ปฏิจจสมุปบาท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนกรรม, 16 กรกฎาคม 2013.

  1. ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    ปฏิจจสมุปบาท

    ได้กล่าวไว้ในเรื่องอวิชชาว่า อวิชชา คือ ความไม่รู้จุดที่เริ่มต้น

    ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่รู้จักทุกข์ที่แท้จริง ไม่รู้จักจุดสุดท้าย

    ของชีวิต คือเบื้องหลังการตาย ตายแล้วไปไหน และความไม่รูจัก

    จุดตรงกลาง ระหว่างจุดเริ่มต้นไปยังจุดสุดท้ายของชีวิต ทั้งหมดนี้ก็คือ

    การไม่รู้จักใน “ปฏิจจสมุปบาท” เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นองค์ธรรม

    ที่อธิบายเกี่ยวกับการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

    เสื่อมสลายไป และดับไปของสัตว์ทั้งหลายในสังสารวัฏ

    ปฏิจจ แปลว่า อาศัยกัน

    สมุปบาท แปลว่า เกิดขึ้นด้วยกัน

    “ปฏิจจ + สมุปบาท” จึงหมายถึง “ธรรม ที่มีอาการ ๑๒”

    ที่เกิดขึ้นด้วยกันและมีความสัมพันธ์กัน หรือที่เรียกว่า ธรรมที่มีอาการ ๑๒

    อิงอาศัยกันและเกิดขึ้นด้วยกัน ท่านคงเคยได้ยินคำว่า “กฏอิทัปปัจจยตา”

    ซึ่งเป็นกฎว่าด้วยความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน คือ

    “ถ้าสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี”

    “ถ้าสิ่งนี้ดับไป สิ่งนั้นก็ดับไป”

    เมื่อพิจารณาดูวงจรปฏิจจสมุปบาทจะพบว่า มีองค์ธรรมประกอบทั้งสิ้น

    ๑๒ หัวข้อธรรม องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นปัจจัยเกี่ยวเนื่องกัน

    ไม่มีต้นไม่มีปลาย คือ ไม่มีองค์ธรรมข้อใดเป็นจุดเริ่มต้น

    ในกรณีนี้ยกเอา อวิชชา เป็นตัวตั้งต้นที่ ๑ เพราะพิจารณาเห็นแล้วว่า

    เป็นจุดเริ่มต้นที่อธิบายได้ง่ายกว่าองค์ธรรมอื่น ๆ

    พิจารณาดูแผนผังวงจรปฏิจจสมุปบาท เริ่มต้นองค์ธรรมข้ออวิชชา

    ๑. อวิชชา เป็นปัจจัยแรกที่ทำให้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตเริ่มต้นมาจาก

    อวิชชาและภวตัณหา อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งใน อริยสัจ ๔

    ไม่รู้ใน ทุกข์ คือ ไม่รู้จักทุกข์ที่แท้จริงว่า ทุกข์เป็นสภาพที่ไม่อาจทนอยู่ได้

    ไม่รู้ใน สมุทัย คือ ไม่รู้ถึงเหตุของทุกข์

    ไม่รู้ใน นิโรธ คือ ไม่รู้ความดับทุกข์จากกิเลสตัณหา

    ไม่รู้ใน มรรค คือ ไม่รู้ในข้อปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์

    ๒. สังขาร คือ การคิดปรุงแต่ง ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ปรุงแต่งอารมณ์

    เป็นกุศลและอกุศล

    กายสังขาร สภาพปรุงแต่ง การกระทำทางกาย

    วจีสังขาร สภาพปรุงแต่ง การกระทำทางวาจา

    จิตตสังขาร สภาพปรุงแต่ง การกระทำทางใจ

    ๓. วิญญาณ วิญญาณ คือ ความรู้สึกทางอารมณ์

    เมื่ออายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับ

    อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ เช่น

    จักษุวิญญาณ รูป กระทบตา เกิดความรู้อารมณ์ทาง ตา

    โสตวิญญาณ เสียง กระทบหู เกิดความรู้อารมณ์ทาง หู

    ฆานวิญญาณ กลิ่น กระทบจมูก เกิดความรู้อารมณ์ทาง จมูก

    ชิวหาวิญญาณ รส กระทบลิ้น เกิดความรู้อารมณ์ทาง ลิ้น

    กายวิญญาณ โผฏฐัพพะ(สัมผัส) กระทบกาย เกิดความรู้อารมณ์ทาง

    กาย(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง)

    มโนวิญญาณ ธรรมารมณ์(ความคิด สิ่งที่ใจนึกคิด) กระทบใจ

    เกิดความรู้อารมณ์ทาง ใจ

    ๔. นาม – รูป คือ นามธรรม และ รูปธรรม

    นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป ไม่สามารถรับรู้ได้จาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย

    แต่รู้ด้วย “ใจ”

    รูปธรรม หมายถึง สิ่งที่มีรูป ได้แก่ รูปขันธ์ทั้ง ๕ เมื่อเป็นขันธ์ ๕

    จึงประกอบไปด้วย

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ สรุปแล้ว “นาม-รูป” ก็คือ

    “กายและจิต”

    ๕. สฬายตนะ หมายถึง จุดต่อหรือเชื่อมต่อ ให้เกิดการกระทบอายตนะภายใน

    หรือจะเรียกง่าย ๆ ว่าช่องทางเข้าสู่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ๖. ผัสสะ หมายถึง ความกระทบการสัมผัส ที่ก่อให้เกิด

    ความรู้สึกทางอายตนะภายใน กับอายตนะภายนอก และวิญญาณ เช่น

    จักษุสัมผัส กระทบทาง ตา คือ ตา+รูป เรียกว่า จักษุวิญญาณ

    โสตสัมผัส กระทบทาง หู คือ หู+เสียง เรียกว่า โสตวิญญาณ

    ฆานสัมผัส กระทบทาง จมูก คือ จมูก+กลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ

    ชิวหาสัมผัส กระทบทาง ลิ้น คือ ลิ้น+รส รียกว่า ชิวหาวิญญาณ

    กายสัมผัส กระทบทางกาย คือ กาย+โผฐัพพะ เรียกว่า กายวิญญาณ

    มโนสัมผัส กระทบทาง ใจ คือ กาย+ธรรมารมณ์ เรียกว่า มโนวิญญาณ

    อารมณ์ต่าง ๆ จะเข้ามาทาง “สฬายตนะ” แล้วสัมผัสกับอายตนะภายใน

    ทำให้เกิดความรู้สึกในอารมณ์ต่าง ๆ
     
  2. ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    ๗. เวทนา คือ การเสวยอารมณ์ที่เกิดจากผัสสะ ผัสสะจึงเป็นเหตุของเวทนา

    มีอาการ ดังนี้

    การเสวยอารมณ์ที่เป็น สุข ที่เรียกว่า สุขเวทนา

    การเสวยอารมณ์ที่เป็น ทุกข์ ที่เรียกว่า ทุกขเวทนา

    การเสวยอารมณ์ที่ ไม่สุข-ไม่ทุกข์ ก็เรียกว่า อทุกขม-สุขเวทนา คือ รู้สึกเฉย ๆ

    ๘. ตัณหา คือ ความทะยานอยากใน “ตัณหา” แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท

    ๘.๑ กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณ ๕ อยากได้ อารมณ์ที่พึงพอใจ

    น่ารัก น่าใคร่ น่าสิเนหา

    ๘.๒ ภวตัณหา คือ ความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ หรืออยากเกิดอยากมี

    ให้คงที่ตลอดไป ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง ทะยานอยากในภพ

    โดยมีความเห็นผิดว่าโลกนี้คงที่เที่ยงแท้ตลอดไป

    ๘.๓ วิภาวตัณหา ความไม่อยากเป็นโน่น ไม่อยากเป็นนี่ เป็นความอยากในวิ

    ภพ

    คือความทะยานอยากในความไม่มี ไม่เป็น อยากตายเสีย อยากขาดสูญ

    อยากพรากพ้นไปจากภาวะที่ตนเกลียดชัง

    ๙. อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นฝังไว้ในจิต ด้วยอำนาจกิเลส

    แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท

    ๙.๑ กามุปาทาน คือ ความยึดมั่นใน “กามคุณ ๕” โดยยึดมั่นว่าเป็นของเรา

    เมื่อยึดว่าเป็นของเรา ก็เกิดหวงแหน ลุ่มหลง กิเลสตัวนี้มันทำให้เกิดริษยาตาม

    มา

    ๙.๒ ทิฏฐุปาทาน คือ ความยึดมั่นทิฏฐิ เป็นการยึดมั่นในลัทธิ

    ไขว่คว้าเอาทฤษฎีและเป็นทฤษฎีที่ผิด เช่น บางลัทธิในประเทศญี่ปุ่น

    สอนด้วยการโน้มน้าวให้สมาชิกของลัทธิพากันฆ่าตัวตาย รวมทั้ง

    กลุ่มคนที่นับถือภูตผีปีศาจ จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ

    ๙.๓ สีลัพพตุปาทาน คือ ความยึดมั่นในศีลพรต และข้อวัตร ด้วยอำนาจของ

    กิเลส

    เป็นการปฏิบัติแบบสืบ ๆ กันมา โดยเชื่อว่า ถ้าทำอย่างนั้นแล้ว “ขลัง”

    ทำให้เป็นคนงมงาย มีแต่ศรัทธา ปัญญาไม่มี ใครจะชักชวนลากจูงไป

    ก็แห่ไปกับเขา ขาดการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ

    ๙.๔ อัตตวาทุปาทาน คือ ความยึดมั่นในตนว่าเป็นเราเป็นเขา

    กายนี้ไม่ใช่ของเรา ทั้งไม่ใช่ของผู้อื่น พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า

    ถูกปัจจัยปรุงแต่งสำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา

    ๑๐. ภพ คือ ภาวะแห่งชีวิต เป็นที่อยู่ของสัตว์โลก ที่มาอยู่รวมกัน

    ทั้งมนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานน้อยใหญ่ ภพเป็นภาวะแห่งชีวิต

    กิเลสและกรรมเป็นปัจจัยให้วิญญาณธาตุเกิดเป็นสัตว์ สิ่งมีชีวิตจึงประกอบด้วย

    ๑๐.๑ “กิเลส”

    ๑๐.๒ “กรรม” (อภิสังขาร)

    ๑๐.๓ “วิบาก”

    ทั้งกิเลส, กรรม, วิบากกรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบัญญัติศัพท์ว่า สังสาร

    จักร

    แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    ๑. กรรมภพ อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิด “กรรมภพ” ได้แก่ ภวตัณหา และ

    วิภวตัณหา

    กรรมภพแบ่งออกได้ ๓ อย่าง ที่เรียกว่า “อภิสังขาร” ประกอบด้วย

    ๑.๑ “ปุญญาภิสังขาร” (บุญ) กรรมที่บุคคลทำลงไป ในทางกาย วาจา ใจ

    ด้วยแรงกระตุ้นของกุศลเจตนา

    ๑.๒ “อปุญญาภิสังขาร” (บาป) บาปกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลมีอกุศลเจตนากระทำ

    ลงไป

    ๑.๓ “อเนญชาภิสังขาร” หมายถึงอรูปฌาน อันทำจิตภพของตนไม่ให้หวั่น

    ไหว

    ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน

    ๒. อุปัตติภพ คือ ภพที่อุบัติ แยกเป็น ๓ ประเภท

    ๒.๑ “กามภพ” ภพที่เป็นกามาวจร เป็นภพของสัตว์ที่ยังเสวยกามคุณ

    ๒.๒ “รูปภพ” ภพที่เป็นรูปปาวจร ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหม

    ทั้ง ๑๖ ชั้น

    ๒.๓ “อรูปภพ” คือ ภพที่เป็นอรูปาวจร ภพของสัตว์ที่เข้าถึงอรูปฌาน ได้แก่

    อรูปพรหมทั้ง ๔

    ๑๑. ชาติ คือ ความเกิด เมื่อมี “ภพ” ก็เกิด “ชาติ” ความเกิดก็คือ การปรากฏ

    แห่งขันธ์ ๕

    ตลอดจนการได้มาซึ่งอายตนะ ๑๒

    ๑๒. ชรามรณะ คือความแก่ ความเสื่อมลงไปของร่างกาย ความสิ้นไปดับไป

    ของร่างกาย

    ความสิ้นไปของขันธ์ทั้งหลาย คือ “มรณะ” จากชรามรณะเป็นปัจจัยให้เกิด

    โสกะ คือ ความเศร้าโศก

    ปริเทวะ คือ ความคร่ำครวญร่ำไห้ ด้วยความเสียใจ

    ทุกขะ คือ ความทุกข์ใจลำบากกายด้วยความเจ็บป่วย

    โทมนัส คือ ความเสียใจ

    อุปาสายะ คือ ความคับแค้นใจ ความสิ้นหวัง ผิดหวัง

    ทั้งหมดนี้เป็นความหมายของข้อธรรมต่าง ๆ ใน ๑๒ องค์ธรรม

    เมื่อเข้าใจแล้วก็จะได้กล่าวถึง การเกิดและดับในปกิจจสมุปบาท



     
  3. ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    สายเกิด

    ๑. เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัย สังขาร จึงมี

    ๒. เพราะมี สังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณ จึงมี

    ๓. เพราะมี วิญญาณ เป็นปัจจัย นาม-รูป จึงมี

    ๔. เพราะมี นาม-รูป เป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี

    ๕. เพราะมี สฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี

    ๖.เพราะมี ผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนา จึงมี

    ๗. เพราะมี เวทนา เป็นปัจจัย ตัณหา จึงมี

    ๘. เพราะมี ตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทาน จึงมี

    ๙. เพราะมี อุปาทาน เป็นปัจจัย ภพ จึงมี

    ๑๐. เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย ชาติ(ความเกิด) จึงมี

    ๑๑. เพราะมี ชาติ เป็นปัจจัย ชรามรณะ จึงมี

    ๑๒. เพราะมี ชรามรณะ “ความโศกเศร้าคร่ำครวญ ทุกข์โทมนัสและความคับ

    แค้นใจ”

    จึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงจึงเกิดขึ้น

    สายดับ

    ๑. เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ

    ๒. เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ

    ๓. เพราะ วิญญาณ ดับ นาม-รูป จึงดับ

    ๔. เพราะ นาม-รูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ

    ๕. เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ

    ๖. เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ

    ๗. เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ

    ๘. เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ

    ๙. เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ

    ๑๐. เพราะ ภพ ดับ ชาติ(ความเกิด) จึงดับ

    ๑๑. เพราะ ชาติ ดับ ชรามรณะ จึงดับ

    ๑๒. เพราะ ชรามรณะ ดับ ความโศกเศร้าคร่ำครวญ

    ทุกข์โทมนัส และความคับแค้นใจ จึงดับลง


    คัดจาก: หนังสือทางพ้นทุกข์


     
  4. tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    เหตุปัจจัยแห่งการเกิดและเหตุปัจจัยแห่งการดับ ทั้งหลาย อาศัยเหตุอะไรเป็นเครื่องกระทำ
     
  5. tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    มีความรู้ความเข้าใจมีแล้วอย่างนี้ๆว่า เพราะเหตุปัจจัย เหล่านี้เกิดขึ้น จึงมีผลเกิดขึ้นอย่างนี้

    มีความรู้ความเข้าใจมีแล้วอย่างนี้ๆว่า เพราะเหตุปัจจัย เหล่านี้ดับลงอย่างนี้ จึงไม่มีผลเกิดขึ้นอย่างนี้
     
  6. tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ===========

    เครื่องกระทำเพื่อความเข้าไปรู้เหตุ คือการเจริญสติ และการเจริญสมาธิ อันต้องอาศัยความเพียร และปัจจัยอื่นๆประกอบ หรือที่เราเรียกว่า อริยะมรรคนั่นเองครับ

    หากไม่ทำตรงนี้ไม่เจริญภาวนา เจริญสติทุกลมหายใจเข้าออก ก็ไม่มีทางเข้าไปรู้อิทัปปัจยตาปฏิจจสุปบาท ที่เป็นของจิตตนได้ครับ สาธุ
     
  7. ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ปฏิจสมุปบาทโดยปริยัติ - โดยสภาวะ

    ปฏิจสมุปบาทโดยปริยัติ
    ๑. เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
    ๒. เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
    ๓. เพราะ วิญญาณ ดับ นาม-รูป จึงดับ
    ๔. เพราะ นาม-รูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
    ๕. เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
    ๖. เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
    ๗. เพราะ เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
    ๘. เพราะ ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
    ๙. เพราะ อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
    ๑๐. เพราะ ภพ ดับ ชาติดับ
    ๑๑. เพราะ ชาติ ดับ ชรามรณะ จึงดับ
    ๑๒. เพราะ ชรามรณะ ดับ ความโศกเศร้าคร่ำครวญทุกข์โทมนัส จึงดับลง

    ปฏิจสมุปบาทโดยสภาวะของหลวงปู่สาวกโลกอุดร ท่านแสดงว่าเป็นวิถีจิต หรือวิถีของความคิด เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เทียบกับอริยะสัจจ์ ก็เป็นตัวทุกข์และสมุทัยนั่นเอง
    หลวงปู่แสดงถึงว่าทุกวิถีจิตล้วนเป็นวงปฏิจสมุปบาท และท่านก็ยกตัวอย่างตามสภาวะของวงปฏิจสมุปบาทของชายหนุ่มไปรักคิดถึงหญิงคนรัก
    เพราะจิตของชายหนุ่มมันไม่รู้สัจจธรรมตามความเป็นจริงมันจึงโง่
    (อวิชชา)
    เมื่อมันโง่มันจึงคิดปรุงแต่งไปหาหญิงสาวคนรัก(สังขาร)
    เมื่อปรุงแต่งแล้วตัวรู้ก็ตั้งมั่น(วิญญาณ)
    จนชายหนุ่มนั้นคิดเห็นรูปของหญิงสาวในมโนของความคิด(นามรูป) ที่เห็นรูปหญิงสาวนั้นก็มีรูปของชายหนุ่มนี้ติดไปด้วย
    เมื่อคิดไปเห็นเช่นนั้นก็ทำให้ประสาทของชายหนุ่มตรึงเครียดไปทุกๆส่วน
    (สฬายตนะ)
    ทั้งวิญญาณ นามรูป และสฬายตนะ สามตัวหมุนเกลียวรวมกันจึงเกิดการกระทบอารมณ์(ผัสสะ)
    จากนั้นชายหนุ่มก็ยินดีปรีดา ใจลอย ตาลอย คิดไปด้วยความสุข(เวทนา)
    ในความสุขนั้นชายหนุ่มก็เกิดความรักๆใคร่ๆ ปราถนาจะเสพสมทางกามกับหญิงสาวคนนั้น(กามตัญหา)
    และความคิดก็ตกติดในภาวะเช่นนั้น(ภาวะตัญหา)
    ความคิดของชายหนุ่มนั้นยังคิดต่อเติมเสริมแต่งนั้นให้กามเลิอเลิศขึ้นไปอีก(วิภาวะตัญหา)
    ชายหนุ่มนั้นก็ยึดมั่นถือมั่นต่อกามนั้น ว่ากามก็คือเรา เราก็คือกาม ว่ากามก็เป็นเรา ว่าเราก็เป็นกาม(อุปทาน)
    ทั้งยังมีการพูดจา จู๋ๆ จี๋ๆ ว่าเธอรักฉัน ว่าฉันก็รักเธอ ทำนองนี้(อัตตวาทุปาทาน)
    ทั้งปราถนาในกามกับหญิงสาวนั้น(กามภพ)คิดจนเห็นหญิงสาวไม่มีผ้าปิกปิด
    ชายหนึ่มจึงตกติดในรูปสาวเปลือยนั้น
    (รูปภพ)
    ความคิดของชายหนุ่มนั้นยังคิดต่อเติมเสริมแต่งในรูปสาวเปลือยนั้นให้เลิอเลิศยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เช่นว่าขาวอวบ ก็ว่ากันไป(อรูปภพ)
    เมื่อหมู่มวลกิเลสของชายหนุ่มที่มืดดำล้ำลึกในความคิดก็เกิดการเสพกามในอารมณ์(ชาติ) มาถึงขึ้นนี้การเกิดของกามสมบูรณ์แล้ว ให้เอาช้างมาฉุดก็ไม่อยู่
    อันว่าความคิดก็ตกในอนิจจัง ค่อยๆเปลี่ยนแปรและจบลงไปในที่สุด(ชรา - มรณะ)
    ทีนี้ละชายหนุ่มผู้หนุ่มก็ต้องทุกข์ใหญ่ ไฟมหันต์ ทุรน ทุราย ใจจะขาด จะต้องไปหาหญิงสาวในวันนั้น คืนนั้น เวลานั้นเลยก็ได้(ทุกข์โทมนัสอุปายาสะ)
    ตรงนี้ก็ฟังมาจำมา อาจไม่สมบูรณ์แบบตามท่านแสดงธรรม แต่เนื้อหาสาระสำคัญคงครบ และมั่นใจว่าผู้อ่านทุกท่านที่เป็นชาย ก็คงจะเคยเป็นเช่นนี้มา ท่านแสดงว่าไม่มีชั้นพระอินทร์ พระพรหม ที่ไหนทั้งนั้น มันอยู่ในความคิดของเรานี่เอง
    เจริญในธรรม
     

แชร์หน้านี้