ปรมัตถธรรม 4 คืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แปะแปะ, 26 พฤศจิกายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ต่อไปนี้จะแสดงการประกอบโดยเฉพาะๆ ของเจตสิก ที่มีสภาพเกิดพร้อมกับจิตเมื่อจิตเกิดขึ้นตามที่ประกอบได้
    อกุศลเจตสิก 14
    [​IMG]
    โมหะ, อหิริกะ, อโนตตัปปะ, อุทธัจจะ,
    โลภะ, ทิฏฐิ, มานะ,
    โทสะ, อิสสา, มัจฉริยะ, อุทธัจจะ,
    ถีนะ, มิทธะ,
    วิจิกิจฉา,




    อกุศลจิต 12 มี วิจิกิจฉาเจตสิกประกอบ 1 ดวง คือ
    โมหมูลจิตดวงที่ 1
    OOOO
    OOOO
    OO
    OO
    OOOOOOO
    OOOOOOOO
    OOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    .........OOOO
    .........OOOO
    .........OOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สัมปโยคนัยโสภณเจตสิก 25
    [​IMG]
    โสภณสาธารณเจตสิก 19 ประกอบได้ในโสภณจิตทั้งหมด 59 หรือ 91


    OOOO
    OOOO
    OO
    OO
    OOOOOOO
    OOOOOOOO
    OOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    .........OOOO
    .........OOOO
    .........OOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  3. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สัมปโยคนัยโสภณเจตสิก 25
    [​IMG]
    วิระตีเจตสิก 3 ประกอบกับจิต 16 หรือ 48 คือ
    มหากุศลจิต 8
    โลกุตรจิต 8 หรือ 40


    OOOO
    OOOO
    OO
    OO
    OOOOOOO
    OOOOOOOO
    OOO
    OOOO]
    OOOO]........วีระตี 3 ประกอบในมหากุศลจิต จะประกอบได้ที่ละดวงไม่พร้อมกัน
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    .........OOOO
    .........OOOO
    .........OOOO
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO].............วีระตี 3 ประกอบในโลกุตรจิต จะประกอบได้พร้อมกันทั้ง 3 ดวง
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2011
  4. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สัมปโยคนัยโสภณเจตสิก 25
    [​IMG]


    อัปปมัญญาเจตสิก 2 ประกอบได้ในจิต 28 คือ
    มหากุศลจิต 8
    มหากิริยาจิต 8
    รูปาวจรจิต 12 (เว้นปัญจมฌานจิต 3)
    OOOO
    OOOO
    OO
    OO
    OOOOOOO
    OOOOOOOO
    OOO
    OOOO]
    OOOO].......อัปปมัญญา 2 ประกอบได้ที่ละดวงๆใดเกิดขึ้น อีกดวงหนึ่งก็ไม่เกิด
    OOOO
    OOOO
    OOOO]
    OOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]
    .........OOOO
    .........OOOO
    .........OOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO
    OOOOO<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2011
  5. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สัมปโยคนัยโสภณเจตสิก 25
    [​IMG]
    ปัญญาเจตสิก ประกอบได้ในจิต 47 หรือ 79 คือ
    มหากุศลญาณสัมปยุตจิต 4
    มหาวิบากญาณสัมปยุตจิต 4
    มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต 4
    มหัคคตจิต 27
    โลกุตรจิต 8 หรือ 40


    OOOO
    OOOO
    OO
    OO
    OOOOOOO
    OOOOOOOO
    OOO
    OOOO]
    OOOO]
    OOOO]
    OOOO]
    OOOO]
    OOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]
    .........OOOO]
    .........OOOO]
    .........OOOO]....ปัญญินทรีย์
    OOOOO............อนัญญาตัญญัสสามิตินทรีย์
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]...........อัญญินทรีย์
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO]
    OOOOO.............อัญญาตาวินทรีย์<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2011
  6. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อนิยตโยคีมี 11 ดวง
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    นานากทาจิเจตสิก มี 8 ดวง คือ อิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, กรุณา, มุฑิตา,
    กทาจิเจตสิก มี 1 ดวง คือ มานะ,
    สหกทาจิเตสิก มี 2 ดวง คือ ถีนะ, มิทธะ,
    รวม 11 ดวง<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อนิยตโยคี และ นิยตโยคีเจตสิก

    อิสฺสามจฺเฉรกุกกุจฺจ วิรตีกรุณาทโย
    นานา กทาจิ มาโน จ ถินมิทฺธํ ตถา สห
    ยถาวุตฺตานุสาเรน เสสา นิยตโยคิโน
    สงิคหญฺจ ปวกฺขามิ เตสํ ทานิ ยถารหํ

    อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ กรุณา มุฑิตา
    รวมเจตสิก 8 ดวงนี้ ประกอบได้เป็นบางครั้งบางคราว และไม่ประกอบพร้อมกัน ชื่อว่า นานากทาจิเจตสิก

    มานะก็ประกอบได้เป็นบางครั้งบางคราว ชื่อว่า กทาจิเจตสิก

    ถีนะ มิทธะ ทั้ง 2 ดวงนี้ ประกอบได้เป็นบางครั้งบางคราวแต่พร้อมกัน ชื่อว่า สหกทาจิเจตสิก

    เจตสิก 41 ดวงที่เหลือจาก 11 ดวงนี้ เป็นเจตสิกที่ประกอบได้แน่นอน ชื่อว่า นิยตโยคีเจตสิก
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2011
  8. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    นิยตโยคีเจตสิก หมายความว่า เจตสิกที่ประกอบได้แน่นอน
    ขยายความ ว่า ประกอบกับจิตได้แน่นอน หมายความว่า เมื่อจิตประเภทนั้นๆเกิดขึ้นคราใด
    จะต้องมีเจตสิกดวงนี้ประกอบด้วยเสมอ ขาดเสียมิได้ จึงเรียกเจตสิกนี้ว่านิยตโยคีเจตสิก
    ยกตัวอย่าง เช่น
    โลภเจตสิกและทิฏฐิเจตสิก เมื่อโลภะมูลจิตดวงที่ 1.2.5.6. เกิดขึ้น
    ต้องมีโลภเจตสิกและทิฏฐิเจตสิกประกอบด้วยเสมอดังนี้เป็นต้น

    อนิยตโยคีเจตสิก หมายความว่า เจตสิกที่ประกอบได้ไม่แน่นอน
    ขยายความ คำว่า ประกอบกับจิตได้ไม่แน่นอน หมายความว่า เมื่อจิตประเภทนั้นๆเกิดขึ้น
    อาจมีเจตสิกนี้ประหรือไม่ก็ได้ คือบางครั้งก็ประกอบ บางครั้งก็ไม่ประกอบ จึงเรียกเจตสิกนี้ว่า อนิยตโยคีเจตสิก
    ยกตัวอย่างเช่น
    มานะเจตสิกเป็นอนิยตโยคีเจตสิก เมื่อโลภมูลจิตดวงที่ 3.4.7.8. เกิดขึ้น
    บางครั้งก็มีมานะเจตสิกประกอบ บางครั้งก็ไม่มีมานะเจตสิกประกอบ แล้วแต่ขณะนั้นมีความเย่อหยิ่งถือตัวหรือไม่ดังนี้เป็นต้น​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  9. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อนิยตโยคีเจตสิกแบ่งออกเป็น 3 พวก คือ​
    1. นานากทาจิเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบได้บางครั้งบางคราวและไม่ประกอบพร้อมกัน มี 8 ดวง คือ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วีรตี 3 อัปปมัญญา 2
    2. กทาเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบได้เป็นบางครั้งบางคราว มี 1 ดวง คือ มานะ
    3. สหกทาจิเจตสิก เป็นเจตสิกที่ประกอบได้เป็นบางครั้งคราวแต่พร้อมกัน มี 2 ดวง คือ ถีนะ มิทธะ​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]


    อนิยตโยคีเจตสิกโดยแน่นอน มี 8 ดวง คือ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ อัปปมัญญา 2 มานะ ถีนะ มิทธะ
    อนิยตโยคีเจตสิกไม่แนอน มี 3 ดวง คือ วีระตี 3
    นิยตโยคีเจตสิกโดยแน่นอน มี 41 ดวง
    นิยตโยคีเจตสิกไม่แน่นอน มี 3 ดวง คือ วีรตี 3


    วิรตี 3 ขณะประกอบในมหากุศลจิต เป็นนานากทาจิเจตสิก คือ ประกอบเป็นบางครั้งบางคราวและไม่พร้อมกัน
    หมายความว่า ขณะกุศลจิตดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น อาจมีวีรตีเจตสิกประกอบหรือไม่ประกอบก็ได้แล้วแต่
    ว่ามีวีรมิตัพพวัตถุที่พึงงดเว้นหรือเปล่า ถ้ามีวิรตัพพวัตถุที่พึงงดเว้นอยู่เฉพาะหน้า ก็มีวิรตีเจตสิกเกิดขึ้น
    ทำให้งดเว้นความชั่วได้ ถ้าไม่มีวิรตัพพวัตถุอยู่ เฉพาะหน้า วิรตีก็ไม่เกิด
    ถ้าวิรตีเจตสิกเข้าประกอบก็ประกอบที่ละดวง จะประกอบพร้อมกันทั้ง 3 ดวงพร้อมกันไม่ได้​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  11. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย ผัสสะ
    คำว่า ผัสสะ มีวจนัตถะว่า ผุสฺตีติ ผสฺโส แปลว่า สภาวธรรมอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีความหมายว่า กระทบดังนี้.

    ก็ผัสสะนั้น มีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ เป็นความจริงว่าผัสสะนี้ แม้ว่าเป็นนามธรรม ก็เป็นไปโดยการกระทบอารมณ์นั่นเอง พึงเห็นว่า
    เป็นดุจการที่อีกคนหนึ่งเห็นอีกคนหนึ่งเคี้ยวของเปรี้ยวแล้วเกิดน้ำลายสอขึ้น ฉะนั้น ทั้งๆที่ของเปรี้ยวนั้นมิได้มากระทบ คือจรดถึงลิ้นของตนเลยก็ตาม

    ก็ผัสสะนี้ มีการประสานวัตถุมีจักขุวัตถุเป็นต้น และอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นเข้าด้วยกัน เหมือนอย่างที่พระนาคเสน กระทำอุปมาไว้ใน มิลินทปัญหา ว่า "ขอถวายพระพร มหาบพิตร เปรียบเหมือนแพะ 2 ตัว ที่ชนกัน พึงเห็นจักษุเหมือนแพะตัวที่ 1 พึงเห็นรูปเหมือนแพะตัวที่ 2 พึงเห็นผัสสะเหมือนการชนกันแห่งแพะ 2 ตัวนั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์ลักษณะ และมีการประสานกันไว้เป็นกิจ ขอถวายพระพร อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างฝ่ามือ 2 ข้าง ที่ประสานกัน พึงเห็นจักษุเหมือนฝ่ามือข้างที่ 1 พึงเห็นรูปเหมือนฝ่ามือข้างที่ 2 พึงเห็นผัสสะเหมือนการประสานฝ่ามือทั้ง 2 ข้างนั้น ผัสสะมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ และมีการประสานกันไว้เป็นกิจ" ดังนี้ คำว่า "การกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ" มีความหมายว่า ผัสสะ ดังนี้

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่าดังนี้ "จกฺขุญฺจ ปฏิจฺจ รูเป จ อุปปชฺชติ จกฺขุวิญฺญาณํ ติณฺณํ สงฺคติ ผสฺโส" แปลว่า "อาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น ชื่อว่ามีผัสสะ เพราะมีความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม 3 อย่าง" ดังนี้ อธิบายว่าความพร้อมเพรียงกันคือ ความประชุมกันแห่งธรรม 3 อย่าง คือ จักษุ รูป จักขุวิญญาณ ในคราวที่มีรูปมาถึงคลองจักษุแล้วเกิดจักขุวิญญาณขึ้นนั้นเอง แสดงว่ามีผัสสะ (ท่เรียกว่า จักขุสัมผัสสะ) เกิดขึ้นแล้ว ถ้าหากว่ารูปมาถึงคลองจักษุแล้ว แต่จักขุวิญญาณก็ยังไม่เกิดขึ้น ก็ชื่อว่ายังไม่มีผัสสะ (ที่เรียกว่าจักขุสัมผัสสะ) เกิดขึ้น จักขุวิญญาณที่เกิดขึ้น จึงนับว่า เป็นธรรมชาติที่รับรองว่ามีผัสสะเกิดขึ้น ผัสสะที่เกิดขึ้นกับจักขุวิญญาณ ชื่อว่า ทำหน้าที่ประสานจักษุและรูปารมณ์ เข้าด้วยกันคือ ทำให้ประจวบกัน เผชิญหน้ากัน แม้ทางทวารที่เหลือ มีโสตทวาร เป็นต้น ก็ทำนองนี้<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย เวทนา
    คำว่า เวทนา มีวจนัตถะว่า เวเทยติ อาลมฺพนฺรสํ อนุภวตีติ เวทนา แปลว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่งชื่อว่า เวทนา เพราะมีความหมายว่า รู้สึก คือ เสวยรสของอารมณ์ดังนี้ เวทนานั้น มีความเป็นไปโดยอาการที่เสวยเป็นลักษณะ จิตเจตสิกธรรมอื่นๆ ที่เหลือ เมื่อเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์เพราะเหตุที่เป็นนามธรรม ก็นับว่ามีส่วนเสวยรสของอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่เพราะลักษณะที่เป็นของเพาะตนอย่างอื่น หรือมุ่งทำกิจอย่างอื่น เช่น กระทบอารมณ์ เป็นต้น อาการที่เสวยรสของอารมณ์จึงไม่ปรากฎเด่นชัดออกหน้า ส่วนเวทนานี้ เพราะมิได้มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นอย่างอื่น หรือมุ่งทำกิจอย่างอื่นที่นอกไปจากการเสวยรสของอารมณ์ อาการที่เสวยรสของอารมณ์นั้นแหละ จึงปรากฎชัดออกหน้า คือเสวยได้เต็มที่ การเสวยรสของอารมณ์ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นลักษณะเฉพาะตัวของเวทนาเท่านั้น ความว่า เวทนามีความเป็นใหญ่ในการเสวยรสของอารมณ์ยิ่งกว่าจิตและเจตสิกธรรมอื่นๆ ข้อนี้แหละที่เป็นเหตุให้เจตสิกตัวนี้ชื่อว่า "เวทนา"

    ขยายความอีกน่อยหนึ่งว่า เป็นความจริงว่า จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลายอย่างอื่นๆ ที่ประกอบร่วมกัน แม้ถึงฐานะเสวยรสของอารมณ์ได้ ก็เสวยได้แต่เพียงส่วนหนึ่งเท่นั้น ไม่เต็มที่ กล่าวคือ ผัสสะได้ชื่อว่าเสวย ก็เพราะเหตุสักว่ากระทบอารมณ์เท่าน สัญญาได้ชื่อว่าเสวย ก็เพราะเหตุสักว่าจำอารมณ์ได้เท่านั้น เจตนาได้ชื่อว่าเสวย ก็เพราะเหตุสักว่าจงใจในอารมณ์เท่านั้น จิตได้ชื่อว่าเสวย ก็เพราะเหตุสักว่ารู้อารมณ์เท่านั้น อย่างนี้เป็นต้น จิตและเจตสิกธรรมเหล่านี้ จึงจัดว่ามิไดเป็นใหญ่ในการเสวยรสของอารมณ์ ส่วนเวทนาย่อมเสวยรสของอารมณ์เต็มที่ เพราะมีความเป็นเจ้าของมีความเป็นใหญ่ มีอำนาจในการเสวยนั้น

    เปรียบเหมือนว่า นายวิเสท (พ่อครัว) ปรุงโภชนะรสเยี่ยมต่างๆแล้วใส่ลุ้งประทับตรานำไปวางไว้ในสำนักพระราชา ถึงเวลา พนักงานผู้ตรวจสอบก็มาแกะตราออกเปิดรุ้ง ตักเอาแต่ส่วนเยี่ยมๆ แห่งแกงกับทั้งหมดใส่ภาชนะ แล้วชิมเพื่อตรวจสอบว่า มีโทษหรือไม่มีโทษ ว่ามีรสที่ทรงโปรดปรานหรือไม่ทรงโปรดปรา จากนั้นจึงนำโภชนะที่รสต่างๆ นั้น เข้าไปถวายพระราชา อันว่าพระราชา เพราะทรงเป็นเจ้าของ มีความเป็นใหญ่ มีพระราชอำนาจในการเสวยโภชนะเหล่านี้ จึงไม่สักแต่ว่าทรงชิมพอรู้รสเท่านั้น ทว่าเสวยได้เต็มที่ตามพระราชประสงค์ฉันใด แม้เวทนา เพราะมีความเป็นเจ้าของ มีความเป็นใหญ่ มีอำนาจในการเสวยรสของอารมณ์ จึงเสวยอารมณ์ได้เต็มที่ไม่มีพร่อง ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงดื่มด่ำในอารมณ์ ถึงความเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อุเบกขาบ้าง ตามสมควรแก่ประเภทของอารมณ์มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ก็การเสวยอารมณ์แห่งจิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่น เปรียบเหมือนการชิมรสโภชนะสักว่าพอรู้รสแห่งพนักงานผู้ตรวจสอบ หรือแม้แห่งนายวิเสทผู้มุ่งปรุงรสให้ตรงตามที่ทรงโปรดปราน ส่วนการเสวยรสของเวทนาเจตสิก เปรียบเหมือนการเสวยโภชนะเยี่ยมแห่งพระราชานี้แล.

    ส่วนการแบ่งประเภทแห่งเวทนาเป็น 3 อย่าง คือ สุข ทุกข์ อทุกขมสุข (อุเบกขา)
    หรือ 5 อย่าง คือ สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา นั้นจักกล่าวในต่อไป
     
  13. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]

    อธิบาย สัญญา
    คำว่า สัญญา มีวจนัตถะว่า นีลาทิเภทารมฺมณํ สญฺชานาติ สญฺญํ กตฺวานาตีติ สญฺญา แปลว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่งชื่อว่าสัญญา เพราะมีความหมายว่าจำอารมณ์อันต่างกันด้วยมีสีเขียว สีขาวเป็นต้น คือทำเครื่องหมายรู้ สัญญามีลักษณะอย่างนี้แหละ ก็สัญญานั้น มีการทำอาการที่แปลกไปในอารมณ์นั้นให้เป็นนิมิต คือเป็นเครื่องหมาย เพื่อการกลับมารู้ภายหลังได้อีก ดุจช่างไม้กระทำรอยขีดไว้บนไม้เพื่อเป็นเครื่องหมายรู้ภายหลังคือกาลต่อมาภายหลังได้อีกว่า "นี้ด้านบน นี้ด้านล่าง" หรือว่า"เราต้องถากไม้จนถึงรอยขีดนี้เท่านั้น ไม่เลยรอยขีดนี้ไป" ดังนี้

    ดุจบุคคลอาศัยไฝดำบนใบหน้าของคนๆหนึ่ง กระทำให้เป็นเครื่องหมายสำหรับการจำได้ภายหลังว่า ผู้นี้คือคนชื่อนั้น ดังนี้ และดุจขุนคลังผู้จำเครื่องประดับที่แตกต่างกันของพระราชาได้แล้ว เมื่อได้สดับรับสั่งของพระราชาว่า "จงนำเครื่องประดับชนิดนี้มา" ดังนี้ ก็เข้าไปในห้องเก็บเครื่องประดับชนิดนั้นออกมา เพราะได้อาศัยลักษณะที่แตกต่างไปจากเครื่องประดับชนิดอื่น เป็นเครื่องหมายให้จำได้ ฉะนั้น

    สัญญาที่เกิดก่อนย่อมจำอารมณ์ และทำอาการ มีสีสัณฐาน เป็นต้น ให้เป็นเครื่องหมายเพื่อการจำได้แห่งสัญญาอื่นๆที่เกิดภายหลัง บัณฑิตพึงทราบว่า บุคคลจะจำได้ตามเครื่องหมายนั้นได้ ก็ด้วยการอาศัยสัญญาในชวนจิตที่เป็นกุศล อกุศล และกิริยาเป็นประธาน ก็เพราะเหตุสักต่ว่าจำไปตามการที่ได้ทำสี สัณฐาน เป็นต้น ให้เป็นเครื่องหมายไว้อย่างเดียวเท่าน้น จึงเป็นความรู้สักแต่ว่าจำ ไม่มีการแทงตลอดสภาวธรรมที่เป็นอารมณนั้น ตามความเป็นจริง การจำแห่งสัญญานั้นจึงมีโอกาสคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงถึงเป็นสัญญาวิปลาสได้ ดุจสัญญาของลูกโค ที่จำคือสำคัญหุ่นหญ้าที่เขาผูกไว้ซึ่งไม่ใช่คนเลยสำคัญว่า "คน" ฉะนั้น
     
  14. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย เจตนา
    คำว่า เจตนา มีวจนัตถะว่า เจเตติ อตฺตนา สมฺปยุตฺตธมฺเม อารมฺมเณ อภิสนฺทหติ สงฺขตาภิสงฺขรเณ วา พฺยาปารมชฺชตีติ เจตนา แปลว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่งชื่อว่าเจตนา เพราะมีความหมายว่าจงใจ ดังนี้ จัดแจงธรรมทั้งหลายที่ประกอบร่วมันกับตนไว้เป็นอารมณ์ อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า เจตนา เพราะมีความหมายว่า ถึงความพยายามปรุงแต่งในสังขตธรรม

    เจตนานั้น เมื่อเป็นไปในอารมณ์ ย่อมจงใจคือ จัดแจงให้สัมปยุตธรรมได้เป็นไปในอารมณ์ โดยอาการของตนๆ ดุจกล่าวอยู่ว่า"ท่านจงถือเอา ท่านจงถือเอา" เช่นว่า จัดแจงให้ผัสสะได้เป็นไปในอารมณ์ โดยอาการ คือการกระทบอารมณ์ จัดแจงให้เวทนาได้เป็นไปในอารมณ์ โดยอาการที่เสวยอารมณ์ เป็นต้น

    เปรียบเหมือนว่าหัวหน้าศิษย์ เมื่อตนเองสวดสาธยาย การสวดสาธยายของตนย่อมยังศิษย์ผู้น้อยให้พลอยสวดสาธยายไปพร้อมๆกันกับตน ฉันใด อนึ่งเปรียบเหมือนว่า นายช่างใหญ่ลงมือถากไม้ การลงมือถากไม้ของตน ย่อมยังช่างผู้น้อยนอกนี้ ให้ประกอบการงานของตน มีการถากไม้เป็นต้น เจตนาเมื่อเป็นไปในอารมณื ก็ย่อมเป็นไปโดยอาการที่ยังธรรมที่เกิดร่วมกับตนได้เป็นไปในอารมณ์ โดยอารของตนๆ หรือยังให้เป็นไปในหน้าที่ของตนๆ ฉันนั้น เพราะว่าเมื่อมีเจตนาได้ปรารภกิจของตนแล้วแม้ธรรมเหล่านั้นก็ปรารภกิจของตนๆตามเจตนานั้น

    อนึ่ง เจตสิกธรรมทั้งหลาย 50 อย่าง เว้นเวทนาและสัญญา ได้ชื่อว่าสังขารขันธ์ ก็เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม (ธรรมที่ปัจจัยพร้อมเพรียงกันสร้างขึ้น) ก็แต่ว่า ในบรรดาธรรมเหล่านั้น เจตนานั่นเองเป็นประธานในการปรุงแต่งเพราะเหตุที่ธรรมเหล่านั้นเป็นไปในอารมณ์โดยอาการของตนๆ ได้ก็เพราะการจัดแจงแห่งเจตนาอีกทีหนึ่ง เพราะเหตุนั้น ใน สุตตันตภาชนีย์ ในธัมมสังคณี พระผู้มีพระภาค ในวาระแห่งทรงแสดงขันธ์ 5 ครั้นได้ตรัสความหมายของคำว่า "สังขารขันธ์" อย่างนี้ว่า "ชื่อว่า สังขาร เพราะมีความหมายว่า ปรุงแต่งสังขตธรรม" ดังนี้ แล้วก็ทรงแสดงไขเฉพาะเจตนาเท่านั้น ไว้อย่างนี้ว่า "ได้แก่เจตนาอันเกิดจากจักขุสัมผัสสะ" ดังนี้เป็นต้น

    ก็เจตนา ถึงความเป็นสังขาร นับเนื่องเข้าในสังขารขันธ์ ก็เพราะมีลักษณะที่ปรุงแต่งสังขตธรรม 2 ประการดังนี้ :-
    1. ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ จัดแจงให้ธรรมที่เกิดร่วมกันกับตน ได้เป็นไปในอารมณ์โดยอาการของตนๆ ดังได้กล่าวแล้วนั้น ได้แก่ เจตนาที่เกิดในจิตทุกดวง
    2. ปรุงแต่งสังขตธรรม คือจัดแจงทำวิบากและกัมมชรูป(รูปที่เกิดจากกรรม) ให้เกิดขึ้นในกาลต่อไป เพราะฉะนั้น จึงได้แก่เจตนาในกุศลจิตและอกุศลจิต ที่ถึงความเป็นกรรมอันจะยังวิบากและกัมมชรูปให้เกิดขึ้นเท่านั้น ข้อนี้ ก็สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลว่า "ดูกร ภิษุทั้งหลายเราขอกล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม" ดังนี้
     
  15. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย เอกัคคตา
    คำว่า เอกัคคตา มีวจนัตถะว่า นานาลมฺพนวิเขปาภาเวน เอกํ อารมฺมณํ อคฺคํ อิมสฺสาติ เอกคฺคํ จิตฺตํ ตสฺส ภาโว เอกคฺคตา แปลว่า จิต ชื่อว่า เอกัคคะ เพราะมีความหมายว่า มีอัคคะ (อารมณ์) เดียว เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ภาวะแห่งเอกัคคะ (ภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว)น ชื่อว่า เอกัคคตา ได้แก่สมาธิดังนี้
    เป็นความจริงว่า จิตที่สัมปยุตกับสมาธิจะเป็นอันไม่ฟุ้งซ่าน ก็ด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น
    อาจมีผู้ท้วงติงว่า:- คำว่า จิตสัมปยุตกับสมาธิจะเป็นอันไม่ฟุ้งซ่าน ก็ด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น ถูกต้องแล้วหรือ เพราะว่า เอกัคคตา นี้ เป็นจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทุกดวง ส่วนอุทธัจจะก็เป็นสาธารณะกับอกุศลจิต 12 ดวงนั้นเมื่อเกิดร่วมกันได้อย่างนี้ ก็ย่อมแสดงว่า เอกัคคตา นั้นหาได้เป็นธรรมชาติที่สงบความฟุ้งซ่านได้ไม่
    แก้ว่า:- จิตที่สัมปยุตกับสมาธิ ฯลฯ ด้วยอำนาจแห่งสมาธินั้น ดังนี้นั้น ไม่ผิดหรอก เพราะบุคคลผู้ประสงค์สงบความฟุ้งซ่าน ย่อมสำเร็จความประสงค์ได้ด้วยการเจริญสมาธิ พึงทราบว่า เป็นคำที่ท่านกล่าวหมายเอาเอกัคคตาที่ควรเจริญ คือ เอกัคคตาในกุศลจิต เป็นสำคัญ เป็นความจริงว่า เอกัคคตาที่มีกำลังเพิ่มขึ้นเพราะการเจริญไปตามลำดับ ย่อมมีอานุภาพยังจิตสันตติให้เป็นไปในอารมณ์เดียวกัน สืบต่อกันไปนานๆ ปิดโอกาสแห่งอุทธัจจะที่จะเกิดขึ้น จึงถึงฐานะให้เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "สมาธิ" ซึ่งแปลว่าสภาวะที่ตั้งมั้นเสมอและโดยชอบในอารมณ์ ก็ เอกัคคตา นี้ เมื่อไม่มีการอบรมให้มีกำลัง ก็ย่อมเป็นไปสักว่า ทำให้จิตให้ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวที่กำลังรู้อยู่เท่านั้น ความว่า การที่จิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ย่อมรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นมิได้รู้อารมณ์เกินอย่างเดียวพร้อมๆ กันไปนั้นย่อมมีได้ด้วยอำนาจแห่งเอกัคคตา เอกัคคตาในอกุศลจิตทั้งหลาย ไม่ใช่เอกัคคตาที่ควรเจริญ เป็นไปสักว่าทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์เดียวเพียงประการเดียวดังกล่าวนี้เท่านั้น จึงไม่มีกำลังพอที่จะข่มอุทธัจจะได้ อุทธัจจะก็ย่อมเกิดได้ในอกุศลจิตเหล่านี้ แม้ว่าเป็นจิตที่มีเอกัคคตา การที่ท่านกล่าวถึงอุทธัจจะไว้ในบรรดาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธินั้น ก็ในฐานอื่น คือ เมื่ออุทธัจจะเกิดขึ้นในจิตดวงก่อนหน้าแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้จิตดวงต่อๆ ไปละทิ้งอารมณ์เดิมที่ควรรู้ไปถือเอาอารมณ์อื่น อารมณ์นั้น อารมณ์นี้ ได้โดยง่ายเท่านั้น ไม่ใช่กล่าวในฐานะว่า เกิดร่วมกันกับเอกัคคตาไม่ได้ แต่ประการใด.<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย ชีวิตินทรีย์
    คำว่า ชีวิตินทรีย์ มีวจนัตถะว่า ชีวนฺติ เตน สมฺปยุตฺตธมฺมาติ ชีวิตํ ตเทว สหชาตานุปาลเน อธิปจฺจโยเคน อินฺทฺริยนฺติ ชีวิตินฺทริยํ แปลว่า ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ชื่อว่าชีวิต เพราะมีความหมายว่าเป็นเหตุให้สัมปยุตตธรรมทั้งหลายตั้งอยู่ได้ ชีวิตนั้นแหละเป็นอินทรีย์ เพราะประกอบด้วยความเป็นใหญ่ในการตามรักษาธรรมที่เกิดร่วมกัน เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ ดังนี้ ชีวิตินทรีย์นั้น มีการตามรักษาธรรมที่เกิดรวมกับตนเป็นลักษณะ ดุจน้ำตามรักษาดอกอุบลเป็นต้น อุบลเกิดในน้ำ ย่อมมีน้ำนั่นแหละตามรักษาให้ดำรงอยู่ได้ ก็คำว่า"ตามรักษา" มีความหมายว่า "ยังให้เป็น"
    ชีวิตินทรีย์นี้ แม้มีวิธีการรักษาธรรมที่เกิดร่วมกับตนก็ตาม ถึงกระนั้นจะตามรักษาธรรมเหล่านั้นได้ก็เฉพาะที่ตนยังมีอยู่เท่านั้น ดุจน้ำจะตามรักษาดอกอุบลได้ ก็เฉพาะน้ำมีอยู่เท่านั้น

    พึงทราบว่า สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย แม้ว่าเกิดขึ้นแล้วจากปัจจัยของตนๆ ถึงกระนั้นก็มีชีวิตินทรีย์นี้เข้าไปรักษาไว้ ดุจหญิงพี่เลี้ยงคอยดูแลเด็กที่เกิดจากหญิงอื่น ฉะนั้น อนึ่ง ชีวิตินทรีย์ ย่อมเป็นไปโดยสัมพันธ์กันกับธรรมทั้งหลายที่ตนทำให้เป็นไป โดยประการที่เมื่อธรรมเหล่านั้นเป็นไป ตนเองก็ย่อมเป็นไปด้วยพร้อมกับธรรมนั้นนั่นแหละ ทั้งจะยังธรรมเหล่านั้นให้เกินเลยแต่ภังคขณะ(ขณะดับ)ได้ก็หาไม่ เพราะตนเองทั้งธรรมที่ตนพึงทำให้เป็นไปเหล่านั้น ต่างก็ดับไปพร้อมกัน ไม่มีสภาวะเหลืออยู่แล้ว

    อนึ่ง ย่อมดำรงธรรมเหล่านั้นเอาไว้ได้ ก็ขณะที่ตนยังไม่สิ้นไปเท่านั้น ดุจไส้และน้ำมันจะดำรงเปลวประทีปเอาไว้ได้ขณะที่ตนยังไม่สิ้นไปเท่านั้น ส่วนในภังคขณะย่อมไม่สามารถจะดำรงธรรมเหล่านั้นเอาไว้ได้ เพราะแม้ตนเองก็ยังกำลังแตกดับด้วย ดุจไส้และน้ำมันขณะที่หมด ย่อมไม่สามารถดำรงเปลวประทีปเอาไว้ได้ ฉะนั้น

    บัณฑิตอย่างพึงเห็นอย่างนี้ว่า ก็ชีวิตินทรีย์นี้ ไม่น่าจะต้องมีอยู่จริง เพราะแม้ไม่มีชีวิตินทรีย์ ธรรมเหล่านั้นๆ ก็ย่อมเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยของตน ได้อยู่แล้วเกิดขึ้นมาแล้วก็ย่อมดับไปในที่สุดเป็นธรรมดา เมื่อเป็นไปเช่นนี้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยชีวิตินทรีย์เล่า ดังนี้ เพราะว่าถึงอย่างไร การที่ธรรมเหล่านี้เป็นอยู่ จับตั้งแต่เกิดขึ้นจนถึงภังคขณะของตนได้ ก็ด้วยอานุภาพ 3 ประการของชีวิตินทรีย์ คือ การตามรักษาธรรมที่เกิดร่วมกันดุจน้ำตามรักษาอุบล 1 การทำให้ธรรมที่เกิดร่วมกันเป็นไปดุจนายเรือยังเรือให้เป็นไป 1 การดำรงธรรมที่เกิดร่วมกันไว้ดุจไส้และน้ำมันในขณะที่ตนยังไม่หมดสิ้นก็ดำรงเปลวประทีปไว้ 1 ฉะนี้แล
     
  17. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย มนสิการ
    คำว่า มนสิการ มีวจนัตถะว่า กรณํ กาโร มนสฺมึ กาโร มนสิกาโร แปลว่า การกระทำชื่อว่า "การ" การกระทำเข้าไว้ในใจ ชื่อว่า มนสิการ ดังนี้ มนสิการนั้น มีการนำจิตเข้าไปไว้ในอารมณ์เป็นลักษณะ ก็คำว่า มีการนำจิตเข้าไปไว้ในอารมณ์ นี้ เป็นการกระทำอารมณ์เข้าไว้ในใจนั่นเอง ขยายความ ใจ คือ จิต ถูกธรรมใด กระทำ คือ นำเข้าไปไว้ในอารมณ์ เพราะจิตจะเกิดขึ้นไต้องอาศัยอารมณ์ หรือประกอบเข้ากับอารมณ์ ธรรมชาตินี้ชื่อว่า มนสิการ
    ก็มนสิการ นี้ เมื่อมีลักษณะเป็นการกระทำอารมณ์เข้าไว้ในใจ ก็ย่อมเป็นไปราวกะว่า ยังธรรมทั้งหลายที่ประกอบร่วมกันกับตน ให้แล่นไปเฉพาะหน้าหรือมุ่งตรงต่อทางฉะนั้น
    สภาวธรรมที่มีชื่อว่า มนสิการ นี้ มี 3 อย่าง คือ
    1. อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ = มนสิการที่ยังจิตให้ดำเดินไปในอารมณ์
    2. วิถีปิปาทกมนสิการ = มนสิการที่ยังวิถีจิตให้ดำเนินไป
    3. ชวนปฏิปาทกมสิการ = มนสิการที่ยังชวนะจิตให้ดำเดินไป
    ในมนสิการ 3 อย่างนี้มสิการที่มีความหมายว่า "กระทำอารมณ์เข้าไว้ในใจ" ชื่อว่า อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ เพราะเป็นการกระทำอารมณ์เข้าไว้ในใจนั่นเอง

    ส่วนคำว่าวิถีปฏิปาทกมนสิการ เป็นชื่อของปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นความจริงว่า จิตทั้งหลายที่เป็นไปโดยความเป็นภวังค์สืบต่อกัน ย่อมสิ้นสุดโดยการเป็นภวังค์ทว่าเป็นไปโดยวิถีจิต ก็ในทันทีที่ปัญจทวาราวัชชนจิตเป็นต้น เกิดสืบต่อกันเป็นลำดับ โดยปัญจทวาราวชชนจิตนั้นนั่นแหละเป็นผู้เริ่มต้นวิถีอย่างนี้คือ ปัญจทวาวัชชนะ จักขุวิญญาณ เป็นต้น สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ เป็นต้น เกิดขึ้นแห่งปัญจทวาราวัชชนะ เป็นเหตุให้จิตพ้นจากความเป็นภวังค์ แล้วเป็นไปโดยวิถีจิตดำเนินไป ในเหตุเกิดขึ้นแห่งจักขุวิญญาณ 4 อย่าง คือ รูปารมณ์ 1 จักขุปสาท 1 แสงสว่าง 1 มนสิการ 1 นั้น มนสิการ ในที่นี้คือ วิถีปฏิปาทกมนสิการ นั้นเอง แม้ในมนสิการอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทวารอื่นก็เช่นเดียวกัน

    ส่วนคำว่าชวนะปฏิปาทกมนสิการ เป็นชื่อของมโนทวาราวัชชนะจิต ในคราวที่มีอารมณ์ 5 อย่างมีรูปารมณ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง มาสู่คลองทวาร 5 ทวารใดทวารหนึ่ง เป็นอารมณ์ที่มีอายุเพียงพอแก่การเกิดขึ้นแห่งชวนวาระ เมื่อวิถีจิตเป็นไปสืบต่อกันตามลำดับแล้ว ทันที่มโนทวาราวัชชนะจิตเกิดขึ้นทำโวฏฐัพพนกิจแล้วดับไป ชวนะจิตทั้งหลายก็แล่นไปในอารมณ์นั้น
     
  18. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย วิตก
    คำว่า วิตก นี้ มีวจนัตถะว่า อารมฺมณํ วิตกฺเกติ สมฺปยุตฺตธมฺเม อภินิโรเปตีติ วิตกฺโก แปลว่า สภาวะชื่อว่า วิตก เพราะมีความหมายว่าคิด คือยกสัมปยุตธรรมทั้งหลายขึ้นสู่อารมณ์ ดังนี้ ปรากฎว่า วิตกนั้น เมื่อเกิดขึ้นลักษณะที่ปรากฎคือการยกสัมปยุตธรรมทั้งหลายขึ้นสู่อารมณ์
    เปรียบเหมือนว่า บุรุษชาวบ้านบางคน เพราะได้อาศัยมิตรผู้เป็นราชวัลลภ คือ คนสนิทของพระราชา จึงติดตามผู้นั้นเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ ได้เข้าเฝ้าพระราชา ฉันใด. จิตก็เหมือนกันเพราะอาศัยวิตก จึงย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ฉันนั้น. จิตเปรียบเหมือนบุรุษชาวบ้าน วิตกเปรียบเหมือนมิตรผู้เป็นราชวัลลภ อารมณ์เปรียบเหมือนพระราชา.
    ถามว่า จิตที่ไม่มีวิตกก็มีอยู่ ถ้าหากว่าเป็นอย่างนี้ จิตที่ไม่มีวิตกเหล่านี้จะขึ้นสู่อารมณ์ได้อย่างไร ?
    ขอตอบว่า จิตที่ไม่มีวิตกบางประเภท คือทุติยฌานจิตเป็นต้น ย่อมย่างขึ้นสู่อารมณ์ของวิตกนั่นเอง คือเปรียบเหมือนว่าบุรุษชาวบ้านคนนั้นนั่นแหละ เพราะมีความคุ้นเคยกับพระราชาดีแล้ว ด้วยการที่มิตรผู้นั้นแหละพาเข้าเฝ้าพระราชาบ่อยๆ ต่อมาแม้ว่างเว้นจากมิตรของตน ก็ย่อมหาความหวาดระแวงมิได้ เข้าไปยังพระราชนิเวศน์เข้าเฝ้าพระราชาได้ ฉันใด. จิตเพราะมีความคุ้นเคยกับอารมณ์ดีแล้วด้วยอำนาจแห่งที่วิตกคอยยกสู่อารมณ์นั้นบ่อยๆ ต่อมาแม้ว่างเว้นจากวิตก ก็ยังย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ ฉันั้น ก็คำว่า"ความคุ้นเคย" นี้ได้แก่จิตภาวนาที่มีวิตก ที่เป็นไปบ่อยๆติดต่อกันเป็นอารมณ์มีดวงปฐวีกสิณเป็นต้น อารมณ์เดียวกันนั้น ขยายความว่า ในคราวที่พระโยวจรปรารภจิตภาวนา เจริญสมาธิ จิตที่มีวิตกย่อมเป็นไปบ่อยๆ ในอารมณ์มีดวงกสิณเป็นต้น (ซึ่งเป็นปฏิภาคนิมิต) จนบรรลุปฐมฌานซึ่งเป็นฌานที่มีวิตก บรรลุแล้วก็รัษาฌานนั้นไว้ได้ไม่เสื่อม พิจารณาเห็นโทษของปฐมฌานว่ายังมีวิตกซึ่งใกล้ต่อกามแล้ว ก็ปรารภภาวนาเพื่อการบรรลุธรรมที่ไม่มีวิตก จิตภาวนาชั้นกามาวจรกุศลซึ่งมีวิตก ย่อมเป็นไปซ้ำๆซากๆ ก่อนหน้าที่จะบรรลุทุติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่ไม่มีวิตก ในอารมณ์เดียวกันนั้น นั่นแหละ จนกระทั่งบรรลุทุติยฌาน
    ถามว่า ทุติยฌานจิตไม่มีวิตกคอยยกขึ้นสู่อารมณ์ เพราะเหตุใดก็ยังคงย่างขึ้นสู่อารมณ์นั้นได้เล่า
    ตอบว่า เพราะได้สั่งสมความคุ้นเคย กับอารมณ์นั้นไว้ดีแล้ว โดยการที่วิตกคอยยกขึ้นสู่อารมณ์นั้นบ่อยๆ ติดต่อกัน ในคราวปรารภจิตภาวนา เพื่อการบรรลุทุติยฌานก่อนหน้านี้นั่นเอง เมื่อความคุ้นเคยดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยวิตกเพื่อการย่างขึ้นสู่อารมณ์อีก ก็การสร้างความคุ้นเคยไว้ดีแล้วในอารมณ์นั่นเอง เป็นอุบายละวิตก

    ส่วนจิตที่ไม่มีวิตกอีกประเภทหนึ่ง คือวิญญาน 5 มีจักขุวิญญานเป็นต้น ทั้ง 2 ฝ่ายพึงทราบว่าจิตเหล่านี้แม้ไม่มีวิตก ก็ย่อมย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ด้วยกำลังของการกระทบกันแห่งวัตถุกับอารมณ์โดยตรงนั่นเทียว

    ความแตกต่างกันแห่ง วิตก เจตนา และ มนสิการ
    ธรรม 3 อย่างคือ วิตก เจตนา และมนสิการ มีส่วนเหมือนกันโดย เกี่ยวกับแต่ละอย่างต่างก็เป็ผู้จัดแจงธรรมที่เกิดร่วมกันกับตน เข้าไว้ในอารมณ์ด้วยกัน มีความแตกต่างกันบ้างที่ความจัดแจงเท่านั้น เพราะฉะนั้น ถ้าหากกำหนดแยกแยะอาการเหล่านี้ไม่ได้แล้วไซร้ บัณฑิตก็อาจเข้าใจสับสนปะปนกันในตัวสภาวะธรรมเหล่านี้ได้ เพราะฉะนั้น ก็ควรทราบอาการจัดแจงที่ต่างกันแห่งธรรมเหล่านี้สักหน่อยหนึ่ง
    วิตก ย่อมเป็นไปโดยอาการที่ยกเอาธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันกับตน ให้ย่างขึ้นสู่อารมณ์ คือ ให้ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น เป็นราวกะว่า คอยจับเอาธรรมเหล่านั้นไปวางไว้ในอารมณ์นั้น ฉะนั้น.
    เจตนา ย่อมเป็นไปโดยอาการที่จัดแจงธรรมที่ย่างขึ้นสู่อารมณ์ด้วยอำนาจแห่งวิตกนั้นให้ทำกิจของตน จึงเหมือนเป็นแม่ทัพผู้นำลูกทัพให้ทำกิจของตน ฉะนั้น
    มนสิการ ย่อมเป็นไปโดยอาการที่ยังธรรมที่เกิดร่วมกับตน ให้ดำเนินมุ่งหน้าตรงต่อารมณ์ ไม่ให้พ้นไปจากอารมณ์ จึงเป็นดุจนายสารถีผู้คอยบังคับม้าอาชาไนย ให้ควบมุ่งหน้าตรงต่อทาง ไม่ให้เฉออกนอกทาง ฉะนี้แล
     
  19. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย วิจาร
    คำว่า วิจาร มีวจนัตถะ ว่า อารมฺมเณ เตน จิตฺตํ วิจร วิจาโร แปลว่า สภาวธรรมอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิจาร เพราะมีความหมายว่า
    เป็นเหตุให้จิตท่องเที่ยวไปดังนี้

    เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์แล้ว วิจารเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับวิตกเจตสิกนั้น ก็กระทำหน้าที่ประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์นั้นๆ ไม่ให้หายไป เพราะธรรมชาติของวิจารเจตสิกนี้เป็นธรรมชาติที่เคล้าคลึงอารมณ์เป็นลักษณะอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อปรากฎเกิดขึ้นจึงทำให้สัมปยุตตธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับตนนั้น มีความคลอเคลียอยู่ในอารมณ์นั้นๆไม่ปล่อยไปด้วย

    อุปมาเหมือนหนึ่งเสียงระฆังที่ดังขึ้นปรากฎครั้งแรกเปรียบเหมือนวิตก เสียงครางของระฆังที่ยังปรากฎอยู่ยังไม่จางหายไป เปรียบได้กับวิจาร หรืออุปมาอีกนัยหนึ่งเหมือนนกที่บินสู่อากาศในขณะที่ขยับปีกโผขึ้นสู่อากาศครั้งแรกนั้น เปรียบเหมือนวิตก เมื่อนกบินสู่อากาศเรียบร้อยแล้ว กางปีกร่อนวนเวียนอยู่ในอากาศนั้นเปรียบเหมือนวิจาร นี่แสดงให้เห็นว่าวิจารเจตสิกรับอารมณ์สุขุมกว่าวิตก และปฏิบัติหน้าที่ตามหลังวิตก

    อาการปรากฎของวิจารเจตสิกที่พระโยคีบุคคลพิจารณารู้ได้นั้น ก็คือรู้ว่าจิตและเจตสิกที่รับอารมณ์ใดไว้ได้ก็ตาม เมื่อจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นครั้งแรกดับไปแล้ว จิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นหลังๆ ก็เข้ารับอารมณ์ที่จิตและเจตสิกรับไว้ครั้งแรกนั้นสืบต่อมาไม่ปล่อย เช่นจิตและเจตสิกที่เกิดครั้งแรกรับอารมณ์สีเขียวไว้ จิตและเจตสิกที่เกิดครั้งหลังๆต่อมา ก็รับอารมณ์สีเขียวนั้นไว้ไม่ให้หายไปไหนดังนี้เป็นต้น นี่เป็นอาการของวิจารเจตสิก เหตุใกล้ที่จะให้เกิดวิจารได้นั้นก็คืออารมณ์ หรือนามขันธ์ 3 ที่เหลือ

    อนึ่งในบรรดาขันธ์ 3 ที่พระผู้พระภาคเจ้าตรัสไว้เป็นอีกหมวดหนึ่งอย่างนี้ว่า กายสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร นั้นพึงทราบว่า ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกนั่นเอง ชื่อว่า กายสังขาร วิตกและวิจารนั่นเอง ชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนานั้นเอง ชื่อว่า จิตสังขาร

    ถามว่า :- เพราะเหตุไร วิตกและวิจาร จึงชื่อว่า วจีสังขารเล่า? ตอบว่า เพราะในการที่มีการเปล่งวาจาบุคคลย่อมตรึกคือดำริคำพูดที่ตนจะเปล่งด้วยวิตก ย่อมตรองคือใคร่ครวญลำดับคำพูดและความหมายของตนที่จะเปล่งด้วยวิจารเสียก่อนแล้วจึงเปล่งวาจา เพราะฉะนั้น วิตกและวิจาร นี้จึงนับว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งวาจาเรียกว่า วจีสังขาร
     
  20. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    [​IMG]
    อธิบาย อธิโมกข์
    คำว่า อธิโมกข์ มีวจนัตถะว่า อธิมุจฺจนํ อธิโมกฺโข แปลความว่า ความน้อมใจไป ชื่อว่าอธิโมกข์ ก็ชื่อ "อธิมุจฺจนนํ-ความน้อมใจไป" ในที่นี้ได้แก่ความตัดสินใจนั่นเอง สภาพของอธิโมกขเจตสิกนี้ ย่อมทำลายจิตที่รวนเร มีอาการสองฝักสองฝ่ายในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง คือมีการตัดสินเด็ดขาดในอารมณ์ ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะดีก็ตามไม่ดีก็ตาม หรือการตัดสินใจนั้นจะถูกหรือผิดก็ตาม ฉะนั้นการงานทั้งหลายที่สุจริตก็ตามทุจริตก็ตาม ที่สำเร็จลงไปได้นั้น ก็ด้วยอำนาจอธิโมกขเจตสิกเป็นผู้กระทำให้สำเร็จ

    เช่นผู้ที่กระทำการบริจาคทรัพย์สิ่งของเป็นทานก็ดี หรือผู้ยอมสละชีวิตร่างกายเพื่อประโยชน์ส่วนรวมก็ดี ในการที่บุคคลกระทำลงไปได้เช่นนั้น ก็เพราะผู้นั้นมีการตัดสินใจได้เด็ดขาดแล้ว ถ้าหากจิตใจของผู้นั้นยังมีการลังเลไม่แน่นอนแล้ว การสละทรัพย์ หรือการสละชีวิตร่างกายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ ทางฝ่ายที่เป็นอกุศลก็เช่นเดียวกัน คนที่ฆ่าสัตว์ได้ ลักทรัพย์ได้ เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมมีการตัดสินใจได้เด็ดขาดแล้วจึงกระทำลงไปได้ ถ้าคิดยังลังเลอยู่ว่า จะฆ่าดีหรือไม่ฆ่าดี จะขโมยดีหรือว่าจะไม่ขโมยดีอย่างนี้ การงานนั้นก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้มีจิตใจอย่างนี้ย่อมทำอะไรไม่สำเร็จ นี้เป็นลักษณะของอธิโมกข์

    อธิโมกข์นี้เป็นปฏิปักษ์กับวิจิกิจฉา เพราะวิจิกิจฉามีสภาพลังเลสงสัยในอารมณ์ตัดสินใจแน่นอนลงไปไม่ได้ สำหรับอธิโมกข์เจตสิกนั้น ไม่มีการลังเลสงสัยตัดสินได้เด็ดขาด เมื่อเวลาอธิโมกข์ปรากฏขึ้นแล้ว จิตใจของผู้นั้นย่อมจับมั้นอยู่ในอารมณ์ และทำให้วิจิกิจฉาหายไป นี่เป็นรสของอธิโมกข์

    เมื่อพระโยคีบุคคลพิจารณาอธิโมกข์นี้แล้ว ก็รู้ด้วยปัญญาว่าอธิโมกข์นี้เป็นผู้ตัดสินใจในอารมณ์เด็ดขาด ดีก็ตาม นี่เป็นอารมณ์ปรากฎของอธิโมกข์

    อธิโมกข์จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยอารมณที่พึงตัดสิน หมายความว่า ในขณะที่จิตและเจตสิกรับอารมณ์ใดๆ อยู่ก็ตามไม่มีวิจิกิจฉาเข้าประกอบอยู่ในจิตดวงนั้นแล้ว อารมณ์นั้นแหละเป็นเหตุใกล้ให้อธิโมกข์เกิดขึ้น

    จิตที่เกิดพร้อมกับอธิโมกข์ มีจำนวน 78 หรือ 110 (เว้นทวิ10วิจิกิจฉา1) เจตสิกที่เกิดพร้อมด้วยอธิโมกข์ คือ เจตสิก 50 (เว้นวิจิกิจฉา และอธิโมกข์)<!-- google_ad_section_end -->
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...