บารมีพระพุทธสิหิงค์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 8 เมษายน 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    [​IMG]


    ตลอดเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2550 มีแต่เหตุการณ์ร้ายแรงทั่วโลก ทั้งภัยธรรมชาติ...หิมะตกหนักเป็นอัมพาตไปทั้งเมือง...

    ไฟไหม้ป่าหลายวัน แผ่นดินไหวหลายแห่ง ล่าสุดก็เกิดสึนามิที่เกาะโซโลมอน...
    เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมากตายนับร้อยคนที่โซมาเลีย เพราะคลังอาวุธใหญ่ระเบิดต่อเนื่อง...เกิดระเบิดฆ่าคนตายเกือบ 200 คนใน 3 วัน ที่อิรัก...แม้แต่โลกก็ถูกทำร้ายโดยการทดลองอาวุธปรมาณูติดขีปนาวุธของอินเดียและ

    ปากีสถาน...เมืองไทยมีลัคนาดวงเมืองอยู่ในราศีเดียวกับลัคนาโลก จึงเกิดเหตุร้ายแรง ตายหมู่ การลอบสังหารที่ภาคใต้ทุกวัน...สถานการณ์ทางการเมืองก็ร้อน...แตกร้าว...แม้แต่พระพยอมก็เดือดร้อน...พระลามะระดับสูงรองจากองค์ดาไลลามะของทิเบต ก็มามรณภาพที่เมืองไทย...รัฐบาลออกประกาศว่าจะจัดงานบุญระดับประเทศที่ท้องสนามหลวง ในวันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2550 (ชาวบ้านเรียกว่าทำบุญล้างซวย)


    การทำบุญใหญ่ประจำทุกปีที่ท้องสนามหลวงมีอยู่แล้ว คือ การทำบุญในเทศกาลสงกรานต์...มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเป็นประธานในพิธี และสรงน้ำ...ชาวกรุงเทพฯ สมัยก่อนนับถือเคารพพระพุทธสิหิงค์มาก...ได้เห็นองค์ท่านเพียงปีละครั้งในเทศกาลสงกรานต์ เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีรูปลักษณะงดงามจำลองมาจากพระพุทธลักษณะของพระพุทธเจ้า...และเชื่อว่าองค์พระพุทธสิหิงค์มีเทพชั้นสูงที่มีบารมีมาก คุ้มครอง ดูแลอยู่ตลอดมา

    ดังนั้น เมื่ออัญเชิญท่านมาเป็นประธานในพิธี และได้สรงน้ำอบน้ำปรุง น้ำหอม องค์พระก็จะเป็นสิริมงคลยิ่ง คงจะได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองตัวกลับบ้าน...อีกทั้งยังเชื่อกันว่า ด้วยบารมีแห่งพระพุทธคุณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะขจัดปัดเป่า ชำระล้างสิ่งไม่ดีต่างๆ ในปริมณฑล กรุงเทพฯ ได้ (ส่วนภาคใต้ก็มีบารมีขององค์จตุคามรามเทพคุ้มครอง)


    ตามตำนาน (ซึ่งมีหลายตำนานแต่คล้ายๆ กัน) กล่าวว่า...หลังปรินิพพานประมาณ 700 ปี ณ เกาะสิงหล (ลังกา) มีเมือง 3 เมือง พระราชาทั้ง 3 องค์ และประชาชน ล้วนนับถือพุทธศาสนาศรัทธาอย่างยิ่ง ต่างช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองยิ่ง...วันหนึ่งพระราชาทั้ง 3 องค์ ไปพบพระอรหันต์ และปรารภว่า อยากเห็นพระพุทธเจ้าเหลือเกิน...เคยมีใครเคยได้รับการบอกเล่ามาบ้างว่าพระพุทธองค์ทรงมีพุทธลักษณะอย่างไร...อยากรู้บ้างแล้วก็ให้ป่าวประกาศไปทั่วแผ่นดินถึงชมพูทวีป...

    จึงมีพญานาคตนหนึ่งอายุกว่า 700 ปี เคยเห็นพระพุทธเจ้า จึงมาแจ้งแก่เหล่าพระอรหันต์ให้บอกแก่พระราชาทั้ง 3 องค์ว่า พญานาคจะเนรมิตจำแลงแปลงร่างให้เหมือนพระพุทธเจ้า ให้ประชาชนทั้งหลายดูเป็นบุญตา...ขอให้พระราชาจงจัดสถานที่ไว้ แต่ขออย่างหนึ่งว่า เมื่อเห็นแล้วคนทั้งหลายอย่ากราบไหว้รูปจำแลงของตน...เมื่อถึงวันนัดหมาย พญานาคก็เนรมิตร่างเป็นพระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร

    (โดยเนรมิตสถานที่โดยรอบเป็นมหาวิหารด้วย) พระพุทธรูปเนรมิตสมบูรณ์งามพร้อมด้วยพุทธลักษณะ 32 ประการ เปล่งรัศมี 6 สี และมีพระอัครสาวกคือ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ นั่งอยู่ซ้าย-ขวา...เมื่อประชาชนเห็นภาพเนรมิตก็อุทานด้วยความตื้นตัน แซ่ซ้องสาธุการ โยนผ้าบูชาพร้อมของมีค่าที่ติดตัวมา และต่างก้มกราบสักการะ...ชาวสีหลทั้งปวงต่างปีติสุขยิ่ง


    หลังจากเหตุการณ์นั้น พระราชาทั้ง 3 องค์ จึงดำริเห็นชอบว่าควรสร้างพระพุทธรูปขึ้นเพื่อบูชาสักการะแทนพระพุทธองค์ ให้เหมือนรูปเนรมิตไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ดูและสักการะ...สร้างปะรำพิธีบวงสรวงพุทธาภิเษกหล่อพระพุทธรูปทองคำ...ระหว่างการดำเนินงานหล่อซึ่งช่างต้องนุ่งขาวห่มขาวถือศีล...มีช่างหล่อคนหนึ่ง (อาจจะอ่อนเพลียเพราะความร้อน)
    ทำงานไม่ได้อย่างพระประสงค์ (ไม่ได้ดังใจ) พระราชาองค์หนึ่งมีพระทัยร้อนจึงใช้แส้หางกระเบนหวดขู่...ปลายแส้ไปถูกนิ้วมือของช่างคนนั้นบาดเจ็บ แต่ก็ทนทำงานต่อไป ครั้นหล่อเสร็จปรากฏว่า พระพุทธรูปทองคำนี้มีรูปลักษณะงดงามยิ่งนัก จำลองเหมือนพระพุทธลักษณะจริงๆ ตามภาพเนรมิตของพญานาค...แต่น่าแปลกมากที่นิ้วพระหัตถ์มีตำหนิเป็นที่เดียวกับนิ้วมือของช่างหล่อที่ถูกตี...พระราชาเสียพระทัย

    จึงคิดจะซ่อมโดยจะสกัดส่วนที่มีตำหนิออกแล้วนำทองคำอื่นมาแซมใส่ แต่พระอรหันต์ทั้งหลายห้ามไว้ และพยากรณ์ว่า...ในกาลข้างหน้าจะมีพระราชาผู้ประเสริฐ จะมาพบและตัดนิ้วพระพุทธรูปส่วนที่มีตำหนิ แล้วทำให้ใหม่อย่างงดงาม...และพระพุทธรูปนี้จะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ ณ ดินแดนที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในอนาคต


    เมื่อทำพิธีเฉลิมฉลองพระพุทธรูป ประชาชนแห่กันมาสักการะทั่วทิศต่างแซ่ซ้องสาธุการลั่นสนั่นไปถึงท้องฟ้า ดังราวเสียงราชสีห์ร้องก้องป่า อีกทั้งองค์พระพุทธรูปก็มีพระลักษณะสง่างามยิ่งนัก...จึงพร้อมใจกันเรียกชื่อว่า พระพุทธสิหิงค์ (หมายถึงราชสีห์)


    ผ่านไปนานนับพันปี ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ อันอุดมรุ่งเรือง มีพระราชาผู้ครองอาณาจักรมีเมืองหลวงอยู่เมืองนครศรีธรรมราช ทรงมีสัมพันธไมตรีอันดียิ่งกับพระราชาผู้ครองอาณาจักรสุโขทัยคือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (จากข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าพ่อขุนรามคำแหงทรงสนิทกับพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรศรีวิชัย บางตำนานบอกว่า น่าจะเป็นองค์เดียวกับ องค์จตุคามรามเทพ)


    พระราชาแห่งนครศรีธรรมราชทรงมีไมตรีอันดียิ่งกับพระราชาแห่งเกาะสีหล (ลังกา) จึงทูลขอพระพุทธสิหิงค์ถวายแด่พระราชาแห่งสุโขทัย ด้วยทรงสนิทเป็นมิตรกันและทรงทราบว่าพระราชาแห่งสุโขทัยทรงเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนามากใคร่อยากได้พระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะอันเลิศมาสักการบูชาเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง...

    ฝ่ายพระราชาแห่งสีหลพอทรงทราบจากสารของพระราชาแห่งนครศรีธรรมราช ก็ระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระอรหันต์ สมัยที่สร้างพระพุทธสิหิงค์...จึงถวายมาให้ ทั้งๆ ที่แสนอาลัย...ขณะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาโดยเรือสำเภากลางทะเลก่อนถึงเมืองนครศรีธรรมราช ก็เกิดพายุพัดเรือสำเภาล่มจมทะเล แต่พระพุทธสิหิงค์ไม่จม แต่ลอยอยู่บนผิวน้ำทะเลหันพระพักตร์มุ่งมาทางฝั่งเมืองนครศรีธรรมราช...ครานั้นพระราชาแห่งเมืองนครก็ทรงสุบินว่าเทวดามาบอกว่าอีก 3 วัน พระพุทธสิหิงค์จะลอยน้ำมาถึงฝั่งเมืองให้ไปต้อนรับ โดยเตรียมเรือแล่นไปรับในชายฝั่ง และอัญเชิญมาประดิษฐานในเมืองนครฯ...ต่อมาได้อัญเชิญองค์พระไปถวายพระราชาแห่งสุโขทัย (บางตำนานก็บอกว่าน่าจะเป็นสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ บางตำนานก็บอกว่าน่าจะอยู่ในยุคต้นของพ่อขุนรามคำแหง)


    พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่สุโขทัยจนถึงสมัยที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มากรุงศรีอยุธยา...หลังจากนั้นพระพุทธสิหิงค์ก็ถูกอัญเชิญไปเมืองกำแพงเพชร...เมืองเชียงราย...เมืองเชียงใหม่...กลับมากรุงศรีอยุธยา แล้วกลับไปเมืองเชียงใหม่อีก...จนในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    ทรงให้พระอนุชา...สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ ยกทัพไปช่วยเมืองเชียงใหม่รบกับกองทัพพม่า เมื่อเสด็จกลับทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ (ซึ่งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) ตราบจนทุกวันนี้

    มีเรื่องเล่าเป็นตำนานเกี่ยวกับปาฏิหาริย์บารมีของพระพุทธสิหิงค์ เมื่อถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เมืองต่างๆ เกือบทุกแห่ง...จนถึงกรุงเทพฯ ก็มีเรื่องราวปาฏิหาริย์ บารมีแรงกล้า ศักดิ์สิทธิ์มาก ซึ่งไม่อาจกล่าว ณ ที่นี้ได้...ที่พอจะกล่าวได้ก็คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาถ (ซึ่งเป็นบุคคลที่รัชกาลที่ 1 ทรงเกรงพระทัยมาก)

    ทรงมีพระทัยศรัทธาเลื่อมใสนับถือ และทรงผูกพันต่อองค์พระพุทธสิหิงค์อย่างยิ่ง เพราะทรงอัญเชิญมาจากเชียงใหม่ด้วยพระองค์เอง (อาจจะทรงเคยพบปาฏิหาริย์) เมื่อพระองค์สวรรคต ก็จะมีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐาน ณ สถานที่อื่นหลายครั้ง แต่ก็ทำไม่สำเร็จ

    ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จะอัญเชิญองค์จริงมาในพิธีสงกรานต์ที่ท้องสนามหลวง...บ้านเมืองก็สงบเรียบร้อยดี โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ...ต่อมาได้อัญเชิญองค์จำลองมาแทน....บ้านเมืองก็มีเหตุการณ์ไม่ราบรื่น


    ถ้าการทำบุญประเทศวันที่ 22 เมษายน 2550 ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์องค์จริงมา ณ ท้องสนามหลวง ก็จะเป็นสิริมงคล ขจัดปัดเป่าสิ่งร้ายให้ออกไปจากบ้านเมืองได้ น่าจะช่วยให้เรื่องร้ายๆ เบาลงบ้าง
     
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,272
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,095
    [​IMG]


    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบไหว้บูชาพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความเคารพอย่างยิ่ง สาธุ

    [b-wai]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2007
  3. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    [​IMG]


    [​IMG]

    <!--coloro:red--><!--/coloro--><!--sizeo:6--><!--/sizeo-->
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    <!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--sizec-->
    <!--/sizec-->
    <!--IBF.ATTACHMENT_672503-->
     
  4. สมการX

    สมการX สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +9
    อนุโมทนาครับ
    ขอพระพุทธคุณบุญบารมีพระพุทธสิหิงค์ คุ้มครองประเทศไทย
    ให้พบแต่ความสงบสุข ความเจริญผาสุขด้วยเถิด
     
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    พระพุทธสิหิงคา สถิตย์มา ณ แดนใด ประเสริฐ ธ เกริกไกร ดุจกายพระศาสดาสาธุๆๆ อนุโมทนามิ
     
  6. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    ภาพพระพุทธสิหิงค์ องค์ที่เชียงใหม่ ประดิษย์ฐานอยู่ที่วัดพระสิงห์ พระอารามหลวงกำลังได้รับการจัดขบวนอัญเชิญออกมาให้ประชาชน ได้สรงน้ำ ในช่วงเทศกาลสรงกรานต์

    คุณแม่ของผมสมัยเด็กๆวิ่งเล่นอยู่ในวัดพระสิงห์บ่อยๆ เคยได้มาเป็นนางฟ้าฟ้อนรำนำขบวนพระพุทธสิหิงค์องค์ที่เชียงใหม่กับเขาด้วยเหมือนกัน(ผมมาทราบภายหลังจากอธิษฐานหาว่าจะสร้างพระพุทธรูปองค์ใดถวายพระพุทธศาสนา อุทิศบุญให้คุณแม่สุขภาพแข็งแรง เกิดบุญบารมีแก่คุณแม่ด้วย แล้วได้นิมิตเป็นองค์พระพุทธสิหิงค์ แล้วได้พระนามจากนิมิตในฝันว่าพระพุทธสิริสิงห์มิ่งมงคล ปัจจุบันท่านประดิษย์ฐานที่ มหาจุฬาอาศรม นครราชสีมา)

    [​IMG]

    ส่วนรูปนี้ไม่ใช่พระพุทธสิหิงค์(องค์โบราณ3องค์ กทม. เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช)ครับ เข้าใจว่า คือพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์ฯ กทม. ถ้าท่านใดทราบแน่ชัดกว่าผมก็ช่วยชี้แจงด้วยนะครับ ผมอาจจะเข้าใจผิดครับ
     
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]

    องค์นี้ เป็นพระพุทธสิหิงค์องค์ที่กทม. เข้าใจว่าเป็นองค์ที่ประดิษย์ฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ(เพราะมีการจำลองกันมาก อยู่ในพระอารามหลวงหลายแห่งและมีพระนามเฉพาะของท่านแตกต่างกันไป) องค์นี้แหละครับที่จะเกี่ยวข้องกับการสรงน้ำเทศกาลสรงกรานต์ที่สนามหลวงกทม.(ช่างหล่อพระ ใช้องค์ที่กทม.เป็นต้นแบบหล่อ ให้ผมแล้วผมเติมฐานสิบสองนักษัตรยกท่านขึ้นมาอีก เฉลิมพระนามท่านว่าพระพุทธสิริสิงห์มิ่งมงคล)
     
  8. toottoo

    toottoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    720
    ค่าพลัง:
    +3,254
    สาธุ ๆ ๆ
    อนุโมทนาด้วยครับ
    เมื่อวานเพิ่งไปไหว้พระเจ้าสิงห์
    ที่วัดพระสิงห์เชียงใหม่มาครับ
     
  9. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    [​IMG]

    พระศรีศากยมุนี
    วัดสุทัศนเทพวราราม

    อย่างที่คุณ "มุ่งเต็มใจ" บอกค่ะ
     
  10. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระพุทธสิหิงค์ ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ

    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 align=center bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=310 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center bgColor=#cc6600 height=25>
    พระพุทธสิหิงค์

    </TD></TR><TR><TD vAlign=center bgColor=#ff9900 height=25>พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปหล่อหุ้มทอง ปางสมาธิ ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้ากรุงลังกาองค์หนึ่งได้สร้างขึ้นไว้ ต่อมาเจ้านครศรีธรรมราช ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่ เมืองกำแพงเพชร และที่เชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่เชียงใหม่ พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๑๐๕ ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ข้างพม่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่

    เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท จึงได้โปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง


    ที่มา : http://www.dhammathai.org/thailand/bi03.php
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2007
  11. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

    [​IMG]

    พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
    จังหวัดเชียงใหม่



    สถานที่ประดิษฐาน วิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

    พุทธลักษณะ ศิลปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร


    ขนาด หน้าตักกว้าง ๑ เมตร วัสดุ สำริด ลงรักปิดทอง

    ตามตำนานพระพุทธสิหิงค์กล่าวว่า เมื่อพุทธศักราช ๑๙๕๐ ขณะเมื่อพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเชียงราย เชียงรายกับเชียงใหม่เกิดการรบพุ่งกันขึ้นเชียงใหม่เป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแสนเมืองมาแห่งนครเชียงใหม่จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มายังเมืองเชียงใหม่โดยล่องเรือมาตามลำน้ำปิง

    เรืออัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาเทียบท่าขึ้นฝั่งยังนครเชียงใหม่ที่ท่าวังสิงห์คำขณะเชิญขึ้นประดิษฐานบนบุษบก ปรากฏรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง ๒,๐๐๐ วา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั่นได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้งนั้นว่า วัดฟ้าฮ่าม ซึ่งหมายถึงฟ้าอร่ามนั่นเอง

    แต่แรกนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาตั้งพระทัยจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานยังวัดสวนดอก ซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออกไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไปถึงวัดลีเชียงพระ ก็มีอันติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พระเจ้าแสนเมืองมาถือเป็นศุภมิตร จึงโปรดให้สร้างมณฑปขึ้น ณ วัดลีเชียงพระและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้น

    เมื่อพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ ณ วัดลีเชียงพระ ความศรัทธาเลื่อมใสของชาวเมืองที่มีต่อพระพุทธรูปองค์นี้ทำให้ชาวเมืองเชียงใหม่พากันเรียกชื่อตามนามพระ แต่เนื่องจากชาวเมืองเรียกนามพระพุทธสิหิงค์กร่อนเป็นพระสิงห์ วัดพระพุทธสิหิงค์จึงกลายมาเป็นวัดพระสิงห์ ดังเช่นทุกวันนี้

    ในเทศกาลสงกรานต์จะมีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานบนบุษบกแห่รอบเมืองเชียงใหม่ให้ประชาชนสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคลเป็นประจำทุกปี





    ที่มา : http://www.uamulet.com/K3.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2007
  12. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช

    [​IMG]
    [​IMG]

    พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่ชาวไทยทั้งประเทศรู้จักมากกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ นอกจากพระแก้วมรกต สาเหตุเนื่องมาจากประเพณีงานสงกรานต์ มีการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์กันทุกปี ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 700 ได้เข้าสู่สยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยเข้าสู่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นครั้งแรก



    <CENTER>[​IMG] [​IMG]
    [​IMG] </CENTER>
    สืบเนื่องมาจากพระภิกษุสงฆ์ชาวลังกาได้นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ในนครศรีธรรมราช และได้อัญเชิญพระพุทธศิหิงค์มาด้วย เกิดศรัทธาในองค์พระบรมศาสดา อย่างน้อยเมื่อได้เห็นความสง่างามของพระพุทธรูปองค์นี้แล้ว ประดุจดังได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาอย่างใกล้ชิด จึงทำให้การประกาศพระพุทธศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ชาวลังกาได้ผล ทำให้ชาวนครศรีธรรมราชเกิดศรัทธาเลื่อมใส จนทำให้เกิดพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์และเกิดอารยธรรมต่างๆ ในเมืองนครศรีธรรมราชอย่างมากมาย เช่น องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นต้น



    <CENTER>[​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG] </CENTER>
    จนทำให้พ่อขุนรามคำแหงเกิดศรัทธา นิมนต์พระภิกษุสงฆ์เมืองนครศรีธรรมราชไปยังสุโขทัย เพื่อช่วยอบรมสั่งสอนชาวสุโขทัย ผู้ที่เขียนเรื่องราวของพระพุทธสิหงค์ มีพระโพธิรังสี ปราชญ์เชียงใหม่ และต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราาชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ต่อจนถึงหลวงบรบาลบุรีภัณฑ์ ได้เรียบเรียงเป็นตำนานย่อ กล่าววิจารณ์เป็นโบราณคดีและศิลปกรรมเปรียบเทียบองค์พระพุทธสิหิงค์ทั้ง 3 องค์คือ

    พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ กรุงเทพมหานคร

    พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช


    พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

    และได้เอาลักษณะของพระพุทธรูปของลังกามาเทียบเคียงแล้วทั้ง 3 องค์ มีความเห็นว่า พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ กรุงเทพมหานคร เพียงองค์เดียวใกล้เคียงที่สุด และต่อมา พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ก็ได้เขียนเป็นตำนานพระพุทธสิหิงค์ ในขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ที่นครศรีธรรมราชว่า พระพุทธสิหิงค์ต้องเข้าสู่สยามประเทศ ก่อน พ.ศ. 1826 แน่นอน ดังนั้น ก่อน พ.ศ. 1850 ราว 30 ปี พระพุทธสิหิงค์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 มีอายุนับถึงเวลานี้ 1842 ปี ประดิษฐานในลังการาว 1,100 ปี เข้าสู่นครศรีธรรมราช ราว พ.ศ.1800-1830 ก่อนประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อ พ.ศ. 1826 แน่นอน

    เมื่อพิจารณาถึงหนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์ ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการกล่าวว่า ราวปี พ.ศ.1850 พระพุทธสิหิงค์ ได้เข้ามาสู่สยามประเทศ และประดิษฐานอยู่ที่กรุงสุโขทัย ราว 70 ปี อยู่ที่พิษณุโลก 5 ปี อยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 5 ปี อยู่ที่กำแพงเพชร 1 ปี อยู่ที่เชียงราย 20 ปี อยู่ที่เชียงใหม่ 255 ปี กลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 105 ปี กลับไปเชียงใหม่อีก 28 ปี และใน พ.ศ.2338 ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ จนถึงบัดนี้ได้ 204 ปี ไม่ได้กล่าวถึงพระพทุธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ก่อนพ่อขุนรามคำแหงอัญเชิญสู่กรุงสุโขทัย น่าจะคงประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชก่อน พระพุทธสิหิงค์ของเมืองนครศรีธรรมราชนอกจากองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ชาวนครฯยังเชื่อว่ามีอีกองค์หนึ่งที่มีความเก่าแก่ มีความงามไม่แพ้องค์อื่นๆ คือพระพุทธสิหิงค์วัดบ้านนา หรือวัดอินคีรี ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จากการได้กราบนมัสการพระครูสมุห์ ปรีชาวิมโล เจ้าอาวาสสรูปปัจจุบัน ได้กล่าว พระพุทธรูปองค์นี้ ชาวบ้านตั้งแต่อดีตในละแวกนี้เรียกว่า พระพุทธสิหิงค์ เมื่อถึงวันสงกรานต์ ได้อัญเชิญมาสรงน้ำทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีนักสะสมของโบราณสนใจ โดยได้โจรกรรมพระพุทธรูปองค์นี้หลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จจึงต้องทำห้องลั้นกุญแจอย่างแข็งแรงกันโจรกรรมอีก พระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่ และมีความสง่างามองค์หนึ่ง มีหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว ส่วนสูงจากฐานถึงพระเกตุ สูง 28 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยนั่งขัดสมาธิเพชร เนื้อสัมฤทธิ์ ฐานชำรุด พระกรรณเบื้องขวาหัก ด้านหลังมีที่ใส่ก้านฉัตร ถ้าพิจารณาดูแล้วทั้งหน้าตัก และขนาดต่างๆ ขององค์ใกล้เคียงกับพระพุทธสิหิงค์ศาลากลางจังหวัดต่างกันที่เห็นได้ชัดดเจนคือ องค์ที่ประดิษฐานที่หอพระพุทธสิหิงค์ เป็นสองตอน ตอนหนึ่งเป็นองค์พระ อีกตอนหนึ่งเป็นฐาน อัญเชิญไปได้โดยสะดวก เทศบาลนครฯ ได้อัญเชิญให้ประชาชนได้สรงน้ำในวันสงกรานต์ทุกปี พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินคีรีเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวอินคีรี ถึงแม้จะมีผุ้จะโจรกรรมหลายครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ นี่เป็นเพราะอภินิหารขององค์ท่านดังนั้นใครผุ้ใดที่คิดจะโจรกรรมขอให้หยุดเสียเถิดมิฉะนั้นภัยพิบัติก็จะถึงตัวเอง จงช่วยกันรักษาเอาไว้ให้คงอยู่คุ่วัดอินคีรีต่อไป

    พระพุทธกาฐจนบารมีประกาศ และพระพุทธกาญจนมงคลพิพัฒน์

    นปี พ.ศ.2542 เป็นปีเฉลิมฉลองเมืองนครศรีธรรมราช "นครอันสง่างาม แห่พระราชาผู้ทรงธรรม" ชาวนครศรีธรรมราชอันประกอบด้วยพระภิษุสงฆ์ ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ต่างก็มีสมานฉันท์ร่วมกันจัดงานโดยมีกิจกรรมต่างๆ มากมายโดยเฉพาะในปีนี้เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา ชาวนครศรีธรรมราชต่างมีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโครงการลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง ชาวนครศรีธรรมราช จึงได้ร่วมกันเพื่อเทิดทูนพระเกียรติ ได้จัดสร้างพระพุทธรูปทองคำเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาสสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา ซึ่งจะนำเสนอขั้นตอนการดำเนินงานการจัดสร้างตลอดถึงพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์นี้ เมื่อการซ่อมแซมปลียอดทองคำ พระบรมธาตุเจดีย์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน ได้สำเร็จลงแล้ว ซึ่งใช้ทองคำในการบูรณะครั้งนี้หนักถึง 162 กิโลกรัม แต่ก็ยังมีทองคำเหลืออยู่ส่วนหนึ่งที่ได้รับบริจาคมาทางคณะกรรมการ ซึ่งมีพระสงฆ์ ข้าราชการและประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ได้ประชุมกัน และมีมติเห็นพ้องต้องกันให้ดำเนินการหล่อพระพุทธรูปทองคำจำนวนสององค์ มีวัตถุประสงค์ จำนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 1 องค์ และจะให้ประดิษฐานไว้ที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อพุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชาอีก 1 องค์ ดังนั้นจึงให้ช่างได้ปรึกษาหารูปแบบขององค์พระที่ประชุมเห็นพ้องต้องกัน ให้ช่างดูแบบพระพุทธรูปทรงเครื่องในพระวิหารพระศรีธรรมาโศกราช ปางมารวิชัย พร้อมกันนั้นได้ทำหนังสือทูล สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระญาณสังวร) เสด็จทรงเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ พร้อมกับขอพระประทานพระนามจากสมเด็จพระสังฆราช ทางจังหวัดได้จัดพิธีเททองหล่อพระทั้ง 2 องค์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ในการนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระสังฆราชให้ปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อได้ทำการหล่ออเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ราวปี 2540 สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระญาณสังวร) ได้ประทานพระนามว่า "พระพุทธกาญจนบารมีประกาศ และพระพุทธกาญจนมงคลพิพัฒน์" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปมีขนาดหน้าตัก 12 นิ้ว มีความสง่างามยิ่งนัก เป็นพระพุทธรูปที่ชาวนครศรีธรรมราชได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นการประกาศพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เกรียงไกร ดังนั้นทางจังหวัดจึงจัดให้มีการสมโภชพระบรมธาตุ และพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ สรุปแล้วจะเห็นได้ว่า การร่วมพลังของชาวนครศรีธรรมราช ในการสมโภชพระบรมธาตุและพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ ซึ่งใช้เวลา 7 วัน 7 คืน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งมีความยิ่งใหญ่จริงไม่เคยมีมาก่อน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีทั้งพระภิกษุ สามเณร ข้าราชการ ประชาชน ทุกหมู่เหล่ามาร่วมงานกันมากมาย มากันทุกอำเภอมาร่วมในพิธีนี้




    ที่มา : http://www.benjama.ac.th/HomePages/tours-nakhon/main/sihing/sihing1.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2007
  13. ง้วนดิน

    ง้วนดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    2,362
    ค่าพลัง:
    +11,047
    ตำนานพระพุทธสิหิงค์

    ตำนานพระพุทธสิหิงค์

    เรื่องตำนาน หรือประวัติพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้รู้เรียบเรียงไว้แล้วหลายท่าน เช่น พระโพธิรังษี ปราชญ์เชียงใหม่ ได้เขียนเป็นภาษามคช ราว พ.ศ.1960 และบรรpายเรื่องราวมาจนถึงพ.ศ. 1954 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ต่อจากพระโพธิรังษี มาจนถึงปัจจุบัน สมัยหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ได้ ได้เรียบเรียงใหม่เป็นตำนานย่อ และกล่าวข้อวิจารณ์ในทางโบราณคดี ส่วนข้อความที่ข้าพเจ้าจะเขียนต่อไปนี้ จะได้เก็บข้อเท็จจริงที่ท่านผู้รู้เหล่านั้นได้ค้นคว้าแล้ว มาเรียบเรียงไว้ให้เป็นตำนานอ่านง่าย เพื่อความสะดวกและเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป

    ตำนานโดยย่อมีอยู่ว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ได้เข้ามาสู่สยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งเป็นสมัยต้นที่ประเทศสยามได้กำเนิดขึ้น ฉะนั้นจึงต้องนับว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของสยามอย่างแท้จริง

    แต่ในเมืองไทยเรา พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่า "พระพุทธสิหิงค์ " นั้น มีอยู่ ถึง 3 องค์ คือ

    1. ในพระที่นั่งพุธไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดพระนคร
    2. ในหอพระสิหิงค์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
    3. ในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่

    เมื่อเป็นดังนี้ ก็เกิดปัญหาว่า องค์ไหนเป็นพระพุทธสิหิงค์ที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 700
    และเข้ามาสู่สยามในสมัยพ่อขุนรามคำแหง

    หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ได้เรียบเรียงข้อวิจารณ์ไว้โดยถี่ถ้วน อาศัยเหตุผลในลักษณะของศิลปกรรมและโบราณคดี และเมื่อเอาลักษณะพระพุทธรูปลังกาเข้ามาเทียบเคียงแล้ว พระพุทธสิหิงค์ที่ได้ลักษณะอันควรเชื่อว่าสร้าง
    ในลังกานั้น ก็มีอยู่ของค์เดียว คือ พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุธไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดพระนคร ซึ่งได้เชิญเสด็จออกมาให้ประชาชนทำสักการะบูชา และสรงน้ำตามจารีตประเพณีของไทยในวันนักขัตฤกษ์ขึ้นปีใหม่

    พระพุทธสิหิงค์พระองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิส่วนสูงวัดจากพื้นที่ประทับถึงพระรัศมีได้ 91 เซนติเมตร ส่วนกว้างวัดตามหน้าพระเพลาได้ 66 เซนติเมตร พระสรีระได้ส่วนและงามที่สุด ซึ่งเมื่อยกพระพุทธชินราชจังหวัดพิษณุโลกเสียแล้ว จะหาพระพุทธรูปโบราณในเมืองไทยงามได้ส่วนเทียบเทียมพระพุทธสิหิงค์ไม่มีเลย ฯลฯ

    ตามประวัติที่กล่าวมาแล้วนั้น อาจย่อความลงได้ดังนี้

    พระพุทธสิหิงค์สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 700 มีอายุนับถึงเวลานี้ราว 1770 ปี และประดิษฐานอยู่ลังกาทวีปราว 1150 ปี

    ราว พ.ศ. 1850 ได้เสด็จเข้ามาสู่สยามประเทศ และประดิษฐานอยู่ที่กรุงสุโขทัยราชธานีแรกของประเทศสยามราว 70 ปี
    ราว พ.ศ. 1920 ได้มาประดิษฐานที่จังหวัดพิษณุโลก ราว 5 ปี
    ราว พ.ศ. 1925 ได้มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ราว 5 ปี
    ราว พ.ศ. 1930 ได้ไปประดิษฐานที่กำแพงเพชร ราว 1 ปี

    ราว พ.ศ. 1931 ได้ไปประดิษฐานที่เชียงราย ราว 20 ปี
    ราว พ.ศ. 1950 ได้ไปประดิษฐานที่เชียงใหม่ ราว 255 ปี
    ราว พ.ศ. 2250 ได้ไปประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ราว 105 ปี
    ราว พ.ศ. 2310 ได้กลับไปประดิษฐานที่เชียงใหม่ ราว 28 ปี
    ราว พ.ศ. 2338 ได้มาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ จนถึงบัดนี้นับได้ 200 ปี

    โดยนัยนี้ นับว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของประเทศสยามมาตั้งแต่ต้นประวัติกาล

    ผู้แต่งตำนาน คือ พระโพธิรังษี ได้พรรณนาอานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ไว้เป็นอันมาก เรื่องอานุภาพและปาฏิหาริย์เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยเชื่อในสมัยนี้ แต่เหตุผลของพระโพธิรังษีมีข้อที่น่าฟังอยู่มากในตอนหนึ่งพระโพธิรังษีกล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์หาชีวิตมิได้ก็จริง แต่อิทธานุภาพด้วยเหตุ 3 ประการคือ อธิษฐานพลของพระอรหันต์, อธิษฐานพลของเจ้ากรุงลังกาหลายพระ
    องค์ และศาสนาของพระพุทธเจ้า" ซึ่งหมายความว่ากำลังใจของพระอรหันต์และกำลังใจของเจ้าลังกาพร้อมกำลังแห่งพระพุทธศาสนา กระทำให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงอานุภาพ

    อีกตอนหนึ่งที่พระโพธิรังษี กล่าวว่า
    "พระพุทธสิหิงค์เมื่อเสด็จประทับอยู่ในที่ใด ๆ ย่อมกระทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดังดวงประทีป เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่"

    ผู้เขียนเองมีความเชื่อมั่นในอานุภาพของพระพุทธสิหิงค์อยู่มากอย่างน้อยก็สามารถบำบัดความทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ถ้าได้มาจุดธูปเทียนบูชา และนั่งนิ่ง ๆ มองดูพระองค์สัก 10 นาที ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงใจที่เกียจคร้านจะกลับขยัน ผู้ที่หมดหวังจะกลับมีหวังจะกลับมีหวัง

    คุณานุภาพของพระพุทธสิหิงค์เจ้าดังกล่าวมานี้ กระทำให้ข้าพเจ้าเชื่อเหตุผล ของพระโพธิรังษี ว่า
    อธิษฐานพล คือ กำลังใจของพระอรหันต์และเจ้าลังกาผู้สร้างพระพุทธสิหิงค์ได้เข้าไปอยู่ในองค์พระพุทธสิหิงค์ พร้อมทั้งศาสนาพลของพระพุทธเจ้า และข้อที่พระโพธิรังษีกล่าวว่า พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ในที่ใดก็เหมือนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น ข้อนี้ก็สมจริง ใครที่ได้เห็นพระพุทธเจ้า แม้แต่ยังมิได้ฟังพระธรรมเทศนาเลย ก็มีความสบายใจในทันที่ได้เห็o ผู้ที่ได้เห็นพระพุทธสิหิงค์ ย่อมได้รับผลอย่างเดียวกัน

    พระพุทธสิหิงค์ เป็นที่เคารพสักการะของพระราชาธิบดี และประชาชนชาวสยามมาตลอดเวลากว่า 600 ปี รัฐธรรมนูญฉบับจำลองที่ประดิษฐานอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรสยามนั้น ก็ได้ทำขึ้นและรักษาไว้ภายใต้
    อานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ และด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้แน่นอนว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของประเทศสยาม


    ที่มา : http://www.siristore.com/Products/Sihing.asp
     
  14. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    [​IMG]
    [​IMG]



    [​IMG][​IMG]
    [​IMG]

    พระพุทธสิหิงคา สถิตย์มา ณ แดนใด ประเสริฐ ธ เกริกไกร ดุจกายพระศาสดา
    เป็นที่เคารพน้อม มนุษย์พร้อมทั้งเทวา เฉกเช่นชวาลา พระพุทธศาสนาจึงยืนยง


    สาธุๆๆ อนุโมทนามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...