ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เหมือนกัน- ต่างกัน
    จิตที่ฝึกหัดดีแล้ว
    ย่อมเข้มแข็งมีอำนาจ
    อะไรเป็นเครื่องฝึกหัด
    สมถะ
    วิปัสสนา
    คำว่า “ฝึกหัด” คือ
    ให้จิตอยู่ด้วยอุบายธรรม
    อิทธิฤทธิ์วิชชาใด ๆ เกิด
    นิมิตปิติสุขใด ๆ ก็ตามเหล่านี้
    มิใช่เครื่องฝึกฝนจิต
    มิใช่อุบายในการฝึกหัดดัดจิตใจ
    แต่..เป็นทางที่ต้องผ่าน และ
    มิใช่ผ่านกันทุกคน เพราะ
    แต่ละคนสั่งสมมาต่างกันแต่ ถือ
    เฉพาะการฝึกหัดนี้ที่เหมือนกัน.
    .......................................................................

    อย่าทิ้งฐานของธรรม
    การปฏิบัติจิตภาวนานั้น
    อย่าทิ้งกายกับจิต ให้รู้อยู่เสมอ
    อันนี้กาย กายอาการอย่างนี้
    อันนี้ใจ ใจอาการอย่างนี้
    ส่วน อุคฺคหนิมิต
    ปฏิภาคนิมิต
    เป็นของเฉพาะแต่ผู้มีนิสัยวาสนามาในทางการพิจารนาเท่านั้น
    แต่กว่าจะรู้ได้ในบาทฐานของจิต
    รู้ได้ในบาทฐานของกาย
    ก็แสนยากแสนลำบาก.
    ............................................................................

    ให้น้อยเข้าไว้ก่อน
    การหลับนอนแค่ให้ร่างกายได้พักผ่อน
    นอนแค่ให้ร่างกายได้
    พักผ่อนก็พอ
    นอนเพราะร่างกายต้องการกับ นอนเพราะใจอยากนอน
    อะไรเป็นคุณอะไรเป็นโทษ
    เรานักบวชต้องนอนให้พอดี
    อย่าเมาหลับเมานอน
    นอนให้น้อยเอาไว้
    แล้วจะนอนพอดีเอง
    กินให้น้อยเอาไว้
    แล้วจะกินพอดีเอง
    อย่าเมากิน เมานอน.
    ................................................................................​
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รู้ภายใน
    สติกับปัญญา ไม่ทันกันแล้วทำให้แก้ไขจิตภายในของตนได้ลำบาก
    เมื่อสติกับปัญญา ระลึกรู้ทันกันได้แล้ว
    จะพิจารณากาย
    จะพิจารณาในใจ
    ก็เป็นธรรมส่อแสดง
    เป็นความรู้ภายในของตนได้
    เห็นได้ในภายใน
    รู้ได้ในภายใน
    นี่ล่ะครูบาอาจารย์เพิ่น(ท่าน)
    ก็สอนมาอย่างนี้ตลอดมา
    ให้… เรียนในกาย - เรียนในจิต
    ทำให้มากให้เห็นจริงให้รู้จริง

    แต่.. จะรู้ได้หรือไม่ก็ให้พากเพียร
    ตั้งใจ - อดทน.
    .....................................................................................

    สมบัติของใจ
    ในโลกนี้ใครเล่าจะอบรมตนได้
    ตนเท่านั้นที่จะอบรมตนได้ดีเท่ากับตน
    ดีหรือชั่ว โง่หรือฉลาด
    ก็ล้วนแต่เป็นตนของตน
    ทุกอย่างขึ้นอยู่กับตน
    ตนเป็นฝึกจิต
    จึงทำตนให้เป็นสมบัติของตน
    ตนของตนนี้เอง
    ที่เป็นสมบัติของตน
    การเจริญภาวนาก็เพื่อรักษาตน
    รักษาสมบัติของตน
    สมบัติของตน คืออะไร
    ก็ใจที่มีธรรมนั้นเอง.
    .....................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( ตอนที่ 4 )

    ศีลประเภท
    ศีลขององค์พุทธะ มีทั้ง
    อย่างหยาบ
    อย่างกลาง
    อย่างละเอียด
    นั่นคือ..
    พร้อมด้วยจิต-พร้อมด้วยเจตสิก
    พร้อมด้วยเจตนา-พร้อมด้วยกรรมบท
    ที่แจ้งไม่ผิด
    ที่ลับไม่ด่างพร้อย
    สว่างทั้งภายนอก
    สว่างทั้งภายใน
    อาการอย่างนี้แหละ...
    จิตจึงจะปรกติ
    จิตจึงจะบริสุทธิ์.
    ......................................................................

    ภายในจิต
    ได้บวชมาแล้วชื่อเราว่า
    “พระธุดงค์กรรมฐาน”
    ทำอย่างไดจึงจะเอาตัวให้พ้นจากกิเลสบาปกรรม ตลอดจนความชั่วใด ๆ
    การทำความสงบใจ-ใจได้พักผ่อน
    องค์ฌาน คือ..
    องค์ของความสงบเป็นที่พัก เรียกว่า
    จิตพักในฌาน เอาฌานเป็นอารมณ์
    พักจนพอของมัน มันก็ถอยออกมา
    ถอยมาด้วยกำลังพละอันละเอียด
    พักจิตแล้วเดินจิต
    เดินด้วยอุบายของวิปัสสนา
    “วิปัสสนา” เกิดได้ จิตต้องบริสุทธิ์โดยแท้ต่อไปก็ดับจิตคือดับความชั่วใดๆ
    ในจิตในภายในจิต.

    ........................................................................................

    รู้เฉพาะในปัจจุบัน
    ทุกวันต้องทำจิตให้เสมอ
    อย่าหลงอารมณ์
    อารมณ์ดีมี-อารมณ์ร้ายมี
    ทำอย่างใด
    จึงจะรู้เฉพาะปกติของจิต
    จึงว่า...จิตที่เป็นฐานของธรรม
    ต้อง รู้เฉพาะในปัจจุบัน
    ผู้รู้ทันกายวาจาจิตของตนแล้ว
    จึงไม่อยากสึกหาลาเพศ
    เพราะ รู้โทษ เห็นโทษ
    รู้ทุกข์ เห็นทุกข์
    ตั้งใจแต่การปฏิบัติตนตลอดไป
    นี่เป็นอย่างนี้.
    ..................................................................................
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อย่าหลงอย่าเมาจนเกินไป
    ผู้มีราคะ ก็เสียใจเพราะราคะ
    ผู้มีโทสะ ก็ทุกข์ใจเพราะโทสะ
    ผู้มีโลภ ก็มัวเมาใจเพราะโลภ
    ผู้มีชั่ว ก็โศกเศร้าเพราะชั่ว
    ผู้มีกายก็เมากาย
    หลงตัว ลืม ตาย
    หลงกาย ลืม แก่
    หลงกาม ลืม พ่อแม่
    หลงแท้แท้ คือ หลงตัวเอง
    หลงจนไม่รู้ ราคะอย่างใดไม่รู้
    โทสะอย่างใดไม่รู้
    โลภะอย่างใดไม่รู้
    ชั่วอย่างใดไม่รู้
    อย่าหลงอย่าเมาจนเกินไป.
    ............................................................................

    ปรามเพื่อยั้งสติ
    ถามเอา! ถามเอา! ถามได้ทุกวัน ตุ๊ต๋นนี้!
    คิดพิจารนาคิดอ่านเองบ้างสิ
    อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ๓ อย่างนี้
    จะไม่ตรงกับ ทุกฺขํ อริยสจฺจํ
    สมุทัย นิโรธ และมรรคได้อย่างไร
    ไตรลักษณ์ ก็จากขันธ์ ๕
    อริยสจฺจํ ก็จากขันธ์ ๕
    วันใดก็มาถามไม่พิจารณาดู
    จะรู้จะเข้าใจได้อย่างใด
    ก็ปัญญาของตัวเองไม่พอ
    รอให้ปัญญาของตัวเองพอเสียก่อน
    การทำความเข้าใจมันจึงจะง่าย.
    ............................................................................
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยากที่สุด
    ผู้รู้จักตนย่อมได้พึ่งแก่ตน
    ศรัทธา หิริ โอตฺตปฺป
    ศึกษาทรงจำ
    - วิริยะ
    - สติ
    - ปัญญา
    เหล่านี้เป็นธรรมของตน
    ที่จะทำกายวาจาใจให้เรียบร้อยดีงาม
    จนเป็นที่พึ่งแก่ตนได้
    อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ
    เป็นของยากที่สุด
    แต่ได้แล้วถึงแล้วก็ประเสริฐที่สุด
    โต๋(เธอ)เป็นตุ๊(พระ)หนุ่มอย่าอยู่
    ทิ้งวันทิ้งคืนเสียโดยเปล่า
    ตั้งใจให้ดีเถ๊อะ.
    .....................................................................................

    เทวทูต ๔

    -ชรา -พยาธิ -มรณะ -ชาติ
    สิ่งเหล่านี้มีอยู่ในโลกและเป็น
    มรรคทางออกจากโลก
    พระโพธิสัตว์ออกบวชเพราะเทวทูต
    แต่ตอนนั้นเป็นเทวทูตภายนอก
    ตัวเราก็มีกันทุกคนเสมอกัน
    รอท่าวันตาย พิจารณาเกิดแก่เจ็บตาย
    เมื่อเห็นภายนอกแล้วน้อมเข้าหาภายในอย่างนิสัยอุปนิสัยของพระโพธิสัตว์เจ้า
    เราจะเห็นได้ไหมจะรู้ได้ไหมว่ามัน
    มีอาการอย่างใดแสดงกิริยาอย่างใด
    ชาติ ใครเกิด
    พยาธิ ใครเจ็บ
    มรณะ ใครตาย
    ชรา ใครแก่เฒ่า.
    .....................................................................................
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แลกเปลี่ยน

    ศีล สมาธิ ปัญญา
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ
    ต้องสร้างบารมี ๑๐ อย่างแลกเปลี่ยนเอา
    ตนของตนจึงจะได้มา
    นรกตกแล้วกลับมา
    สวรรค์ขึ้นไปแล้วกลับมา
    พรหมโลกไปแล้วกลับมา
    คำว่า “กลับมา” คือมาเป็นมนุษย์
    มนุษย์เป็นผู้สร้างสั่งสม
    กว่าจะได้นิพพาน
    นิพพานเป็นของมีราคาที่สุด
    วัตถุทั้งหมดในโลก
    โลกโลกีย์นี้ทั้งหมด
    ต้องทำให้เป็นบารมีเพื่อแลกกับพระนิพพาน.
    อย่าเป็นกังวล
    นักบวช นักปฏิบัติ
    ต้องถือตามมีตามได้
    หันเข้าหาความพอดี
    อย่าให้เป็นกังวลเป็นภาระทุกข์
    ปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีวิตนั้น
    ได้อย่างใดก็ใช้อย่างนั้น
    ปฏิบัติได้แล้วเป็นแล้ว
    หรือว่ายังไม่เป็นยังไม่ได้
    ก็อย่าดีใจอย่าเสียใจ เด็ดเดี่ยว
    เพราะ เราบวชตัวคนเดียว
    หากวุ่นวายไปนอกก็เป็นแต่ทุกข์
    ต้องย้อนพิจารณาในตนของตน
    ธรรมะเป็นของลึกลับ ก็เฉพาะตัวเรา
    แต่ก็พูดได้ในผู้ปฏิบัติได้
    เพราะ ปฏิบัติเหมือนกัน.
    .....................................................................
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ไม่แตกต่างกันเลย

    หนทางที่จะพาให้พ้นทุกข์นั้น
    ไม่แตกต่างกันเลย
    เฉพาะผู้ที่พ้นทุกข์ไปแล้ว
    แต่...
    ในหมู่พวกเราปุถุชนย่อมแตกต่าง
    อันเดียวกันนี้แหละแต่มันต่างกัน
    เพราะ...
    ดำเนินปฏิปทาไปไม่เหมือนกัน
    ส่วนภูมิที่จิตผ่านไปแล้วนั้น
    โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
    อันนี้ภูมิต่างกัน
    สาวกภูมิ ปัจเจกภูมิ พุทธภูมิ
    อันนี้ภูมิต่างกันแต่...
    มรรค และ วิมุตติ ไม่แตกต่างกันเลย ใน อริยชน ผู้หลุดพ้นไป.
    ..............................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( ตอนที่ 5 )

    ต้นทาง
    ใจมันคือธาตุขันธ์ก็วนเวียนเกิดตาย
    ใจมันคือทุกข์ก็เป็นทุกข์
    ใจถืออะไรก็เป็นอย่างนั้น
    ใจถือสมถะ
    ใจถือวิปัสสนาก็ได้มรรค
    แต่ยังไม่ได้ผล
    “ผล” จะสมบูรณ์ได้
    เมื่อสมถะพอเต็มที่
    วิปัสสนาพอเต็มที่
    เมื่อเต็มที่แล้ว
    ก็สมบูรณ์บริบูรณ์
    รูปก็ธรรมนามก็ธรรม เป็นธรรม
    ปฏิบัติตรงต่อนิพพาน ต้อง
    ถือต้นทางให้ถูกต้อง
    รู้การยึดการถือในใจนี้ก่อน.
    ...........................................................................

    เครื่องติดธุลี

    สัญญาเป็นยางเป็นตัง
    เป็นเครื่องผลักใสจิต
    ให้ติดอยู่กับรักกับชัง
    ให้หมายในดีบ้างในชั่วบ้าง
    หากติดสัญญาก็ลืมจิต
    หากเชื่อสัญญาก็วนไปวนมาเกิดตาย
    แก้สัญญาก็ต้องแก้ด้วย อนิจฺจํ
    จำก็เรื่องของจำ
    รู้หมายก็เรื่องของรู้หมาย
    อย่าต่อทอดให้ถึงสังขาร
    สัญญานี้เองไม่ใช่หรือ
    ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต
    จิตหลงสัญญา คือ จิตหลงจิต
    หลงรู้หลงจำ
    หลงรักหลงชัง.
    ........................................................................
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จำกัดความอยาก

    น้อยหนุ่มบวชเข้ามาใหม่
    ค่อยทำ ค่อยไป ค่อย ๆ ศึกษาไป
    อย่าใจร้อน อยากรู้อยากได้
    ติเตือนตนเองอยู่เสมอว่า
    “จะตั้งใจไว้ในกุศลธรรม
    พึ่งตนเองก่อน
    ช่วยตนเองก่อน
    ฝึกตนเองก่อน”
    ความอยากน้อยใหญ่ใด ๆ ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้
    เพราะความบริสุทธิ์จากกิเลสใด ๆ นั้น
    ดับทุกข์ได้จริงจงตั้งใจ.
    ...........................................................................

    ความทุกข์ใจ

    บวชเข้ามาแต่อายุ ๒๙ ปี
    ทุกข์ยากลำบากใจที่สุด
    นั่นคือ อยากได้ธรรมะ
    อยากพ้นทุกข์
    ทีนี้ก็เป็นตายกับตัวเจ้าของ
    หลายปีหลายพรรษาที่ศึกษา
    กับครูบาอาจารย์เพิ่น
    แล้วขบคิดพิจารณากับตัวเอง
    โอ!...กูนี่พลาดท่าเสียแล้ว
    มันอยากมากไป อยากได้เกินไป
    จึงผ่อนใจลงมาให้เป็นกลาง
    ให้อยากนี้เป็นแต่คุณ ไม่ให้อยากนี้
    เป็นโทษก่อทุกข์แก่เจ้าของ
    จึงพอได้ความบ้างทีนี้.
    ...........................................................................
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เหล่านี้เป็นอุบาย
    น้อยหนุ่มบวชใหม่มีกำลังวังชา
    อย่าถอยความเพียร
    อย่าขี้คร้าน
    อย่าให้มันเคยตัว
    เดี๋ยวมันจะได้ใจ
    ราคะกำหนัดมันแรงก็ตั้งจิตตั้งธาตุ
    ให้รู้เห็นเป็นไปด้วยกันก็แก้ไขได้
    ขี้คร้านเมาหลับเมานอนก็มีกันอยู่
    ทุก ๆ คน แต่ดัดมันได้
    รักษามันได้
    การแก้ใจนี้มันต้องใช้ปัจจุบันขณะ
    อย่าหย่อนโอกาสทิ้งไป
    - อสุภะ - ปฏิกูล
    - กสิณ - เนสัชชิก
    ต้องทำเพราะเหล่านี้เป็นอุบาย.
    ...............................................................................

    การแก้อาบัติ
    การปลงอาบัติอย่าปลงแต่วาจาคำพูด
    ต้องปลงที่ใจ
    เรียกว่า แก้โทษ
    แก้บาป
    ต้องแก้ที่ใจ แก้ในปัจจุบันจิต
    กายวาจามันเป็นอาบัติ แต่
    จิตมันเป็นวิบัติ
    นี่จึงว่าต้องแก้ที่ใจ
    แก้บาปแก้โทษต้องแก้ที่ใจ
    ฉะนั้น...
    อาบัติเล็กน้อยก็อย่าทำให้มันเคยตัว
    ไฟแม้เล็กน้อยก็ลุกลามใหญ่โต
    ไหม้บ้านไหม้เมืองไปได้
    อย่าให้ผิดง่าย ๆ
    เดี๋ยวมันจะไม่กลัวบาป.
    ..................................................................................
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แผ่นดินผี
    แผ่นดินโลกอันนี้ เป็นขี้ฝุ่นผีทั้งหมด
    จะไปกลัวอะไรกับผีสางมลางป่า
    ตัวเรานี้ก็ “ผีดิบ” กินอะไรเข้าไปย่อยยับหมด สัตว์กี่เท้า...ไม่มีเท้า ก็กินเรียบทั้งตัวทั้งไข่ พิจารณาให้มันรู้จริง
    จิตมันไม่ลงในฐานของความจริง
    มันต้องโกหกหลอกลวงตนเอง
    อยู่เป็นนิจ
    กลัวย้านกระสับกระส่ายฟุ้งซ่าน
    อยู่ป่าคนเดียวก็ปรุงไปต่าง ๆ
    อย่างนั้นอย่างนี้
    ไม่ใช่เด็กน้อยหน๋า เด็กน้อยนั้นผู้ใหญ่จะได้หลอกมุสาให้กลัวผี
    ตัวผีดิบกลับไม่กลัว ไม่ย้าน
    คิดดูให้ดี ยืนอยู่ นั่งอยู่
    นอนอยู่ ไปมาอยู่นี้
    ก็เป็นแผ่นดินผี ทั้งนั้น!!!
    .............................................................................................

    ชำแรกทุกข์

    ต้องให้มันทุกข์เสียจนพอที่มันเสียก่อน
    ทุกข์มันเกิดแต่ชรา พยาธิ มรณะ
    ก็ต้องให้มัน เกิด แก่ เจ็บตาย
    ให้มันอิ่มเสียก่อน แล้วเกิดที่ใดจึงดับที่นั้น ทุกข์มาจากที่ใดก็ดับทุกข์ในที่นั้นเหมือนกับผ่าฟืน ตีลิ่มเล็กลงไปก่อน แล้วเอาลิ่มใหญ่ตอกลงไป
    ลิ่มเก่าถอน เอาลิ่มใหม่ตอกลงไป
    กิเลสหยาบออกไป
    ถือเอาความสะอาดเข้าแทนที่
    ของดีมันอยู่ในของบูดเน่า
    อยากพ้นทุกข์ก็ให้มันทุกข์ให้พอ
    อวิชชา ออก วิชชา แทนที่
    อวิชชามันไม่มีที่อยู่.
    มันก็อยู่ไม่ได้เท่านั้นเอง
    การขัดเกลาตนของตนมิใช่
    การทรมานหรือการข่มเหงธาตุขันธ์.
    ................................................................................................
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ต่อสู้กับของเก่า
    ไม่มีต้น ไม่มีปลาย
    ไม่มีฝั่ง ไม่มีแดน
    มันโลกีย์ของสัตว์โลกอันนี้
    ตื่นเต้นยินดีอยู่กับแต่ของเก่า
    มีแต่มรรคเท่านั้นเป็นเครื่องถอน
    สติปัญญาเป็นลิ่มเป็นสลัก
    อิทธิบาทธรรมเป็นแรงกระหนํ่าตี
    ต้องอย่านิ่งกับตบะแผดเผาบาป
    ผู้ข้าฯ อยู่เมืองฝางเชียงใหม่
    ต่อสู้จนขี้ เฮี้ย เยี่ยวแตก
    ไม่รู้มันอย่างใดของมันจากนั้นมา
    ก็พอสุขสบายได้บ้าง
    จิตนี้ต่อสู้ขนาดหนักแท้ ๆ จึงจะได้
    ได้แล้วก็เป็นอัศจรรย์ในตัวเอง.
    ...................................................................................................

    แดนเกิดของมรรค
    มัคโค เดินนำหน้า
    มัคคา เดินนำ(ตาม)ทาง
    เดินบ่ไปตามทางก็เข้าดงช้างดงเสือ
    ช้างเหยียบตาย เสือกัดตาย
    กิเลสทับตาย…
    “เอโก มคฺโค”
    มรรคอันเอกตั้งสมาธิไว้ก่อน
    ความเห็นถูกต้องดำริถูกต้องนำหน้า
    ศีลเป็นผู้พาเดินถูกทาง
    ข้อวัตรเป็นเส้นกำกับทาง
    กิจวัตรเป็นเครื่องแบ่งทาง วิสุทฺธิยา
    บริสุทธิ์หรือไม่นั้น ก็อยู่ที่จิตของเรานี้
    ว่าจะเอาอย่างใด
    เพราะจิตเป็นแดนเกิด.
    .....................................................................................................

    ธรรมของจริง
    - ความเกิด
    - ความแก่
    - ความเจ็บ
    - ความตาย
    เป็นธรรมของจริง
    เป็นธรรมดาอยู่อย่างนี้
    ไม่มีอาการไป ไม่มีอาการมา
    ตั้งฟ้า ตั้งแผ่นดิน ตั้งสัตว์โลกมา
    ก็เป็นอยู่อย่างนี้
    เพราะใครมาเกิดก็มาถือเอา
    เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    อันนี้กันทุกคน ทุกตัวสัตว์
    แต่ถ้าใครมารู้ว่าธรรมของจริงเหล่านี้
    มีอยู่ในปัจจุบันทุกขณะ
    ก็พอจะรู้ได้เข้าใจได้.
    ................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( ตอนที่ 6 )

    กำหนดรู้ให้กล้าแข็ง
    อย่าปล่อยจิต
    อย่ากดจิต
    ดูจิตของตน - จิตดื้อ
    จิตหยาบ
    จิตเพ่งหาของนอก
    ดูดีดูชั่วในปัจจุบันขณะนี้
    จึงจะเข้าใจว่า
    “มรรค” ทุกอย่างทุกประการ
    ให้ผลเป็นผล
    เป็นอกาลิกธรรม
    คือ แสดงธรรมเทศน์ธรรม
    ให้แก่เราอยู่ตลอด
    จึงจะเพิก รัก - ชัง ออกไป
    จากจิตใจของเราได้.
    ....................................................................

    มีอยู่ด้วยกัน
    เจริญอสุภภาวนา เพื่อละราคะ
    เจริญเมตตา เพื่อละพยาบาท
    เจริญอานาปานสติ เพื่อตัดวิตก
    เจริญใจให้รู้จักทุกข์ เพื่อจะไม่หลงโลก
    เจริญอนิจฺจสัญญา เพื่อตัดมานะ
    เจริญอนัตตาสัญญา ก็ควรตั้งใจของตนให้ดีในอนัตตา เพราะ
    ตัวเรานี้เองเป็น
    ปัจจัยของอวิชชา เพราะ
    ตัวเรากับอวิชชา มีอยู่ด้วยกัน.
    .......................................................................

    อยู่อย่างสงบสุข

    อย่าอ้างตน อย่าอ้างนั้นอ้างนี่
    แต่...ให้อ้างธรรมของพระพุทธเจ้า
    อย่าโทษผู้อื่นยิ่งกว่าตน
    เพราะตัวเรานี้เองที่
    เป็นเจ้าของ ของตัณหา
    อยากได้สุขต้องทำจิตให้ดี
    ผู้อยู่อย่างสงบสุขนั้นแหละ
    เป็นผู้ปฏิบัติธรรมพร้อมอยู่
    บำรุงจิตพร้อมอยู่ เรียกว่า
    ไม่ละธรรม
    ไม่ละกิจของตน
    ไม่ละการภาวนา.
    ...............................................................................
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โทษทุกข์
    ในชีวิตของเรามีอยู่ ๒ อย่าง
    อย่างหนึ่งพอใจ อย่างหนึ่งไม่พอใจ
    อย่างหนึ่งโทษร้อน อย่างหนึ่งโทษเย็น
    อาการเหล่านี้เป็นเครื่องถ่วงจิตใจ
    เพราะพาให้เกิดซึ่ง..
    ตัณหา อวิชชา อุปาทาน
    ด้วยเหตุนี้จึงให้มีสติอยู่ให้รู้ทัน
    ใช้เหตุผลให้ถูกต้อง
    ดูตัวเหตุปัจจัยให้ดี
    ตนของตนจึงจะพ้นโทษทุกข์ได้
    คิดอ่านให้ดี พิจารณาให้ดี.
    .........................................................................

    ผู้รักษาตนได้
    “สติธรรม” นั้น
    เป็นเครื่องรักษาตน
    ไม่ฝึกหัดปล่อยใจให้คลุกคลีกับอารมณ์
    เพราะจะให้โทษได้เรามาตั้งใจฝึกหัด
    เพราะหวังสุขให้แก่ตนของตน
    จึงว่าให้รู้จักอารมณ์ที่เป็นอันตรายของใจ
    รู้ว่าผิดพลาด เศร้าหมอง
    ก็ให้ตั้งใจชำระตนของตน
    ธรรมใดธรรมหนึ่งให้ใสสะอาด
    การฝึกหัดอบรมตนของตนให้มีสติ
    ผู้มีสติแล้วนั้นเองเป็นผู้รักษาตนได้.
    ..............................................................................

    คำนึงถึงประโยชน์
    ไปภาวนาอยู่ป่าอยู่เขา
    ต้องสำรวมตนให้มาก เพราะ
    ตนของตนไปอยู่ด้วย
    กาย วาจา ใจ
    วัตถุใด ๆ ไปอยู่ที่ไหนนั้น
    มันละความประพฤติ
    ได้เสียที่ไหนเล่า
    ก็ตนเป็น นักบวช
    เป็น พระธุดงค์
    อยู่อย่างต่ำ ทำอย่างสูง
    นำประโยชน์มาสู่ตนของตน.
    ............................................................................
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อยู่ที่ตัวเรา
    อุปสรรคของการทำความดี...
    หรือเหตุปัจจัยที่ส่งเสริมให้ทำความดี
    อยู่ที่ตัวเรานี้เอง
    มิได้อยู่ที่ผู้ใดใครอื่นใด ๆ
    “ดีของเรา - ไม่ดีของเรา”
    ไม่มีใครทำอันตรายให้เราได้หรอก
    มีแต่ตัวของเรา
    ผู้เดียวนี้เอง
    บริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ก็ให้รู้
    รู้เฉพาะตน
    ตัวเราผู้เดียวนี้เอง
    ที่จะรู้ได้ดีกว่าใคร ๆ ผู้ใด.
    .............................................................................

    รากเหง้าเค้ามูล

    ความสุข
    ความพอใจยินดี
    ย่อมมัดใจของตนไว้
    ตัณหา ก็เจริญขึ้น
    อุปาทาน ก็เจริญขึ้น
    อวิชชา ก็เจริญขึ้น
    เพราะมันเจริญมาแต่รากเหง้า
    เป็นต้นเป็นเค้าของทุกข์
    เมื่อไม่รู้ทุกข์ก็ทำลายทุกข์ไม่ได้
    ไม่รู้ทุกข์ เพราะ ไม่รู้โทษ
    ไม่รู้โทษ เพราะ ไม่รู้ตนของตน
    มีแต่มัวเมาไม่คิดไม่อ่าน
    ไม่พิจารณาอันใด.
    ..................................................................................

    การวัดผล

    เมื่อได้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว
    ก็ให้ปฏิบัติตามความรู้นั้น
    ปฏิบัติถูกก็ได้ผลดี
    ปฏิบัติไม่ถูกก็แก้จิตตนเองมิได้
    ไม่มีความรู้เดินได้ช้า
    มีความรู้มากปฏิบัติไม่ลงก็ช้า
    มีความรู้น้อยปฏิบัติถูกก็ได้ผลดี
    มีความรู้ความเข้าใจ
    การปฏิบัติ
    การตรวจตราดูผล
    การตรวจตราดูความพอดีของตน
    ให้ตั้งใจแก้ไขคิดอ่านให้ดี
    อย่าเมาความรู้อย่าเมาว่าได้ปฏิบัติ.
    ......................................................................................
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภัยอันตราย

    รู้อยู่ว่าเกิดตายในภพทั้ง ๓ อยู่นี้
    เป็นภัย เป็นอันตราย
    เป็นวังวนของทุกข์
    ตัณหา ๓ เป็นเชื้อเป็นชาติ
    สิกขา ๓ เป็นเครื่องดับภพชาติ
    ขวนขวายตั้งใจไว้เต็มที่ของตน
    นับแต่วันบวชจนวันนี้
    ก็ยากแสนยากทุกข์แสนทุกข์ ท่านว่า
    “คนดีทุกข์ก็อย่างคนดี...
    คนชั่วทุกข์ก็อย่างคนชั่ว”
    เด็กอย่างเด็ก ผู้ใหญ่อย่างผู้ใหญ่
    ทุกข์ก็เสมอกันเพราะใจไม่บริสุทธิ์
    ทำอย่างใดมันจึงจะบริสุทธิ์
    เอาล่ะทีนี้...
    มันเป็นกิจของใครของมัน.
    .........................................................................

    หลงอารมณ์เป็นบ้า

    ไปหลงอะไรกับมันอารมณ์พาเป็นบ้า
    ชื่อว่าโลกแล้ว…..
    ให้โทษแก่เราผู้เป็นนักบวช
    ต้อง ไม่หลง – ไม่คลุกคลี – หลีกเลี่ยง
    อันน่าพอใจ อันไม่น่าพอใจ
    หรือเฉยๆอยู่
    นี่ไม่ใช่อารมณ์
    ต้องสงบใจให้ได้
    สงบด้วยสติ
    สงบด้วยปัญญา
    เอาสติกำกับใจ
    ให้รู้ทันอารมณ์
    จนรู้คุณโทษ รู้เบื่อรู้หน่าย
    รู้คลายมัวเมาจากอารมณ์โลกบ้าบอ
    นั้นได้.
    ........................................................................................

    การใช้จิต

    ให้รู้จักใช้จิตของตน
    ไปในทางอันดี
    ให้จิตเป็น บุญ
    ให้จิตเป็น สุขเบิกบาน
    ให้จิตตั้งอยู่ได้ ตั้งมั่นอยู่ได้
    ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วอยู่
    จิตเป็นปัญญาจึงจะสว่างได้
    เอาสติมาอยู่กับจิตแล้วพิจารณา
    ปล่อยวาง ชำระล้าง ละชั่ว
    ขยันหมั่นทำดี
    ละความดี หนีความชั่ว
    ชำระใจให้สะอาด
    มรรค เป็นเครื่องชำระความดี
    ปัญญา ละตัณหา อุปาทาน
    นิโรธ ดับใด ๆ ได้เป็นธรรม.
    ..........................................................................................
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โอปนยิโก

    ทำตนให้มีธรรม
    พึ่งตนพึ่งธรรม
    น้อมธรรมะขององค์พุทธะ
    มาไว้ในตนของตน
    สั่งสอนตน
    อบรมตน
    อย่าหวังอย่างโลก
    ให้หวังอย่างธรรม.
    ..............................................................................................

    การรู้จักตน
    การรู้จักจิตของตน
    มิใช่จะรู้ด้วยการคิดอ่านไตร่ตรอง
    แต่รู้ขึ้นเองเฉพาะในจิตของตน
    เรียกว่า รู้แจ้งในจิตภายในจิต
    รู้แจ้งในขณะจิตเป็นเอง
    แต่ในเบื้องต้นนั้น
    ก็ต้องศึกษาเล่าเรียนจากผู้ผ่านมาก่อน
    เป็นครูเป็นอาจารย์ผู้ผ่านมาก่อน
    แล้วจากนั้นก็มาใคร่ครวญในเหตุผล
    นำสู่การปฏิบัติต่อไป.
    ..................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุธรรมล้ำเลิศวิศาล ( ตอนที่ 7 )

    คำให้นิสัย
    สั่งสอนตนอบรมตน
    มีสติสัมปชัญญะ
    ไม่พึงเสพธรรมเลว
    อย่าทำตนให้เป็นคนรกรุงรัง
    รักษาความคิดความเห็น
    อย่าให้ตกมิจฉา
    ไม่ทำตนให้ไร้ประโยชน์
    ไม่เกาะเกี่ยวกาม
    ดีชั่วของใครไม่ใช่เรื่องหนักใจของเรา
    “ไม่เพ่งโทษใคร...
    แต่คาดโทษของตนให้มาก”
    ใคร ๆ ก็ตามสุดแท้แต่บุญวาสนา
    สุดแท้แต่นิสัยปัจจัย
    ตลอดจนการสะสมประพฤติปฏิบัติ
    ตัวเราให้ตั้งใจเท่านั้น.
    .................................................................................

    การเป็นคนหลง

    ใครเป็นคนหลง ?
    - หลงกาย
    - หลงรูป
    - หลงโลก
    - หลงทาง
    - หลงสัญญา
    - หลงเวทนา
    - หลงสังขาร
    - หลงรู้
    - หลงภูมิ
    -หลงนาม
    รวมลงก็หลงขันธ์ ครูบาอาจารย์ท่านว่า
    “ขันธ์บังธรรม...
    ธรรมอยู่ในขันธ์ แต่ขันธ์บังไว้”
    มีความหลงเป็นเครื่องปิดบังอำพรางมีจิตเป็นผู้หลง.
    .............................................................................................
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทางเสื่อมทางเจริญ
    ปัจจัย ๔ เครื่องเลี้ยงชีวิต
    สถานที่อยู่บำเพ็ญ
    ผู้คน ระเบียบ ประเพณี
    การศึกษาอบรมตน
    พาให้เราเสื่อมหรือพาให้เราเจริญได้
    ฉะนั้น ให้เกี่ยวข้องให้แต่พอดี
    อย่าเมาลาภสักการะปัจจัย ๔
    อย่าเมาผู้คน
    อย่าเมาการอยู่การกิน
    อย่าเมาความสบาย
    ทำอย่างใดจะให้สุขสงบ
    ทำอย่างใดจะอิสระ
    เนกขัมมะของเราในชีวิตนี้
    จะเสาะหาทางเสื่อม
    หรือหาทางเจริญ.
    .....................................................................................

    พิจารณาปัจจัย ๔
    ในเรื่องปัจจัย ๔ ของนักบวช
    ให้รับแต่น้อย
    รับแต่พอประมาณ
    รับอันที่สมควรแก่ตัว
    ไม่เห็นแก่ได้ -ไม่เห็นแก่ตัว
    คำว่า “รับ” คือ การใช้สอย
    การบริโภค
    การอุปโภค
    ให้ดูกำลังผู้ให้
    ให้ดูประมาณวัตถุ
    เพราะวัตถุเครื่องเลี้ยงชีวิตนี้
    จะให้สุขหรือจะให้ทุกข์
    มันอยู่ที่ความจำเป็นและ
    ความอยากได้ของเราต่างหาก
    .................................................................................
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อย่าอวดตนต่อธรรม
    “ไม่อวดความรู้…
    ไม่อวดดีไม่อวดธรรม”
    ให้ตั้งใจปฏิบัติไปเถ๊อะ
    มรรคปฏิปทาของตนจะได้ดำเนิน
    ต่อไปในภายภาคหน้าอย่างใด
    ให้...พอใจในธรรม
    พอใจในการปฏิบัติยินดีพอใจสมัครใจ
    การปฏิบัติของเราจำเป็นที่จะให้
    ใครคนใดคนหนึ่งมารู้มาเห็น
    ด้วยอย่างนี้อย่างนั้นหรือ
    “ช้างอวดงา...
    หมาอวดเขี้ยว”
    อย่าอวดตนต่อธรรม.
    ......................................................................................

    ควรพิจารณาให้แจ้ง

    วิปัสสนา คือ ยกขึ้นสู่องค์ปัญญา
    แล้วพิจารณาให้ชัดแจ้ง
    แจ้งในอนัตตาธรรมที่ปรากฏอยู่
    อนิจฺจํ อย่างใด ?
    นิจฺจํ อย่างใด ?
    สุขํ อย่างใด ?
    ทุกฺขํ อย่างใด ?
    อตฺตา อย่างใด ?
    อนตฺตา อย่างใด ?
    สงฺขารา อนิจฺจา อย่างใด ?
    ธมฺมา อนตฺตา อย่างใด ?
    คุณมีอยู่โทษมีอยู่
    โทษมีอยู่คุณมีอยู่
    แต่ ธรรมะ นั้นเป็นเอก
    “ เอกฺโก ธมฺโม”
    ............................................................................................

    ภูมิจิต ภูมิใจ

    ใจรู้ใจ ใจจึงเป็นใหญ่
    ใจใหญ่เต็มภูมิของใจ
    ก็ละโมหะให้ตนได้
    เกิดดับก็ไม่เป็นทุกข์
    เพราะรู้ว่าเป็นไปตามปกติ
    เอาใจอยู่ที่ใจ ให้ใจรู้ใจอยู่
    อาการนอกก็ไม่หลง
    อาการในก็ไม่หลง
    ขันธ์ต้นละทิ้งดับได้
    เหลือแต่ขันธ์ปลายที่เป็นผลอันบริสุทธิ์
    คำว่า “ทิ้ง” คือไม่ถือเอาโทษ
    รูป สัญญา เวทนา สังขาร ก็อยู่
    มีอยู่ ใช้อยู่ ปกติอยู่
    วิญญาณขันธ์ปลายก็เป็นธาตุรู้
    รู้อย่างบริสุทธิ์
    ใจจึงเป็นภูมิใหญ่เต็มใจ.
    ............................................................................
     

แชร์หน้านี้

Loading...