ขอเรียนถาม กรรมที่ทำมาจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม หรือที่เรียกบุญบาปจะส่งผลกับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน คนที่ทำบุญมาก อาจจะด้วยบริจาคทรัพย์ ปฏิบัติธรรม หรือการช่วยเหลือทำประโยชน์แก่สาธารณะชน ยอมได้รับผลบุญมาก ผู้ที่ด้อยโอกาส พิการ เจ็บป่วย หาเช้ากินค่ำ กรรมกรแบกหามโอกาสสร้างบุญน้อยกว่า เหล่านี้จะส่งผลกับโชคลาภ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ จะมากน้อย แตกต่างกันหรือไม่ ขอบคุณครับ
บุญ-บาป ส่งผลกับโชคลาภหรือไม่
ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย C_Chatt, 19 สิงหาคม 2013.
-
มนุษย์เรา ควรทำดีเพื่อความดี ให้ผลหรือไม่ให้ผลเป็นหน้าที่ของกรรม ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เหมือนการปลูกต้นไม้ เรามีหน้าที่รดน้ำ ส่วนจะให้ดอกผลหรือไม่ เป็นหน้าที่ของต้นไม้ ไม่ต้องไปเป็นทุกข์เพราะการทำดี แต่ถ้าทำดีแล้วผิดพลาด เราก็ไม่ทุกข์แต่เอามาเป็นบทเรียน^^
-
ขอแยกเป็น๒ประเด็นครับคือ ผลจากบุญเก่า จำแนกให้คนต่างกันด้วยฐานะ นี้ส่วนหนึ่ง...
ครั้นได้ฐานะต่างกัน ทำกุศลใหม่ โดยมากหรือแทบทั้งหมดก็ว่าได้..ผลที่เกิดต่างกัน ด้วยปัจจัยจำนวนมากดังตัวอย่างพอสังเขปคือ..
๑. เจตนาทำกุศล มีปัญญาประกอบใหม ถ้าคนจนทำบุญ เพราะทราบว่ากรรมมีผลจริง หวังความพ้นทุกข์โดยตรง ทราบชัดว่านิพพานไม่ใช่เมืองแก้วหรือเมืองขวดมีสีแสงระยิบ ระยับ แต่มีความไม่ผุดเกิดอีกเป็นที่หมาย...ผลบุญย่อมมากกว่าคนรวยที่คิดว่าทำบุญและคิดแต่จะให้รวยๆๆๆตลอดไป
๒. มีศรัทธาในการสละสิ่งที่ตนหวงแหนมากน้อยเพียงใด คนจนนั้น เพราะความจนจึงเป็นอุปสรรคต่อการสละทรัพย์สิ่งของ... แต่มีอยู่ คนจนที่แม้จนขนาดต้องแชร์ผ้านุ่งกับภรรยา เวลาออกไปทำกิจข้างนอกไม่สามารถออกไปพร้อมกันได้เพราะไม่มีผ้านุ่งสำหรับตนกับภริยา..เมื่อจิตเกิดศรัทธาแรงกล้าในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ก็ละความติดข้องหวงแหนถวายผ้า ผืนเดียวที่ตนมีอยู่แก่พระพุทธเจ้าได้ ผลและอานิสงค์ก็ปรากฏให้ได้รับทันที เพราะพระราชาทราบข่าวเข้าเลยพระราชทานเสื้อผ้าพร้อมทรัพย์มากมายให้ทันที..อ่านเรื่องต้นฉบับที่นี่ครับ..
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=19&p=1
หากคนรวยไม่มีศรัทธาเท่าคนจน สักว่าทำไปเพราะมีทรัพย์มาก เพราะหามาได้ง่าย ผลย่อมปรากฏน้อยกว่าคนจนทำบุญ..
๓. ตนเองมีศีลมากหรือน้อย
๔. พบนาบุญดีหรือเลว
๕. ทรัพย์ได้มาโดยบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์
๖. ทำแล้วจิตใจเบิกบานโสมนัสหรือเฉยๆ
๗. จิตเป็นไปกับบุญนั้นในกาลทั้ง๓หรือเปล่า
ฯลฯ เป็นต้น...
ความรวยและจนไม่ใช่ตัวกำหนดกำลังหรือปริมาณของผลบุญแต่อย่างไร เพราะบุญก็เป็นสังขารธรรมที่เกิดจากการปรุงแต่งด้วยปัจจัยมากมายเช่นกัน..การจัดแจงหรือปรุงแต่งด้วยความรู้ถูก เห็นถูก ในจิตใจที่คิดและทำกุศลจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อผลที่ที่ไพบูลย์อันตนประสงค์..
บุญเป็นเรื่องของการวางใจไว้โดยแยบคาย วัตถุเป็นส่วนประกอบย่อยที่จำเป็นเท่านั้น ดังตัวอย่างของคนจนที่ถวายผ้านุ่งผืนเดียวที่มีอยู่แก่พระพุทธเจ้าัดังกล่าวข้างต้น ทั้งคนจนและคนรวยมีโอกาสทำบุญเสมอกันทั้งนั้น คนจนแม้สามารถทราบว่าบุญจากการอนุโมทนาที่คนรวยทำไว้ วางใจได้ถูก แม้ตนไม่มีสักสตางค์หนึ่งก็สามารถได้ผลบุญเช่นกัน ถ้าวางใจเป็นอย่างยิ่ง บางทีจะได้อานิสงค์มากกว่าคนทำด้วยซ้ำ เรื่องเช่นนี้มีแสดงไว้ในในพระำไตรปิฎก..
อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธํ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ รมตี มโน.
บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิตเสียจากบาป
เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป.