ปรอทสำเร็จ ของดีจากตำนาน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ทิพยจักร, 26 พฤศจิกายน 2012.

  1. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    ปรอทหุง

    ครั้งแรกจะเหลวเหมือนดินน้ำมันค่ะ

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/wIX0RFjMEehNBgnM" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/6e8/K5EV2Y.jpg" /></a>

    กำลังกินทองอยู่ค่ะ ตัวปรอทจะยึดติดอยู่กับผอบแน่น เทไม่ออก

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/wIWnAZjR8o802UEm" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/99c/6xlQqr.jpg" /></a>

    เมื่อกินทองเสร็จแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพแวววาวสวยงามค่ะ สามารถกลิ้งตัวไปมาได้ ตอนนี้หยิบขึ้นมาปั้นได้แล้ว ตกไม่แตกกระจายเหมือนก่อนค่ะ

    <a href="http://image.ohozaa.com/view2/wIWnEb7ZGIf9Y54z" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/a85/bOFICl.jpg" /></a>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  2. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    ก็พอจะเล่าให้ฟังได้บ้างค่ะ แต่บางเรื่องอาจจะเป็นนิยายสำหรับผู้อ่านก็ขอเว้นไว้ก็แล้วกันนะคะ

    ดิฉันเริ่มฝึกสมาธิจริงๆจังๆเมื่อตอนอายุ 18 ปีหลังจาก accident ทำให้เดินไม่ได้อยู่ 6 เดือน ทำให้พลาดโอกาสเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในคราวแรก ตอนนั้นหลากหลายอารมณ์มาก มีอยู่วันหนึ่งคุณแม่พาดิฉันไปทำบุญกับพระธุดงค์แถวไทรโยค เกิดถูกจริตก็เลยขอบวชชีพราหมณ์และปฏิบัติธรรมอยู่กับพระธุดงค์อยู่ราว 3 เดือน พระอาจารย์มีปฏิปทาจะสร้างวัดขึ้นที่นั่น ก็เลยมีแม่ชี 1 องค์ ทหารรับใช้ 1 คน กับคนบ้า 1 คนที่ได้มาอาศัยใบบุญพระอาจารย์....

    ที่ป่าไทรโยคราวปี 2522 ยังเป็นป่าบริสุทธิ์ หลังที่พักซึ่งเป็นกระท่อมไม้ไผ่เป็นน้ำตกเล็กๆได้อาศัยดื่มกิน อยู่แบบสมถะ วิเวกอย่างยิ่ง เพราะไม่รู้ว่าจะคุยอะไรกับใคร หรือจะคุยเรื่องอะไร ฉนั้นระยะเวลา 3 เดือนแทบจะไม่ได้พูดกับใครเลย ทุกวันหลังฉันเพล พระอาจารย์ก็จะมาสอนกัมมัฏฐานเบื้องต้น คือสมถะกัมมัฏฐาน ภาวนาพุทโธ ช่วงนั้นจิตไม่มีกังวลแถมถูกจริตอีกเพราะเงียบ อายุก็ยังน้อย ก็เลยพิจารณาแบบไม่มีข้อสงสัยใด....ท่านสอนเบื้องต้นก็คือสายหลวงปู่มั่นก็คือพิจารณาสังขารธรรม หรือพิจารณาขันธ์ ๕ เป็นหลัก และสอนปลงอสุภะกัมมัฏฐาน....ก็สอนแบบพระสายป่าเดี๋ยวนี้เขาก็มาตีพิมพ์ให้อ่านมากมายค่ะ แต่ในส่วนของดิฉันนั้นได้จากการปฏิบัติจริง ก็คือปลีกวิเวกของจริง....ทุกเย็นก็กวาดใบไม้ เก็บฟืนในป่ามาเจียกฟืนเป็นชิ้นเล็กๆ อาหารก็อาศัยพระอาจารย์บ้าง แต่ส่วนมากคนจะนำอาหารแห้งมาถวาย....ก็ได้หุงหากินกันตามอัตภาพแถมดูแลคนบ้าอีกคนนึงด้วยความเมตตา เพราะญาตินำมาทิ้งเอาไว้...ช่วงแรกที่ฝึกก็ยังไม่ชัดนัก แต่ที่จะชัดก็คือความสงบ ความปลอดโปร่ง ความสบายใจไม่มีความกังวลใดๆ จนกระทั่งออกมาแล้วสอบไปเรียนต่อทางใต้ จบกลับมาทำงานก็ผ่านมา 4 ปีที่ไม่ได้ฝึกแบบนี้เลย....

    พอเรากลับมาทำงานก็เริ่มมีปัญหาที่ทำงานบ้าง มีเรื่องให้ร้อนใจบ้าง ใจไม่ค่อยเป็นสุขนัก....ก็กลับมานั่งสมาธิเข้ากัมมัฏฐานเหมือนเดิมอย่างที่เคยเรียนมา...จนกระทั่งคืนวันหนึ่งหลังจากนั่งกัมมัฏฐานพอแผ่เมตตาเสร็จก็เข้านอน...ก็นอนสมาธิต่อ ปรากฏว่ามีวิญญาณมากมายมายืนคุยกันอยู่ในห้องนอนดิฉัน คุยด้วยภาษาที่ดิฉันฟังแล้วไม่เข้าใจ....ตอนนั้นกลัวมากๆ ทั้งแผ่เมตตาก็แล้ว สวดบทพาหุงก็แล้วก็ไม่ไป...จนกระทั่งได้ยินเสียงครูบาอาจารย์มาบอกในสมาธิให้ฝึกสติปัฏฐาน ๔ ก็คือพิจารณากายในกาย ตอนนั้นเหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น ด้วยความหวาดกลัวจิตก็เลยถอยออกจากกายหยาบ....แล้วลอยเด่นขึ้นมาเป็นดวงสว่างจ้า ระยิบระยับ ความรู้สึกว่าตัวดิฉันทั้งตัวเข้าไปอยู่ในดวงสว่างนั้นๆ....แล้วก็ลอยเข้าสู่ภายในกายของตัวเองอยู่บริเวณกลางลำตัว....ตอนนั้นเหมือนมีวิญญาณอยู่ร่างหนึ่งนอนคล่อมทับดิฉันอยู่ เป็นคนแก่หน้าตาหน้าเกลียดน่ากลัวมาก แก้มวิญญาณนั้นนอนแนบแก้มดิฉันอยู่ ตัวหนักมากเราเองก็ขยับตัวไม่ได้....แต่ตอนนั้นดิฉันรู้สึกปลอดภัยแล้วเพราะกายในดิฉันได้เข้าไปสู่ในดวงจิตแล้ว....ดิฉันเลยได้สติปัฏฐาน ๔ กายในกายได้โดยบังเอิญ ซึ่งครูบาอาจารย์เมตตามาสอนให้ในสมาธิจิต....พอตื่นขึ้นมาตอนเช้าดิฉันไม่กลัวผีอีกเลยเพราะรู้ว่าท้ายที่สุดของชีวิตคนเราก็ต้องไปจบลงที่ความแก่และความตายเหมือนวิญญาณดวงนั้นที่น่าเกลียดน่ากลัว....มันก็เห็นธรรมในครั้งแรกของการนั่งกัมมัฏฐานแบบปลงอสุภกัมมัฏฐาน คือการพิจารณากายสังขารของเราเอง....นับจากนั้นเป็นต้นมาดิฉันจึงปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  3. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    ส่วนการฝึกสติปัฏฐาน ๔ พิจารณาเวทนาในเวทนา ขอ copy มาให้อ่านซ้ำค่ะ

    การยกจิตขึ้นเหนือสังขาร

    ที่เรามาพูดเรื่องธรรมะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของแต่ละท่านคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ...บางครั้งอาจมีกระทบกระเทือนบ้างก็ถือว่าเป็นการพัฒนาจิตของเราไปด้วยในตัว....การเอาธรรมะของครูบาอาจารย์มาโพสต์เท่ากับว่าเราก็ได้อ่านเองทบทวนความรู้ไปในตัวด้วยเช่นกันค่ะ....

    วันนี้เรามาจะมาพูดถึงเรื่องประสบการณ์ของการปฏิบัติทางจิตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่าค่ะ...จะผิดหรือถูกสามารถวิเคราะห์วิจารณ์ได้ไม่จำกัด....เพราะเรายังไม่ได้เป็นผู้บรรลุธรรมเบื้องสูงขององค์สัมมามสัมพุทธเจ้า...แต่เราๆท่านๆก็มารถกอดคอกันเดินไปในสายธารแห่งธรรมไปพร้อมๆกัน....

    มีครั้งหนึ่งประมาณปี 2527 ช่วงนั้นคุณแม่ดิฉันปลงผมออกบวชชีและได้ปฏิบัติธรรมที่สำนักวัดป่าแห่งหนึ่งแถวๆอ.ทองผาภูมิ...ถนนราดยางยังไม่มี ถ้าใครจะไปสังขละบุรีต้องใช้รถจี๊บแลนด์โรเวอร์เท่านั้น...ถนนนั้นปกคลุมด้วยฝุ่นขนาดว่าเหยียบลงไปเท้าเราจมฝุ่นไปครึ่งแข้ง....วันหนึ่งกรมทางหลวงมาตัดทางทำถนนราดยางและโรยด้วยกรวดเล็กๆยังไม่ได้บด....พระป่าสายวิปัสนาก็ได้เชิญชวนให้เดินจงกลม...แต่ไม่ได้เดินแบบที่วัดในเมืองเขาเดินกันคือยกขาข้างหนึ่งใจก็ก็บอกว่ายกหนอ...แล้วก็ย่างหนอ...แล้วก็เหยียบหนอ...วนเวียนกันไปให้สติจับอยู่กับการยก ย่าง เหยียบ...

    พระป่าสายปฏิบัติพาพวกเรารวมถึงดิฉันด้วยไปเดินจงกลมบนถนนราดยางโรยกรวดและยังไม่ได้บด ความคมของหินเล็กๆมีครบบริบูรณ์...ข้อสำคัญคือเดินจงกลมโดยไม่ใส่รองเท้าค่ะ....เป็นระยะทาง 4 กม...

    เราครั้งแรกก็ไม่ได้คิดอะไรก็เดินไปๆบนถนนได้สัก 100 เมตร เมื่อนั้นจะรู้ถึงความเจ็บปวดที่เท้าเราเหยียบไปบนเกร็ดหินเล็กๆที่มีความคม..ข้อสำคัญคือบาดเข้าไปในเนื้อได้เลือดกันเลย เพราะระหว่างที่เดินมืดสนิท ไม่มีแม้กระทั่งไฟฉาย...แถมถนนนั้นนอกจากความคมของหินแล้วยังไม่มีความเรียบ....เดินได้แค่ 100 เมตรก็จะรู้เลยว่าเลือดเราไหลออกจากเท้าแล้ว เจ็บปวดมาก ยิ่งเดินไปก็ยิ่งเจ็บปวดและทรมานมาก.... พอเดินไปได้ 200 เมตร น้ำตาซึมเลยไม่ว่าจะตะแคงเท้าไปด้านไหนก็จะโดนหินบาดทุกอณูของฝ่าเท้า...ก็ต้องหยุดเดิน แม้กระทั่งยืนเฉยๆความเจ็บปวดก็มิได้ทุเลาลงเลย....ดิฉันเลยนั่งลงกับพื้นเพราะเดินไม่ไหวเจ็บเท้ามาก...

    ระหว่างที่ดิฉันหยุดเดินก็มีแม่ชีอายุมากราว 70 กว่าท่านหนึ่งเดินเข้ามาถามว่าเป็นอย่างไรบ้างลูกเจ็บเท้ามากไหม...เราก็บอกว่าเจ็บมากเลยค่ะคุณแม่ คุณแม่เดินอย่างไรถึงไม่เจ็บเท้าเลย....คุณยายที่เป็นแม่ชีก็บอกปริศนาธรรมดิฉันข้อหนึ่ง...ง่ายมากๆเลยค่ะ...ท่านบอกกับดิฉันว่า...แม่ชีเดินบนถนนกรวดแบบลูกก็เจ็บเท้าแบบลูกนั่นแหล่ะ เพียงแต่ว่าแม่ชีไม่ทุกข์ใจก็เลยเดินได้...ลองเดินใหม่ดูสิแล้วเราก็สังเกตว่าความเจ็บปวดทรมานมันเป็นอย่างไร...

    คราวนี้เราเห็นคุณยายท่านชราภาพเดินผ่านเราไปไม่ทุกข์ไม่ร้อน...ทำให้เรารู้สึกอยากลองใหม่ว่าเดินอย่างไรถึงไม่ทุกข์เวทนาอย่างแม่ชีผู้ชราองค์นั้น...คราวนี้สติเริ่มมาระหว่างเดินคือรสชาดของความเจ็บปวดทรมานก็ยังอยู่เหมือนเดิม จิตเราก็จับอยู่ตรงนั้น หลังจากนั้นเราก็ค่อยๆถอนจิตออกมาจากเท้า..ยกขึ้นมาได้เองตามธรรมชาติ...ตอนนั้นเรารู้ได้เองว่า เจ็บเท้าก็ยังเจ็บอยู่...เพียงแต่ว่าทุกข์กายแต่ไม่ทุกข์ใจแล้ว....หลังจากนั้นดิฉันก็เดินจงกลมต่อไปได้ทั้งที่ยังเจ็บเท้า เนื่องจากเรายกจิตอยู่เหนือสังขารแล้วนั่นเอง....ก็เดินได้ระยะทาง 4 กม...ขืนไม่เดินต่อก็อยู่ในป่านั่นแหล่ะ คนอื่นเขาเดินกลับวัดกันหมดแล้ว ฟ้าก็รุ่งสางพอดี

    ก็เป็นประสบการณ์ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง เพราะหลังจากนั้นเท้าก็ยังระบมเป็นแผลอยู่หลายวัน สมัยก่อนก็มีทิงค์เจอร์ไอโอดีนราดแผล...บอกตรงๆค่ะว่าแสบสุดยอด...หลังจากนั้นเป็นต้นมาเรื่องการเดินบนกรวดที่ยังไม่ได้บดก็เลยเป็นต้นแบบของการนั่งสมาธิแล้วเป็นเหน็บ...ก็คือขณะที่นั่งสมธิแล้วเป็นเหน็บแต่ไม่จำเป็นต้องขยับตัวเลย เพียงแค่ยกจิตขึ้นเหนือสังขารความรู้สึกทรมานจากการเป็นเหน็บก็หมดไปเองโดยธรรมชาติเช่นกัน....ต่อมาก็พัฒนาจิตต่อไปได้อีกคือนั่งแล้วยุงกัด สมัยก่อนตบยุงตลอด..แม่ก็บ่นว่าจะนั่งสมาธิหรือจะทำบาปกันแน่...พอหลังจากฝึกเดินบนกรวดนั้นแล้วถึงยุงจะกัดเราก็ปล่อยไป คือรู้สึกเจ็บ รู้สึกคันเราก็มีสติจับอยู่ตรงนั้นแล้วยกจิตขึ้นเหนือสังขาร...ความเจ็บความคันก็ยังคงอยู่มิได้หายไป...แต่ไม่ได้ทุกข์ใจเหมือนก่อน...รวมถึงอากาศร้อนเหงื่อไหลไคลย้อย...จิตก็รู้ตัวว่าร้อนก็ทนได้ไม่ทรมาน...เมื่ออากาศหนาวก็ไม่ได้ทุกข์ร้อนที่จะต้องแสวงหาผ้าห่มมาคลุมกาย..เราก็พิจารณาว่ารสชาดของความหนาวเย็นเป็นเช่นไร...

    และจะสนุกมากเมื่อไปฝึกนั่งสมาธิในป่าใหญ่ทุ่งนเรศวรเมื่อปี 2527 อย่าว่าแต่จะหาผ้าห่มเล้ย...แค่น้ำดื่มก็หายากเย็นเต็มที...น้ำท่าไม่ต้องพูดถึงไม่เคยอาบ ฟันไม่ได้แปรงหลายวัน...กินนอนอยู่ในป่านั่นแหล่ะ..ยิ่งหน้าหนาวสมัยก่อน ทรมานแสนสาหัส..ประมาณ 6-7 องศา เต็มไปด้วยหมอกหนา ไม่มีผ้าห่มเพราะโยนทิ้งระหว่างทางเดินไปหมดแล้ว ตอนนั้นมันหนักแล้วแถมร้อนมาก ไม่คิดว่ากลางคืนจะหนาวเย็นขนาดนี้...สังขารเราสู้ไม่ค่อยไหวเพราะไม่ชิน..พระท่านก็มีเมตตาหาฟืนมาจุดไฟให้เราอังลดความหนาวเหน็บและทรมาน...

    ไปนอนในป่าแค่ 7 วันไม่ได้อาบน้ำ ไม่ได้แปรงฟัน...ชุดที่ใส่ก็ 7 วันไม่ได้เปลี่ยน...คุณๆเอ๋ย ลองนึกสภาพตัวเองแล้วกันว่ามันน่าสังเวชเพียงใด เหม็นขี้ฟันตัวเอง...เหม็นทั้งตัว...ก็เออเนาะ ตัวเราธรรมชาติมันเน่าเหม็นเช่นนี้เอง ....ครั้งแรกเลยที่เห็นสัจธรรมของชีวิต ไม่ได้ปรุงแต่งหรือสมมติ หรือจินตนาการใดๆ....มันมาปรากฏเองตรงหน้า...เมื่อมาถึงวัดเอากระจกมาส่องดูหน้าตัวเอง...อืม...มอมแมมไปหมดลิงยังหน้าสวยกว่าเราเลย ...

    การปฏิบัติธรรมของจริงมันสนุกตรงนี้เอง...ไม่แปลกใจเลยเหล่าภิกษุผู้ทรงศิลที่ปลีกวิเวกอยู่ในป่าอย่างหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ...ท่านถือผ้าเพียง 3 ผืน...เพราะว่าท่านไม่รู้ว่าจะถือผ้าเยอะไปทำไม..เพราะมันหนัก แถมไม่มีน้ำอาบอีก...
     
  4. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    สติปัฏฐาน ๔ พิจารณาจิตในจิต

    ในภาคของการฝึกทางจิตมีหลงทางกันเยอะมากรวมทั้งดิฉันเองด้วยค่ะ...โดยเฉพาะการปฏิบัติแบบลืมตา อย่างที่เล่าในหน้าที่ 32 เรื่องวิถีพุทธ

    "การปฏิบัตินั้นแต่ละท่านจะรู้ได้เฉพาะตัวเป็นปัจจัตตัง....แนวปฏิบัติวิถีพุทธมีหลายแนวทางขึ้นอยู่กับจริตของตน...โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติสมาธินั้นเป็น 1 ในมรรคที่มีองค์ 8.....การที่จิตจะหลุดพ้นได้มิใช่ปฏิบัติเพียงมรรคเพียงข้อเดียว...ที่เหลืออีก 7 ข้อ โยนทิ้งหมด..แล้วก็มาพูดถึงมรรคผลนิพพานแล้วดูเหมือนว่าจะไม่ครบองค์ของธรรมบท....

    พระธรรมวิน้ยสอนให้คนรู้จักคิดและวิจารณญาณเอาเองว่าสิ่งใดจริงหรือเท็จ สิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่น สิ่งใดควรปล่อยวาง...เฉกเช่นจิตของคนที่ซุกซนแกว่งไกวไปตามกระแสของโลกธรรม 8.... "

    เพราะฉนั้นการปฏิบัติของดิฉันในการพิจารณาจิตในจิตก็คือพิจารณาตามมรรคที่มีองค์ ๘

    - สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ )
    - สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )
    - สัมมาวาจา วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล )
    - สัมมากัมมันโต การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ )
    - สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี )
    - สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป )
    - สัมมาสะติ การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )
    - สัมมาสะมาธิ ฯ การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ
    ( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา )

    เพราะฉนั้นการเดินจิตเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนพอสมควร แต่ก็ไม่ยากเกินความเข้าใจค่ะ เพียงแต่ว่าแต่ละคนที่เกิดมาบนโลกมนุษย์นั้นมีเรื่องราวมากมาย มากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าใครจะเดินได้ดีในทางสายจิตแบบสติปัฏฐาน ขอบอกว่ารู้จริงแต่ปฏิบัติยากอย่างยิ่ง....โดยเฉพาะมากคนก็มากเรื่อง...ท้ายสุดก็ต้องลงมาจบที่สติอยู่ดีค่ะ....
    เพราะฉนั้นวิถีแห่งจิตสรุปให้สั้นๆก็ได้ค่ะว่าคือมหาสตินั่นเองค่ะ
     
  5. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    ]เมื่อทุกครั้งยามที่เราว่าง ก็นั่งสมาธิ ทั้งที่ตรากตรำทำงานหนักแทบจะไม่มีวันหยุด วิ่งรอกทำงานหลายที่แทบจะไม่เคยนอนบ้าน เพราะเหตุปัจจัยของการดำรงชีวิตของตนเอง แต่ยังมีภาระที่จะต้องดูแลแม่ น้องและหลานๆอีกหลายชีวิตที่เกาะกุมเกี่ยวพัน สลัดทิ้งไม่ได้ ความตั้งใจมั่นของตนเองก็คืออยากให้ทุกคนมีความสุขและความเป็นอยู่อย่างสบายไม่ขัดสน รวมถึงการสร้างฐานะของตนเองให้มั่นคง ก็คือต้องมีบ้านเป็นของตนเอง...ก็คือเป็นหนี้ รบกับกระเป๋าตังค์ และรบกับเวลาที่จะต้องจัดสรรให้ลงตัวในแต่ละเดือนเฉกเช่นคนอื่นๆเหมือนกันค่ะ...ก็ใช้ระยะเวลายาวนานและความอดทนต้องสูงมาก...

    อย่างที่เล่ามาท่านที่ติดตามอ่านอย่าได้มองข้ามไปค่ะว่าดิฉันเล่าอะไร ไม่เห็นจะเกี่ยวกับการปฏิบัติสักนิด...แต่ที่ดิฉันจะบอกก็คือในการดำรงชีวิตอยู่นั้นคือการปฏิบัติธรรมนั่นเองค่ะ...มันเป็นการสะสมพลังแห่งจิตใจว่ายึดมั่น ดำรง มั่นคง ตั้งอยู่ในธรรมเพียงใด...เมื่อวันเวลาผ่านไปเราหันกลับไปย้อนดูมันก็คือสิ่งที่เราปฏิบัติเองทุกวันอยู่แล้วค่ะ ไม่จำเป็นต้องไปบังคับจิตให้ต้องปฏิบัติ แต่มันเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องกระทำ....

    ฉนั้นดิฉันจึงให้ความหมายของการปลีกวิเวกในการปฏิบัติธรรมว่า การปฏิบัติธรรมนั้นไม่จำเป็นต้องลาพักร้อนไปรวมกลุ่มกันไปแบบที่เขานิยม แต่ปฏิบัติจริงที่บ้านก็ได้ถ้าบ้านนั้นมีมุมสงบหรือสงัด พิจารณาธรรมะของพระพุทธองค์ได้อยู่ตลอดเวลา....เว้นเสียแต่ว่าบางท่านอาจจะถูกจริตที่จะไปรวมกลุ่มกันก็แล้วแต่จริตใครจริตมันค่ะ....เพราะปฏิบัติที่วัดก็ดีค่ะเพราะมีกฏระเบียบ วินัยของสงฆ์ครอบเราอยู่ทำให้เตือนสติเราว่าตอนนี้เรากำลังปฏิบัติธรรมอยู่นะ....ทั้งที่จริงๆแล้วถ้าเรามีสติรู้ตัวตลอด เคยเตือนตนเองตลอดก็สามารถที่จะระวังระไวในเรื่องของการปฏิบัติธรรมได้ทุกขณะจิต...ก็แล้วแต่ละบุคคลที่สะสมกันมา

    หลายท่านในที่นี้คงมีหลายท่านที่สามารถอยู่อย่างสงบในความวุ่นวายก็คงมีมาก ถือว่าท่านได้เปรียบในการปฏิบัติจิตของท่านค่ะ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  6. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    เมื่อได้พลังจักรวาลมาโดยบังเอิญ

    เมื่อราวปี 2535 ดิฉันได้ไปขึ้นเวรที่โรงงานกระดาษของเครือซีเมนต์ไทย...กินนอนอยู่ในโรงงานคอยรับคนไข้อุบัติเหตุ....วันหนึ่งหลังจากตรวจคนไข้หมดราว 3 ทุ่มได้เดินออกมานอกห้องทำงานสูดอากาศบริสุทธิ์

    เลยเดินออกมานั่งบนพื้นสนามหญ้าดูโรงงานขนาดใหญ่อยู่ตรงหน้า...ตอนนั้นดิฉันรู้สึกปลอดโปร่งมาก เลยนั่งเหยียดขาข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งชันเข่า เท้าแขน 2 ข้างไปด้านหลัง แหงนหน้าขึ้นมองดาวบนท้องฟ้า สูดลมหายใจลึกๆแล้วหลับตา..


    ขณะหนึ่งดูเหมือนจะมีอะไรบางอย่างลงมาจากท้องฟ้าผ่านกลางกระหม่อมเข้าสู่ลำตัวดิฉัน เกิดอาการเหมือนเสียวสันหลังวาบลงไปจนถึงก้นกบ...หลังจากนั้นมีพลังงานบางอย่างไหลเวียนเข้ามาในร่างกายแบบไม่ขาดสาย ดิฉันเลยนั่งสมาธิแล้วกำหนดจิตไล่ตามตั้งแต่กระหม่อม หน้าผาก เรื่อยลงมาที่ต้นคอ กระดูกสันหลัง จนถึงก้นกบ พลังนั้นยังไหลวนมาที่แขนและขาทั้ง 2 ข้างจนขนลุกชัน เหมือนมีอะไรซ่าๆอยู่ตามผิวหนัง ถึงตอนนั้นความรู้สึกปลอดโปร่งอย่างยิ่ง

    โดยเฉพาะปอดทั้ง 2 ข้างก็ขยับขับเคลื่อนหลังจากนั้นดิฉันกำหนดจิตไล่ปราณตั้งแต่ปลายจมูก หลอดลมมาที่ปอดทั้ง 2 ข้าง...หลังจากนั้นจิตดิฉันก็ไล่ปราณลงมาตั้งแต่หน้าผากขึ้นกระหม่อม ลงมาที่ท้ายทอย ลงแขน 2 ข้าง...เหมือนมีความร้อนแผ่าซ่านออกมาจากฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง

    ส่วงพลังที่ลงไล่มาที่กระดูกสันลงก้นกบ ดิฉันเอาจิตไล่ปราณลงไปที่ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง ปรากฏว่ามีความร้อนออกจากฝ่าเท้าด้วยเช่นกัน....


    ตอนนึกรู้ขึ้นมาทันทีว่าอ๋อ...อย่างนี้นี่เองที่เรียกว่า "ซี่ " หรือพลังปราณ

    นับจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อต้องการจะแผ่พลังออกจากฝ่ามือ เพียงแค่ตั้งจิตมั่นปลอดโปร่ง สูดลมหายใจแล้วก็ขับปราณลงแขนทั้ง 2 ข้าง ความร้อนก็จะแผ่ออกจากฝ่ามือได้เองโดยอัตโนมัติ....ดิฉันได้ไปศึกษาหาอ่านในหนังสือต่างๆเขาบอกว่าสามารถใช้รักษาคนได้ จึงทดลองไปใช้กับคนไข้หลังผ่าตัด...เมื่อไปเยี่ยมคนไข้หลังผ่าตัดดิฉันก็ใช้มือจับหรือแตะบริเวณแผล ปากก็คุยกับคนไข้ ส่วนมือก็แผ่ความร้อนผ่านผิวหนังคนไข้ไป ผลปรากฏว่าคนไข้หายปวดแผลเป็นปลิดทิ้ง...ก็ลองกับคนไข้หลายคนเรื่อยมาจนเกิดความชำนาญในการแผ่ความร้อนเพื่อทุเลาความเจ็บปวด....

    เคยทำให้หมอที่กำลังผ่าตัดเพื่อลดความกังวลคลายความเครียดโดยแผ่ความร้อนจากฝ่ามือโดยให้ฝ่ามือเราห่างจากหลังประมาณ 1 คืบ แล้วก็แผ่โดยทำท่าเหมือนลูบลงจากศีรษะลงกลางหลัง แผ่ไปเรื่อยๆ หมอบอกว่าพี่ผมรู้สึกได้จริงๆถึงความร้อนที่เข้ามาทะลุเข้ามาในกล้ามเนื้อหลัง ไล่ ก้นกบ มันอุ่นๆ แล้วหยวบๆ เวลาพี่เอามือผ่านหลังผม เขาก็รู้สึกสบายไม่เครียด

    เคยมีอยู่ครั้งหนึ่งเข้าผ่าตัดกระดูกต้นขาหัก เป็นผู้ชายตัวโตมากหนักประมาณเกือบ 100 กก น้องที่เข้าไปผ่าตัด 3 คนดึงขาคนไข้เอากระดูกที่เกยกันออกมาไม่สำเร็จ เลยตามดิฉันมา ดิฉันก็ล้างมือเข้า case ผ่าตัด ก็สูดลมหายใจลึกๆ หลังจากนั้นก็ไช้พลังปราณดึงขาคนไข้เพียงคนเดียวจนกระดูกคนไข้ที่เกยยืดออกมาชนกันจนสามารถผ่าตัดได้ ข้อสำคัญคือดันลากทั้งขาคนไข้และเตียงผ่าตัดที่ใหญ่และหนักเตียงครูดกับพื้นมาประมาณ 1 ฟุต ทุกคนในห้องผ่าตัดร้องอื้อฮือกันเลย....แถมปรบมือชอบใจว่าดิฉันแรงดีจัง...ทำอะไรดูง่ายไปหมด....ดิฉันก็เชื่อว่านี่คือผลของซี่หรือพลังจากเบื้องบนที่เขามอบให้ทุกครั้งโดยไหลผ่านกระหม่อมและกระดูกสันหลังดิฉันทำให้เรามีกำลังมหาศาล....ก็ไม่รู้ว่าจะเล่ายังไงต่ออีกค่ะ


    ผลก็คือพอมาฝึกเดินธาตุกัมมัฏฐานอย่างที่เคยเล่าไป ความร้อนมันเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนต้องหาวิธีการถ่ายธาตุออกมาบ้าง....ถ่ายใส่น้ำบ้าง ลูกแก้วบ้าง..เพราะธาตุมันเริ่มจะไม่สมดุลย์แล้ว....ผ่านมามากกว่า 5 ปี ที่ร่างกายหรือธาตุขันธ์ไม่สมดุลย์ มันคือความทรมานสังขารอย่างยิ่ง รวมทั้งความเจ็บป่วยก็เริ่มเข้ามา...ดิฉันถึงแนะนำว่าให้ฝึกปลงอสุภกัมมัฏฐานควบคู่กันไปด้วย มิฉนั้นธาตุไฟแตกแน่ หรือเป็นบ้าสถานเดียวจากความทรมานสังขารถ้าจิตเราไม่แข็งพอหรือข่มไม่ลง....

    นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่หลวงปู่มั่นสอนกัมมัฏฐานโดยตัดเรื่องการเดินธาตุกัมมัฏฐานทิ้งไปเพราะอันตรายมาก ต้องมีครูบาอาจารย์มาคุมค่ะ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  7. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    เดี๋ยวพรุ่งนี้ถ้าว่างจะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับประสบการณ์การนั่งสมาธิโดยครูบาอาจารย์มาสอนในสมาธิค่ะ เป็นเหตุที่มาของการหุงปรอทโดยไม่เข้าธาตุใดๆ เป็นปรอทเพียวๆ 100% หุงมาอย่างที่ถ่ายรูปมาให้ดูค่ะ
     
  8. Thana 2

    Thana 2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    653
    ค่าพลัง:
    +2,878
    สุดยอดมากๆครับ พี่ พรหมณีขอโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ...................ครับ:cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  9. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    หลายท่านคงเคยอ่านนิยายกำลังภายในและชื่นชอบในความเก่งกาจของเหล่าจอมยุทธ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะนิยายของโกวเล้งที่เน้นในเรื่องของการเดินลมปราณ....เมื่อนำมาสร้างเป็นภาพยนต์เราจะเห็นว่าพระเอกจะฝึกฝีมือแต่ละครั้งต้องไปฝึกกลางน้ำตกใหญ่ บางทีก็ต้องแช่ในถังน้ำแล้วเดินปราณจนกระทั่งน้ำเดือด...คงบ่งบอกได้ดีว่าความร้อนในการเดินธาตุหรือการเดินปราณมากมายแค่ไหน....ถึงแม้ในคัมภีร์ดรุณีก็เกอะ ที่เอี้ยก้วยกับเซียวเล่งนึ้งฝึกต้องถอดเสื้อผ้าออกหมดเพื่อระบายความร้อน...แถมฝึกในถ้ำน้ำแข็งก็ไม่ได้ก็คงเพราะสื่อกับพลังจักรวาลนั่นเองถึงต้องมานั่งแก้ผ้าฝึกกลางแจ้ง....

    เหล่าไต้ซือทั้งหลายเมื่อปิดห้องเพื่อฝึกเดินลมปราณ 7 วัน ห้ามมิให้ลูกศิษย์รบกวนก็คงเข้านิโรธเหมือนพระทางบ้านเราฝึกกัน....ก็คือดับกายสังขารออกหมดเหลือเพียงจิตและวิญญาณ เพียงแต่บ้านเราอาจมีการฝึกอยู่เหมือนกันแต่ไม่แพร่หลายนัก....ผลของการฝึกเข้านิโรธก็เพิ่มกำลังภายใน แข็งแรง ไม่แก่ไม่เฒ่า ก็คงเหมือนกับตำราทางพุทธที่บอกให้ฝึกในแนวนี้เช่นกัน เพียงแต่ไม่ผาดโผนแบบคนจีน...

    ฉนั้นที่มาของการฝึกเดินธาตุกัมมัฏฐานนั้นจึงเผยแพร่จากต่างประเทศในรูปแบบของการฝึกโยคะบ้าง ฝึกพลังจักรวาล ฝึกซี่กง ฝึกไท้เก็กส่วนใหญ่ที่ฝึกจะมีอาการเคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติเพื่อสื่อกับพลังจักรวาลนั่นเองค่ะแล้วนำเอาพลังบริสุทธิ์นั้นมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คงไม่ได้ฝึกเพื่อไปต่อยตีกับใครเหมือนในนิยายกำลังภายใน.....
     
  10. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    เมื่อครูบาอาจารย์มาสอนในสมาธิ

    เมื่อราวปี 2550 หลังจากที่ครั้งหนึ่งครูบาอาจารย์เคยมาสอนเมื่อปี 2527 เรียกว่าห่างกันนานมาก....ดิฉันก็สวดมนต์ไหว้พระปรกติเหมือนคนทั่วไป แล้วก็เริ่มนั่งสมาธิต่อเหมือนที่เคย...มีอยู่วันหนึ่งขณะนั่งสมาธิ เสียงครูบาอาจารย์ก็มาสอนในจิตบอกว่าครั้งนี้ให้นั่งสมาธิกัมมัฏฐานแบบมัชฌิมา....ใจเราได้ยินก็ประหลาดใจ นั่งยังไงนั่งแบบมัชฌิมา เสียงครูบาอาจารย์ก็บอกต่อว่าให้จิตเราจับที่ปลายนาสิกหรือปลายจมูกแล้วอนุโลม ปฏิโลมสลับกันไป แล้วก็พิจารณาธาตุขันธ์ต่อ....ดิฉันก็นั่งแบบที่ท่านสอน อืมม..ก็นั่งได้เหมือนกันแฮะ....ผลปรากฏว่าจิตรวมได้เร็วขึ้นเรียกว่าเข้มแข็งเลยทีเดียว จะเทียบเคียงกับตำราก็เรียกไม่ถูก เพราะเป็นอาการของจิต....

    หลังจากนั้นท่านก็บอกว่าเมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งแล้วก็ให้เดินจิตไปตามธาตุขันธ์ พิจารณาทีละส่วน....เราก็ทำตาม โอ้ ทรมานที่สุดเพราะปรกติเวลานั่งสมาธิดิฉันจะชอบยกจิตขึ้นเหนือสังขาร ตัวก็หายไป ก็เลยไม่เคยทรมานสังขาร งวดนี้ดึงจิตลงมาเดินในธาตุขันธ์ตัวเอง เจ็บปวดอย่าบอกใคร ทั้งร้อน ทั้งคันจากการถูกยุงกัด ทั้งเมื่อย ทั้งเป็นเหน็บ เรียกว่านั่งเดินจิตไปก็ขยุกขยิกไป หลังจากนั้นเป็นต้นมาเวลานั่งสมาธิก็นั่งสลับกันคือนึกอยากจะยกจิตขึ้นเหนือสังขารบ้าง บางวันอยากจะนั่งแบบมัชฌิมาต้องตั้งท่าเตรียมพร้อมมากกว่าปรกติ คือพัดลม ผ้าเช็ดหน้า น้ำดื่ม น้ำเย็น เรียกว่าเอาแบบสบายตัวไว้ก่อน...แต่ก็พยายามฝึกให้ได้...

    ก็ฝึกแบบนี้เรื่อยมาจนกระทั่งวันหนึ่งน้องที่สนิทกันได้ส่งวัตถุธรรมชาติมาให้นั่งสมาธิ ก็มีตั้งแต่สะเก็ดดาว คตไม้งิ้วดำ คตไม้ตะเคียน เหล็กไหลทั้งหลาย....ก็วางบนฝ่ามือแล้วก็เดินธาตุก็คือดึงเอาธาตุในวัตถุธาตุหรือเรียกว่ากายสิทธิ์ธาตุก็ได้ ดึงเข้าใส่ตัว ก็เกิดการไหลวนของพลังงานภายในร่างกายเมื่อวางวัตถุธาตุไว้มือขวาเวลาถ่ายพลังออกก็ถ่ายมาทางมือซ้ายก็เลยถือปฐวีธาตุ....ก็คือถือวัตถุทั้ง 2 มือวางไว้บนตัก...ก็เดินธาตุเรื่อยมา

    มีอยู่ครั้งหนึ่งน้องเขาส่งเกร็ดพญานาคมาให้ลอง เราก็เอามาวางไว้บนมือขวา มือซ้ายก็วางสะเก็ดดาว....ก็เกิดปรากฏการณ์ในห้องพระทั้งที่ลมสงัด...ปรากฏว่ามีลมกำลังมหาศาลพัดหมุนวนอยู่บนศีรษะเราเรียกว่าแรงทีเดียว...เราไว้ผมยาวรวบไว้เป็นหางม้า ผมพัดกระพือตีหน้าเราตลอด ลืมตาก็ลืมไม่ขึ้น...พอถอนสมาธิขึ้นมาเกิดอะไรขึ้นกับเราหว่า...ปรากฏว่าหัวยุ่งมากทั้งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ หลังจากนั้นเป็นต้นมา พอเราเข้าสมาธิธาตุไฟจะมาก่อนก็คือพอเริ่มร้อนสักพัก ธาตุลมก็มาพัดวนอยู่รอบตัวเรา....ก็คือได้มา 2 ธาตุแล้ว

    ก็ฝึกมันแค่ 2 ธาตุนั่นแหล่ะ ก็โทรถามน้องที่ฝึกสายสมเด็จลุน เราก็ถามว่าแล้วเมื่อไหร่ธาตุน้ำจะมาซักที ร้อนแทบตายแล้ว....น้องเขาบอกว่าให้เราเอานำ้ใส่ขันแล้วนั่งเพ่ง...เพ่งแทบตายก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น....ท้ายสุดร้อนจัดก็เลยยกน้ำในขันซดหมดไปเลยก็ยังไม่หายร้อน...ตอนนั้นรู้เลยว่าธาตุไฟของเรากำลังจะแตกแล้ว เพราะไม่สมดุลย์...ก็เลยเดินจากห้องพระมานั่งที่ระเบียงหน้าบ้านต่อ....เรียกว่าไม่ยอมแพ้แหล่ะ ถ้าธาตุไฟจะแตกตายเพราะการนั่งสมาธิเดินธาตุก็ยอม....เลยนั่งเดินธาตุต่อหน้าระเบียงบ้านนั่นแหล่ะ

    ด้วยความร้อนทรมานมาก พิจารณาสังขาร สภาวธรรม ขันธ์ ๕ รู้สึกตัวเองไม่ไหวแล้วจะขาดใจตายเสียให้ได้....ได้แต่ปลงและกำหนดจิตเป็นอุเบกขา ปล่อยวางลงเสีย.....ปรากฏว่าจู่ๆมีฝนตกลงมาใส่ตัวดิฉันทั้งที่เป็นหน้าร้อนกลางเดือนเมษายน...ก็เลยลืมตาขึ้นมาดูเป็นเม็ดฝนจริงๆด้วย แต่ตกแบบที่พระเขาพรมน้ำมนต์นะคะ แป็บเดียว ความร้อนในร่างกายเราก็เย็นลงเรื่อยๆ ก็เลยเงยหน้าขึ้นมามองท้องฟ้า เพียงเสี้ยววินาที ดิฉันเห็นพ่อปู่ท้าวมหาพรหมลอยมาองค์ใหญ่ ใสเหมือนแก้วประพาฬ แล้วท่านก็หายไป เรียกว่าเห็นจากตาเนื้อค่ะ ไม่ใช่หลับตาเห็น...ตอนนั้นปลื้มปิติมาก น้ำตาไหลเลยค่ะ พ่อปู่เมตตารักษาธาตุขันธ์ให้มิให้แตกสลายไปเสียก่อน....

    ใครฝึกถึงตรงนี้ให้ระวัง ดับธาตุไฟไม่ได้ ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นค่ะ...ตัวดิฉันก็ดับเองไม่ได้ ครูบาอาจารย์เมตตามาช่วยดับไฟในกายให้ ถึงยังดำรงธาตุขันธ์อยู่ได้ทุกวันนี้


    สรุปก็คือได้ธาตุน้ำนับตั้งแต่บัดนั้น...ก็เลยได้มา 3 ธาตุก็คือ ไฟ ลม น้ำ แต่ยังขาดธาตุดิน.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  11. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,079
    ไม่ผิดหวังเลยครับคุณพรหมณี เชื่ออยู่แล้วว่าประสบการณ์ของท่านสุดยอด เพื่อนๆสมาชิกหลายๆท่านคงได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากบทความของคุณพรหมณี ต้องขออนุโมทนาด้วยครับ
     
  12. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง
    " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "


    --------------------------------------------------------------------------------

    ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ

    ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่

    ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น

    สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้

    นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย (คือ นิมิต) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบายให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดีมีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ เมื่อจะเกิด เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือเกิดจากฌาน ๑ สมาธิ ๑ เมื่ออบรมและรักษาธรรม ๒ ประการนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว นิมิตทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเองอุปมาดังต้นไม้ที่มีดอกและผล ปรนปรือปฏิบัติรักษาต้นมันไว้ให้ดีเถิด อย่ามัวขอแต่ดอกผลของมันเลย เมื่อต้นของมันแก่แล้ว มีวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าคงได้รับดอกแลผลเป็นแน่นอน ดีกว่าจะไปมัวขอผลแลดอกเท่านั้น

    นิมิต ที่เกิดจากฌานนั้น เมื่อจิตตกเข้าถึงฌานเมื่อไรแล้ว นิมิตทั้งหลายมีอสุภเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้นว่า จิตเมื่อเข้าจะเข้าถึงฌานได้ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์นี้เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้ ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วนิมิตนั้นก็หายไปพร้อมทั้งภวังค์ด้วย ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้วภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิตที่น่าเพลิดเพลินนั้นโดยสำคัญว่าเป็นจริง ถ้านิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว กลัวจนตัวสั่น เสียขวัญ บางทีก็รู้อยู่ว่านั่นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้งเพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ มีโอภาโส แสงสว่างเป็นต้น ถ้าไม่เข้าถึงภวังค์ มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นที่ตั้งของปัญญาได้เป็นอย่างดี มีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในที่นี้เอง นิมิตนั้นเลยกลายเป็นอุปจารสมาธินิมิตไป ส่วนภวังคุปัจเฉทะไม่มีนิมิตเป็นเครื่องปรากฏ ถ้ามีก็ต้องถอยออกมาตั้งอยู่ในภวังคจลนะเสียก่อน ตกลงว่านิมิตมีที่ภวังคจลนะอยู่นั่นเอง

    นิมิตที่เกิดในสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นในภูมิของขณิกสมาธิ วับแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วก็หายไป อุปมาเหมือนกันกับบุคคลผู้เป็นลมสันนิบาตมีแสงวูบวาบเกิดขึ้นในตา หาทันได้จำว่าเป็นอะไรต่ออะไรไม่ ถึงจะจำได้ก็อนุมานตามทีหลังคล้ายๆ กับภวังคบาตเหมือนกัน ถ้าเกิดในอุปจารสมาธินั้น นิมิตชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นที่ตั้งขององค์วิปัสสนาปัญญา เช่นเมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่ พอจิตตกลงเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว หรือเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ นิมิตปรากฏชัดเป็นตามจริงด้วยความชัดด้วยญาณทัสสนะในที่นั้น

    เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำ ตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นเวทนาเป็นเหมือนกับฟองแห่งน้ำ เป็นก้อนวิ่งเข้ามากระทบฝั่งแล้วก็สลายเป็นน้ำตามเดิม เห็นสัญญาเป็นเหมือนพยับแดด ดูไกลๆ คล้ายกับเป็นตัวจริง เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของมันจริงๆ แล้ว พยับแดดนั้นก็หายไป เห็นสังขารเหมือนกับต้นกล้วยซึ่งหาแก่นสารในลำต้นสักนิดเดียวย่อมไม่มี เห็นวิญญาณเปรียบเหมือนมายาผู้หลอกให้จิตหลงเชื่อ แล้วตัวเจ้าของหายไปหลอกเรื่องอื่นอีก ดังนี้เป็นต้น เป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นแจ้งว่า สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ต้องเหมือนกันดังนี้ทั้งนั้น ขันธ์มีสภาวะเป็นอยู่อย่างนี้ทั้งนั้น ขันธ์มิใช่อะไรทั้งหมด เป็นของปรากฏอยู่เฉพาะของเขาเท่านั้น ความถือมั่นอุปาทานย่อมหายไป มิได้มีวิปลาสที่สำคัญว่าขันธ์เป็นตนเป็นตัว เป็นอาทิ


    สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ

    ขณิกสมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ

    อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ

    อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียดอยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน

    อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย



    สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑

    สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น

    ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘

    ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด

    ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป

    รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่า อนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว

    ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้

    ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ

    เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส

    ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑

    ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม

    ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้

    ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน


    ความแปลกต่างของฌาน ภวังค์ สมาธิ จะได้แสดงตอนอรูปฌานต่อไป

    รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตฺถฌาน ๑

    ปฐมฌาน นั้นประกอบด้วยองค์ ๕ คือ มีวิตก ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์ ๑ วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว ๑ เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปีติ ๑ ปีติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข ๑ แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคคตา ๑ เรียกว่าปฐมฌานมีองค์ ๕

    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตนั้นยังไม่ถอนกิจ ซึ่งจะยกเอาพระกรรมฐานมาพิจารณาอีกย่อมไม่มี ฉะนั้นฌานชั้นนี้จึงคงยังปรากฏเหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านั้น

    ตติยฌาน มีองค์ ๒ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตติดอยู่ในอารมณ์ของตนมาก เพ่งเอาแต่ความสุขอย่างเดียว จึงยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา

    จตุตฺถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน คือ เอกัคคตาที่เพ่งเอาแต่ความสุขนั้นเป็นของละเอียด จนสุขนั้นไม่ปรากฏ เพราะสุขนั้นยังเป็นของหยาบกว่าเอกัคคตา จึงวางสุขอันนั้นเสีย แล้วยังคงมีอยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขา

    ฌานทั้งสี่นี้ละนิวรณ์ ๕ (คือสงบไป) ได้แล้วตั้งแต่ปฐมฌาน ส่วนฌานนอกนั้นกิจซึ่งจะต้องละอีกย่อมไม่มี ด้วยอำนาจการเพ่งเอาแต่จิตอย่างเดียวเป็นอารมณ์หนึ่ง จึงละองค์ของปฐมฌานทั้งสี่นั้นเป็นลำดับไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ตัวฌานตัวเดียว คือ เอกัคคตา ส่วนอุเบกขา เป็นผลของฌานที่ ๔ นั้นเอง แต่ปฐมฌานปรารภพระกรรมฐานภายนอกมาเป็นเหตุจำเป็น จึงต้องมีหน้าที่พิเศษมากกว่าฌานทั้ง ๓ เบื้องปลายนั้น ฌานทั้ง ๔ นี้ปรารภรูปเป็นเหตุ คือ ยกเอารูปพระกรรมฐานขึ้นมาเพ่งพิจารณา แล้วจิตจึงเข้าถึงซึ่งองค์ฌาน ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูปฌาน

    อรูปฌาน ๔ อรูปฌานนี้ ในพระสูตรต่างๆ โดยส่วนมากท่านไม่ค่อยจะแสดงไว้ เช่น ในโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นต้น พระองค์ทรงแสดงแต่รูปฌาน ๔ เท่านั้น ถึงพระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตากรรมฐานไว้ว่ามีอานิสงส์ ๑๐ ข้อ ๑๐ ความว่า ได้ฌานโดยไม่ลำบาก ดังนี้ แต่เมื่อกล่าวถึงวิหารธรรมของท่านผู้ที่เข้าสมาบัติแล้ว ท่านแสดงอรูปฌานไว้ด้วย สมาบัติ ๘ ฌานทั้ง ๘ นี้ บางทีท่านเรียกว่า วิโมกข์ ๘ บ้าง แต่ท่านแสดงลักษณะผิดแปลกออกไปจากฌาน ๘ นี้บ้างเล็กน้อย อรรถรสแลอารมณ์ของวิโมกข์ ๓ เบื้องต้น ก็อันเดียวกันกับรูปฌาน ๓ นั่นเอง เช่น วิโมกข์ข้อที่ ๑ ว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์แล้วเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น แต่รูปฌานแสดงแต่เพียง ๓ รูปฌานที่ ๔ เลยแสดงเป็นรูปวิโมกข์เสีย อรูปวิโมกข์ที่ ๔ เอาสัญญาเวทยิตนิโรธมาเข้าใส่ฌานทั้ง ๘ รวมทั้งสัญญาเวทยิตนิโรธเข้าด้วยเป็น ๙

    ฌานทั้งหมดนี้เป็นโลกีย์โดยแท้ แต่เมื่อท่านผู้เข้าฌานเป็นอริยบุคคล ฌานนั้นก็เป็นโลกุตตระไปตาม เปรียบเหมือนกับฉลองพระบาทของพระราชา เมื่อคนสามัญรับมาใช้แล้วก็เรียกว่ารองเท้าธรรมดา ฉะนั้น ข้อนี้จะเห็นได้ชัดทีเดียวดังในเรื่องวิโมกข์ ๘ นี้ พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ภิกษุจะฆ่าวิโมกข์ ๘ นี้ได้ด้วยอาวุธ ๕ ประการ คือ เข้าวิโมกข์ได้โดยอนุโลมบ้าง ทั้งอนุโลมแลปฏิโลมบ้าง เข้าออกได้ในที่ตนประสงค์ เข้าออกได้ซึ่งวิโมกข์ที่ตนประสงค์ เข้าออกได้นานตามที่ตนประสงค์ จึงจะสำเร็จ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ดังนี้

    ฉะนั้น ต่อไปนี้จะนำเอาอรูปฌาน ๔ มาแสดงไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำไปวิจารณ์ในโอกาสอันสมควร ผู้ได้รูปฌานที่ ๔ แล้วจิตตกลงเข้าถึงอัปปนาเต็มที่แล้ว ฌานนี้ท่านแสดงว่าเป็นบาทของอภิญญา คือเมื่อต้องการอยากจะรู้จะเห็นอะไรต่ออะไร แล้วน้อมจิตนั้นไปเพื่อความรู้ในสิ่งนั้นๆ (คือถอนจิตออกมาจากอัปปนามาหยุดในอุปจาระ) แล้วสิ่งที่ตนต้องการรู้นั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมาในที่นั้นเอง เมื่อไม่ทำเช่นนั้น จะเดินอรูปฌานต่อ ก็มาเพ่งเอาองค์ของรูปฌานที่ ๔ คือเอกัคคตากับอุเบกขามาเป็นอารมณ์ จนจิตนั้นนิ่งแน่วแน่แล้วไม่มีอะไร ไม่ใส่ใจในเอกัคคตาแลอุเบกขาแล้ว คงยังเหลือแต่ความว่างโล่งเป็นอากาศอยู่เฉยๆ

    อรูปฌานที่ ๑ จึงได้ยัดเอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ

    อรูปฌานที่ ๒ ด้วยอำนาจจิตเชื่อน้อมไปในฌานกล้าหาญ ย่อมเห็นอาการของผู้รู้ว่าจิตไปยึดอากาศ อากาศเป็นของภายนอก วิญญาณนี้เป็นผู้ไปยึดถือเอาอากาศมาเป็นอารมณ์ แล้วมาชมว่าเป็นตนเป็นตัว วิญญาณนี้เป็นที่รับเอาอารมณ์มาจากอายตนะภายนอก วิญญาณจึงได้กลับกลอกแลหลอกลวง เวลานี้วิญญาณล่วงพ้นเสียได้แล้วจากอายตนะทั้งหลาย วิญญาณไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย บริสุทธิ์เต็มที่ แล้วก็ยินดีในวิญญาณนั้น ถือเอาวิญญาณมาเป็นอารมณ์ข่มนิวรณธรรม อยู่ด้วยความบริสุทธิ์อันนั้น ดังนี้ เรียกว่าวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒

    อรูปฌานที่ ๓ วิญญาณเป็นอรูปจิต เมื่อติดอยู่กับวิญญาณแล้ว นิมิตอันเป็นของภายนอกซึ่งจะส่งเข้าไปทางอายตนะทั้ง ๕ มันก็ไม่รับ เพ่งเอาแต่ความละเอียดแลความบริสุทธ์อันเป็นธรรมารมณ์ภายในอย่างเดียว จิตเพ่งผู้รู้ดูผู้ละเอียดก็ยิ่งเห็นแต่ความละเอียด ด้วยความน้อมจิตเข้าไปหาความละเอียดจิตก็ยิ่งละเอียดเข้าไปทุกที เกือบจะไม่มีอะไรเลยก็ว่าได้ ในที่นั้นถือว่าน้อยนิดเดียวก็ไม่มี (คืออารมณ์หยาบไม่มี) เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๓


    อรูปฌานที่ ๔ ด้วยอำนาจการเพ่งว่าน้อยหนึ่งในที่นี้ก็ไม่มีดังนี้อยู่ เมื่อจิตน้อมไปในความละเอียดอยู่อย่างนั้น ความสำคัญนั่นนี่อะไรต่ออะไรย่อมไม่มี แต่ว่าผู้ที่น้อมไปหาความละเอียดแลผู้รู้ว่าถึงความละเอียดนั้นยังมีอยู่ เป็นแต่ผู้รู้ไม่คำนึงถึง คำนึงเอาแต่ความละเอียดเป็นอารมณ์ ฉะนั้น ในที่นั้นจะเรียกว่าสัญญาความจำอารมณ์อันหยาบก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีเสียแล้ว จะเรียกว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่ความจำว่าเป็นของละเอียดยังมีปรากฏอยู่ ฌานชั้นนี้ท่านจึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔
    เมื่อแสดงมาถึงอรูปฌานที่ ๔ นี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายสมควรจะได้อ่านฌานวิเศษ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธต่อไปอีกด้วย เพราะเป็นฌานแถวเดียวกัน แลเป็นที่สุดของฌานทั้งหลายเหล่านี้ คือผู้เข้าอรูปฌานที่ ๔ ชำนาญแล้ว เมื่อท่านจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็มายึดเอาอรูปฌานที่ ๔ นี้เองมาเป็นอารมณ์ ด้วยการไม่ยึดเอาความหมายอะไรมาเป็นนิมิตอารมณ์เสียก่อนเมื่อจะเข้า ตามนัยของนางธัมมทินนาเถรี ตอบปัญหานางวิสาขอุบาสก ดังนี้ ไม่ได้คิดว่าเราจักเข้า หรือเข้าอยู่ หรือเข้าแล้ว เป็นแต่น้อมจิตไปเพื่อจะเข้า ก็ได้อบรมจิตไว้อย่างนั้นแล้วก่อนแต่จะเข้า เมื่อเข้านั้นวจีสังขารคือความวิตกดับไปก่อน แล้วกายสังขารคือลมหายใจ แลจิตสังขารคือเวทนา จึงดับต่อภายหลัง

    ส่วนการออกก็ไม่ได้คิดอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นแต่ได้กำหนดจิตไว้แล้วก่อนแต่จะเข้าเท่านั้น ว่าเราจะเข้าเท่านั้นวันแล้วจะออก เมื่อออกนั้นจิตสังขารเกิดก่อน แล้วกายสังขาร-วจีสังขารจึงเกิดตามๆ กันมา เมื่อออกมาทีแรก ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑ อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ถูกต้องแล้ว ต่อนั้นไปจิตนั้นก็น้อมไปในวิเวกดังนี้


    คัดลอกจากคู่มือส่องทางสมถวิปัสสนา
     
  13. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    มีหลายท่านในที่นี้อาจจะฝึกสมาธิวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้วอาจจะยังไม่ทราบว่าตนเองได้ฌาณสมาธิในระดับใด ก็ลองเทียบกับอารมณ์ฌาณที่หลวงปู่เทสก์ได้กล่าวไว้ชัดแจ้ง อ่านง่ายดีแล้ว....


    เมื่อฝึกปฏิบัติต่อไปจนเกิดความชำนาญและมีความก้าวหน้าในกำลังฌาณดีแล้ว ก็ลองทดสอบในการเดินธาตุกัมมัฏฐาน หรือจะลองเล่นแร่แปรธาตุดูบ้าง อย่างที่คุณทิพยจักรได้กล่าวไว้ เพื่อเป็นการทดสอบศิล สมาธิและปัญญาว่ามีความก้าวหน้าเพียงใด

    แต่ว่าจะปฏิบัติอย่างไรครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า การปฏิบัตินั้นจะต้องนำไปเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร ถ้านอกเหนือจากนั้นถือว่าไม่ใช่.....

    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

    "ความสุขใดๆในโลกนี้เหนือความสงบนั้นไม่มี "

    "แสงสว่างใดๆในโลกนี้เหนือแสงสว่างจากปัญญานั้นไม่มี"
     
  14. สิริมงคลชัย

    สิริมงคลชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    660
    ค่าพลัง:
    +1,091
    คตปรอทจากลาว....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      191.7 KB
      เปิดดู:
      130
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      181.4 KB
      เปิดดู:
      128
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      190.9 KB
      เปิดดู:
      116
  15. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,079
    ปรอททนสิทธิ์ทุกๆองค์เมื่อแรกจะมีสีขาวเงินยวง แต่เมื่อใดที่หยิบขึ้นมาทำสมาธิกำหนดจิตลงไป ธาตุของปรอทจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีสันขึ้นมาทันที ปรอทบางองค์ยังกินทองคำเปลวอยู่เมื่อลองให้ปรอทเสพทองคำเปลว สีสันของปรอทจะกลับสีสวยงามยิ่งขึ้นเพราะได้ธาตุทองเข้ามาเสริม

    การทำสมาธิเพื่อเรียกอำนาจจากปรอทหรือเหล็กไหลและธาตุอื่นๆ ใช้ใจกับกายเป็นสื่อ คือใช้จิตมุ่งไปที่ตัวธาตุแต่อย่ากดดันจนเครียด เอาพอเป็นสมาธิสบายๆ หรือภาวนาคำใดคำหนึ่ง เช่นพุทโธ หรือนะมะพะทะไว้ในใจอย่างสบายๆ ใช้การสัมผัสเป็นสื่อประกอบคือจับไว้ในมือ หรือปลายนิ้วเพื่อให้พลังจากธาตุแทรกซึมลงไปในธาตุขันธ์ได้อย่างสะดวก หรือวางไว้หน้าหิ้งพระแล้วมองภาพจับภาพของธาตุนั้นให้ติดตาเป็นอารมณ์ กำหนดใจว่ารัศมีของธาตุส่องผ่านเข้าในกาย วิธีแบบนี้สามารถดึงพลังจากธาตุเข้ามารักษาอาการเจ็บป่วยหรือปรับสมดุลกายใจของเราได้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,079
    ดวงแก้ว "แก้วเข้าแก้ว" ของอาจารย์โยธิน ชิ้นนี้มีเจตสิกบางอย่างอยู่ภายใน อาจารย์ท่านเล่าวว่าเมื่อลองนำเอาแก้วดงนี้มานั่งสมาธิด้วยมักได้นิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ บางตำราเรียกแก้วเข้าแก้วว่า แก้วกุมารทอง มีอานุภาพทั้งคุ้มครอง บอกเหตุล่วงหน้าและเมตตามหานิยม ให้สังเหตหน่อแก้วที่อยู่ภายในดวงแก้วครับ แบบนี้แหละครับที่เรียกว่าแก้วเข้าแก้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,079
    เหล็กไหลก็ดี ปรอทวิเศษก็ดีจะมีรังสี หรือพลังงานที่แผ่ออกมา แต่การแผ่รังสีของธาตุพิเศษนั้นมีคุณสมบัติไม่เหมือนกับรังสีของธาตุกัมมันตภาพรังสี เพราะรังสีของเหล็กไหลหรือปรอท สามารถแผ่คลื่นพลังงานในระดับต่างๆกันและให้ผลต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับเจตสิกภายในว่ามีจุดประสงค์อย่างไร ดังนั้นปรอทวิเศษและเหล็กไหล จึงมีคลื่นรังสีทั้งร้อนทั้งเย็นอยู่ภายใน สามารถส่งคลื่นในทางบำบัดรักษาโรคหรือคลื่นในลักษณะทำลายก็ได้ สามารถส่งคลื่นในหลายๆรูปแบบ แม้กระทั่งสามารถดับหรือปิดตัวเองไม่ให้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์หรือพลังจิตของมนุษย์จับคลื่นพลังของเขาก็ได้ ทั้งปรอทและเหล็กไหล ถือเป็นธาตุสองมิติ คือปรากฏอยู่บนโลกวัตถุส่วนนึงและปรากฏอยู่ในโลกวิญญาณส่วนนึง สามารถไปมาในสองมิติ ด้วยเหตุนี้เรื่องปรอทก็ดีเหล็กไหลก็ดี จึงเป็นเรื่องที่ยากต่อการทำความเข้าใจของคนทั่วไป

    ส่วนการได้ครอบครองเป็นเจ้าของเหล็กไหลหรือปรอทนั้น ครูบาอาจารย์กล่าวไว้ว่าบุคคลผู้นั้นในอดีตต้องเคยเกิดเป็นฤๅษีบำเพ็ญตบะมาหลายภพหลายชาติครูบาอาจารย์ที่เป็นเทพฤๅษีพรหมฤๅษีในอดีตจึงยินดีมอบให้ การทำปรอทสำเร็จเช่นกัน ผู้ที่จะสำเร็จปรอทต้องมีบุญทางด้านนี้มาแต่อดีตชาติ ต้องเคยเกิดเป็นฤๅษีสิทธิ์วิทยาธรในกาลก่อนมาแล้ว ปัจจุบันชาติจึงเกิดสัญญาเดิม มีจริตนิสัยในทางเล่นแร่แปรธาตุ ประกอบกับกุศลในปัจจุบัน ทาง ศีล สมาธิปัญญา เมื่อหุงปรอทเข้าครูบาอาจารย์แต่อดีตชาติก็เข้ามาประสิทธิให้ ทำให้สำเร็จปรอทดังนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. พรหมณี

    พรหมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    2,547
    ค่าพลัง:
    +12,867
    ตอนนี้พระจันทร์เต็มดวง เลยนำปรอท ลูกแก้ว คตไม้งิ้วดำ เหล็กไหลเงินยวง ฯลฯ ไปอาบแสงจันทร์ พลังแรงดีจังค่ะ

    เดินธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปด้วย เหงื่อท่วมตัวไปเลยค่ะ
     
  19. ทิพยจักร

    ทิพยจักร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,268
    ค่าพลัง:
    +10,079
    เกร็ดความรู้ครับ

    อำนาจแสงอาทิตย์ แสงจันทร์มีผลกับวัตถุธาตุต่างๆในโลก การทำน้ำมนต์พระจันทร์หรือน้ำมนต์น้ำเพ็ญของสมเด็จพระสังฆราชแพ ท่านจะเอาน้ำตั้งแต่ตอนหัวรุ่ง ให้น้ำสัมผัสกับแสงเงินแสงทองจากนั้นก็ตั้งขันน้ำตลอดทั้งวันรอจนพระจันทร์ขึ้น อยู่กลางศีรษะ เลยเที่ยงคืนสักหน่อยก็นำมารดเป็นน้ำพระพุทธมนต์

    อำนาจอิทธิพลของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว มีผลต่อชีวิตบนโลก โยคีโบราณค้นพบอัญญมณี และโลหะธาตุที่มีความสัมพันธ์กับดวงดาว สามารถใช้ธาตุต่างๆป้องกันรังสีที่ส่งพลังลบมายังโลกและชีวิตมนุษย์ได้ ในหนังสืออัตตชีวะประวัติ โยคานันทะ เล่าไว้ว่าตัวของโยคานันจะต้องป่วยเป็นโรคตับนานถึง ๖ เดือน แต่ถ้าด้รับการสวมใส่กำไลที่ทำด้วยเงินและตะกั่ว ผลจากโลหะทั้งสองจะบรรเทาอาการป่วยทำห้ป่วยในระยะเวลาสั้นๆเพียง ๒๔ วันเท่านั้น และก็เป็นจริงตามนั้นเมื่อโยคานันหากำไลดังกล่าวมาใส่ เมื่อถึงคราวจะป่วยก็นับเวลาป่วยได้ ๒๔ วันพอดี จากนั้นทุกอย่างก็กลับคืนสู่ภาวะปกติ
     
  20. Thana 2

    Thana 2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    653
    ค่าพลัง:
    +2,878


    พี่สิริมงคลชัย บูชามาลูกละเท่าไหร่ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...