ประมวลภาพ : พระจริยวัตร พระกรณียกิจ "สมเด็จพระสังฆราช" ในดวงใจชาวไทยกว่า 24 ปี

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 25 ตุลาคม 2013.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ประมวลภาพ : พระจริยวัตร พระกรณียกิจ "สมเด็จพระสังฆราช" ในดวงใจชาวไทยกว่า 24 ปี

    [​IMG]

    ประมวลภาพ พระจริยวัตร พระกรณียกิจ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็น “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา”

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงตำแหน่ง เมื่อปี 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรกของไทยที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 100 พรรษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าทรงมีพระชนมายุมากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีพระมหาเถระได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จสังฆราชทั้งหมด 19 พระองค์ ที่สำคัญทรงดำรงสมณศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวม 24 ปี ถือว่ายาวนานที่สุดเมื่อเทียบกับสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตที่ผ่านมา

    ทั้งยังทรงได้ยกย่องให้เป็น “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา” เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555 ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธโลกจาก 32 ประเทศ ที่ได้ทูลถวายตำแหน่งพระเกียรติยศอันสูงสุด แสดงให้เห็นถึงพระเกียรติคุณที่ได้รับการแซ่ซ้องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลก

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000133348
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2013
  2. Sirisuk

    Sirisuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +445
    รวมธรรมบรรยาย สมเด็จพระญาณสังวรฯ

    รวมธรรมบรรยาย โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

    อ่านทั้งหมดได้ที่
    สมเด็จพระญาณสังวรฯ - สัจจธรรมแห่งชีวิต - Wunjun Group

    รายละเอียด (สารบัญ)

    วิธีสร้างบุญบารมี : สมเด็จพระญาณสังวรฯ
    จิตบรรลุนิพพาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    การปฏิบัติอบรมจิต (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    หลักการทำสมาธิเบื้องต้น (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    สุญญตา ๑ (กำหนดป่า-แผ่นดิน)
    สุญญตา ๒ (กำหนดอากาศ-วิญญาณฯ)
    สุญญตา ๓ (อนิมิตเจโตสมาธิ นิพพานฯ)
    สุญญตา ๔ (นิยานิกธรรม)
    สุญญตา ๕ (สมาธินิมิต)
    สุญญตา ๖ (ศึล สมาธิ ปัญญา)
    สุญญตา ๗ (วิธีฟังธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
    แสวงหาตน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การทำจิตให้ตั้งเป็นสมาธิ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร [What Did Buddha Teach?]
    ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะ สรุปมรรค๘ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อย่าทำผิดทั้งชีวิต (พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช)
    กรรม (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช)
    การภาวนา (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช)
    พุทธชยมงคลคาถาบรรยาย (สมเด็จพระญาณสังวร)
    รสแห่งความเมตตา ชุ่มเย็นยิ่งนัก (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อุปนิสัย ๓ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กายานุปัสสนา ๔ ชั้น (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เวทนานุปัสสนา ๔ ชั้น (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ประมวลหลักปฏิบัติ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    จิตตานุปัสสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    จิตที่มีศีล สมาธิ ปัญญา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธัมมานุปัสสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ของกรรมฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธรรมานุปัสสนา ๔ ชั้น (สมเด็จพระญาณสังวร)
    วิมุตติจิต (สมเด็จพระญาณสังวร)
    บารมีและอาสวะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อารักขกรรมฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การอบรมปัญญา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กรรมฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ข้อที่ควรปฏิบัติเป็นขั้นที่หนึ่ง (สมเด็จพระญาณสังวร)
    มรรค ๘ อินทรีย์ ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อานาปานสติ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สติรู้ลมหายใจ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัญมะ ทมะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ผู้มีตนเป็นที่พึ่ง (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติแย่งจิตจากกิเลส (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การหัดปฏิบัติเพื่อสมถะและวิปัสสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    มูลกรรมฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธาตุกรรมฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    หลักของการปฏิบัติกรรมฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    วิธีปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ นิวรณ์ ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ขันธ์ ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อายตนะภายในภายนอก สังโยชน์ เกิดดับ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    โพชฌงค์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ปัญญาในโพชฌงค์ ทุกข์ ทุกข์อริยสัจจ์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การสร้างธรรมจักษุให้บังเกิดขึ้นในตน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    วิธีหัดพิจารณาให้ได้ปัญญาในทุกขสัจจะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติเพื่อให้พ้นวัฏฏทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ทุกข์ ๒ ชั้น (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กิจที่พึงปฏิบัติในพุทธศาสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สรุปธรรมานุปัสสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อายตนะภายในภายนอก (สมเด็จพระญาณสังวร )
    สติ สัมปชัญญะ องค์ฌาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ทุกขทุกข์ สังขารทุกข์ วิปรินามทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธรรมะที่เป็นพหุลานุสาสนี (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เริ่มต้นปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ความว่าง (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ปิยะรูป สาตะรูป (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาสมาธิในพุทธศาสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เอกายนมรรค ทางปฏิบัติอันเดียว (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สติ อนุสสติ ญาณ ปัญญา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ปัญญาที่รู้ที่เห็นในสัจจะทั้ง ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย (สมเด็จพระญาณสังวร)
    วิตักกสันฐานสูตร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เทวธาวิตักกสูตร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัลเลขปฏิบัติ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัพพาสวสังวรสูตร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อิติวิตกติกนิบาต (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เรื่องจิตนี้ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    จิต วิญญาณ มโน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เจโตขีลสูตร (สมเด็จพระญาณสังวร)

    สัมมาทิฏฐิ ๑ เบื้องต้นของสัมมาปฏิบัติ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒ ความรู้จักอาหาร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓ ความรู้จักทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๔ ความรู้จักชรามรณะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๕ ความรู้จักชาติความเกิด (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๖ ความรู้จักภพ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๗ ความรู้จักอุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๘ ความรู้จักสีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๙ ความรู้จักอัตตวาทุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๑๐ ความรู้จักสักกายทิฏฐิ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๑๑ ความรู้จักตัณหา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๑๑-๑๕ ความรู้จักตัณหา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๑๖ ความรู้จักเวทนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๑๗ ความรู้จักผัสสะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๑๘ ความรู้จักอายตนะ ๖ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๑๙ ความรู้จักนามรูป (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๐ ความรู้จักนามรูป (ต่อ) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๑ ความรู้จักวิญญาณ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๒ ความรู้จักสังขาร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๓ ความรู้จักอวิชชา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๔ ความรู้จักอวิชชา (ต่อ) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๕ ความรู้จักอวิชชา (ต่อ)(สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๖ ความรู้จักอวิชชา (ต่อ)(สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๗ ความรู้จักอาสวะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๘ ความรู้จักอาสวะ (ต่อ)(สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๒๙ ความรู้จักอาสวะ (ต่อ)(สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๐-๓๑ ความรู้จักอาสวะเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๒-๓๓ อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๔ สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๕ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๖ นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดอายตนะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๗ อายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๘ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๓๙ ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๔๐ อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๔๑ อริยสัจจ์โดยพิสดาร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๔๒ อริยสัจจ์โดยพิสดาร (ต่อ)(สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมาทิฏฐิ ๔๓ สรุปสติปัฏฐาน ๔ (สรุปสติปัฏฐาน ๔)

    พระพุทธคุณบทว่า อรหํ (๑) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระพุทธคุณบทว่า อรหํ (๒) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระพุทธคุณบทว่า อรหํ (๓) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระพุทธคุณบทว่า อรหํ (๔) สมเด็จพระญาณสังวรฯ

    พระพุทธคุณบทว่า สัมมาสัมพุทโธ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า วิชชาจรณสัมปันโน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    วิชชา ๘ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระพุทธคุณบทว่า จรณะสัมปันโน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    เสขะปฏิปทา ๑๕ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    พระพุทธคุณบทว่าสุคโต (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า โลกวิทู (๑) (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่าโลกวิทู (๒) (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า อนุตโรปุริสทัมสารถิ (๑) (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า อนุตโรปุริสทัมสารถิ (๒)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า อนุตโรปุริสทัมสารถิ (๓)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    พระพุทธคุณบทว่า พุทโธ (๑)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า พุทโธ (๒)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า พุทโธ (๓)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า พุทโธ (๔)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๑)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๒)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๓)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๔)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๕)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๖)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๗)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธคุณบทว่า ภควา (๘)(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    การปฏิบัติทำจิตตภาวนา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ไตรสิกขา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ) เบื้องต้นของกุศลธรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    กาย เวทนา จิต ธรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    การปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ขันติ อธิวาสนขันติ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    อนุโลมิกขันติ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    มาร ๕ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    อรรถอันแท้จริงของคำว่าธรรมะ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    พระธรรมคุณ ๑ สวากขาโต สติกำหนดดู กาย เวทนา จิต ธรรม (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระธรรมคุณ ๒ สันทิฏฐิโก การปฏิบัติสติปัฏฐานประจำวัน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๓ อกาลิโก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๔ อกาลิโก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๕ อกาลิโก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๖ เอหิปัสสิโก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๗ เอหิปัสสิโก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๘ เอหิปัสสิโก กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๙ โอปนยิโก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๑๐ โอปนยิโก การปฏิบัติตั้งสติกำหนดเวทนา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๑๑ โอปนยิโก เวทนา ๕ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๑๒ โอปนยิโก การปฏิบัติที่ถูกตรงต่อพระธรรมคุณบทนี้ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระธรรมคุณ ๑๓โอปนยิโก สติกำหนดตามดูจิตสืบต่อจากเวทนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระธรรมคุณ ๑๔ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๑๕ โอปนยิโก กำหนดดูจิต นิวรณ์ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระธรรมคุณ ๑๖ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพวิญญูหิ จิตตานุปัสสนา ขันธ์๕ (สมเด็จพระญาณสังวร

    อายตนะ สังโยชน์ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    เหตุเกิดนิวรณ์ เหตุดับนิวรณ์ โพชฌงค์ ๗ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ พรหมวิหารธรรมข้อเมตตา
    หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ พรหมวิหารธรรมข้อกรุณา
    หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ พรหมวิหารธรรมข้อมุทิตา
    หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ พรหมวิหารธรรมข้ออุเบกขา

    สติสัมโพชฌงค์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สติสัมโพชฌงค์ ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
    ข้อว่าด้วยอายตนะ สังโยชน์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    โลกทั้งหมดเป็นสิ่งที่เกิดดับ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ความจริงที่ครอบโลก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    เหตุให้เกิดทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ตัณหาเหตุให้เกิดทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    การปฏิบัติที่จะทำให้เป็นผู้รู้ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    การปฏิบัติเพื่อเห็นทุกขสัจจะ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    พระพุทธเจ้าเป็นสรณะคือที่พึ่ง (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ความดับทุกข์ ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม ปฏิเวธธรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    สังฆานุสสติ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    สังฆานุสสติ สุปฏิปันโน ภวควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    สังฆานุสสติ อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    สังฆานุสสติ ญายะปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ฆานุสสติ สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ฆานุสสติ อาหุเนยโย ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ฆานุสสติ ปาหุเนยโย ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ฆานุสสติ ทักขิเนยโย ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ฆานุสสติ อัญชลิกรณีโย ภควโต สาวกสังโฆ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ฆานุสสติ อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    ความในพระสูตรที่ตรัสสอนพระราหุล (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    สติ ธรรมะที่มีอุปการะมาก (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    การปฏิบัติธรรมที่เข้าถึงธรรม (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    อปัณณกปฏิปทา (๑) การปฏิบัติที่ไม่ผิด โลกธรรม ๘
    อปัณณกปฏิปทา (๒) กาลามสูตร
    อปัณณกปฏิปทา (๓) พรหมวิหารธรรมข้อเมตตา
    อปัณณกปฏิปทา (๔) พรหมวิหารธรรมข้อกรุณา
    อปัณณกปฏิปทา (๕) พรหมวิหารธรรมข้อมุทิตา
    อปัณณกปฏิปทา (๖) พรหมวิหารธรรมข้ออุเบกขา
    อปัณณกปฏิปทา (๗) อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    อปัณณกปฏิปทา (๘) สรุปอัปปมัญญาพรหมวิหาร โพชฌงค์ ๗

    เอกายนมรรค (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    การปฏิบัติในสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    โลกคือขันธ์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    หลักปฏิบัติในไตรสิกขา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติเพื่อปัญญา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สมมติบัญญัติ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    โพธิปักขิยธรรม กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนา ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๑) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๒) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (๓) ขันธ์ ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อายตนะ สัญโญชน์ (สมเด็จพระญาณสังวร)

    สัมมัปปธาน ๔ (๑) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมมัปปธาน ๔ (๒) (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อิทธิบาท ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อินทรีย์ ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พละ ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    โพชฌงค์ ๗ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    มรรค ๘ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติอบรมจิต (สมเด็จพระญาณสังวร)

    พรสำคัญของชีวิต (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติธรรม (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ฌาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติของผู้มีสัมมาทิฏฐิ กิจที่พึงกระทำทุกวัน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การทำสมาธิในการฟัง (สมเด็จพระญาณสังวร)
    บุคคล ๓ จำพวก (สมเด็จพระญาณสังวร)

    การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติในประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ภายหน้า (สมเด็จพระญานสังวร)
    จิตตภาวนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กรรมฐานเบื้องต้น (สมเด็จพระญาณสังวร)
    หลักปฏิบัติเบื้องต้นในสติปัฏฐาน ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อุปการธรรม ๔ ประการ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติเพื่อให้ได้สมาธิ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    แนวปฏิบัติในองค์ฌานทั้ง ๕ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กุศลวิตก อกุศลวิตก วิตกวิจารในอารมณ์ของสมาธิ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ข้อที่ทรงปฏิบัติเมื่อก่อนจะตรัสรู้ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)

    อานาปานสติ ๔ ชั้นในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อานาปานสติ ๔ ชั้นในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อานาปานสติ ๔ ชั้นในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อานาปานสติ ๔ ชั้นในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)

    สฬายตนวิภังคสูตร (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พระพุทธคุณบทว่า อนุตโร ปุริสทัมสารถิ สติปัฏฐานของพระบรมศาสดา
    การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    เบื้องต้นของนิวรณ์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    หลักปฏิบัติในโพชฌงค์ทั้ง ๗ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    เบื้องต้นแห่งการปฏิบัติธรรม (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัจจะธรรม กาลเวลา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อาหารของนิวรณ์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    นิวรณ์ ๕ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัจจธรรม อริยสัจจ์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ทุกขอริยสัจจ์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สังขาร วิสังขาร (สมเด็จพระญาณสังวร)

    ธรรมจักขุดวงตาเห็นธรรม (สมเด็จพระญาณสังวร)
    หลักอริยสัจจ์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สังขารทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    วิปรินามทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สชาติปัญญา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ปัญญาเห็นธรรม ความเวียนเกิดเวียนตาย (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ทุกขสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)

    ตัณหา ๓ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ปิยรูป สาตรูป (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    ทุกขนิโรธความดับทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธรรมชาติของจิต (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
    สมาธิ ๔ วิปัลลาส ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)

    อานาปานสติสมาธิชั้นที่ ๑-๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อิริยาปถปัพพะ เวทนานุปัสสนาชั้นที่ ๑ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    สัมปชัญญะปัพพะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ธาตุกรรมฐาน เวทนานุปัสสนาชั้นที่ ๒ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ป่าช้าข้อ ๑-๙ เวทนานุปัสสนาชั้นที่ ๓ และ ๔
    การพิจารณาภายในภายนอก เกิดดับ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติก่อนตรัสรู้
    วิตักกสัณฐานสูตร (สมเด็จพระญาณสังวร)

    ศีล สมาธิ ปัญญา (สมเด็จพระญาณสังวร)กามฉันท์ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    นิวรณ์ข้อพยาบาท (สมเด็จพระญาณสังวร)
    นิวรณ์ข้อถีนมิทธะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อนาหารของนิวรณ์ข้อถีนมิทธะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    กรรมฐานป้องกันถีนมิทธะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    นิวรณ์ข้ออุทธัจจะกุกกุจจะ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    อนาหารของอุทธัจจะกุกกุจจะ (สมเด็จพระญาณสังวร)

    นิวรณ์ข้อวิจิกิจฉา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พุทธานุสสติ ภควโต (สมเด็จพระญาณสังวร)
    พุทธานุสสติ อรหโต แนวปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔
    พุทธานุสสติ สัมมาสัมพุทธะ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ศีล สมาธิ ปัญญา อานาปาสติสมาธิชั้นที่ ๒
    จิตตภาวนา การปฏิบัติในสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    จิตภาวนา สติปัฏฐาน ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)
    หลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)

    ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม (สมเด็จพระญาณสังวร)
    ข้อปฏิบัติข้อแรกในสติปัฏฐาน (สมเด็จพระญาณสังวร)
    การปฏิบัติในสติปัฏฐาน อานาปานสติ ๔ ชั้น
    สัมปชัญญะในอิริยาบถ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
    การปฏิบัติในจิตตภาวนา (สมเด็จพระญาณสังวร)
    จริต ๔ (สมเด็จพระญาณสังวร)

    อ่านทั้งหมดได้ที่
    สมเด็จพระญาณสังวรฯ - สัจจธรรมแห่งชีวิต - Wunjun Group
    รวมธรรมบรรยาย สมเด็จพระญาณสังวรฯ (สารบัญ) - สมเด็จพระญาณสังวรฯ - สัจจธรรมแห่งชีวิต - Wunjun Group

    ขอบคุณที่มาทั้งหมด
    และ Home Main Page
     
  3. nuttawat_chin

    nuttawat_chin เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2013
    โพสต์:
    3,791
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +527
    ขอบคุณมากๆครับ
     
  4. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,612
    ขอน้อมกราบในบารมีของพระองค์ท่าน และขออนุโมทนากับท่านที่นำมาเผยแผ่ด้วยค่ะ
     
  5. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    ขอกราบพระองค์ท่านที่ทรงพระเมตตาชาวพุทธมาตลอด และขอบพระคุณทุกท่านที่จัดหาทั้งภาพและคำสอนของพระองค์ท่านมาให้ค่ะ อยากหาผลงานของท่านมาอ่านนานแล้วค่ะ โมทนาสาธุค่ะ
     
  6. thexjeab

    thexjeab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +685
    ขอกราบนมันสการท่านสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และขอน้อมส่งพระองค์ท่านเข้าสู่นิพพาน

    ขออนุโมทนากับท่านที่นำมาเผยแผ่ด้วยครับ
     
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระนามเดิม เจริญ นามสกุล คชวัตร ประสูติ เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ณ จ.กาญจนบุรี ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ 14 พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี ก่อนเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร สิ้นพระชนม์เมื่อ 24 ตุลาคม 2556 รวมพระชนม์มายุ 100 ปี 21 วัน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ประมวลภาพพระจริยวัติสมเด็จพระสังฆราช - โพสต์ทูเดย์ อัลบัมภาพ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.png
      1.png
      ขนาดไฟล์:
      530.6 KB
      เปิดดู:
      3,688
    • 2.png
      2.png
      ขนาดไฟล์:
      569 KB
      เปิดดู:
      3,224
    • 3.png
      3.png
      ขนาดไฟล์:
      454.8 KB
      เปิดดู:
      3,435
    • 4.png
      4.png
      ขนาดไฟล์:
      462.7 KB
      เปิดดู:
      2,885
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 5.png
      5.png
      ขนาดไฟล์:
      262.1 KB
      เปิดดู:
      2,675
    • 6.png
      6.png
      ขนาดไฟล์:
      516.6 KB
      เปิดดู:
      2,689
    • 7.png
      7.png
      ขนาดไฟล์:
      563.8 KB
      เปิดดู:
      2,676
    • 8.png
      8.png
      ขนาดไฟล์:
      366.7 KB
      เปิดดู:
      2,631
    • 9.png
      9.png
      ขนาดไฟล์:
      579.6 KB
      เปิดดู:
      2,625
    • 10.png
      10.png
      ขนาดไฟล์:
      439.4 KB
      เปิดดู:
      2,614
    • 11.png
      11.png
      ขนาดไฟล์:
      390.6 KB
      เปิดดู:
      2,701
    • 12.png
      12.png
      ขนาดไฟล์:
      418.2 KB
      เปิดดู:
      2,605
  9. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ประมวลภาพเหตุการณ์สำคัญ ตลอดพระชนม์ชีพ สังฆราชา

    [​IMG]

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ ทรงกราบนมัสการและสนทนาธรรมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2515 โดยมี หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ ร่วมรับเสด็จฯ

    [​IMG]

    เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2513 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณทรงมาออกตรวจการคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายธรรมยุตและเข้าเยี่ยม "หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน" เพื่อมาสนทนาขอคำชี้แนะในการปฏิบัติธรรม โดยท่านได้ขอพักและจำวัดณ วัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อความสะดวกพร้อมกันนี้ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยม "พระอาจารย์ปัญญาวัฑโฒ" (พระปีเตอร์ จอห์น มอร์แกน - Peter J. Morgan)พระภิกษุชาวอังกฤษ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกที่องค์ท่านได้อุปสมบทให้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.jpg
      a1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.1 KB
      เปิดดู:
      2,425
    • a2.jpg
      a2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      197 KB
      เปิดดู:
      3,783
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2013
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    ภายในพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานครสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ประทับนั่งตรงกลาง "หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน" นั่งซ้ายมือสุด

    [​IMG]

    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เข้ากราบสักการะเยี่ยมอาการพระประชวรสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อวันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2548 เวลา 10.19 น.ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    [​IMG]

    นับแต่ทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มักเสด็จไปปฏิบัติพระกรรมฐาน ณ สำนักวัดป่าในภาคอีสานช่วงปลายปีเสมอ ในภาพถ่าย ณวัดถ้ำกลองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ทรงฉันจังหันร่วมกับพระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้แก่ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน,พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ,พระอาจารย์วัน อุตฺตโม และพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นต้น

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณเข้ากราบนมัสการ "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร" และได้มีโอกาสฉันจังหันร่วมกันณ วัดถ้ำขาม บ้านคำข่า ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จากภาพ...ต่างองค์ต่างแสดงความอ่อนน้อมซึ่งกันและกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a2.png
      a2.png
      ขนาดไฟล์:
      530.2 KB
      เปิดดู:
      3,472
    • untitled.png
      untitled.png
      ขนาดไฟล์:
      417.2 KB
      เปิดดู:
      2,559
    • a1.png
      a1.png
      ขนาดไฟล์:
      572.2 KB
      เปิดดู:
      3,170
    • a4.png
      a4.png
      ขนาดไฟล์:
      572.2 KB
      เปิดดู:
      2,529
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร และ "พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)" ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร ทรงฉันจังหันร่วมกันกับ "หลวงปู่สาม อกิญฺจโน" และ "พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)" ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ณวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2536 หลวงปู่ชอบ ฐานสโม แห่งวัดป่าโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลยได้เดินทางมาเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร โดยมาพักอยู่ที่ศาลา 150 ปี เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงทราบ จึงได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการด้วยความอ่อนน้อม และสนทนาธรรมด้วย ครั้นถึงเวลาอันควร ทรงกราบนมัสการลาหลวงปู่ชอบ พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบ ได้ถือย่ามของพระองค์เดินตามหลังมาเพื่อไปส่งเสด็จที่พระตำหนักที่ประทับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ทรงตรัสด้วยเสียงอ่อนโยนว่า ให้โยมของพระองค์ถือไปส่งเถิด แล้วขอให้พระรูปนั้นกลับไปดูแลหลวงปู่ชอบดีกว่า เหตุการณ์ในคราวนั้นทำให้พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบรู้สึกประทับใจในความไม่ถือพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2533 ณ วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.png
      a1.png
      ขนาดไฟล์:
      376.8 KB
      เปิดดู:
      2,504
    • a2.png
      a2.png
      ขนาดไฟล์:
      725 KB
      เปิดดู:
      3,595
    • a3.png
      a3.png
      ขนาดไฟล์:
      398.7 KB
      เปิดดู:
      3,358
    • a4.png
      a4.png
      ขนาดไฟล์:
      404.6 KB
      เปิดดู:
      2,530
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร เข้ากราบนมัสการและสรงน้ำ "พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)" เนื่องในวาระอายุครบ 9 รอบ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2521 ณ วัดบูรพาราม(พระอารามหลวง) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เสด็จเยี่ยมวัดป่าสาลวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ถวายเครื่องสักการะ

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร เดินทางมาเยี่ยมอาการอาพาธของ "หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต" ณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต ต.บ้านโคก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    [​IMG]

    เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พุทธศักราช 2532 "หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร" ได้กราบอาราธนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร มาประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเศียรพระประธาน ณ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ในภาพยังมี "พระอาจารย์สาคร ธมฺมาวุโธ" เข้าร่วมในพิธีด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.png
      a1.png
      ขนาดไฟล์:
      674.9 KB
      เปิดดู:
      2,618
    • a2.png
      a2.png
      ขนาดไฟล์:
      790.4 KB
      เปิดดู:
      2,303
    • a3.png
      a3.png
      ขนาดไฟล์:
      630.3 KB
      เปิดดู:
      2,302
    • untitled.png
      untitled.png
      ขนาดไฟล์:
      882.1 KB
      เปิดดู:
      2,244
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    "พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)" กำลังนำทางสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ไปยังวัดถ้ำแสงเพชร ต.หนองมะแซว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร และพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) วัดบ้านไร่

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวน โมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานีท่านพุทธทาสภิกขุ ขอโอกาสกราบเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุมีอายุพรรษาเเก่กว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงห้ามไว้ เเต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่ยอม เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้กราบท่านพุทธทาสภิกขุกลับ

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต้อนรับท่านอาจารย์โกเอ็นก้า (S.N. Goenka) วิปัสสนาจารย์ชื่อดังของโลกชาวอินเดีย และภรรยา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.png
      a1.png
      ขนาดไฟล์:
      532.1 KB
      เปิดดู:
      2,199
    • a2.png
      a2.png
      ขนาดไฟล์:
      692.9 KB
      เปิดดู:
      2,534
    • a3.png
      a3.png
      ขนาดไฟล์:
      668.2 KB
      เปิดดู:
      2,525
    • a4.png
      a4.png
      ขนาดไฟล์:
      492.5 KB
      เปิดดู:
      2,462
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 ตุลาคม 2013
  14. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ ทรงออกรับบิณฑบาตในหมู่บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานีร่วมกับ "หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"

    [​IMG]

    แถวหน้า จากซ้าย : พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน),พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป),พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต),สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ

    แถวหลัง จากซ้าย : พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร),พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ),
    พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญญาคโม) - องค์สวมแว่นตา ดำ,พระราชวราจารย์ (วิญญ์ วิชาโน)

    บันทึกภาพ ณ พระธาตุหลวง เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2505

    [​IMG]

    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เข้ากราบสักการะเยี่ยมอาการพระประชวร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อวันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2548เวลา 10.19 น. ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    [​IMG]

    [​IMG]

    เมื่อวันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2550 เวลา 17.00 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ประทานวโรกาสให้พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เข้าเฝ้าถวายสักการะถวายพระพร เนื่องในโอกาสครบรอบ 18ปี แห่งการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    ในการนี้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงประทานทองคำน้ำหนัก 30 บาทแด่พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เพื่อร่วมสมทบโครงการผ้าป่าช่วยชาติโดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.png
      a1.png
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      1,949
    • a2.png
      a2.png
      ขนาดไฟล์:
      913.7 KB
      เปิดดู:
      1,845
    • a3.png
      a3.png
      ขนาดไฟล์:
      611.8 KB
      เปิดดู:
      1,788
    • a4.png
      a4.png
      ขนาดไฟล์:
      619.8 KB
      เปิดดู:
      1,819
    • a5.png
      a5.png
      ขนาดไฟล์:
      855.5 KB
      เปิดดู:
      1,774
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองในพระราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ ทรงถวายเครื่องไทยธรรมแด่สมเด็จพระยอดแก้ว พุทธชิโนรสสกลมหาสังฆปาโมกข์(บุญทัน ธมฺมญาโณ บุปผรัตน์) สมเด็จพระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรลาว ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร ในคราวทรงเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะอาคันตุกะของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลไทย ในระหว่างวันที่ 15-17 พฤษภาคม พุทธศักราช 2510

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2536 หลวงปู่ชอบ ฐานสโม แห่งวัดป่าโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลยได้เดินทางมาเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระพุทธรูป ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร โดยมาพักอยู่ที่ศาลา 150 ปี เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงทราบ จึงได้เสด็จมาทรงกราบนมัสการด้วยความอ่อนน้อมและสนทนาธรรมด้วย ครั้นถึงเวลาอันควร ทรงกราบนมัสการลาหลวงปู่ชอบ พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบได้ถือย่ามของพระองค์เดินตามหลังมาเพื่อไปส่งเสด็จที่พระตำหนักที่ประทับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ทรงตรัสด้วยเสียงอ่อนโยนว่า ให้โยมของพระองค์ถือไปส่งเถิด แล้วขอให้พระรูปนั้นกลับไปดูแลหลวงปู่ชอบดีกว่า เหตุการณ์ในคราวนั้นทำให้พระอุปัฏฐากหลวงปู่ชอบรู้สึกประทับใจในความไม่ถือพระองค์เป็นอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงเข้ากราบนมัสการสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) วัดโสมนัสวิหาร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.png
      a1.png
      ขนาดไฟล์:
      582.5 KB
      เปิดดู:
      1,853
    • a2.png
      a2.png
      ขนาดไฟล์:
      578.4 KB
      เปิดดู:
      60
    • a3.png
      a3.png
      ขนาดไฟล์:
      715.7 KB
      เปิดดู:
      1,849
    • a4.png
      a4.png
      ขนาดไฟล์:
      853.9 KB
      เปิดดู:
      1,877
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เข้ากราบสักการะเยี่ยมอาการพระประชวรสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ ตึกวชิรญาณ-สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมตตาเสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีฉลองอุโบสถ วัดถ้ำผาผึ้ง บ้านถ้ำผาผึ้ง ต.หนองบัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ โดยมี "พระอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร" (องค์ขวาสุด) พระราชพุทธิมงคล หรือหลวงปู่ทองบัว ตนฺติกโร (องค์กลาง) และพระธรรมดิลก (ขันติ์ ขนฺติโก) วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร (องค์ซ้ายสุด) ตลอดจนคณะพระภิกษุสงฆ์ มาร่วมกันถวายการต้อนรับ

    http://www.naewna.com/local/74325
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.png
      a1.png
      ขนาดไฟล์:
      737.8 KB
      เปิดดู:
      1,728
    • a2.png
      a2.png
      ขนาดไฟล์:
      680.9 KB
      เปิดดู:
      1,712
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  17. sriharaj_wit

    sriharaj_wit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +916
    ขอถวายอภิสัมมานะสักการะแด่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระญาณสังวร สกลมหาสังฆปรินายก ด้วยเศียรเกล้า
     
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    น้ำพระทัยสมเด็จพระสังฆราช

    [​IMG]

    น้ำพระทัยสมเด็จพระสังฆราช : คอลัมน์หัวใจไทย

    "ผมเข้าร่วมโครงการน้ำพระทัยสมเด็จพระสังฆราช ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม มาหลายปีแล้วครับ เพราะการทำงานช่วยเหลือชาวบ้านทำให้รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม" ทินกร จิระปุณยพันธ์ หนึ่งในจิตอาสา ลูกศิษย์วัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมโครงการน้ำพระทัยสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม แผ่นดินไหว พิบัติภัย สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นแบบอย่างช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ

    เพื่อนอาสาบางคนของ ทินกร บอกว่า การลงพื้นที่คือการเรียนธรรมภาคปฏิบัติ เราเรียนรู้ของจริงจากที่อ่าน เราเห็นความรักหลากหลายรูปแบบระหว่างพ่อกับลูก ความรักหนุ่มสาว ความเห็นแก่ตัวของแม่ค้าถังแก๊สที่โลภอยากได้น้ำของบริจาค วินาทีความเป็นความตายของคนต่างด้าว ที่ลูกจมน้ำแล้วหาโรงพยาบาลรับรักษาไม่ได้ พระสงฆ์ต้องสละรถที่นั่งให้ทีมอาสาประสานส่งโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เป็นความเมตตาและกรุณาอย่างแท้จริง เหล่านี้คือ บทเรียนธรรมะจริงที่เราไปเรียนรู้จากการลงพื้นที่

    พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช กล่าวถึงโครงการน้ำพระทัยสมเด็จพระสังฆราช ว่า โครงการนี้อาตมาทำมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อปี 2549 ตอนนั้นเกิดน้ำท่วมในเขตภาคกลาง จ.พิจิตร พิษณุโลก ชัยนาท จากนั้นปี 2551 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศพม่า เกิดพายุนาร์กิส สมเด็จพระสังฆราช ทรงห่วงพระสงฆ์และประชาชน จึงร่วมกับกองทัพอากาศ ได้นำผ้าไตร จีวร เครื่องอุปโภคบริโภค ไปช่วยเหลือ ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในจีน ที่มณฑลเฉิงตู ได้นำเต็นท์ไปช่วยเหลือให้เป็นที่พักอาศัย

    ในปี 2554 ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมใหญ่ มีพระบัญชาให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช นำถุงยังชีพออกไปช่วยเหลือประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และอีกหลายจังหวัด เป็นเวลานานถึง 2 เดือน และช่วยเหลือประชาชนมาโดยตลอดจนกระทั่งสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์

    "ในยามที่พุทธศาสนิกชนทุกข์ยาก พระองค์ท่านไม่เคยทอดทิ้ง ในขณะที่ยังมีการตั้งพระศพบำเพ็ญพระราชกุศลของสมเด็จพระสังฆราชที่ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา อาตมาและจิตอาสายังได้สานต่อพระปณิธานของพระองค์ นำถุงยังชีพไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมปราจีนบุรี ชาวบ้านที่นั่นรับทราบว่าสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์แต่งกายไว้ทุกข์ อยู่บนบ้านก็ยังไว้อาลัยพระองค์ท่าน พอได้รับสิ่งของช่วยเหลือ ทุกคนต่างดีใจ สมแล้วที่พระองค์เป็นที่รักของประชาชน เพราะว่าพระองค์ทรงห่วงใยพุทธศาสนิกชน ทั้งคนไทย ประเทศชาติ ท่านทำในฐานะประมุขสงฆ์ ในฐานะเหมือนพ่อในทางธรรมจวบจนวาระสุดท้าย"พระครูสังฆสิทธิกร กล่าว

    http://www.komchadluek.net/detail/20131031/171676.html
     
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    หนึ่งวันของสมเด็จพระญาณสังวร

    [​IMG]

    สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบกิจเพื่อพระศาสนา ประชาชนและชาวโลกได้อย่างอเนกอนันต์ พระองค์ทำได้อย่างไร พิจารณาได้จากพระจริยวัตรของพระองค์

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประกอบกิจเพื่อพระศาสนา ประชาชนและชาวโลกได้อย่างอเนกอนันต์ พระองค์ทำได้อย่างไร พิจารณาได้จากหนึ่งในพระจริยวัตรของพระองค์ท่าน ซึ่งคณะศิษย์ได้ร่วมถ่ายทอดไว้ใน “พระผู้เจริญพร้อม” งานฉลองพระชนมายุ 100 พรรษา ถวายแด่พระองค์ท่าน ดังนี้

    ก่อนไก่ขันถึงเที่ยงวัน

    พระกิจวัตรประจำวันของพระองค์เริ่มเมื่อทรงตื่นบรรทมและเข้าสู่กิจกรรมของวันใหม่ตั้งแต่ก่อนรุ่งอรุณ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเวลาตีสี่ของทุกวัน โดยทรงปฏิบัติอย่างนี้มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์

    หลังตื่นบรรทมจะเริ่มเจริญพระพุทธมนต์บทต่างๆ บางครั้งก็ทบทวนพระปาติโมกข์แล้วทรงนั่งสมาธิจนกระทั่งแสงทองจับขอบฟ้า พอเห็นลายมือได้ก็เป็นเวลาออกดำเนินบิณฑบาต

    เสด็จออกประตูต่างๆ ของวัดไปโปรดประชาชน โดยไม่ได้ยึดว่าจะต้องใช้เส้นทางใดเป็นประจำ บางวันเสด็จไปทางหลังวัดตรีทศเทพ หรือไปทางตลาดบางลำพู บางวันก็ไปท้ายวัด ไปตรอกบวรรังษี

    กลับจากบิณฑบาตแล้วจะเป็นช่วงเวลาที่ทรงรับแขก มีญาติโยม หรือบางทีก็เป็นพระภิกษุสามเณร เดินทางมาจากที่ใกล้บ้าง ที่ไกลบ้าง เข้ามาถวายสักการะ พระองค์จะทรงสนทนาด้วย โดยใช้เวลาปฏิสันถารต้อนรับญาติโยมในช่วงเช้าประมาณ 1 ชั่วโมง

    เสร็จจากรับแขกช่วงเช้าก็เป็นเวลาเสวย และนั่นเป็นช่วงพระภิกษุสามเณรในปกครองจะมาเฝ้ารายงานเรื่องต่างๆ หรือมาลาเพื่อขออนุญาตออกนอกวัด

    พระองค์จะเสวยโดยใส่ทุกอย่างรวมลงในบาตร

    ทรงนิยมเสวยผักและจะเสวยอาหารมังสวิรัติทุกวันพระ ระยะหลังๆ มานี้จะไม่เสวยสัตว์ปีกและสัตว์ใหญ่

    เมื่อทรงอาพาธ ทางโรงพยาบาลจะดูแลเรื่องอาหาร แม้ไม่ได้ทรงรับบาตรจากญาติโยมแล้ว แต่ถ้ามีผู้นำมาถวายจะโปรดให้เอาขึ้นมาเปิด นำขึ้นโต๊ะเสวยทั้งหมด เพื่อทรงอนุโมทนาประทานพรให้ผู้นำมาถวายทั้งหมด

    ระหว่างเสวย โปรดให้สามเณรหรือศิษย์อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยให้ฟัง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษบางทีจะทรงถามศัพท์ว่าแปลว่าอย่างไร และถ้าอ่านออกเสียงผิดก็จะทรงเมตตาแก้ให้

    หลังจังหันประมาณ 8 โมง หรือ 9 โมงเช้า ถ้าไม่มีกิจนิมนต์ บางวันอาจจะบรรทมสักครึ่งชั่วโมง

    ปกติแล้วจะเสวยเพียงมื้อเดียว แต่เมื่อเสด็จไปเสวยเพลในวังตามที่มีการอาราธนาจะทรงจิบน้ำชาแทน

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงเรียกเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่า “หลวงปู่” ทรงห่วงหลวงปู่ว่า วันไหนมีคนมาเฝ้ามากจะเลยเวลาเสวย ซึ่งมักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ จึงทรงมีลายพระหัตถ์เขียนป้ายบอกให้ผู้ที่จะมาเฝ้ารอก่อนหากถึงเวลาเสวย

    [​IMG]

    ถ้าทรงมีเวลา สิ่งที่สมเด็จพระสังฆราชโปรดจะทำคือ อ่านหนังสือ แต่โดยมากแล้วจะมีพระภารกิจนอกวัดมากมาย

    ทรงรับนิมนต์ตามเวลาที่ว่าง ไม่เคยเลือกว่าเป็นงานเล็ก งานใหญ่ หรือใครเป็นคนจัด

    พระองค์ตรัสเสมอว่า “ที่นี่ เป็นพระของประชาชน จะไปลำเอียง ไม่รับงานโน้นงานนี้ไม่ได้”

    คำว่า “ที่นี่” เป็นคำที่พระองค์มักใช้เรียกแทนพระองค์เองกับคนสนิทและในหมู่ญาติๆ

    นานๆ ครั้งก็จะทรงใช้คำแทนพระองค์เองว่า “เรา” ส่วนคำว่า “อาตมา” จะทรงใช้กับคนทั่วไป

    เวลาเสด็จออกนอกวัด จะไม่ทรงสวมรองพระบาท จะทรงสวมเฉพาะจากหน้ากุฏิ เมื่อถึงรถพระประเทียบจะถอดออก ทรงนิยมดำเนินด้วยพระบาทเปล่า

    เวลาประทับในรถ ส่วนใหญ่จะทรงเจริญพระพุทธมนต์ ฝึกกรรมฐาน จะทรงซ้อมบทสวดมนต์ตลอด บทสวดที่ทรงประจำคือ สวดมนต์เจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน รวมถึงพระปาติโมกข์

    ช่วงบ่ายจรดเที่ยงคืน

    พอเสด็จกลับจากงานนิมนต์ ถ้าเป็นช่วงในพรรษา เวลาบ่ายโมงตรง จะลงสอนพระใหม่ แต่ถ้าไม่ใช่ช่วงพรรษาก็จะทรงงานค้นคว้าที่ค้างไว้

    หลังจากนั้นจะทรงต้อนรับปฏิสันถารกับญาติโยมรอบบ่ายราวบ่ายสองถึงบ่ายสามโมง สุดแต่ว่าจะมีผู้มาเฝ้ามากน้อยขนาดไหน

    ห้าโมงเย็น เป็นเวลาเสวยกาแฟ และพักอิริยาบถ บางคราวก็ใช้ช่วงนี้ออกตรวจพระอาราม

    ถึงสองทุ่มจะทรงลงอุโบสถ ทำวัตรเย็น ถ้าไม่ลงพระอุโบสถก็ทรงทำวัตรเย็นที่พระตำหนัก เสร็จแล้วถ้าวันไหนไม่ได้ทรงเดินตรวจวัดตอนเย็นก็จะออกตรวจวัดในตอนนี้

    จากนั้นจะทรงเดินจงกรมหน้าพระตำหนักราวครึ่งชั่วโมงแล้วสรงน้ำ ก่อนจะทรงงานต่อในช่วงกลางคืน เช่น เตรียมธรรมบรรยาย ฯลฯ

    ทรงเข้าบรรทมเวลาเที่ยงคืน

    เตียงพระบรรทมนั้นเล็กมากเพียงพอดีองค์ ทางด้านศีรษะจะสูงขึ้นเล็กน้อย ปลายพระบาทมีโต๊ะวางต่อมาอีกตัวหนึ่งเป็นที่วางพัดลม ปกติแล้วจะทรงบรรทมในท่าตะแคงและบรรทมแบบมีสติ

    ทรงบรรทมเฉลี่ยคืนละ 3-4 ชั่วโมง

    ด้วยพระจริยวัตรเหล่านี้ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงจัดสรร 24 ชั่วโมงของพระองค์ได้อย่างน่าทึ่งและเป็นประโยชน์อเนกอนันต์

    เมื่อจากไปจึงเป็นอาวรณ์ของประชาชนทั่วไป

    [​IMG]

    หนึ่งวันของสมเด็จพระญาณสังวร - โพสต์ทูเดย์ ข่าวสังคม
     
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    7 สิ่งสมณบริขาร วิถีสมถะ"พระสังฆราช"

    "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" ทรงดำรงพระชนม์ชีพส่วนมากอยู่ในสมณเพศมาโดยตลอด

    ชีวิตของพระองค์ไม่ได้แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไป ทรงมีความถ่อมพระองค์ ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่ายเหมือนกับพระสงฆ์รูปหนึ่ง

    แม้ที่อยู่อาศัยก็ไม่ได้โปรดให้ประดับตกแต่งอะไรเลย พระองค์จะทรงเตือนพระสงฆ์ และสามเณรอยู่เสมอว่า "พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา" พระองค์ทรงไม่สะสมวัตถุสิ่งของที่มีผู้นำมาถวาย โดยจะทรงแจกจ่ายต่อไปตามโอกาส

    เคยมีผู้แสดงความประสงค์ถวายรถยนต์สำหรับทรงใช้สอยประจำพระองค์ แต่พระองค์ตอบไปว่า "ไม่รู้จะเอาเก็บไว้ที่ไหน" สุดท้ายเป็นอันว่าไม่ทรงรับถวาย

    นี่คือสิ่งที่ยืนยันว่าสมเด็จพระสังฆราช ทรงปฏิบัติพระองค์และดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ได้หรูหราอย่างที่หลายๆ คนคิด มีเพียงเครื่องสมณบริขารหรือเครื่องใช้สอยของพระสงฆ์ ซึ่งทรงใช้เป็นประจำเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น

    [​IMG]

    พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระอนิลมาน ธมมฺสากิโย) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช บอกเล่าถึงความเรียบง่ายของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่า พระองค์มีเครื่องสมณบริขารไม่กี่ชิ้น ด้วยความเรียบง่ายของพระองค์ สิ่งของเครื่องใช้ของพระองค์ก็จะเป็นของ "มือสอง" เป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่น

    [​IMG]

    พระแก้ว
    โต๊ะ และเก้าอี้

    1.โต๊ะทรงงานของพระองค์ และยังเป็นโต๊ะรับแขกของสมเด็จพระสังฆราชด้วย ช่วงเช้าและช่วงเย็นๆ เวลามีประชาชนหรือผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาสักการะ ก็จะใช้โต๊ะตัวนี้รับแขก นอกจากนี้รอบๆ โต๊ะทรงงานของพระองค์ ยังแวดล้อมไปด้วยหนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และหนังสือภาษาอังกฤษจำนวนมากที่พระองค์ทรงโปรดปราน นอกจากโต๊ะตัวนี้แล้วพระองค์ยังมีโต๊ะทรงงานอีกหนึ่งตัว ช่วงเช้าพระองค์ใช้ฉันภัตตาหาร จากนั้นช่วงบ่ายพระองค์ก็จะใช้ทรงงานด้วย

    2.บาตรน้ำมนต์ที่ทรงใช้ตลอด มีผู้ถวายครั้งเสด็จไปประเทศเนปาล ความพิเศษของบาตรใบนี้ทำจากทองแดง และรูปทรงก็จะไม่เหมือนกับบาตรที่สร้างในบ้านเรา

    3.พระแก้ว เป็นพระพุทธรูปที่อยู่กับพระองค์มากว่า 30 ปีแล้ว โดยวางอยู่ในห้องตำหนักคอยท่าปราโมช

    [​IMG]

    บาตรน้ำมนต์
    อาสนะ (ที่ปูรองนั่ง), เตียงบรรทม

    4.โต๊ะและเก้าอี้สำหรับสอนธรรมะ พระองค์ซื้อมาจากเวิ้งนาครเขษม ราคาประมาณ 6 บาท พระองค์เอามาซ่อมแซม และทำใหม่ โต๊ะและเก้าอี้ชุดนี้ใช้เวลาสอนเรื่องพระพุทธศาสนา และธรรมะให้แก่ชาวต่างชาติโดยเฉพาะ ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์

    5.เตียงบรรทม ถือว่าเรียบง่ายมาก เป็นตั่งไม้ แต่ตัวตั่งสั้นมาก ขณะที่พระองค์สูง 179 เซนติเมตร สมัยก่อนพระองค์เดินตรวจวัดหรือว่าเดินไปพบเศษไม้ หรือโต๊ะหมู่ที่ลูกศิษย์ทิ้งแล้ว พระองค์จะเก็บกลับมาต่อตั่งให้ยาวขึ้น เตียงบรรทมของพระองค์ก็เหมือนเตียงนอนของชาวบ้านทั่วไป ส่วนที่นอนของพระองค์เย็บจากฟางข้าว แม้ว่าเตียงบรรทมจะแคบนิดเดียว แต่พระองค์ก็ไม่คอยนอนบรรทมตกเตียง

    6.อาสนะ (ที่ปูรองนั่ง) เป็นอาสนะที่สมเด็จพระสังฆราชโปรดปรานที่สุด เพราะพระชนนีของพระองค์เย็บด้วยมือจากเศษเสื้อผ้าที่เหลือจากเย็บเสื้อผ้าให้ลูกค้า ซึ่งอาสนะผืนนี้พระชนนีทำด้วยความรัก และความศรัทธา นำมาถวายให้พระองค์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยห่างจากอาสนะผืนนี้เลย ทรงประทับอาสนะตลอดไม่ว่าจะนั่งกรรมฐาน หรือว่าสวดมนต์ หลายคนอาจจะเห็นอาสนะผืนนี้เป็นแค่เศษผ้าหนึ่งผืนเท่านั้น แต่ในความรู้สึกของพระองค์มีคุณค่าอย่างมาก เพราะพระองค์จะบอกเสมอว่าเวลาคิดถึงพระชนนีก็จะดูอาสนะผืนนี้เพื่อคลายความคิดถึง

    7.บาตร เป็นบาตรที่สมเด็จพระสังฆราชทรงใช้บิณฑบาต และฉันภัตตาหาร ไม่ว่าจะรับกิจนิมนต์ที่ไหนพระองค์ก็จะใช้บาตรใบนี้ตลอด

    ทั้งนี้ สำหรับเครื่องสมณบริขารเพียงไม่กี่ชิ้นของสมเด็จพระสังฆราช ในเบื้องต้น วัดบวรฯ จะรวบรวมไว้ที่ตำหนักคอยท่าปราโมช

    และในอนาคตเตรียมนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหลักธรรม และคำสอนของพระองค์ที่ทิ้งไว้เป็นมรดกให้ชาวพุทธได้ศึกษาและเรียนรู้มากมาย

    แน่นอนว่าเครื่องสมณบริขารทั้ง 7 ชิ้นนี้ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความพอเพียงของพระองค์ได้อย่างดี ดั่งที่พระองค์ทรงเตือนพระสงฆ์และสามเณรอยู่เสมอว่า "เป็นพระต้องจน"

    (ที่มา:มติชนรายวัน 1 พ.ย.2556)
    7 สิ่งสมณบริขาร วิถีสมถะ"พระสังฆราช" : มติชนออนไลน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...