บอกเคล็ดลับในการสร้างพระแก้วด้วยเตาอบเพียงใบเดียว

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 21 ตุลาคม 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    20180328_154646.jpg
    เจ้าแม่กวนอิมหน้าตักประมาณ 4 นิ้ว ที่ปีเตอร์เลือกหลอมแบบองค์พระกับฐานติดเป็นเนื้อเดียวกัน ปีเตอร์หลอมสมัยที่ทำงานอยู่โลตัสคริสตัล ระยอง แล้วก็อย่างที่ว่า โจทย์บังคับ ( คือปางนี้ฐานแก้วติดกับองค์พระ เป็นปางบังคับ ) แล้วปีเตอร์ก็ใช้วิธีคำนวนน้ำหนักก้อนแก้วก่อนการหลอม ก็จะได้ฐานที่มีด้านล่างสุดใต้ฐานที่ค่อนข้างเรียบ แต่ก็เรียบไม่สนิท จึงใช้เครื่องฝนทรายละเอียดของโลตัสคริสตัลฝนใต้ฐานให้เรียบสนิทครับ

    หมายเหตุ
    เดี๋ยวจะบอกว่าทำไมจึงเรียบไม่สนิท
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    8a_3.jpg
    ถ้าหากเลือกใช้ฐานแบบ " ทับเสร็จ " ไม่ว่าจะเป็นแก้วเนื้อตันๆ หรือเนื้อแก้วกลวงก็ตาม ก็ไม่ต้องมากังวลว่าจะต้องตัด หรือ ฝนให้เรียบ เพราะถ้าใช้ " ทับเสร็จ " สวมลงฐาน ส่วนที่จะยื่นหรือไม่เสมอ จะนูนหรือไม่ ก็ไม่ได้เป็นปัญหา ดังนั้น ผมจึงมักบอกว่า ผมจะเป็นผู้ออกโจทย์ มักไม่ค่อยยอมให้โจทย์มาบังคับผม นี่คือสิ่งที่เราเตรียมก่อนออกศึกจริงครับ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    2321123.png
    ผมขอยืมภาพนี้จากทางฝรั่งนะครับ มาอธิบายว่า เพราะอะไรเมื่อคำนวนน้ำหนักแก้วเป็นอย่างดีแล้ว คือคูณ 4.2 เท่าของน้ำหนักขี้ผึ้งแล้ว ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อก็ยังละลายลงไปไม่เป็นแผ่นเรียบเหมือนน้ำ หรือเหมือนกระจกแผ่น ทั้งนี้เพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ครับ
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ความลับของการหลอมก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อแล้ว สุดท๊อปเวลาอัพไซด์ดาวน์ ทำไมถึงไม่เรียบเหมือนกระจกแผ่น ทำให้ชิ้นงานไม่สามารถวางตั้งโต๊ะได้ทันทีหลังงานเสร็จ ส่วนมากต้องไปตัดฐานแล้วฝนทรายให้เรียบสนิท

    ความลับอยู่ที่ ศิลปินหรือช่างแก้วส่วนมากมักหลอมที่อุณหภูมิหลอมเหลวตามที่ผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อกำหนดมาอย่างเคร่งครัด ( ซึ่งความจริงเป็นเรื่องที่ถูกต้องและดี เพราะทุกอย่างจะไม่มีความเสี่ยงใดๆเลย ) [ แต่ในเมื่อเราต้องการท๊อป ซึ่งจะกลายมาเป็นใต้ฐานที่เรียบสนิท มันจะไม่เข้าข่ายความรับผิดชอบของผู้ผลิตก้อนแก้วครับ เขาต้องการชิ้นงาน แต่ไม่ได้ต้องการใต้ฐานเรียบ ]
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เคล็ดลับของมือโปรที่ยอมรับความเสี่ยงตรงนี้ได้ คือการเพิ่มอุณหภูมิจุดหลอมเหลวให้สูงขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 5 - 10% และเป็นช่วงเวลาสั้นสุดก่อนจบขบวนการหลอมเหลว ทั้งนี้ เพื่อให้น้ำแก้วส่วนท๊อปบนสุด ซึ่งส่วนนี้จะมากลายเป็นใต้ฐาน จะได้เรียบสนิท สามารถตั้งโต๊ะได้เลย และเมื่อลดอุณหภูมิก็ต้องค่อยๆลดอย่างช้ามากๆ ตามกำหนดตารางที่ทางผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อเขาส่งมาให้ ใต้ฐานก็จะเรียบสนิทเอง

    การทำเช่นนี้เป็นการทำนอกเหนือจากที่เขากำหนดมา ความเสี่ยงก็อาจจะเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น เมื่ออุณหภูมิสูงเกินไปแม้แต่เพียง 5 - 10% ในช่วงสั้นๆ ปูนปลาสเตอร์อาจแตกชำรุดเสียหาย น้ำแก้วอาจทะลักออกทางช่องแตกของปูนปลาสเตอร์ หรือความเสียหายอื่นๆก็อาจเกิดขึ้นได้ ตรงนี้ผมจึงบอกว่า นอกตำราตรงนี้ มันเข้าเขตมือโปรที่ยอมรับความเสี่ยงตรงนี้ได้ก่อน จึงทำ เพราะถ้าทำแล้วเกิดเสียหายจะไปโทษผู้กำหนดเขาไม่ได้ครับ แต่ผมมักเป็นผู้กำหนดโจทย์อีกนั่นแหละ ผมจึงคิดว่าผมสามารถออกโจทย์ได้เองอีก ซึ่งมีอีกหลายวิธีป้องกันดังต่อไปนี้ครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    2321123-png.png
    การใช้ตะแกรงเหล็กเป็นตัวป้องกันปูนปลาสเตอร์แตกระหว่างการหลอมและการอบลดอุณหภูมิ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    photo 1_2.JPG
    การหลอมพระพุทธรูปปางนั่ง ปางนอน หรือปางยืนสามารถหลอมแบบที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้นได้ แต่ถ้าเมื่อใดเป็นการหลอมชิ้นงานดังในภาพนี้ คือ รองเท้าทัชชูนี้ ซึ่งต้องการน้ำหนักน้ำแก้วไหลลงไปกดให้น้ำแก้วไปเต็มทุกอณูของรองเท้านั้น ย่อมต้องใช้วิธีตัดฐานได้เพียงวิธีเดียว เพราะตรงรอยที่ตัดนี้ เป็นช่องทางเดียวที่จะส่งน้ำหนักน้ำแก้วให้น้ำแก้วไปปรากฏเต็มพื้นผิวชิ้นงานนั่นเองครับ

    ผมอธิบายไว้เผื่อท่านที่คิดได้ลึกจริง ก็จะได้ยอมรับทั้งเหตุและผลให้สุดใจไปเลยครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เคล็ดลับอีกประการ คือการหลอมชิ้นงานส่วนเกินเพิ่มอีก 2 - 3 ชิ้น โดยใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากที่เดียวกัน กล่าวคือ ถ้าเราจะสร้างพระพุทธรูปแก้วสักองค์ ไม่ว่าจะขนาดหน้าตักเท่าใด เราควรหล่อแก้วเป็นชิ้นรูปร่างอย่างไรก็ได้ ความหนาเท่าไรก็ได้ จะเป็นแผ่นก็ได้ ทั้งนี้ควรหลอมในเตาเดียวกันกับชิ้นงานไปด้วยเลย พอเราได้ชิ้นงานพระแก้วออกมา เราก็จะได้ก้อนแก้วหรือแผ่นแก้วด้วยอีก 2 - 3 ชิ้น เก็บแผ่นแก้วหรือก้อนแก้วส่วนเกินนี้ไว้เป็นอย่างดีนะครับ เพราะอะไร ลองตามอ่านด้านล่างครับ
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมมักเป็นผู้ออกโจทย์ มากกว่ารอให้โจทย์มาบังคับ ดังนั้น ผมจึงให้หล่อชิ้นก้อนแก้วส่วนเกินไว้ 2 - 3 ชิ้น เพราะขณะที่เราสร้างพระแก้วนี้ เราอาจมีเงินซื้อแค่เตาอบเพียงเตาเดียว เราสร้างพระแก้วผิวไฟสำเร็จ แต่วันหนึ่งในอนาคตซึ่งยังไม่ทราบว่าเมื่อใด วันนั้น อาจมีความจำเป็นต้องทำสีผิวเป็นสีใสปิ๊ง หรือสีฝ้าแบบลาลีคฝรั่งเศส เราต้องพึ่งพาโรงงานกัดกรด ซึ่งผมเชื่อว่า น้อยคนนักที่จะเป็นเจ้าของเครื่องกัดกรดแก้วได้ เพราะไม่ใช่แค่มีเงินเท่านั้น ยังต้องมีส่วนของการบำบัดและนำกากเคมีไปทิ้งด้วยวิธีที่ถูกต้องตามกฏหมาย และยังมีค่าใช้จ่ายตรงนี้ทุกๆเดือน ผมเรียนกัดกรดกัดแก้วตั้งแต่อายุ 7 ขวบ คุณพ่อผมเป็นคนสอนให้เองโดยไม่ได้บังคับผมแต่อย่างใด และผมก็แค่เรียนรู้อย่างช้าๆ เล่นเป็นชีวิตประจำวัน แวะเข้าโรงงานกัดกรดกัดแก้วของคุณพ่อเป็นแค่ไปดูคุณพ่อ แต่คุณพ่อก็ชอบสอนผมจัง

    โรงงานกัดกรดกัดแก้วในปัจจุบันไม่น่าจะง่ายๆเหมือน 55 ปีก่อนแล้วครับ ปัจจุบันมีกฏหมายเข้ามาข้องเกี่ยว และก็เป็นการดีครับที่จะทำให้ถูกต้อง

    ก้อนแก้วที่ผมให้สร้างเพิ่มขึ้นนี้เอง ที่เราจะใช้ทดลองกัดกรด ไม่ใช่การนำชิ้นงานมากัดกรดในครั้งแรกที่ทดลองครับ เมื่อได้สูตรการกัดชิ้นก้อนแก้วส่วนเกินนั้น ก็จะเท่ากับเราได้ทดลองกับผิวชิ้นงานจริงๆโดยที่ชิ้นงานไม่เสียหายหรือสึกหรอเลยครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ตอนที่ปีเตอร์ทำงานในแผนกกัดกรดแก้วในโลตัสคริสตัล ระยอง บางครั้งปีเตอร์ก็ขอปรึกษาผมในฐานะที่ผมเคยกัดกรดกัดแก้วมาก่อนเขา เขาส่งภาพการทดลองกัดมาปรึกษาผม และนี่เป็นเพียงบางภาพ ซึ่งการกัดกรดกัดแก้วในพระแก้วนั้น ยังมีความต่างจากแก้วแชมเปญมากนะครับ จะเหมือนกันก็ตรงที่ต้องมีการทดลองกัดหลายๆช่วงเวลา แต่ความหนาก็ดี สีแก้วก็ดี และองค์ประกอบอื่นที่ต้องนำมาพิจารณายังอีกมากครับ โดยเฉพาะการกัดจากผิวไฟมาเป็นผิวใสปิ๊ง
    frosted001.jpg frosted002.jpg frosted003.jpg frosted004.jpg frosted005.jpg frosted006.jpg
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    a18-jpg.jpg
    ภาพนี้คือท๊อปบนสุดที่ผมหลอมพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วโดยคำนวนน้ำหนักแก้วเรียบร้อยแล้ว ทำให้น้ำแก้วไหลลงมาเรียบเสมอกับขอบแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ และด้วยการใช้เทคนิคบางอย่าง ทำให้ด้านท๊อปซึ่งเมื่อกลับหัวขึ้น ส่วนท๊อปก็จะกลายเป็นส่วนใต้ฐานไปเองครับ

    และยิ่งผมมีฐานแยกออกมา สวมกับ " ทับเสร็จ " ผมยิ่งไม่กลัวว่า ผิวส่วนนี้ต้องเรียบสนิท เรียกว่าใช้งานได้ทันทีครับ แค่กระเทาะปูนปลาสเตอร์ออก ชิ้นงานพระแก้วก็ใช้งานได้ทันที
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ลองเปรียบเทียบงานหลอมแก้วระหว่างผมกับฝรั่งสิครับ
    2321123-png-png.png
    a18-jpg-jpg.jpg
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    มีเวลาว่างนิดนึง มาเขียนต่อครับ ท่านใดมีโอกาสอ่านแล้ว เข้าใจแล้ว สามารถนำไปโพสต์ต่อได้ ผมไม่มีลิขสิทธิ์ใดๆ ต้องการเผยแผ่ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ให้กว้าง ไกล ในหมู่คนไทย, พม่า, ลาว เขมร และใครก็ตามที่ยังไม่รู้เรื่องนี้ พวกเราที่อาจจะมีโอกาสรับทราบเรื่องดีๆแบบนี้น้อย จะได้รับทราบและเป็นจุดเกิดพระแก้วไทยอย่างเต็มที่ ลูกผมก็ไม่เอา คนรู้จักก็ไม่เอา มีแต่ช่างแก้วที่ไม่ใช่ศิลปินเขาอยากได้เป็นอาชีพ แต่เขาเองก็ไม่มีทุน และหากมีเศรษฐีใจบุญจะคิดสร้างช่างแก้วเหล่านี้ เขาก็ต้องการเงินเดือนไปเลี้ยงพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายเขาเดือนละไม่ต่ำกว่า 15,000.- บาทขึ้นไป บางคนยังต้องการเกิน 30,000.- บาท ซึ่งนั่นคงไม่ใช่ทางที่ควรจะเป็น ทางที่ควรจะเป็น น่าจะเป็นว่า ใครอยากเรียน ก็ควรได้เรียน แต่ไม่ใช่ต้องเอาเงินไปจ้างให้เขาเรียน เมื่อเป็นแล้ว ท่านได้กำไรยิ่งมากยิ่งดี เป็นความก้าวหน้าของท่านเอง และในที่สุด เราจะได้พระแก้วที่หลากหลายทั่วไทยหรืออาจทั่วโลกก็ได้ สร้างกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงราคา เพราะต้นทุนนั้นถูกมากๆ ถ้าท่านสร้างแล้ว น้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนา หรือจะทำเป็นอาชีพก็แล้วแต่ครับ ผมอนุโมทนาทุกๆท่านครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คำว่าต้นทุนนั้นถูกมากๆ แต่ผมไม่ได้บอกว่า ราคา หรือ มูลค่า จะเป็นเท่าใดนะครับ เพราะต้นทุนถูกก็ไม่เกี่ยวกับมูลค่า หรือ ราคาสูง เมื่อท่านสร้างพระแก้วแล้ว จะหาคนสร้างปางที่ใกล้เคียงกับที่ท่านสร้างได้ยากมากๆครับ หรืออาจพูดได้ว่า เกือบจะเป็นเพียงองค์เดียวหรือไม่กี่องค์ของโลก ดังนั้น มูลค่า หรือ ราคา จะสูงก็เพราะสร้างได้น้อยองค์ ยิ่งสูงค่าหากท่านสร้างแล้วไม่จำหน่าย น้อมถวายไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นของสงฆ์ไปเลยนั่นแหละครับ

    งานแบบนี้สร้างก๊อปปี้กันให้เหมือนเป๊ะๆและเท่ากันเป๊ะๆนี่ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้น มีมูลค่าแน่นอนครับ แล้วก็ไม่อาจประเมินได้ด้วย ต้นทุนแค่หลักพันบาท แต่อาจมีคนประเมินมูลค่านับล้านบาทได้ในทันทีที่สร้างเสร็จครับ

    ทั้งหมดที่ผมพูดมา ไม่ได้หมายถึงการค้าเชิงพาณิชย์นะครับ หมายถึงมูลค่าที่สูงเท่าใดสุดจะประมาณ แต่ต้นทุนใช้เงินในการสร้างไม่มากเลย ยิ่งเมื่อท่านใช้เตาอบเพียงใบเดียว สร้างไปกี่องค์ก็ได้บุญในการสร้างพระแก้วเท่านั้นครับ
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    136.jpg 135.jpg 138.jpg 137.jpg 142.jpg 143.jpg 145.jpg 151.jpg
    พระแก้วหน้าตัก 9 นิ้ว สร้างด้วยแก้วคริสตัลเกรด 30% PbO หน้าตัก 9 นิ้ว ต้นทุนหลักพัน ( เฉพาะองค์พระ ) ฐานอลูมีเนียมทึบแสง มีขั้วไฟ E27 จำนวน 2 ขั้ว ใช้หลอดประหยัดไฟเกลียว E27 ( ฐาน 200.- บาท ขั้ว 2X25= 50.- บาท หลอดประหยัดไฟ 2X55= 110.- บาท สายไฟ+ปลั๊ก+สวิทกลางทาง= 65.- บาท ส่วนฐานและระบบไฟ= 425.- บาท ) ต้นทุนทั้งองค์พระและฐาน+ไฟสว่าง= ไม่กี่พันบาท

    มูลค่านั้นผมไม่สามารถประเมินได้ เพราะผมเป็นคนสร้างเอง พอทราบแต่ว่าเกินล้านบาทไปแล้ว
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    032.jpg 030.jpg 028.jpg
    พระแก้วกลวงเป่าด้วยปอดหน้าตัก 9 นิ้ว ต้องใช้ช่างเป่าแก้วด้วยปอดสร้าง ผมนำมาโพสต์ในกระทู้นี้เพียงเพื่อให้ดูเนื้อกลวงในสีใสว่า ถ้ากลวงเป่าด้วยปอดจะเห็นภายในเนื้อแบบนี้ มองทะลุไปแบบนี้ และไปเห็นอีกข้างหนึ่งขององค์พระแบบนี้ ซึ่งปัจจุบันในปี พ.ศ. 2562 อาจถือได้ว่า ไม่มีโรงงานแก้วใดในไทยที่จะสร้าง ไม่ใช่ไม่มีฝีมือ แต่ด้วยต้องอาศัยการฝึกฝนทักษะฝีมือมากเกินไปมากกว่าครับ

    หมายเหตุ
    ต้นทุนเฉพาะองค์พระแก้วไม่รวมฐาน 450.- บาท
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    pic-02.jpg pic-01.jpg
    ภาพในส่วนแผนกเครื่องมือกรดกัดแก้ว ที่สามารถกัดผิวแก้วให้เป็นสีใสก็ได้ สีฝ้าก็ได้ หรือหากเป็นแก้วสีอื่นใด ก็สามารถกัดให้เห็นสีต่างๆฝ้า หรือ สีต่างๆใส เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญในอันดับท้ายๆ กล่าวคือ เราสร้างชิ้นงานองค์พระแก้วผิวไฟไปก่อน แค่ผิวไฟ หรือ ผิวที่กระเทาะเปลือกปูนปลาสเตอร์ออกก็สวยมากแล้ว เมื่อเก็บรักษาพระแก้วไปหลายๆปี หากมีความจำเป็น หรือมีความต้องการให้ผิวไฟกลายเป็นผิวกัดกรด คือสีฝ้าเนื้อละเอียดเต็มที่ หรือผิวใสปิ๊ง ก็ค่อยไปจ้างโรงงานกรดกัดแก้วทำก็ได้ เพราะถ้าเป็นเจ้าของเครื่องชิ้นนี้เอง ท่านต้องกลายเป็นสถานประกอบการไปด้วยเลยแล้วละครับ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    155.jpg
    ภาพที่ผมคำนวนน้ำหนักหากสร้างด้วยวิธีใดและชนิดของแก้วชนิดใด ในปี 2005 นั้น ผมยอมรับว่า ตอนนั้น ผมยังไม่ได้รู้จักปีเตอร์เลย จึงบันทึกแค่ในภาพนี้ ซึ่งการคำนวนนั้นเป็นเพียงเคร่าๆ ไม่ใช่น้ำหนักที่แท้จริง ยกตัวอย่างบันทัดที่ 6 จากบน ผมคำนวนว่า หากสร้างพระแก้วด้วย lead crystal ด้วยวิธี pressed glass องค์พระแก้วน่าจะมีน้ำหนัก 7.0 - 7.8 kg ตอนที่สร้างพระแก้วด้วยวิธี Lost Wax Glass โดยใช้ Lead Crystal น้ำหนักองค์พระที่ได้น้ำหนัก 6.0 kg ดังนี้เป็นต้น

    หมายเหตุ
    น้ำหนักขึ้นกับชนิดและเปอร์เซ็นต์ของสารในเนื้อแก้วด้วยครับ แก้วแต่ละสูตรอาจไม่เท่ากัน
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    6_Cast_glass_sculpture_ready_for_cold_working_large.jpg
    ภาพแสดงให้เห็นว่า Lost Wax Glass ที่แท้จริงนั้น สามารถหล่อพระแก้วกลวงก็ได้ ตันก็ได้ ในภาพนี้เป็นการหล่อชิ้นงานแก้วขนาดเล็กๆ แต่หล่อกลวง ขนาดเล็กขนาดนี้ยังหล่อกลวงได้ องค์พระแก้วใหญ่ๆหน้าตักสัก 79 นิ้ว ยิ่งหล่อกลวงได้สบายๆ แกะปูนปลาสเตอร์ออกก็จะได้แก้วสีนี้เลยครับ ไม่ต้องทำอะไร ความจริงคำว่าผิวไฟนั้น ผมหมายถึงผิวที่ชิ้นงานอยู่ในปูนปลาสเตอร์ถูกไฟหรือความร้อนอบออกมาโดยไม่ได้ทำอะไร นี่ผมเรียกผิวนี้ว่าผิวไฟครับ ไม่ทราบว่า ผมเรียกผิดหรือเปล่า แต่ผมเรียกแบบนี้ ดังนั้น ผิวไฟที่สวยหรือละเอียดมากน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของปูนปลาสเตอร์ครับ ถ้าปูนฯละเอียด หรือหุ่นขี้ผึ้งละเอียด หรือละเอียดทั้งสองอย่าง ผิวงานหรือผิวองค์พระจะละเอียดได้เหมือนกับภาพนี้ครับ ภาพนี้ถือว่าละเอียดแล้วครับสำหรับผิวไฟ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,158
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    eggs.jpg
    ในภาพนี้ศิลปินแก้วหญิงท่านหนึ่ง ท่านต้องการสร้างชุดเสื้อผ้าเด็กผู้หญิงอายุประมาณ 4 - 5 ขวบ ท่านก็เลยสร้างแบบกลวงด้วยวิธี Lost Wax Glass นี่แหละครับ งานแก้วกลวงยิ่งเล็กยิ่งยาก ยิ่งใหญ่ยิ่งง่ายครับ เพราะน้ำแก้วที่ไหลนั้นยังมีความหนืด ดังนั้นหากพระแก้วกลวงองค์เล็กๆนี่หมดสิทธิ์ครับ องค์ขนาดใดก็แล้วแต่ที่มีความหนาของเนื้อองค์พระน้อยกว่าครึ่งนิ้วหรือ 1 นิ้วน่าจะยากครับ แต่ผมก็ไม่แนะนำให้หล่อหนาเกินไป เพราะเวลาการอบจะถูกลากยาวออกไปมากครับ เปลืองไฟด้วย เปลืองค่าแรงช่างเฝ้าเตาอบด้วยครับ ความหนาแค่ 1 นิ้วก็พอครับสำหรับพระแก้วกลวงหน้าตักสัก 59 นิ้วหรือจะถึง 79 นิ้วก็หนาแค่ 1 นิ้วได้เช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...