:บาปเพราะยักยอกของบริจาคมาเป็นของตัว:

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 7 พฤษภาคม 2006.

  1. NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489

    ภัยพิบัติที่เกิดจากธรณีพิโรธ ในสมัยก่อนที่จะมีการกำหนด พุทธศักราช สมัยพุทธกาล เรียกว่า ธรณีสูบ หรือ แผ่นดินสูบ ผู้คนที่จะถูกแผ่นดินสูบ หรือตายเพราะถูกแผ่นดินสูบ เพราะ ทำบาปหนักเรียกว่า อนันตริยกรรม กรรมหนัก ๕ อย่าง คือ
    ๑.ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
    ๒.มาตุฆาต ฆ่ามารดา
    ๓.อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
    ๔.โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงกับทำให้เกิดห้อพระโลหิต และ
    ๕.สังฆเภท ทำลายสงฆ์ให้เกิดการแตกแยก
    ใครก็ตามที่ทำกรรมหนัก ๕ อย่างนี้ ถือว่าสุดๆ ของความเป็นคนชั่ว เทวดาฟ้าดินรับไม่ได้ ถึงกับไม่ยอม ให้เขาดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อีกต่อไป ต้องถูกลงโทษโดยแผ่นดินจะแตกแยกและสูบเอาร่าง ของเขาลงสู่ก้นมหานรกในทันที
    ในสมัยพุทธกาล มีคลื่นยักษ์ที่เคยกลืนชีวิตบรรดาทหารของพระเจ้าวิฑูฑภะ ณ บริเวณหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ซึ่งเคลื่อนกองทัพไปตั้งค่ายพักเพื่อเตรียมเข้าบดขยี้เมืองศากยะให้แหลกลาญ ถือเป็นตำนานที่ผู้ประสบภัยเหล่านั้น ต้องจดจำไปนาน และเล่าขานมาจนถึงปัจจุบัน
    แต่ในกรณีที่มหันตภัยคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม ๖ จังหวัดภาคใต้ครั้งนี้ สามารถมองได้หลายมุม ไม่ว่าจะเป็นเพราะภัยธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นเอง ไม่มีใครไปกำหนดให้เกิดให้มี หรือเพราะธรรมชาติที่มีอยู่ถูกผู้คน ในสังคมทำลายเพื่อ นำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว มากจนเกินพอดี ทำให้เกิดการเสียสมดุลทางธรรมชาติ หรือเป็นเพราะบาปที่ผู้ประสบภัยเหล่านั้น อาจเคยร่วมกัน ก่อมาแต่อดีตชาติ ส่งผลให้ต้องมาชดใช้ได้รับความเจ็บปวด ความสูญเสียและความตายร่วมกันอย่างที่เห็น นับเป็นเรื่องที่น่าเศร้าสลดหดหู่ใจ ไม่มีความสูญเสียใดจะยิ่งใหญ่เท่า
    ในขณะที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยซึ่งกำลังประสบกับชะตากรรมอันเลวร้าย พ่อแม่ตาย สามีภรรยาและลูกๆ หลานๆ สูญหาย ญาติๆ หรือตัวเองก็ต้องเจ็บหนักปางตาย กิจการด้านอาชีพ บ้านพักและทรัพย์สินอื่นๆ ที่มีอยู่ถูกคลื่นยักษ์พัดพาหายลับไปกับสายน้ำเพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่นาที คงหลงเหลือเพียงซากปรักหักพังบางส่วนของที่อยู่อาศัยบ้าง ซากรถหรือเรือบ้าง ต้นไม้ที่ถูกคลื่นซัดจนถอนรากถอนโคนหักล้มระเนระนาดบ้าง ช่างน่าอนาถใจยิ่ง
    แต่ก็ยังมี มารใจร้าย ส่วนหนึ่งที่พยายามฉกฉวยโอกาส ทำวิกฤติของคนอื่นให้เป็นโอกาสทองของตัวเอง หาความสุขบนความทุกข์ของคนอื่น
    จะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา คือ หลังจากเกิดเหตุธรณีพิบัติแล้ว น้ำใจทั่วไทยต่างก็หลั่งไหลลงไปรวมอยู่ที่ภาคใต้เพื่อซับน้ำตา ปลุกปลอบให้ญาติๆ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายเหล่านั้นทุกเพศทุกวัย ได้เกิดกำลังใจที่จะลุกขึ้นมายืนหยัดให้มั่นคงและก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสู้กับปัญหาชีวิตอีกต่อไป
    ชาวไทยทั้งประเทศร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค ของใช้ในครัวเรือน และเงิน ทั้งสิ่งของและเงินต่างก็หลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ ทั้งในและต่างประเทศ ไม่มีทีท่าว่าจะหมดสิ้น ทั้งนี้เพราะน้ำใจของเพื่อนร่วมชาติ ร่วมโลก ที่แบ่งปันให้มาอย่างล้นเหลือ ก็ขออนุโมทนาบุญ
    แต่แทนที่ผู้ประสบภัยเหล่านั้นจะได้รับความเมตตากรุณาอย่างเต็มที่ สมกับเจตนาของผู้มีความปรารถนาดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้มา กลับมีมารชนคนใจบาป ละลาบละล้วงถือกรรมสิทธิ์คิดเอาเสียเองบ้าง บางคนบางพวกถือโอกาสเรี่ยไรรับบริจาคเอาไปเป็นของตัวเองบ้าง เข้าไปแย่งชิงปล้นจี้เอาซึ่งหน้าบ้าง งัดแงะเอาทรัพย์สินตามบ้านเรือนที่เจ้าของทอดทิ้งไป เพราะกลัวภัยที่อาจเกิดขึ้นอีกระลอกบ้าง

    บางทีก็ใช้วิธีการที่สกปรกอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง เพื่อสนองความโลภมาก อยากไม่รู้จักหยุด สุดท้ายก็กลายเป็น ปัญหา สังคม ซึ่งงมหา เงื่อนงำ สำหรับแก้ไขไม่เจอ ที่เป็นปัญหาหนัก เวลามี เหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ครั้งแล้วครั้งเล่า และ ไม่สามารถแก้ไข ได้อย่างถาวรก็คือ มักมี ผู้ฉวยโอกาส รับของบริจาค มากินมาใช้เสียเอง โดยไม่เกรงกลัวบาปกรรม เลยแม้แต่น้อย แม้ว่าของบริจาคนั้น จะเป็นของบริจาค เพื่อบรรเทาสาธารณภัย ไม่ใช่ของที่นำมา ใช้สำหรับการทำบุญ ถวายทานแก่พระสงฆ์ก็ตาม ผู้ถือเอาไปเป็น กรรมสิทธิ์ใช้จ่าย บริโภค หรือนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว ถือว่าเป็นบาปอย่างหนัก เป็นเปรตในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตทั้งชีวิตของพวกเขา มีแต่ความหิวโหย มีแต่ความอยากไม่รู้จักอิ่ม แม้ตายแล้วก็ยังคงสภาพความเป็นเปรต ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นไปชั่วกาลนาน จนกว่าจะสิ้นเวรสิ้นกรรมที่พวกเขาได้ทำมา
    การยักยอกทรัพย์สินของผู้อื่น โดยเฉพาะของที่เขาบริจาคทานเป็นบุญ เพื่อบรรเทาสาธารณภัย หรือบริจาคเพื่อสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ
    มีหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฏใน พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ความตอนหนึ่งว่า กรรมทำให้ยากจน
    บางคน ไม่ว่าบุรุษหรือสตรี เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวเสียดายทรัพย์สินเงินทอง แม้แต่ของเล็กๆ น้อยๆ ถ้าจะต้องสูญเสียไป ไม่เคยเสียสละ ไม่เคยบริจาค หรือให้ทาน อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย ยารักษาโรค ยานพาหนะ หรือของใช้จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน ให้แก่ผู้อื่นเลย
    ถ้าจำเป็นจะต้องบริจาคหรือเสียสละ ก็ให้ด้วยความจำยอมอย่างเสียไม่ได้ และไม่เต็มใจ พร้อมทั้งอดที่จะพูดกระทบกระแทกแดกดันผู้รับไม่ได้
    ทั้งนี้เพราะความตระหนี่ ไม่อยากให้ทรัพย์สินต้องสูญเสียไป เพราะการบริจาคหรือเสียสละ ครั้นตายแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความตระหนี่ที่ฝังแน่นอยู่ภายใน จิตใจของเขาเป็นเหตุ ถึงตายแล้วไม่เข้าสู่อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ากลับมา เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง เขาจะเป็นคนยากจนขัดสนไม่มีทรัพย์สินเงินทอง การดำรงชีวิตลำบากฝืดเคือง <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=left>






    ที่มา...

    <!-- << ย้อนหลัง -->

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- CENTER ZONE -->
     

แชร์หน้านี้