ประวัติชาติไทยตั้งแต่ต้นกัป พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ(พิมพ์เป็นตัวอักษร)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เก่ากะลา, 27 สิงหาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    พ.ศ. ๑๙๐๔ พระเจ้าลิไทย ตรัสให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราช อันกอบด้วยศีล ทรงเรียนจบพระไตรปิฎก อันสถิตอยู่ในลังกาทวีป มาอยู่ที่วัดป่ามะม่วง ให้ชื่อว่า วัดอัมพวนาราม
    ให้ปลูกกุฏีพิหาร กางพิดานงามพิจตร์
    แล้วจึงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชจำพรรษาสิ้นไตรมาส
    ครั้นออกพรรษาแล้ว เสด็จทรงทำมหาทาน ฉลองพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ เท่ากับพระองค์พระพุทธเป็นเจ้า ซึ่งประดิษฐานไว้กลางเมืองสุโขทัย

    (พระพุทธรูปสำริดองค์นี้คือ พระศรีสักยมุนี ที่เรียกกันว่า พระโต เวลานี้สถิตอยู่ ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์)

    พ.ศ.๑๙๐๔ นั้น พระเจ้าลิไทย ทรงพระราชสัทธา สมาทานศีลเป็นดาบสเฉพาะพระเนตร์พระสุวรณปฏิมากร อันประดิษฐานบนพระราชมณเฑียร ได้อาราธนาพระมหาสามีสังฆราชและพระสงฆ์เถรานุเถรทั้งปวง ขึ้นบนเหมปราสาทราชมณเฑียร
    พระองค์ออกบรรพชาเป็นสามเณร
    แล้วทรงตั้งสัตย์อธิษฐานปรารถนาเป็นองค์พระพุทธเจ้า
    แล้วจึงรับสรณคม แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปกับพระสงฆ์
    ไปรับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดป่ามะม่วง

    ทรงอุปสมบทนานเท่าไรไม่บอกไว้
    เสนาข้าราชการได้ทูลอัญเชิญเสด็จจึงทรงลาผนวชออกมาราชาภิเษกใหม่
    ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีมหาธรรมิกราชาธิราช
    และยังมีพระนามอีกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก

    ตลอดกาลนี้พวกนักปราชญ์บัณฑิต ได้จดเรื่องราวลงจารึกในหิน จึงเป็นจารึกหลัก ๔
    ที่ยังดีอยู่นั้นเล่าเรื่องละเอียดที่ชำรุดเสียหายไป ก็เป็นธรรมดาว่าสูญหายไป
    จารึกวัดป่ามะม่วงนี้ มีที่พบแล้วปรากฎถึง ๔ หลัก คือ หลักที่ ๔ ถึงหลักที่ ๗

    พ.ศ.๑๙๐๕ เป็นต้นไป พระเจ้าลิไทย ได้มีพระราชโองการให้ขุดตลองทำถนนแต่เมืองสุโขทัยไปจนถึงเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองน้อยใหญ่
    เป็นการพระราชกุศลสนองพระราชบิดา
    ถนนที่ว่านี้ทุกวันนี้เรียกว่า ทางพระร่วง แต่กำแพงเพชรถึงสุโขทัย ตลอดถึงสวรรคโลก
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังเป็นพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จพระราชดำเนินตลอด
    และทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเมืองเหล่านั้นไว้อย่างละเอียดพิสดาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  2. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    [​IMG]

    พระพุทธรูปปางลีลา ว่าสมัยพระยาลิไทย หรือ ลือไทย
    ช่างภาพถ่ายแสงขับส่วนพระทรวงขึ้นชัดเจนจะเห้นเป็นส่วนผู้หญิงชัด

    ได้เคยไปดูรูปพระนางเบญจกัลยาณี ณ วัดมหาธาตุ ศรีสัชนาลัย
    ได้เห็นพระพุทธรูปปางลีลานี้ องค์เดิมคงชำรุดไปจึงถูกตกแต่งใหม่ตลอด
    ที่สังเกตได้เพียงหน้าอกคลุมด้วยจีวรนั้น ใหญ่กว่าเท่านั้น
    เมื่อเห็นรูปนี้แล้วจึงแน่ใจว่า พระรูปชี หรือ พระสากิยานี ในสมัยสุโขทัยนั้น ทำเป็นพระพุทธรูป
    เพียงใส่อกให้ใหญ่พอหมายรู้เท่านั้น
    ถ้าดูแล้วจะปรากฏ ไทยนารีลักษณ์ ว่า คิ้วต่อคอปล้อง น่องกลม นมตั้ง หลังแบน แขนงวงช้าง ร่างผ่องผิว นิ้วลำเทียน ฯลฯ ชัดเจน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0320.jpg
      scan0320.jpg
      ขนาดไฟล์:
      295.6 KB
      เปิดดู:
      2,167
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2013
  3. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    จากนั้น ศิลาจารึกประกาศความเจริญสุขสำราญของสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ตั้งแต่กาลนั้นๆ ตลอดไปถึง พ.ศ. ๑๙๑๓ ได้พบจารึกวัดพระยืนว่า พระสุมนเถรได้กระทำไว้

    พระสุมนเถร นี้เป็นชาวเมืองสุโขทัย ได้ไปอโยชฌปุระ (อโยธยาเดิม)
    ได้เล่าเรียนพระธรรมในสำนักครูหลายครูอาจารย์ สำเร็จแล้วกลับไปสุโขทัย
    ได้ทราบ พระมหาสามีอุทุมพร มาจาก ลังกา สู่ รัมมนประเทศ (มอญ-พม่า)
    จึงได้ร่วมกับพระภิกษุสหายไปบวชอุปสมบทอีกครั้งหนึ่งในสำนักของพระมหาสามีอุทุมพร
    และได้เล่าเรียนพระธรรมต่อ
    ครั้งนั้น พระเจ้ามหาธรรมราชาที่ ๑ คือพระเจ้าลือไทย มีประสงค์ใคร่ได้พระภิกษุผู้สามารถกระทำสังฆกรรมได้ทุกอย่าง
    จึงทรงส่งฑูตไปขอพระภิกษุผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้น
    พระมหาสามีจึงส่ง พระสุมนเถร พร้อมด้วยสหายจึงมา
    พระเจ้ามหาธรรมราชาที่ ๑ จึงทรงโปรดให้สร้างวัดอัมพวนาราม
    แล้วนิมนต์ให้อยู่ในวัดนั้น พ.ศ.๑๘๘๘
    ซึ่งเวลานั้น พระเจ้าลิไทย ยังทรงเป็น พระมหาอุปราชพระศรีธรรมราชาเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยอยู่

    อยู่มาวันหนึ่ง พระสุมนเถรไปเมืองศรีสัชนาลัย ถึงปานามนที(แม่น้ำฝากระดาน)เพื่อตรวจดูสถานที่พระเจดีย์ร้าง ณ เมืองบางจาเก่านั้น จึงอยู่ ณ ที่นั้น ณ วิหารเก่าแห่งหนึ่งที่นั้น
    มีพระธาตุองค์หนึ่งแสดงปาฏิหาริย์ในเวลากลางคืน ซึ่งมหาชนมักได้เห็น
    แลรุกขเทพได้แปลงเป็นพราหมณ์มาบอกในเวลากลางคืน
    พระเถรได้ไปและขุดลงไปก็ได้พบพระบรมสารีริกธาตุพร้อมทั้งผะอบ
    พระเถรได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปเมืองศรีสัชนาลัย

    พระเจ้าลิไทย ยังเป็น อุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่
    ทรงทราบจึงเสด็จไปและอัญเชิญไปสถิตวัดป่าแดงหลวงใกล้สิริบรรพต หรือภูเขาพระศรี
    ได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์เป็นอัศจรรย์
    ได้ทราบไปถึงพระเจ้าลือไทยได้เสด็จไปบูชาสักการ เพื่อทอดพระเนตรแต่มิได้เห็น พระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์

    กาลนั้น พระเจ้ากือนา ประสูติ พ.ศ. ๑๘๘๓ มีพระชนมายุได้ ๑๗ ทรงครองนพีสีเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๘๙๙
    ทรงเลื่อมใสในพระศาสนา มีประสงค์จะให้พระภิกษุอรัญญวาสีมาอยู่ในพระนคร
    และทรงปรารถนาพระภิกษุผู้กระทำสังฆกรรมได้ทุกอย่างมาอยู่
    จึงส่งฑูตไปสำนักพระมหาสามีอุทุมพร ได้พระอานนทเถรไป
    ได้แจ้งว่ายังไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้กระทำสังฆกรรม
    จึงได้ถวายพระพรแนะนำพระสุมนเถร ณ ศรีสัชนาลัย ทรงทราบจึงส่งฑูตมา
    ครั้งแรกท่านไม่ได้ไป
    ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๑๙๐๘-๐๙ ราชฑูตได้เข้าทูลขอต่อพระเจ้าลิไทย ซึ่งทรงปรารถนาให้พระศาสนาเจริญรุ่งเรือง จึงทรงเป็นพระราชานุญาติ
    พระเถรได้ถวายพระพรทูลลาแล้ว ได้นำพระบรมสารีริกธาตุออกเดินทางไปกับราชฑูตถึงเมืองเชียงใหม่
    พระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ต่างๆ
    พระเจ้ากือนาทรงอาราธนาให้อยู่วัดพระยืน
    ได้ทอดพระเนตรปาฏิหาริย์ต่างๆจึงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปเพิ่มเติม
    พระสุมนเถรได้กระทำจารึกหิน เป็นศิลาจารึกหลักที่ ๖๓ ปรากฎในประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓ จารึกนี้ลงว่า พ.ศ. ๑๙๑๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  4. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    ลายสือไทยสุโขทัยที่เหนือ คือ ถิ่นลานนาไทย

    พยายามหาตัวเก่าได้แต่ พ.ศ.๑๙๑๓ ตำราเรียนหนังสือลานนาไทย ก็ปรากฎว่าเขียนลายแบบวงกลม แสดงว่าเลียนจากลายมอญ และสีหล
    เจอจารึกพระพุทธรูปปางประจญช้างนาฬาคีรีที่วัดเชียงมั่น คือ จารึกพระคาถา เย ธมฺมา ก็เขียนตัวเทวนาครีโบราณ
    ที่สังเกตได้ คือ ธ เทวนาครีโบราณเขียนวงเดือนครึ่งซ้าย พราหมิเขียนวงเดือนครึ่งขวา
    นำมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น

    ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓ หลักที่ ๖๒ ศิลาจารึกวัดพระยืน จังหวัดลำพูน
    a.2262260.jpg ๑. นโม ตสส ภควโต
    ๒. อ น น ว่ า พ ร ะ เ ส ล า จ า รึ ก เ จ้ า ท้ า ว ส อ ง แ ส น น า อ น น ธั ม มิ
    ๓. ก ร า ช ผู้ เ ป็ น ลู ก รั ก ก แ ก่ พ ร ะ ญ า ผ า ยู เ ป็ น ห ล า น แ ก่ พ ร ะ ญ า
    ๔. คำ ฟู เ ป็ น เ ห ล น แ ก่ พ ร ะ ญ า เ ม ง ร า ย ห ล ว ง เ จ้ า ท้ า ว นี้ เ
    ๕. มื่ อ สุ ด ช น ม า พิ ธี ปี เ ดื อ น พ่ ต น ด ง ง อ น น จึ ง ไ ด้ เ ส วิ ย ร า
    ๖. ช ไ ช ส รี มี สั ก ก มี บุ ญ ฦ ส เ ต ช ต บ ะ ห นั ก ก ห น า เ ป็ น พ
    ๗. ร ญ า ม ห า ธั ม มิ ก ร า ช อ า จ บั ง งเ กิ อ ด ส รั ธ า ใ น ส า ส น า พ ฯ ลฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0324.jpg
      scan0324.jpg
      ขนาดไฟล์:
      447.7 KB
      เปิดดู:
      7,601
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  5. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    พ.ศ. ๑๙๑๔-๑๙๑๕ พระเจ้ากือนา โปรดให้สร้างพระราชอุทยานของพระองค์เป็นวัดบุปผารามมหาวิหาร
    เสร็จแล้วจึงนิมนต์ พระสุมนเถร มามอบถวายวัดแด่ท่านแล้ว
    พระเถร ได้ พระเจ้ากือนา ทรงอุปถัมภ์
    ได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั้นที่ได้เชิญมาจากสุโขทัยไว้ ณ วัดบุปผารามมหาวิหารนั้น เมื่อวันพุธ เดือน ๙ พ.ศ. ๑๙๑๗

    พ.ศ. ๑๙๒๖ พระเจ้ากือนา ทรงโปรดให้สร้างพระเจดีย์แบบเชียงใหม่บนยอดดอยสุเทพ และสร้างเสร็จแล้ว จึงทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระมหาสุมนเถรนำมาจากสุโขทัยนั้น บรรจุประดิษฐาน ณ พระเจดีย์ซึ่งมีชื่อว่า พระธาตุดอยสุเทพ พ.ศ. ๑๙๒๖ นั้น

    พระเจ้ากือนา ทรงครองราชสมบัติได้ ๓๐ ปี จึงมีพระชนมายุได้ ๔๖ ปี เสด็จสวรรคต พ.ศ. ๑๙๒๙
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  6. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    พระเจ้าลิไทยมหาธรรมราชา ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งสุโขทัยและศรีสัขนาลัยตลอดถึงที่อื่นๆ ตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๐๕-พ.ศ.๑๙๐๘ ทรงทำสำเร็จแล้ว
    จึงเริ่มสร้างเมืองสระหลวงใหม่
    โดยที่ทรงระลึกได้ในตอนนั้นว่า เคยอยู่ ณ นิมมานรดีภพ หรือ พิษณุภพมาแล้ว
    เมื่อสร้างสระหลวงเป็นเมืองขึ้น จึงพระราชทานชื่อว่า พิษณุโลก

    เรื่องสร้างเมืองพิษณุโลกนี้ เล่าว่า จ่านกร้อง จ่าการบูรณ์ คิดอ่านกันว่า พระเจ้าศรีธรรมปิฎกใช้เรามานี้ ชรอยจะเป็นปริษนาให้สร้างเมือง
    จึงร่วมกับคนประมาณ ๒๐๐๐ ทำอิฐสร้างเมืองทั้ง ๒ฝั่ง ทำอยู่ ๑ ปี กับ ๗ เดือน
    เสร็จแล้วจึงไปกราบทูล พระเจ้าศรีธรรมปิฎก จึงเสด็จไปเข้าประทับแล้ว
    จึงตรัสถามว่าจะให้ชื่อเมืองอะไรดี ได้สดับคำทูลว่า
    พระองค์เจ้ามาถึงวันนี้ได้ยามพิษณุ พระองค์จึงได้ชื่อว่า เมืองพิษณุโลก

    พระเจ้าศรีธรรมปิฎก ยังได้สร้างหล่อพระพุทธรูปอีก ๓ องค์ คือ
    พระศรีศาสดา พระชินสีห์ พระชินราช ได้สถิตไว้ในสถานสามแห่ง ณ เมืองพิษณุโลกนั้น พ.ศ.๑๙๐๙ เมื่อทรงทำการฉลองทั้งวัด และพระพุทธรูปทั้ง ๓ ตลอด ๗ วัน จึงทรงยกเป็นเมืองลูกหลวง
    พระองค์ได้ประทับอยู่ ทรงตั้ง เจ้าไกรสรราช และเจ้าชาติสาคร ประสูติแต่พระนางประทุมเทวี เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลกนั้น
    แต่แล้วเจ้าไกรสรราช ก็ทรงข่มเหงราชการ จึงให้เอา เจ้าสุลเทวี ลูกพระยาสัชนาไลยมาแล้ว
    พระองค์จึงให้ราชาภิเษกเจ้าไกรสรราช ณ เมืองลโว้ และให้ครองเมืองนั้น
    จึงเสด็จออกไปสร้างเสนาราชนคร และทรงตั้งเจ้าชาติสาครไปกินเมืองเชียงราย พ.ศ.๑๙๑๒

    พ.ศ.๑๙๑๓ พระเจ้าลิไทยประชวร และเสด็จสวรรคต พระองค์ประสูติ พ.ศ.๑๘๖๒
    พ.ศ.๑๘๘๓ ทรงเป็นพระศรีธรรมราช พระมหาอุปราชเจ้าเมืองศซรีสัชนาลัย
    พ.ศ.๑๘๙๐ พระชนมายุได้ ๓๘ ได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงสุโขทัย ศรีสัชนาลัย
    พ.ศ.๑๙๑๓ พระชนมายุได้ ๕๑ เสด็จสวรรคต จึงครองราชสมบัติได้ ๒๓ พรรษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  7. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราช เมืองพิษณุโลก
    พระเจ้าไสยลือไทย รัชกาลที่ ๘


    พระเจ้าไสยลือไทย ครั้นพระราชบิดา พระเจ้าลิไทย สวรรคตแล้วได้ครองต่อ

    เมื่อพระราชบิดาทรงสร้างเมืองพิษณุโลก
    และสร้างพระพุทธรูปและสถาปนาเป็นเมืองลูกหลวง
    ซึ่งต่อมาได้เป็นเมืองหลวงอีกเมืองหนึ่ง
    จึงได้เสด็จมาประทับเป็นระยะกาลนาน
    แม้สุโขทัย ศรีสัชนาลัยก็ยังอยู่
    แต่พระยาชัยแก้ว พระยากำแหงได้ดูแลแทน
    กระนั้นก็ไปครองอยู่ ณ ชากังราว
    ทั้งพระองค์ก็ทรงกระทำราชาภิเษก ณ เมืองพิษณุโลกด้วย จึงสถาปนาพระนามว่า พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราชพิษณุโลก พ.ศ.๑๙๑๓

    พ.ศ.๑๙๑๓ นั้น ได้ทรงพบกุลธิดาชื่อว่า แก้วกัลยา
    จึงทรงอุปภิเษกและมังคลาภิเษกเป็นอรรคมเหษี
    พระนามว่า พระนางพระยาศรีพิษณุกา
    ต่อมามีพระราชโอรสพระนามว่า "ขุนสามแก้ว"(๑)
    ตามพระนามว่า ไสย และศรีกับแก้วนั้น

    ใน พ.ศ.๑๙๑๔ หัวเมืองฝ่ายเหนือกำลังถูกสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปรวบรวมขึ้นแก่กรุงศรีอยุธยา
    ได้ทรงอาศัยคุณพระไตรรัตน์ พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย หรือชากังราวปลอดภัยได้
    จึงพระราชทานพระราชโอรสว่า ขุนสามแก้ว

    ทางฝ่ายกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทอง ครองเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แต่ พ.ศ.๑๘๙๓ แล้ว ทรงครองได้ ๒๑ ปี เสด็จสวรรคต พ.ศ.๑๙๑๒ สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสได้ครองต่อ
    สมเด็จพระบรมราชาเจ้าขุนหลวงพะงั่ว แห่งอู่ทอง ได้เสด็จเข้ามา
    สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จออกไปถวายบังคมแล้วอัญเชิญเสด็จเข้าพระนคร
    ถวายราชสมบัติแล้วถวายบังคมลาไปลพบุรีดังเก่า
    สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ จึงได้เสวยราชสมบัติ พ.ศ.๑๙๑๓
    ครั้นทรงทราบพระเจ้าลิไทย ผู้ได้เคยทำสัตยสัมพันธไมตรีกันมาแต่ก่อนนั้น เสด็จสวรรคตแล้ว ทั้งพระมหาธรรมราชาสยลือไทย ก็ประทับอยู่ ณ พิษณุโลก
    พร้อมกับเมืองชากังราวก็มีเรื่องระหองระแหงกันขึ้น
    กับทั้งพระเจ้ามหาธรรมราชาพระองค์นี้ก็มิได้มีสัตยสัมพันธไมตรีกันมาเหมือนพระองค์ก่อน

    พ.ศ.๑๙๑๔ เมืองฝ่ายเหนือทั้งปวง สมเด็จพระบรมราชาจึงเสด็จไปเอาได้ตลอด ทางสุโขทัย พิษณุโลก
    มิได้ไปช่วยเหลือป้องกันแต่ประการใด

    พ.ศ.๑๙๑๖ พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราชได้สดับข่าวสงคราม
    จึงเสด็จไปประทับสุโขทัย
    ทรงสมัครสมานสามัคคีกับ พระยาไสแก้ว และพระยาคำแหง ตกลงร่วมกันต่อสู้ป้องกัน
    สมด็จพระบรมราชาธิราชเองได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราว
    พระยาไสแก้ว แล พระยาคำแหงเจ้าเมืองชากังราว ออกต่อรบท่าน ท่านได้ฆ่าพระยาไสแก้วตาย แต่พระยาคำแหง แลไพร่พลทั้งปวงหนีเข้าเมืองได้ ทัพหลวงก็กลับคืนพระนคร

    พ.ศ.๑๙๑๘ พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราช มิได้ประทับอยู่พิษณุโลก
    สมเด็จพระบรมราชาธิราชจึงเสด็จไปเอาเมืองพิษณุโลก และได้ตัวขุนสามแก้ว เจ้าเมือง แล กวาดต้อนครอบครัวอพยพครั้งนั้นมาก ทรงได้นำไปเป็นประกัน ณ อยุธยาตลอดพระชนม์ชีพ
    และอาจเป็นขุนสามแก้วนี้ ที่ประทับเป็นตัวประกันอยู่ อาจเป็นต้นวงศ์ขุน จนกระทั่งถึงขุนพิเรนทรเทพ คือ พระมหาธรรมราชาธิราช หรือพระศรีสรรเพชญที่ ๑ นั้น

    พ.ศ.๑๙๑๙ พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราชเมืองพิษณุโลก ยังประทับอยู่สุโขทัย ศรีสัชนาลัย สมเด็จพระบรมราชาธิราชได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราว
    ครั้งนั้น พระยาคำแหง และท้าวผากอง (ฉบับหลวงประเสริฐว่า ท้าวผ่าดอง) คิดด้วยกันว่า
    จะยกกองทัพหลวงและจะทำมิได้แลท้าวผากองคิดจะเลิกทัพหนี
    จึงเสด็จยกทัพหลวงไปตามตีทัพท้าวผากองแตก แลจับได้ตัวท้าวพระยา แลเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก และทัพหลวงเสด็จกลับคืนพระนคร

    พ.ศ.๑๙๒๑ พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราชพิษณุโลก เสด็จประทับอยู่เมืองชากังราว
    สมเด็จพระบรมราชาธิราชได้เสด็จไปเอาเมืองชากังราว
    ครั้งนั้นพระเจ้ามหาธรรมราชาธิราชพิษณุโลก ออกรบทัพหลวงเป็นสามารถ
    แลเห็นว่าจะต่อด้วยทัพหลวงมิได้
    พระเจ้ามหาธรรมราชาได้เสด็จออกถวายบังคมแล้วอย่าศึกทัพ
    จึงยังมิเสียเมืองชากังราว-สุโขทัยศรีสัชนาลัย

    พ.ศ.๑๙๓๑ พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราชยังประทับอยู่ชากังราว
    สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จไปเอาเมืองชากังราวอีกเล่า
    ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าทรงพระประชวรหนัก แลเสด็จกลับคืน ครั้นถึงกลางทางก็สิ้น เมืองชากังราวจึงยังไม่เสีย

    -------------------------------------------------------------------------------------------
    (๑)
    ตอนนี้และชื่อนี้ไม่ปรากฎในที่ใดๆ ได้อาศัยชื่อขุนสามแก้ว ที่ระบุไว้ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ครั้งสงคราม พ.ศ.๑๙๑๘ และชื่อวัดนางพระยา ซึ่งอยู่ ณ พิษณุโลก
    และชื่อแก้วนี้เป็นที่นิยมของชาวถิ่นสุโขทัย พร้อมกับชื่อ พระไตรรัตน ด้วย จึงได้ใช้ชื่อว่า ไสย ศรี แก้ว เป้นชื่อ ขุนสามแก้ว เจ้าเมืองพิษณุโลก พ.ศ.๑๙๑๘ ซึ่งก็มีอายุเพียง ๗ ขวบ
    ฉะนี้อาจได้แต่งงานกันก่อน ตั้งแต่ทรงสถาปนาเมืองพิษณุโลกเป็นเมืองลูกหลวง ได้ตั้งพระลูกเจ้าไสยลือไทย เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก พ.ศ.๑๙๑๗-๘ นั้น
    ถึงกระนั้นก็มีอายุเพียง ๑๐ ขวบ คงอาจมีเสนาอำมาตย์มนตรีอื่นอีก
    ในพงศาวดารจึงบันทีกไว้ว่า ครัวอพยพมาก
    จะอย่างไรก็ดี อาจเป็นนโยบายครั้งนั้นซึ่งให้พระลูกเจ้าซึ่งยังเป้นเด็กนั้น จะได้ทรงเอ็นดู
    แต่ก็ทรงนำเอาไปเป็นตัวประกัน ผลก็คือไม่ทรงยึดและประทับปกครอง ได้ปล่อยไว้
    จากนั้นได้เสด็จไปอีกหลายครั้ง กระทั่งประชวรและเสด็จสวรรคต

    ส่วนพระนางพระยา ซึ่งเป็นพระนามพระบรมราชินีในสมัยนั้น เห็นมีวัดนางพระยา และเมืองพิษณุโลกซึ่งพระพิษณุโลกนี้มีพระเทวี ชื่อ ศรีลักษมี หรือ เจ้าแม่ทับทิมไทย
    จึงใช้ชื่อว่า ศรีพิษณุกา เมื่อพิษณุโลกว่างสงคราม พ.ศ.๑๙๒๒-๑๙๒๙ และพ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๖๐ พระนางอาจสร้างวัดนี้ในสมัยนั้น
    เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้ใช้ชื่อเป็นอนุสาวรีย์ว่า วัดนางพระยา

    และเมื่อพระเจ้ามหาธรรมราชาไสยลือไทย สวรรคต พ.ศ.๑๙๖๒
    ทางกรุงศรีอยุธยาได้ตั้ง พระยาบาลเมือง เป็นพระสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช ไปครองพิษณุโลก คราวนี้ จึงเป็นประเทศราชกรุงศรีอยุธยาแต่นั้นมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  8. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    คราวแรกเข้าใจกันว่า ราชอาณาจักรสุโขทัยศรีสัชนาลัยได้สุดสิ้นลงแต่ครั้งที่พระเจ้ามหาธรรมราชาธิราชพิษณุโลกเสด็จออกถวายบังคม ณ ปี พ.ศ.๑๙๒๑ นั้นแล้ว

    ความจริงก็เพียงขอหย่าทัพเท่านั้น
    ถ้ามิเช่นนั้น สมเด็จพระบรมราชาฯ คงไม่เสด็จไปในปี พ.ศ.๑๙๓๑ นี้อีก
    และเสด็จไปครั้งนี้ คงได้ตั้งใจจะเอาให้ได้
    แต่ทรงประชวรหนักต้องถอยทัพและสวรรคต
    สุโขทัยศรีสัชนาลัยจึงยังคงอยู่ได้

    ครั้นสมเด็จพระราเมศวรขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาแล้ว
    ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ก็มิได้ทรงรบกวนแต่ประการใด

    พระนางพระยาศรีพิษณุกา จึงทรงเริ่มสร้างวัดต่อ
    พระนางทรงสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๒๕
    แม้พระลูกเจ้าขุนสามแก้วจะประทับอยู่อยุธยา แต่ก็มิได้ทรงหวงห้ามแต่ประการใด ได้เสด็จไปมาเสมอ
    เมื่อไม่มีเหตุการณ์อะไร พระนางได้สร้างต่อตั้งแต่ พ.ศ.๑๙๒๓ นั้นตลอดไป วัดนั้นจึงมีชื่อว่า วัดนางพระยา

    พ.ศ.๑๙๔๙ (จารึก จ.ศ.๗๖๘) สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเจ้าได้เสด็จเข้าระงับอธิกรณ ซึ่งพระมหาเถรทั้งหลายโจทก์ใส่กัน
    ได้ประชุมกันในอุโบสถอันอยู่ในทะเลฉาง(ทะเลสาป) ในวัดกัลยาณวนาวาส

    ในการประชุมครั้งนี้ ในจารึกได้จารึกชื่อพระมหาเถระและพระเถรผู้มีสมณศักดิ์และนักปราชญ์ ปรัชญา บาธรรม
    มี(๑)สมเด็จมหาธรรมราชาธิราชผู้หลาน ศรีธรรมราชมาดา ตอนหลังบวชเป็น ศรีราชมาดา

    พอประถมยาม ได้มีพระราชโองการตั้ง พระบรมครูติโลกดิลกติรตนสีลคนธวนวาสีธรรม กิตติสังฆราชามหาสวามีเจ้า เป็นสังฆปรินายกสิทธิ
    และภิกษุสงฆ์ผู้ใดหนอรัญญวาสี และกระทำบ่อชอบธรรม ฯลฯ บรมครูปรญาปติอันใดไซร้ มิอาจจะละเมอสล่วงอีกได้เลย

    พระบรมครูติโลกฯ ได้สอบสวนระงับได้ตลอด ได้ตั้ง พระมงคลวิลาสมหาเถร เป็นเจ้าอาวาส ถ้าสิ้นให้สงฆ์ประชุมพร้อมกัน เลือกภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็ดี
    เมื่อเสร็จแล้วจึงกลับไปวัดป่าแดง ได้กระทำจารึกไว้ ณ วัดป่าแดงนั้น(หลักที่๙)

    -------------------------------------------------------------------------------------------

    (๑)สมเด็จมหาธรรมราชาธิราชผู้หลาน คงเป็นหลานของพระบรมครูฯสังฆราชนั้น หรืออาจระบุเป็นหลานพ่อขุนพระรามคำแหง

    ศรีธรรมราชมาดา คงหมายถึงพระมารดาของพระองค์คือ พระนางพระยาศรีจุลาลักษณ์ ถ้าเป็นจริงเพราะพระนางประพฤติธรรมเป็นปกติ จึงอาจสถาปนาพระนามใหม่ว่า พระศรีธรรมราชมาดา

    ศรีราชมาดา ถ้าหมายถึงพระมารดาของพระราชโอรส คือขุนสามแก้วแล้ว เป็นหลักฐานชื่อ ศรีพิษณุกา
    ด้วยอาศัยจารึกนี้จึงเดาเอาอย่างนั้นไปก่อน พบหลักฐานที่ดีกว่าแล้วจะได้เปลี่ยนไปตามที่ถูก

    กัลยาณวนาวาส ตามศัพท์แปลว่า อาวาสในป่ากัลยาณ คือ ดีงาม คงเป็นชื่อวัดนางพระยา ซึ่งอาคารอยู่ในทะเลฉาง หรือทะเลสาปมาก
    ถ้าเป็นจริง "กัลยาณ" คงตัดหน้าหลัง เหลือ "ยา" จึงเป็นชื่อว่า "นางพระยา"
    หรือว่าเอาพระยานั้นเข้าไปเป็น "กัลยาณะ" ก็เป็นได้ ซึ่งก็พอได้ความ
    และอาจเป็นอีกวัดหนึ่งจากวัดนางพระยานั้น ซึ่งทรงสร้างขึ้นอีก
    เพราะ กัลยาณวนาวาส แปลว่า วัดป่าไม้ขานางได้อีด (อสทิสทานทานวตฺถุ ธมฺมปทฎฺฐกถา ภาค ๖ ใช้ศัพท์ว่า กลฺยาณิปทร = กระดาน ไม้ขานาง)
    ณ ที่นั้นคงเป็นป่าไม้ขานาง จึงตั้งชื่ออย่างนั้น
    กับคำศัพท์ว่า กลฺยาณิ แปลว่า มีข้อกำหนด สวยงาม เป็นนางพระยา และมี "ยา" อยู่ด้วย
    แก้วกัลยา จึงอาจปรับเข้าศัพท์เป็น กัลยาณวนาวาส ได้
    จะอย่างไรก็ตามเพราะยังไม่ได้สำรวจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  9. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    พ.ศ.๑๙๖๒ (จ.ศ.๗๘๑) พระมหาธรรมราชาธิราชไสยลือไทย สวรรคตแล้ว
    เมืองเหนือทั้งปวงเป็นจลาจล เมืองพระบาง พระยาบาลเมือง พระยาราม ไม่ปรองดองกัน จึงเกิดเป็นจลาจล ไม่มีใครปราบปรามได้
    สมเด็จพระอินทราชาธิราชจึงเสด็จขึ้นไปถึงเมืองพระบาง พระยาบาลเมือง พระยาราม ออกมาถวายบังคม
    พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จกลับพระนคร

    พ.ศ.๑๙๖๓ สมเด็จพระอินทราชาธิราช ได้ตั้งพระยาบาลเมือง เป็นพระมหาธรรมราชาธิราชพิษณุโลก ไปครองพิษณุโลกและสุโขทัย
    และตั้ง พระยารามคำแหง เป็นพระเจ้าศรีสัชนาลัยรามวงศ์บรมราชาธิราช ครองศรีสัชนาลัย

    ตามจารึกหลักที่ ๑๒ ลงไว้ว่า พุทธศักราช ๑๙๗๐ ระบุพระนามว่า
    พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราชผู้มีญาณอันเจริญและมีสิริเป็นคุณอันไพศาล เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้าธรรมราชาธิราชเจ้า ผู้ประเสริฐ ทรงไว้ซึ่งกาล คือ เดชอันกล้า ได้จารึกรอยพระบาททั้งคู่แห่งพระสุคต...นำมายังสุโขทัยบุรี โดยราชานุเคราะห์แห่งพระเจ้ามหาธรรมราชผู้เป็นชนกนาถ แห่งพระเจ้าบรมปาลาธิราชผู้เป็นใหญ่กว่านรชน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2017
  10. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช

    พระยาบาลเมือง รัชกาลที่ ๙

    (เป็นรัชกาลที่ ๑ ราชอาณาจักรสุโขทัย ในศักดิ์ประเทศราช)

    เพราะพ่อขุนสามแก้ว ได้ถูก สมเด็จพระบรมราชาธิราชขุนหลวงพะงั่ว ได้ตัวไปเป็นตัวประกันในกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๑๙๑๘
    ครั้นขุนหลวงพะงั่วสวรรคต พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระราเมศวรได้ครองราชสมบัติ
    ไม่ทรงกระทำอย่างแต่ก่อน กรุงสุโขทัยจึงดำรงอิสระเอกราชอยู่ได้ตลอดรัชกาล

    ครั้นถึงสมเด็จพระอินทราชาธิราชเจ้า ก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นเรื่องเดือดร้อน
    ครั้นพระเจ้าไสยลือไทย เสด็จสวรรคตแล้ว พ.ศ.๑๙๖๒
    พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาพระอินทราชาธิราช จึงสถาปนาและราชาภิเษก พระยาบาลเมืองเป็น พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราช ไปครองพิษณุโลกตลอดจนถึงสุโขทัยศรีสัชนาลัย
    ในขณะนั้น ทรงยกเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง และเป็นเมืองหลวงชั้นกรุงแล้ว
    พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาลมหาธรรมราชาธิราชได้เสด็จประทับ ณ เมืองพิษณุโลกนั้น พ.ศ.๑๙๖๓
    เพราะได้เสด็จไปประทับอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา และพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาได้ราชาภิเษกให้ครอง จึงเป็นประเทศราชของอยุธยามาแต่นั้น

    เข้าใจว่าคงมีพระลูกพระหลานสืบต่อกันเรื่อยมา
    กระทั่งถึง ขุนพิเรนทรเทพได้สถาปนาเป้นพระมหาธรรมราชาธิราช
    และได้ครองกรุงศรีอยุธยา เป็นสมเด็จพระสรรเพชญที่ ๑
    ที่ ๒ คือสมเด็จพระนเรศวร
    ที่ ๓ คือสมเด็จพระเอกาทศรฐ
    ที่ ๔ คือ เจ้าฟ้าศรีเสาวภาค

    พระยาบาลเมือง เมื่อราชาภิเษกเป็นพระเจ้าสุริยวงศ์ฯแล้ว พ.ศ.๑๙๖๒ ทรงอุปภิเษกพระนางสิริรัชฎาเทวี ขึ้นเป็นพระนางพระยาสิริรัชฎาเทวี เป็นพระอรรคมเหษี
    และทรงสถาปนาพระสังฆราชพระนามว่า พระมหาสมณเจ้าพระสุเมธังกรสังฆราช

    ส่วนพระยารามคำแหง ได้รับราชาภิเษก และสถาปนาเป็นพระเจ้าศรีสัชนาลัยรามวงศ์บรมราชาธิราช ครองศรีสัชนาลัย ชะเลียง ชากังลาว
    ได้อุปภิเษก พระนางพระยาชำเลียง ได้มีพระราชโอรสนามว่า พระยาชะเลียง
    อาจมีองค์อื่นๆอีก

    พระเจ้าศรีสัชนาลัย คงไม่ลงรอยกับพระเจ้าพี่นัก
    แต่คงเกรงกรุงศรีอยุธยาอยู่ จึงไม่มีเรื่องร้ายแรงเกิดขึ้นในระยะกาล ๑๐ ปีนั้น

    พ.ศ.๑๙๗๐ พระเจ้าสุริยวงศ์ฯ มีพระราชสมภพบริบูรณ์ ๓๖ พรรษา
    พระมหาสมณเจ้าสุเมธังกรสังฆราช ได้ให้พระวิทยาวงศ์มหาเถรผู้ฉลาดในจิตรกรรม[ จารึกรอยพระบาททั้งคู่ครบมงคล ๑๐๘ ประการ ได้นำมาสุโขทัย ถวายเป็นพระราชานุเคราะห์ประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย

    พ.ศ.๑๙๘๐ อาจมีพระราชโอรส พ.ศ.นี้ เมื่อประสูติแล้ว สถาปนาพระนามว่า ขุนศรีธรรมราชา
    ซึ่งมีปรากฎพระนามในจารึกหลักที่ ๑๓,๑๔,๑๕ ว่า พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
    ยืนยันว่าเป็นทั้ง "เจ้า" และ "พระยาเมือง" เป็นเช่นนี้จึงอาจมีข่าวขึ้น เป็นเหตุให้ต้องเสด็จพิษณุโลก

    พ.ศ.๑๙๘๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ยังเป็นสมเด็จพระราเมศวรเจ้าผู้เป็นพระราชกุมาร เสด็จไปพิษณุโลก
    ครั้งนั้นเห็นน้ำพระเนตรพระพุทธเจ้าพระชินราชตกออกมาเป็นพระโลหิต
    ได้เสด็จกลับมาเสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยา เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า พ.ศ.๑๙๙๑

    พระยารามคำแหง ได้สถาปนาเป็น พระเจ้าศรีสัชนาลัย พระยาเมืองศรีสัชนาลัย-สวรรคโลก พ.ศ.๑๙๖๒ แล้ว พระนางพระยาชำเลียงประสูติพระราชโอรส ประมาณพ.ศ.๑๙๖๕
    พระเจ้าศรีสัชนาลัยสวรรคต พ.ศ. ๑๙๘๙ พระราชโอรสสืบต่อ

    เพราะอยู่เมืองชะเลียง จึงได้เป็นพระยาชะเลียง ทั้งไม่ลงรอยกับพระเจ้าสุริยวงศ์ฯผู้เป็นพระเจ้าลุง ตามพระราชบิดาแล้ว พยายามที่จะฟื้นกรุงสุโขทัยศรีสัชนาลัยอีกด้วย แต่เกรงกรุงศรีอยุธยา
    กาลนั้น มหาราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ทรงมีพระเดชานุภาพมาก อาจติดต่อกันตลอดมา

    ครั้น พ.ศ.๑๙๙๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสวรรคต สมเด็จพระราเมศวรได้ครองกรุงศรีอยุธยาต่อ เป็นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว

    พ.ศ.๑๙๙๔ พระมหาราชเจ้าเมืองเชียงใหม่ เสด็จลงมาเอาเมืองชากังราวได้ เพราะพระยาชะเลียงออกต้อนรับแล้วได้นำมาเอาสุโขทัย
    พระเจ้าสุริยวงศ์ฯและพระราชโอรสซึ่งเป็นอุปราชในกาลนั้น เป็นพระกลาโหมมีพระชนมายุเข้า ๑๕ ได้คุมพลทัพต่อสู้เข้มแข็ง
    จึงปล้นเอาเมืองสุโขทัยมิได้ ก็เลิกทัพกลับคืนเชียงใหม่
    ครั้งนี้มีความชอบ พระกลาโหมจึงเป็นมหาอุปราช ครองกรุงสุโขทัยได้ตลอดมาถึงพิษณุโลก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  11. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช รัชกาลที่ ๑๐


    เป็นพระองค์แรกที่มีพระนามว่า เจ้าพระยา

    เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จมาเสวยราชสมบัติ ณ พิษณุโลกแล้ว
    พร้อมกับความดีที่พระยากลาโหมได้ต่อสู้ป้องกัน และไปเอาสุโขทัยได้คืน
    จึงแบ่งพระราชทานให้ครึ่งหนึ่ง คือสุโขทัยและศรีสัชนาลัยตลอดถึงกำแพงเพชร

    พ.ศ.๒๐๐๑ พระเจ้าสุริยวงศ์ฯสวรรคต พระกลาโหมได้ครองสืบต่อมา

    พ.ศ.๒๐๐๓ พระยาชะเลียง คิดเป็นขบถ
    พาเอาครอบครัวทั้งปวงไปออกแก่พระมหาราชเจ้า(เชียงใหม่)
    เพราะพระเจ้าสุริยวงศ์สวรรคตแล้ว และพระกลาโหมผู้ครองก็มีอายุน้อย
    พระยาชะเลียงจึงนำสุโขทัยไปออกแก่พระมหาราชเจ้าด้วย
    พระกลาโหมได้ทราบจึงมาอยู่พิษณุโลก

    พ.ศ.๒๐๐๔ พระยาชะเลียงนำเสด็จพระมหาราชเจ้า มาเอาเมืองพิษณุโลก พระยากลาโหมคุมทัพต่อสู้เข้มแข็ง
    แม้เข้าปล้นเมืองเป็นสามารถก็มิได้เมือง
    จึงยกทัพแปรไปเอาเมืองกำแพงเพชรและเข้าปล้นเมืองเถิง ๗ วัน
    มิได้เมือง เพราะพระยากำแพงเพชรต่อสู้ป้องกันเข้มแข็ง
    พระมหาราชเจ้าจึงเลิกทัพกลับเชียงใหม่

    พ.ศ.๒๐๐๕ เมืองนครไทยพาเอาครัวอพยพไปเมืองน่าน
    แล สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ให้พระกลาโหมไปตามได้คืนมาแล้ว
    พระกลาโหมยกพลคุมไปเอาเมืองสุโขทัยได้คืนดุจดังเก่า
    ด้วยความชอบนั้น จึงทรงสถาปนาเป็น เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชเจ้าเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัย

    พ.ศ.๒๐๐๖ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก
    แลตรัสให้พระเจ้าแผ่นดินเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชา
    ครั้งนั้น พระมหาราชท้าวลูก ยกทัพมาเอาเมืองสุโขทัย
    จึงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแลสมเด็จพระอินทราชาเจ้าเสด็จไปกันเมือง
    แลสมเด็จพระบรมราชาตีทัพพระยาเกียรติแตก แลทัพท่านมาปะทัพหมื่นนคร
    ท่านได้ชนช้างด้วยหมื่นนคร แลข้าศึกทั่งสี่ช้างรุมเอาช้างพระที่นั่งช้างเดียวนั้น
    ครั้งนั้น สมเด็จพระอินทราชา ขับช้างเข้าช่วยต่อสู้ป้องกัน จึงต้องปืน ณ พระหัตถ์ แต่มิได้เป็นอันตรายเป็นมหัศจรรย์
    เป็นเหตุให้พระมหาราชท้าวลูกเลิกทัพกลับไป
    ได้ทรงราชาภิเษกเจ้าพระยาศรีธรรมมาโศกราช เป็นพระยาเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัยแล้วเสด็จกลับไปประทับพิษณุโลก

    พ.ศ.๒๐๐๗ ทรงสร้างพระวิหาร พระอุโบสถ วัดจุฬามณี
    และทรงผนวช ณ วัดจุฬามณีนั้น พ.ศ.๒๐๐๘ ได้ ๘ ]เดือน ทรงลาผนวช

    พ.ศ.๒๐๑๘ พระมหาราชเอาเชียงใหม่มาขอเป็นไมตรี

    พ.ศ.๒๐๒๕ ให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน ฉลองพระศรีรัตนมหาธาตุ
    แล้วจึงพระราชนิพนธ์ มหาชาติคำหลวงจบบริบูรณ์

    พ.ศ.๒๐๓๑ ทรงให้สมเด็จพระบรมราชา ไปเอาเมืองทวาย
    และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต ณ เมืองพิษณุโลก
    ทรงเสวยราชสมบัติเมืองพิษณุโลก ๑๖]ปี ณ อยุธยาอีก ๑๕ ปี รวม ๓๑ ปี

    ตอนนี้เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช พระยาเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัย ไม่มีศัตรูเป็นเครื่องเดือดร้อน มีอายุมากเข้าก็สร้างบุญกุศลตลอด

    พ.ศ.๒๐๕๓ เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชสุโขทัย ไปประดิษฐาน พระอิศวร ณ เมืองกำแพงเพชร ช่วยยกย่องพระพุทธศาสนา ไสยศาสตร์ พระเทพกรรม

    พ.ศ.๒๐๕๕ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ไปร่วมธรรมสรรค์พัทธสีมาอุโบสถ
    มีสมเด็จพระสังฆราชจุฑามณีศรีสังฆปรินายกสธรรมดิลก กับ เจ้าขุนหลวงมหาเพียรประญา
    พ.ศ. ๒๐๕๙ ไปร่วมกุศลสร้างแท่นหินจารึกแก่พระมหาเถระหลายท่าน(จารึกลบเลือนจึงอ่านไม่ได้)


    สุโขทัย ศรีสัชนาลัยสวรรคโลก พิษณุโลก ยังมีชื่ออยู่แล้ว แม้ว่าจะเป็นเมืองและจังหวัดก็ตาม ก็ยังปรากฏอยู่กระทั่งปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  12. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    a.2272325.jpg

    ถ้ำเขาทะมน เพชรบุรี (ขอขมาเปลื้องเครื่องใหม่ออกเพื่อถ่ายสัดส่วน กายวิภาค ฝีมือช่าง)

    ซ้าย - พระยาแกรก
    พงศาวดารเหนือเล่าว่า พระยาโคตมตระบอง ครองกำแพงเพชร
    โหรเล่าเรื่องผู้มีบุญ จึงสั่งให้จับทารกครอกไฟ
    พระยาแกรกถูกครอก ไม่ตาย แต่พิการ ตลอดตัวเน่า
    พระนำไปอยู่วัดโพธิ์ผี
    มีข่าวลือว่า ผู้มีบุญจะขี่ม้าขาวเหาะมา จึงถัดดู พระอินทร์จูงม้าและนำเครื่องของทืพย์มาให้กิน บำบัดพิการหมดสิ้น จึงขี่ม้าเหาะไป
    พระยาโคตมตระบอง มองเห็น ตกพระทัยกลัว จึงพาลูกเมียหนี
    พระยาแกรกจึงได้ครอง มีพระนามว่า พระยาแกรก หรือ พระเจ้าสินธพอัมรินทร์

    ขวา - พระนางร่วง อาจชื่อ"มี"
    ตามพงศาวดารเหนือ กล่าวเพียงว่า ยกนางเผ่าพันธุ์ โคตมเทวราช โคตมตระบอง
    จึงใช้ชื่อให้เข้ากับ "มี" ว่า "โคตมีเทวี"

    ทั้งคู่ดูแล้วสัดส่วนงามมาก สังเกตผมที่ตัดทรงมหาดไทย
    จะยกขึ้นไปถึงอยุธยาก็ไม่ได้ผมทรงนี้ถือกันว่าสมัยรัชกาลที่๓
    ทั้งคู่นี้ เมื่อขึ้นเป็นจ้าวพ่อจ้า่วแม่ศักดิ์สิทธิ์ มีคนเคารพมาก
    ไหล่ช่วงนอก เป้นแบบไทย
    นอกจากนั้น มีกายวิภาค ตลอดกระทั่งสัดส่วน ชายหญิงไทยแก่ ชัดเจนทั่วไป
    โดยเฉพาะปากซึ่งแสดงถึงส่วน ชาย-หญิงแก่ ฟันหลุดหมดแล้ว
    และพระยาแกรก นี้ว่าครอง อินทปัตถนคร ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน
    รูปปรากฏที่ เขาทะมน เพชรบุรีนี้
    เมื่อตั้งตัวได้ก็ตั้งชื่อใหม่ เพราะระยะกาลสั้น เมื่อร้าง ชื่อจึงสูญไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0156.jpg
      scan0156.jpg
      ขนาดไฟล์:
      237.3 KB
      เปิดดู:
      1,257
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  13. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    [​IMG]
    กลองอินทเภรี ของท้าวแสนปม ในถ้ำเขาหลวง
    และกลองที่อยู่เหนือซุ้มประตู เคยมีอยู่ที่ วัดเพชรพลี แต่แตกไปแล้ว


    ตามที่เชื่อถือกันมา ทั้ง พระยาแกรก และ ท้าวแสนปม มีถิ่นฐานอยู่เพชรบุรี
    จึงกระทำรูปเคารพ และ กลองอินทเภรี กันไว้อย่างที่ปรากฏนั้นๆ
    น่าชื่นใจที่ช่างชาวเพชรบุรี ได้ลงแรงทั้งทรัพย์และกำลังฝีมือ กระทำกันไว้ให้ได้เห็นมาถึงปัจจุบัน

    กลองที่มีรอยทะลุนั้น เจ้าของอาจเป็น ขุนเจ้าเมืองเพชรก่อนๆก็ได้ เอาทรัพย์สินเงินทองใส่ไว้
    ใบ้ไว้ว่า "อินทเภรีตีดังบังเกิดทรัพย์"
    มีผู้รู้เจาะล้วงเอาไปแล้ว เหลือกลอง และรอยทะลุ ยืนยันเรื่องอยู่อย่างที่เห็น

    รูปในซุ้มขวา เป็นรูปชายพระร่วง อาจเป็นรูปผู้สร้าง หรือรูปท้าวแสนปม เจ้าของอินทเภรี
    รูปในซุ้มซ้าย เป็นหญิงแต่งตัวนางละคอน เป็นรูปเมียเจ้าของ หรือรูปพระมเหสีท้าวแสนปม
    พงศาวดารเหนือ เล่าว่า เป็นราชบุตรีของพระเจ้ากรุงไตรตรึงษ์
    ไม่บอกว่าชื่ออะไร อาจชื่อ รุ่งเรือง หรือ พระนางร่วง
    ในพระราชนิพนธ์ เรื่องท้าวแสนปม พระราชทานชื่อว่า อุษา แปลว่า รุ่งสาง

    ท้าวแสนปม มีรูปร่างขรุขระ มีปมตั้งแสน อยู่กระท่อมปลูกผัก อยู่ใกล้วังกรุงไตรตึงษ์
    พระราชธิดา เสวยผลมะเขือที่แสนปมปลูกใช้ปัสสาวะรด มีครรภ์
    มีลูกชายแล้วประกาศหาพ่อ แสนปมถือก้อนข้าวเย็นไปให้ เด็กนั้นรับกิน จึงถูกขับออกไปอยู่ป่า ลำบากยากแค้นมาก
    พระอินทร์แปลงเป็นลิง นำกลองศักดิ์สิทธิ์อินทเภรี
    เมื่อตีแล้วปมหาย เกิดทรัพย์ และมีเมืองเทพนครเกิดขึ้น
    จึงมีพระนามว่า สิริชัยเชียงแสน มีพระราชโอรสชื่อ อู่ทอง คือ พระรามาธิบดีที่๑ ผู้สร้างอยุธยา
    เทพนคร ไม่บอกว่าอยู่ที่ไหน อาจอยู่ที่เพชรบุรีก็ได้ เพราะมีหลักฐานอยู่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0157.jpg
      scan0157.jpg
      ขนาดไฟล์:
      260.7 KB
      เปิดดู:
      2,062
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2013
  14. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    สมัยกรุงศรีอยุธยา

    สมัยอยุธยาก่อน
    ฉบับหลวงประเสริฐว่า พ.ศ.๑๘๖๗ แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง
    พ.ศ.๑๘๙๓ แรกสถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา
    ก่อนอยุธยานั้น มีเมืองอยู่แล้ว คือ เมืองเจ้าแก้ว เจ้าไทย พระเจ้าอู่ทอง
    และปรากฏชื่อเวียงเหล็ก ซึ่งต่อมามีชื่อว่า วัดพุทไธศวรรย์

    เมือง เมียง เม็ง มุง (เช่น มุงลุง เมืองหลวง)
    เวียง วัง มีชื่อว่า เชียง (เช่น เชียงราก เชียงใหม่)
    เชียง บางทีออกเป็น เจียง เช่น ช้าง จ๊าง
    จุง จ.ก็ออกเป็น ก. ได้ เช่น จรวด เป็น กรวด , จราว เป็น กราว
    จุง จึงเป็น กุง กรุง
    เวียงเหล็ก จึงเป็น กรุงเหล็ก ได้
    เหล็ก มคธว่า อย อโย ต่อกับ เชียง เชิง หรือ เชิญ จึงเป็น อโยฌิยา อยุธยา
    คำชื่อว่า”ไทย” ตรงกับเสียงสันสกฤตว่า “ไทว”(มคธ = เทว)สมณชีพราหมณ์ จึงเอา เวียงเหล็ก มาตั้งชื่อว่า “กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดี ศรีอยุธยา”

    สมัยอยุธยาจึงอาจมีมาก่อน พ.ศ.๑๘๙๓-๒๓๑๐

    เมื่อหลายพันปีมาแล้วดินแดนอยุธยามีแล้ว และมีคนอยู่
    อาจมีการปกครองกันมาแต่ไม่พบลายเขียน
    ได้ทราบเพียงว่า เมืองนองทอง ก็ไม่รู้ว่าจะจริงจังอะไร
    ครั้น พ.ศ.๒๕๑๐ ไปดูแผ่นหินทราย กระจายอยู่ข้างพระเจดีย์ชัยมงคล เห็นมีลายเฉาะอันแสดงว่าคนทำ มองๆดูก็พบลายสือไทยตัวแบบเฉาะหิน
    ถามท่านพระครูภาวนารังสีท่านว่า จมๆอยู่ วานคนช่วยงัดขึ้น
    ได้ความว่าอยู่ใต้แผ่นดิน
    อาจเป็นหินที่นำมาสร้างวัดใหญ่ชัยมงคล แต่ครั้งยังเป็นวัดป่าแก้ว
    ก่อนอยุธยาอาจขึ้นไปถึงสุโขทัยหรือไทยทวาลาว อาจถึงสุวัณณภูมิ ตอนนั้นที่นี้มีชื่อว่า”เมืองเนืองทอง”
    คนหรือช่างตอนนั้นรู้จักชื่อ เมื่อนำหินทรายก้อนมาทำฐานวัตถุสถาน จึงเฉาะเล่นๆซึ่งกลายมาเป็นหลักฐาน[

    "เมืองเนืองทอง" มีชื่อมาตั้งแต่สมัยขุนชวดอินสิบสองพัน คือเมื่อ ๗๘๐๐ปีมาแล้ว
    ซึ่งลึกเกินกว่าความรู้ปัจจุบัน
    คงเป็นชื่อที่เรียกถิ่นรวมตลอดมาตั้งแต่สมัยเมืองแมน เมืองทองสุวัณณภูมิ
    ในสมัยไทยทวาลาว คงจะเป็นเมืองพี่เมืองน้อง หรือ ลูกหลาน สืบๆกันมา กระทั่งปรากฎชื่อ "เวียงเหล็ก" ซึ่งแต่งเข้าชื่อมคธว่า "[อโยฌิยา" หรือ "อโยธยา"
    และที่นี้ปัจจุบันมีวัดพุทไธศวรรย์ ปรากฎอยู่ แต่อยู่ทางใต้ หรือ ใต้ตะวันออก

    ในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนครหลวง หรืออำเภอนครหลวงอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งอาจมีอาณาเขตไปถึงที่นั้น จึงมีชื่อว่า"นครหลวง" ซึ่งตั้งชื่อเรียกว่าไทยทวาลาว

    ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑ เรื่องพระยากงพระยาพาน
    รู้กันทั่วว่า พระยาราชบุรีบิดาเลี้ยงจะมาจับ พระยาพานก็ยกทัพหนีขึ้นไปยังประเทศราช เสนาบดีจึงเชิญขึ้นครองราชย์สมบัติ ๔๙ปี สวรรคต
    พระราชบุตรได้ครองต่อ ทรงพระนามว่า พรรษา
    สร้างวัดสรรเพชญ์ วัดสวนหลวง สวรรคต ๙๐ ลงจุลศักราชไว้ว่า ๖๖๙ ถึง ๙๐๖ (พ.ศ.๑๘๕๐-๒๐๘๗) ระยะกาลห่างกัน ๒๒๗ปี
    และ พ.ศ.๑๘๕๐ นั้น ก็ก่อนกรุงศรีอยุธยาที่ว่าเริ่ม พ.ศ.๑๘๙๓
    แต่จารึกวัดไผ่ล้อม ซึ่ง พันธุพัสสินทร์ หรือ พรรษา พระยาพานเมืองฟ้า พาเมียลูกพลทัพ ออกจากไทยทวาลาว นครไชยสีห์ไป พ.ศ.๑๕๖๖
    เมื่อครองราชย์สมบัติ ณ ประเทศราชแล้ว คงตั้งชื่อว่า พระนครหลวงไทยทวาลาว หรือ เรียกสั้นๆว่า กรุงทวาราวดี
    ซึ่งต่อมา พระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีที่ ๑ สร้างพระราชวังใหม่ที่ หนองโสน แล้ว
    เอาคำว่า ไทยทวาลาว ย่อลงเหลือว่า ไทว อันตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ไทวรกษิตา ซึ่งภาษามคธว่า เทว เทพ
    จึงตั้งชื่อว่า กรุงเทพทวาราวดี ศรีอยุธยา ฯลฯ
    เมื่อได้ความอย่างนี้แล้ว พอเข้ากับประวัติที่ผู้ว่าฯและคณะกรรมการเขียนไว้ในหนังสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    ถึงแม้ว่า เผ่าที่ระบุไว้ในที่นั้นจะแยกไปคือ ลวะได้ไปอยู่ในเผ่ามอญ ขอมได้ไปเป็นพวกขะแม
    โดยที่ผู้เขียนเดิม ฟังคำและเสียงลวะ และขอมเดิมเขมรลาวเดิม ซึ่งเป็นคำและเสียงของพระนางนาค(สมเด็จพระอมรินทรามาตย์)ที่กล่าวคำไทยเดิมมักขึ้นเสียงสูง เช่น กระจาด ออกว่า กระจ๊าด สูบยา ว่า ซุบย้า ใต้ถุน ว่า เต้าล้าง(ใต้ล่าง)
    เลยเขียนส่วพวกนี้ไปเข้าเป็น มอญ และ ขะแม
    ในประวัตินั้น ยังใช้อย่างนั้นอยู่ ได้ลอกมาและเติมเข้าไปแก้ไขภายในวงเล็บ

    พระนครศรีอยุธยาก่อนเป็นราชธานี แต่เดิมเป็นพื้นที่ต่ำมาก เพราะอยู่ใกล้ทะเล (ไม่ได้ประมาณกาล ตามอายุซากหินสาหร่ายทะเลที่บางว้า นครปฐม ว่าก่อน๒๐๐ล้านปี)
    เป็นสบน้ำ ๓ สายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี
    ต่อมาด้วยการทับถมของดินซึ่งตามน้ำมาในฤดูน้ำหลากทำให้ที่ดินดอนขึ้น

    ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยานี้ มีโดยย่อเป็นสามสมัย ดังนี้

    ๑.สมัยไทยละว้า มีอำนาจ
    แต่เดิมมาดินแดนนี้ผนวกอยู่ในอาณาจักรทวาราวดีของ (ไทยทวาลาว)ละว้า
    ซึ่งแบ่งการปกครองอาณาจักรนี้ออกเป็น ๓ เมืองใหญ่ๆคือ
    นครปฐม
    ลโว้(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ลพบุรี และจารึกปราสาทพระขรรค์โศลกที่๑๑๖ มีว่า ลโวทยปุรํ ลโวไทยบุรี)
    แลเมืองสยาม(สุโขทัย)
    ดินแดนอยุธยานี้คงรวมอยู่กับเมืองละโว้ ซึ่งอยู่ใกล้กัน

    ๒.สมัยขอมเรืองอำนาจ
    เมื่อพวกละว้าเสื่อมอำนาจ ขอมก็เข้ามาแทนที่ เริ่มแต่ราวปี พ.ศ.๑๓๒๕ หรือ พ.ศ.๑๔๐๐ เป็นต้นมา
    ในระยะนี้ ขอมได้ปกครองอาณาจักรทวาราวดีเป็นสองมณฑลใหญ่ๆคือ
    ฝ่ายเหนือ มีสุโขทัย หรือสยามเป็นศูนย์กลาง
    ฝ่ายใต้ มีมณฑลละโว้ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นลพบุรี เป็นศูนย์กลาง
    โดยที่ตรงที่ตั้งเมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นที่ปากทางออกทะเล
    และเป็นสบแม่น้ำสามสาย และอุดมสมบูรณ์
    ขอมจึงตั้งเมืองด่านขึ้นเมืองหนึ่ง ให้ชื่อว่า "อโยธยา"
    เข้าใจว่าคือบริเวณที่ตั้งวัดอโยธยา(เดิม)ในฝั่งคลองหันตราเดี๋ยวนี้

    ๓.สมัยไทยมีอำนาจ
    ในหนังสือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้นำเรื่องที่ฝรั่งเขียนไว้ จึงไม่ลอกเอามาเพราะรู้ว่าฝรั่งกล่าวผิดไว้
    ได้พบจดหมายเหตุจีน พ.ศ. ๑๒๓๕ ระบุว่า
    ล้อและชื่อสถานที่ที่ชวาว่า ลวู สุขุ ตฺเจลา คือ ลโว้ สุโขทัย จเลล พ.ศ.๑๗๘๒
    กับจารึกปราสาทพระขรรค์ในขะแม พ.ศ.๑๗๓๔
    โศลกที่๑๑๖ มีระบุว่า ลโวทยปุรํ = ลโว้ไทยบุรี แล้ว
    ที่อยุธยามีคนไทยอยู่มาแล้วอย่างน้อยก็ก่อน พ.ศ.๑๗๓๔ ในชื่อว่าไทยทวาลาว

    และที่เวียงเหล็ก ปรากฎชื่อ เจ้าแก้ว เจ้าไทย
    ซึ่งพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีที่ ๑ ได้ทรงพระกรุณาตรัสให้ขุดขึ้นเผาเสีย
    ที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาพระเจดีย์ แล พระวิหาร เป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อว่า วัดป่าแก้ว ในปี พ.ศ.๑๙๐๖
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  15. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    หินลายเฉาะว่า เมืองเนืองทอง อยู่วัดใหญ่ชัยมงคล

    [​IMG]

    บน-เส้นหน้ารอยแตก
    เส้น ๒ คือ รอยเฉาะเมืองเนือง จะเห็น ม.น. เขียนซ้อนกันใน เื_ือง
    ล่างรอยหน้าแตกจากนั้นคือ ทอง
    เฉาะไว้อย่างนี้จึงรู้ว่า เมืองเนืองทองอยูาตรงนี้
    จากนี้ลงมาจะมีวัดพนัญเชิง วัดพุทไธศวรรย์คือ เวียงเหล็กเก่า
    เหล็ก ในคำมคธว่า อโย ต่อกับ เชียง
    ช. นี้เอาเป็น ฌ. จึงเป็น อโยฌิยา แล้วมาเป็น อยุธยา

    และตัวที่ติดกันอย่างนี้มีมานาน เช่น ญ. ว่า ถ. กับ บ.เติมเท้า
    ฌ. ว่า ถ. กับ ม.
    ฑ.ว่า ซ. กับ ท.
    ฒ. ว่า ต. กับ ม.
    ณ. ว่า ถ. กับ น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0325.jpg
      scan0325.jpg
      ขนาดไฟล์:
      372.7 KB
      เปิดดู:
      1,999
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2013
  16. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    ตำนานเวียงเหล็ก

    พระเจ้าอู่ทอง สถาปนาสถานถิ่นทางทิศหรดีแห่งหนองโสนในเกาะสัก หรือสักธรรมโคดมเป็นกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา ณ พ.ศ.๑๘๙๓
    แล้วได้ครองราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระรามาธิบดีที่ ๑
    ทรงมีพระราชโอรสกับพระอัครมเหษี ทรงพระนามว่า พระราเมศวร
    ซึ่งไปครองลพบุรีอยู่แล้ว ตรัสให้ไปปราบกรุงกัมพูชาธิบดี
    และส่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งอู่ทองสุพรรณภูมิไปช่วยเรียบร้อยแล้ว

    พ.ศ.๑๘๙๖ ตรัสให้สถาปนาที่ตำหนักเวียงเหล็ก มีพระวิหาร พระมหาธาตุ เป็นพระอาราม ให้นามชื่อ วัดพุทไธสวรรย์
    ณ พระมหาธาตุซึ่งเป็นปรางค์บัวผันซุ้มทางแม่น้ำ มีรูปพระร่วง ผนังซุ้มหลังสูงขึ้น
    มีพระรูปพระนางร่วง บรรทมสีหไสยา พระเต้าคู่ใหญ่ พระนาภีใหญ่
    จึงเป็นพระอิริยาบถประสูติ เล่าเรื่องว่าประสูติที่นั้น
    พ.ศ.๑๙๐๖ ให้ขุดศพเจ้าแก้วและเจ้าไทยขึ้นเผา ให้สถาปนาพระเจดีย์พระวิหารเป็นพระอารามให้ชื่อว่า วัดป่าแก้ว
    เมื่อสวรรคตแล้ว พระราเมศวรได้อัญเชิญสมเด็จพระบรมราชาธิราชครองต่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  17. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    a.2262913.jpg
    บริเวณนี้เป็นท้องพระโรงเดิม เป็นป่ารกชัด พอเห็นเค้า
    ขวาเข้าไปเป็นป่านั้น เดิมเป็นสำนักดาบพุทไธศวรรย์ ทั้งนี้คงจะตั้งสมัยที่เวียงเหล็กเป็นวัดพุทไธศวรรย์แล้วจึงมีชื่ออย่างนั้น
    ท้องพระโรงนี้ ด้านซ้ายยังมีพระพุทธรูปไสยาอีก ๑องค์
    พระราชสถานขนาดนี้ ยืนยันว่า เวียงเหล็ก นั้นเป็นพระราชวังแน่
    เมื่อกิจการมากเจริญขึ้น จึงเล็กคับแคบไปได้ เสด็จไปสร้างใหม่ที่หนองโสน
    ทั้งนี้ ยืนยันว่า เดิมเป็นกรุงเวียงเหล็กอยู่แล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมก่อสร้างเล่าเรื่องไว้อีก จะมีในรูปต่อไป

    a.2262914.jpg
    พระอุโบสถวัดพุทไธศวรรย์ปัจจุบัน สถานที่ซึ่งแปลงเป็นพระอุโบสถนี้ เดิมว่า เป็นที่เสด็จประทับอยู่(ตำนานว่าทรงพักอยู่๖ปี)จึงไปสร้างที่ หนองโสน
    คงจะว่าไปตามที่ ฟอนฟลีต เขียนไว้ว่ามาจากเมืองจีน ไปสร้างที่เพชรบุรีก่อนจึงมาสร้างเวียงเหล็ก พักชั่วคราวแล้วจึงเสด็จไปสร้างที่ หนองโสน เป็น "กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา"
    ซึ่งไม่น่าจะเป็นได้
    เพราะ ระยะ ๓-๖ ปี นั้น ทำขนาดนี้คงไม่สำเร็จ
    เหมือนกับที่นักประวัติศาสตร์เล่าว่า พ่อขุนศรีนาวนำถม ถูกกุบไลข่านไล่วิ่งหนีลงมาสร้างกรุงสุโขทัยเพียง๒๖ปี เท่านั้นก็สำเร็จทั้งกรุงทั้งลายสือไทยได้เรียบร้อย

    a.2262915.jpg
    ในพระราชพงศาวดาร เล่าว่า ที่ตำหนักเวียงเหล็กนั้น ในสถาปนา พระวิหาร(คต) และพระมหาธาตุ
    เป็นพระอารามแล้ว ให้นามชื่อ วัดพุธไธศวรรย์
    พระมหาธาตุ คือ พระปรางค์นี้ จึงเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ
    มีซุ้มยื่นยาวออกไปนั้น ภายในมีมณฑป และ พระพุทธไสยา
    เล่าว่าประสูติแล้วสวรรคต ได้นำบรมอัฐิและอังคารมาบรรจุไว้

    a.2262916.jpg
    ซุ้มยื่นยาวนั้น นอกซุ้มปรากฏ ที่ถ่ายรูปมานี้ ณ ภายในซุ้มนั้น จะเห็นรูปผู้หญิงนอนตะแคงขวา
    ต่ำลงมาจะเห็น รูปพระร่วงประทับยืน ซึ่งสถาปัตยกรรมปูนขาวเล่าเรื่องประวัติประสูติ

    a.2262917.jpg
    ภายใน ขยายใหญ่เพื่อเห็นชัด
    รูปปรากฏ หญิงนอนตะแคงขวา มีพระเต้านมคัดใหญ่ และท้องใหญ่กำลังทรงครรภ์ ทรงประชวร ประสูติ คือ พระนางไทยทองงาม พระมเหสีพ่อขุนเวียงเหล็ก ซึ่งพระนามสถาปนาว่า"พระเจ้าชินเสน"ได้ประสูติพระโอรส ณ ที่นี้ คือ พระร่วงประทับยืนนั้น
    เมื่อประสูติแล้วจึงให้ชื่อตามชื่อ เปลปิดทอง อันมีนามว่า "อู่ทอง"หรือพระเจ้าอู่ทอง
    เมื่อทรงสถาปนาตำหนักเวียงเหล็กเป็นพระอารามแล้ว ได้สร้างพระมหาธาตุ และสถาปัตยกรรมปูนขาว กับปฏิมากร เล่าพระประวัติไว้จึงทราบเรื่องได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0326.jpg
      scan0326.jpg
      ขนาดไฟล์:
      472.9 KB
      เปิดดู:
      1,646
    • scan0327.jpg
      scan0327.jpg
      ขนาดไฟล์:
      385.4 KB
      เปิดดู:
      1,762
    • scan0328.jpg
      scan0328.jpg
      ขนาดไฟล์:
      229.9 KB
      เปิดดู:
      1,675
    • scan0329.jpg
      scan0329.jpg
      ขนาดไฟล์:
      260.1 KB
      เปิดดู:
      1,442
    • scan0330.jpg
      scan0330.jpg
      ขนาดไฟล์:
      399.3 KB
      เปิดดู:
      2,446
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  18. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    สมเด็จพระบรมราชาธิราช ครอง พ.ศ.๑๙๑๓
    เสด็จไปเมืองต่างๆ พ.ศ.๑๙๑๗ สถาปนา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พ.ศ.๑๙๒๑ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชไสยลือไทยแห่งพิษณุโลก เสด็จออกมาถวายบังคม

    จากนั้น พระเจ้าทองลั่น และพระราเมศวร เสด็จไปเชียงใหม่และกลับมา
    ได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุ
    จึงทรงสร้างพระมหาธาตุสูง ๑๙ วา ยอดนภศูล ๓ วา ให้ชื่อวัดมหาธาตุ พ.ศ.๑๙๒๗ สถาปนาวัดภูเขาทอง พ.ศ.๑๙๓๐ จากนั้น พระเจ้าพระยาราม และสมเด็จพระอินทรราชา
    พ.ศ.๑๙๔๖ พระเจ้าไสยลือไทยสวรรคต ทางเหนือเกิดจลาจล
    เสด็จไปปราบ จึงให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าอ้ายพระยา ไปครองสุพรรณบุรี
    เจ้ายี่พระยาไปครองเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพระยาไปครองชัยนาท
    พ.ศ.๑๙๖๑ สวรรคต เจ้าอ้ายพระยา เจ้ายี่พระยา ยกทัพมาแย่งราชสมบัติกัน ช้างต้นมาปะทะกันที่เชิงสะพานป่าถ่าน
    ทั้งสองพระองค์ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกัน

    มุขมนตรีเชิญเจ้าสามพระยามาครอง ทรงพระนามว่า พระบรมราชาที่ ๒
    ตรัสให้ขุดพระศพขึ้นถวายพระเพลิง
    ให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารแล้วให้ชื่อวัดราชบูรณะ
    เสด็จไปพระนครหลวง พ.ศ.๑๙๖๗ สถาปนาวัดมเหยงคณ์
    สวรรคต พ.ศ.๑๙๗๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  19. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองต่อ
    ยกวังทำเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ เสด็จลงมาประทับอยู่ริมน้ำ
    สร้างพระที่นั่งเบ็ญจรัตนมหาปราสาท และพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท

    ทรงออกพระราชบัญญัติ และตั้งตำแหน่งให้เอาทหารเป็นพระสมุหกลาโหม
    เอาพลเรือนเป็นพระสมุหนายก
    เอาขุนวังเป็นพระธรรมาธิกรณ์
    เอาขุนนาเป็นพระเกษตราธิการ
    เอาขุนคลังเป็นพระโกษาธิบดี
    และที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์ทรงสร้างกรุงนั้นให้สถาปนาพระธาตุ พระวิหาร เป็นพระอาราม ให้ชื่อวัดพระราม

    เสด็จไปมะละกา และเสด็จไปสีสพเมืองเถิน พ.ศ.๑๙๘๖-๑๙๘๗
    บำรุงพระพุทธศาสนา แปลและแต่งมหาชาติเวสสันดรชาดก หล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ
    เสด็จไปปราบพระยาเชลียง ซึ่งนำมหาราชมาปล้นเอาพิษณุโลก
    พ.ศ.๑๙๙๑-๑๙๙๒ สร้างวัดจุฬามณีแล้ว ทรงผนวช ณ วัดจุฬามณี ๘ เดือน ทรงลาผนวช
    พ.ศ.๒๐๐๐-๑ แรกตั้ง เมืองนครไทย พ.ศ.๒๐๑๕ ก่อกำแพงเมืองพิชัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
  20. เก่ากะลา

    เก่ากะลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,311
    ค่าพลัง:
    +3,402
    สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองต่อ

    พ.ศ.๒๐๑๗ ประดิษฐาน พระอัฎฐิธาตุสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าในพระมหาสถูป
    และหล่อพระร่วงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า เวลานี้สถิตอยู่ ณ วัดดอนตูม
    a.2264528.jpg
    พระรูปพระร่วง คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่๒ ทรงโปรดให้หล่อสถาปนาขึ้น เวลานี้สถิตอยู่ ณ วัดดอนตูม

    พ.ศ.๒๐๒๒ แรกสร้างพระวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ์ แรกหล่อพระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชย์
    สูงแต่พระบาทจดยอดพระรัศมี ๘ วา พระพักตร์ยาวได้ ๔ ศอก กว้าง ๓ ศอกทองหล่อหนักห้าหมื่นสามพันชั่ง ทองคำทำหุ้มหนักสองร้อยแปดสิบหกชั่ง พ.ศ.๒๐๒๖ สำเร็จและฉลอง
    พ.ศ.๒๐๔๑ ให้ทำตำราพิชัยสงคราม ทำสารบัญชี และขุดคลอง

    สวรรคตแล้ว สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร แล้วสมเด็จพระรัษฎาธิราชและสมเด็จพระชัยราชาธิราชกับพระนางศรีสุดาจันทร์ มีพระราชโอรส พระยอดฟ้า และพระศรีศิลป

    เมื่อสวรรคตแล้ว พระยอดฟ้าครอง นางพระยาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์
    พระเฑียรราชา อุปสมบท ณ วัดราชประดิษฐาน
    นางพระยาไ ด้ ขุนวรวงษ์ กระทั่งทรงครรภ์จึงสถาปนาเป็น พระเจ้าขุนวรวงษาธิราช

    ขุนวรวงษาธิราช ให้ประหารพระยอดฟ้าแล้ว
    ขุนพิเรนทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ กับพระภิกษุพระเฑียรราชาไปเสี่ยงเทียน ณ วัดป่าแก้วแล้ว
    รวมพวกกันได้จับขุนวรวงษาธิราชและนางพระยาศรีสุดาจันทร์กับบุตรประหารแล้ว เสียบประจานศพไว้ที่วัดแร้ง
    กระทำปราบดาภิเษก พระเฑียรราชา เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ.๒๐๗๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • scan0084.jpg
      scan0084.jpg
      ขนาดไฟล์:
      302.7 KB
      เปิดดู:
      1,472
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2017
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...