจงหรือปรุงแต่งแต่อย่างใด สังเกตง่ายๆ การกำหนดรู้ด้วยใจ จะรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง เบาสบาย และเป็นธรรมชาติมากที่สุด แต่การกำหนดอันเนื่องด้วยความนึกคิด จะรู้สึกตึง เกร็ง ไม่ผ่อนคลาย ไม่ปลอดโปร่งหรือเบาสบาย และที่สำคัญการกำหนดอันเนื่องด้วยความคิดนึก จะมีความเป็นตัวเราเข้าไปปรุงแต่งด้วยไม่มากก็น้อย แต่การกำหนดด้วยใจผู้รู้ จะมีแต่ใจผู้รู้หรือสติสัมปชัญญะ ทำให้สามารถพัฒนาต่อไปเป็นวิปัสสนาญาณ ๙ ญาณ ๑๖ หรือโสฬสญาณได้ เช่นเดียวกับการกำหนดรู้จิต ก็ให้เป็นแบบสบายๆ และเป็นธรรมชาติมากที่สุด โดยไม่ไปจัดแจงหรือไปดักจิตแทนที่จะรู้จิตตามความเป็นจริง ว่าขณะนี้มีกิเลสอันใดเกิดขึ้นในจิต อาทิ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอยาก และอื่นๆ และไม่ไปกำหนดดูจิตแบบจงใจหรือตั้งใจเกินไป เพราะจะทำให้สติหรือใจผู้รู้อยู่แนบแน่นหรือฝังตัวอยู่ในจิต ถูกกิเลสในจิตครอบงำ จนไม่อาจรู้เท่าทันความเป็นไปของจิตหรือความไหวของจิตได้ หรือบางท่านก็กำหนดดูจิต แบบทำจิตให้ว่างไปเลย เป็นจิตว่างที่เกิดจากสมาธิ อันเป็นลักษณะของการหลบหน้าจากกิเลส แต่ถ้าเป็นจิตว่างด้วยปัญญา คือเป็นจิตว่างที่เกิดจากการมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ รู้เท่าทันจิตอยู่เสมอๆ เมื่อรู้เท่าทันจิตอยู่เสมอๆ จิตก็จะว่างแบบพร้อมที่จะทำงานได้ คือ สามารถพัฒนาต่อไปเป็นยถาภูตญาณทัสสนะ คือเห็นทุกสิ่งทุกอย่างหรือเห็นโลกตามความเป็นจริง หมายถึงเห็นไตรลักษณ์ เห็นปัจจยาการ เห็นปฏิจจสุมปบาท เกิดความเบื่อหน่าย ความจางคลาย ไปจนถึงความสลัดคืน และความหลุดพ้นในที่สุด
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    วันนี้จะไม่อธิบายในหลักวิชาการ แต่จะอธิบายในเชิงเป็นอุบายในการต่อสู้และประหารกิเลส กล่าวคือเมื่อเราฝึกการเจริญสติในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมด้วยความเพียรต่อเนื่องจนใจผู้รู้มีกำลังดังกล่าว ผู้ปฏิบัติจะพบว่าใจของเราเปิด คือเป็นผู้รู้และตื่นอยู่เสมอ เมื่อมีอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางอายตนะ ใจผู้รู้ คือสติจะอยู่เหนืออายตนะภายนอกที่มากระทบ (รูป) และอยู่เหนือจิตที่เข้าไปรับอารมณ์นั้น (นาม) เมื่อเกิดการกระทบคือผัสสะ ก็จะรู้ถึงใจโดยตรง คือตาเห็น คือวิญญาณเห็น (จิตเห็น) และสติหรือใจผู้รู้ ก็จะเห็นทั้งความเป็นไปของรูป และความเป็นไปของจิตด้วย เหตุเพราะสติหรือใจผู้รู้ รู้เท่าทันรูปคือสิ่งที่มากระทบ และรู้เท่าทันนามคือจิตที่ไปรับรู้อารมณ์นั้น เมื่อรู้เท่าทัน ก็จะเกิดสภาวะของสติหรือใจผู้รู้ลอยอยู่เหนือทั้งรูปและนาม คือแยกตัวจากทั้งรูปและนามนั้น และเห็นความเป็นไปของรูปและนามนั้นตามความเป็นจริง คือเห็นการปรุงแต่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และแปรเปลี่ยนไปเป็นอารมณ์ทางใจต่างๆ นานา อันแสดงลักษณะของสามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) และปัจจยาการ (ความที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย)
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เมื่อผู้ปฏิบัติรู้เท่าทันจิต จนสติหรือใจผู้รู้อยู่เหนือ รูป-นามเช่นนี้ ก็จะเห็นกิเลสและอารมณ์ต่างๆ จรเข้ามา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป และแปรเปลี่ยนไป จนผู้ปฏิบัติจะเกิดการละวางไปในตัว จนเป็นภาวะของจิตว่างอันเกิดจากสติรู้เท่าทันกิเลส ไม่ใช่จิตว่างด้วยอำนาจสมถะ แต่กระนั้นก็ตาม จิตว่างแบบสมถะก็ยังมีประโยชน์หรือความจำเป็นอยู่บ้างในกรณีที่เกิดการกระทบจนจิตไหลไปตามกิเลสอยู่เสมอ อันนี้ สติไม่สามารถรู้เท่าทัน จึงต้องใช้ความว่างอันเกิดจากสมถะหยุดจิตของตนเองไม่ให้ไหลไปตามกิเลสก่อน พอจิตอยู่ในอำนาจของสมถะคือไม่ไหลไปตามอารมณ์นั้นๆ ก็เจริญสติให้รู้เท่าทันอารมณ์นั้นโดยไม่ต้องใช้สมถะอีกต่อไป เพราะอยู่ในอำนาจที่สติสัมปชัญญะสามารถรู้เท่าทันจิตและจิตไม่ไหลไปตามกิเลสได้ การรู้เท่าทันจิตด้วยสติสัมปชัญญะนี้จะเป็นการทำให้จิตตสังขารระงับได้ด้วยปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริง ไม่ใช่ทำจิตตสังขารให้ระงับด้วยการข่มเอาไว้ด้วยสมถะซึ่งไม่สามารถประหัตประหารกิเลสได้ การทำจิตให้ว่างด้วยสมถะอาจจะต่อสู้หรือยับยั้งกิเลสได้ แต่ไม่สามารถประหารกิเลสได้ เปรียบเสมือนตะกอนในแก้วน้ำที่ตกตะกอนนอนก้น ซึ่งพร้อมที่จะขุ่นได้ตลอดเวลา แต่ความว่างจากกิเลส ความยึดมั่นถือมั่น อันเนื่องมาจากสติหรือใจผู้รู้รู้เท่าทันความไหวของจิตคืออารมณ์หรือกิเลสที่เกิดกับจิตแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย อันนี้เองจึงจะเป็นการเทตะกอนทิ้งออกไปทีละน้อยๆ ด้วยสติและปัญญาญาณเห็นแจ้งตามความเป็นจริง จนในที่สุดสามารถประหารกิเลสคือเทตะกอนทิ้งออกหมดได้ในที่สุด
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เมื่อสองวันก่อน มีโอกาสไปกราบนมัสการพระอาจารย์เปลี่ยน ท่านได้ให้อุบายในการทำสมาธิว่า จิตนั้นเปรียบเสมือนลูก สติเปรียบเสมือนพ่อ และสัมปชัญญะเปรียบเสมือนแม่ ท่านให้หมั่นเจริญสติสัมปชัญญะด้วยการระลึกบ่อยๆ และรู้สึกตัวบ่อยๆ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน จิตคือลูกอันถูกพ่อแม่คือสติสัมปชัญญะอบรมดีแล้ว ก็จะไม่หนีเที่ยวไปเป็นความคิดปรุงแต่งต่างๆ นานา เมื่อจิตไม่ปรุงแต่งไปเป็นความคิดต่างๆ นานา จิตก็จะสงบ เมื่อจิตสงบก็น้อมเอาอนิจจสัญญา ไปจนถึงอนัตตสัญญา เข้ามาประหัตประหารกิเลส เบื้องต้นเป็นจินตมยปัญญา จนเมื่อใดใจผู้รู้เห็นแจ่มแจ้งตามความเป็นจริงก็จะเกิดวิปัสสนาญาณอันเป็นภาวนามยปัญญาในที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...