ประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ...พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงตาแสดงเรื่องพระสารีบุตรปรินิพพาน/พระอรหันต์ละสังขาร

    <TABLE width=109 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    หลวงตานั่งข้างเตียงอาพาธได้กล่าวธรรมเทศนาแบบสบายๆ เพื่อให้หลวงปู่เจี๊ยะรื่นเริงในธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในวันนั้นหลวงตานั่งข้างเตียงอาพาธได้กล่าวธรรมเทศนาแบบสบาย ๆ เพื่อให้หลวงปู่เจี๊ยะรื่นเริงในธรรม และเป็นเชิงเล่าเรื่องชาดกให้ลูกหลานฟังความว่า...

    ...พระสารีบุตรเถระ ทำวัตรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเข้าสู่ที่พักกลางวัน ปัดกวาด ปูแผ่นหนัง ล้างเท้า นั่งขัดสมาธิเข้าผลสมาบัติ
    ครั้นออกจากสมาบัติแล้วเกิดปริวิตกว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพานก่อนหรือหลังพระอัครสาวก ก็รู้ว่าอัครสาวกก่อน จึงสำรวจดูอายุของตน ก็รู้ว่าอายุสังขารของตนจักเป็นไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น จึงดำริว่าจักปรินิพพานที่ไหนหนอ?

    คิดว่า ท่านราหุลปรินิพพานในดาวดึงส์ ท่านพระอัญญาโกญฑัญญะ ปรินิพพานในสระฉัททันต์ เราเล่าจะปรินิพพาน ณ ที่ไหน เกิดจิตปรารภขึ้นว่า มารดาของเราแม้เป็นมารดาพระอรหันต์ ๗ รูป ก็ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ พิจารณาว่ามารดาจักบรรลุธรรมด้วยเทศนาของเรา ถ้าหากว่าเราพึงเป็นผู้ขวนขวายน้อยแล้วไซร้ จะเป็นที่ครหาว่ากล่าวได้ว่า “พระสารีบุตรเป็นที่พึ่งของเทวดาและมนุษย์มากมายนับไมได้ อนึ่งเล่า ตระกูล ๘๐,๐๐๐ ตระกูล เลื่อมใสในเรา บังเกิดในสวรรค์ แต่ไม่อาจกำจัดแม้เพียงความเห็นผิดของมารดาได้”

    จึงตกลงใจว่า เราจักเปลื้องความเห็นผิดของมารดา แล้วจักปรินิพพานในห้องน้อยที่บ้านเกิด จึงเข้าไปทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อไปปรินิพพาน ว่า

    ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อไปนี้อีก ๗ วัน ถ้าพระองค์จักทอดเรือนร่างเหมือนวางภาระลง ขอพระพุทธองค์ทรงอนุญาต

    พระเถระรู้ว่า พระพุทธองค์มีพระประสงค์ให้แสดงฤทธิ์ คือตามธรรมดา พระพุทธองค์ไม่อนุญาตให้พระสาวกแสดงฤทธาศักดานุภาพ แต่คราวนี้เป็นคราวสุดท้ายที่พระสารีบุตรมากราบทูลลา เพื่อนิพพาน พระพุทธองค์จึงตรัสแก่พระสารีบุตรว่า

    “สารีบุตร เธอจะแสดงอะไรให้เป็นที่ระลึกแก่พวกน้องๆ ก็จงแสดงเป็นที่ระลึก เป็นมหามงคลต่อไปอีกนาน”

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงอนุญาตแล้วพระเถระจึงแสดงปาฏิหาริย์ครั้งใหญ่ โลดสูง ๗ ชั่วต้นตาล ยืนอยู่ท่ามกลางอากาศ แล้วจึงลงมาแสดงธรรมกราบทูลพระศาสดาว่า ๑ อสงไขย กำไรแสนกัป นั่นเป็นการเห็นครั้งแรก นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย

    พระศาสดาตรัสกับเหล่าภิกษุผู้ยืนล้อมอยู่ว่า พวกเธอจงตามไปส่งพี่ชายใหญ่ของพวกเธอเถิด พี่ชายใหญ่ของเธอทั้งหลาย ลาโลก ลาสงสาร วัฏฎวนกองทุกข์ไปในคราวนี้แล้ว

    ตลอดระยะเวลา ๗ วันที่พระสารีบุตรเดินทางกลับบ้านนาลกคามซึ่งเป็นบ้านเกิด เพื่อโปรดโยมมารดา ได้อนุเคราะห์ผู้คนด้วยธรรมเทศนาตลอด ถึงบ้านนาลกคาม (นาลันทะ) ในเวลาเย็น แล้วหยุดพักที่ต้นไทรใกล้ประตูบ้าน นายอุปเวรตะซึ่งเป็นหลานชายจึงมาพบเข้า ท่านจึงพูดว่า

    “ย่าของเจ้าอยู่ในเรือนหรือ ไปบอกย่าเจ้าด้วยว่าเรากลับมาบ้าน ให้ช่วยจัดห้องน้อยที่เราเคยเกิดให้เราตัวด้วย และจัดที่พักสำหรับภิกษุ ๕๐๐ รูปด้วย”

    หลานจึงนำเรื่องไปบอกแก่นางพราหมณีผู้เป็นโยมมารดา นางคิดว่า

    “สารีบุตรบวซเมื่อหนุ่มเป็นคฤหัสถ์ เมื่อแก่สงสัยอยากสึกจึงกลับบ้าน”

    ในเวลาพลบค่ำโรคลงโลหิตกำเริบอย่างหนัก เกิดเวทนาใกล้ตายแก่พระเถระ โยมแม่ท่านยืนอยู่ที่ประตูห้องคิดว่า บุตรของเราบวชแล้วมาตายแบบนี้น่าเสียใจจริง ๆ

    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูทราบว่า พระสารีบุตรจักปรินิพพานในห้องน้อยที่บ้านเกิด จึงรีบลงมาไหว้ ยืนอยู่ไม่นานท้าวสักกะจอมเทพ...ท้าวสุยามะ...ท้าวมหาพรหมก็พากันมาสักการะพระเถระแล้วเหาะจากไป

    <TABLE id=table7 width=109 align=right border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    หลวงปู่เจี๊ยะที่หน้าภูริทัตตเจดีย์ยามเย็น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โยมมารดาเห็นเทวดามากราบไหว้และเหาะจากไป จึงเข้าไปในห้องพระเถระ สนทนาถามตอบกันว่า

    “ลูกเป็นใหญ่กว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ หรือ?”

    “ท้าวมหาราชนั้นก็เหมือนคนวัดนั่นแหละโยมแม่ ทรงถือพระขรรค์อารักขาตั้งแต่พระศาสดาทรงปฏิสนธิ”“ลูกเป็นใหญ่กว่าท้าวสักกะจอมเทพหรึอ?”

    “โยมแม่เอ๋ย ท้าวสักกะนั้นก็เหมือนสามเณรน้อย ๆ ของพระศาสดา”

    โยมแม่ของพระสารีบุตรคิดว่า บุตรของเรายังมีอานุภาพมากถึงเพียงนี้ แล้วพระบรมศาสดาจะมีอานุภาพมากสักเพียงไหน ความอัศจรรย์และปีติจึงเกิดขึ้นอย่างมาก

    พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า โยมแม่ สมัยพระศาสดาประสูติ ตรัสรู้ ประกาศธรรมจักร พันโลกธาตุหวั่นไหว แล้วจึงกล่าวพรรณนาพุทธคุณอย่างพิสดารจบลง โยมมารดาได้สำเร็จโสดาปัตติผล

    ค่าน้ำนมข้าวป้อน ได้รับการชดใช้ด้วยธรรมะ จวนใกล้สว่าง พระเถระให้พระจุนทะยกท่านลุกขึ้นนั่ง ครั้นแสงอรุณปรากฏ มหาปฐพีเลือนลั่น ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ จากนั้นพระพุทธองค์โปรดให้สร้างพระเจดีย์
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงตามหาบัวแสดงธรรมเรื่องพระอรหันต์กับธาตุขันธ์

    <TABLE id=table8 width=109 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อหลวงตาแสดงเรื่องพระสารีบุตรปรินิพพานจบลง ท้ายกัณฑ์เทศได้สรุปเรื่องพระอรหันต์กับธาตุขันธ์ดังนี้ว่า......

    ...พระอรหันต์ท่านหมดกิเลสทุกอย่างแล้ว ก็มีแต่ความรับผิดชอบในธาตุขันธ์ ไม่ได้เป็นในหัวใจท่านผู้สิ้นกิเลสแล้ว เรียกว่าท่านรับผิดชอบตั้งแต่ท่านบรรลุธรรมตรัสรู้ธรรมแล้ว จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของลมหายใจขาด ท่านก็ปล่อยเลย

    พระอรหันต์กับธาตุขันธ์มีความรับผิดชอบเสมอกันกับโลกทั่ว ๆ ไป เป็นแต่เพียงท่านไม่ยึด เช่นเดินไปกำลังจะเหยียบรากไม้แต่คิดว่านั่นเป็นงู ท่านก็ต้องมีการกระโดดข้ามหรือหลบเป็นธรรมดา หรือท่านจะลื่นหกล้ม ท่านก็พยายามช่วยตัวเองไม่ให้ล้ม ต่างกันกับคนทั่ว ๆ ไปตรงที่ว่า คนทั่วไปจิตใจร้อนวูบ ๆ เพราะอุปาทานยึดมั่น ส่วนจิตพระอรหันต์ท่านเพียงแต่แย็บเท่านั้น ต่างกันตรงนั้น

    อย่างที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน บรรดาพระอรหันต์ปลงธรรมสังเวช คือขันธ์ท่านแสดงอาการเช่นน้ำตาร่วง ไม่ใช่จิตใจของท่านเป็น เวลาท่านจะไปจริง ๆ ขันธ์ ๕ เป็นวาระสุดท้าย ส่วนนอกนั้นก็ปล่อยไปหมดแล้ว รับทราบเป็นธรรมดา ส่วนธาตุขันธ์รับทราบตลอดทั้ง ๆ ที่ปล่อยแล้ว เจ็บก็บอกว่าเจ็บ ปวดก็บอกว่าปวด หนาวก็บอกว่าหนาว ร้อนก็บอกว่าร้อน แต่เป็นอยู่ภายในขันธ์ล้วนๆ อันนั้นชอบ อันนี้ไม่ชอบ ล้วนอยู่ภายในวงขันธ์ ไม่ได้เข้าถึงจิต ถ้าว่าอันนี้ดี ก็ดีอยู่ในวงขันธ์ ไม่ได้ยึดมั่น อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในโลก ถ้าหากว่าจะเทียบแล้ว เหมือนเรานั่งอยู่นี่ มีเด็กหรือผู้คนสัญจรไปมา เราไม่ว่าเขารบกวน แต่เขาเป็นของเขาอย่างนั้น พันธุ์ก็ไม่ได้ว่ารบกวนจิตใจ เป็นเพียงรับทราบกัน

    นี่แหละสมมุติมันหดเข้ามา เจ็บท้องปวดศีรษะหมดไป จะหดเข้าไป ความรับผิดชอบในวงขันธ์หดเข้ามา จะเข้ามาจุดที่บริสุทธิ์ตามธาตุขันธ์ที่บริสุทธิ์ พอหดเข้ามาความทุกข์ร้อนในร่างกายจะหมดไป ๆ สุดท้ายความทุกข์ทั้งหลายในร่างกายนี้ไม่มีเลย เงียบไปหมด นี้เรียกว่าสมมุติครั้งสุดท้ายของขันธ์จะดับวูบลง ขณะที่ลมหายใจขาด พอลมหายใจขาดปั๊บ ขันธ์ดับวูบลง จิตดวงที่บริสุทธิ์รับทราบจะดีดออกเป็นธรรมชาติ ในขณะที่ท่านจะดับขันธ์นั้น ท่านไม่มีทุกข์อะไรเลย บรรดาพระอรหันต์ไม่มี คนทั้งหลายมีความทุกข์ความเดือดร้อน ดีไม่ดีตกเตียงไปก็มี ไม่มีสติสตังเพราะความทุกข์มากนะ แต่พระอรหันต์ท่านไม่เป็นอย่างนั้น เวลาจะไปจริง ๆ ความทุกข์ทั้งหลายหดเข้ามาหมด ตาเหมือนตาไม้ไผ่ หูก็หูกะทะ อวัยวะต่าง ๆ เป็นเหมือนซุงทั้งท่อน คือความรู้อันนี้หดเข้าแล้ว ทุกขเวทนาอยู่ในขันธ์ พอความรู้หดไป ทุกขเวทนาก็หมด ก็เหลือแต่ความรู้ที่ปล่อยความรับผิดชอบออกไป พอปล่อยปั๊บพร้อมกับลมหายใจออกไป ขาดปั๊บหมด นี่แหละสมมุติทั้งมวลหมดในวาระสุดท้ายคือขันธ์ ๕ ท่านไปง่ายๆ ท่านไม่ลำบากลำบนไม่เหมือนพวกเรา พระอรหันต์ท่านนิพพานง่าย ๆ ใต้ร่มไม้ชายเขาที่ไหน

    นี่แหละพระพุทธศาสนาของเราเป็นศาสนาชั้นเอกพิสูจน์ด้วยตน พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่สงสัยประจักษ์ผลเป็นพยาน ตลอดจนบาปบุญ นรกสวรรค์ นิพพานท่านเจิดจ้าอยู่ภายในใจนี้ พวกเราตาบอดว่าไม่มี สิ่งที่ว่าไม่มี มันเผาเรา เวลาตายก็เผาตัวเอง
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ...เป็นเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์

    ...เมื่อหลวงตาเทศนาธรรมจบเวลา ๑๔.๐๐ น. ท่านจึงลุกขึ้นมองหลวงปูเจี๊ยะอย่างเพ่งพินิจสุขุมกล่าวคำบอกลาว่า “ผมกลับก่อนนะ” คำนี้เป็นคำสั่งลากันครั้งสุดท้ายของพระมหาเถระทั้งสอง

    หลังจากหลวงตากลับไป ๒ ชั่วโมง อาการป่วยของหลวงปู่เจี๊ยะก็กำเริบทรุดหนัก มีไข้สูง หอบเหนื่อย พระคิลานุปัฏฐากได้ติดต่อพระอาจารย์เขียวเพื่อคิดต่อรถพยาบาลโดยด่วน

    เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. แพทย์ผู้ดูแลได้แก่รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวิน ระงับภัย และรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงพิมพ์ประไพ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ได้จัดรถพยาบาลรับท่านไปที่โรงพยาบาลศิริราช

    ระหว่างทางท่านมีอาการเขียว ออกซิเจนในเลือดต่ำ จึงได้นำท่านไปยังโรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอสเพื่อรักษาเบื้องต้นจนปลอดภัย และเดินทางไปยังโรงพยาบาลศิริราชต่อไป รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุชาย สุนทราภาและรองศาสตราจารย์นายแพทย์สถาพร มานัสสถิตย์ ได้ช่วยกันดำเนินการรับหลวงปู่ไว้ในหอผู้ป่วยวิกฤต

    ผลเอ็กซ์เรย์ปอดพบมีสารน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา แพทย์ที่หอผู้ป่วยวิกฤตระบบทางเดินหายใจได้ทำการใส่ท่อช่วยระบายเลือดออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา ได้น้ำปนเลือดประมาณ ๑,๔๐๐ ซีซี และได้ตรวจพบเซลล์มะเร็งในน้ำปนเลือดจากช่องเยื่อหุ้มปอด คณะแพทย์ผู้รักษาได้ตัดสินใจไม่ถวายยาต้านมะเร็งเนื่องจากประเมินแล้วว่า สภาพร่างกายของท่านคงรับกับภาวะแทรกซ้อนของยาไม่ได้ จึงถวายการรักษาตามอาการเพื่อให้ท่านมีทุกขเวทนาทางกายน้อยที่สุด
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงตารับรองภูมิธรรม ๓ ครั้ง ๓ หน

    ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงตาไปเยี่ยมดูอาการหลวงปู่เจี๊ยะด้วยความเป็นห่วง คณะแพทย์ได้กราบเรียนและถามตอบกับหลวงตาดังนี้

    หมอกราบเรียนถามหลวงตาว่า “ปอดข้างขวาติดเชื้อ ต้องเจาะเอาน้ำไปตรวจดูว่าติดเชื้ออะไรบ้าง แล้วแต่ดุลยพินิจ หลวงตาจะว่าอะไรหรือเปล่าคะ... อาหารยังใส่สายยางหน้าท้องเหมือนเดิม”

    หลวงตาพูดว่า “หลวงตามาเยี่ยมดูอาการว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าจะแนะอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ได้ต้องแล้วแต่หมอ อยู่กับหมอนะ”

    “อย่างนั้นการรักษาหลวงปู่เจี๊ยะก็แล้วแต่ดุลยพินิจของหมอใช่มั้ยเจ้าคะ”

    “มันก็ไม่แน่เหมือนกันล่ะ คำว่าคุณหมออย่างเดียวก็เป็นโลกล้วน ๆ มีธรรมอย่างเดียวก็เป็นธรรมล้วน ๆ ไปสู่จุดกลางก็มีทั้งธรรมทั้งโลก ผสมกันไปพิจารณากันไป สมควรอย่างไรบ้าง เป็นจุดศูนย์กลางแล้วแต่จะพิจารณากัน หลวงตาก็เพียงแต่แนะได้แค่นี้”

    “ถ้าคุมอาการไม่อยู่ก็รุนแรงไปเลย ถ้าหายก็กลับไปอยู่ในสภาพเดิมที่ป่วยอยู่”

    “เราก็ไม่กล้าวินิจฉัย เพราะกรรมกับโลกเป็นคู่กัน ถ้าพูดแบบโลกก็ว่าเป็นคู่แข่งขันกัน จะเอาทางไหน ถ้าเป็นนักธรรมะ ก็เอาธรรมเป็นหลักใหญ่กว่าโลก ถ้าเป็นโลกล้วน ๆ ก็ถือโลกเป็นใหญ่จะเยียวยารักษาอะไรก็มอบให้ทางโลกทั้งหมด ถ้าธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่งหลวงตาจึงไม่กล้าตัดสินให้ ได้แต่ฝากข้อคิดไว้เท่านั้น”

    <TABLE id=table10 width=109 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    หลวงตามหาบัว ญาณสมปนฺโน เยี่ยมหลวงปู่เจี๊ยะที่โรงพยาบาลศิริราซเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๗
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    สำหรับอาจารย์เจี๊ยะนี้เรายืนยันได้เลยว่า “ทางด้านจิตใจไม่มีปัณหาอะไรทั้งนั้น

    โลกกับธรรมอยู่ด้วยกัน ทางธาตุขันธ์ก็เยียวยากันไป มันควรจะได้แค่ไหนก็เยียวยากันไป ถ้าไม่สามารถจะเป็นไปได้แล้วก็มอบลงในกฎแห่งธรรม


    “เข้าใจหรือ?” หลวงตาหันมาถามหมอ แล้วก็เล่าต่อว่า

    “มันมีอยู่ ๒ อย่าง

    ๑) มันมีข้อที่มั่นใจแน่ใจก็คือ ทางด้านจิตใจอาจารย์เจี๊ยะไม่มีปัญหาอะไรเลย

    ๒) ก็มีแต่อยู่กับโลก จะอยู่ไปแค่ไหนๆ ถ้าหากมันเป็นไปก็ได้ก็ปล่อยไปเป็นธรรมไปหมด เข้าใจแล้วหรือ?” หลวงตาถามหมอย้ำ

    แล้วหลวงตาก็กล่าวเรื่องหลวงปู่เจี๊ยะต่อไปอีกว่า “ทางด้านจิตใจท่านอบรมมาแต่เริ่มแรกบวชนะ อบรมจิตใจล้วนๆ มาตลอดปัจจุบันนี้ สรุปผลแห่งการปฏิบัติที่ทราบจากการสนทนา หรือทราบด้วยวิธีอื่นใดก็ตาม ก็ลงในจุดว่า

    “เราเป็นที่แน่ใจ สำหรับทางด้านจิตใจท่านไม่มีปัญหาอะไร แต่เวลานี้ก็อยู่กับขันธ์ล้วน ๆ เท่านั้น”

    “เข้าใจไม่ใช่หรือ?” หลวงตาถามหมอย้ำอีกครั้ง เห็นครั้งที่ ๓ เหมือนกับที่ท่านพูดย้ำเน้นถึงจิตของหลวงปู่เจี๊ยะว่าไม่มีปัญหาอะไรเลยถึง ๓ ครั้งเช่นกัน

    “นี่เราก็จะกลับไม่มีอะไร มีเท่านั้นนะ”

    แล้วหลวงตาก็ลุกขึ้นเขยิบเข้าใกล้ ๆ เตียงหลวงปู่เจี๊ยะ ยืนพิจารณาส่วนต่าง ๆ ของสรีระร่างกายด้วยท่วงท่าอันสุขุมเยือกเย็น
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปัจฉิมทัสสนา..การเห็นกันครั้งสุดท้าย

    ธรรมกิริยาสองพระมหาเกระผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค ปฏิบัติต่อกันเป็นประหนึ่งจะบอกพวกเราว่า...

    “..อีกไม่นานนักหรอก ร่างกายนี้จักทับถมบนพื้นแผ่นดิน แต่ทางด้านจิตใจ ทรงอริยธรรมอันยิ่งใหญ่ฝากไว้ให้โลกลือ คราวนี้คงเป็นคราวสุดท้ายที่สหธรรมิกซึ่งเป็นดั่งช้างเผือกคู่งาม ใต้ร่มธรรมของท่านพระอาจารย์มั่นจะต้องลาธาตุขันธ์ขาดจากกันไป

    โอ ปัจฉิมทัสสนา...การเห็นภาพพระมหาเถระอริยะสาวกทั้งสองอยู่พร้อมหน้ากัน เป็นดั่งช้างเผือกคู่งามที่หาดูชมได้โดยยากยิ่ง เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีกแล้วดอกไม้ ใน วัด

    การเห็นกันและกันครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อมีการเริ่มต้นขึ้นแล้ว ย่อมมีการสิ้นสุดลง ใครเล่า? จักสามารถหน่วงเหนี่ยวสิ่งซึ่งจะต้องเป็น ไม่ให้เป็น ได้

    ตำนานอันยิ่งใหญ่ถูกจารึกไว้บนหัวใจปวงชนและถูกปิดลงด้วยหลักอนิจจัง

    ความรักความเคารพและสายใยธรรมที่มีต่อกันหยั่งลึกซึ้งเกินเปรียบได้

    พระมหาสาวกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่นทั้งสอง ช่างงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด

    โอหนอ ปัจฉิมทัสสนา นี้คือการเห็นเรือนร่างสมมุติระหว่างกันเป็นครั้งสุดท้าย

    ภาพบรรยากาศภายในห้องพยาบาลดูเคร่งขรึม อุบาสก อุบาสิกา พระคิลานุปัฏฐาก และหมอต่างมีจิตรื่นเริงในธรรมกิริยาที่พระหลวงตาแสดง เกิดจิตปลื้มปีติพร้อมทั้งน้ำตาในภูมิธรรมของหลวงปู่เจี๊ยะและเสียดายสุดซึ้งที่ท่านจะต้องจากเราไปในเวลาอีกไม่นาน ทุกๆ คนต่างนั่งนิ่ง

    ใครเล่า! ณ ห้องพยาบาลนั้น จะทราบว่า ภายในดวงจิตแต่ละคนจะปั่นป่วนรวนเร หวิวหวั่นสักปานใด ...นอกจากพระมหาเถระทั้งสองที่มีจิตทะลุแผ่นดินแผ่นฟ้าเท่านั้น
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ก่อนมรณภาพ ๓ วัน
    วันที่ ๒๐ ลงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ก่อนมรณภาพเพียง ๓ วัน เกิดเหตุอัศจรรย์ที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอย่างมาก หลวงปู่เจี๊ยะ มีฉวีวรรณผ่องใส แสดงท่าทางอาจหาญ พูดจาเสียงดังฟังชัดเป็นประหนึ่งว่า ไม่เคยป่วยเป็นเวลามานานปี

    วันนั้นท่านเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต ตั้งแต่เริ่มต้นจนวาระสุดท้าย แม้เรื่องเบ็ดเตล็ดเล็กน้อย เช่น เรื่องแฟนสาวที่เคยรักสมัยเป็นหนุ่ม เรื่องญาติพี่น้อง บิดามารดา ฯลฯ สรุปท้ายสุด ท่านพูดสั้นๆ แต่ตะโกนด้วยเสียงดังลั่นว่า “พระเจี๊ยะตายแล้ว ๆ ๆ” ตายจากสมมุติบัญญัติ เป็นประหนึ่งวาจาศักดิ์สิทธิ์ ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวลาโลก ที่ระงมปนเปื้อนเต็มไปด้วยความทุกข์เดือดร้อนนานาประการ พูดง่าย ๆ ที่เป็นภาษาธรรมะก็คือ ปลงอายุสังขาร ที่แบกหามทุกข์ทรมานมานานปี

    บัดนี้ อีก ๓ วันข้างหน้า ภาระทั้งปวงจะต้องถูกทอดทิ้งแล้ว เหลือแต่ธรรมะที่เลิศเลอภายในใจเพียงเท่านั้น


    และแล้ววันสุดท้ายก็มาถึง...
    วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงปู่เจี๊ยะเริ่มมีอาการเหนื่อยมากและออกซิเจนในเลือดลดลง ได้ทำการเอ็กซ์เรย์ปอดพบว่า มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดจำนวนมากทั้งสองข้าง แพทย์ได้ทำการเจาะช่องเยื่อหุ้มปอดและดูดน้ำปนเลือดออกมาข้างละประมาณ ๘๐๐ ซีซี

    หลังจากนั้นอาการเหนื่อยของท่านลดลง และต่อมาเวลาประมาณ ๒๒.๕๕ น. หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ก็ได้ละขันธ์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานด้วยความสงบและอาจหาญในธรรม สิริอายุรวม ๘๘ ปี ๒ เดือน ๑๗ วัน ๖๘ พรรษา


    นำศพกลับวัดป่าภูริทัตฯ / รดน้ำศพ / สวดอภิธรรม
    วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ นำศพท่านกลับไปตั้งรดน้ำศพที่กุฏิพำนักที่วัดป่าภูริทัตตปฎิปทาราม ข่าวการมรณภาพแพร่สะพัดออกไป ทั้งพระเณร ประชาชนหลั่งไหลกันมาคารวะศพไม่ขาดสาย คณะศิษยานุศิษย์กล่าวขอขมา

    เวลา ๑๓.๐๐ น. สมเด็จพระญาณสังวรฯ สมเด็จพระสังฆราชเมื่อทราบข่าว ทรงมีรับสั่งโดยตรงให้พระเทพสารเวที พระเลขานุการส่วนพระองค์เป็นผู้แทนพระองค์นำผ้าไตรจีวร และน้ำสรงศพพระราชทานมาอาบศพให้หลวงปู่เจี๊ยะ

    เวลา ๑๕.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำสรงศพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกนพ พิณสายแก้ว เป็นผู้แทนพระองค์นำน้ำสรงศพพระราชทานมาอาบศพให้หลวงปู่เจี๊ยะ


    เคลื่อนศพสู่ภูริทัตตเจดีย์
    <TABLE id=table11 width=109 align=right border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพวงมาลาหน้าหีบศพ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เวลาบ่ายได้เคลื่อนย้ายศพจากกุฏิไปสู่ “ภูริทัตตเจดีย์” อย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ โลงศพถูกตกแต่งด้วยดอกไม้นานาชนิดอย่างสวยงาม รายรอบภูริทัตตเจดีย์ประดับด้วยไฟงดงามยิ่งในยามค่ำคืนสวนหย่อมดอกไม้หลากสีแนวหญ้าเขียวขจี ประดับด้วยหินหลากสีหลายชนิด เจ้าภาพสวดอภิธรรมผู้มาร่วมฟังพระอภิธรรมมากมายสุดประมาณ

    วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๘.๕๐ น. สมด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดให้ พลเอกชาญ บุญประเสริฐ เชิญพวงมาลาไปวางที่หน้าหีบศพ

    วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๗ เวลา ๑๖.๐๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพิจิตร วิชัยสาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เชิญพวงมาลาวางที่หน้าหีบศพ

    พระเณรจากทั่วสารทิศหลั่งไหล สัตตาหะมาเพื่อสักการะ ร่วมสร้างเมรุและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่จำเป็นก่อนถึงวันพระราชทานเพลิง โรงทานอาหารโรงน้ำปานะ ล้นหลามกินดื่มเท่าไหร่ไม่มีวันหมด มากมายปานประหนึ่งว่าชาวบ้านถิ่นแถวนั้นจะไม่ต้องซื้อหาอาหาร บุญญานุภาพ สังฆานุภาพปรากฏเป็นที่ประจักษ์แล้ว ชาติสุดท้าย ขันธ์สุดท้าย บารมีสั่งสมมาเท่าไหร่หลั่งไหลมาให้หมด ดังคำที่ว่า “ผู้ตายไปนิพพาน ผู้อยู่เฝ้าชื่นชม”
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อำนาจผ้าขี้ริ้วห่อทอง

    หลวงปู่เจี๊ยะ พระผู้นิยมแต่ผ้าเก่า ๆ จีวร สบง อังสะ ปะ ๆ ชุน ๆ บาตรใบเดียว กลดหลังเดียว ผ้ากลดผืนเดียว กล่องเข็มกล่องเดียว ใช้ตั้งแต่วันบวชจนกระทั่งวันตาย ยินดีเพียงบริขารที่มี ไม่เสาะแสวงหา ผู้เป็นตำนานผ้าขี้ริ้วห่อทอง สาวกของพระศาสดา ศิษย์ก้นกุฏิท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระสหายของสมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) สหธรรมิกหลวงตามหาบัว ญาณสมปนฺโน อันเตวาสิกท่านพ่อลี ธมฺมธโร คุณธรรมเติบใหญ่ความดีปรากฏเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน ณ บัดนี้แล้ว


    ชีวิตจบบริบูรณ์

    <TABLE id=table12 width=109 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ชีวิตของหลวงปู่เจี๊ยะ จนฺโท เบื้องต้นเรียนจบพรหมจรรย์ ท่ามกลางมีวัตรปฏิบัติที่งดงามอาจหาญท้าทาย ที่สุดเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ท่านบริบูรณ์ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด...เป็นชีวิตที่งามยิ่ง

    เบื้องหลังชีวิตที่ท่านจากไป คือ ตำนานที่ต้องเล่าขานไม่รู้จบ

    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามที่เป็นหลักเป็นฐานมั่นคง

    ภูริทัตตเจดีย์ สำหรับบรรจุทันตธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ผู้เป็นบูรพาจารย์

    เป็นผลงานที่ท่านภูมิใจเป็นที่สุด เพราะนั่นคือ “อาจริยบูชา”

    ประวัติ ปฏิปทา คติธรรม ของหลวงปู่เจี๊ยะ อาจจะแตกต่างจากพระกรรมฐานรูปอื่นในแง่ปลีกย่อย แต่หลักใหญ่แล้วเป็นเอกเทศ ท่านไม่กว้างขวางเรื่องปริยัติธรรมภายนอก รอบรู้เฉพาะเรื่องจิตตภาวนา อันเป็นธรรมภายใน ท่านปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว คำสอนของท่านก็เป็นประเภทปัจเจกะเฉพาะตน เพราะท่านมุ่งเน้นทางด้านจิตใจเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับท่านมีบารมีธรรมที่บ่มบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน เป็นสิ่งที่ช่วยเกื้อหนุนอยู่อย่างลึกลับ การปฏิบัติของท่านจึงนับว่า รู้เร็วในยุคปัจจุบันสมัย ที่มนุษย์มีกิเลสหนาขึ้นโดยลำดับ

    ท่านจึงเป็นแบบอย่างทางสงบแก่โลก ที่ระงมปนเปื้อนไปด้วยกองทุกข์นานาประการ ท่านสอนให้พวกเรามองอะไร ไม่ควรมองแต่ด้านเดียว การมองอะไรไม่เพียงใช้สายตาเป็นเครื่องตัดสินเท่านั้น แต่ต้องใช้แววตา คือ ปัญญาเป็นเครื่องประกอบการตัดสินใจ ในการมองโลกและธรรม

    เพราะผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรมองข้ามปมคำสอนเพียงเพราะสายตาเท่านั้น ควรพิจารณาให้ถ้วนถี่เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงสว่างแก่โลก ย่อมไม่ละเลยทั้งกอไผ่และภูเขา

    เพราะไม่มีใครเลย ที่จะมีความดีความชั่วเพียงอย่างเดียว แม้ดอกบัวที่มีกลีบงามละมุนก็ยังมีก้านที่ขรุขระ

    ดุจแผ่นดิน ไม่มีใครอาจทำให้เรียบเสมอกันได้หมด ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ ฉันนั้น

    ในความดี ในความเป็นพระที่ดี ก็ย่อมมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง แต่ข้อบกพร่องมันไม่เป็นที่เสียหายต่อส่วนรวมตลอดจน ประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

    ข้อบกพร่องนั้นก็ควรเป็นข้อยกเว้น ไม่ควรตามตำหนิให้มากความ เช่นเดียวกับในดวงจันทร์แม้จะมีตำหนิเป็นจุดดำ ๆ อยู่ตรงกลางดวง แต่ชาวโลกก็ไม่ควรไปสนใจตามตำหนิอะไรมากนัก

    <TABLE id=table13 width=109 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    หลวงปู่เจี๊ยะท่านจึงเป็นผู้มีจิตอิสระมานาน ไม่เกี่ยวเกาะยึดติดพัวพันในบุคคล กาล สถานที่การปฏิบัติของท่านมุ่งเน้นที่ผลการปฏิบัติมากกว่ารูปแบบแห่งการปฏิบัติ เพราะนี่เป็นนิสัยสะท้านโลกาและปฎิปทาที่เป็น ปัจจัตตัง ยากที่ใคร ๆ จะเลียนแบบได้ ท่านจึงเป็นสัตบรุษ พุทธสาวก ที่หาได้โดยยากยิ่ง สมดังพุทธภาษิตที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

    ทุทฺทนํ ททมานานํทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ
    อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติสตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย.

    สัตบุรุษให้ในสิ่งที่บุคคลอื่นให้ได้ยาก กระทำในสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำตามได้ยาก

    คนที่ไม่ดีจริง ไม่แกร่งจริง ย่อมทำตามท่านไม่ได้

    เพราะกรรมของสัตบรุษ ยากที่คนไม่ดีจะประพฤติตามได้

    สนฺตกาโย สนฺตวาโจสนฺตมโน สุสฺมาหิโต
    วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุอุปสนฺโตติ วุจฺจตีติฯ

    ภิกษุผู้มีกาย วาจาสงบ ยังไม่นับว่าเป็นผู้สงบแท้ แต่ผู้ที่มีกาย วาจา และใจสงบนั้นแล เราตถาคตจึงเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นผู้สงบอย่างแท้จริง และเป็นผู้คลายจากความลุ่มหลงในโลกทั้งปวงฯ



    ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก

    www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-jea/lp-jea-hist-00.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...