บทเรียนเกาะอีสเตอร์กับอนาคตความเปราะบางของโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 11 ธันวาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    บทเรียน'เกาะอีสเตอร์'กับอนาคตความเปราะบางของโลก

    บทเรียน "เกาะอีสเตอร์" กับอนาคตความเปราะบางของโลก

    [​IMG]


    การขับเคลื่อนของสังคมส่วนหนึ่งเพื่อให้เกิดการเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างทุนสังคมที่เข้มแข็ง โดยเฉพาะชุมชน

    เป็นประจำทุกปีที่สยามมิชลินได้จัดทริปท่องเที่ยวทางเลือกพาสื่อมวลชนไปชมศิลปวัฒนธรรม ซึ่งผู้กำหนดเส้นทางและสถานที่คืออาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ขณะที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์จะเป็นแขกรับเชิญที่จะมาพูดในหัวข้ออะไรก็ได้

    ในครั้งนี้เส้นทางที่ไปคือเวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่ ให้เห็นพัฒนาการของเมืองก่อนล่มสลายจากภัยพิบัติน้ำท่วม ต่อจากนั้นไปเวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า ดูการคงความเป็นชุมชนที่อนุรักษ์และสืบต่อเครื่องป’™นดินเผา และตามไปดูวัด ชุมชน กับการรักษาป่าของชาวปกาเกอะญอ ที่วัดศรีสุทธาวาส ทั้งนี้เพื่อให้เห็นการอยู่อย่างพอเพียงและการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งของชุมชนเหล่านี้

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอาจารย์นิธิได้หยิบยกเรื่องราวของหมู่เกาะอีสเตอร์ที่ล่มสลายเพื่อเป็นบทเรียนของชาวโลกทั้งหลายในการดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ก่อนที่ภัยพิบัติจะรุนแรงไปกว่านี้ ซึ่งสอดรับกับปัญหาของโลกในปัจจุบันที่เผชิญกับวิกฤตต่างๆ มากมาย ซึ่งเรื่องราวของเกาะอีสเตอร์มีอยู่ว่า

    ที่หมู่เกาะอีสเตอร์ ที่นี่จะมีหินที่แกะสลักสูงใหญ่ถึง 170 ฟุต น้ำหนักรูปสลักหินเหล่านี้หนักประมาณ 75 ตัน อันใหญ่สุดหนักถึง 270 ตัน ภาษาพื้นเมืองเรียกรูปสลักหินเหล่านี้ว่าโมอาอิ "MOAI" นอกจากนั้นรูปสลักหินเหล่านี้ตั้งบนแท่งหิน ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "อาฮู" แท่นหินอันนี้เป็นหินใหญ่ที่นำมาวางเป็นขอบ มีกรวดบรรจุด้านใน น้ำหนักของหินที่นำมาเป็นขอบหนักประมาณ 300-9,000 ตัน แล้วเอารูปสลักหินโมอาอิมาวางบนแท่นหินอาฮูเหล่านี้

    ต้องเล่าย้อนหลังถึงสิ่งมหัศจรรย์เกี่ยวกับหมู่อีสเตอร์คือคนโพลินีเซียน เช่น ชาวมลายู อินโดนีเซีย เป็นพวกที่เดินทางทางทะเลไกลมาก ขยายตัวจากทางเอเชียไปทางแปซิฟิก เกาะอีสเตอร์นี้อยู่ไกลสุดของพวกโพลินีเซียนทางด้านตะวันออก ไกลกว่าฮาวาย กล่าวคือ อยู่ห่างแผ่นดินละตินอเมริกา 2,000 ไมล์ อยู่ห่างจากเกาะสุดท้ายของพวกโพลินีเซียนด้วยกันอีก 1,500 ไมล์ คืออยู่ตะวันออกสุดและอยู่โดดเดี่ยวมากๆ

    สิ่งที่น่ามหัศจรรย์มากๆ คือ ตอนที่นักเดินเรือชาวดัตช์ไปพบเกาะนี้ในศตวรรษที่ 18 พบว่ามีประชากรประมาณ 1,000 คน มีความยากจนมาก ทั้งเกาะมีแต่พุ่มหญ้าและต้นไม้เล็กๆ คำถามว่าเขาสลักหินบนภูเขาไฟและลากลงมาได้อย่างไร เอาเครื่องมืออะไรสลักหิน และจะตั้งรูปสลักหินสูงเท่าตึก 5 ชั้นขึ้นมาได้อย่างไร เพราะไม่มีไม้ใหญ่สักต้น...เป็นที่อัศจรรย์มาก เกิดทฤษฎีต่างๆ มากว่าทำได้อย่างไร

    ฝรั่งที่พบบันทึกไว้ว่าเขาพบเรือชาวพื้นเมือง ซึ่งเป็นเรือยาว 10 ฟุต นั่งได้แค่ 2 คน เพราะที่เกาะไม่มีไม้เนื้อแข็งมีแต่เนื้ออ่อน ไม่สามารถทำสลักไม้ทำเรือ ไม่ให้น้ำเข้าได้ ชาวบ้านจึงเดินทางออกไปทะเลได้แค่ใกล้ๆ แต่ก็สงสัยว่าทำไมเขาแกะสลักหินได้ใหญ่ขนาดนั้น เป็นปมประเด็นปัญหาที่ถูกทิ้งไว้นาน

    เกาะอีสเตอร์มีพื้นที่ 66 ตารางไมล์ (ไม่ใหญ่มาก) เป็นลักษณะ 3 เหลี่ยมมุมฉาก มีภูเขาไฟ 3 ลูก 3 มุม อายุต่างกัน ลูกสุดท้ายพ่นเอาหินภูเขาไฟท่วมเกาะกว่า 90% คิดในแง่หนึ่งก็ดี ดินภูเขาไฟเป็นดินอุดมสมบูรณ์ แต่เกาะอีสเตอร์อยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรที่สุดในบรรดาเกาะโพลินีเซียนด้วยกัน อากาศจึงหนาว พืชโตช้า ไม่มีปะการังชายฝั่ง จึงไม่ค่อยมีปลา พวกนี้จึงอยู่ในทำเลที่เปราะบางทางนิเวศน์อย่างยิ่ง อาหารที่จะกินมีน้อยมาก ลมแรงมาก

    และการที่อยู่ไกลจากหมู่เกาะโพลินีเซียนด้วยกัน ปกติการอพยพของชาวโพลินีเซียนจากเกาะหนึ่งไปอีกเกาะหนึ่ง จะไม่ขาดการติดต่อกัน จะกลับไปกลับมากับหมู่เกาะที่เขาอพยพไป แต่ชาวอีสเตอร์ไม่เป็นอย่างนั้น ดูได้จากสิ่งเหลืออยู่ในเกาะชี้ให้เห็นว่า 1.ไม่มีพืชหลายชนิดที่เป็นของพวกโพลินีเซียน เช่น มะพร้าว กล้วย แสดงว่าไปแล้วไม่ย้อนกลับไปอีก เพราะความห่างไกลที่กล่าวข้างต้น

    ที่เกาะอีสเตอร์ฝนตกน้อย แม้จะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ก็จริง แต่น้ำซึมเร็วมาก

    น้ำจืดพอมีอยู่บ้างจากลำห้วยที่ไหลลงมา ก็สามารถขุดบ่อได้ และมีน้ำพุในทะเล กล่าวคือ เมื่อน้ำลงจนสุด ก็จะมีน้ำพุเป็นน้ำจืดมากินได้ คนที่นี่มีน้ำสำหรับกิน แต่ไม่มากนัก ต้องอาศัยอ้อย กินน้ำจากอ้อย ชาวอีสเตอร์อายุ 20 ปี ฟันก็ผุหมดแล้ว อันนี้ชี้ให้เห็นว่าเขาอยู่ในระบบนิเวศน์ที่เปราะบางมาก

    คนเหล่านี้อพยพไปอยู่ที่เกาะอีสเตอร์เมื่อไหร่ ดูจากหลักฐานโบราณคดีแล้ว กำหนดอายุออกมาประมาณ ค.ศ.900 (ประมาณสมัยอาณาจักรกัมพูชา) อพยพจากหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกไปอยู่อีสเตอร์ จากที่ไม่ค่อยจะติดต่อกับใคร จะไม่มีสัตว์อีกหลายอย่างที่พวกโพลินีเซียนมักจะเอาไปด้วย เช่น หมู สุนัข

    ช่วงที่ประชากรเพิ่มมากสุดมีประมาณ 30,000 คน โดยสันนิษฐานว่าจะต้องมีประชากรหนาแน่นในเกาะนี้พอสมควรที่จะสามารถสลักหิน ลากหินเหล่านี้ไปสร้างอาฮูและสลักหินรูปใหญ่ไปตั้งบนนั้นได้

    นอกจากนั้นเชื่อว่าตอนที่มีประชากรสูงสุด คนในเกาะต้องทำเกษตรกรรมแบบเข้มข้น จากหลักฐานที่ปรากฏคือ คาดว่าจะมีลมแรงมาก มีการขุดหลุมลงไป โดยเอาหินมาบุรอบหลุม มีการทำเขื่อน มีเล้าไก่ด้วยการสกัดหินเป็นก้อนๆ มาทำ นับได้เป็นพันเล้า นอกจากนี้เอาหินเป็นก้อนๆ ไปวางไว้ที่ปลูกเผือก ปลูกต้นไม้ เพราะช่วงกลางวันหินดูดซึมความร้อน กลางคืนคายความร้อนลงไปให้ดิน ไม่ให้ดินเย็นเกินไป และหินเหล่านี้ช่วยบังลม เวลาฝนตกจะละลายธาตุอาหารบางอย่างให้พืช

    โดยทั่วไปสวนหินแบบนี้พบในอินเดียนแดง อิสราเอล แต่ในอีสเตอร์พบหินเหล่านี้เป็นล้านก้อน แสดงว่าคนต้องออกแรงไปขนหินมาวางตลอดเวลา และต้องมีการทำเกษตรกรรมแบบเข้มข้น โดยเฉพาะไร่เผือกเพื่อนำมาเลี้ยงคนงานสลักรูปหิน

    มีการสันนิษฐานว่าที่นี่เคยปกครองอย่างไร คนที่เป็นหัวหน้าและประชาชนทั่วไปอยู่กันอย่างไร จากหลักฐานบ้านหัวหน้าจะใหญ่อยู่ติดทะเล ประชาชนคนธรรมดา บ้านขนาดเล็ก อยู่เข้ามาข้างในเกาะ

    ทั้งเกาะแบ่งเป็น 12 เขต ทรัพยากรกระจุกเป็นที่ๆ บางพื้นที่ไม่มีทางออกไปหาปลา คาดว่าคงต้องมีระบบการปกครองที่ทำอย่างไรที่จะให้มีเข้าถึงทรัพยากรทั้ง 12 เขตเท่ากัน เพราะหินที่ใช้ในการสลักรูป อยู่ในเหมืองหินเขตหนึ่ง แต่พบว่าเขตที่มีการสลักหินสามารถไปเอาหินที่อยู่ในอีกเขตหนึ่งได้ แสดงว่าต้องมีอำนาจที่จะเข้าถึงทรัพยากรที่กระจุกในแต่ละที่ได้ และการสลักหินที่พบในเหมืองหินมีรูปที่ยังสลักไม่เสร็จเป็น 100 รูปในตอนนี้

    รูปหินสลักเหล่านี้ต้องลากลงมาชายทะเล ถ้าหากทั้ง 12 เขตต้องลาก ก็ต้องลากข้ามเขตคนอื่นเขา เพราะฉะนั้นแสดงว่ามีอำนาจปกครองบางอย่างที่สามารถสั่งการได้ทั้ง 12 เขต

    รูปสลักเหล่านั้นเป็นรูปบรรพบุรุษของเขา ตอนแรกๆ มีขนาดเล็ก แต่ว่าภายหลังทำใหญ่ๆ ขึ้น แต่ละเขตแข่งกัน รูปท้ายสุดที่สูง 170 ฟุต ใช้กำลังคนลากจูง ยกไปตั้งบนแท่นหินอาฮู

    ทำให้มีข้อสงสัยว่า คนลาก คนยก คนสลัก คนทำอาฮู คนเหล่านี้ต้องกินอาหารที่คนอื่นปลูกจำนวนมากทีเดียวสำหรับเกาะที่ผลิตอาหารได้จำกัด

    แล้วเอาเชือก เอาซุงมาจากไหนในการยกรูปสลักหิน เพราะตอนที่ไปพบมีแต่หญ้าทั้งเกาะ เคยมีนักโบราณคดีที่เอาเครนเข้ามา แต่สามารถยกได้แค่ 50 ตัน และยกได้ไม่กี่รูป เพราะส่วนใหญ่เกิน 50 ตัน

    ถามว่าเชือกกับซุงมาจากไหน จากการศึกษาค้นคว้า อาศัยการศึกษาเกสรดอกไม้ พบว่าเกสรของต้นปาล์ม ต่อมาพบเมล็ดปาล์มที่เป็นตระกูลเดียวกับไวน์ปาล์มในชิลี ซึ่งเป็นปาล์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 3 ฟุต ตัวเปลือกมีรสหวาน กะเทาะเปลือกไปหมักทำไวน์ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ขุดพบรากของต้นปาล์ม จากรากทำให้คำนวณว่าลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 7 ฟุต

    และจากการดูซากจากเตาเผาต่างๆ มีพันธุ์พืชที่หายไป 20-21 ชนิด พบไม้มีความสูง 50-100 ฟุต

    สรุปว่าเกาะอีสเตอร์สมัยหนึ่งเป็นป่าทึบ เชือกเป็นเรื่องเล็กที่จะฟั่นเชือกได้ นอกจากนั้นมีนักโบราณคดีขยะ ดูจากหลุมขยะ พบกระดูกนกหลายชนิด นกบนบก 6 ชนิด ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว มีนกทะเลออกไข่ 25 ชนิด พบกระดูกสิงโตทะเล พบมากสุดคือกระดูกปลาโลมาซึ่งเป็นปลาน้ำลึก การที่กินปลานี้ได้ต้องมีเรือออกไปหาปลาไกลๆ ได้ เพราะฉะนั้นชาวบ้าน อีสเตอร์ สมัยป่าสมบูรณ์ นอกจากนี้มีการกินหนู กินนกเยอะมาก คาดว่าหนูซึ่งมากับเรือมาแพร่พันธุ์ และมีเต่าทะเล มีกิ้งก่าด้วย นอกจากนั้นพบว่าพวกกระดูกเหล่านี้ถูกเผาด้วยฟืน ต่างกับชาวอีสเตอร์ปัจจุบันไม่มีเนื้อสัตว์เหล่านี้ให้กิน

    ป่าอีสเตอร์ถูกทำลายและไม้หลายอย่างหายไป อย่างปาล์มหายไป ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ.1500 ไม่มีต้นปาล์มเหลืออยู่แล้ว ถูกทำลายไปแล้ว ไม่พบไม้ฟืนอีก ต้องใช้หญ้า เศษวัชพืชแทน

    สรุปว่าประมาณ ค.ศ.1400 ขึ้นมา 1,600 ป่าถูกทำลาย (ประมาณสมัยอยุธยาต้นๆ) พวกนี้ออกเรือไม่ได้ อาหารโปรตีนก็ยิ่งน้อยลงไป การเกษตรยิ่งหายไป ความชื้นหายไป การบ่อนเซาะของพื้นดินเร็วขึ้น และเข้าใจว่าคนจะแย่งพุ่มไม้ ผู้คนอดอยากมากขึ้น อาหารที่เราพบมากในหลุมขยะระยะหลังๆ คือกินเนื้อคน และกินหนู คนมักถูกทุบเพื่อเอาไขกระดุกมากินด้วย

    ปัจจุบันคนในเกาะอีสเตอร์จะมีนิทานเกี่ยวกับเรื่องกินคนเยอะมากๆ คำด่าที่จะด่าศัตรูที่จะให้เขาเจ็บแสบที่สุดคือ "เนื้อแม่มึงติดอยู่ในซอกฟันกู" เป็นคำด่าที่ถือว่าเจ็บแสบมาก

    สรุปว่าระบบปกครองพัง คงมีการยึดอำนาจ สังคมพังทลาย ศาสนาเปลี่ยน รูปสลักหินไม่พบอีก หันไปสลักรูปอวัยวะเพศหญิงที่แปลถึงความอุดมสมบูรณ์ และมีการทำลายรูปสลักหิน ตอนที่ฝรั่งพบไม่มีรูปสลักที่ตั้งอยู่ มีการทำลายหมด หินที่ทำอาฮูถูกเอาไปทำเล้าไก่ คนย้ายเข้าไปอยู่ในถ้ำ

    ทั้งหมดนี้แสดงถึงการพังสลายทุกอย่างของเกาะอีสเตอร์ หลังป่าถูกทำลายไปแล้ว ประชากรลดลง อาหารไม่พอ ฆ่ากันเองกินกันเอง ยิ่งฝรั่งเข้ามาติดต่อก็นำเอาเชื้อโรคเข้ามาคือฝีดาษ คนตายกันมากอีก มีการค้าทาส มีเรือจากเปรูขนคนไปใช้งาน คนลดลงอย่างมากมาย

    เมื่อผมอ่านเรื่องนี้ ทำให้คิดถึงตัวเราเอง คิดถึงโลกในระบบนิเวศน์ที่เปราะบางเหมือนกัน ผมเคยคุยกับนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อถึงเรื่องการสูญเสียทรัพยากร เขาก็ว่าเดี๋ยวก็มีขึ้นมาใหม่ได้ ผมก็เชื่อว่าอีสเตอร์ก็คงคิดอย่างนี้ ก่อนที่มันล่มสลายไป

    เรื่องนี้น่าจะเป็นบทเรียนแก่โลกอย่างดี


    -----------------------------------
    ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
    http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02spe03111249&day=2006/12/11
     
  2. นืเฟร

    นืเฟร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +433
    ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดุมสมบูรณ์ ช่วยกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติกันไว้นะครับ ตอนนี้ป่าไม้ในประเทศเหลืออยู่ไม่ถึง 20 % ด้วยซ้ำ
     
  3. vena

    vena เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    165
    ค่าพลัง:
    +590
    ใกล้ถึงวันปีใหม่แล้ว อย่าลืมให้ของขวัญกับโลกใบนี้ ด้วยการปลูกต้นไม้อย่างน้อยคนละ 1 ต้น น่ะจ๊ะ เพื่อโลกของเรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...