ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อีกประการหนึ่ง ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าปัญหาบางแขนงที่นำมาสนทนาต่อกันนั้น ยังไม่เป็นที่สนิทใจของฝ่ายที่มีภูมิเหนือกว่า ก็อธิบายแนะแนวให้ ถ้าควรดัดแปลงแก้ไขก็อธิบายวิธีแก้ไขให้ฟัง ถ้าควรงดไม่ควรดำเนินวิธีนั้นต่อไปจะมีความเสียหายตามมา ก็ชี้แจงให้ฟังจนเป็นที่เข้าใจ การสนทนาธรรมทางด้านปฏิบัติจึงเป็นมงคลทั้งสองฝ่ายตามความรู้สึกของผู้เขียน เพราะต่างฝ่ายต่างฟังกันด้วยความจดจ่อต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นจนอวสานแห่งการสนทนา และได้รับธรรมานุสรณ์จากกันไปเป็นที่ระลึกและปฏิบัติตามอย่างหาคุณค่าใดๆ มาเทียบประมาณมิได้ ความระลึกในบุญคุณของกันและกันก็ไม่มีเวลาสิ้นสุดตลอดวันตายไม่มีทางเป็นอื่น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะที่ท่านกำลังสนทนาธรรมกัน บางครั้งก็ยังมีพระขี้ดื้อไม่เข้าเรื่อง เช่นผู้เขียนขโมยไปแอบฟังจนได้ จะว่าผิดพระวินัยเพราะไปแอบฟังคำของภิกษุอื่นทะเลาะวิวาทกันฯ ปัญหานี้ก็ไม่เข้าในลักษณะนั้น จึงพอเป็นโอกาสให้พระประเภทไม่เข้าเรื่อง มีช่องทางแสวงธรรมจากวิธีนั้นได้ ขณะนั้นแลคือเวลาเป็นทองเป็นธรรมทั้งแท่งของทั้งคู่สนทนา ทั้งผู้ไปแอบฟังยิ่งกว่าเวลาอื่นใด เพราะเป็นเวลาที่ทั้งสองท่านถ่ายทอดธรรมออกจากดวงใจมาเป็นขวัญหูขวัญใจของกันและกัน แม้ประเภทแอบฟังก็สนุกขโมยเก็บกวาดธรรมจากท่านมาเป็นขวัญใจของตนต่อไปอีกต่อหนึ่ง แบบนักปราชญ์ขโมยธรรม ซึ่งไม่ค่อยจะปรากฏมีมากนักในวงพุทธศาสนา เฉพาะวงปฏิบัติทั้งครั้งพุทธกาลและสมัยปัจจุบันน่าจะมีแฝงอยู่บ้างเรื่อยมา เพราะเป็นสิ่งที่หาฟังได้ยากในธรรมสภาทั่วไป เนื่องจากธรรมนั้นมิใช่ธรรมสภาที่ควรออกในที่สาธารณะ แต่เป็นธรรมที่มีอยู่เฉพาะของแต่ละราย จะหาโอกาสสนทนากันตามความถนัดใจเป็นบางกาลบางสถานที่ และกับบุคคลบางคนเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    การสนทนาธรรมของบางท่านที่มีภูมิจิตภูมิธรรมสูงสนทนากันนั้น กินเวลาหลายชั่วโมงกว่าจะจบลงได้แต่ละฝ่าย เพราะเกี่ยวกับวิธีการบำเพ็ญ สถานที่บำเพ็ญ การแก้ปัญหาสำคัญลงได้แต่ละปัญหาซึ่งมีจำนวนมากต่อมากด้วยกัน และเวลาเข้าใจธรรมแต่ละขั้นหลังจากแก้ปัญหาสำคัญลงได้ จึงเป็นเรื่องยืดยาวและสลับซับซ้อนมาก กว่าจะพรรณนาเรื่องความเป็นมาของจิตแม้เพียงตอนสำคัญ ๆ จบลง ก็ยังต้องกินเวลานาน แต่ละฝ่ายเล่าก็ยังมีนัยแห่งการพรรณนาความเป็นมาของตนยืดยาว และสลับซับซ้อนคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้เพราะเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จำต้องเล่าในประเด็นสำคัญที่ควรเล่า เพื่ออีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ ระหว่างเหตุกับผลว่าสมดุลหรือขัดแย้งกันประการใดบ้าง เนื่องจากผลแห่งธรรมทุกขั้นที่ปรากฏขึ้นจากการปฏิบัติ จำต้องแสดงถึงเหตุคือวิธีการดำเนินกำกับไปด้วย ดังนั้นการสนทนาธรรมจึงต้องกล่าวถึงเหตุเป็นคู่เคียงกันไป จะเป็นฝ่ายใดรู้ฝ่ายใดเล่าก็ตาม ต้องยกเหตุคือการดำเนินเป็นเครื่องยืนยัน และผลที่ได้รับขึ้นแสดงเป็นคู่เคียงกันไป
    <o:p></o:p>
    ที่น่าฟังมากและจับใจไม่ลืมแม้วันตาย ก็ตอนท่านเล่าถึงขณะจิตที่พลิกตัวด้วยอุบายสติปัญญาทันกับกลมารยาของกิเลสแต่ละประเภท แล้วผ่านพ้นไปได้เป็นระยะ กับขั้นสติปัญญาพอตัวรู้เท่าทันราคะตัณหา แล้วจิตกับกิเลสประเภทนี้ขาดจากความสืบต่อกันไปในขณะนั้น และขั้นที่จิตมีกำลังเต็มภูมิแล้ว คว่ำอวิชชาซึ่งเป็นรากแก้วของวัฏฏะลงได้ เหล่านี้ซึ่งเป็นธรรมอัศจรรย์หาฟังได้ยากในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง ซึ่งเกิดมาส่วนมากทั้งท่านและเรามักจะตายเปล่า ไม่เคยมีเสียงของท่านผู้ปฏิบัติและรู้ธรรมประเภทนี้มาผ่านหูเลย นอกจากเสียงอีโรโปเกที่เหยียบย่ำทำลายสุขภาพทางกายและทางใจ ดังเรา ๆ ท่าน ๆ ฟังกันอยู่ทุกวันนี้จนเบื่อแทบอกแตกตายอยู่แล้ว แม้เช่นนั้นก็อดพูดอดฟังกันไม่ได้ เพราะเป็นประเภทอาหารก้นหม้อ ถ้าไม่ทานก็ไม่ทราบจะทานอะไร<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่การสนทนาธรรมกัน ท่านกล่าวไปตามหลักธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับจิตในวงปฏิบัติ มิได้กล่าวถึงขั้นถึงภูมิแห่งธรรมนั้น ๆ เลยว่า ได้ขั้นนั้นขั้นนี้ เช่น ได้บรรลุโสดาฯ อรหัต ไม่ว่าท่านองค์ใดสนทนา ท่านรู้สึกถนัดไปตามวิสัยป่าเสียมากกว่าจะเป็นวิสัยของผู้เจริญและจัดเจนในสังคม ในวงปฏิบัติถ้าได้ยินท่านองค์ใดพูดแบบบ้านเมืองที่เจริญแล้วออกมาว่า “สำเร็จขั้นนั้นขั้นนี้” ดังนี้ เพื่อนฝูงจะรู้สึกอะไร ๆ ไม่สนิทใจกับท่านองค์นั้นขึ้นมาแบบพิกล และออกจะเริ่มคลายความสนิทตายใจทันที เพราะกิริยาชนิดนั้นไม่มีท่านผู้ใดแม้มุ่งต่อธรรมขั้นนั้น ๆ อยู่อย่างเต็มใจอาจพูดออกมาได้ เนื่องจากท่านเห็นว่าเป็นธรรมอันสูงสุดในแดนแห่งธรรมที่ท่านสมมุติไว้ จึงพากันเทิดทูนไม่กล้าอาจเอื้อมในทางวาจา แต่มุ่งสัมผัสทางใจด้วยข้อปฏิบัติมากกว่าการแสดงกิริยาอันน่าเกลียดออกมาให้โลกเห็น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่การแสดงออกด้วยความสำคัญว่าตนสำเร็จ ซึ่งเกิดจากความไม่รอบคอบแต่เจตนายังดีอยู่ก็มี การแสดงออกเป็นอุบายวิธีจะไปเที่ยวโลกพระจันทร์ พระอังคารก็มี ซึ่งเป็นเจตนาที่หยาบคายร้ายกาจสิ้นดี ไม่ควรจะมีในวงปฏิบัติ ประเภทแรกพอให้อภัย ควรช่วยเหลือได้ด้วยวิธีใดต่างก็พยายามช่วยเหลือสุดความสามารถ ไม่ค่อยมีท่านผู้ใดรังเกียจ นอกจากสงสารแล้วช่วยตักเตือนด้วยความเมตตา เพราะเรื่องทำนองนี้อาจมีได้ในวงปฏิบัติ เพราะทางไม่เคยเดินย่อมมีรู้มีหลงได้ทั้งท่านและเรา ดังเคยมีมาแล้วในสมัยปัจจุบันนี้เอง ท่านที่ว่านี้ก็เป็นนักปฏิบัติมีความสนใจในธรรมอย่างแรงกล้า ไปบำเพ็ญธรรมอยู่ในภูเขา พอตอนดึกสงัดจิตก็เกิดสงัดขึ้นมาในเวลาเที่ยงคืน ท่านเองเข้าใจว่าตนสำเร็จพระอรหัตไปแล้ว จึงคว้าเอากล่องยานัตถุ์ในย่ามมาเป่าแทนนกหวีด “ปี๊ด ๆ ๆ” ให้สัญญาณเร่งเรียกเพื่อน ๆ ที่ไปด้วยกันมาหาในขณะนั้น
    <o:p></o:p>
    เมื่อต่างตกใจรีบมาถามท่านก็บอกตามตรงว่า “ผมสำเร็จแล้ว สำเร็จเมื่อสักครู่นี่เอง นึกสงสารเพื่อน ๆ จึงได้เป่านกหวีดเรียกให้มาหา” ส่วนจะจริงหรือเท็จนั้นไม่มีใครทราบได้ ขณะนั้นเพื่อน ๆ สององค์นึกตำหนิอยู่ภายในว่า “สำเร็จแบบเป่านกหวีดนี้มันอะไรกันก็ไม่รู้ พิสดารเกินไปแล้วนี่” แต่ไม่กล้าออกปากพูดออกมา พอเที่ยงคืนวันหลังก็ได้ยินเสียงนกหวีดดังลั่นสนั่นภูเขาขึ้นอีกแล้ว เพื่อนๆ ได้ยินก็นึกเอือมในใจว่า “เป่านกหวีดคราวนี้จะสำเร็จขั้นบ้าหรือขั้นอะไรกันอีกนานี่ เมื่อคืนนี้ก็สำเร็จอรหัตไปแล้ว แล้วบัดนี้จะสำเร็จอะไรกันอีกก็ไม่รู้ ยุ่งจริงพระอรหันต์องค์นี้” แต่ก็ฝืนใจมาเพราะมาด้วยกัน จะทำเฉยเสียก็ดูกระไรอยู่<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอมาถึงก็ถามว่าคราวนี้สำเร็จขั้นไหนกันอีก พระอรหันต์นกหวีดตอบว่าก็มันไม่สำเร็จนี่ท่าน คืนที่แล้วเข้าใจผิดต่างหาก เพิ่งมาเข้าใจเดี๋ยวนี้ว่ามันยังอยู่จึงได้รีบเป่านกหวีดให้มาหา จะได้แก้ข่าวว่ามันยังไม่สำเร็จ นี่มันโกหกผมต่างหาก กิเลสนี้เก่งจริง ต่อไปนี้จะทรมานมันอย่างหนัก โมโหจริง ถูกกิเลสหลอกได้ เพื่อนถาม ก็คืนที่แล้วก็ดี คืนนี้ก็ดี ทำไมจึงพูดออกมาแบบพล่าม ๆ ไม่มีสติอยู่กับใจบ้างหรืออย่างไร เดี๋ยวเขาจะว่ากรรมฐานบ้า ผมน่ะอายจะตายอยู่แล้วเวลานี้ ก็กิเลสมันหายเงียบไปนี่ นึกว่ามันตายแล้ว ก็ต้องฉลองชัยชนะบ้างซิท่าน ด้วยการเป่านกหวีดไงล่ะ แต่คืนนี้มันโผล่ขึ้นมาอีกมิได้ตายดังที่เข้าใจ จึงรีบบอกหมู่เพื่อนอีกน่ะซิ ถ้าเป็นความสำคัญผิดแบบนี้ก็ไม่มีใครถือสา นอกจากนึกขบขันและน่าหัวเราะไปธรรมดา ส่วนประเภทหลังเป็นประเภทที่น่าเกลียดน่ากลัวมาก แต่ผู้ชอบไปโลกพระจันทร์นั้น มักจะชอบประเภทนี้กันมาก จึงมักมีโรคพระจันทร์แฝงอยู่ในวงปฏิบัติเรื่อยมาอย่างแก้ไม่ตก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เฉพาะท่านอาจารย์มั่น เท่าที่ทราบมาไม่เคยปรากฏเลยที่จะพูดพาดพิงองค์ท่านไปเกี่ยวกับมรรคผล ว่าท่านได้ขั้นนั้นภูมินี้ รู้สึกท่านเคารพในขั้นภูมิธรรมนั้นๆ มาก นอกจากจะพูดไปตามความจริงของธรรมที่ปรากฏขึ้นกับท่านเอง แม้ที่เขียนไว้ในประวัติว่าท่านสำเร็จขั้นนั้นๆ เฉพาะองค์ท่านเองก็มิได้แสดงออกอย่างนั้น แต่หากเป็นเพราะผู้เขียนซึ่งเป็นคนโง่นำเรื่องท่านมาลง ตามความเข้าใจที่ได้ฟังธรรมในหลักธรรมชาติของท่านต่างหาก ที่นำลงเช่นนั้นโดยมีความมุ่งหมายอยากให้ท่านผู้อ่านผู้ฟังได้อ่านได้ฟังอย่างถึงใจ แม้ตนมิได้เป็นอย่างท่านก็พอได้อ่านได้ฟังเป็นขวัญใจ และอบอุ่นกระตุ้นเตือนประสาทพอตื่นตนบ้าง ไม่นอนจมปลักอยู่โดยถ่ายเดียว
    <o:p></o:p>
    การพูดเรื่องอุบายของสติปัญญาทำการพลิกแพลงกับกิเลส และวิถีจิตที่ด้นดั้นบั่นทอนกิเลสทั้งหลายด้วยวิธีต่างๆ อันเป็นลักษณะท่าทางของอาชาไนยนั้น ยกให้ท่านอาจารย์มั่นผู้เป็นเจ้าของประวัติในสมัยปัจจุบัน โดยไม่มีทางติได้สำหรับผู้เขียน แต่ที่ท่านจะพูดว่าผมสำเร็จขั้นนั้นภูมินี้แห่งธรรมนั้น ไม่เคยได้ยินจากท่านเลย เพราะความฉลาดแหลมคมของท่านผู้เป็นเนติแบบฉบับแก่โลกสมัยปัจจุบัน จึงไม่แสดงออกซึ่งสิ่งแสลงต่อหลักความดีงามแห่งพระธรรมวินัยอันเป็นองค์แทนของศาสดา ความฉลาดรอบรู้หากเตือนให้ทราบในฐานะของศาสดากับของท่านเองซึ่งเป็นสาวก ว่ามีความแตกต่างกันโดยทางสมมุติ ขณะที่ท่านเองก็ยังอยู่ในสมมุติโดยทางธาตุขันธ์แม้จิตผ่านพ้นไปแล้ว จึงควรยึดมาเป็นคติแก่อนุชนรุ่นท่านๆ เราๆ พอจะมียางอายติดตัวติดใจบ้าง ไม่เลยเถิดเตลิดเปิดเปิง จนผู้ปฏิบัติธรรมกลายเป็นบุคคลที่น่าขยะแขยงในสังคม ที่ยังเคารพสมมุติอันดีงามทั้งหลายอยู่<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความจริงผู้ปฏิบัติธรรมที่มีภูมิธรรมในใจที่น่าเคารพนับถือ เพียงกิริยาที่แสดงออกก็พอทราบได้ว่า เป็นผู้ควรแก่โลกแก่ธรรมเพียงไร ไม่จำต้องนำสิ่งที่น่าเอือมออกประกาศ โลกก็เคยใช้ความสังเกตพอรู้เรื่องดีชั่วกันมาอยู่แล้ว เพราะในโลกมนุษย์พุทธบริษัทเรามิได้มีเฉพาะคนโง่รักษาศาสนาโดยถ่ายเดียว ที่ควรจะนำวิธีการซึ่งนักปราชญ์ชาติอริยะจะพึงตำหนิมาใช้ประกาศศาสนา เนื่องจากวิธีที่ดีงามและละเอียดสุขุม ซึ่งเต็มไปด้วยอรรถด้วยธรรมความจริงทั้งหลาย ที่ท่านเคยพาใช้เพื่อความราบรื่นชื่นใจแก่หมู่ชน ยังไม่หายสาบสูญไปจากศาสนาและวงปฏิบัติ ยังเป็นวิธีที่ทรงดอกทรงผลที่น่ารื่นรมย์ชื่นตาเย็นใจแก่ผู้ได้เห็นได้ชมตลอดมาถึงปัจจุบัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ดังพระอัสสชิอรหันต์ท่านแสดงธรรมแก่พระสารีบุตรพุทธสาวก ซึ่งเป็นความถ่อมตนเจียมตัวสมนามท่านที่เป็นพระขีณาสพ ไม่มีโลกามิสใด ๆ เข้าไปแอบแฝงใจได้ มีนัยแห่งธรรมที่แสดงออกในเวลานั้นว่า รูปเพิ่งบวชในธรรมวินัยใหม่ ๆ ยังไม่มีความรู้ลึกซึ้งกว้างขวาง จึงไม่อาจแสดงธรรมให้ท่านฟังอย่างพิสดารกว้างขวางได้ จะขอแสดงแต่ใจความเพียงย่อ ๆ เท่านั้นว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ และดับเพราะเหตุพาให้ดับ พระสมณโคดมผู้เป็นศาสดาของรูปทรงแสดงสั่งสอนอย่างนี้ เพียงเท่านี้พระสารีบุตรคลังปัญญาที่กำลังเป็นปริพาชก และกำลังยืนอยู่ระหว่างทางสองแพร่งแห่งลัทธิเดิมกับพระพุทธศาสนา ก็ทราบธรรมรสทันทีในขณะนั้น และยึดสายทางแห่งพุทธศาสนาเข้าสู่ดวงใจอย่างฝังลึกทันที
    <o:p></o:p>
    ราวกับจะอุทานว่า ได้พบเส้นชีวิตที่ฝากเป็นฝากตายอย่างสมใจแล้ว จากท่านผู้มหาคุณอัสสชิเถระอย่างไม่คาดฝัน เป็นเพียงเพศเดิมแห่งปริพาชกเท่านั้นยังปรากฏอยู่ในร่าง ส่วนสมณเพศที่หนึ่งทางภายในที่ได้รับจากพระอัสสชิเถระนั้น ได้เป็นอริยสาวกผู้หนึ่งโดยธรรมชาติไปแล้ว แม้เช่นนั้นปริพาชกอุปดิสยังไม่ทราบเลยว่า อาจารย์ผู้ให้กำเนิดแห่งอริยภูมิแก่ตนเป็นสมณะที่เท่าไร เพราะท่านพระอัสสชิมิได้สนใจกับการประกาศตนอันเป็นเพียงลมปากผ่านออกมาแล้วก็หายไป ยิ่งกว่าการประกาศธรรมของจริงให้อุปดิสได้รับผลเป็นที่พึงพอใจในเวลานั้น นี่คืออริยประเพณีของท่านผู้มีความสิ้นสุดจากโลกามิสอันมีพิษ ราวกับเบ็ดที่เป็นภัยแก่ฝูงปลาฉะนั้น การปฏิบัติต่อโลกจึงมีแต่ของอัศจรรย์ออกแสดง
    <o:p></o:p>
    กระแสเสียงและกิริยาที่ท่านแสดงธรรมแก่อุปดิสปริพาชกครั้งนั้น แม้จะเป็นเวลานานได้สองพันปีแล้ว ก็เหมือนยังกึกก้องกังวานอยู่ในโสตประสาทของชาวพุทธเรา มิได้ร่วงโรยไปตามกาลสมัยเลย แม้อุปดิสที่ได้ถูกชุบชีวิตใหม่จนกลายเป็นพระสารีบุตรพุทธสาวกแล้ว ก็มิได้ผยองพององค์ดังที่มักปรากฏอยู่เสมอมาเลย ยังยิ่งมีความเคารพระลึกในพระคุณท่านผู้เป็นอาจารย์ จนเป็นที่ปรากฏเด่นในวงพระสาวกทั้งหลายตลอดมา ทั้งได้รับความยกย่องสรรเสริญจากพระบรมศาสดาด้วยว่า เป็นผู้รู้จักบุญคุณของผู้อื่นที่เคยมีแล้วแก่ตนแม้น้อยก็มิได้หลงลืม ดังเรื่องราธพราหมณ์เป็นตัวอย่างซึ่งได้รับการบวชเพราะพระสารีบุตรเป็นผู้รับอาสา ได้ด้วยความระลึกในบุญคุณที่ราธพราหมณ์เคยนำข้าวมาใส่บาตรท่านทัพพีหนึ่ง<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ซึ่งถ้าเทียบกับธรรมดาของสามัญทั่ว ๆ ไปก็คงไม่มีอะไรพอเป็นเครื่องระลึกได้ เพราะความเป็นอัครสาวกเบื้องขวาอันเป็นตำแหน่งใหญ่โตรองพระพุทธเจ้าลงมา อาจบดบังลบล้างความเป็นของเล็กน้อยไปในตัว แต่ธรรมและอัครสาวกผู้เป็นคลังแห่งธรรมจึงมิได้เป็นดังที่โลกมักเป็นกัน คือยิ่งดียิ่งเด่น ใครไปบำเพ็ญความดีกับท่านแม้น้อยก็พลอยเด่นไปด้วย เพราะความดีของท่านพาให้เด่น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะความดีนอกกับความดีใน สมบัติภายนอกกับสมบัติภายในต่างกัน การแสดงออกของผู้มีสมบัติดังกล่าวต่าง ๆ กันจึงมีลักษณะต่างกัน ดังนั้นการเสวยกับการประดับสมบัติทั้งสองนี้จึงมีความสวยงามลึกซึ้งต่างกัน ดังเหตุระหว่างพระอัสสชิกับพระสารีบุตรคราวยังเป็นอุปดิสปริพาชกแสดงต่อกัน จึงเป็นที่ซาบซึ้งตรึงใจ เพราะเป็นกิริยาของท่านผู้หมดเยื่อใยในอามิสทั้งปวงที่โลกปรารถนากัน จึงเป็นการแสดงออกที่บอกให้โลกทราบโดยนัยว่า “ท่านสมบูรณ์ทุกอย่างแล้ว” ไม่มีความบกพร่องต้องการอะไรอีกแม้คำสรรเสริญเยินยอ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกาฝากที่คอยเกาะกินเพื่อสร้างเนื้อหนังของตัวให้เจริญ ด้วยการทำลายสิ่งที่ตนอาศัยให้ย่อยยับไป ท่านจึงไม่ยอมให้สิ่งเหล่านี้ไปอาศัยเกาะกิน ดังที่โลกยอมตัวเป็นภาชนะของมันตลอดมาไม่มีวันอิ่มพอ
    <o:p></o:p>
    ฝ่ายพระสารีบุตรซึ่งเป็นคลังแห่งมหาสติมหาปัญญา กตัญญูกตเวทิตา เวลาประกาศคุณสมบัติของท่านผู้มีคุณแก่ตนออกมา แทนที่การประกาศความดีของผู้อื่นที่มีแก่ท่านให้โลกทราบ แต่กลับเป็นการส่อแสดงถึงความเป็นผู้เด่นในคุณธรรมข้อนี้มากขึ้น เพราะการแสดงออกนั้นไม่มีความเยื่อใยเสียดายทิฐิมานะว่า ท่านเป็นถึงขั้นอัครสาวก ไม่ควรแสดงคุณของท่านผู้อื่นจนเป็นการลบล้างฐานะของตน แต่กลับคว้าเอาฐานะที่น่าสงวนอย่างยิ่งนั้นขึ้นมาเป็นเครื่องรำลึกว่า สิ่งอัศจรรย์ในตัวเราเหล่านี้เกิดมีขึ้นมาได้ เพราะท่านผู้อื่นช่วยอนุเคราะห์เมตตา แล้วประกาศคุณธรรมที่ได้รับจากท่านผู้นั้นให้สูงยิ่งขึ้นโดยไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้ อันเป็นนิสัยของคนเห็นแก่ตัวเหลืออยู่เลย ด้วยเหตุนี้คุณธรรมทุกด้านบรรดาที่มีอยู่ในองค์ท่านพระสารีบุตรพุทธสาวก จึงปรากฏเด่นในวงพุทธศาสนาตลอดสมัยปัจจุบัน
    <o:p></o:p>
    ปฏิปทาที่พระอัสสชิกับพระสารีบุตรดำเนินมา จึงเป็นที่ประทับใจท่านที่หวังพึ่งผู้อื่น เพื่อเป็นเครื่องพยุงตลอดเวลาที่ยังหวังพึ่งผู้อื่นอยู่ และเทิดทูนคุณธรรมนั้นไว้บนเศียรเกล้าตลอดกาล ไม่มีวันเสื่อมคลายหายสูญไปเสีย ศาสนาก็เจริญ หัวใจคนผู้รักธรรมและเทิดทูนธรรมข้อนี้ก็สงบเย็น เห็นความสุขในปัจจุบันทันตา ท่านอาจารย์มั่นเองก็ปรากฏเด่นในทางนี้อยู่มาก เราพอทราบได้ตอนท่านพูดยกคุณท่านอาจารย์เสาร์ขึ้นเทิดทูนอยู่เสมอ โดยยกการแรกบวชและออกปฏิบัติทีแรกที่ได้อาศัยอยู่กับท่านเรื่อยมา ท่านอาจารย์เสาร์เป็นผู้ให้การอบรมทุกอย่าง เกี่ยวกับความเป็นอยู่และความประพฤติของนักบวช ตลอดการอบรมภาวนา พอมีความเข้าใจอะไรบ้างก็เพราะได้อาศัยท่านเป็นองค์แรก ที่ให้กำเนิดความเป็นพระและเป็นกรรมฐานเรื่อยมา อันดับต่อมาก็พรรณนาคุณของคณะศรัทธาญาติโยมและชาวป่าชาวเขาที่เคยมีคุณแก่ท่าน ในคราวบำเพ็ญเพียรแบบเอาเป็นเอาตายเข้าแลกกัน สมัยท่านอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านเคยไปพักที่ไหน มักจะพรรณนาคุณของคณะศรัทธาในแถวนั้นมิได้ขาด ข้อนี้รู้สึกจะเป็นนิสัยประจำองค์ท่าน มิฉะนั้นคงไม่แสดงออกจนเห็นได้ชัดแก่ผู้อื่น<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ผ่านมาได้พรรณนาการสนทนาธรรมของพระกรรมฐาน ที่มีนัยแห่งธรรมและปัญหาต่าง ๆ กันตามภูมิและนิสัยของแต่ละท่าน พอสรุปได้ว่า ความหายสงสัยปัญหาภายในใจเกิดจากการวินิจฉัยได้เอง หนึ่ง เกิดจากการสนทนากันหรือมีครูอาจารย์เป็นคู่สนทนาด้วย หนึ่ง เกิดจากการฟังขณะท่านแสดงธรรมอบรม หนึ่ง การสนทนาธรรมระหว่างกรรมฐานด้วยกันเป็นไปอย่างเงียบ ๆ ถ้าเทียบกับสภากรรมฐานก็คือสภาหนูเราดี ๆ นี่เอง มิใช่สภาแมวอะไรเลย แต่การสนทนาธรรมกันท่านถือเป็นสำคัญและเป็นคู่เคียงกับการปฏิบัติ ฉะนั้นพระกรรมฐานจึงมีการสนทนากันอยู่เสมอจนปัจจุบันทุกวันนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จวนวาระสุดท้ายแห่งปฏิปทา จึงขอกล่าวถึงพระอาจารย์สำคัญอีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นบ้างเล็กน้อย เพื่อเป็นอนุสรณุตตริยะแด่ท่านที่ไม่เคยผ่านประวัติท่าน คือ พระอาจารย์พรหม ท่านอยู่วัดบ้านดงเย็น อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่เพิ่งมรณภาพไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนเคยได้อ่านประวัติย่อที่พิมพ์แจกในงานศพท่านเหมือนกัน แต่หลงลืมไปบ้างแล้ว ทางวัดได้ถวายเพลิงท่านเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๑๔ ท่านมีประวัติย่อประจำองค์อยู่แล้ว แต่ที่มาเขียนซ้ำอีกเล็กน้อยนี้ เพื่อท่านที่ยังไม่ได้รับหนังสือนั้น จะพอมีทางทราบได้บ้างว่าท่านเป็นพระเช่นไร ที่ระบุนามท่านนี้เพราะประวัติท่านได้ระบุไว้อย่างชัดเจนแล้ว จึงคิดว่าน่าจะไม่ขัดกันกับที่เขียนผ่านมาซึ่งมิได้ระบุนามท่านองค์อื่น ๆ แต่การเขียนนี้จะไม่ขอกล่าวถึงความเป็นมาแห่งฆราวาสของท่าน จะนำมาลงเฉพาะที่จำเป็นและปฏิปทาที่เกี่ยวกับนักบวชท่านเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ก่อนบวชทราบว่า ท่านประกาศความใจบุญอันกว้างขวางแก่โลกให้คนแถบนั้นทราบโดยทั่วกันว่า ท่านประสงค์จะสละทานในบรรดาสมบัติที่มีอยู่ทั้งสิ้น ทั้งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้จนหมดสิ้น แล้วท่านและศรีภรรยาคู่บารมีได้ออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายให้ทันในชาตินี้ ไม่ขออยู่ในโลกเกิดตายให้เนิ่นนานต่อไป ท่านผู้ประสงค์การสงเคราะห์โดยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ กรุณามารับทานนี้ไปเป็นสมบัติอันชอบธรรมของตน ภายในกำหนดที่กำลังประกาศนี้ ทราบว่าท่านประกาศให้ทานอยู่หลายวัน ประชาชนผู้ยากจนต่าง ๆ จึงพากันหลั่งไหลมารับทานเป็นจำนวนมาก จนวัตถุทุกประเภทหมดสิ้นไปภายในไม่กี่วัน
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เนื่องจากท่านเป็นผู้มีฐานะมั่นคง มั่งมีสมบัติมากในแถบนั้น เพราะท่านเป็นพ่อค้าสารพัดอย่าง แต่ไม่มีลูกหญิงชายเป็นของตัวนับแต่วันแต่งงานกันมา มีเฉพาะศรีภริยาและเหล่าหลานญาติมิตรบ้างเท่านั้น ซึ่งต่างยินดีในการสละทานเพื่อความออกเป็นนักบวชด้วยกัน เมื่อการให้ทานเสร็จสิ้นลงแล้ว ทั้งสองคนต่างแยกทางกันเดิน ท่านเองก็ออกบวชเป็นพระธุดงคกรรมฐาน มุ่งหน้าต่อท่านพระอาจารย์มั่นเป็นที่ฝากเป็นฝากตายในชีวิตพรหมจรรย์ ส่วนศรีภริยาก็ไปอีกทางหนึ่งเพื่อบวชเป็นชีมุ่งหนีสงสารสมความปณิธานที่ปรารถนาไว้ และดำรงตนอยู่ในเพศพรหมจรรย์จนอวสานแห่งชีวิต มิได้เอนเอียงหวั่นไหวต่อโลกามิสใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งควรเป็นตัวอย่างได้เป็นอย่างดี<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เฉพาะท่านอาจารย์พรหม ตอนบวชทีแรกยังไม่สมความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ต้องไปอาศัยท่านพระอาจารย์สารเป็นผู้พาอยู่อบรมไปก่อนจนกว่าโอกาสจะอำนวย จากนั้นจึงได้เที่ยวไปทางจังหวัดเชียงใหม่เพื่อแสวงหาท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งเวลานั้นท่านพักอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ นัยว่าท่านอาจารย์พรหมนี้ได้เที่ยวไปในที่ต่างๆ จนถึงประเทศพม่า และพักอยู่หลายเมืองด้วยกัน มีท่านอาจารย์ชอบ ซึ่งมีนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญชนิดถึงไหนถึงกัน แบบเพชรน้ำหนึ่งเป็นหัวแหวนในวงเดียวกันเป็นเพื่อนเดินทาง เรื่องเหล่านี้ท่านอาจารย์พรหมเคยเล่าให้ผู้เขียนฟังเหมือนกันแต่หลงลืมไปบ้างแล้ว มีปรากฏเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยที่ได้นำมาเขียนนี้เท่านั้น ผิดพลาดจึงขออภัยด้วย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านมีเรื่องแปลก ๆ และอัศจรรย์เกี่ยวกับการปฏิบัติทั้งภายในและภายนอกอยู่มาก ทั้งในและนอกประเทศ แต่จะขอผ่านไป ฟังแล้วทั้งน่าสงสารทั้งน่าตื่นเต้นเพลิดเพลินและน่าอัศจรรย์ ในความเป็นนักต่อสู้และความรู้ความเห็นของท่าน ในการบำเพ็ญและการเดินบุกป่าฝ่าดงไปในที่ต่าง ๆ ที่ปราศจากบ้านเรือนผู้คน ในเวลาเช่นนั้น มีแต่ความอดอยากทรมานมากกว่าความอิ่มกายสบายใจ ท่านว่าบางวันก็พบหมู่บ้านและได้บิณฑบาตมาฉันพอประทังชีวิต บางวันก็ยอมอดยอมทนต่อความหิวโหยอ่อนเพลียเพราะหลงทาง ทั้งนอนค้างอยู่ในป่าในเขา
    <o:p></o:p>
    เฉพาะเวลาไปเที่ยวประเทศพม่านั้น ท่านว่าลำบากมากในเวลาเดินทาง เพราะทางที่ไปมีแต่ป่าแต่เขา ซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์เสือนานาชนิด บางครั้งต้องปลงอนิจจังต่อความเป็นอยู่ ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานซึ่งสุดแสนจะทนได้และมีชีวิตสืบต่อไปในวันข้างหน้า ขณะนั้นปรากฏว่าอะไร ๆ ภายในตัว ราวกับจะสุดสิ้นลงพร้อมในเวลาเดียวกัน ลมหายใจก็เหมือนจะขาดความสืบต่อลงไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ในบรรดาเหตุทั้งหลายที่เป็นเครื่องกดถ่วงทรมานร่างกายและจิตใจ แต่ก็พอทนต่อไปได้ตามเหตุการณ์และวันเวลาที่ผ่านไป
    <o:p></o:p>
    การบำเพ็ญทางจิตท่านก็มีกำลังก้าวหน้าและเป็นที่แน่ใจตัวเอง ก็ตอนที่ไปถึงท่านอาจารย์มั่น รับการอบรมโดยสม่ำเสมอเรื่อยมา บางปีท่านเมตตาอนุเคราะห์ให้จำพรรษาด้วย และมีการเข้า ๆ ออก ๆ อยู่เสมอ คือออกเที่ยวบำเพ็ญในสถานที่ต่าง ๆ ตามอัธยาศัย เมื่อเกิดปัญหาข้องใจก็เข้ามารับการศึกษาอบรมกับท่านเป็นระยะไป สมัยอยู่กับท่านอาจารย์มั่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทราบว่าท่านบำเพ็ญอยู่ที่เชียงใหม่อีกหลายปี แล้วจึงได้ตามท่านอาจารย์มั่นกลับไปจังหวัดสกลนคร<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์องค์นี้เป็นผู้มีนิสัยเคร่งขรึมและเด็ดเดี่ยวมาก สมที่สละสมบัติอันมีค่าออกบวชจริง ๆ จึงขอสรุปผลแห่งการปฏิบัติที่ท่านได้รับเป็นที่พึงใจว่า ท่านได้สมบัติอันล้นค่ามหัศจรรย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในเขาลึกกับคนชาวป่า ตามที่ท่านเล่าให้ฟังถ้าจำไม่ผิด แต่จำไม่ได้ว่าเป็นหมู่บ้านอะไร เขาลูกใด และอำเภอใด ที่นั่นแลเป็นที่ปลดเปลื้องภาระแห่งวัฏวนภายในใจออกได้โดยสิ้นเชิง เมื่อท่านอาจารย์มั่นกลับไปจังหวัดสกลนครได้หลายปีแล้ว ท่านจึงได้ตามท่านไปราว พ.ศ.๒๔๘๖ และจำพรรษาอยู่ที่วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร จากนั้นท่านจึงได้หวนกลับมาสร้างวัดที่บ้านดงเย็น อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี อันเป็นภูมิลำเนาเดิม และได้มรณภาพลงที่นั่น ดังที่เขียนผ่านมาแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เมื่อถึงวันงานถวายเพลิงศพท่าน บรรดาพุทธบริษัทนักแสวงบุญทั้งหลาย ทั้งใกล้ทั้งไกล ตลอดชาวนครหลวงก็อุตส่าห์สละเวลาไปเป็นจำนวนมาก แม้พี่น้องชาวเชียงใหม่ก็ยังอุตส่าห์ไปกัน ทุก ๆ ท่านที่ไปมิได้คำนึงถึงความลำบากและสิ้นเปลืองใด ๆ เลย มุ่งแต่ความสมหวังดังใจหมายในงานโดยถ่ายเดียว ฉะนั้น วัดที่ตั้งของงานแม้จะกว้างใหญ่ไพศาลในยามปกติธรรมดาแห่งสายตาคนทั่วไป แต่ก็ได้กลายเป็นวัดที่คับแคบแออัดขึ้นมาในเวลานั้น เพราะผู้คนพระเณรจำนวนมากต่างหลั่งไหลกันมาในงานท่าน แม้เช่นนั้นก็มิได้เป็นความเอิกเกริกวุ่นวายแก่งานแต่อย่างใดเลย เพราะต่างท่านต่างมาด้วยจิตผ่องใสใจศรัทธา มิได้มาด้วยความหวังอย่างอื่นที่อาจเป็นอันตรายแก่งานและประชาชนที่มาในงานได้
    <o:p></o:p>
    ตอนกลางคืนของงาน คณะกรรมการวัดได้จัดให้มีการอบรมกรรมฐานตลอดรุ่ง โดยขออาราธนาพระอาจารย์กรรมฐานผู้ทรงคุณวุฒิเป็นองค์แสดง ด้วยปกิณกธรรมบ้าง ด้วยสมาธิธรรมบ้าง ด้วยปัญญาธรรมบ้าง สับปนกันไป เพื่อประโยชน์แก่ท่านที่เป็นนักบวชฝ่ายธุดงคกรรมฐานซึ่งนาน ๆ จะได้มีโอกาสมาฟังกันบ้าง เพื่ออุบาสกอุบาสิกาที่สนใจธรรมปฏิบัติ บ้างเพื่อสาธุชนทั่ว ๆ ไปบ้าง
    <o:p></o:p>
    การถวายเพลิงจริงท่านเริ่มเวลาประมาณสี่ทุ่มของคืนวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ขณะประชุมเพลิงนั้น มีประชาชนพระเณรมาแสดงธรรมสังเวชเป็นจำนวนมากมาย ต่างท่านต่างมีท่าอันสงบงามตาอย่างยิ่ง ราวกับต่างระลึกรำพึงถึงพระคุณและความดีงามท่านอาจารย์พรหมผู้เคยบำเพ็ญมาด้วยความกล้าหาญชาญชัย และความเสียสละทุกอย่างไม่อาลัยเสียดาย และเคยประสิทธิ์ประสาทธรรมแก่บรรดาศิษย์ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์หญิงชายไม่มีประมาณ แล้วได้จากไปตามกฎอนิจจัง และไม่มีใครแม้มีความเคารพรักเลื่อมใสท่านอย่างสุดจิตสุดใจ จะช่วยต้านทานไว้ได้สักรายเดียว บางท่านที่ไม่เคยพบเห็นท่านมาก่อน อาจคิดไปในแง่กฎอนิจจังอันเป็นธรรมสอนโลกและสอนตน มากกว่าจะคิดถึงแง่แห่งคุณธรรมท่าน
    <o:p></o:p>
    ขณะที่กำลังถวายเพลิง ในบริเวณเมรุจะมีเฉพาะคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ต่อศพท่านเท่านั้น ไม่มีใครเข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคำโฆษณาประกาศเตือนอยู่เป็นพัก ๆ ก็ได้ หรืออาจเป็นเพราะมรรยาทของท่านผู้เห็นภัยและคุณในขณะนั้นก็ยากแก่การสันนิษฐาน<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อัฐท่านได้กลายเป็นพระธาตุในเวลาอันสั้น

    อัฐิท่านที่ได้ทำการแจกจ่ายแก่ท่านที่มาในงาน ไปไว้เป็นที่ระลึกสักการบูชาในที่ต่าง ๆ มีมากต่อมาก จึงไม่อาจทราบได้ว่าของท่านผู้ใดได้แปรสภาพจากเดิมหรือหาไม่ประการใดบ้าง แต่เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีท่านที่ได้รับแจกอัฐิท่านมาแล้ว อัฐินั้นได้กลายเป็นพระธาตุสององค์ และได้เชิญไปให้ผู้เขียนดูที่วัดอย่างประจักษ์ หลังจากนั้นก็ได้ทราบจากหนังสือพิมพ์ “ศรีสัปดาห์” อีกว่า อัฐิท่านได้กลายเป็นพระธาตุแล้วก็มี ที่ยังไม่กลายก็มีซึ่งอยู่ในผอบอันเดียวกัน จึงทำให้เกิดความอัศจรรย์ในคุณธรรมท่านว่า ท่านเป็นผู้บรรลุถึงแก่นธรรมโดยสมบูรณ์แล้ว ดังวงปฏิบัติเคยพากันคาดหมายท่านมาเป็นเวลานาน แต่ท่านมิได้พูดออกหน้าออกตาเหมือนทางโลกปฏิบัติกัน เพราะเป็นเรื่องของธรรมซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมจะพึงสำรวมระวังให้อยู่ในความพอดี
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความผ่านพ้นทุกข์ทางใจของท่าน

    กาลเวลาที่ท่านผ่านพ้นดงหนาป่ากิเลส และกองทุกข์ทางใจทั้งมวลไปได้นั้น ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ ว่า ท่านผ่านไปแต่สมัยพักอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แต่ไม่ทราบว่าผ่านไปกี่ปีแล้ว ท่านจึงได้กลับไปจังหวัดสกลนคร จึงขอสรุปแต่ใจความว่า ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ที่ท่านไปจำพรรษาที่วัดสุทธาวาส สกลนคร จนถึง พ.ศ.๒๕๑๓ อันเป็นปีท่านมรณภาพ ก็คงไม่น้อยกว่า ๒๘–๒๙ ปี จึงพอจับใจความได้ว่า นับแต่วันจิตหลุดพ้นและครองขันธ์ด้วยใจที่บริสุทธิ์ตลอดมาจนถึงวาระสุดท้าย นับว่านานพอสมควร ดังนั้นการที่อัฐิท่านสามารถกลายเป็นพระธาตุได้อย่างรวดเร็วในภายในไม่ถึงปีเต็ม จึงเป็นฐานะที่ควรเป็นได้ไม่มีทางสงสัย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่เท่าที่ทราบมา มีพระอรหันต์สมัยปัจจุบันอุบัติขึ้นที่นั่นถึง ๓ องค์ คือท่านพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านทั้ง ๒ องค์นี้เป็นองค์แรก ท่านอาจารย์พรหม และท่านอาจารย์…..ท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นองค์ต่อมา ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคอีสานเช่น จังหวัดสกลนคร เป็นต้น ก็มีพระประเภทอัศจรรย์ได้ครองธรรมบริสุทธิ์ไม่ด้อยกว่าจังหวัดเชียงใหม่เหมือนกัน นอกจากไม่มีใครทราบได้เท่านั้น เพราะท่านไม่เป็นนักพูดนักโฆษณา ต่างท่านต่างรู้กันอยู่ในวงเฉพาะของนักปฏิบัติเท่านั้น สถานที่นั้นหมายถึงป่าและเขาแห่งจังหวัดนั้น ๆ ที่ท่านนักปฏิบัติไปอาศัยบำเพ็ญและได้บรรลุมรรคผลสมความมุ่งหมายอย่างเงียบ ๆ ไม่ค่อยมีใครทราบ ถ้าไม่นำเรื่องท่านมาเขียนไว้บ้างพอเป็นร่องรอย ศาสนธรรมก็จะปรากฏแต่ชื่อแต่นาม ส่วนตัวจริงแท้จะไม่ปรากฏ จึงได้ตัดสินใจเขียนลงในท่ามกลางแห่งขวากหนาม ซึ่งน่าจะไม่พ้นจากความทิ่มแทงที่เกิดจากความขัดข้องสงสัยในแง่ต่าง ๆ ดังที่เคยเป็นมา
    <o:p></o:p>
    การกล่าวทั้งนี้กล่าวด้วยความเชื่อสมรรถภาพของท่านนักปฏิบัติ ที่สามารถทำตนให้เป็นหลักจิตหลักธรรมอย่างมั่นคง และเชื่อถือตนได้อย่างตายใจหนึ่ง กล่าวด้วยความเชื่อสวากขาตธรรมที่ประทานไว้ว่า จะเป็นสวากขาตธรรมอยู่อย่างตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยมแห่งสมมุติทั้งหลาย ที่แสนปลิ้นปล้อนหลอกลวงประจำตน ผู้เข้ายึดอาศัยไม่มีทางไว้ใจพอหายใจเต็มปอดตลอดมาหนึ่ง กล่าวทางภาคปฏิบัติ ปฏิเวธ อันเป็นทางแสดงออกแห่งผลของการปฏิบัติว่า ไม่เป็นโมฆะโดยเสียกำลังไปเปล่า ไม่มีผลเป็นเครื่องสนองตอบแทนความเหนื่อยยากจากการปฏิบัติหนึ่ง
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์ที่กล่าวถึงเหล่านี้เป็นอาจารย์ที่ทรงมรรคข้อปฏิบัติด้วยศีล สมาธิ ปัญญาอย่างเต็มภูมิ ไม่มีทางต้องติ และเป็นอาจารย์ที่ควรทรงผลคือวิมุตติหลุดพ้นอย่างสมเหตุสมผล ตามธรรมที่ประทานไว้จริงไม่ขัดแย้งกัน ท่านที่ยังเชื่อว่าธรรมยังเป็นธรรมอยู่ ท่านอาจารย์เหล่านี้ก็ควรเป็นผู้ทรงมรรคทรงผลด้วยข้อปฏิบัติตามนโยบายแห่งธรรม และอยู่ในข่ายแห่งปุญญักเขตได้อย่างไม่แคลงใจ ไม่ฝืนใจในการเขียนเรื่องท่านนำลงในหนังสือเล่มต่าง ๆ และไม่แสลงใจท่านผู้อ่านทั้งหลายดังกล่าวมา ที่นอกเหนือไปจากนี้ท่านผู้ใดจะคิดเห็นอย่างไรนั้น ขอมอบให้เป็นสิทธิของแต่ละรายโดยไม่ขอยื้อแย่งแบ่งส่วนด้วย เพราะธรรมมีบอกไว้ว่า สัตว์มีกรรมและผลกรรมเป็นของตน คนอื่นจึงไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องแย่งชิง จะผิดกับกฎแห่งกรรมข้อนี้ที่ประกาศไว้อย่างตายตัวมาแต่ดึกดำบรรพ์<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์องค์นี้ได้เคยพูดความขี้ขลาดไม่เป็นท่าของท่านให้ผู้เขียนฟัง โดยกล่าวถึงสมัยบวชใหม่ และคราวไปพักอยู่ในภูเขาจังหวัดเชียงใหม่ว่า คราวท่านบวชใหม่ยังไม่ได้พรรษา ท่านไปเที่ยววิเวกในภูเขาแถบอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ขากลับจากเที่ยว ท่านมาตามทางสายอำเภอนาแกที่ตรงไปจังหวัดสกลนคร ซึ่งแต่ก่อนไม่มีถนน แม้ทางล้อทางเกวียน และทางคนเดินเท้ารกรุงรังมากแทบมองไม่เห็นทาง เพราะระยะทางที่ห่างจากอำเภอนาแกมาประมาณสี่กิโลเมตร เป็นป่าดงกว้างใหญ่รกชัฏ ด้านยาวติดกับภูเขา มีสัตว์เสือชุกชุมพอเรียกความหวาดกลัวจากคนขี้ขลาดได้ไม่ยากเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เผอิญพอท่านเดินทางมาถึงดงนั้นก็เป็นเวลาค่ำมืดพอดี เทียนไขก็ไม่มีเหลือติดมาเลย ถ้าจะฝืนเดินทางต่อไปก็กลัวหลงทาง เพราะแถบนั้นไม่มีบ้านคน ทั้งทางก็รกชัฏตีบตันปกคลุมไปด้วยป่าไม้ทั้งหลาย ไม่เหมือนทุกวันนี้ซึ่งไปที่ไหนเจอแต่บ้านและผู้คน แม้ป่าดงดังกล่าวนี้ก็ได้กลายเป็นบ้านเรือนนาสวนไปหมดแล้ว จนไม่มีซากแห่งป่าเหลือหลออยู่บ้างเลย ท่านจึงตัดสินใจพักค้างคืนในดงนั้น โดยปลีกออกจากทางไปเพียงเล็กน้อยแล้วก็แขวนกลดกับกิ่งไม้ มือลูบคลำเก็บกวาดใบไม้แห้งแถบบริเวณที่พักนั้นมารวมกันพอเป็นที่นอนได้ เสร็จแล้วก็พักผ่อนและภาวนาต่อไป
    <o:p></o:p>
    เวลาประมาณสามทุ่ม ซึ่งเป็นขณะที่ท่านกำลังนั่งทำสมาธิภาวนาอยู่ด้วยความหวาดระแวงเรื่องต่าง ๆ ขณะนั้นได้มีอีเก้งตัวหนึ่งด้อม ๆ เข้ามาที่บริเวณที่พักโดยไม่รู้ตัว พออีเก้งโผล่หน้าออกมาก็มาเจอเอากลดกับมุ้งที่กางและลดลงไว้อย่างมิดชิดพอดี เพราะความตื่นตกใจกลัวของสัตว์ที่มีนิสัยระแวงประจำตัวตลอดเวลาอยู่แล้ว ก็ร้องขึ้นอย่างเต็มเสียง “เก้ก” คำเดียว พร้อมกับกระโดดชนป่า ศีรษะโดนต้นไม้โครมคราม ๆ ดังสนั่นไป ท่านเองก็สะดุ้งตกใจสุดขีดจนเผลอตัวร้องออกมา “เอิ้กอ้าก” เช่นกัน อีเก้งตื่นเสียงคนวิ่งหูตั้งตาถลนป่าเลิกไป
    <o:p></o:p>
    ในขณะเดียวกันพอได้สติ ท่านนึกอายความไม่เป็นท่าของตัว จนอดขบขันหัวเราะตัวเองไม่ได้ว่า พระทั้งองค์แท้ ๆ ออกบวชด้วยความเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ตายที่ไหนก็ยอมแล้วด้วยความปลงใจใฝ่ธรรม แต่ทำไมเพียงอีเก้งซึ่งเป็นสัตว์ป่าธรรมดา มิใช่เสือ หมี ผี เปรตที่ควรจะน่ากลัว ทั้งมันก็วิ่งหนีตายจนสุดขีดและร้องออกมาด้วยความกลัวเราแท้ ๆ เพราะความตกใจไร้สติ แต่เราเองซึ่งเป็นคนและเป็นพระกรรมฐานทั้งองค์ยังตกใจกลัวมันแทบหัวใจหยุด ตายทิ้งเปล่า ๆ ไม่มีสติรั้งใจ ถึงกับปล่อยความต่ำทรามชนิดขายตัวและพระศาสนาออกมา ให้มันได้ยินอย่างถนัดชัดเจน จนมันวิ่งป่าเปิงไปไม่คิดชีวิต ถ้าอีเก้งตัวนี้มีความฉลาดพอทราบได้ว่าพระเป็นเพศที่เชื่อกรรมและเสียสละ ไม่ขี้ขลาดหวาดกลัวเหมือนพระกรรมฐานองค์กำลังแสดงความกลัวตายอย่างสุดขีดไม่มีสติอยู่กับตัวเวลานี้ มันคงนึกขบขันและกลับมาหัวเราะเยาะเย้ยเราจนอับอายไม่มีหน้าพระเหลืออยู่เลยเป็นแน่ แต่นี้มันเป็นสัตว์พอนำชีวิตผ่านไปได้ก็หมดปัญหากันไป ไม่สนใจว่าใครจะเป็นคนบ้าหรือคนดีอะไรต่อไป<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คราวท่านพักอยู่ในภูเขา จังหวัดเชียงใหม่นั้น ท่านว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่ติดใจในเหตุการณ์ คือตอนเย็นราวบ่ายห้าโมง ท่านลงไปสรงน้ำในคลองลึกที่อยู่ตีนเขา ไม่ได้คิดนึกว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นเวลานั้น เพราะท่านเคยไปทุกเย็น แต่เฉพาะเย็นวันนั้น พอท่านเดินลงไปตามคลองแคบและลึกชันมาก พอไปถึงตอนนั้นซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและชันมาก ท่านก็โผล่ออกไป เจ้าหมีใหญ่ตัวหนึ่งก็โผล่ออกมาจ๊ะเอ๋กันอย่างจัง ๆ พอดี ขณะที่ต่างคนต่างเจอกันอย่างจัง ๆ ไม่มีทางหลบหลีก เจ้าหมีใหญ่ตกใจกลัวกระโดดขึ้นฝั่งคลองชัน ๆ แล้วตกลงมา กระโดดขึ้นตกลงมา ตกลงมา และพยายามโดดขึ้น ตกลงอยู่ถึงสี่ห้าครั้งก็ไม่สำเร็จ จึงได้สติวิ่งกลับคืนทางเก่าแล้วหายไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ส่วนท่านเองขณะนั้นจะว่ากลัวก็พูดไม่ถูก จะว่าไม่กลัวก็ผิดถนัด เพราะทั้งสองฝ่ายต่างตกตะลึงงงงันจนไม่มีสติรั้งใจด้วยกัน ตลอดจนการแสดงต่อเหตุการณ์ของทั้งสองฝ่ายในขณะนั้น บ่งบอกด้วยความกลัวตายอย่างชัดเจนไม่สงสัย คือฝ่ายหมีก็กระโดดปีนขึ้นฝั่ง และปีนป่ายด้วยความกลัวเต็มประดา ฝ่ายท่านก็ยืนย่ำเท้าอยู่บริเวณนั้นจนพื้นที่ที่เหยียบย่ำเหลวแหลกเป็นตมเป็นโคลนไปหมด ราวกับเขาขยำดินเหนียวปั้นอิฐหรือทำภาชนะดินฉะนั้น พร้อมกับพูดหลุดปากออกมาโดยไม่รู้สึกตัวว่า เอ้า ๆ ๆ ไม่หยุดปาก พอหมีใหญ่ตัวน่ารักน่าสงสารถึงใจวิ่งหนีไปแล้ว ท่านว่าท่านเลยเดินกลับที่พักด้วยความขบขันและสงสารหมีใหญ่ตัวแสนรู้แสนดีนั้นเป็นกำลัง ท่านเองไม่ทราบว่าเหงื่อหรือยางตายออกมาเวลานั้น เปียกมหาเปียกยิ่งกว่าลงอาบน้ำเป็นไหน ๆ
    <o:p></o:p>
    ท่านว่าที่ท่านไม่เดินเลยไปสรงน้ำแอ่งหินที่เคยสรงนั้น ท่านคิดว่า บางทีหมีใหญ่ตัวนั้นมันโดดและวิ่งเสียจนอ่อนเพลียแล้ว อาจไปลงนอนแช่น้ำในแอ่งหินนั้นเพื่อบรรเทาก็ได้ เผื่อไปเจอกันเข้าอีกกลัวเหตุการณ์จะไม่เป็นดังที่เคยเป็นมาแล้ว วันต่อไปท่านจึงไปสรงน้ำที่นั่น ขณะเดินไปถึงที่ที่หมีกับคนจ๊ะเอ๋กัน จึงได้มีโอกาสตรวจดูสภาพของความกลัวตายประจำสัตว์โลก พอดูแล้ว ท่านว่าท่านอดหัวเราะออกมาคนเดียวไม่ได้ เพราะดูรอยหมีโดดปีนฝั่งคลองกับรอยท่านย่ำเท้าไปมานั้นราวกับรอยหมี ๑๐ ตัว และรอยพระกรรมฐาน ๑๐ องค์เล่นกีฬากัน บริเวณนั้นแหลกเป็นตมเป็นโคลนไปหมดไม่มีชิ้นดีเลย ดูแล้วทำให้หวาดเสียวและสงสารหมี เป็นอารมณ์เครื่องระลึกเตือนใจอยู่จนกระทั่งวันท่านจากไป เพราะขณะที่พักอยู่ท่านลงไปสรงน้ำทุกวัน และเห็นรอยคนและสัตว์แสดงความกลัวตายทุกวัน ตามธรรมดาสัตว์พรรค์นี้โดยมากเมื่อเจอกันซึ่ง ๆ หน้า มันมักจะโดดมาตะปบและกัดคนให้เจ็บและเสียท่าก่อนแล้วจึงจะโดดหนีไป การเจอคนระหว่างหมีกับเสือ หมีร้ายกว่าเสือ ต้องกัดคนก่อนแล้วจึงจะโดดหนีไป เสือถ้าถูกยิงเจ็บร้ายกว่าหมี ฉะนั้นท่านจึงนึกหวาดกลัวในเหตุการณ์อยู่ไม่วาย แม้ไม่เป็นอันตราย
    <o:p></o:p>
    ที่ได้พยายามตะเกียกตะกายเขียน ปฏิปทาพระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นมา ก็รู้สึกว่าเป็นภาระอันหนักสำหรับผู้เขียนอยู่มาก แต่ความหนักนี้ก็ยังเป็นรองการเขียนประวัติท่านพระอาจารย์มั่น จึงพอมีเวลาหายใจได้บ้าง แม้จะเป็นภาระหนักในการเขียน แต่ก็ได้พยายามจนสุดกำลังความสามารถเรื่อยมา ดังท่านผู้อ่านทั้งหลายได้เห็นได้อ่านอยู่เวลานี้ ผิดถูกดีชั่วประการใด จำต้องยอมรับคำติชมโดยไม่มีข้อแก้ตัว เพราะสุดกำลังจริง ๆ ทั้งสองเรื่อง<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นนั้นมีมาก นับแต่รุ่นหัวปี รุ่นกลาง รุ่นสุดท้าย และรุ่นหลานเหลน ที่ได้รับการอบรมสืบทอดปฏิปทาสายเดียวกันมาจนปัจจุบัน แต่การเขียนปฏิปทานี้ได้เคยเรียนไว้บ้างแล้วว่า ขอไม่ระบุนามท่านประกอบในปฏิปทาที่ท่านดำเนิน เพราะเป็นความไม่สะดวกสำหรับผู้เขียนและองค์ท่านเอง ดังที่เคยระบุนามท่านมาบ้างแล้วในเล่มประวัติฯ รู้สึกเป็นความขัดข้องสำหรับท่านผู้เป็นเจ้าของเรื่องที่ผู้เขียนนำมาลง บางท่านเคยต่อว่าให้ผู้เขียนบ้างเหมือนกัน ซึ่งก็เห็นด้วยท่านและยอมรับไม่ฝ่าฝืน คราวนี้จึงได้ระงับการระบุนามท่านเสีย เหลือแต่ปฏิปทาคือข้อปฏิบัติซึ่งนำมาลงอยู่เวลานี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การปฏิบัติของแต่ละองค์มีความหนักเบาไปในแง่แห่งธรรมต่าง ๆ กัน องค์ที่หนักไปในแง่ใด เช่น อดนอน ผ่อนอาหาร เป็นต้น ท่านก็เร่งดำเนินทางนั้นโดยสม่ำเสมอ จนเห็นผลประจักษ์ใจโดยลำดับไม่มีการท้อถอยอ่อนแอ แต่ผลที่ได้รับจากวิธีนั้น ๆ ย่อมเป็นความสงบสุขทางจิตใจ และเกิดสติปัญญาเป็นชั้น ๆ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องหนุนจิตให้ถึงจุดหมายปลายทางเช่นเดียวกัน ดังนั้นการปฏิบัติธรรมจึงสำคัญที่จริตนิสัยกับบทธรรมที่นำมากำกับเป็นคำบริกรรมภาวนาไปตามขั้นเป็นราย ๆ ไป มิได้ขึ้นอยู่กับอาจารย์ผู้ให้การอบรมสั่งสอนนัก ที่จะชี้ขาดลงแต่ผู้เดียว แล้วมอบธรรมบทเดียวบาทเดียวกันแก่คณะศิษย์เป็นจำนวนมากไปปฏิบัติภาวนา โดยไม่คำนึงจริตนิสัยของศิษย์เป็นราย ๆ ไป เพราะจะทำให้ขัดต่อจริตของศิษย์รายที่ไม่ถูกกับธรรมบทนั้นบาทนั้น แล้วจะไม่เกิดผลเท่าที่ควร
    <o:p></o:p>
    อาจารย์เป็นเพียงคอยแนะแนวทางให้ หลังจากอธิบายธรรมหลายบทหลายหมวดให้ฟัง และผู้มาศึกษาอบรมเลือกนำไปปฏิบัติจนปรากฏผลมาเล่าให้ฟัง ตอนใดที่เห็นว่าจะควรแก้ไขหรือเพิ่มเติมอย่างไร ก็ชี้แจงให้ฟังเป็นราย ๆ ไป มิใช่ผู้ชี้ขาดในการมอบบทธรรมให้ศิษย์โดยถ่ายเดียว นอกจากอาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญในธรรมปฏิบัติและฉลาดรู้ ปรจิตตวิชชา คือสามารถรู้อุปนิสัยและวาระจิตของผู้อื่น พร้อมกับอุบายแห่งการสั่งสอนได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวเท่านั้น จึงจะสามารถชี้ขาดได้ตามความรู้เห็นอันถูกต้องของตน แต่สมัยนี้จะมีใครบ้างที่สามารถฉลาดรู้ได้ในธรรมดังกล่าวนี้ รู้สึกจะหายากยิ่งกว่าเพชรนิลจินดาเป็นไหน ๆ
    <o:p></o:p>
    เพียงจะปฏิบัติตนให้รู้ถึงเหตุถึงผลของกิเลสที่เกิดมีอยู่กับใจแต่ละราย จนสามารถถอดถอนออกได้ประจักษ์ใจ แล้วนำมาสั่งสอนคนอื่นด้วยความถูกต้องแม่นยำก็ยังหายาก จนแทบจะกล่าวตู่พระพุทธศาสนาว่าเป็นโมฆะหาสาระมิได้อยู่แล้ว ทั้งที่พุทธศาสนาเป็นสถาบันรับรองมรรคผลนิพพาน มาแต่องค์พระศาสดาแรกเริ่มตรัสรู้ ตลอดมาจนปัจจุบันวันนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ในบรรดาพุทธบริษัทจะมีใครบ้างหรือไม่ที่ทรงไว้ซึ่งปรจิตตวิชชา สามารถรู้อุปนิสัยและวาระจิตของผู้อื่น พอจะกล้ายืนยันสั่งสอนด้วยธรรมเพียงบทเดียวบาทเดียว โดยข้อยืนยันทางภายในของตน และทำให้บรรดาศิษย์จำนวนมากมายได้รับผลเป็นที่พึงใจไปโดยลำดับ จนสามารถบรรลุถึงที่สุดแห่งธรรมได้ โดยไม่มีการยักย้ายเปลี่ยนแปลงธรรมไปตามภูมิจิตภูมิธรรม และความเปลี่ยนแปลงของกิเลสอาสวะ ซึ่งเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนยิ่งกว่าตามรอยโคในคอกเป็นร้อยเท่าพันทวี นอกจากจะสั่งสอนด้วยพลการในฐานะที่เขายกย่องว่าเป็นอาจารย์มากกว่าความมีคุณธรรมภาคปฏิบัติภายในใจ

    <o:p>ผู้เขียนจึงไม่แน่ใจนักเลยในการสั่งสอนด้วยธรรมบทเดียวบาทเดียว เพราะตัวเองก็เป็นพระประเภทล้มลุกคลุกคลานมาประจำฐานะและนิสัยอยู่แล้ว แต่เมื่อมีท่านผู้ฝักใฝ่ใคร่ธรรมมาศึกษาไต่ถามก็เรียนตอบไปแบบมือหนึ่งจับงู อีกมือหนึ่งจับปลาอย่างนั้นเอง เพื่อผู้ศึกษาจะได้เลือกถือเอาตามอัธยาศัยไม่ขัดต่อจริต ถ้าจับเพียงมือเดียวเผื่อถูกมือที่จับปลาก็ดีมีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นอยู่บ้าง เผื่อไปถูกมือที่จับงูเข้าก็จะเป็นภัยแก่ผู้มาศึกษาไม่มีประมาณ คือใครมาหาเพื่อรับการอบรมก็สอนแต่ธรรมบทเดียวบาทเดียวดะไปเลย ราวกับศาสนามีธรรมสอนโลกเพียงเท่านั้น ทั้งที่ศาสดาและสาวกทั้งมวลมิได้สำเร็จจากธรรมบทเดียวบาทเดียว แต่สำเร็จด้วยธรรมแง่ต่าง ๆ กี่ร้อยกี่พันนัยและทรงสั่งสอนและสั่งสอนโลก ด้วยธรรมที่นับพอประมาณที่สัตว์โลกจะพึงรับได้ แต่รู้สึกน้อยมากสำหรับความรู้ความฉลาดแห่งภูมิของพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมศาสดาของโลก<o:p></o:p>
    </o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การปฏิบัติและอุบายแห่งการสั่งสอนลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น

    หนังสือนี้จวนจะสิ้นสุด จึงขอนำวิธีที่ท่านพระอาจารย์มั่นปฏิบัติทางจิตตภาวนาและอุบายวิธีสั่งสอนลูกศิษย์ผู้เข้าไปรับการอบรมกับท่าน มาลงไว้พอเป็นแนวทางเล็กน้อย คล้ายทำนองสรุปความ แต่จะเขียนปฏิปทาการดำเนินของท่านโดยเฉพาะก่อน จึงจะเขียนวิธีการที่ท่านสั่งสอนสานุศิษย์ในวาระต่อไป การเขียนคราวนี้จะไม่ระบุกาลสถานที่ที่ท่านบำเพ็ญและได้รับผลนั้น ๆ ลงอีก เพราะเคยเขียนลงแล้วในเล่มประวัติท่าน จะเขียนเฉพาะวิธีปฏิบัติจิตตภาวนาของท่านอย่างเดียว เรื่องภายนอก เช่น เปรต ผี เทวบุตรเทวดา นาค ครุฑ อะไร ๆ จะไม่เกี่ยวข้องอีกดังที่เคยเขียนมาแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จิตท่านพระอาจารย์มั่นเป็นจิตที่ผาดโผน และรวดเร็วต่อเหตุการณ์ที่มาเกี่ยวข้องมากผิดธรรมดา การภาวนาเบื้องต้นท่านใช้พุทโธเป็นบทบริกรรม พอจิตสงบรวมลงแล้วปรากฏภาพนิมิต ซึ่งเป็นองค์ท่านเองออกไปตายอยู่ต่อหน้าบ้าง เป็นซากผีมาตายอยู่ต่อหน้าบ้าง ดังที่เคยเขียนผ่านมาแล้วในประวัติท่าน ท่านจึงกำหนดนิมิตที่ปรากฏนั้น ๆ เป็นองค์พยานแห่งการภาวนาต่อไป โดยกำหนดเป็นของปฏิกูลด้วยวิธีต่าง ๆ ตามแต่ความแยบคายของสติปัญญาจะหนักไปในทางใด กำหนดให้แตกสลายลงไปเหลือแต่โครงกระดูกล้วนๆ บ้าง กำหนดให้โครงกระดูกหลุดจากกันตกเรี่ยราดอยู่เฉพาะหน้าบ้าง กำหนดเก็บกวาดกระดูกนั้น ๆ มารวมกันเป็นกองเดียว แล้วกำหนดไฟเผาจนกลายเป็นเถ้าถ่านลงในขณะนั้นบ้าง
    <o:p></o:p>
    ทั้งซากผีตายและซากองค์ท่านตายเป็นภาพนิมิตอยู่เฉพาะหน้า ท่านกำหนดโดยวิธีเดียวกัน เป็นแต่ต่างวาระกันไปตามความสะดวกของการพิจารณาในเวลานั้น ๆ เท่านั้น หลังจากกำหนดไฟเผากระดูกจนละเอียดเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว จิตท่านรวมลงถึงฐานแห่งสมาธิอย่างเต็มภูมิ และพักอยู่นานเป็นชั่วโมง ๆ จึงถอนขึ้นมา พอจิตถอนขึ้นมาแล้วก็กำหนดต่อไป ท่านว่านับแต่วันที่จิตปรากฏภาพนิมิตและกำหนดให้เป็นต่างๆ ได้ตามต้องการ ตลอดการเผาผลาญซากนั้น ๆ ลงได้ประจักษ์ใจทุกเวลาที่ต้องการแล้ว ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน หรืออยู่ในท่าใด ๆ ท่านกำหนดเอาซากศพที่กำหนดให้เป็นโครงกระดูกติดแนบอยู่กับตัวท่านทุกเวลาไป เว้นเฉพาะเวลาพิจารณาซากศพนั้นด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วจิตรวมลงเป็นสมาธิพักอยู่โดยลำพัง จึงไม่สนใจกับอะไรในขณะนั้น<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำลังจิตท่านเริ่มก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดและได้หลักสมาธิมั่นคง ก็เพราะได้นิมิตเป็นหินลับสติปัญญาอยู่โดยสม่ำเสมอ จนสามารถน้อมโครงกระดูกแห่งนิมิตภาพให้เข้าอยู่กับตัว ตัวกับโครงกระดูกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนปราศจากความสงสัยว่าโครงกระดูกนี้เป็นมาจากไหน ใครมาเป็นโครงกระดูกนี้ แล้วท่านจึงปล่อยการกำหนดโดยลักษณะนั้นเสีย เพราะเมื่อภาพนิมิตกลับมาเป็นองค์ท่านเสียเองแล้ว การส่งจิตไปกำหนดภาพภายนอกจึงไม่จำเป็นนับแต่ขณะนั้นมา จากนั้นท่านกำหนดถือเอากายท่านเป็นที่ตั้งแห่งการพิจารณา ตามแต่ความถนัดและความแยบคายของสติปัญญา จะพิจารณากายให้เป็นไปในลักษณะใด ก็กำหนดเอาตามต้องการ ตอนนี้ท่านว่าสมาธิรู้สึกแน่นหนามั่นคงมาก เพราะอาศัยการพิจารณากายด้วยปัญญา จนจิตพักรวมลงเป็นสมาธิได้อย่างง่ายดาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คำบริกรรมภาวนาพุทโธที่เคยกำกับจิตมาดั้งเดิม ก็เริ่มปล่อยวางนับแต่วันปรากฏภาพนิมิตนั้นโดยชัดเจนแล้ว ท่านยึดนิมิตกับคำบริกรรมว่าอัฐิ ๆ เป็นอารมณ์ของใจแทนพุทโธ มีแต่การกำหนดและพิจารณาโดยความตั้งขึ้นแปรสภาพไปแตกไปแห่งกายอยู่ทุกอิริยาบถ เว้นแต่ขณะหลับเท่านั้น จนร่างกายท่านเองแม้มีอยู่ก็ได้กลายเป็นอากาศธาตุไปด้วยการพิจารณา จิตว่างเปล่าจากวัตถุมีกายเป็นต้น เพราะอำนาจแห่งสติปัญญาที่พิจารณาไม่ลดละปล่อยวาง สมาธิทุกขั้นก็ชำนาญ วิปัสสนาขั้นรูปธรรมก็ชำนาญและรวดเร็วทันใจ ท่านว่าวิปัสสนาขั้นนี้ทำจิตให้สว่างไสวมากน่าอัศจรรย์ ถ้าเป็นความสะเพร่าคอยหาแต่ความสุขสบาย ไม่ตระหนักในปัญญา คงจะติดจมอยู่กับความว่างเปล่านี้โดยไม่รู้ตัว ด้วยความเข้าใจว่านิพพานอย่างแน่นอน เพราะความเคยได้ยินจนฝังใจว่านิพพานคือความว่างเปล่านั่นเอง แต่หาทราบไม่ว่านิพพานนั้นว่างเปล่าในลักษณะใด เฉพาะความว่างเปล่าที่ปรากฏอยู่ขณะนี้มีอะไรแฝงอยู่บ้าง นั่นคือตัวกิเลสส่วนลึกลับของใจเราดี ๆ นี่เอง จะเป็นความว่างแห่งนิพพานมาแต่ที่ไหนกัน
    <o:p></o:p>
    แต่ก่อนจะผ่านรูปธรรมคือกายทั้งภายในภายนอกไปได้ ด้วยการพิจารณาโดยวิธีต่าง ๆ สติปัญญาต้องหมุนตัวอยู่กับกายแทบทุกเวลา นอกจากจิตผู้ทำการขุดค้นจนอ่อนเพลียเพราะการทำงานมากไป ก็เข้าพักสงบในสมาธิเสียชั่วระยะหนึ่ง พอถอนออกมาและมีกำลังแล้ว ก็ทำการพิจารณาคลี่คลายร่างกายอีกต่อไป โดยถือหลักไตรลักษณ์เป็นทางเดิน เพราะกายเป็นสิ่งสำคัญในวงปฏิบัติ ผู้พิจารณากายได้ละเอียดคล่องแคล่วเพียงไร ย่อมเป็นผู้องอาจกล้าหาญต่อปฏิปทาเครื่องดำเนินของตนเพียงนั้น เนื่องจากกายเป็นรวงรังของราคะตัณหามานะทิฐิส่วนหยาบ ๆ ทั้งหลาย ที่อาศัยอยู่อย่างเปิดเผยและออกหน้าออกตา บางรายถึงกับลืมตัวปล่อยให้แสดงออกมาอย่างหยาบโลน แม้ผู้มีกิเลสด้วยกันก็ทนดูไม่ได้ จนเกิดความสลดสังเวชเอือมระอาไปตาม ๆ กัน <o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ด้วยเหตุดังกล่าวมา นักปฏิบัติผู้มุ่งทำลายกิเลสด้วยใจจริง จำต้องสนใจต่อกายวิภาค จนเกิดความชำนิชำนาญและตัดราคะตัณหาไปได้ประจักษ์ใจเป็นทอดๆ เพราะกิเลสมานะทิฐิประเภทแสลงแทงใจตนและผู้อื่น มากกว่ากิเลสชนิดอื่นๆ นั้น มักเป็นกิเลสปากคอกที่คอยแสดงออกอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาศัยอุปาทานความยึดถือกายเป็นสำคัญ ท่านจึงสอนให้พิจารณากายคตาสติในสติปัฏฐานสี่ และอริยสัจสี่อันเป็นธรรมสำคัญในวงศาสนาให้มากจนหายสงสัย แล้วผ่านไปอย่างหมดเยื่อใย ท่านอาจารย์มั่นท่านชำนาญคล่องแคล่วในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมาก ท่านจึงแตกฉานในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกผิดนักปฏิบัติทั้งหลาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านว่าขณะที่ผ่านกายคตาไปได้แล้ว กามราคะก็หมดปัญหาไปในขณะเดียวกัน โดยไม่จำต้องถามใครให้เสียเวลา และแสดงความโง่งมงายของตนให้ผู้อื่นหัวเราะเปล่าๆ เพราะเป็นของมีอยู่กับตัวและสิ้นไปจากตัวคนเดียวกัน ด้วยความรอบคอบแห่งสติปัญญาขั้นนี้ เพียงขั้นราคะตัณหาตายหายซากไปจากใจก็เป็นอยู่สบาย ทรงตัวได้ ไม่เดือดร้อน เพราะราคะตัณหาประเภทกินไม่รู้จักอิ่มพอรบรวนกวนใจ กระซิบยุแหย่แผ่อำนาจบนหัวใจ ทำให้เป็นคนขี้ขลาดหวาดกลัวท้อแท้อ่อนแอต่อทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพาน ที่มีอยู่ในวงสัจธรรมและสติปัฏฐาน อันผู้ปฏิบัติจะพึงบรรลุได้ด้วยความเพียร
    <o:p></o:p>
    ก่อนกายจะหมดปัญหาในการพิจารณา ท่านว่ากายที่เราพิจารณาด้วยวิธีต่าง ๆ นั้น ได้รวมตัวเข้าสู่ใจดวงเดียว สังขารทั้งฝ่ายสมุทัยที่คิดว่าร่างกายเป็นของสวยของงามน่ารักใคร่ชอบใจมาดั้งเดิม และสังขารซึ่งเป็นฝ่ายมรรคที่คิดปรุงว่าร่างกายเป็นปฏิกูลน่าเกลียด เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ย่อมระงับตัวลงในขณะเดียวกันกับร่างกายภาพที่รวมตัวเข้าสู่ใจ สุภะความสวยงาม และอสุภะความไม่สวยงามจึงแยกตัวออก ปล่อยเป็นทางเดินของใจที่ก้าวผ่านไปในระหว่างแห่งธรรมทั้งสองนั้นอย่างหมดเยื่อใย ไม่มีนิมิตใดติดตามไปหลอกลวงว่าสวยงามและน่าเกลียดอีกต่อไป พิจารณาทีไรก็เห็นแต่จิตเป็นผู้แสดงกิริยาเป็นภาพอยู่ภายใน แล้วก็ดับไปอยู่เพียงเท่านั้น จากนั้นก็เป็นจิตว่างเปล่าจากวัตถุต่าง ๆ ทั้งร่างกายที่มีอยู่กับตัวและวัตถุต่าง ๆ ภายนอกที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีอะไรเป็นนิมิตเครื่องหมายว่าเป็นสุภะและอสุภะอีกดังที่เคยเป็นมา มีแต่ความสว่างไสว และเป็นจิตว่างจากสิ่งทั้งหลายอยู่ทั้งดวง และหมุนตัวอยู่ด้วยความใคร่ครวญโดยสติปัญญาเป็นเครื่องจักรผู้พาเดิน ลำดับต่อไปสิ่งที่เป็นเป้าหมายแห่งสติปัญญาที่จะทำหน้าที่ต่อไปก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นธรรมที่เกิดกับดับพร้อมอยู่กับใจ และอวิชชาซึ่งเป็นตัวเดิมแห่งกิเลสทั้งหลาย<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การพิจารณาปัจจยาการของท่านพระอาจารย์มั่น

    ท่านว่าปัจจยาการมีแยกเป็นสองนัย คือที่แสดงไว้ในตำรานั้น ท่านแสดงเป็นความเกี่ยวโยงแห่งความเจริญของอวิชชา หนึ่ง แสดงความดับไปโดยลำดับแห่งอวิชชาจนไม่เหลือหลอ หนึ่ง ถ้าเทียบก็เหมือนแบบแปลนแผนผังของบ้านเรือนที่ผู้จะปลูกบ้านสร้างอาคารใด ๆ จำต้องทำตามแปลนที่นายช่างทำเป็นแบบไว้แล้ว จนสำเร็จรูปเป็นบ้านเรือนขึ้นมา แม้การรื้อถอนบ้านเรือนจะไม่มีแปลนบอกไว้เหมือนวิธีการดับอวิชชาก็ตาม แต่ผู้รื้อถอนก็ย่อมคำนึงถึงวิธีการรื้อถอนด้วยสติปัญญาอันเป็นธรรมคู่ควรแก่เหตุผลด้วยดีก่อนทำการ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อวิชชาในตำราเป็นเพียงความบอกเล่าว่า อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ จนถึง สมฺภวนฺติ เป็นฝ่ายสมุทัยล้วน ๆ และการดับอวิชชาเพียงอันเดียว สังขาร วิญญาณ นามรูป ฯ ย่อมดับไปตาม ๆ กัน ไม่มีกิเลสตัวใดเหลืออยู่พอจะเป็นเชื้อแห่งภพชาติต่อไป อันเป็นฝ่ายนิโรธ ดังบทสุดท้ายแห่งอวิชชาว่า นิรุชฺฌนฺติ ทั้งฝ่ายส่งเสริมอวิชชาให้ติดต่อก่อแขนงกลายเป็นภพชาติ เป็นสัตว์เป็นบุคคล จนถึงความชราคร่ำคร่าและสลายไปในที่สุด ทั้งฝ่ายบำราบปราบปรามอวิชชาให้สิ้นไปจากใจ หมดการต่อภพต่อชาติ ดังท่านที่ทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการดับอวิชชามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น
    <o:p></o:p>
    ทั้งสองนัยนี้ท่านแสดงเรื่องหรือโครงร่างความเป็นไปของอวิชชา และการดับอวิชชาไว้เท่านั้น มิได้แสดงวิธีส่งเสริมอวิชชาว่าทำอย่างไร อวิชชาจึงมีกำลังกำเริบถึงกับพาสัตว์ให้เกิดตายไม่มีที่สิ้นสุดไว้ และมิได้แสดงวิธีการระงับดับอวิชชาว่าทำอย่างไร อวิชชาจึงถูกตัดกำลังลงโดยลำดับ จนดับไปจากใจโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถทำใจที่อวิชชาไปปราศแล้วให้เกิดตายต่อไปอีกได้ ในปัจจยาการที่แสดงไว้ก็มีเพียงเท่านี้ท่านว่า
    <o:p></o:p>
    ผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดอวิชชาให้สิ้นไป จำต้องยึดอริยสัจสี่หรือสติปัฏฐานสี่อันเป็นที่รวมแห่งอวิชชาเป็นทางดำเนิน ท่านเองว่าเมื่อจิตก้าวขึ้นสู่ความว่างเปล่าจากรูปธรรมทั้งหลายแล้ว ก็มีแต่ตามติดสังขารความปรุงของใจกับวิญญาณที่สัมผัสรับรู้จากสิ่งต่าง ๆ และเวทนาจิตที่แสดงผลให้ปรากฏจากการปรุงการรับรู้ทางวิญญาณ ด้วยสติกับปัญญาที่มีอยู่ในที่แห่งเดียวกันเท่านั้น เพราะสังขารก็ปรุงจากจิต วิญญาณก็รับทราบจากจิต ต่างก็ดับลงที่จิต เมื่อสติตามทันปัญญาค้นพบสาเหตุและวิพากษ์คลี่คลายทันกับเหตุการณ์ สิ่งเหล่านั้นย่อมกำเริบรุนแรงไปไม่ได้ การตามรู้สังขารวิญญาณว่าปรุงเรื่องอะไร รับทราบเรื่องอะไร เพียงเท่านั้นยังไม่สากับใจที่มีสติปัญญาอัตโนมัติเป็นพี่เลี้ยงอยู่ตลอดเวลาไม่เผลอตัว ยังสามารถขุดค้นลงถึงต้นตอที่เกิดแห่งสังขารและวิญญาณอีกว่าเกิดมาจากที่ไหน อะไรเป็นเครื่องผลักดันให้เกิดอยู่ไม่หยุดไม่ถอย ตัวที่ผลักดันนี้คือตัวอวิชชาแท้<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การพิจารณาอวิชชาเพื่อถอนรากถอนโคนจริง ๆ จึงอยู่ที่ตรงนี้ คือ ขุดค้นลงที่ใจอันเป็นเรือนรังของอวิชชาฝังจมอยู่นั่นแล จึงเห็นตัวอวิชชาแตกกระจายสลายตัวลงในขณะที่มหาสติมหาปัญญาเข้าถึงตัว นี้คือการพิจารณาอวิชชาแท้ และคือวิธีการถอดถอนอวิชชาออกจากใจตามทางมรรคทางผลที่พระศาสดาทรงสั่งสอนไว้แท้ ไม่เพียงไปอ่านแต่แบบแผนตำรับตำราแล้วก็มาถกเถียงกันจนตาดำตาแดงหาที่สิ้นสุดยุติมิได้ พอให้อวิชชารำคาญและหัวเราะเปล่า ๆ โดยไม่มีกิเลสแม้ตัวเดียวที่ถูกกระทบกระเทือนจากการถกเถียงกันพอผิวถลอกปอกเปิกไปบ้างเลย เราเป็นชาวพุทธที่มีศาสดาองค์เอกเป็นครูสั่งสอน จึงควรมีเหตุมีผลเป็นเครื่องตามเสด็จบ้าง อย่ามีแต่ทิฐิมานะความรู้ความเห็นดิ่งลงไปถ่ายเดียว ทำนองกิเลสบาปธรรมทั้งหลายอยู่ในตำรา แล้วก็มาถกเถียงกันแทนการแก้กิเลส สิ่งที่ได้รับจึงมักมีแต่ลมปากไม่มีเนื้อมีหนังติดมือมาบ้างเลย ถ้าเป็นทำนองนี้เรียนมากเท่าไรรู้มากเท่าไร ขึ้นเวทีโต้เถียงจัดเจนเพียงไร ก็ยิ่งเหลวไปเพียงนั้น ไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมายของปราชญ์ตามทางศาสดาและศาสนธรรมเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อวิชชาตัณหาจริง ๆ มันอยู่ที่ใจ สร้างโครงร่างขึ้นที่ใจคนใจสัตว์ และทำการระงับดับลงที่ใจเรานี่เท่านั้น ไม่มีที่อื่นเป็นที่เกิดและสร้างโครงร่างตลอดความดับของอวิชชาตัณหาทั้งมวล ขณะอวิชชาดับลงอย่างราบคาบแล้วนั่นแล จึงเห็นความโง่ความหลงงมงายของตัวของมนุษย์และของสัตว์ทั้งหลาย ที่อยู่ใต้อำนาจแห่งความบังคับทรมานของมัน ว่าแสนโง่แสนลำบากตลอดกาล แม้จะมีความสุขบ้างก็ชั่วขณะราวฟ้าแลบเท่านั้น แต่สัตว์โลกก็หลงพอใจกันและอยู่กันอย่างเพลิดเพลิน ไม่คิดถึงภัยว่าจะมีแก่ตัวหนักเบามากน้อยเพียงไร
    <o:p></o:p>
    คน ๆ เดียวกัน จิตดวงเดียวกัน เมื่อถูกขัดเกลาด้วยดีจนเต็มภูมิแล้ว ย่อมผิดกันอยู่มากยิ่งกว่าฟ้ากับดิน จิตที่พ้นจากอำนาจอวิชชานั้นเป็นจิตที่ไม่อยู่ในขอบเขตแห่งข้อบังคับของสิ่งใดในโลกสมมุติ เป็นจิตที่ทรงอิสระสุดส่วน เกินความคาดหมายที่จะด้นเดาได้ถูก นั่นแลที่ท่านเรียกว่าแดนแห่งความเกษมสำราญ เป็นภูมิของท่านผู้ทรงอำนาจเหนือสมมุติทรงไว้และเสวยกัน ถ้าอยากรู้อยากเห็นก็อย่าพากันขี้เกียจอันเป็นเหยื่อล่อของกิเลสตัณหาอวิชชาทั้งมวล เราเป็นภิกษุบริษัทที่พร้อมแล้วทุกอย่าง จงพากันตื่นตัว อย่ามัวเอากิเลสออกอวดกัน ด้วยอากัปกิริยาที่ขัดต่อธรรมเครื่องนำออกจากกองทุกข์ จะเสียชาติที่เกิดซึ่งเป็นภาชนะที่เหมาะแก่ศาสนธรรมอยู่แล้ว ในชาติและเพศที่เป็นอยู่ขณะนี้
    <o:p></o:p>
    พอท่านแสดงอวิชชาจบลง แทนที่จะเมตตาฝากของดีแห่งผลที่เกิดจากการถอดถอนอวิชชาคือวิชชาวิมุตติให้เพียงเท่านั้น ยังเมตตาฝากธรรมเผ็ดร้อนแก่บรรดาศิษย์ให้เป็นที่ระลึกไม่ลืมอีกวาระหนึ่ง ทำให้จดจำได้ดี ดังที่นำมาเขียนให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้อ่านอยู่ขณะนี้ ปกตินิสัยท่าน ถ้าลงได้พูดธรรมขั้นสูง กิริยาท่าทางต้องแสดงความเข้มข้นออกมาตามธรรมขั้นนั้น ๆ จนผู้ฟังที่ยังไม่เคยชินต่อนิสัยท่านต้องตกใจกลัวในเวลานั้น โดยคิดว่าท่านดุด่าเฆี่ยนตีด้วยวาทะ ความจริงเพราะอำนาจแห่งธรรมเป็นพลัง สามารถยังกิริยาท่านให้แสดงออกในลักษณะนั้นต่างหาก พอแสดงธรรมจบลงกิริยาก็เป็นปกติทันทีราวกับไม่เคยแสดงอย่างนั้นมาก่อนเลย บางครั้งยังมีความขบขันและเสียงหัวเราะแทรกออกมากับกิริยาเผ็ดร้อนนั้นด้วยก็มี จึงไม่มีใครสามารถดูนิสัยท่านออกเป็นความจริงได้เลย<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การอธิบายอวิชชาของท่านก็ทำนองที่นำมาลงให้ท่านได้อ่านอยู่เวลานี้ ส่วนความหลุดพ้นจากอวิชชาตามที่ท่านเล่าให้ฟัง รู้สึกกว้างขวางพิสดารจับใจอย่างยิ่ง แต่นำมาลงเฉพาะเนื้อความที่เห็นว่าเหมาะกับเรา ๆ ท่าน ๆ ที่อยู่ในฐานะแห่งการศึกษา ถ้าลึกมากนักก็อาจไม่เข้าใจ การอ่านก็เสียเวลาไปเปล่า ไม่ค่อยเกิดประโยชน์เท่าที่ควร
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การอบรมสั่งสอนของท่านไม่มีตารางสอน ไม่มีแผนผัง ไม่มีหลักสูตร ไม่มีหลักวิชาแน่นอนตายตัวว่า เวลานั้นสอนหลักสูตรนั้น เวลานั้นสอนวิชานั้น กลุ่มนี้ต้องสอนสูตรนี้ คณะนี้ต้องสอนวิชานี้ เวลานั้นฝึกแบบนั้น เวลานั้นฝึกแบบนี้ เวลานั้นฝึกกายกรรม เวลานั้นฝึกวจีกรรม เวลาโน้นฝึกมโนกรรม เวลานั้นออกกำลังด้วยท่าต่าง ๆ ดังที่โลกฝึกทำกัน แต่ท่านถือธรรมวินัยที่เป็นหลักตายตัวอยู่แล้วเป็นแบบฝึกหัดอบรมสานุศิษย์ แล้วแต่ท่านผู้ใดชอบธรรมบทใด ก็นำธรรมบทนั้นไปปฏิบัติตามอัธยาศัย ใครมาเรียนถามตามภูมิจิตภูมิธรรมที่ปรากฏจากจิตตภาวนาของตน ท่านก็อธิบายให้ฟังเป็นตอนๆ และเป็นรายๆ ไป โดยไม่อัดไม่อั้นในการสงเคราะห์ด้วยอรรถธรรมภายในใจ นอกจากไม่มีผู้มาศึกษา
    <o:p></o:p>
    เมื่อถึงวันประชุมอบรมพระเณร ท่านแสดงธรรมทางภาคปฏิบัติเป็นกลาง ๆ เริ่มแต่ธรรมขั้นต่ำคือวิธีฝึกอบรมสมาธิขึ้นไปโดยลำดับ เพื่อผู้ฟังที่มีภูมิต่างกันจะได้รับประโยชน์จากการอบรมโดยทั่วถึง การถามปัญหาก็ไม่มีจำกัด ตามแต่ผู้มาอบรมจะมีธรรมข้อข้องใจสงสัยในแง่ใด โดยไม่นิยมว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับภายนอก เช่น เปรตผี เทวบุตรเทวดา เป็นต้น หรือภายในเกี่ยวกับสมาธิหรือปัญญาขั้นใด ท่านย่อมชี้แจงให้ฟังเป็นเรื่อง ๆ และเป็นราย ๆ ไปตามโอกาสที่ควร ผู้เขียนจึงรู้สึกเสียดายที่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ไม่มีโอกาสได้เข้าใกล้ชิดสนิทองค์ท่านเมื่อเวลาท่านยังมีชีวิตอยู่ จะได้พบเห็นท่านประจักษ์ตาและฟังธรรมท่านอย่างถึงใจหายสงสัย ไม่ต้องมาลังเลคาดเดาภาพและกิริยาอาการท่านในลักษณะต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่เวลานี้
    <o:p></o:p>
    เพราะคนเราโดยมากมีความรู้สึกคล้ายคลึงกัน และมีเหตุผลเป็นที่รับฟังและยินยอม เมื่อได้ฟังธรรมท่านทั้งภายนอกภายในที่เต็มไปด้วยเหตุผลและน่าฟังน่าเชื่อ ย่อมจะไม่มีท่านผู้ใดกล้าฝืนใจไปเชื่อความคาดคะเนด้นเดา ที่ไม่มีเหตุผลแฝงอยู่บ้างเลย ว่าเป็นความจริงหรือไม่จริงตามใจชอบอย่างเลื่อนลอย เพราะท่านอาจารย์มั่นท่านปฏิบัติด้วยเหตุผลล้วน ๆ เสมอมา แม้เวลารู้ก็น่าจะรู้ด้วยเหตุผลที่ควรจะรู้ ด้วยหลักปฏิบัติทางใจ การระบายความรู้นั้น ๆ ออกมา จึงมีเหตุผลตามมาด้วยเสมอ ไม่เคยเห็นท่านพูดออกมาอย่างลอย ๆ เลย ท่านผู้ไปศึกษาอบรมจากท่านจึงมักเชื่อท่านอย่างฝังใจในธรรมทุกประเภทแม้ตนยังไม่รู้ เนื่องจากธรรมนั้นมีเหตุผลเป็นที่เชื่อถือได้<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สำหรับผู้เขียนไม่อาจยกยอตนว่าเก่งว่าดีในแง่ใด ๆ เลย นอกจากจะกล้าตำหนิตนอย่างไม่สะทกสะท้านมาเป็นประจำ เพราะสิ่งที่ควรตำหนินั้นมีอยู่ในหัวใจแทบล้นฝั่งก็ว่าได้ สิ่งนั้นคือทิฐิมานะที่ไม่ยอมลงใครเอาง่าย ๆ ถ้าไม่ได้ต่อสู้จนสุดกำลังทิฐิที่มีอยู่เสียก่อน เมื่อเห็นท่าจะสู้ไม่ได้จริงถึงได้ยอมลง เพราะหมดหนทางต่อสู้ สำหรับท่านอาจารย์มั่นที่ผู้เขียนเคารพเทิดทูนอยู่เวลานี้ ก่อนหน้าจะก้มลงกราบแบบบุคคลผู้สิ้นท่า ก็ได้เห็นได้ฟังท่านมานานพอสมควร และได้ต่อสู้ท่านตามนิสัยคนที่มีทิฐิจัด จนบางครั้งราวกับวัดจะแตกพระเณรจะร้างวัด เมื่อได้ยินเสียงจิ้งหรีดกับพญาราชสีห์โต้วาทีกันบนกุฏีท่านอย่างเอาเป็นเอาตาย ด้วยเหตุผลที่ตนเข้าใจว่าถูก ซึ่งสุดท้ายผู้เขียนที่เทียบกับจิ้งหรีดที่หมดฤทธิ์ ก้มกราบและยอมตนเป็นที่เช็ดเท้าให้ท่านดุด่าเฆี่ยนตีตามอัธยาศัย หากท่านผู้อ่านได้เห็นท่านแสดงออกทางมารยาทในอิริยาบถต่าง ๆ และได้ฟังสำเนียงการแสดงธรรมอบรมราวกับราชสีห์ที่กังวานด้วยอัจฉริยธรรมในแง่ต่างๆ ก็น่าจะมีความรู้สึกอัศจรรย์ภายในใจ เช่นเดียวกับท่านที่เคยฟังมาแล้วจำนวนมาก คงไม่สงสัยวิพากษ์วิจารณ์นิมิตภาพและอากัปกิริยาตลอดความรู้ธรรมแง่ต่าง ๆ ของท่านให้เป็นการกังวลใจ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านที่ประสงค์อยากทราบปฏิปทาเครื่องดำเนินของท่านโดยสังเขป ที่ผู้เขียนมิได้อธิบายไว้โดยกว้างขวางละเอียดลออ ทั้งธรรมขั้นต่ำ ขั้นกลาง และขั้นสูง ก็กรุณาตามอ่านเรื่องท่านที่นำมาลงนี้ คิดว่าจะพอเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติสำหรับท่านที่สนใจได้พอสมควร ถ้าจะลงให้พิสดารมากไป ก็เกรงจะฟั่นเฝือเหลือกำลังจะคิดค้นและปฏิบัติตามได้ เนื่องจากความรู้ทางสมาธิก็ดี ทางปัญญาก็ดี ความวิมุตติหลุดพ้นก็ดีของท่าน รู้สึกว่ากว้างขวางพิสดารเกินกว่าภูมิของเราทั้งหลายจะสามารถติดตามท่านได้ทุกแง่ทุกมุม จึงควรยุติปฏิปทาท่านไว้แค่กำลังของผู้เขียนเพียงเท่านี้ ผิดถูกประการใด หวังว่าคงได้รับความกรุณาอภัยจากท่านผู้อ่านโดยทั่วกัน<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...