ประวัติและปฏิปทา : หลวงปู่ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 เมษายน 2012.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล
    วัดป่าบ้านคุ้ม ต.โคกสว่าง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี
    จากหนังสือ มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์
    http://dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm


    อัญมณีแห่งไพรสณฑ์​

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" id=table1 class=MsoTableGrid border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>เฉกมณี
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ล้ำพิสุทธิ์

    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>วิมุตติเลิศ
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ถือกำเนิด
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ณ ภูผา
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>วนาสัณฑ์
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>พระผู้ทรง
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ธรรมวิสุทธิ์
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>เอกอนันต์
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>มณีรัตน์
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ฉายาท่าน
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>“กนฺตสีโล”
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ปฏิปทา
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ทั้งเมตตา
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>และอาจหาญ
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>คอยเจือจาน
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ด้วยน้ำจิต
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>อันอักโข
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>หนุนพระศาสน์
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>แผ่กิ่งก้าน
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ดังต้นโพธิ์
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ให้เติบโต
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>แผ่ร่มเงา
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ไปยาวนาน
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>เพชรน้ำเอก
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>อันหลีกเร้น
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ในไพรสณฑ์
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>แม้น้อยคน
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>รู้จักนาม
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ตามขนาน
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>สานุศิษย์
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ระลึกคุณ
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ตราบชั่วกาล
    </TD></TR><TR><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>หลวงปู่ท่าน
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>ทองรัตน์
    </TD><TD style="PADDING-BOTTOM: 0pc; PADDING-LEFT: 0.45pc; WIDTH: 10pc; PADDING-RIGHT: 0.45pc; PADDING-TOP: 0pc" vAlign=top width=160>กนฺตสีโลฯ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ชาติกำเนิด

    ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล มีนามเดิมว่า ทองรัตน์ นะคะจัด ถือกำเนิดในครอบครัวใหญ่ ณ ลุ่มแม่น้ำศรีสงคราม เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ต่อมาบิดาก็ได้พาครอบครัวย้ายมาตั้งหมู่บ้านใหม่ที่ดงพะเนาว์ พร้อม พ่อเฒ่าสามารถ พ่อเฒ่าหนูปานและชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ตั้งชื่อหมู่บ้าน ว่า "ศรีเวินชัย" ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านเดิมประมาณ ๓ กิโลเมตร

    ดงพะเนาว์แต่ก่อนป่าแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ หนาทึบเนืองแน่นด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เป็นที่หลีกเร้นภาวนาของครูบาอาจารย์ พระกรรมฐานเป็นจำนวนมาก เชื่อกันว่า บริเวณดังกล่าว เคยเป็นเมืองและวัดเก่ามาก่อน จากการพบซากสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ โบสถ์พระพุทธรูปปางต่างๆ สมัยเก่าจำนวนมาก

    โยมบิดา คือ หลวงกำจัด เป็นข้าหลวงใหญ่ปกครองท้องถิ่นในเขตนี้ โยมมารดา ชื่อ แก้วบุปผา แต่ก่อนการใช้นามสกุลยังไม่แพร่หลาย และยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่เด่นชัดเท่าที่ควร แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละบุคคลจะเลือกใช้ จึงได้เลือกชื่อสกุลว่า "นะคะจัด"

    นะคะ มาจาก นครพนม
    จัด มาจาก ชื่อผู้เป็นบิดา
    หลวงกำจัดมีบุตรธิดา ๙ คน คือ
    ๑. หมื่นชนชนะชัย (นายทะ นะคะจัด) ได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านศรีเวินชัยเป็นคนแรก
    ๒. นายสีทัด นะคะจัด
    ๓. นายเทน นะคะจัด
    ๔. ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล
    ๕. นางอูบแก้ว นะคะจัด
    ๖. นางหนูเทียน นะคะจัด
    ๗. นางเขียน นะคะจัด
    ๘. นางเม่ง นะคะจัด
    ๙. นางวะ นะคะจัด
    แม่ใหญ่จันทิมา บุตรคนสุดท้องของหมื่นชนชนะชัย ญาติที่ใกล้ชิดของครูบาอาจารย์เฒ่า เล่าว่า หลังจากที่หลวงกำจัดได้นำหนุ่มทองรัตน์ไปบวช เคยได้เห็นท่านครั้งเดียว เมื่อคราวแม่ใหญ่อายุ ๒๗ ปี หลังจากนั้นไม่เคยเห็นท่านอีกเลย ได้ทราบข่าวภายหลังว่า ท่านได้มรณภาพที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙

    สมัยท่านเป็นหนุ่ม หนุ่มทองรัตน์เป็นคนร่างใหญ่กำยำ ห้าวหาญ ดุดัน เด็ดขาด น่าเกรงขามมาก ชอบเล่นตลกเฮฮา เป็นคนทำหน้าที่ เก็บส่วยให้หลวงกำจัด และเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว บ่อยครั้งที่คนรอบข้างต้องตะลึง เมื่อเห็นพฤติกรรมที่หนุ่มทองรัตน์ได้แสดงออกด้วยความห้าวหาญ เช่น มีอยู่บ่อยครั้ง สุนัขชอบขโมยกินข้าวที่แช่เตรียมจะนำไปนึ่งในตอนเช้า ก่อนมารดาหรือน้องสาวจะนึ่งข้าว พอไปดูก็เห็นแต่ภาชนะเปล่า ก็เอะอะโวยวายว่า
    "หมาลักกินข้าวหม่าอีกแล้ว"

    หนุ่มทองรัตน์ได้ยินเสียงบ่นหลายวันเข้า ด้วยความที่มีนิสัยเด็ดขาดเป็นทุนเดิม จึงได้จับสุนัขนั้นมาตัดปาก พร้อมพูดว่า

    "นี่! มันจั่งบ่ได้กินหลายเที่ย" (นี่! มันจะได้ไม่กินหลายครั้ง)

    และอีกคราวหนึ่งเมื่อถึงฤดูลงนา ควายแม่นาตกลูกได้ ๒-๓ เดือนยังไม่หย่านม ลูกควายจึงตามติดแม่แจเพื่อจะกินนม หนุ่มทองรัตน์ได้ปล่อยให้กินเป็นเวลานาน จนตะวันสายกว่าปกติ ลูกควายนั้นก็ไม่อิ่มสักที หนุ่มทองรัตน์คิดว่าคงจะสมควรแล้ว จึงได้นำแม่ควายเข้าคันไถเพื่อไถนา แต่ลูกควายนั้นก็ยังตามที่จะกินนมไม่เลิก ไล่สักกี่ครั้งก็ไปได้หน่อย เดี๋ยวก็กลับมา ไถนาก็ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันสักที

    ด้วยความห้าวหาญและเด็ดขาดของหนุ่มทองรัตน์ จึงได้ปลดคันไถ ออกจากคอควายแม่นานั้น พร้อมกับฟาดลงที่หัวลูกควายนั้นเต็มแรง ยังไม่ทันที่ทุกคนที่อยู่ใกล้ๆ จะร้องห้าม ลูกควายนั้นได้ล้มทั้งยืนไปตาม แรงคันไถจนแน่นิ่ง

    นายทุนผู้เป็นพี่ชายได้ร้องถามไปว่า "เฮ็ดให้มัน ฮือหยัง" (ตีมันทำไม)

    หนุ่มทองรัตน์ได้ตอบอย่างหน้าตาเฉยว่า

    "มันจั่งบ่ได้กินหลายเที่ย" (มันจะได้ไม่กินหลายครั้ง)

    ครูบาอาจารย์เฒ่าเคยเล่าให้ลูกศิษย์คนสนิท พ่อใหญ่จารย์<SUP>*</SUP> กิ จันทร์ศรีเมือง บ้านหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เมื่อคราวที่ออกบวชติดตาม เพื่อศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับครูบาอาจารย์เฒ่าว่า ในสมัยที่ท่านเป็นหนุ่ม มีความสามารถหลายด้าน เช่น ฝึกวัว เทียมเกวียนได้ไม่ยาก เมื่อเห็นท่านจะออกเดินทาง วัวนั้นจะเดินมาเทียมเกวียนเอง โดยไม่ต้องให้ไล่ให้ตี เมื่อจะผ่านห้วยผ่านหนอง บอกให้กระโดด ก็จะกระโดดตามที่สั่ง ที่บ้านมีวัวควายกว่า ๓๐๐ ตัว ต้องปล่อยไว้ตามทุ่งสามผง - ดงพะเนาว์ นานๆ ทีถึงจะต้อนเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อนำไปขาย จะต้อนเข้าไปในหมู่บ้านแต่ละครั้ง ต้องบอกชาวบ้านให้ปิดข้าวของ ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เพราะฝุ่นจะฟุ้งมาก


    <SUP>*</SUP> "จารย์" = สรรพนามเรียกคนลาสิกขาบทแล้ว
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชีวิตหนุ่มลูกทุ่ง

    บ่อยครั้งที่มีงานบุญไม่ว่าในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง หนุ่มทองรัตน์พร้อมบั้งทิงไม้ไผ่บรรจุเหล้าสาโทยาวเป็นเมตร ต้องได้สะพายไปร่วมงาน เพื่อเลี้ยงฉลองกันทุกที ตามแบบฉบับของหนุ่มชนบท ถึงแม้ว่าหนุ่มทองรัตน์จะมีนิสัยชอบกินชอบดื่ม แต่ไม่เคยมีประวัติชกต่อยกันแต่อย่างไร เป็นเหตุให้ไปที่ไหนต้องเป็นเป้าสายตาของสาวๆ ที่พบเห็น

    ประเพณีอย่างหนึ่งที่ชายหนุ่มนิยมกันคือ "การสักขาลาย" และ หนุ่มทองรัตน์ก็เป็นหนึ่งที่สักลายเหมือนกัน เพราะนิยมกันว่า เมื่อชายใดที่สักขาลายแล้ว จะเป็นที่หมายปองของสาวๆ ทั่วไป


    ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย

    มีครั้งหนึ่งครูบาอาจารย์เฒ่าเล่าให้หลวงพ่อพร สจฺจวโร ศิษย์ผู้ใกล้ชิดรูปหนึ่ง อยู่วัดบ้านแก่งยาง ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ครั้งแรกบวชเป็นสามเณร แต่อยู่ได้ไม่นาน ต้องฝึกออกมาช่วยครอบครัวทำงาน สาเหตุที่ออกบวชครั้งที่สองคือ ท่านได้ไปจีบสาวต่างบ้าน สาวนั้นได้เกิดความชอบพอใจขึ้นมา และหลายครั้งได้คะยั้นคะยอให้ท่านนำญาติผู้ใหญ่ไปสู่ขอตามประเพณี ถ้าไม่ไปสู่ขอ สาวเจ้าได้ยื่นคำขาดว่าจะขอหนีตาม

    หนุ่มทองรัตน์ได้คิดอยู่หลายวัน ถ้าจะปล่อยให้สาวหนีตาม ก็ไม่อยู่ในวิสัยของลูกผู้ชายอย่างหนุ่มทองรัตน์จะทำ ถ้าจะบอกปฏิเสธ ก็กลัวว่าสาวเจ้าจะเสียใจ และได้ตัดสินใจว่าจะยังไม่ขอแต่งงาน ถ้าขืนอยู่ต่อไปก็คงจะไม่พ้นอยู่ดี จึงบอกกับพ่อว่าให้พาไปฝากกับพระอุปัชฌาย์เพื่อบวช พ่อก็ไม่อยากให้บวช เพราะท่านเป็นกำลังสำคัญในบ้าน จึงอยากให้มีครอบครัวมากกว่าออกบวช แต่ก็ต้องยอมตามคำอ้อนวอน ด้วยเหตุผลที่ได้อ้างต่อพ่อว่า

    "ยังไม่อยากมีเมีย"

    [​IMG]



    พ่อจึงได้พาท่านไปฝากอุปัชฌาย์โดยไม่บอกให้ใครรู้ แม้แต่คนในบ้านก็ไม่มีใครรู้ว่าพ่อพาท่านไปบวชที่ไหน จนท่านบวชได้หลายพรรษาแล้ว ท่านได้หวนกลับบ้าน โยมพ่อโยมแม่และญาติพี่น้องบางคนได้ล้มหายตายจากไปก่อนแล้ว ชาวบ้านจึงได้รู้ว่า ท่านไปบวชกับพระอุปัชฌาย์คาร คนฺธีโย ที่วัดโพธิ์ไชย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (เดิมเป็นวัดโพธิ์ไทร ชาวบ้านเรียกว่าวัดทุ่ง ต่อมา หลวงบริหารชนบท เปลี่ยนเป็น วัดโพธิ์ไชย) มีพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโม วัดโพธิ์ชัย อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เมื่อสมัยที่พี่ชายของท่านคือ หมื่นชนชนะชัย บวช โยมพ่อก็ได้นำไปฝากกับพระอุปัชฌาย์รูปนี้ เพราะแต่ก่อนพระอุปัชฌาย์มีไม่มาก พระอุปัชฌาย์คาร คนฺธีโย ท่านปกครองในเขต ๓ อำเภอ คืออำเภอศรีสงคราม อำเภอบ้านแพง อำเภอท่าอุเทน ของจังหวัดนครพนม

    ท่านบวชเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๙ ในขณะที่อายุ ๒๘ ปี หลังจากบวชแล้ว ไม่เคยส่งข่าวกลับบ้านเลย และไม่ได้กลับบ้านด้วย เมื่อบวชแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาค้นคว้าตำราต่างๆ เช่น นวโกวาท ตลอดจน ท่องปาฏิโมกข์ได้ และอยู่กับพระอุปัชฌาย์ได้ ๒ พรรษา ก็คิดอยากจะลาสิกขา จะอยู่ในอิริยาบถไหน ก็คิดแต่จะลาสิกขา กิจวัตรต่างๆ ที่พระใหม่ควรจะทำก็ทำโดยไม่บกพร่อง แต่ความอยากลาสิกขาไม่หายไป ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาของนักบวช แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ จะทำอย่างไรเมื่อมีอารมณ์อยากลาสิกขา แล้วทำไม่ให้มันลาสิกขา จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์เพื่อไปหาสถานที่วิเวกดูบ้าง
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยอมตาย แต่ไม่ยอมลาสิกขา

    [​IMG]

    ครูบาอาจารย์เฒ่าเคยเล่าให้หลวงพ่อเดช กิตติปาโล (หลานครูบาอาจารย์เฒ่า) วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ฟังว่า เมื่อคราวท่านอยากลาสิกขา ในขณะนั้นบวชได้ ๒ พรรษา จึงได้ลาพระอุปัชฌาย์ หาสถานที่วิเวกเพื่อหาอุบายที่จะได้ไม่ลาสิกขา จากวัดพระอุปัชฌาย์ไปตามป่าตามเขา ยิ่งเดินก็ยิ่งเหนื่อย ยิ่งเหนื่อยก็ยิ่งอยากลาสิกขา เดินไปจนถึงภูพาน จึงได้หาสถานที่ปักกลด เดินจงกรม นั่งสมาธิ ทำความเพียรตามที่เคยได้ศึกษาตำรามา และเคยทำเองบ้าง แต่ไม่เข้าใจเท่าที่ควร ทำความเพียรอยู่ช่วงสองวันแรก ตื่นเช้ามาก็ออกบิณฑบาตกับชาวบ้านที่อยู่ตามกระท่อมตีนเขา พอได้ฉัน ยิ่งทำความเพียรก็ยิ่งทุกข์ เพราะอยากลาสิกขามาก

    จึงได้ตั้งสัจจะกับตัวเองว่า

    "มึงอยากสึกหลาย ให้มึงตายอยู่นี่"

    แล้วมุ่งทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิอยู่ ๖-๗ วัน ไม่ไปบิณฑบาต อาการอยากลาสิกขาจึงค่อยทุเลาลง แต่ยังไม่หาย ไม่ลงไปบิณฑบาตหลายวัน

    โยมคิดว่าตายแล้วจึงขึ้นมาดู เห็นท่านเดินจงกรมอยู่ จึงกลับลงไปเอาน้ำเอาข้าวไปถวายท่าน ท่านก็ไม่ฉัน ญาติโยมได้อ้อนวอนให้ท่านฉัน จึงได้สนองศรัทธา และโยมได้พูดถึงหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นว่า ท่านทั้งสองนี้ปฏิบัติดี ปฏิบัติเอาจริงเอาจังมาก ใครก็ให้ความเคารพท่านมาก แต่ก่อนท่านเคยเดินธุดงค์ผ่านมาทางนี้ด้วย

    ครั้นถามโยมได้ความว่า ท่านทั้งสองปกติก็พำนักอยู่ที่แถบจังหวัดสกลนคร นครพนม จึงได้ตั้งใจมุ่งตรงไปยังครูบาอาจารย์ทั้งสองเพื่อกราบขอฟังอุบายธรรม และได้ลงจากภูพานเพื่อเสาะแสวงหาองค์ท่านทั้งสอง
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ชี้ทางสว่าง

    ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ติดตามสืบหาจนได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งแต่ก่อนเป็นป่าที่เหมาะในการภาวนามาก จึงได้ไปกราบท่านขอพักอยู่กับท่าน ๓-๔ วันเพื่อขอรับฟังโอวาทจากท่าน หลวงปู่มั่นได้เมตตาให้อุบายในการปฏิบัติ และไล่ให้ไปปฏิบัติเอง ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ได้กราบลาหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติตามคำแนะนำตามลำพัง ยิ่งปฏิบัติไปในความรู้สึกมีแต่ความหนักไปหมด นั่งก็หนัก ยืนก็หนัก นอนก็หนัก แก้ไม่ตก จึงคิดถึงหลวงปู่มั่นขึ้นมาและกลับไปกราบท่านอีกครั้งหนึ่ง

    เมื่อไปกราบหลวงปู่มั่น ท่านก็ถามว่า

    "เป็นจั่งได๋การปฏิบัติ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าบอกว่า ไม่รู้จะเอาอะไรมาบอกกับหลวงปู่มั่น เพราะไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น มีแต่หนักอย่างเดียว เดินก็หนัก นอนก็หนัก นั่งก็หนัก

    หลวงปู่มั่นพูดเป็นเชิงดุว่า

    "การปฏิบัติอยากแต่ให้มันสงบ เอาแต่ตัณหาเข้าไปทำ มันจะเห็นอะไร"

    แล้วหลวงปู่มั่นท่านได้ไล่ให้ไปปฏิบัติอีก


    [​IMG]

    ด้วยวิสัยที่ดุดัน เอาจริงเอาจังเป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อท่านได้ยินหลวงปู่มั่นท่านดุ เหมือนกับว่า ท่านให้กำลังใจ จึงได้สะพายบาตรแบกกลดมุ่งหน้าสู่ป่าหนาดงทึบ คราวนี้เอาจริงยิ่งกว่าเดิม ทั้งเดินจงกรมนั่งสมาธิทั้งคืนทั้งวัน ให้เวลาในการพักผ่อนน้อย ฉันก็ลดน้อยลง จนมีอยู่วันหนึ่งขณะเดินจงกรมอยู่อาการที่ว่า "หนัก" ไม่รู้หายไปไหน กลับมีแต่ความเบากายเบาใจ เดินไปทางไหนเหมือนกับจะปลิวไป ไม่สามารถจะเล่าให้ใครฟังถูก ปฏิบัติติดต่ออยู่นาน อาการเบานั่นก็ยังเหมือนเดิม จึงคิดว่า

    "นี่หรือ ที่ครูบาอาจารย์มั่นบอกว่าอาการของจิตสงบ"

    และได้กลับไปหาหลวงปู่มั่นอีกครั้ง

    เมื่อกลับไปกราบหลวงปู่มั่นคราวนี้ ท่านไม่ดุเหมือนเมื่อก่อนและกราบเรียนท่านว่า "ขะน้อยเห็นแล้วจิตสงบ"

    "มันเป็นจังได๋ จิตสงบ" หลวงปู่มั่นถาม

    "จิตสงบนั้นมันเบากายเบาใจ ในอิริยาบถได๋มันกะเบา บอกบ่ถืก"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าเล่าให้หลวงปู่มั่นฟังถึงอาการต่างๆ ที่ได้ประสบจากการทำความเพียรจนหมดสิ้น

    คราวนี้หลวงปู่มั่นท่านได้แนะนำแนวทางปฏิบัติต่อ โดยท่านให้พิจารณาขันธ์ ๕ ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาให้เห็นแล้วให้ย่อเข้ามา คือ กายกับใจ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของไม่มีตัวตน แยกมันให้ออก

    หลังจากได้คำอธิบายจากหลวงปู่มั่นแล้ว ก็กราบลาท่านอีก ได้ออกปฏิบัติเอง แล้วก็ได้นำอุบายที่หลวงปู่มั่นให้ มาพิจารณากลับไปกลับมา อยู่เป็นเวลานานหลายเดือน จนก่อนเข้าพรรษาที่ ๓ ก็ปรากฏสภาวะทุกอย่างลงตัว เกิดปีติขึ้นในจิตใจ สว่างโร่ทั้งกลางวันกลางคืน เห็นทุกสิ่งทุกอย่างไม่แตกต่างกันอย่างไร โลกทั้งโลกไม่สงสัยอะไร คิดอยู่ในใจว่า ถ้าจะมีปัญหาร้อยแปดพันปัญหา ก็ไม่สงสัย อาการของจิตใจในขณะนั้นนิ่งมาก ไม่มีอะไรทำให้หวั่นไหวได้อีกต่อไป ยิ่งในอาการดังกล่าวยากที่จะบรรยายถ่ายทอดให้คนอื่นรู้ได้ นอกจากตัวเอง ที่เรียกว่า "ปัจจัตตัง"

    ท่านได้ธุดงค์ไปรูปเดียว ไปตามป่าบ้าง ภูเขาบ้าง ไปถ้ำใดเข้าได้หมด ด้วยความอาจหาญ ไม่คิดกลัวสัตว์ร้าย หรือสิ่งต่างๆ จะมาทางไหนก็ไม่กลัว จะบอกว่าทั้งความกลัวและความสงสัยต่างๆ ไม่เป็นเรื่องหนักใจอีกต่อไปก็ไม่ผิด
    ลูกศิษย์รูปหนึ่งเคยได้ยินครูบาอาจารย์เฒ่าพูดอยู่เสมอว่า

    "คำสอนถึงจะมีมากมายสักเพียงไร ก็ไม่เท่าการปฏิบัติให้เห็นเอง"

    จึงได้ถามครูบาอาจารย์เฒ่าไปว่า

    "ที่ว่าคำสอนไม่เท่าการปฏิบัติ มันเป็นอย่างไร ครับ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าตอบว่า

    "การที่ฟังจากคนอื่นพูด เป็นได้แค่แนวทางเท่านั้น ผู้อื่นไม่สามารถบอกผลการปฏิบัติเป็นคำพูดได้ สิ่งที่เกิดนั้นมันจะเกิดขึ้นเอง หากมีการปฏิบัติด้วยการทำกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเกิดเอง เรื่องอารมณ์เล็กๆ น้อยๆ อย่าข้าม ถ้าศีลบริสุทธิ์ สมาธิและปัญญาจะก้าวหน้า นั่งสมาธิบางทีก็มีคำถามและคำตอบขึ้นมาพร้อม ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ เข้าป่าเป็นพระกรรมฐานไม่ได้ ผีหักคอบ้าง เสือกินบ้าง พระที่ศีลไม่บริสุทธิ์ เสือกัดตาย ตามถ้ำตามเขาเห็นกระดูกกองถมไป"
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สามพรรษาที่ถ้ำบังบด

    หลวงพ่อกิ ธมฺมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์ผู้ใกล้ชิดรูปหนึ่ง เล่าว่า

    ในช่วงที่ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ได้ออกธุดงค์ ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังอยู่นั้น ได้ทราบว่าหลวงปู่มั่นได้ธุดงค์ไปทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ธุดงค์ตามท่านไป พอดีไปพบท่านที่จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนเข้าพรรษา จึงได้เข้ากราบท่านอีกครั้งหนึ่ง

    หลวงปู่มั่นได้ถามถึงการประพฤติปฏิบัติของครูบาอาจารย์เฒ่า ท่านก็ได้เล่าถวายหลวงปู่มั่นตามที่ได้พบจากการปฏิบัติทุกอย่าง ปกติก่อนเข้าพรรษา หลวงปู่มั่นจะเรียกรวมลูกศิษย์เพื่อจัดพระเณรจำพรรษาในที่ต่างๆ หลวงปู่มั่นได้ให้ครูบาอาจารย์เฒ่าไปจำพรรษาที่ถ้ำบังบด โดยมีข้อแม้ว่าถ้าไม่ครบ ๓ พรรษาไม่ต้องลงมา ถ้ำนี้หลวงปู่มั่นได้เคยไปภาวนามาแล้ว เหมาะกับพระเณรที่มีภูมิจิตภูมิธรรมที่แข็งกล้าแล้ว จึงจะขึ้นไปภาวนาได้ และสถานที่แห่งนี้เคยมีพระธุดงค์ไปมรณภาพมาแล้วหลายรูป ถ้าไม่เก่งจริงคงจะกลับออกมายาก

    เมื่อหลวงปู่มั่นแนะนำดังนั้น ท่านจึงได้รับและได้กราบลาท่านไปที่ถ้ำนั้นรูปเดียว เมื่อไปถึงถ้ำบังบด จึงได้หาสถานที่ปักกลด ทำทางเดินจงกรม แล้วภาวนาอยู่รูปเดียวตลอด ๓ พรรษา

    ในคืนของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ พรรษาแรก หลังจากเดินจงกรมตอนหัวค่ำแล้ว ได้เปลี่ยนอิริยาบถมานั่งสมาธิบ้าง ในขณะกำลังนั่งสมาธิสงบนิ่งอยู่นั่นเอง ได้ยินเสียงดังสนั่นกึกก้องไปทั่ว แยกไม่ออกว่าเป็นเสียงอะไร ราวกับฟ้าจะทลาย ภูเขาทั้งลูกถูกเขย่าให้สั่นสะเทือน คล้ายกับว่าจะถล่มลงมาทั้งลูก ทั้งเสียงคน เสียงสัตว์ร้องกันโกลาหลไปทั่ว จะเดินออกไปดูก็ไม่มั่นใจ ความกลัวที่ว่าหมดไปแล้ว ไม่รู้ว่ามาจากไหน ทั้งที่ๆ ก่อนมาเคยให้คำรับรองกับตัวเองว่าหมดความกลัวแล้ว พุทโธที่เคยบริกรรมหายหมด มีแต่ความกลัว

    ครูบาอาจารย์เฒ่าเล่าให้ศิษย์ฟังว่า กลัวจนไม่รู้ว่าจะกลัวอย่างไร ขนและผมทุกเส้นมันลุก จนคิดว่ามันจะหลุดออกจากหัวเสียแล้ว จีวรสบงชุ่มไปด้วยเหงื่อ เมื่อถึงที่สุดของความกลัว ได้มีอะไรสักอย่างมากระซิบที่หูว่า

    "ในสากลพิภพนี้ สรรพสัตว์ ตลอดทั้งเทพ พรหม ยม ยักษ์ ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเคารพและยำเกรงต่อพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น เราเป็นลูกศิษย์พระตถาคตจะไปกลัวอะไร"

    เมื่อได้ยินดังนั้น สติเริ่มกลับคืนมา แล้วเกิดความอาจหาญขึ้นในจิตในใจ ความกลัวค่อยเลือนหายไป ในที่สุดไม่รู้ความกลัวหายไปไหน คิดให้กลัว ก็ไม่กลัว คิดเห็นเสือ เห็นช้าง เป็นธรรมดาไปหมด ไม่มีอะไรที่น่ากลัวอีก มีความรู้สึกว่า อาการหายกลัวครั้งนี้ มีอานุภาพมากกว่าครั้งที่ผ่านมาหลายร้อยหลายพันเท่า เดินจงกรม นั่งสมาธิ มีแต่ความเยือกเย็น สบาย ข้าวปลาอาหารไม่หิว เป็นอยู่ ๗ วัน ๗ คืนนอนก็ไม่นอน

    หลายวันต่อมาโยมขึ้นไปเยี่ยมท่าน เพราะเห็นท่านไม่ได้ลงไปรับบิณฑบาตหลายวัน คิดว่าท่านคงเป็นอะไรไปแล้ว

    ญาติโยมได้ถามครูบาอาจารย์เฒ่าว่า "ไม่สบายหรือ ตาจึงแดง"

    "สบายดี" ท่านตอบ

    "ท่านไม่หิวข้าวหิวน้ำหรือ ไม่เห็นลงไปบิณฑบาต นึกว่าเป็นอะไรไปเหมือนพระรูปอื่นๆ"

    วันต่อมา ท่านจึงได้ลงไปบิณฑบาตในหมู่บ้านใกล้เชิงเขา และฉันเพียง ๒ คำเท่านั้น ร่างกายเกิดไม่รับอาหาร ไม่ว่าจะฉันอะไรลงไปก็อาเจียนออกมาหมด หลายวันต่อมาร่างกายจึงปกติ และได้ปฏิบัติภาวนาอยู่ที่นั่นจนครบ ๓ พรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วจึงได้ลงมากราบหลวงปู่มั่นอีกครั้ง และเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้หลวงปู่มั่นฟัง

    หลวงปู่มั่นจึงได้พูดให้ข้อคิดว่า

    "ทองรัตน์ เดี๋ยวนี้จิตของท่านเท่ากับจิตของผมแล้ว ต่อไปนี้ท่านจะเทศน์จะสอนคนอื่น ก็จงสอนเถิด"

    หลังจากออกเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ แล้วได้มาภาวนาอยู่ที่ถ้ำบังบดนี้ คิดเป็นเวลาก็ยาวนาน ประกอบกับผ้าจีวรฝ้ายที่ปั่นและทอเย็บด้วยมือ ถูกใช้นานหลายปี เกิดเปื่อยยุ่ยใช้การไม่ได้ เพราะปกติผ้าจีวรขาดธรรมดาก็หาผ้ามาปะมาชุนได้ บางครั้งหาด้ายและเข็มไม่มี ต้องใช้เปลือกไม้มาทุบใช้เป็นเส้นใยแทนด้ายเพื่อชุนไว้

    ซึ่งในเรื่องพระธรรมวินัยนี้ ครูบาอาจารย์เฒ่าท่านละเอียดมาก ถึงแม้อาบัติเล็กน้อยท่านก็ไม่มองข้าม ผ้าถึงจะเก่า สีจะหมองขนาดไหนก็ยังงามตามพระธรรมวินัย

    ท่านจึงคิดจะไปกราบลาครูบาอาจารย์ เพื่อเดินทางกลับไปหาญาติโยมทางบ้านสามผง ดงพะเนาว์ เพราะไม่มีโยมปวารณาถวายผ้า จะขอคนผู้ไม่ใช่ญาติก็ไม่ได้

    พอไปกราบหลวงปู่มั่นเพื่อจะลาท่านไปบ้าน หลวงปู่มั่นจึงพูดดังว่า

    "เออ อยากได้อยากเห็นธรรมบ่แม่นบ้อ จั่งมาบวช สิมามัวกับญาติโยมอยู่หั่นบ้อ" (เออ อยากได้อยากเห็นธรรมไม่ใช่หรือ จึงได้ออกบวช จะไปมัวข้องเกี่ยวกับญาติโยมอยู่อีกหรือ)

    และหลวงปู่มั่นก็ได้อนุญาตให้กลับบ้าน ครูบาอาจารย์เฒ่าทราบความปรารถนาดีของพ่อแม่ครูบาอาจารย์แล้ว จึงกราบลาท่านกลับบ้าน
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลับบ้านครั้งแรก

    แม่ใหญ่จันทิมา ลูกสาวคนเล็กของพี่ชายคนโต (ผู้ใหญ่ทะ หรือหมื่นชนชนะชัย) เล่าว่า ปีที่ครูบาอาจารย์ท่านกลับบ้านครั้งแรกนั้น แม่ใหญ่อายุ ๒๗ ปี เมื่อกลับไปถึงบ้าน ไม่มีใครจำได้ แม้แต่ผู้เป็นพี่ชาย (ผู้ใหญ่ทะ)

    ตอนเช้าครูบาอาจารย์เฒ่าผ่านไปรับบิณฑบาต และได้ยืนอยู่หน้าบ้านตั้งนาน ปกติก็ไม่มีพระมายืนหน้าบ้านสักที จนคนบ้านใกล้กันเขาเห็นท่าน หรือเขาอาจจะจำเค้าหน้าท่านได้ จึงร้องไปทางผู้ใหญ่ทะ

    "พ่อเย่อ พ่อเย่อ บ่แม่นญาคูน้องชายพ่อเย่อบ้อ มายืนอยู่หน้าเฮือนเจ้านั่น" (คุณตา คุณตา ไม่ใช่พระน้องชายคุณตาหรือ ที่มายืนอยู่หน้าบ้านนั่น)
    ผู้ใหญ่ทะจึงชำเลืองไปดู แต่ก็ยังไม่ปักใจเชื่อ จึงลงจากบ้านไปถามดู พอไปถึงก็นั่งพนมมือถาม

    "ญาคูนิมนต์ มาแต่เสอขะน้อย" (พระอาจารย์นิมนต์ มาจากไหนครับ)

    "อาตมาเป็นคนบ้านนี้ เป็นลูกพ่อใหญ่กำจัด มาพักอยู่วัดป่าฮั่น"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าตอบ และได้เดินบิณฑบาตต่อไป ปล่อยให้ผู้ใหญ่ทะนั่งงงงวยอยู่คนเดียว ยังคิดไม่ออกว่าพระรูปนี้คือใครกันแน่ มาแอบอ้างว่าเป็นลูกเป็นหลานพ่อใหญ่กำจัด ซึ่งเป็นพ่อของตน

    เมื่อครูบาอาจารย์เฒ่าได้บิณฑบาตกลับวัด ผู้ใหญ่ทะได้เดินตามหลังครูบาอาจารย์เฒ่าจนถึงวัด เพื่อไปถามให้แน่ใจว่าเป็นลูกหลานพ่อใหญ่กำจัดจริงหรือ เมื่อไปถึงวัด ผู้ใหญ่ทะได้ซักถามว่า ท่านคือใครกันแน่

    ครูบาอาจารย์เฒ่าจึงเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่า

    "อาตมาชื่อทองรัตน์ ปีนั้นพ่อได้พาไปฝากบวชอยู่กับพระอุปัชฌาย์ ที่วัดโพธิ์ไชย ท่าอุเทน"

    ผู้ใหญ่ทะจึงยอมเชื่อว่า พระที่ไปบิณฑบาตเมื่อเช้านี้ คือน้องชายตนเอง จึงได้ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบกัน ดีใจที่พระน้องชายยังมีชีวิตอยู่ คาดไม่ถึงว่าจะได้เจอน้องชายอีก ส่วนพ่อแม่และญาติบางคนได้ล้มหายตายจากไปก่อนหน้านี้แล้ว
    พระครูอดุลย์ธรรมภาร วัดศรีวิชัย เล่าว่า

    "ครั้งแรกที่ครูบาอาจารย์เฒ่าผ่านมาพักที่วัดนี้ ซึ่งเป็นวัดที่ครูบาอาจารย์วัง ครูบาอาจารย์มา เป็นผู้สร้าง แต่ก่อนวัดยังไม่มีศาลา มีแต่ผาม (ร้านที่ทำเพี่อกันแดด) กุฏิก็มีแต่กุฏิมุงหญ้าคา ๒-๓ หลัง เมื่อครูบาอาจารย์เฒ่ามาครั้งแรกจึงไปปักกลดใต้ร่มโพธิ์ท้ายวัด ซึ่งแต่ก่อนยังเป็นป่าอยู่"

    ต่อมาผู้ใหญ่ทะได้จัดหาผ้าขาวที่ทางแม่บ้านปั่นและทอกี่เองเป็นผ้าฝ้าย มาถวายครูบาอาจารย์เฒ่าเพื่อทำจีวร ท่านได้เย็บจีวรด้วยมือ เสร็จแล้วได้นำไปย้อมด้วยน้ำฝาดแก่นขนุน ที่เคี่ยวได้ที่แล้ว จนเสร็จ

    ส่วนทางผู้ใหญ่ทะเห็นพระน้องชายปักกลดอยู่ตามร่มไม้ ก็ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างกุฏิมุงหญ้าคาให้ กุฏิยังไม่ทันเสร็จ ครูบาอาจารย์เฒ่าก็ได้บอกลาธุดงค์ต่อไป ซึ่งเป็นปกติของครูบาอาจารย์เฒ่า ท่านไม่ชอบการก่อสร้างเสนาสนะเป็นที่ถาวร ถึงจะมีโยมขอสร้างให้ท่านก็จะพยายามบ่ายเบี่ยง ถ้าห้ามไม่ได้จริงๆ ท่านก็จะบอกว่าสร้างก็สร้าง แต่จะนิมนต์ให้อยู่ ท่านจะไม่รับว่าจะอยู่ตลอด อยากไปเมื่อไหร่ก็จะไป

    หลวงพ่ออวน ปคุโณ เล่าว่า

    ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ ท่านไม่ชอบสร้างวัดเป็นหลักแหล่ง ส่วนใหญ่อยู่ตามร่มไม้ กระท่อมมุงหญ้าคา พื้นปูด้วยไม้ไผ่สับง่ายๆ เมื่อท่านจากไปกระท่อมนั้นพังพอดี จึงยากที่จะตามรอยท่านเจอ แม้แต่ปัจจุบัน สถานที่ที่ท่านเคยจำพรรษาหลายแห่ง เช่น ฝั่งโขง เมืองลาว บ้านดงชน บ้านดงมะเกลือ บ้านไผ่ล้อม บ้านโนนหอม วัดห้วยศรีคูณ อำเภอนาแก เขมรตอนบน บ้านชีทวน บ้านโคกสว่าง บ้านคุ้ม แต่ละแห่งแทบจะไม่มีอะไรหลงเหลือให้รู้ว่าแห่งนั้นเคยมีพระมาจำพรรษา จะมีเฉพาะบ้านคุ้มและบ้านโคกสว่าง ที่มีเจดีย์องค์เล็กๆ ซึ่งชาวบ้านสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของท่านเท่านั้นเอง และที่วัดป่ามณีรัตน์ บ้านคุ้ม เป็นแห่งเดียวที่ท่านจำพรรษานานที่สุด

    หลังจากครูบาอาจารย์เฒ่าเย็บจีวรเสร็จแล้ว ได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งติดขัดเรื่องการภาวนา ก็อาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาบ้าง เมื่อมีโอกาสจึงไปกราบเรียนหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่นบ้าง ท่านมักปลีกวิเวกไปในที่ต่างๆ ตามป่า ตามถ้ำรูปเดียว ไม่ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ จึงเป็นเหตุให้พระสงฆ์องค์เณรส่วนใหญ่ไม่รู้จักท่าน นานๆ ท่านจึงจะเข้ากราบฟังอุบายธรรมจากหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่นทีหนึ่ง และถึงไปก็อยู่ไม่นาน พอได้ฟังอุบายธรรมก็ไปต่อ บางครั้งไม่พักค้างคืน โดยสถานที่ช่วงแรกของชีวิตนักบวช ท่านจะอยู่นครพนม สกลนคร ลาว พม่า มีบางครั้งที่ครูบาอาจารย์เฒ่าได้มีโอกาสธุดงค์ไปกับสหธรรมมิกร่วมครูบาอาจารย์เดียวกัน เช่น

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม วัดอรัญญวิเวก อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม พระครูญาณโสภิต (หลวงปู่มี ญาณมุนี) วัดญาณโสภิตวนาราม อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะที่ประเทศพม่า ท่านได้มีโอกาสเดินธุดงค์ร่วมกับพระครูญาณโสภิต

    ด้วยความคุ้นเคยและเป็นศิษย์ร่วมพระอุปัชฌาย์เดียวกัน ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กับหลวงปู่ตื้อ จึงชอบพูดสัพยอกกันอยู่บ่อยๆ ปกติหลวงปู่ตื้อเวลาท่านออกธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ ท่านมักจะมีอะไรติดไม้ติดมือกลับวัดเกือบทุกครั้ง โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางต่างๆ หลายองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ไชย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม หลวงปู่ตื้อท่านเป็นผู้นำมา

    ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์จึงพูดว่า

    "ญาถ่านตื้อนี้ไปภาวนาหม่องได๋ ได้แต่พระกลับมา" (ท่านอาจารย์ตื้อนี้ไปภาวนาที่ไหนได้แต่พระกลับมา)

    แต่ถึงจะพูดอย่างไร ทั้งสองท่านก็หาได้ถือโทษโกรธเคืองกันไม่

    ครั้งหนึ่งครูบาอาจารย์เฒ่าได้เคยพูดกับลูกศิษย์ว่า

    "ญาถ่านตื้อนี้ ต่อไปจะเป็นผู้มีชื่อเสียงบารมีมากรูปหนึ่ง"

    และก็สมดังที่ท่านพูดไว้ดังที่พวกเราชาวพุทธทราบกันดี
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช้างยังเกรง

    หลวงพ่ออวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส ตำบลนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เล่าว่า

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงพ่ออวนได้ออกธุดงค์ในเขตฝั่งลาว และได้ทราบข่าวว่า ครูบาอาจารย์ทองรัตน์ท่านได้ธุดงค์ไปเยี่ยมญาติที่ฝั่งลาว (แม่ใหญ่จันทิมาเล่าว่า มีญาติที่เป็นพี่คนที่ ๓ ของครูบาอาจารย์เฒ่าคือนายเทน หลังจากมีเรื่องกับแม่ยาย เอากงหลาปั่นด้ายตีแม่ยาย แล้วหนีข้ามไปฝั่งลาว ไม่กลับมาอีกเลยจนถึงทุกวันนี้)

    ครูบาอาจารย์ทองรัตน์ได้พักที่ป่าช้าดอนเจ้าปู่ บ้านนาขาม ซึ่งชาวบ้านได้ทำเป็นกุฏิไว้หลังหนึ่งสำหรับพระเณรที่ธุดงค์มาจะได้พัก หลวงพ่ออวนได้พาสามเณรไปกราบท่าน และขอพักกับท่าน ๕-๖ วัน

    ในช่วงนั้น พอดีนายฮ้อยควาญช้าง ได้เดินทางมาจากเขตคำม่วน เพื่อนำช้างไปขายทางเวียงจันทน์ พอเดินทางมาถึงดอนเจ้าปู่ บ้านนาขามนั้น ช้างทั้ง ๑๖ เชือกไม่เดินทางต่อไปเอาเฉยๆ ถึงจะไล่จะตีอย่างไรช้างก็เอางวงกอดต้นไม้ไว้อย่างนั้น จนนายฮ้อยช้างหมดปัญญาจึงเข้าไปในหมู่บ้าน เพื่อหาพ่อเฒ่าจ้ำ หมอผีรักษาป่าช้า พ่อเฒ่าจ้ำแนะนำให้แต่งขันดอกไม้ธูปเทียน เพื่อไปขอขมาเจ้าที่ ขอทางผ่าน เพราะสงสัยว่าจะเป็นการกระทำของผีดอนเจ้าปู่นั้นแน่

    พวกนายฮ้อยช้างจึงได้กลับไปแต่งขัน เพื่อขอขมาโทษต่อผีดอนเจ้าปู่ เมื่อขอขมาแล้วช้างนั้นก็ยังไม่ไป จนทุกคนหมดหนทาง มีคนหนึ่งพูดขึ้นด้วยความสงสัยว่า

    "รึว่าในดอนเจ้าปู่นี้ จะมีอะไรที่ทำให้ช้างกลัว"

    จึงพากันเข้าไปในดอนเจ้าปู่ แล้วได้ไปเจอครูบาอาจารย์เฒ่าพอดี ต่างปรึกษากันว่า คงจะเป็นเพราะพระธุดงค์รูปนี้ที่ทำให้ช้างกลัว นายฮ้อยจึงพากันไปกราบครูบาอาจารย์เฒ่า ท่านได้ถามขึ้นว่า

    "ไปหยังพวกหมู่เจ้ามาหยัง?"

    "โอ้ย ช้างของพวกกระผมขี่ผ่านมาถึงที่นี่ ไม่รู้เป็นอะไร เอางวงรัดต้นได้ไว้หมดทุกตัว จะไล่จะตีอย่างไรก็ไม่ไป"

    นายฮ้อยช้างพูด

    "ช้างพวกโยมหิวหญ้าล่ะมั้ง?"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าถาม

    "จะหิวอย่างไร พวกกระผมให้กินมาตลอดทาง ตั้งแต่เช้าถึงบ่าย"

    นายฮ้อยช้างตอบ ครูบาอาจารย์เฒ่าได้พูดทีเล่นทีจริง จนพวกนายฮ้อยช้างต่างถอนใจ จะคิดหาวิธีอื่น ก็มองไม่เห็นว่าจะมีวิธีใดแก้ได้ ก็ยิ่งปักใจเชื่อ ว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของพระธุดงค์รูปนี้แน่นอน พวกนายฮ้อยช้างได้อ้อนวอนอยู่นาน

    "หลวงพ่อโปรดช่วยพวกกระผมด้วย ผีปู่ตาก็บนบานศาลกล่าวแล้ว ก็ยังไม่ไป"
    นายฮ้อยช้างพูด

    "ไม่ใช่มันเหนื่อย มันโกรธหรือ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าถาม

    "ไม่ใช่มันโกรธมันเหนื่อยหรอก เลี้ยงก็เลี้ยงมาแล้ว"

    นายฮ้อยช้าง ตอบ

    "นั่นมันปล่อยแล้วนั่น ไปดูชิ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าบอกเมื่อพวกพ่อค้าช้างออกไปดู เห็นช้างกินใบไผ่เฉยอยู่ ต่างก็เชื่อแน่ว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ของครูบาอาจารย์เฒ่าอย่างแน่นอน จึงพากันมากราบขอขมาโทษครูบาอาจารย์เฒ่าที่ได้ล่วงเกิน แล้วได้พากันขี่ช้างมุ่งหน้าไปยังเวียงจันทน์ต่อไป
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ดับไฟแค้น

    [​IMG]

    พระครูอรัญญกิจโกศล (พุทธา พนฺธจิตโต) วัดป่าหนองยาว อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ฟังสืบทอดมาจากหลวงพ่อสาย จารุวณฺโณว่า

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ครูบาอาจารย์เฒ่าไปภาวนาอยู่ป่าแห่งหนึ่ง ไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ใด ด้วยอุบายที่แยบยลของครูบาอาจารย์เฒ่าทำให้คนกลับใจได้

    คือมีพ่อค้าขายของสิ่งต่างๆ เดินทางไปขายของกับคณะ เดือนสองเดือนจึงจะกลับครั้งหนึ่ง ได้ปล่อยให้เมียเฝ้าบ้าน พร้อมญาติพี่น้องสามีนั้น เมื่อขายของหมดแล้วจึงได้เดินทางกลับ เพื่อนำเงินทองที่ได้มาฝากเมียผู้เฝ้าบ้าน คอยรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ เพื่อบำรุงและบริหารการบ้านให้ไปได้ด้วยดี คอยสามีผู้กลับมาจากแดนไกล

    แต่ในระหว่างการไปครั้งนี้ ผู้เป็นสามีไม่เอะใจเลย ว่าจะเกิดลางร้ายขึ้นกับตัวเอง เมื่อกลับมาถึงบ้าน แทนที่จะได้รับการต้อนรับจากแม่ศรีภรรยาเหมือนทุกครั้ง แต่สิ่งที่ได้รับตอบครั้งนี้คือความแค้น เมื่อทราบข่าวว่าเมียรักได้ขนทรัพย์สินที่หามาได้ตามชายชู้ไป ด้วยความแค้นที่ถูกเหยียดหยาม จึงได้รวบรวมพรรคพวกพร้อมอาวุธครบมือเพื่อชำระหนี้แค้น ได้รอนแรมไปตามหมู่บ้านและสถานที่ต่างๆ ที่คิดว่าเมียและชายชู้จะไปอาศัยอยู่

    วันหนึ่งตอนบ่ายแก่ๆ เผอิญวันนั้น ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ปักกลดและเดินจงกรมอยู่ชายป่าที่พ่อค้าจะผ่าน กลุ่มชายพ่อค้าตามหาเมียและชายชู้ไม่พบ เมื่อเห็นครูบาอาจารย์เฒ่า จึงคิดว่าพระธุดงค์รูปนี้ท่านเดินธุดงค์ตามที่ต่างๆ ท่านคงจะเห็นคนเดินผ่านไปเป็นแน่

    ด้วยความที่มีจิตเลื่อมใสในพระเจ้าพระสงฆ์อยู่บ้าง จึงได้ซ่อนอาวุธไว้ก่อน แล้วปรับเครื่องแต่งตัวใหม่จากเสือร้ายกลายเป็นผู้ใฝ่ธรรม โดยนำผ้าขาวม้ามาพาดบ่า พร้อมกันไปกราบครูบาอาจารย์เฒ่าในขณะที่ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ ยังไม่ทันที่ชายเหล่านั้นจะได้ถาม ครูบาอาจารย์เฒ่าท่านก็พูดขึ้นก่อนว่า

    "ลูกเอ๋ย ตามที่พวกลูกจะไปทำอย่างนั้น มันเป็นบาปเป็นกรรมนะ ลูกเอ๋ย"

    ชายเหล่านั้นถึงกับอึ้งหน้าเปลี่ยนสีไปเลย เมื่อได้ยินครูบาอาจารย์เฒ่าพูดดังใจอย่างนั้น เมื่อท่านได้โอกาสจึงได้พูดต่อไปว่า

    "ปืนผาหน้าไม้ที่พวกลูกซ่อนไว้ ให้วางมันสา อย่าได้จับมันอีกเลย พ่อรู้หมด ที่พวกลูกมานี่เพื่อกิจอันใด ในใจของพวกลูกกำลังโหมด้วยไฟร้อน การแก้แค้นนั้น มันไม่ได้เป็นการแก้แค้นนะลูก แต่มันกลับเป็นการเพิ่มพูนบาปกรรมให้หลายขึ้น เมียของลูกที่หนีตามผู้ไปนั้น ในอดีตชาติที่แท้จริงเป็นคู่เวรคู่กรรมกันกับลูก หากว่าลูกตามเขามาได้ ก็จะได้นางผีร้ายกลับมา เขาทำกับลูกขนาดนี้ ลูกก็ยังเจ็บจนทนไม่ได้ แล้วจะนำเขามาทำไม ปล่อยเขาไปสา ลูกเอ๋ย พ่อว่า"

    ในขณะที่ครูบาอาจารย์เฒ่าได้พูดเตือนสติอยู่นั้น ชายพ่อค้าได้นั่งก้มหน้าพิจารณาตามคำพูดของท่าน

    เมื่อครูบาอาจารย์เฒ่าพูดจบ ชายพ่อค้านั้นถึงกับก้มกราบแทบเท้าครูบาอาจารย์เฒ่า ร้องไห้ออกมาด้วยความตื้นตันใจ ที่เกือบจะทำกรรมหนัก และเสียใจที่เมียบังอาจทำกันได้ขนาดนี้

    เมื่อสงบสติอารมณ์ได้แล้ว จึงเอ่ยปากขอบวชติดตามครูบาอาจารย์เฒ่าในเวลาต่อมา ส่วนเพื่อนที่ติดตามไปด้วย ได้ร่ำลาสั่งเสียกันแล้วเดินทางกลับบ้าน ส่วนลูกศิษย์ที่กลับใจได้ของครูบาอาจารย์เฒ่า ท่านได้ไปฝากกับพระอีกสำนักหนึ่ง แล้วท่านได้ธุดงค์ต่อไป ตามจริตเดิมที่ท่านเคยทำมา คือไม่ชอบให้ใครติดตามไปด้วย และไม่ชอบติดตามใครไป ถ้าไม่จำเป็น
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อุปสรรคของการภาวนา

    ครูบาอาจารย์เฒ่าได้เล่าประสบการณ์ในการภาวนาของท่าน ให้ลูกศิษย์ฟัง เพื่อเป็นอุบายสอนใจในการปฏิบัติ ด้วยว่าท่านได้เคยผ่านอุปสรรคแบบนี้มาก่อนแล้ว เช่น

    ครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านออกธุดงค์อยู่ที่ภูเขาลูกหนึ่ง ท่านได้ปักกลดและเดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน ได้เกิดนิมิตเห็นยักษ์ตนหนึ่งรูปร่างใหญ่โตเท่าภูเขา น่ากลัวมาก ได้กระโดดมาขวางทางเดินจงกรม ครูบาอาจารย์เฒ่าซึ่งมีสติพร้อมอยู่ จึงได้ระลึกถึงคำตรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

    "สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับ ถ้าไม่ดับถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งลวง"

    ด้วยปัญญาอันแยบคายของครูบาอาจารย์เฒ่า จึงได้ตะโกนอยู่คนเดียวในป่าว่า

    "ผีบ้าหน้าหมา มึงตั๋ว (โกหก) กู ยักษ์ผีบ้าหน้าหมา มึงตั๋วกู"

    พูดอยู่อย่างนั้น จนนิมิตนั้นได้เลือนหายไปอีกครั้งหนึ่ง

    ครูบาอาจารย์เฒ่าท่านธุดงค์พักปักกลดที่ภูเขาลูกหนึ่ง ขณะที่เดินจงกรมอยู่นั้นได้มีใบไผ่ร่วงลงมามากมาย หมุนรอบเหนือทางเดินจงกรม แล้วใบไผ่นั้นก็กลายเป็นปลาหลดหน้าน้อยลอยหมุนอยู่อย่างนั้น อากาศก็กลายเป็นน้ำ ด้วยประสบการณ์ที่ได้เกิดขึ้นหลายครั้ง จึงเปรียบเสมือนอาวุธในการฟันฝ่าอุปสรรคน้อยใหญ่ให้ท่านได้เป็นอย่างดี ท่านได้ร้องตะโกนขึ้นอยู่คนเดียวว่า

    "ใบไผ่ผีบ้าหน้าหมา โคตรพ่อโคตรแม่มึง มึงตั๋ว (โกหก) กู ใบไผ่กะเป็นใบไผ่ อากาศกะเป็นอากาศ มึงอย่ามาตั๋วกู สิ่งได๋เกิด สิ่งนั้นก็ดับ"

    ท่านบริกรรมอยู่อย่างนั้น จนนิมิตนั้นเลือนหายไป ใบไผ่ก็ปลิวเป็นใบไผ่ตามธรรมดา ไม่เห็นว่าจะหมุนเป็นปลาอะไร อากาศก็เป็นอากาศเช่นเดิม
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ต่อสู้กามราคะ

    การผ่านพ้นอุปสรรคแต่ละครั้ง ต้องใช้ความอดทนอดกลั้นเป็นอย่างมาก ในการประหัตประหารกับอุปสรรคนั้นๆ บางครั้งต้องเอาชีวิตเข้าแลก และนี่ก็เป็นอุปสรรคอีกอย่างหนึ่งของครูบาอาจารย์เฒ่า ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า

    ครั้งหนึ่งขณะเดินจงกรมอยู่ จิตเกิดฟุ้งซ่าน กามราคะเข้าครอบงำ ด้วยความที่การต่อสู้อุปสรรคแต่ละอย่าง ต้องห้าวหาญและเด็ดขาด อันเป็นคุณสมบัติประจำตัวองค์ท่าน ท่านคว้าขวานเก่าสนิมขึ้นเกรอะได้ ก็เดินตรงรี่ด้วยความฉุนเฉียวคล้ายจะไปฆ่าใครสักคน พอไปถึงขอนไม้ผุ ได้ใช้ขวานนั้นสับไปเต็มกำลัง พร้อมทั้งร้องทั้งด่าไปเหมือนกับระบายความโกรธว่า

    "โคตรพ่อ โคตรแม่มึง มึงสิไปสร้างโลก โลกาทางได๋ มึงรู้จักอยู่บ้อ มันทุกข์ โคตรพ่อ โคตรแม่มึง"

    ทั้งสับทั้งร้องตะโกน ทำอยู่อย่างนั้น จนตัวท่านเองหมดแรง ขอนไม้ก็ไม่ขาด เพราะขวานก็เก่าขึ้นสนิม แรงก็หมด ความกำหนัดจึงหายไป
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ครูบาอาจารย์เฒ่าหย่าศึก

    ครูบาอาจารย์เฒ่ามักจะสอนลูกศิษย์อยู่เสมอว่า การพูดคุย ถ้ามากเกินไป จะไม่เอื้อในการปฏิบัติ ยิ่งถ้าพูดโดยหยิบเอาธรรมะมาพูดคุยกัน ยิ่งจะเกิดอันตราย ถ้าผู้พูดคุยนั้นไม่มีความลึกซึ้งในข้อธรรมนั้นพอ ดังคำโบราณท่านว่า

    "สิบสิข่า ซาวสิข่า ให้เอาขยุง เอายางตี อย่าได้เอาคัมภีร์ ตีต่างแทนค้อน" (สิบ ยี่สิบ จะตีจะฆ่ากันให้เอาไม้พยูง ไม้ยางตี อย่าได้เอาตำราตีแทนค้อน หมายความว่า อย่าอ้างตำรามาพูดเพื่อแข่งดีแข่งชนะกัน)

    ในช่วงหนึ่ง ที่ท่านได้มีโอกาสเข้ากราบหลวงปู่มั่น บังเอิญว่า ในช่วงนั้นมีพระได้นั่งจับกลุ่มพูดคุยกัน ตามประสาพระยังใหม่ในพระธรรมวินัย เมื่อพูดไปถึงเรื่องพระธรรมวินัยเข้า เกิดขัดกันต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกัน เสียงเริ่มดังมากขึ้นเรื่อยๆ และได้มีพระรูปหนึ่ง ได้ไปหยิบหนังสือนวโกวาทมาให้ดูเป็นหลักฐาน เพื่อที่ตัวเองจะได้เป็นฝ่ายชนะ เพราะมีหลักฐานประกอบ

    แม้กระทั่งเรื่องก็ยังไม่ยุติ มีท่าทีว่าจะบานปลาย จากการพูดคุยกลายเป็นการโต้แย้ง จากการโต้แย้งกลายเป็นการโต้เถียง เมื่อทำท่าจะวางมวยกัน ครูบาอาจารย์เฒ่าไม่รู้ท่านมาจากไหน เดินตรงรี่เข้ามา พร้อมกับคว้าหนังสือทำท่าเหมือนเช็ดก้น แล้วโยนทิ้งต่อหน้าพระทั้งสอง พร้อมกับพูดว่า

    "ฮูขี้กูหนี่" (ตูดข้านี่)

    แล้วพูดให้คิดต่ออีกว่า

    "อย่าเฮ็ดคือครูบาจารย์ได๋ (อย่าทำเหมือนกับอาจารย์นะ) มันบาป"
    ทำให้พระทั้งสองนั้นเปลี่ยนจากจะวางมวยกัน มายืนดูครูบาอาจารย์เฒ่าท่านเอาหนังสือเช็ดก้น ผลสุดท้ายพระทั้งสองจึงได้สงบศึกลง
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หอมผู้บ่าว

    [​IMG]

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย วัดกันตศิลาวาส ตำบลฝั่งแดง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เล่าให้ศิษย์ฟังว่า

    คราวใดที่ครูบาอาจารย์เฒ่าไปกราบฟังธรรมหลวงปู่มั่น ท่ามกลางหมู่สงฆ์ หลวงปู่มั่นท่านชอบเอ่ยชื่อ และยกตัวอย่างครูบาอาจารย์เฒ่า ให้พระเณรฟังบ่อยๆ และมีบางครั้ง ท่านต้องได้รับคำสั่งให้ตรวจดูพฤติกรรมของพระเณร ที่นอกลู่นอกทางพระธรรมวินัย จึงเป็นเหตุให้เป็นที่จงเกลียดจงชังแก่พระเณรไม่น้อย บ่อยครั้งในท่ามกลางสงฆ์ ที่หลวงปู่มั่นได้มอบหมายงานต่างๆ ให้ท่าน
    เพราะครูบาอาจารย์เฒ่าเป็นคนที่ไม่เกรงกลัวใคร ไม่ว่าจะร้ายสักเท่าใด ท่านตรงไปตรงมาตามพระธรรมวินัยอย่างสม่ำเสมอ

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่มั่นมองมาทางครูบาอาจารย์เฒ่า พร้อมกับเรียกชื่อท่านว่า

    "ทองรัตน์"

    "โดย" (ขอรับกระผม) ครูบาอาจารย์เฒ่าประนมมือรับ

    "เดี๋ยวนี้ พระเณรเฮาบ่คือเก่าแล้วละ เครื่องใช้ไม้สอย สบู่ ผงซักฟอก อีหยังมันหอมเกินวิสัยสมณะที่จะใช้ บ่ฮู้จะแก้แนวได้แล้ว" (เดี๋ยวนี้พระเณรเราไม่เหมือนเดิม เครื่องใช้ต่างๆ เช่น สบู่ผงซักฟอก มันหอมผิดวิสัยที่สมณะจะใช้ ไม่รู้จะแก้ยังไงแล้ว)

    ต่อมาวันหนึ่ง ครูบาอาจารย์ทองรัตน์นั่งอยู่ภายในวัด มีกลุ่มพระภิกษุ ๒-๓ รูปเดินผ่านท่าน กลิ่นสบู่หอมจนติดจมูก เหมือนกับที่หลวงปู่มั่นพูดจริงๆ

    ครูบาอาจารย์เฒ่าร้องตะโกนด้วยเสียงอันดังว่า

    "โอ้ย หอมผู้บ่าวโว้ยๆ ๆ" (โอ๊ย หอมหนุ่มจังโว้ยๆ ๆ)

    ทำให้พระกลุ่มนั้นแหยงกลัวท่านมาก ไม่กล้าสู้หน้าอีกเลย

    พระครูกมลภาวนากร วัดภูหล่น อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ฟังสืบทอดจากหลวงพ่อกิ ท่านเล่าว่า

    ในเรื่องใช้สบู่ผงซักฟอก ครูบาอาจารย์ทองรัตน์ท่านเข้มงวดมาก โดยเฉพาะสบู่ ส่วนมากท่านจะไม่ใช้ ถ้าใช้ท่านจะให้ตัดแบ่งครึ่งก่อน และสบู่นั้นต้องไม่มีกลิ่นหอม เพราะท่านถือว่า ถ้าสบู่ที่ยังเป็นก้อนสมบูรณ์ทำให้จิตฟูด้วยกิเลสขึ้นมาได้
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผงเข้าตา

    ตามพระธรรมวินัยกำหนดไว้ว่า สิ่งที่อนุโลมไม่ต้องประเคนคือน้ำสะอาดบริสุทธิ์ ไม้เจีย (แปรงสีฟันทำด้วยไม้ข่อย ไม้คนทา ไม้ดีคนและไม้อื่นๆ ส่วนมากมีรสขม) ที่มีขนาดยาวไม่ต่ำกว่า ๔ นิ้ว และยาวไม่เกิน ๘ นิ้ว

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ทองดีซึ่งเป็นสหธรรมิกของครูบาอาจารย์ทองรัตน์ ซึ่งปกติท่านจะกระทำการต่างๆ ด้วยความรอบคอบเสมอ แต่วันนั้นไม่ทราบด้วยสาเหตุอะไรจึงได้พลาด คือเมื่อฉันภัตตาหารเสร็จ พระเณรได้อุปัฏฐากตามสมณกิจ โดยถวายน้ำบ้วนปากและไม้เจีย เผอิญว่าไม้เจียสั้นไป ขณะแปรงฟันอยู่นั้นไม้เจียได้หลุดมือ ร่วงไปติดที่ลำคอ ทำอย่างไรก็ไม่ออก ต้องทนทรมานอยู่นาน จนครูบาอาจารย์ทองรัตน์ได้มาเจอเข้า เห็นอาการก็ทราบว่ามีอะไรติดคอหลวงปู่ทองดีอยู่

    ครูบาอาจารย์เฒ่าเลยให้สติไปว่า

    "โอ้ย! ญาถ่านดีเหลือ แต่ปฏิบัติมาได้ตั้งหลวงตั้งหลาย ละลายเหล็ก ละลายขางได้เป็นหยังบ่เอามาใช้"

    หลวงปู่ทองดีจึงได้สติ ท่านนั่งกำหนดสติชั่วขณะ แล้วไม้เจียนั้นก็ได้มลายไปโดยไม่น่าเชื่อ
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มรรคผลไม่ได้อยู่ที่นิกาย

    จากหนังสือ สุจิณโณนุสรณ์ ของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าเรื่องญัตติกรรมว่า

    เมื่อหลวงปู่แหวนออกปฏิบัติใหม่ๆ เกิดความสงสัยไม่สบายใจในเรื่องนิกายทั้งสอง ซึ่งในช่วงที่หลวงปู่แหวนไปอบรมกรรมฐาน กับหลวงปู่มั่นนั้นมีพระสงฆ์มหานิกายหลายรูปด้วยกัน ที่ยังไม่ญัตติกรรมเป็นธรรมยุต เมื่อเกิดการเคลือบแคลงสงสัยอยู่ พลอยเป็นเหตุให้การปฏิบัติติดขัดไปด้วย

    วันหนึ่ง จึงเข้าไปกราบขอญัตติกับหลวงปู่มั่นหลายรูปด้วยกัน ผลปรากฏว่า บางรูปท่านไม่อนุญาต บางรูปท่านอนุญาต ส่วนหลวงปู่แหวนท่านได้รับอนุญาต ท่านให้เหตุผลที่ท่านไม่อนุญาตว่า

    "ถ้าพากันมาญัตติเป็นพระธรรมยุตหมดเสียแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะไม่มีใครแนะนำการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกายหรอก แต่มรรคผลนั้นอยู่กับการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรละเว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละทางดำเนินไปสู่มรรคผล-นิพพาน"

    บรรดาศิษย์ฝ่ายมหานิกาย ที่ท่านอนุญาตให้ญัตติกรรมใหม่ในเวลานั้นมีหลายรูป และรูปที่ท่านไม่อนุญาต ก็มีครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์รวมอยู่ด้วย
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นิกายเดียวกัน

    [​IMG]

    หลวงพ่อกิ ธมมุตตโม เล่าเรื่องเกี่ยวกับนิกายทั้งสองว่า ครั้งหนึ่งครูบาอาจารย์เฒ่าผ่านไปกราบหลวงปู่มั่น มีพระเณรนั่งวิพากษ์วิจารณ์กันถึงเรื่องนิกายทั้งสอง และได้พูดดูถูกพระนิกายอื่นที่ไม่เหมือนกับพวกตน และยังพูดลามไปถึงครูบาอาจารย์เฒ่าว่า พระหลวงตารูปนี้เป็นพระมหานิกาย ไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุตเหมือนกับพวกพระเณรเขา พอดีครูบาอาจารย์เฒ่าได้ยิน ท่านเดินเข้าไปหาแล้วหันหลัง ถลกสบงขึ้นจนเห็นก้น พร้อมกับกล่าวว่า

    "มาหยุดเข้าฮูขี้กูนี่" (มายึดเข้าตูดข้านี่) ทำให้พระเณรกลุ่มนั้นแตกกลุ่มไปคนละทิศละทาง เพราะเจอของจริงเข้าอย่างจัง

    เรื่องระหว่างธรรมยุตกับมหานิกาย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาหลังพุทธปรินิพพานนานแล้ว ทำให้ผู้ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ดีพอต้องไขว้เขวไปด้วย จนเกิดเรื่องเกิดราวกันมานับไม่ถ้วน ในสมัยครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ ก็มีเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ไม่น้อย

    เมื่อคราวที่ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ได้ศึกษาข้อวัตรกับหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่นเป็นเวลาพอสมควร จนครูบาอาจารย์เฒ่าท่านได้ลิ้มรสอมฤตธรรมแล้ว จึงเกิดเรื่องนี้ขึ้น เพราะในตอนแรกท่านได้ไปกราบขออธิบายธรรมจากหลวงปู่ใหญ่ทั้งสองเป็นเวลาสั้นๆ แต่ไม่ถึงกับทำสังฆกรรมร่วมกัน มีอยู่วันหนึ่งท่านได้ไปกราบหลวงปู่มั่นเมื่อใกล้วันอุโบสถ พระเณรในวัดเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ บางรูปก็ว่าครูบาอาจารย์เฒ่าไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุต ไม่น่าให้ร่วมสังฆกรรมด้วย บางรูปก็ว่าในเมื่อข้อวัตรปฏิบัติเหมือนกัน แถมยังเป็นลูกศิษย์พ่อแม่ครูบาอาจารย์เดียวกัน ควรที่จะให้ร่วมสังฆกรรมด้วย

    ก่อนถึงวันลงอุโบสถ หลวงปู่มั่นไม่รู้ท่านได้ยินมาจากใคร ว่าพระเณรกำลังกังวลในเรื่องนี้มาก กลัวว่าเมื่อร่วมสังฆกรรมแล้วจะไม่เกิดผลดีต่อคณะสงฆ์ทั้งสองฝ่าย เพราะเหตุเคลือบแคลงสงสัยในสังฆกรรมนั้น หลวงปู่มั่นจึงได้หาอุบายเพื่อให้พระเณรหายสงสัยหลวงปู่มั่นจึงถามครูบาอาจารย์เฒ่าในท่ามกลางสงฆ์ที่นั่งรวมกันฉันน้ำปานะว่า

    "ท่านทองรัตน์สงสัยในสังฆกรรมอยู่บ้อ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่ากราบเรียนพร้อมกับพนมมือ

    "โดย ข้าน้อยข้าน้อยบ่สงสัยหรอกข้าน้อย" (ขอรับกระผม กระผมไม่สงสัยหรอกขอรับ)

    "เออ บ่สงสัยกะดีแล้ว ให้มาลงอุโปนำกันเด้อ" (เออ ไม่สงสัยก็ดีแล้ว ให้มาลงอุโบสถร่วมกันนะ)

    หลวงปู่มั่นพูด ด้วยว่าครูบาอาจารย์เฒ่าก็ไม่อยากให้ครูบาอาจารย์ต้องลำบากใจ จึงพูดไปว่า

    "โดย ข้าน้อยบ่เป็นหยังดอก ข้าน้อย ข้าน้อยขอโอกาสไปลงทางหน้าพู้นดอกข้าน้อย"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าตอบพร้อมกับพนมมือรับ

    และต่อๆ มา เมื่อมีพระมหานิกายที่ไปกราบขอศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่น ที่ยังไม่ญัตติเป็นธรรมยุต หรือไม่ประสงค์จะญัตติกรรมใหม่ ท่านก็บอกให้ไปศึกษากับครูบาอาจารย์ทองรัตน์ตลอด และหากมีพระสงฆ์ที่ไปขอศึกษาประพฤติปฏิบัติกับหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่นที่ไม่ได้ญัตติ และจะไปขอญัตติใหม่ ท่านก็ไม่ญัตติให้ โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพากันมาญัตติหมด จะทำให้พระสงฆ์เกิดการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่ามากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งหลวงปู่เสาร์ - หลวงปู่มั่น ท่านพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะคืนนิกายทั้งสองนั้นให้เป็นอันเดียวกัน

    ครูบาอาจารย์ที่ไม่ญัตติเป็นธรรมยุตนิกาย ที่เป็นสหธรรมิก และเป็นลูกศิษย์ครูบาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล แม่ทัพธรรมนายกองใหญ่ฝ่ายมหานิกาย สายบูรพาจารย์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อาทิเช่น

    ๑. พระครูญาณโสภิต (หลวงปู่มี ญาณมุนี) วัดป่าสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
    ๒. หลวงปู่สีเทา บ้านแวง จังหวัดยโสธร
    ๓. หลวงปู่พรม บ้านโคกก่อง จังหวัดยโสธร
    ๔. หลวงพ่อบุญมาก ฐิตปญฺโญ วัดอำมาตย์ จำปาศักดิ์ ประเทศลาว
    ๕. หลวงปู่กินรี จนฺทิโย วัดกันตศิลาวาส อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    ๖. พระครูภาวนานุศาสตร์ (หลวงพ่อสาย จารุวณฺโณ) วัดป่าหนองยาว อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
    ๗. ท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
    ๘. หลวงพ่อพรม กุดน้ำเขียว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
    ๙. หลวงพ่อทา วัดถ้ำซับมืด อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
    ๑๐. หลวงพ่อปุ่น ฉนฺทโก วัดป่าฉันทาราม บ้านคำแดง จังหวัดยโสธร
    ๑๑. หลวงพ่อพร สจฺจวโร วัดบ้านแก่งยาง อำเภอบุณฑริก จังหวัด อุบลราชธานี
    ๑๒. หลวงพ่อกองแก้ว ธนปญฺโญ วัดป่าเทพบุรมย์ บ้านแก่งยาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
    ๑๓. หลวงพ่ออวน ปคฺคุโณ วัดจันทิยาวาส บ้านนามะเขือ อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เป็นต้น
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อุบายเพื่อให้ได้ฟังเทศน์

    หลวงพ่ออวน เล่าว่า

    ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ หามีแต่ได้รับหน้าที่ให้ควบคุมดูแลพระเณรที่ปฏิบัติร่วมกันในสำนักหลวงปู่เสาร์ –หลวงปู่มั่น ในช่วงที่ได้มีโอกาสอยู่ร่วมปฏิบัติกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งสองอย่างเดียวก็หาไม่ แต่การทำทุกอย่างก็เพื่อควบคุม หรือเตือนสติพระเณรผู้กำลังจะพลั้งเผลอต่อพระธรรมวินัย ซึ่งผลที่จะตามมาก็คือความเศร้าหมองของพระเณรเอง

    มีอยู่บ่อยครั้งที่พระเณรที่เข้าศึกษาปฏิบัติธรรมกับพ่อแม่ครูบา-อาจารย์ทั้งสอง แต่ละองค์แต่ละท่าน ต่างมีความประสงค์ที่จะได้รับรสพระธรรม เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่องค์ท่านก็ทรมานพระเณรเหล่านั้นโดยไม่อบรม ไม่เทศนา จนพระเณรทนไม่ไหว จึงไปกราบเรียนครูบาอาจารย์เฒ่า เล่าความประสงค์ให้ท่านฟังว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นสักที

    ครูบาอาจารย์เฒ่าจึงบอกว่า" </SPAN>อยากฟังอีหลีบ้อ" </SPAN>(อยากฟังจริงๆหรือ)

    เมื่อเห็นครูบาอาจารย์พูดอย่างนั้น พระเณรมองเห็นช่องทางที่จะได้ฟังเทศน์แล้ว พนมมือพูดเสริมเข้าไปอีกว่า

    "พวกขะน้อยมาปฏิบัติกับพ่อแม่ครูบาจารย์ตั้งนมนาน แต่บ่เห็นครูบาจารย์เพิ่นสอนอีหยังจนขะน้อยสิใจออกหนีเมื่อแหล่วไล้ ขะน้อย" (พวกกระผมปฏิบัติกับหลวงปู่มั่นตั้งนานนมแล้ว ยังไม่เห็นองค์ท่านเทศน์สอนอะไรเลย กระผมคิดจะเปลี่ยนใจลากลับแล้ว ขอรับกระผม)

    "บ่ยากตั๋ว เดี๋ยวมื่อแลงกะได้ฟังเทศน์เพิ่น" (ไม่ยากเดี๋ยวตอนเย็นก็ได้ฟังท่านเทศน์)

    ครูบาอาจารย์ทองรัตน์รับปาก หลังจากนั้นเมื่อถึงเวลาออกรับบิณฑบาต และบังเอิญวันนี้มีโยมเอาแตงกวาใส่บาตร เมื่อได้โอกาส ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ซึ่งเดินตามหลังหลวงปู่มั่น ก็ได้เดินล้วงเอาแตงกวาในบาตรนั้นออกมากัดเคี้ยวกินเฉย เมื่อหลวงปู่มั่นหันกลับมาดู ก็ปิดปากไว้ เมื่อท่านหันกลับก็เคี้ยวต่อ ผลปรากฏว่า ตอนเย็นได้เรื่อง เพราะหลวงปู่มั่นท่านได้เทศน์ให้พระเณรฟัง สมความปรารถนา

    มีอีกคราวหนึ่งที่เล่าสืบทอดกันมาว่า

    มีเหตุการณ์ที่พระเณรอยากฟังเทศน์เหมือนกัน แต่คนละกลุ่ม คนละเวลากัน ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ท่านก็ได้เอื้อเฟื้อต่อพระเณรที่ต้องการฟังเทศน์หลวงปู่มั่น คือตอนกลางวันได้ไปต่อยมวยชกลมใต้ถุนกุฏิหลวงปู่มั่น จนแน่ใจว่า หลวงปู่มั่นท่านได้ยินว่ามีพระเณรไปต่อยมวยใต้ถุนกุฏิท่าน ตกตอนเย็นมาก็ได้ผลตามคาดหมาย เมื่อหลวงปู่มั่นท่านมาเทศน์ให้พระเณรฟังอย่างเต็มอิ่ม ทำให้พระเณรเห็นความสำคัญยกย่องครูบา-อาจารย์เฒ่าทองรัตน์ ว่ามีความกล้าหาญเป็นเลิศ เพราะไม่มีใครกล้าทำในสิ่งดังกล่าว และยิ่งกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ด้วยแล้ว พระเณรต่างไม่กล้าใหญ่ เพราะมีความเคารพยำเกรงต่อครูบาอาจารย์มาก
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    "เฮ้ย บ่างใหญ่มาแล้วโว้ย"

    เรื่องของการปฏิบัติกรรมฐานนี้ ทุกคนมีโอกาสสัมผัสผลจากการปฏิบัติกันทุกคน แต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป บางคนถ้าสติไม่เท่าทันกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น อาจต้องยอมแพ้อุปสรรคนั้นได้ หรือบางคนอาจจะไปติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ละอย่างจะเป็นสิ่งขวางกั้นหรือเป็นสิ่งฉุดรั้งให้การเดินทางเนิ่นช้าลง บางท่านถ้ารู้วิธีแก้ก็สามารถเดินทางต่อไปได้ถึงที่หมายเร็ว บางท่านต้องใช้เวลานานหลายปีก็มี ฉะนั้นจึงจำเป็นที่นักปฏิบัติใหม่ๆ ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นผู้ชี้ทางให้ นี่ก็เป็นอุปสรรคอันหนึ่ง ที่หลวงปู่กินรีเล่าให้ฟังว่า

    ในคืนวันหนึ่ง มีพระชรารูปหนึ่งได้นั่งสมาธิภาวนาอยู่จนจิตใจสงบ ปรากฏว่าตัวท่านเป็นร่างใหญ่ (กระรอกบิน) บินไปมาในสวนมะพร้าวแห่งหนึ่ง เกิดปีติขึ้นในจิตในใจว่า การปฏิบัติของตนเองได้คืบหน้าไปมาก จนสว่างไปบิณฑบาต
    อาการนั้นก็ยังเป็นอยู่จนไม่อยากพูดกับใคร พอบิณฑบาตมาถึงวัดด้วยอาการปกติอยู่นั่นเอง ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ร้องตะโกนใส่ด้วยเสียงอันดังว่า

    "เฮ้ยๆ บ่างใหญ่มาแล้วโว้ยๆ ๆ"

    พระชรารูปนั้นเลยได้สติกลับมา จึงรู้ว่าตนเองถูกนิมิตหลอกเอา

    มีอีกครั้งหนึ่ง หลวงพ่อกิ ธมฺมุตฺตโม เล่าให้ฟังว่า

    ช่วงในพรรษาไม่แน่ใจว่าในปีใด ครูบาอาจารย์เฒ่าได้จำพรรษากับหลวงปู่เสาร์ และพระเณรจำนวนหนึ่ง พระเณรทุกรูปต่างตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติทำความเพียร ไม่มีใครจะพูดกับใคร

    จนในวันหนึ่งมีพระรูปหนึ่งปฏิบัติจนหลงว่าตนเองเหาะได้ ในขณะที่เอะอะโวยวายอยู่นั้น หลวงปู่เสาร์ได้บอกครูบาอาจารย์เฒ่าว่า

    "เอาแมะ ทองรัตน์ เอาแมะ"

    ครูบาอาจารย์เฒ่าลุกขึ้นได้ อัดกำปั้นใส่กกหูพระองค์นั้นเต็มแรง พระองค์นั้นเซถลาไปตามแรงกำปั้นล้มลงกับพื้น จึงค่อยสร่างและได้สติกลับมา
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช่วยได้แค่ให้สติ

    ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ ย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจเป็นธรรมดา ลูกศิษย์รูปหนึ่งของครูบาอาจารย์เฒ่าเล่าว่า

    ท่านได้มีโอกาสออกธุดงค์ ร่วมกับครูบาอาจารย์เฒ่าพร้อมพระเณรจำนวนหนึ่ง ในขณะที่ได้ธุดงค์ผ่านทุ่งนาแห่งหนึ่ง ที่กระท่อมได้มีคนร่วมกันจัดงานบางอย่าง และในขณะที่กำลังจะเดินผ่านกระท่อมหลังนั้น ได้มีหญิงวัยกลางคนคนหนึ่ง ร้องห่มร้องไห้ฟูมฟายปริ่มว่าใจจะขาด วิ่งตรงมาที่กลุ่มพระกรรมฐานนั้น ได้กราบนิมนต์ท่านให้ไปที่กระท่อม แล้วอ้อนวอนครูบาอาจารย์เฒ่าทั้งน้ำตา ให้ช่วยลูกที่เพิ่งตายไปไม่นานให้กลับฟื้นมีชีวิตใหม่ด้วย

    ครูบาอาจารย์เฒ่าได้พูดด้วยเสียงอันดังเหมือนกับได้โกรธกันมาก่อนว่า

    "ให้มันตายเหมิดโคตร เหมิดแนว เหมิดพ่อ เหมิดแม่มันพู่น" (ให้มันตายหมดทั้งตระกูลมันเลย)

    หญิงคนนั้นได้หยุดร้องไห้และมองตาขวางใส่ครูบาอาจารย์เฒ่า เหมือนกับโกรธครูบาอาจารย์เฒ่ามาเป็นร้อยปี เมื่อครูบาอาจารย์เฒ่าท่านได้โอกาส จึงเทศน์พรรณนาถึงความทุกข์ต่างๆ เพื่อให้หญิงคนนั้นคลายความโศกเศร้า จนในที่สุดหญิงคนนั้นได้คลายจากอาการสะอื้น และนั่งฟังเทศน์ด้วยอาการสงบ มองดูสีหน้าเหมือนกับคนไม่เคยร้องไห้มาก่อน ครูบาอาจารย์เฒ่าจึงได้พาพระเณรเดินทางต่อไป
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ควายป่ายังขยาด

    [​IMG]เมื่อครั้งที่ญาติโยมจะทำพิธีถวายศาลาโรงธรรมที่บ้านสามผง ในงานครั้งนี้ได้นิมนต์ครูบาอาจารย์มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญ คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจนฺโท)
    ท่านก็ได้รับกิจนิมนต์ไปเป็นประธานด้วย หลวงปู่มั่นจึงได้พาครูบาอาจารย์เฒ่าพร้อมพระเณร ๔-๕ รูป เพื่อไปรับท่านเจ้าคุณที่ท่ารถ เพราะสมัยนั้นรถหายาก และเข้าไม่ถึง

    ในระหว่างคณะได้เดินทางกลับ พระเณรที่ไปด้วยกันทุกรูปต่างตกใจ ยืนทำอะไรไม่ถูก เพราะข้างหน้ามีควายป่าตัวเขื่อง ยืนจังก้าขวางทางอยู่ ทันใดนั้น ครูบาอาจารย์เฒ่าได้ขอโอกาสเดินนำขบวนตรงรี่ไปที่ควายตัวนั้น พร้อมยกขาอันแข็งแกร่งและว่องไว ถีบเข้าที่ชายโครงควายตัวนั้นอย่างแรง เสียงดังตึบ ควายป่าตัวนั้นตกใจ วิ่งนำหน้าควายป่าตัวอื่นที่กำลังกินโป่งอยู่แตกกระเจิงไปคนละทิศละทาง

    แต่ก่อนสถานที่แห่งนี้เป็นดินโป่งที่สัตว์ป่าชอบลงมากินเป็นประจำ และมีบึงอยู่หลายบึงด้วยกัน บางช่วงเป็นป่ารกทึบ ครูบาอาจารย์มาพักวิเวกแถวนี้เป็นจำนวนมาก

    ตามคำบอกเล่าว่า ที่เรียกว่าสามผง เพราะวันหนึ่งมีนายพรานออกล่าสัตว์ที่โป่งนี้ ได้ยิงกวางตัวหนึ่งจนบาดเจ็บ วิ่งไปไม่ไกลก็ล้มลง ทุกคนที่วิ่งตามกวาง คิดว่ากวางตัวนั้นคงหมดแรงและมั่นใจแล้ว เลยชะล่าใจ พอเดินเข้าไปใกล้ กวางตัวนั้นได้ลุกขึ้นแล้วกระโดดสามครั้ง ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจายไปทั่ว ทุกคนออกหาอย่างไรก็ไม่พบ คิดว่ากวางตัวนั้นคงมีอิทธิฤทธิ์ ต่อมาได้มีการสร้างกระต๊อบขึ้น ๒-๓ หลังใกล้โป่งนั้นเพื่อพักแรมในคราวไปล่าสัตว์ ต่อมาได้ขยายใหญ่จนเป็นบ้านเป็นเมือง จึงเอานิมิตหมายครั้งนั้นมาเป็นชื่อบ้าน เรียกว่า "บ้านสามผง"
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เคารพในสิ่งที่ควรเคารพ

    พระครูกมลภาวนากรได้ฟังสืบทอดมาจากหลวงพ่อกิท่านเล่าให้ฟังว่า

    ในคราวหนึ่ง ครูบาอาจารย์เฒ่าได้มีโอกาสออกเดินธุดงค์ กับหลวงปู่มั่นและพระเณรที่ภูเขาแห่งหนึ่ง ทุกรูปต้องปีนเขาเพื่อข้ามไปอีกที่หนึ่ง พระเณรขอโอกาสที่จะสะพายบาตรบริขารของหลวงปู่มั่นแต่หลวงปู่ท่านไม่ให้โอกาส

    เมื่อขึ้นเขาที่สูงชันมากได้ประมาณครึ่งทาง เผอิญบาตรของหลวงปู่มั่นได้หลุดจากบ่าองค์ท่าน และกลิ้งลงตามเขา ผ่านหน้าพระเณร ๒-๓ รูป ทุกรูปก็เฉย เพราะเคารพในครูบาอาจารย์มาก แม้แต่บริขารของใช้ของครูบาอาจารย์ ก็ไม่กล้าแตะต้องถ้าไม่จำเป็น แล้วในขณะนั้น ถ้าจะเอามือจับก็ไม่ทัน แต่ถ้าจะเอาเท้าเหยียบก็ไม่กล้า อีกทั้งกลัวกลิ้งลงเขาเหมือนบาตร เลยปล่อยให้บาตรหลวงปู่มั่นกลิ้งลงตามความสูงชันของภูเขา

    พอบาตรกลิ้งไปถึงครูบาอาจารย์เฒ่า ท่านรีบใช้เท้าเหยียบสายถลกบาตรของหลวงปู่มั่นไว้ได้โดยไม่รั้งรอ

    หลวงปู่มั่นจึงพูดขึ้นว่า

    "เออ บ่มีผู้ใด๋สิคิดส่อยครูบาจารย์หรอก ทองรัตน์" (เออ ไม่มีใครคิดช่วยอาจารย์หรอก ทองรัตน์)
     

แชร์หน้านี้

Loading...