ประวัติ "พระมหากัสสปเถระ" โดยพิสดาร : หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 กันยายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    <CENTER>ประวัติพระมหากัสสปเถระ (โดยพิสดาร)


    <B><BIG>ผู้เลิศทางด้านธุดงค์</BIG></B> </CENTER>



    <DD>ท่านพระมหากัสสปเถระ เป็นบุตรชายของ กปิลพราหมณ์ กัสสปโคตร ในบ้านชื่อว่า "มหาติฏฐะ" ในแว่นแคว้นมคธ เมื่อเกิดมาแล้วก็มีนามว่า "ปิปผลิ" เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับ นางภัททกาปิลานี ผู้มีอายุได้ ๑๖ ปี ซึ่งนางเป็นบุตรีของ โกสิยโคตรพราหมณ์ ณ สาคลนคร แว่นแคว้นมคธ


    <DD>เนื้อความในเรื่องนี้มีว่า เมื่อปิปผลิมาณพมีอายุ ๒๐ ปีแล้ว บิดามารดาต้องการให้มีครอบครัว แต่บุตรชายบอกว่า อยากจะปฏิบัติบิดามารดาไปจนตลอดชีวิต เมื่อบิดามารดาล่วงลับไปแล้วก็จะออกบรรพชา ต่อมาบิดามารดาก็อ้อนวอนอีก ปิปผลิมาณพก็ปฏิเสธอย่างนั้นอีก แล้วจึงได้ออกอุบายให้ช่างทองหล่อทองคำเป็นรูปหญิงสาวคนหนึ่ง ให้นุ่งผ้าสีแดง แต่งตัวด้วยดอกไม้สีต่าง ๆ และเครื่องประดับนานาประการ


    <DD>แล้วบอกกับมารดาว่า ถ้าหาผู้หญิงได้เหมือนกับรูปหล่อทองคำนี้ก็ยินดีจะแต่งงานด้วย มารดาเป็นผู้มีปัญญา ได้คิดว่าบุตรของเราเป็นผู้สร้างสมบุญบารมีมาดีแล้ว เมื่อกระทำบุญคงไม่ได้กระทำแต่ผู้เดียว หญิงที่ทำบุญร่วมกับบุตรของเรา ซึ่งมีรูปร่างอย่างรูปทองคำนี้จักมีเป็นแน่ จึงได้เชิญพราหมณ์ ๘ คน ให้นำรูปทองคำขึ้นบนรถ พร้อมกับมอบสิ่งของมีเงินและทองเป็นต้น เพื่อไปเที่ยวแสวงหาหญิงที่มีลักษณะงดงามพร้อมทั้งมีฐานะเสมอกันด้วยสกุลของตน


    <DD>พราหมณ์ทั้ง ๘ คนนั้นรับสิ่งของทองหมั้น แล้วเที่ยวไปได้บรรลุถึงสาคลนคร ก็ได้ตั้งรูปทองคำไว้ที่ท่าน้ำแล้วพากันไปนั่งอยู่ในที่แห่งหนึ่ง คราวนั้นพวกพี่เลี้ยงของนางภัททกาปิลานีได้พากันไปอาบน้ำที่ท่าน้ำ ครั้นได้เห็นรูปทองคำนั้นก็เข้าใจว่าเป็นนางภัททกาปิลานี พวกพราหมณ์เห็นเช่นนั้น จึงได้ออกมาไต่ถามว่าลูกสาวเจ้านายของเธอเหมือนรูปนี้หรือ พี่เลี้ยงจึงตอบว่า พระแม่เจ้าของเราสวยกว่านี้


    <DD>เพราะสว่างไปด้วยรัศมี พราหมณ์ได้ยินดังนั้น จึงให้นางนำไปที่บ้านของ โกสิยโคตรพราหมณ์พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์ของตน เมื่อเจรจาเป็นที่ตกลงกันแล้ว จึงได้ส่งข่าวไปถึงกปิลพราหมณ์ ส่วนปิปผลิมาณพเมื่อได้ทราบดังนั้น ด้วยความที่ตนไม่อยากจะแต่งงานด้วย จึงได้เขียนจดหมายบอกความประสงค์ของตนให้แก่นางภัททปิลานีทราบว่า "นางผู้เจริญ จงหาคู่ครองที่มีสกุล มีฐานะทัดเทียมกับนางเถิด เราจะออกบวช เธออย่าเสียใจต่อภายหลัง"


    <DD>ฝ่ายนางภัททกาได้ทราบว่า บิดามารดาจะยกตนให้แก่ปิปผลิมาณพ จึงเขียนจดหมายไปบอกความประสงค์ของตนเช่นเดียวกัน ต่อมาคนถือจดหมายทั้งสองคนมาพบกันในระหว่างทาง ต่างไต่ถามความประสงค์ของกันและกันแล้ว จึงฉีกจดหมายออกอ่านแล้วทิ้งจดหมายทั้ง ๒ ฉบับนั้นเสียในป่า และเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ โดยมีเนื้อความแสดงความพอใจซึ่งกัน และกัน แล้วนำไปส่งให้แก่คนทั้งสอง


    <DD>ครั้นถึงกำหนดพิธีการแต่งงานผ่านไปแล้ว ด้วยความไม่เต็มใจของทั้งสองฝ่าย แต่เป็นด้วยบุพเพสันนิวาส คือ เคยเป็นคู่ครองกันมาในกาลก่อน บุคคลทั้งสองจำต้องมาอยู่ร่วมกัน ในตอนนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อเคยสันนิษฐานไว้ว่า ท่านทั้งสองนี้คงจะได้คุณธรรม คือ เป็น "พระสกิทาคามี" มาแต่ชาติก่อน ในชาตินี้จึงไม่นิยมเรื่องการครองเรือน มีจิตหวังที่จะออกบวชเท่านั้น


    <DD>ด้วยเหตุนี้คนทั้งสองสักแต่ว่าอยู่ร่วมกันเท่านั้น มิได้ล่วงเกินซึ่งกันและกันเลย ยังคงรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้ตลอด ด้วยอำนาจบุญบารมีที่บำเพ็ญมาดีแล้ว นั่นก็คือการวาง พวงดอกไม้ กั้นไว้ระหว่างกันในขณะที่นอนบนเตียงนั้น นางภัททกากล่าวว่า ดอกไม้ข้างตัวของใครเหี่ยว เราจะรู้กันได้ว่า ผู้นั้นเกิดราคะจิตแล้วจึงไม่ควรจับต้องพวงดอกไม้นี้ คนทั้งสองจึงนอนไม่หลับตลอดคืนเพราะกลัวถูกต้องตัวกัน


    <DD>ถึงเวลากลางวันก็ไม่ได้มีการยิ้มแย้มต่อกันเลย คนทั้งสองจึงอยู่แบบไม่ได้เกี่ยวข้องกัน จนกระทั่งบิดามารดาสิ้นอายุแล้ว จึงมีความเห็นว่า ผู้อยู่ครองเรือนต้องคอยนั่งรับบาป เพราะการงานที่ผู้อื่นทำไม่ดี มีใจเบื่อหน่ายพร้อมใจกันจะออกบวช จึงไปแสวงหาผ้ากาสายะและบาตรดินจากร้านตลาด ได้ปลงผมซึ่งกันและกันแล้วนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดนั้น ถือเพศบรรชิตตั้งใจบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลก


    <DD>แล้วได้สะพายบาตรเดินลงจากปราสาทหลีกไป ปิปผลิเดินหน้านางภัททกาปิลานีเดินตามหลัง พอไปถึงทางสองแพร่งจึงแยกออกจากกัน เพราะเกรงผู้อื่นจะคิดว่าทั้งสองคนนี้บวชแล้วก็ยังไม่อาจพรากจากกันได้ ก่อนจะแยกจากกัน นางภัททกาได้ทำปทักษิณถึง ๓ รอบ กราบสามีลงในที่ทั้ง ๔ คือ กราบลงข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวา แล้วประนมมือขึ้นกล่าวว่า


    <DD>"ความรักใคร่สนิทสนมกัน ซึ่งได้มีแก่เราทั้งสองตลอดกาลนานประมาณแสนกัปมาแล้ว จะแตกกันในวันนี้ ท่านสมควรไปทางเบื้องขวา ส่วนข้าพเจ้าสมควรไปทางเบื้องซ้าย"


    <DD>กล่าวดังนี้แล้วก็ออกเดินทาง ระหว่างแยกทางกันนั้น แผ่นดินอันใหญ่ก็ได้หวั่นไหว ประหนึ่งว่าไม่อาจรับความดีของท่านทั้งสองไว้ได้ ส่วนในอากาศก็มีสายฟ้าแลบฉวัดเฉวียนด้วยอำนาจบารมีธรรมของคนทั้งสองนั้นบันดาลให้เป็นไป

    </DD>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระพุทธองค์เสด็จไปต้อนรับ

    <DD>ฝ่ายองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับอยู่ในพระคันธกุฎีที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ได้ทรงสดับเสียงแผ่นดินไหวก็ทรงพิจารณาดูว่า แผ่นดินไหวเพื่อใคร ก็ทรงทราบว่าปิปผลิมาณพกับนางภัททกาปิลานี ได้สละทรัพย์สมบัติอันหาประมาณมิได้ ออกบรรพชาโดยตั้งใจเฉพาะต่อเรา แผ่นดินไหวนี้มีขึ้น ด้วยกำลังแห่งคุณธรรมของบุคคลทั้งสอง ในขณะที่จะแยกจากกันถึงแม้ว่าเราก็ควรจะสงเคราะห์บุคคลทั้งสองนั้น

    <DD>แล้วจึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรงถือเอาบาตร จีวร ด้วยพระองค์เอง โดยไม่บอกแก่พระสาวกทั้งหลายให้ทราบ ครั้นเสด็จถึงใต้ร่มไทรต้นหนึ่ง ในระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทาต่อกัน พระพุทธองค์ทรงประทับนั่ง แล้วเปล่งพระรัศมีออกจากพระวรกายประมาณ ๘๐ ศอก.

    <DD>ดังนั้นในขณะนั้น พระพุทธรัศมีก็ได้พุ่งกระจายออกไปรอบด้าน ทำให้เหมือนเวลาพระจันทร์ และพระอาทิตย์ขึ้นเป็นพัน ๆ ดวง ทำให้ชายป่าบริเวณนั้นให้มีแสงสว่างขึ้นบนท้องฟ้าระยิบระยับประหนึ่งหมู่ดาว ธรรมดาต้นนิโครธจะมีลำต้นขาว มีใบเขียว ผลสุกแดง แต่วันนั้น ต้นนิโครธกลับมีกิ่งขาว มีสีเหมือนทองคำ

    <DD>พระมหากัสสปเถระเห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่เช่นนั้น ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างสูงสุด คิดว่าท่านผู้นี้จะเป็นพระศาสดาของเรา เราบวชอุทิศพระศาสดาพระองค์นี้ จึงเดินเข้าไปไหว้แล้วกราบทูลปวารณาตนเป็นสาวก ซึ่งในพระอรรถกถาได้กล่าวไว้ว่า เป็นการเข้าถึงด้วยวิธียอมเป็นศิษย์ โดยการกล่าวว่า “ข้าพระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก” ๓ ครั้ง

    <DD>การถวายสักการะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยสาวกผู้มีจิตเลื่อมใสทุ่มเทจิตใจทั้งหมดอย่างนี้ และได้ทำความเคารพอย่างยิ่งปานนี้ เหมือนเช่นที่พระมหากัสสปเถระกระทำต่อพระพุทธองค์นี้ ท่านเปรียบเอาไว้ว่า ถ้าท่านพระมหากัสสปเถระกระทำการเคารพเช่นนี้ต่อผู้อื่นที่มิใช่พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ศีรษะของผู้นั้น “พึงหลุดจากคอ ดุจตาลสุกหล่นฉะนั้น” และอรรถกถาก็อธิบายเพิ่มเติมว่า

    <DD>“หากพระมหากัสสปเถระพึงความเคารพ ด้วยจิตเลื่อมใสอย่างยิ่งนี้ ต่อมหาสมุทร.มหาสมุทรจะต้องถึงความเหือดแห้ง ดุจหยาดน้ำที่ใส่ในกระเบื้องร้อน.หากพึงทำความเคารพต่อจักรวาล.จักรวาลต้องกระจัดกระจายดุจกำแกลบ.หากพึงทำความเคารพต่อเขาสิเนรุ.เขาสิเนรุต้องย่อยยับดุจก้อน แป้งที่ถูกกาจิก หากพึงทำความเคารพต่อแผ่นดิน.แผ่นดินต้องกระจัดกระจายดุจผุยผงที่ถูกลมหอบมา”

    <DD>องค์สมเด็จพระทศพลจึงตรัสว่า

    <DD>"กัสสป...ถ้าเธอกระทำความเคารพอันนี้แก่แผ่นดินอันใหญ่นี้ ถึงแม้ว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ก็ไม่อาจทรงอยู่ได้ เพราะเธอมีคุณความดีมากเหมือนกับพระตถาคต แต่ความเคารพที่เธอกระทำแล้ว ไม่อาจให้เส้นโลมาของเราไหวได้ จงนั่งเถิดกัสสป...เราจะให้ความเป็นทายาทแก่เธอ.."
    </DD>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระโอวาท ๓ ประการ

    <DD>ครั้งนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ประทานอุปสมบทแก่ปิปผลิมาณพด้วยการประทานพระโอวาท ๓ ประการคือ ....

    <DD>๑. กัสสป..ท่านพึงศึกษาว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความเกรงไว้ในภิกษุผู้เป็นผู้เฒ่าและปานกลางอย่างแรงกล้า ฯ

    <DD>๒. เราจะฟังธรรมอันใดอันหนึ่งประกอบด้วยกุศล เราจักเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้น พิจารณาเนื้อความดังนี้ ฯ

    <DD>๓. เราจะไม่ละสติที่ไปในกาย คือ พิจารณาร่างกายเป็นอารมณ์ ฯ


    <DD>ครั้นประทานแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงหลีกไป ด้วยทรงดำริว่า เราจักทำภิกษุนี้ให้เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร มีอาสนะเดียวเป็นวัตร พระมหากัสสปเถระ จึงได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓ ข้อและบำเพ็ญเพียรในการปฏิบัติธรรม เพียง ๗ วันและได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในเช้าของวันที่ ๘

    <DD>ครั้งหนึ่งพระมหากัสสปนั้นได้เดินตามรอยพระบาทของพระพุทธองค์ไป พระสรีระของพระศาสดาตระการตาด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สรีระของพระมหากัสสปประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๗ ประการ พระมหากัสสปนั้นเดินตามเสด็จพระศาสดา เปรียบเหมือนกับเรือน้อยพ่วงท้ายเรือใหญ่ ซึ่งสำเร็จแล้วด้วยทองคำฉะนั้น

    <DD>องค์สมเด็จพระภควันต์เสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง จึงทรงแวะออกจากทางทรงแสดงอาการจะประทับนั่งที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่ง พระมหากัสสปทราบว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดามีพระประสงค์จะนั่ง จึงพับผ้าสังฆาฏิของตนให้เป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวาย พระพุทธองค์ประทับนั่งบนผ้าสังฆาฏินั้นแล้วก็ทรงลูบผ้าสังฆาฏิด้วยพระหัตถ์ แล้วตรัสว่า "ผ้าสังฆาฏิของเธออ่อนนุ่มดี"

    <DD>พระมหากัสสปก็ทราบว่า พระศาสดาทรงตรัสเช่นนี้ จักมีพระประสงค์ที่จะทรงห่มเป็นแน่ จึงได้กราบทูลถวายผ้าผืนนั้นของตน ส่วนผ้าสบงของพระพุทธองค์ ก็จะขอมาทำเป็นผ้าสังฆาฏิ องค์สมเด็จพระบรมครูจึงตรัสว่า

    <DD>"กัสสป..ผ้าบังสุกุลผืนนี้ ในวันที่เราถือเอามานั้นได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เพราะเป็นผ้าที่เคยใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาแล้ว ผู้ที่มีคุณธรรมเล็กน้อยไม่อาจใช้ได้ ส่วนผู้ที่มีชาติถือบังสุกุลซึ่งสามารถจะทำข้อปฏิบัติอันนี้ให้เต็มได้...จึงจะใช้ได้..."

    <DD>ตรัสดังนี้แล้ว ก็ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับพระมหากัสสปเถระ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มผ้าของพระมหากัสสป ส่วนพระเถระก็ห่มผ้าของพระพุทธองค์ ในคราวนั้นแผ่นดินอันใหญ่ซึ่งไม่มีจิตวิญญาณ ก็ได้หวั่นไหวจนกระทั่งน้ำรองข้างล่าง ปานประหนึ่งจะกราบทูลว่า การที่พระองค์ไม่เคยทรงประทานผ้าของพระองค์ให้แก่พระสาวกนี้ ชื่อว่าได้กระทำสิ่งที่กระทำได้ยาก ข้าพระองค์ไม่อาจทรงคุณความดีของพระองค์ไว้ได้ฉะนั้น จีวรของพระมหาเถระนั้น อรรถกถากล่าวว่า

    <DD>“จีวรนี้ที่เราห่ม ทาสีชื่อ "ปุณณ" ะทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ เราเข้าไปสู่ป่าช้านั้นอันมีตัวสัตว์กระจายอยู่ ประมาณทะนานหนึ่ง กำจัดตัวสัตว์เหล่านั้นแล้ว ตั้งอยู่ในมหาอริยวงศ์ ถือเอา.ในวันที่เราถือเอาจีวรนี้ มหาปฐพีในหมื่นจักรวาลส่งเสียงสั่นสะเทือน อากาศนั้นส่งเสียง "ตฏะ..ตฏะ" เทวดาในจักรวาลได้ให้สาธุการว่า ภิกษุผู้ถือเอาจีวรนี้ ควรเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตามธรรมชาติ นั่งอาสนะเดียวเป็นวัตรตามธรรมชาติ เที่ยวไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรตามธรรมชาติ ท่านจักอาจทำให้สมควรแก่จีวรนี้ได้ ดังนี้.”

    <DD>ฝ่ายพระมหากัสสปก็ไม่ได้มีใจฟูขึ้นว่า บัดนี้เราได้ผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ แต่เราควรจะทำสิ่งใดให้ยิ่งขึ้นไป แล้วก็สมาทาน ธุดงค์คุณ ๑๓ ในที่ใกล้พระพุทธองค์ ท่านได้อุปสมบทเพียง ๗ วันเท่านั้น พอถึงวันที่ ๘ ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ ต่อมาองค์สมเด็จพระศาสดาจารย์ จึงได้ทรงยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ถือธุดงค์ และทรงสรรเสริญคุณธรรมของท่านอีกหลายประการ เช่น :-

    <DD>๑. มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์ และเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้ถือเอาเป็นตัวอย่าง

    <DD>๒. กัสสปเข้าไปใกล้ตระกูล แล้วชักกายและใจห่าง ประพฤติเป็นคนใหม่ไม่คุ้นเคยเป็นนิจ ไม่คะนองกายวาจาใจในสกุลเป็นนิจ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลเหล่านั้น ตั้งอารมณ์จิตเป็นกลางว่า ผู้ใคร่ลาภก็จงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญก็จงได้บุญ ตนได้ลาภมีใจฉันใด ผู้อื่นก็มีใจฉันนั้น

    <DD>๓. กัสสปมีจิตประกอบไปด้วยเมตตากรุณาแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ดังนี้
    </DD>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เกิดสมัยของพระปทุมุตตระพุทธเจ้า

    <CENTER>กระทำมหาทาน "พระปทุมุตตระพุทธเจ้า" กับภิกษุหกล้านแปดแสนองค์</CENTER>



    <DD>ได้ยินว่า ในอดีตกาล ปลายแสนกัป ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนาม "พระปทุมุตตระ" เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงหงสวดี ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน มีเศรษฐีผู้หนึ่งชื่อว่า "เวเทหะ" มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฎิ เมื่อรับประทานอาหารเช้าแล้วก็สมาทานอุโบสถศีล ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปพระวิหาร เพื่อบูชาองค์พระศาสดา

    <DD>ครั้นถึงแล้วจึงไหว้แล้วนั่งอยู่ในพระวิหารนั้น ขณะนั้นพระปทุมุตตระพุทธเจ้าได้กระทำการสถาปนาสาวกองค์ที่ ๓ นามว่า มหานิสภเถระ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นยอดของภิกษุผู้สอนธุดงค์ เวเทหะอุบาสกได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็บังเกิดความเลื่อมใส จนเมื่อเวลาจบพระธรรมกถาแล้ว หมู่พุทธบริษัทอื่นก็ได้ออกไปจากพระวิหารแล้ว เวเทหะอุบาสกจึงถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า

    <DD>ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับอาราธนาของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้

    <DD>พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์มากนะ

    <DD>อุบาสกทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นมีประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า?

    <DD>พระศาสดาตรัสว่า มีประมาณหกล้านแปดแสนองค์

    <DD>อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขออาราธนาพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมด แม้แต่สามเณรรูปเดียวก็อย่าเหลือไว้ในวิหาร

    <DD>พระศาสดาทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ เวเทหะอุบาสกรู้ว่าพระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงทูลลาแล้วกลับไปยังเรือนของตน แล้วตระเตรียมมหาทานในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับส่งคนให้ไปกราบทูลเวลาภัตตาหารแด่พระศาสดา.

    <DD>ในวันรุ่งขึ้นพระศาสดาทรงถือบาตรและจีวร มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมไปยังเรือนของเวเทหะอุบาสก ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่อุบาสกจัดไว้ถวาย ทรงเสวยภัตาหาร มีข้าวต้มเป็นต้น ในระหว่างนั้น เวเทหะอุบาสกก็นั่งอยู่ที่ใกล้พระศาสดา.
    </DD>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พบพระภิกษุผู้ถือธุดงควัตร

    <DD>ระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระ ผู้ซึ่งได้รับการสถาปนาเป็นเอตะทัคคะผู้เป็นยอดของภิกษุผู้สอนธุดงค์เมื่อวันวาน กำลังเที่ยวบิณฑบาต เดินไปยังถนนหน้าบ้านท่านเวเทหะอุบาสกนั้น อุบาสกเห็นพระเถระเดินบิณฑบาตอยู่ จึงลุกขึ้นไปไหว้พระเถระแล้วกล่าวนิมนต์ว่าว่า

    <DD>ท่านผู้เจริญ..ขอท่านจงให้บาตร พระเถระได้ให้บาตร อุบาสกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอนิมนต์เข้าไปในเรือนนี้แหละ ขณะนี้พระศาสดาก็ประทับนั่งอยู่ในเรือน

    <DD>พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรนะอุบาสก

    <DD>อุบาสกรับบาตรของพระเถระใส่บิณฑบาตเต็มแล้ว ได้ นำออกไปถวาย จากนั้นได้เดินส่งพระเถระไป แล้วกลับมานั่งในที่ใกล้พระศาสดา กราบทูลว่า

    <DD>ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหานิสภเถระนี้ แม้ข้าพระองค์กล่าวว่า พระศาสดาประทับอยู่ในเรือน ท่านก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหานิสภเถระนั่น มีคุณยิ่งกว่าพระองค์หรือหนอ อันธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มีวรรณมัจฉริยะ (ตระหนี่คุณความดีของคนอื่น)

    <DD>ลำดับนั้น พระศาสดาทรงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก เรานั่งคอยภัตตาหารอยู่ในเรือน แต่พระมหานิสภเถระนั้นไม่นั่งคอยภิกษาในเรือนอย่างนี้ เราอยู่ในเมือง พระมหานิสภเถระนั้นอยู่ในป่าเท่านั้น เราอยู่ในที่มุมบัง พระมหานิสภเถระนั้นอยู่กลางแจ้งเท่านั้น ดังนั้น พระมหานิสภเถระนั้นมีคุณอย่างนี้
    </DD>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตั้งความปรารถนาจะเป็นเอตทัคคะ

    <DD>เวเทหะอุบาสกนั้น ตามปกติก็เป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งอยู่แล้ว เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสดังนั้น จึงเป็นเสมือนไฟที่ลุกโพลงอยู่ แล้วยังถูกราดซ้ำด้วยน้ำมันฉะนั้น และคิดว่า สมบัติอื่นเราไม่ต้องการ เราเพียงปรารถนาความเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์เป็นวัตรในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต.

    <DD>เวเทหะอุบาสกนั้นจึงได้นิมนต์พระศาสดาอีก และได้ทำการถวายมหาทานอย่างนั้นต่อไปอีก ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อถวายทานแล้วเวเทหะอุบาสกได้หมอบกราบพระบาทของพระศาสดา แล้วกราบทูลว่า

    <DD>"..ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ของข้าพระองค์ ผู้ถวายมหาทาน ๗ วัน ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติของเทวดา หรือสมบัติของท้าวสักกะ มาร และพรหม แม้สักอย่างหนึ่ง
    <DD>ด้วยผลแห่งการถวายมหาทานนี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพระองค์ได้เป็นยอดของภิกษุผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ เช่นเดียวกับตำแหน่งของพระมหานิสภเถระ ในสำนักของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต.."


    <DD>สมเด็จพระบรมศาสดาทรงตรวจดูว่า ที่เวเทหะอุบาสกปรารถนาตำแหน่งอันใหญ่นี้ จะสำเร็จหรือไม่ ครั้นทรงเห็นว่าความปรารถนาของอุบาสกนั้นสำเร็จ จึงทรงตรัสว่า ความปรารถนาในตำแหน่งนั้นของท่านจักสำเร็จในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ที่จักอุบัติขึ้นในอนาคตอีกแสนกัปนับจากนี้ ท่านจะเป็นพระสาวกที่ ๓ ของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่า"มหากัสสปเถระ"

    <DD>เวเทหะอุบาสกได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ก็ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทราบว่าพุทธพยากรณ์ของพระบรมศาสดาย่อมไม่มีเปลี่ยนเป็นอื่น ดังนั้นในระหว่างช่วงอายุที่เหลืออยู่ของอุบาสกนั้น เขาก็ได้ทำการถวายทานโดยประการต่าง ๆ รักษาศีล กระทำกุศลกรรมนานับประการ เมื่อเวเทหะอุบาสกสิ้นชีพแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์.
    </DD>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เอกสาฏกพราหมณ์

    <DD>นับแต่นั้น เขาได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสุคติภูมิทั้งทั้งในภูมิเทวดาและมนุษย์ภูมิ จนในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ในสมัยของ พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงประทับอยู่ในมฤคทายวัน กรุงพันธุมดี

    <DD>อุบาสกนั้นก็จุติจากเทวโลกไปเกิดในตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ตระกูลหนึ่ง.อาศัยอยู่กับนางพราหมณี พราหมณ์ และ พราหมณีนั้น มีผ้านุ่ง อยู่เพียงผืนเดียวเท่านั้น คนทั้งหลายจึงเรียกพราหมณ์นั้นว่า เอกสาฏกพราหมณ์ เมื่อเหล่าพราหมณ์ประชุมกัน ด้วยกิจบางอย่าง พราหมณ์ก็ต้องให้นางพราหมณีอยู่บ้าน ตนเองไปประชุมกับเหล่าพราหมณ์ เมื่อถึงคราวพวกพราหมณีประชุมกัน ตัวพราหมณ์เองก็ต้องอยู่บ้าน นางพราหมณีจะห่มผ้านั้นไปประชุม

    <CENTER>พระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม

    </CENTER>
    <DD>ในสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสีนั้น พระพุทธองค์จะทรงแสดงพระรรมเทศนาทุก ๆ ๗ ปี ในปีนั้น ซึ่งเป็นเวลาถึงกำหนดที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงพระธรรมเทศนา ก็ได้มีความโกลาหลขึ้นอย่างใหญ่หลวง เทวดาทั้งหลายทั่วชมพูทวีป ได้บอกแก่เอกสาฏกพราหมณ์นั้นว่า พระศาสดาจะทรงแสดงธรรมในวันนี้ พราหมณ์ได้ทราบข่าวนั้น ก็พูดกะนางพราหมณีว่า

    <DD>"..มหาจำเริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืนหรือกลางวัน .."

    <DD>นางพราหมณีพูดว่า "พวกฉันชื่อว่าเป็นหญิงแม่บ้าน ไม่อาจฟังกลางคืนได้ขอฟังกลางวันเถิด"

    <DD>แล้วให้พราหมณ์อยู่เฝ้าบ้าน ส่วนตนเองนั้นก็ห่มผ้าซึ่งมีอยู่เพียงผืนเดียวไปฟังธรรมในตอนกลางวันพร้อมกับพวกอุบาสิกา ครั้นเมื่อฟังธรรมแล้ว ก็กลับมาพร้อมกับพวกอุบาสิกา ครั้นถึงเวลาค่ำพราหมณ์ ได้ให้นางพราหมณีอยู่บ้าน ตนเองก็ห่มผ้านั้นไปฟังพระธรรมเทศนายังพระวิหาร

    <DD>เวลานั้นสมเด็จพระบรมศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ที่เขาตกแต่งไว้ท่ามกลางพุทธบริษัท ทรงแสดงธรรมกถาอันวิจิตร เมื่อพราหมณ์นั่งฟังธรรมอยู่ท้ายเหล่าพุทธบริษัท ก็บังเกิดปิติ ขึ้นทั่วทั้งร่างในเวลาปฐมยามนั่นเอง พราหมณ์นั้นจึงดึงผ้าที่ตนห่มออกมาคิดว่า จะถวายผ้าที่ตนห่มนั้นแด่พระทศพล

    <DD>ในเวลาเดียวกันนั้นความหวงแหนในผ้าห่มซึ่งตนมีเพียงผืนเดียวก็บังเกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้น และคิดว่า พราหมณีกับเรามีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น ผ้าห่ม ผืนอื่นใด ๆ เราก็ไม่มี และถ้าไม่มีผ้าห่มก็ออกไปข้างนอกไม่ได้ พราหมณ์นั้นจึงตกลงใจไม่ต้องการถวายโดยประการทั้งปวง

    <DD>ครั้นเมื่อปฐมยามผ่านไป พราหมณ์ก็เกิดปีติเหมือนอย่างที่เกิดเมื่อช่วงปฐมยามขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในช่วงมัชฌิมยาม พราหมณ์คิดเหมือนอย่างนั้น แล้วไม่ได้ถวายเหมือนเช่นนั้นอีก ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ก็เกิดขึ้นแก่พราหมณ์อีกเป็นครั้งที่สาม

    <DD>ในช่วงปัจฉิมยาม พราหมณ์นั้นตัดสินใจว่า เป็นไรเป็นกัน ค่อยรู้กันทีหลัง คิดดังนั้นแล้วก็ดึงผ้าห่มมาวางแทบพระบาทพระบรมศาสดา ปรบมือขึ้น ๓ ครั้งแล้ว และร้องว่า

    "..ชิตัง เม, ชิตัง เม, ชิตัง เม.." (เราชนะแล้ว ๆ ๆ).

    <DD>เวลานั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่งสดับธรรมอยู่ภายในม่านหลังธรรมาสน์ ได้ทรงสดับดังนั้น จึงส่งราชบุรุษให้ไปถามพราหมณ์นั้นว่า เขาพูดทำไม เมื่อราชบุรุษไปถาม พราหมณ์จึงกล่าวว่า

    <DD>"..คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า เมื่อจะเอาชัยชนะต่อกองทัพข้าศึก จะต้องขึ้นพาหนะ เช่นช้างเป็นต้น ถือโล่หนัง และดาบเป็นอาวุธ เข้าต่อกรกับข้าศึกจึงจะได้ชัยชนะ แต่ชัยชนะเช่นนั้นไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนตัวเราได้ทำลายจิตตระหนี่แล้ว ถวายผ้าที่ห่มอยู่แด่พระทศพล ชัยชนะของเรานั้นจึงน่าอัศจรรย์.."

    <DD>ราชบุรุษจึงไปกราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา พระราชารับสั่งว่า พวกเราไม่รู้สิ่งที่สมควรแก่พระทศพล แต่พราหมณ์นั้นรู้ จึงทรงรับสั่งให้ส่งผ้าสำรับหนึ่ง คือผ้านุ่งกับผ้าห่ม ไปพระราชทาน พราหมณ์เห็นผ้าคู่นั้นแล้วคิดว่า

    <DD>ถ้าเรามิได้กระทำอะไรพระราชาก็คงไม่พระราชทานอะไรให้แก่เรา เป็นเพราะเรากล่าวคุณทั้งหลายของพระบรมศาสดาหรอก ท่านจึงได้พระราชทาน ดังนั้นจะมีประโยชน์อะไรแก่เรากับรางวัลที่ได้รับโดยอาศัยพระคุณของพระบรมศาสดา คิดดังนั้นจึงได้ถวายผ้าสำรับนั้นแด่พระทศพลเสียเลย

    <DD>พระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์ทำอย่างไร ทรงสดับว่า พราหมณ์ถวายผ้าสำรับนั้นนั้นแด่พระตถาคต จึงรับสั่งให้ส่งผ้าคู่ ๒ สำรับพระราชทานไปอีก พราหมณ์นั้นได้ถวายผ้าคู่ ๒ สำรับนั้นแด่พระศาสดา พระราชาก็ทรงส่งผ้าคู่ ๔ สำรับไปพระราชทานอีก พราหมณ์ก็นำผ้าที่ได้รับถวายพระศาสดาอีกเช่นเดิม ทำเช่นนี้จนกระทั่งพระราชาทรงส่งผ้าไปพระราชทาน ถึง ๓๒ สำรับ

    <DD>พราหมณ์จึงคิดว่า การทำดังนี้ เป็นเหมือนตั้งใจจะให้พระราชทานเพิ่มขึ้นแล้วจึงจะรับเอา จึงถือเอาผ้า ๒ สำรับ คือ เพื่อตนเองสำรับ ๑ เพื่อนางพราหมณีสำรับ ๑ แล้วถวายพระทศพล ๓๐ สำรับ แต่นั้นมาพราหมณ์ก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา

    <DD>ครั้นวันหนึ่งพระราชาทรงสดับธรรมในสำนักของพระบรมศาสดาในฤดูหนาว ได้พระราชทานผ้ากัมพลแดงสำหรับห่ม ส่วนพระองค์มีมูลค่าพันหนึ่งแก่พราหมณ์ แล้วรับสั่งว่า นับแต่นี้ไป ท่านจงห่มผ้ากัมพลแดงผืนนี้ฟังธรรมเถิด พราหมณ์นั้นคิดว่า ผ้ากัมพลแดงนี้จะมีประโยชน์อะไรกับกายอันโสโครก เปื่อยเน่าของเรานี้ จึงได้ถวายทำเป็นเพดานเหนือเตียงของพระตถาคตภายในพระคันธกุฎี

    <DD>อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในที่ใกล้พระบรมศาสดาในพระคันธกุฏี ในขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ ส่องไปกระทบที่ผ้ากัมพล สีแดงของผ้ากัมพลก็บรรเจิดจ้าขึ้น พระราชาทอดพระเนตรเห็นก็จำได้จึงกราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลผืนนี้ของข้าพระองค์ ๆ ให้เอกสาฏกพราหมณ์

    <DD>พระทศพลทรงตรัสว่ามหาบพิตร พระองค์พระราชทานเพื่อบูชาพราหมณ์ พราหมณ์ถวายเพื่อบูชาอาตมภาพ พระราชาทรงเลื่อมใสว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่เหมาะที่ควร พระองค์เองกลับไม่รู้ จึงพระราชทานสิ่งที่เป็นของเกื้อกูลแก่มนุษย์ทุกอย่าง ๆ ละ ๘ ชนิด ๘ ครั้ง ให้เป็นของประทานชื่อว่า สัพพัฏฐะกะทาน แล้วทรงตั้งให้เป็นปุโรหิต

    <DD>พราหมณ์นั้นคิดว่า ชื่อว่าของ ๘ ชนิด ๘ ครั้ง ก็เป็น ๖๔ ชนิด จึงตั้งสลากภัต ๖๔ ที่ ถวายแด่พระสงฆ์ แล้วให้ทาน รักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากชาตินั้นไปเกิดในสวรรค์.
    </DD>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เกิดในระหว่างกาลของพระโกนาคมน์พุทธเจ้า และพระกัสสปทศพลพุทธเจ้า

    <DD>ท่านได้จุติจากสวรรค์กลับมาเกิดในเรือนของกฏุมพี ในกรุงพาราณสี ในระหว่างกาลของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมน์ และพระกัสสปทศพลในกัปนี้

    <DD>ครั้นเจริญวัยขึ้นก็แต่งงานมีเหย้าเรือน อยู่มาวันหนึ่ง ระหว่างที่เดินเที่ยวพักผ่อนไปในป่า.ก็พบพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงกระทำจีวรกรรม (คือการ เย็บจีวร) อยู่ที่ริมแม่น้ำ แต่ผ้าอนุวาต (ผ้าแผ่นบาง ๆ ที่ทาบไป ตามชายสบงจีวรและสังฆาฎิ) มีไม่พอจึงทรงเริ่มจะพับเก็บ เขาเห็นเข้าจึงกล่าวถามพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า เพราะอะไรจึงจะพับเก็บเสียเล่า..เจ้าข้า

    <DD>พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่พอ เขากล่าวว่า โปรดเอาผ้าสาฏกนี้ทำเถิดเจ้าข้า เขาถวายผ้าสาฏกแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ขอความเสื่อมใด ๆ ขอจงอย่าได้มี ในที่ที่ข้าพเจ้าได้เกิดเถิด

    <DD>ต่อมาพระปัจเจกพุทธเจ้า เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ ยังเรือนของเขา ในตอนนั้น ภรรยาและน้องสาวของเขากำลังทะเลาะกัน เมื่อน้องสาวของเขาถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็กล่าวพาดพิงถึงพี่สะใภ้ว่า ขอให้เราจงห่างไกลหญิงพาลเช่นนี้ร้อยโยชน์ ภรรยาของเขาที่กำลังยืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยินเข้าจึงคิดว่า

    <DD>พระรูปนี้จงอย่าได้ฉันอาหารที่นางคนนี้ถวาย จึงจับบาตรพระปัจเจกพุทธเจ้ามาเทบิณฑบาตทิ้งแล้วเอาเปือกตมมาใส่จนเต็ม น้องสาวเขาเห็นพี่สะไภ้ทำเช่นนั้นจึงกล่าวว่า

    <DD>"..หญิงพาล..เจ้าจงด่าจงบริภาษเราก่อนเถิด การเทภัตตาหารจากบาตรของท่านผู้ได้บำเพ็ญบารมีมา ๒ อสงไขยเช่นนี้ แล้วใส่เปือกตมให้ นั้นเป็นการไม่สมควรเลย.."

    <DD>ภรรยาของเขาครั้นได้ฟังก็เกิดความสำนึกขึ้นได้ จึงกล่าวว่า โปรดหยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมออก ล้างบาตรแล้วชะโลมด้วยผงเครื่องหอม แล้วได้ใส่ของมีรสอร่อย ๔ อย่างเต็มบาตร แล้ววางถวายบาตรลงในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาว่า

    <DD>"..สรีระของเราจงผุดผ่อง เหมือนบิณฑบาตอันผุดผ่องนี้เถิด.."

    <DD>พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วเหาะขึ้นสู่อากาศ.
    </DD>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เกิดในสมัยพระกัสสปทศพลพุทธเจ้า

    <DD>ผัวเมียแม้ทั้งสองนั้นเมื่อครบชั่วอายุขัยแล้ว ตายลงก็ไปเกิดบนสวรรค์ จุติจากสวรรค์นั้นอีกครั้ง อุบาสกเกิดเป็นบุตรเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิในกรุงพาราณสี ในครั้ง พระกัสสปทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝ่ายภรรยาเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีเหมือนกัน

    <DD>เมื่อเขาเจริญวัย พวกญาติก็นำธิดาของเศรษฐีมายังเรือนบุตรเศรษฐี หมายจะตกแต่งเป็นภรรยาแก่บุตรเศรษฐี ด้วยอานุภาพของกรรมซึ่งได้กระทำไว้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าในชาติก่อน พอนางถูกส่งตัวเข้าไปยังตระกูลของสามี ทั่วทั้งสรีระเกิดกลิ่นเหม็นเหมือนส้วมที่เขาเปิดไว้ ตั้งแต่ย่างเข้าไปภายในธรณีประตู เศรษฐีกุมารถามว่า กลิ่นเหม็นนี้เป็นของใคร

    <DD>ครั้นได้ฟังว่าเป็นกลิ่นของลูกสาวเศรษฐี จึงให้นำส่งนางกลับไปเรือนตระกูล ธิดาเศรษฐีถูกส่งกลับไปกลับมาในทำนองนี้ถึง ๗ ครั้ง

    <DD>ครั้นเมื่อพระกัสสปทศพลเสด็จปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนเริ่มก่อ พระเจดีย์สูงโยชน์หนึ่งด้วยอิฐทอง ทั้งหนาทั้งแน่น มีราคาก้อนละหนึ่งแสน เมื่อเขากำลังสร้างพระเจดีย์กันอยู่ ธิดาเศรษฐีคนนั้นคิดว่า เราต้องถูกส่งกลับถึง ๗ ครั้งแล้ว ชีวิตของเราจะมีประโยชน์อะไร จึงให้ยุบสิ่งของเครื่องประดับตัว แล้วนำไปทำอิฐทอง ยาวศอก กว้างคืบ สูง ๔ นิ้ว และถือก้อนหรดาลและมโนสิลา เก็บเอาดอกบัว ๘ กำ ไปยังสถานที่ที่สร้างพระเจดีย์

    <DD>ขณะนั้นก้อนอิฐแถวหนึ่งที่กำลังก่อมาต่อกันนั้นเกิดขาดอิฐแผ่นต่อเชื่อม นางจึงพูดกับช่างว่า ท่านจงวางอิฐก้อนนี้ลงตรงนี้เถิด นายช่างกล่าวว่า นางผู้เจริญ ท่านมาได้เวลาพอดี ขอท่านจงวางเองเถิด นางจึงขึ้นไปเอาน้ำมันผสมกับหรดาลและมโนสิลา วางอิฐติดอยู่ได้ด้วยเครื่องยึดนั้น แล้วบูชาด้วยดอกอุบล ๘ กำมือไว้ข้างบนอิฐทองนั้น

    <DD>นางยกมือไหว้แล้วตั้งความปรารถนาว่า ในที่ที่เราเกิด ขอจงมีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากตัว กลิ่นอุบลจงฟุ้งออกจากปาก แล้วไหว้พระเจดีย์ ทำประทักษิณรอบพระเจดีย์แล้วกลับไป

    <DD>ครั้นแล้วในขณะนั้นเอง เศรษฐีบุตรก็เกิดระลึกถึงเศรษฐีธิดาที่เขานำมาที่เรือนครั้งแรก ในพระนครเวลานั้นก็มีงานนักขัตฤกษ์เสียงกึกก้อง เขาจึงพูดกับคนรับใช้ว่า คราวนั้น เจ้านำธิดาเศรษฐีมายังเรือนนี้ นางนั้นอยู่ที่ไหน คนรับใช้กล่าวว่าอยู่ที่เรือนตระกูลของนางขอรับ..นายท่าน

    <DD>เศรษฐีบุตรกล่าวว่า พวกเจ้าจงพามา เราจักเล่นนักขัตฤกษ์กับนาง พวกคนรับใช้ของบุตรเศรษฐีจึงไปยังเรือนตระกูลของนาง ไปไหว้นางแล้วยืนอยู่ นางจึงถามว่า ท่านทั้งหลายมาทำไมกัน พวกคนรับใช้ของบุตรเศรษฐีจึงบอกเรื่องราวที่มานั้น

    <DD>นางกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย เราเอาเครื่องอาภรณ์บูชาพระเจดีย์เสียแล้ว เราไม่มีเครื่องอาภรณ์ คนรับใช้เหล่านั้นจึงไปบอกแก่บุตรเศรษฐี ๆ จึงกล่าวว่า จงนำนางมาเถิด เราจะให้เครื่องประดับนั้นแก่นาง พวกคนรับใช้จึงไปนำนางมา กลิ่นจันทน์และกลิ่นอุบลขาบฟุ้งไปทั่วเรือน พร้อมกับที่นางเข้าไปในเรือน บุตรเศรษฐีจึงถามนางว่า ครั้งแรกมีกลิ่นเหม็นฟุ้งออกจากตัวเธอ แต่บัดนี้ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากตัว กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปากของเธอ นี่อะไรกัน

    <DD>ธิดาเศรษฐีจึงเล่ากรรมที่ตนกระทำตั้งแต่ต้น บุตรเศรษฐีเลื่อมใสว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นนิยยานิกธรรมหนอ จึงเอาเครื่องปกคลุมที่ทำด้วยผ้ากัมพล ยาวประมาณโยชน์หนึ่งหุ้ม พระเจดีย์ทอง เป็นพุทธบูชา แล้วเอาดอกประทุมทองขนาดใหญ่เท่าล้อรถประดับที่พระเจดีย์ทองนั้น ดอกประทุมทองที่แขวนห้อยไว้มีขนาด ๑๒ ศอก บุตรเศรษฐีนั้นครั้นอยู่จนสิ้นอายุในมนุษยโลกแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์.
    </DD>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำเนิดในตระกูลอำมาตย์

    <DD>ครั้นเมื่อได้จุติจากสวรรค์นั้น บังเกิดในตระกูลอำมาตย์ตระกูลหนึ่ง ซึ่งพำนักอยู่ในที่ห่างจากกรุงพาราณสีประมาณโยชน์หนึ่ง ฝ่ายลูกสาวเศรษฐีจุติจากเทวโลกเกิดเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ในราชตระกูล.

    <DD>เมื่อคนทั้งสองนั้นเจริญวัย ในหมู่บ้านที่กุมารอยู่มีงานนักขัตฤกษ์ กุมารนั้นต้องการจะไปเที่ยวงานกล่าวกับมารดาว่า แม่จ๋า..แม่จงให้ผ้าสาฎกฉัน ฉันจะห่มไปเล่นนักขัตฤกษ์ มารดาได้นำผ้าที่ใช้แล้วมาให้เขา เขาปฏิเสธว่า ผ้านี้หยาบไปจ้ะแม่ นางก็นำผ้าผืนอื่นมาให้ แต่ไม่ว่าจะนำผ้าผืนใดมา เขาก็ปฏิเสธว่าผ้านั้นหยาบไป มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า

    <DD>ลูก..เราเกิดในตระกูลเช่นนี้ พวกเราไม่มีบุญที่จะได้ผ้าเนื้อละเอียดกว่านี้หรอก เขากล่าวว่า แม่จ๋า..ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปยังที่ที่จะได้ผ้าที่มีเนื้อละเอียดกว่านี้ มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย..แม่ปรารถนาให้เจ้าได้ราชสมบัติในกรุงพาราณสีวันนี้ทีเดียวน่ะ เขาไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่ มารดาว่า ไปเถอะลูก นัยว่ามารดาของเขามีความคิดว่า มันจะไปไหนเสีย คงจะนั่งที่นี่ ที่นั่นอยู่ในเรือนหลังนี้แหละ </DD>
    <DD>กุมารนั้นก็ออกไปตามเหตุแห่งกรรมที่กำหนดไว้ จนถึงกรุงพาราณสี แล้วเข้าไปนอนคลุมศีรษะอยู่บนแผ่นมงคลศิลาอาสน์ ในพระราชอุทยานของพระเจ้าพาราณสี ในวันนั้นเป็นวันที่พระเจ้าพาราณสีสวรรคตแล้วเป็นวันที่ ๗ เหล่าอำมาตย์ทั้งหลายเมื่อทำการถวายพระเพลิงพระศพแล้ว ก็นั่งปรึกษากันอยู่ที่พระลานหลวง ปรารภว่าว่า พระราชามีแต่พระธิดา ไม่มีพระราชโอรส ราชสมบัติไม่มีพระราชาปกครองเป็นเรื่องไม่สมควร ใครสมควรจะได้เป็นพระราชา

    <DD>เหล่าอำมาตย์ต่างก็ออกความเห็นว่า ท่านโน้นควรเป็น ท่านนี้ควรเป็น ปุโรหิตกล่าวว่า ไม่ควรเลือกมาก เอาเถอะ พวกเราจะบวงสรวงเทวดาแล้วเสี่ยงราชรถไปเพื่อหาผู้ที่สมควรจะครองราชย์ อำมาตย์เหล่านั้นจึงจัดแจงเทียมม้า ๔ ตัว แล้วตั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง กับเศวตรฉัตรไว้บนรถแล้วปล่อยราชรถนั้นไป แล้วให้ประโคมดนตรีตามไปข้างหลัง ม้านำราชรถออกทางประตูด้านทิศปราจีน บ่ายหน้าไปทางพระราชอุทยาน

    <DD>อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า รถบ่ายหน้าไปทางพระราชอุทยาน เพราะม้ามีความคุ้นเคยกับอุทยาน พวกท่านจงให้กลับมา ปุโรหิตกล่าวว่า อย่าให้กลับ ม้านำราชรถไปยังแท่นที่กุมารนอนอยู่ กระทำประทักษิณแก่กุมารแล้วจึงได้หยุดราวกับเตรียมพร้อมที่จะให้ขึ้น ปุโรหิตจึงเดินเข้าไปเลิกชายผ้าห่มด้านเท้าของกุมารที่นอนหลับอยู่ เพื่อตรวจดูพื้นเท้าของกุมาร

    <DD>ครั้นตรวจดูแล้วจึงกล่าวว่า ไม่เพียงแค่ชมพูทวีปนี้ทวีปเดียว แต่ท่านผู้นี้สมควรได้ครองราชย์ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปสองพันเป็นบริวาร แล้วสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้น ๓ ครั้ง

    อำมาตย์ถวายราชสมบัติ

    <DD>เมื่อกุมารนั้นได้ยินเสียงประโคมดนตรีจึงตื่นขึ้น แล้วเปิดผ้าที่คลุมหน้าขึ้น มองดูเหล่าอำมาตย์ที่มาห้อมล้อมอยู่แล้วพูดว่า ท่านทั้งหลาย..พวกท่านมาด้วยกิจกการอะไรกัน พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เหล่าข้าพระองค์ขอถวายราชสมบัติแก่พระองค์ กุมารถามขึ้นว่า แล้วพระราชาของพวกท่านไปไหนเสียเล่า ? อำมาตย์ตอบว่า ได้เสด็จทิวงคตเสียเมื่อ ๗ วันที่แล้ว กุมารถามต่อไปว่า พระราชโอรสหรือพระราชธิดาของท่านไม่มีหรือ ?

    <DD>อำมาตย์ ข้าแต่สมมติเทพ..พระราชธิดามี พระราชโอรสไม่มี กุมารรับว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เราจักครองราชย์ เหล่าอำมาตย์ได้ยินรับสั่งเช่นนั้น จึงสั่งให้สร้างมณฑปสำหรับอภิเษกในขณะนั้นทันที แล้วประดับพระราชธิดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างนำมายังพระราชอุทยานทำการอภิเษกกับกุมาร.

    <DD>เมื่อพระกุมารทำการอภิเษกแล้ว ประชาชนนำผ้ามีราคาแสนหนึ่งมาถวาย พระกุมารกล่าวว่า นี้อะไรท่าน พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ผ้านุ่งพระเจ้าข้า, พระกุมาร ผ้านี้เนื้อหยาบไป มีผ้าอื่นที่เนื้อละเอียดกว่านี้หรือไม่ ? อำมาตย์ข้าแต่สมมติเทพ ในบรรดาผ้าที่มนุษย์ทั้งหลายใช้สอย ผ้าที่เนื้อละเอียดกว่านี้ไม่มี..พระเจ้าข้า พระกุมารกล่าวว่า พระราชาของพวกท่านทรงผ้านุ่งเช่นนี้หรือ ?

    <DD>อำมาตย์ พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ..พระกุมาร พระราชาของพวกท่านคงจะไม่มีบุญ พวกท่านจงนำพระเต้าทองมา เราจะทำให้ได้ผ้า อำมาตย์เหล่านั้นนำพระเต้าทองมาถวาย พระกุมารนั้นลุกขึ้นล้างพระหัตถ์ บ้วนพระโอฐ เอาพระหัตถ์วักน้ำสาดไปทางทิศตะวันออก

    <DD>ในขณะนั้นเอง ต้นกัลปพฤกษ์ก็ชำแรกแผ่นดินทึบผุดขึ้นมา ๘ ต้น ทรงวักน้ำสาดไปอีกทั่วทิศ ๓ ทิศอย่างนี้คือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศเหนือ ต้นกัลปพฤกษ์ผุดขึ้นในทิศทั้ง ๔ ทิศละ ๘ ต้น รวมเป็น ๓๒ ต้น พระกุมารนั้นทรงปรารถนา "ผ้าทิพย์" จากต้นกัลปพฤกษ์ ครั้นได้แล้วจึงทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง ดังนี้แล้วให้ยกฉัตรขึ้น ทรงประดับตกแต่งพระองค์ ทรงขึ้นช้างตัวประเสริฐเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาทเสวยมหาสมบัติ.

    <DD>ครั้งกาลเวลาผ่านไป วันหนึ่งพระเทวีเห็นมหาสมบัติของพระราชาแล้ว ทรงปรารภแก่พระสวามีว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในอดีตกาลพระองค์ได้ทรงศรัทธาต่อพระพุทธทั้งหลาย ได้ทรงกระทำกรรมดีไว้ในอดีต ในชาตินี้จึงทรงได้มหาสมบัติเช่นนี้

    <DD>ในชาติปัจจุบันนี้ ยังไม่ทรงกระทำกุศลที่จะเป็นปัจจัยแก่อนาคต พระราชาตรัสว่า เราจักทำกุศลแก่ใคร เรายังไม่เห็นผู้มีศีล พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชมพูทวีปไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายดอก พระองค์โปรดทรงตระเตรียมทานไว้เท่านั้น หม่อมฉันจะอาราธนาพระอรหันต์ในวันรุ่งขึ้น

    <DD>พระราชารับสั่งให้ตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศปราจีน พระเทวีทรงอธิษฐานองค์อุโบสถศีลแต่เช้าตรู่ ทรงบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกหมอบลงบนปราสาทชั้นบนแล้วกล่าวว่า ถ้าพระอรหันต์มีอยู่ในทิศนี้ พรุ่งนี้ขอนิมนต์มารับภิกษาหารของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด

    <DD>ปรากฏว่าในทิศนั้นไม่มีพระอรหันต์มาปรากฎ พระนางก็ได้ให้แจกจ่ายสักการะที่เตรียมไว้นั้นแก่คนกำพร้า และยาจก ในวันรุ่งขึ้นทรงตระเตรียมทานไว้ทางประตูทิศใต้แล้วได้กระทำเหมือนอย่างนั้น ก็ไม่มีพระอรหันต์มาปรากฎในทิศนั้น ในวันรุ่งขึ้นทางประตูทิศตะวันตกก็เช่นเดียวกัน

    ถวายทานพระปัจเจกพุทธเจ้า

    <DD>ในวันที่ทรงตระเตรียมไว้ทางประตูทิศเหนือ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นพี่ชายของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ผู้เป็นโอรสของ พระนางปทุมวดี อยู่ในป่าหิมพานต์ เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นน้องชายซึ่งถูกพระเทวีนิมนต์อย่างนั้นมาว่า

    <DD>ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระเจ้านันทราช นิมนต์ท่านทั้งหลาย ท่านจงรับนิมนต์ของท้าวเธอเถิด พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์แล้ว ในวันรุ่งขึ้นเมื่อล้างหน้าที่สระอโนดาดแล้วเหาะไปลงที่ประตูทางด้านทิศเหนือ

    <DD>เหล่าชนมากราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ มาแล้วพระเจ้าข้า พระราชาเสด็จ ไปพร้อมกับพระเทวี ทรงไหว้แล้วรับบาตรนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายขึ้นสู่ปราสาท ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

    <DD>ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระราชาทรงหมอบที่ใกล้เท้าพระสังฆเถระ พระเทวีหมอบที่ใกล้เท้าพระสังฆนวกะ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าทั้งหลายขออาราธนาท่านทั้งหลาย จงให้ปฏิญญาเพื่ออยู่ในที่นี้จนตลอดอายุของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด ครั้นท่านรับปฏิญญาแล้ว จึงให้ตกแต่งสถานที่สำหรับอยู่อาศัยแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นในพระอุทยาน คือ บรรณศาลา ๕๐๐ หลัง ที่จงกรม ๕๐๐ ที่ แล้วให้ท่านอยู่ในที่นั้นนั่นแล

    เหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน

    <DD>ครั้นกาลเวลาล่วงไป เมืองชายแดนของพระราชาก่อการกำเริบขึ้น พระองค์ทรงกล่าวแก่พระเทวีว่า พี่จะไประงับเหตุที่เมืองชายแดน เธออย่าละเลยพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วเสด็จออกไปจากพระนคร ในระหว่างที่พระองค์ยังไม่เสด็จกลับ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็สิ้นอายุสังขาร.ในวันเดียวกัน

    <DD>ในวันนั้น พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า ทรงฌานตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในเวลาอรุณขึ้น ทรงยืนเหนี่ยวแผ่นกระดานสำหรับใช้เป็นที่ยึด แล้วทรงปรินิพพานด้วย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหลือทั้งหมด ก็ปรินิพพานในลักษณะเดียวกัน

    <DD>ในวันรุ่งขึ้น พระเทวีทรงให้ตกแต่งที่นั่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยดอกไม้ จุดเครื่องหอม นั่งคอยพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา เมื่อไม่เห็นมาจึงส่งราชบุรุษไปดูว่าเกิดเหตุใดขึ้นกับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ราชบุรุษนั้นไปเปิดประตูบรรณศาลาของพระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า ไม่พบท่านในบรรณศาลานั้น จึงไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสำหรับยึด จึงไหว้ แล้วกล่าวว่า ได้เวลาแล้วเจ้าข้า

    <DD>ราชบุรุษนั้นเห็นว่าท่านไม่ทรงตอบจึงคิดว่าท่านหลับ จึงเดินไปเอามือลูบที่หลังเท้า จึงรู้ว่าท่านได้เสด็จปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าทั้งสองเย็นและแข็ง จึงไปยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ เมื่อรู้ว่าองค์ที่ ๒ ปรินิพพานแล้วเช่นกัน ก็ไปยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ สุดท้ายก็รู้ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์ปรินิพพานแล้ว

    <DD>จึงไปกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปรินิพพานแล้ว พระเทวีทรงกรรแสงคร่ำครวญ เสด็จออกไปที่บรรณศาลานั้นพร้อมกับชาวเมือง รับสั่งให้เล่าสาธุกีฬา (การเล่นที่เกี่ยวกับเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) กระทำฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วเก็บธาตุสร้างพระเจดีย์ ไว้

    พระราชาเสด็จกลับ

    <DD>เมื่อพระราชาทรงปราบเมืองชายแดนให้สงบแล้วเสด็จกลับมา รับสั่งถามพระเทวีผู้เสด็จมาต้อนรับถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พระเทวีทูลว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว พระราชาทรงพระดำริ ว่า มรณะยังเกิดแก่บัณฑิตทั้งหลายเช่นนี้ พวกเราก็จะไม่พ้นไปเช่นกัน

    <DD>พระองค์จึงไม่เสด็จเข้าไปในพระนคร เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานเลยทีเดียว รับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มาแล้วมอบราชสมบัติแก่พระโอรสนั้น แล้วทรงผนวชเป็นสมณะ ฝ่ายพระเทวีก็ทรงผนวชอยู่ในพระราชอุทยานนั้นเช่นกัน พระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้น บำเพ็ญฌาน จนถึงอายุขัยจึงได้ตายแล้วไป บังเกิดในพรหมโลก

    <DD>ได้ยินว่า พระเจ้านันทราชนั้น ได้เป็น พระมหากัสสปเถระ พระสาวกผู้ใหญ่แห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย. พระอัครมเหสีของพระเจ้านันทราชนั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า ภัททากาปิลานี. ก็พระเจ้านันทราชนี้ทรงนุ่งห่มผ้าทิพย์ด้วยพระองค์เองถึง ๑๐,๐๐๐ ปี ทรงทำแว่นแคว้นของพระองค์ทั้งหมดทีเดียวให้เป็นเหมือนอุตตรกุรุทวีป ได้ให้ผ้าทิพย์แก่พวกมนุษย์ผู้มาถึงแล้ว ๆ.
    </DD>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติพระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า

    <DD>ตามประวัติเล่าว่า พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยเป็นพระโอรสของ พระนางอุบลวรรณาเถรี มาก่อน

    <DD>ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า "ปทุมุตตระ"พระนางถือปฏิสนธิในครอบครัวในกรุงหังสวดี ภายหลังไปสำนักพระศาสดาพร้อมกับมหาชน กำลังฟังธรรมอยู่ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีฤทธิ์ จึงถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน ปรารถนาตำแหน่งนั้น นางทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์.

    <DD>ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ถือปฏิสนธิในราชนิเวศน์ของพระราชาพระนามว่า กิงกิ กรุงพาราณสี เป็นพระธิดาอยู่ในระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ทำบริเวณถวายภิกษุสงฆ์ บังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นไปสู่มนุษยโลกอีก บังเกิดในถิ่นของคนทำงานด้วยมือตนเองเลี้ยงชีพในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง.

    <DD>(พระราชธิดา ๗ พระองค์นั้น ในบัดนี้ คือ พระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระนางกุณฑลเกสีเถรี (พระภัททากุณฑลเกสาเถรี) พระกิสาโคตมีเถรี พระธรรมทินนาเถรี และ นางวิสาขา)

    <DD>วันหนึ่ง นางไปยังกระท่อมในนา ระหว่างทางเห็นดอกปทุมบานแต่เช้าตรู่ในสระแห่งหนึ่ง ลงสระนั้นแล้วเก็บดอกปทุมนั้นและใบของปทุมเพื่อใส่ข้าวตอก เด็ดรวงข้าวสาลีใกล้คันนา นั่งในกระท่อมคั่วข้าวตอก นับได้ ๕๐๐ ดอก ขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งออกจากนิโรธสมาบัติที่เขาคันธมาทน์ มายืนไม่ไกลนาง. นางแลเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ถือดอกปทุมพร้อมทั้งข้าวตอกลงจากกระท่อม ใส่ข้าวตอกในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ปิดบาตรด้วยดอกปทุมถวาย.

    <DD>ครั้งนั้น เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไปได้หน่อยหนึ่ง นางก็คิดว่า ธรรมดาเหล่าบรรพชิตไม่ต้องการดอกไม้ จำเราจักไปเอาดอกไม้มาประดับ แล้วไปเอาดอกไม้จากมือพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วคิดอีกว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องการดอกไม้ไซร้ ท่านจะไม่ให้วางดอกไม้นั้นไว้บนบาตร พระผู้เป็นเจ้าจักต้องการแน่แท้ แล้วไปวางไว้บนบาตรอีก ขอขมาแล้วทำความปรารถนาว่า

    <DD>พระคุณเจ้าข้า..ด้วยผลานิสงส์ของข้าวตอกเหล่านี้ ขอจงมีบุตรเท่าจำนวนข้าวตอก ด้วยผลานิสงส์ของดอกปทุม ขอดอกปทุมจงผุดทุกย่างก้าวของดิฉัน ในสถานที่เกิดแล้ว.."

    <DD>ทั้งที่นางเห็นอยู่นั่นแล พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไปสู่เขาคันธมาทน์ทางอากาศ วางดอกปทุมนั้นไว้สำหรับเช็ดเท้าใกล้บันไดที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหยียบ ณ เงื้อมเขานันทมูลกะ ด้วยผลทานนั้น นางถือปฏิสนธิในเทวโลก. จำเดิมแต่เวลาที่นางเกิด ดอกปทุมขนาดใหญ่ก็ผุดขึ้นทุกๆ ย่างก้าวของนาง นางจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ก็บังเกิดในห้องของดอกปทุม ในสระปทุมแห่งหนึ่งใกล้เชิงเขาที่ดาบสองค์หนึ่งอาศัยเชิงเขาอยู่.

    <DD>ดาบสนั้นไปสระแต่เช้าตรู่ เพื่อล้างหน้า เห็นดอกไม้นั้นแล้วก็คิดว่า ดอกนี้ใหญ่กว่าดอกอื่นๆ ดอกอื่นๆ บาน ดอกนี้ยังตูมอยู่ คงจะมีเหตุในดอกนั้น แล้วจึงลงน้ำ จับดอกนั้น. พอดาบสนั้นจับเท่านั้น มันก็บาน. ดาบสเห็นเด็กหญิงนอนอยู่ภายในห้องปทุม ได้ความสิเนหาดังธิดา นับแต่พบเข้า จึงนำไปบรรณศาลาพร้อมทั้งดอกปทุม ให้นอนบนเตียง.

    <DD>ขณะนั้นด้วยบุญญานุภาพของนาง น้ำนมก็บังเกิดที่นิ้วหัวแม่มือ. ดาบสนั้นเมื่อดอกปทุมนั้นเหี่ยวก็นำดอกปทุมดอกอื่นมาแทน ให้เด็กหญิงนั้นหลับนอน. นับตั้งแต่เด็กหญิงนั้นสามารถเล่นวิ่งมาวิ่งไปได้ ดอกปทุมก็ผุดทุกๆ ย่างก้าว. ผิวพรรณแห่งสรีระของนางเป็นเหมือนดอกบัวบก. เด็กหญิงนั้นยังไม่เจริญวัย ก็ล้ำผิวพรรณเทวดา ล้ำผิวพรรณมนุษย์. เมื่อบิดาไปแสวงหาผลาผล เด็กหญิงนั้นก็ถูกทิ้งไว้ที่บรรณศาลา.

    <DD>เมื่อเวลาเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อบิดาไปแสวงหาผลาผล พรานป่าคนหนึ่งเห็นนางก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าเหล่ามนุษย์รูปร่างอย่างนี้ไม่มี จำเราจักตรวจสอบนาง แล้วนั่งรอการมาของดาบส. เมื่อบิดากลับมา นางก็เดินสวนทางไปรับสาแหรกจากมือของดาบสนั้นมาด้วยตัวเอง แล้วแสดงข้อวัตรที่ตนควรทำแก่ดาบสซึ่งนั่งลงแล้ว.

    <DD>ครั้งนั้น นายพรานป่าก็รู้ว่านางเป็นมนุษย์ จึงกราบดาบสแล้วนั่งลง ดาบสจึงต้อนรับด้วยผลหมากรากไม้กับน้ำดื่มแล้วถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจักพักอยู่ในที่นี้หรือจักไป. เขาตอบว่า จักไปเจ้าข้า อยู่ในที่นี้จักทำอะไรได้. ดาบสขอร้องว่า เหตุที่ท่านเห็นอยู่นี้อย่าได้พูดไปเลยนะ. เขารับว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่ประสงค์ก็จะพูดไปเพราะเหตุไรเล่า แล้วไหว้ดาบส ทำกิ่งไม้รอยเท้าและเครื่องหมายต้นไม้ไว้ในเวลาที่จะมาอีก ก็หลีกไป.

    <DD>นายพรานป่านั้นไปกรุงพาราณสีเฝ้าพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า เหตุไรเจ้าจึงมา. กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาทเป็นพรานป่าของพระองค์ พบอิตถีรัตนะอันน่าอัศจรรย์ที่เชิงเขา จึงมาเฝ้าพระเจ้าข้า แล้วทูลเล่าเรื่องทั้งหมดถวาย.

    <DD>พระราชาสดับคำของนายพรานป่านั้นแล้วรีบเสด็จไปเชิงเขา ตั้งค่ายพักในที่ไม่ไกลจึงพร้อมด้วยนายพรานป่า และเหล่าราชบุรุษอื่นๆ เสด็จไปที่นั้น เวลาดาบสนั่งฉันอาหาร ทรงอภิวาทปฏิสันถารแล้วประทับนั่ง พระราชาทรงวางเครื่องบริขารสำหรับนักบวชไว้แทบเท้าดาบส ตรัสว่า ท่านเจ้า ข้าพวกเราจะทำอะไรสักอย่างก็จะไป.

    <DD>ดาบสทูลว่า โปรดเสด็จไปเถิด มหาบพิตร. ตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าจะไป ได้ทราบว่าบริษัทที่เป็นข้าศึกอยู่ใกล้พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่ บริษัทนั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำให้การปฏิบัติเนิ่นช้าสำหรับนักบวชทั้งหลาย ขอบริษัทนั้นจงไปเสียกับข้าพเจ้าเถิด ท่านเจ้าข้า. ทูลว่า ขึ้นชื่อว่าจิตใจของเหล่ามนุษย์ร้ายนัก หญิงผู้นี้จักอยู่กลางหมู่ผู้คนมากๆ อย่างไรได้. ตรัสปลอบว่า ท่านเจ้าข้า นับแต่ข้าพเจ้าชอบใจนางก็จะตั้งนางไว้ในตำแหน่งหัวหน้าของคนอื่นๆ ทะนุบำรุงไว้.

    <DD>ดาบสฟังพระราชดำรัสแล้ว ก็ร้องเรียกธิดาโดยชื่อที่ตั้งไว้ครั้งยังเล็กๆ ว่า ลูกปทุมวดีจ๋า โดยเรียกคำเดียว นางก็ออกมาจากบรรณศาลายืนไหว้บิดา. บิดาจึงกล่าวกะนางว่า ลูกเอ๋ย..เจ้าเจริญวัยแล้วคงจะอยู่ในที่นี้ได้ไม่ผาสุก นับแต่พระราชาทรงพบแล้ว จงไปกับพระราชาเสียเถิดนะลูกนะ. นางรับคำบิดาว่า เจ้าค่ะ..ท่านพ่อ ไหว้บิดาแล้วเดินไปร้องไห้ไป. พระราชาทรงพระดำริว่า จำเราจะยึดจิตใจบิดาของหญิงผู้นี้ จึงวางนางไว้บนกองกหาปณะแล้วทรงทำอภิเษก.

    <DD>จำเดิมแต่พระราชาทรงพานางมาถึงนครของพระองค์แล้ว ก็ไม่ทรงเหลียวแลสตรีอื่นๆ เลย ทรงอภิรมย์อยู่กับนางเท่านั้น. เหล่าสตรีอื่นๆ ก็ริษยา ประสงค์จะทำนางให้แตกกันระหว่างพระราชา จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หญิงผู้นี้มิใช่ชาติมนุษย์ดอกเพคะ ดอกปทุมทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในที่พวกมนุษย์ท่องเที่ยวไป พระองค์เคยพบแล้วมิใช่หรือ หญิงผู้นี้ต้องเป็นยักษิณีแน่แล้ว โปรดขับไล่มันไปเถิดเพคะ.

    <DD>พระราชาทรงสดับคำของสตรีเหล่านั้น ก็ได้แต่ทรงนิ่งอยู่ บังเอิญสมัยนั้น เมืองทางชายแดนก่อการกำเริบ พระนางปทุมวดีก็ทรงพระครรภ์แก่ เพราะฉะนั้น พระราชาจึงทรงคงพระนางไว้ในพระนคร เสด็จไปเมืองชายแดน.

    <DD>ครั้งนั้น สตรีเหล่านั้นจึงติดสินบนหญิงผู้รับใช้พระนางสั่งว่า เจ้าจงนำทารกของพระนางที่พอคลอดแล้วออกไป จงเอาท่อนไม้ท่อนหนึ่งทาเลือดแล้ววางไว้ใกล้ๆ แทน ไม่นานนัก พระนางปทุมวดีก็ประสูติ "พระมหาปทุมกุมาร" อยู่ในพระครรภ์พระองค์เดียว. นอกนั้นทารก ๔๙๙ พระองค์ก็บังเกิดเป็น "สังเสทชะ"

    <DD>(อธิบาย : การเกิด จำแนกเป็น ๔ ลักษณะ คือ ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ
    ชลาพุชะ คือ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ ได้แก่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย
    อัณฑชะ คือ สัตว์ที่เกิดในไข่ ได้แก่ สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด
    สังเสทชะ คือ สัตว์ที่เกิดในเมือกในไคล เช่น แมลง
    โอปปาติกะ คือ สัตว์ที่ผุดขึ้นทันใดไม่ต้องอาศัยที่ตั้ง เช่น เทวดา มาร พรหม สัตว์นรก เปรตและมนุษย์ในยุคแรกของวัฒนาการ)


    <DD>ในขณะที่พระมหาปทุมกุมารออกจากครรภ์ของพระมารดาแล้วบรรทมอยู่ ขณะนั้น หญิงรับใช้พระนางรู้ว่าพระนางปทุมวดีนี้ยังไม่ได้สติก็เอาท่อนไม้ท่อนหนึ่งทาเลือดแล้ววางไว้ใกล้ๆ แล้วก็ให้สัญญาณนัดหมายแก่สตรีเหล่านั้น สตรีทั้ง ๕๐๐ คนแต่ละคนก็รับทารกคนละองค์ ส่งไปสำนักของเหล่าช่างกลึง ให้นำกล่องทั้งหลาย มาแล้วให้ทารกที่แต่ละคนรับไว้นอนในกล่องนั้น ทำตราเครื่องหมายไว้ภายนอกวางไว้.

    <DD>ฝ่ายพระนางปทุมวดีรู้สึกพระองค์แล้วถามหญิงรับใช้นั้นว่า ข้าคลอดบุตรหรือจ๊ะแม่นาง. หญิงผู้นั้นพูดขู่พระนางว่า พระนางจักได้ทารกแต่ไหนเล่า มีแต่ทารกที่ออกจากพระครรภ์พระนางอันนี้ แล้วก็วางท่อนไม้ที่เปื้อนเลือดไว้เบื้องพระพักตร์. พระนางทอดพระเนตรเห็นแล้ว ก็เสียพระหฤทัย ตรัสว่า เจ้าจงรีบผ่าท่อนไม้นั้นเอาออกไปเสีย ถ้าใครเขาเห็นจะอับอายขายหน้าเขา. หญิงผู้นั้นฟังพระราชเสาวนีย์ก็ทำเป็นหวังดี ผ่าท่อนไม้แล้วใส่เตาไฟ.

    <DD>ฝ่ายพระราชาเสด็จกลับจากเมืองชายแดนแล้ว รอพระฤกษ์อยู่ ตั้งค่ายพักอยู่นอกพระนคร. ครั้งนั้น สตรี ๕๐๐ คนก็มาต้อนรับพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์คงจักไม่ทรงเชื่อข้าพระบาททั้งหลายว่า ที่ข้าพระบาทกราบทูลประหนึ่งไม่มีเหตุ ขอได้โปรดสอบถามหญิงรับใช้พระมเหสีดู พระเทวีประสูติเป็นท่อนไม้.

    <DD>พระราชาทรงสอบสวนเหตุนั้นแล้วทรงพระดำริว่า พระนางคงจักไม่ใช่ชาติมนุษย์แน่ ดังนี้ แล้วทรงขับไล่พระนางออกไปจากพระราชนิเวศน์ พอพระนางเสด็จออกพระราชนิเวศน์เท่านั้น ดอกปทุมทั้งหลายก็อันตรธานไป พระสรีระก็มีผิวพรรณแปลกไป พระนางทรงดำเนินไปในท้องถนนพระองค์เดียว.

    <DD>ครั้งนั้น หญิงเจริญวัยผู้หนึ่งแลเห็นพระนางก็เกิดสิเนหาพระนางประดุจว่าเป็นธิดา จึงพูดว่า แม่คุณจะไปไหนจ๊ะ. พระนางตรัสว่า ดิฉันเป็นคนจร กำลังเที่ยวเดินหาที่อยู่จ้ะ. หญิงชราพูดว่า มาอยู่เสียที่นี้ซิจ๊ะ แล้วให้ที่อยู่ จัดแจงอาหารให้เสวย.

    <DD>เมื่อพระนางอยู่ในที่นั้นโดยทำนองนี้ สตรี ๕๐๐ คนนั้นก็ร่วมใจกันกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เมื่อพระองค์ประทับค่ายพัก พวกข้าพระบาทมีความปรารถนาว่า เมื่อเทวะของพวกข้าพระบาทชนะสงครามกลับมา จักทรงเล่นกีฬาทางน้ำ เป็นพลีกรรมแก่เทวดาประจำแม่คงคา ขอเทวะโปรดประกาศให้ทราบเรื่องนี้เพคะ.

    <DD>พระราชาดีพระหฤทัย ด้วยคำทูลของสตรีเหล่านั้น เสด็จไปทรงกีฬาทางน้ำในแม่พระคงคา หญิงเหล่านั้นถือกล่องที่แต่ละคนรับไว้อย่างมิดชิดไปยังแม่น้ำห่มคลุมเพื่อปกปิดกล่องเหล่านั้น ทำเป็นตกน้ำแล้วทิ้งกล่องทั้งหลายเสีย กล่องเหล่านั้นมารวมกันหมดแล้ว ติดอยู่ในข่ายที่เขาขึงไว้ใต้กระแสน้ำ. แต่นั้น เวลาที่พระราชาทรงกีฬาทางน้ำเสด็จขึ้นแล้ว ราชบุรุษทั้งหลายก็ยกตาข่ายขึ้นเห็นกล่องเหล่านั้น จึงนำไปราชสำนัก.

    <DD>พระราชาทอดพระเนตรเห็นกล่องทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า อะไรในกล่อง. พอเขากราบทูลว่า ยังไม่ทราบพระเจ้าข้า. ท้าวเธอทรงให้เปิดกล่องเหล่านั้นสำรวจดู ทรงให้เปิดกล่องใส่พระมหาปทุมกุมารเป็นกล่องแรก ในวันนี้พระกุมารเหล่านั้นทั้งหมดบรรทมอยู่ในกล่องทั้งหลาย น้ำนมก็บังเกิดที่หัวนิ้วแม่มือด้วยบุญฤทธิ์.

    <DD>ท้าวสักกเทวราชสั่งให้จารึกอักษรไว้ที่ข้างในกล่อง เพื่อพระราชาจะได้ไม่ทรงสงสัยว่า พระกุมารเหล่านี้ประสูติในพระครรภ์ของพระนางปทุมวดี เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี.

    <DD>ครั้งนั้น สตรี ๕๐๐ คน ซึ่งเป็นศัตรูของพระนางปทุมวดี ใส่พระกุมารเหล่านั้นไว้ในกล่องแล้วโยนน้ำ ขอพระราชาโปรดทราบเหตุนี้ พอเปิดกล่องพระราชาทรงอ่านอักษรทั้งหลายแล้วทอดพระเนตรเห็นทารกทั้งหลาย ทรงยกพระมหาปทุมกุมารขึ้น ตรัสสั่งว่า จงรีบเทียมรถจัดม้าไว้ วันนี้เราจักเข้าไปในพระนคร ทำให้เป็นที่รักสำหรับแม่บ้านบางจำพวก แล้วเสด็จขึ้นปราสาท ทรงวางถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ไว้บนคอช้าง โปรดให้ตีกลองป่าวประกาศ ว่า ผู้ใดพบพระนางปทุมวดี ผู้นั้นจงรับถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะไป.

    <DD>พระนางปทุมวดีทรงได้ยินคำประกาศนั้นแล้ว ได้ให้สัญญานัดหมายแก่มารดาว่า แม่จ๋า จงรับถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะจากคอช้างเถิด. หญิงชรากล่าวว่า ข้าไม่อาจรับทรัพย์ขนาดนั้นได้ดอก. พระนาง แม้เมื่อมารดาปฏิเสธ ๒-๓ ครั้ง ก็ตรัสว่า แม่พูดอะไร รับไว้เถิดแม่. หญิงชราคิดว่า ลูกของเราคงพบพระนางปทุมวดี เพราะฉะนั้นจึงกล่าวว่ารับไว้เถิด. หญิงชรานั้นจึงจำใจเดินไปรับถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ.

    <DD>ขณะนั้น ผู้คนทั้งหลายพากันถามหญิงชรานั้นว่า คุณแม่ เห็นพระนางปทุมวดีเทวีหรือ. หญิงชราตอบว่า ข้าไม่เห็นดอกแต่ลูกสาวของข้าเห็น. ผู้คนเหล่านั้นถามว่า ก็ลูกสาวของคุณแม่อยู่ที่ไหนเล่า แล้วก็เดินไปกับหญิงชรานั้น จำพระนางปทุมวดีได้ก็พากันหมอบอยู่แทบยุคลบาท.

    <DD>ในเวลานั้น หญิงชรานั้นก็ชี้ว่า นี้พระนางปทุมวดีเทวี แล้วกล่าวว่า ผู้หญิงทำกรรมหนักหนอ เป็นถึงพระมเหสีของพระราชาอย่างนี้ ยังอยู่ปราศจากอารักขา ในสถานที่เห็นปานนี้ ราชบุรุษเหล่านั้นเอาม่านขาววงล้อมเป็นนิเวศน์ของพระนางปทุมวดี ตั้งกองอารักขาไว้ใกล้ประตู แล้วกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรงส่งสุวรรณสีวิกา พระวอทองไปรับ.

    <DD>พระนางรับสั่งว่า เราจะไม่ไปอย่างนี้ เมื่อพวกท่านลาดเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้อย่างดี ระหว่างตั้งแต่สถานที่อยู่ของเราจนถึงพระราชนิเวศน์ ให้ติดเพดานผ้าอันวิจิตรด้วยดาวทองไว้ข้างบน แล้วส่งสรรพอาภรณ์เพื่อประดับไป เราจักเดินไปด้วยเท้า ชาวพระนครจักเห็นสมบัติของเราอย่างนี้ พระราชาตรัสว่า พวกท่านจงทำตามความชอบใจของปทุมวดี แต่นั้น พระนางปทุมวดีทรงพระดำริว่า เราจักประดับเครื่องประดับทุกอย่างเดินไปพระราชนิเวศน์แล้วเสด็จเดินทาง.

    <DD>ครั้งนั้น ดอกปทุมทั้งหลายก็ชำแรกเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้อย่างดี ผุดขึ้นในที่ทุกย่างก้าวพระบาทของพระนาง. พระนางครั้นแสดงสมบัติของพระองค์แก่มหาชนแล้ว เสด็จขึ้นพระราชนิเวศน์ โปรดประทานเครื่องลาดอันวิจิตรทั้งหมดเป็นค่าเลี้ยงดูแก่หญิงชรานั้น.

    <DD>พระราชารับสั่งให้เรียกสตรี ๕๐๐ คนมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนเทวี เราให้หญิงเหล่านี้เป็นทาสีของเจ้า. พระนางทูลว่า ดีละเพคะ หม่อมฉันขอให้ทรงประกาศให้ชาวเมืองทั่วไปได้ทราบว่า หญิงเหล่านี้พระราชทานแก่หม่อมฉันแล้ว. พระราชาก็โปรดให้ตีกลองป่าวประกาศว่า หญิง ๕๐๐ คนผู้ประทุษร้ายพระนางปทุมวดี เราให้เป็นทาสีของพระนางพระองค์เดียว.

    <DD>พระนางปทุมวดีนั้นทรงทราบว่า ในนครทั่วไป กำหนดรู้ว่า หญิงเหล่านั้นเป็นทาสีแล้ว จึงทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่เทวะ หม่อมฉันจะทำทาสีของหม่อมฉันให้เป็นไท ได้ไหมเพคะ. พระราชารับสั่งว่า เทวี เจ้าต้องการก็ได้สิ.

    <DD>พระนางกราบทูลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอได้ทรงโปรดให้เรียกคนตีกลองป่าวประกาศสั่งให้เขาตีกลองป่าวประกาศอีกว่า พวกทาสีที่พระองค์พระราชทานแก่พระนางปทุมวดี พระนางทำให้เป็นไทหมดทั้ง ๕๐๐ คนแล้ว. เมื่อสตรีเหล่านั้นเป็นไทแล้ว พระนางก็มอบพระโอรส ๔๙๙ พระองค์ให้สตรีเหล่านั้นเลี้ยงดู. ส่วนพระองค์เองทรงรับเลี้ยงดูเฉพาะพระมหาปทุมกุมารเท่านั้น.

    <CENTER>ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า</CENTER>
    <DD>เมื่อถึงเวลาพระราชกุมารเหล่านั้นทรงเล่นได้ พระราชาก็โปรดให้สร้างสนามเล่นต่างๆ ไว้ในพระราชอุทยาน พระราชกุมารเหล่านั้นมีพระชันษาได้ ๑๖ พรรษา ทุกพระองค์ก็พร้อมกันลงเล่นในมงคลโบกขรณี ที่ปกคลุมด้วยปทุมในพระราชอุทยาน ทรงเห็นปทุมดอกใหม่บาน ดอกเก่ากำลังหล่นจากขั้ว ก็พิจารณาเห็นว่า

    <DD>ดอกปทุมนี้ไม่มีใจครอง ยังประสบชราเห็นปานนี้ ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงสรีระของพวกเราเล่า แม้สรีระนี้ก็คงจักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน แล้วทรงยึดเป็นอารมณ์ ทุกพระองค์บังเกิดปัจเจกพุทธญาณ แล้วพากันลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิ ณ กลีบดอกปทุม.

    <DD>ขณะนั้น พวกราชบุรุษที่ไปกับพระราชกุมารเหล่านั้นรู้ว่าสายมากแล้ว จึงทูลว่า พระลูกเจ้า..เจ้าข้า ขอได้โปรดทราบเวลาของพระองค์ พระราชกุมารทั้งหมดนั้นก็นิ่งเสีย.

    <DD>ราชบุรุษเหล่านั้นก็พากันไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่เทวะ พระราชกุมารทั้งหลายประทับนั่งในกลีบดอกปทุม เมื่อพวกข้าพระบาทกราบทูล ก็ไม่ทรงเปล่งพระวาจาเลย. พระราชาตรัสว่า พวกเจ้าจงให้พวกเขานั่งตามชอบใจเถิด.

    <DD>พระราชกุมารเหล่านั้นได้รับอารักขาตลอดคืนยังรุ่ง ก็ประทับนั่งในกลีบดอกปทุมทำนองนั้นนั่นแหละจนอรุณจับฟ้า. พวกราชบุรุษก็กลับไป รุ่งขึ้นจึงพากันเข้าไปเฝ้าทูลว่า ขอเทวะทั้งหลาย โปรดทราบเวลาเถิด พระเจ้าข้า.

    <DD>ทุกพระองค์ตรัสว่า พวกเราไม่ใช่เทวะ พวกเราชื่อว่า "พระปัจเจกพุทธะ"

    <DD>พวกเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้าทั้งหลาย พระองค์ตรัสพระดำรัสหนัก พระเจ้าข้า ธรรมดาว่าพระปัจเจกพุทธะทั้งหลายไม่เป็นเช่นพระองค์ดอก ต้องมีหนวดเครา ๒ องคุลี มีบริขาร ๘ สวมพระกายสิ พระเจ้าข้า.

    <DD>พระราชกุมารเหล่านั้นเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระเศียร ทันใดนั้นเอง เพศคฤหัสถ์ก็อันตรธานหายไป กลายเป็นผู้มีบริขาร ๘ สวมพระวรกาย แล้วก็เสด็จไปเงื้อมเขานันทมูลกะ ทั้งที่มหาชนกำลังมองดูอยู่นั่นแล.

    <CENTER>พระนางปทุมวดีสวรรคต</CENTER>
    <DD>ฝ่ายพระนางปทุมวดีก็ทรงเศร้าโศกพระหฤทัยว่า เรามีลูกมาก แต่ก็จำพลัดพรากกันไป. เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคนั้นนั่นแล บังเกิดในสถานของคนทำงานด้วยมือตนเองเลี้ยงชีพ ในหมู่บ้านใกล้ประตูกรุงราชคฤห์.

    <DD>ต่อมา นางมีเหย้าเรือนแล้ว วันหนึ่ง กำลังนำข้าวยาคูไปให้สามี ก็แลเห็นพระปัจเจกพุทธะ ๘ องค์อยู่ในจำนวนบุตรเหล่านั้นของตน ซึ่งกำลังเหาะไปในเวลาแสวงหาอาหาร จึงรีบไปบอกสามีว่า เชิญดูพระผู้เป็นเจ้าปัจเจกพุทธะ ช่วยนิมนต์ท่านมา เราจักถวายอาหาร สามีพูดว่า ขึ้นชื่อว่าพวกนก ก็บินเที่ยวไปอย่างนั้น นั่นไม่ใช่พระปัจเจกพุทธะดอก.

    <DD>พระปัจเจกพุทธะเหล่านั้นก็ลงในที่ไม่ไกลคนทั้ง ๒ นั้น ซึ่งกำลังพูดจากันอยู่ หญิงนั้นก็ถวายโภชนะคือข้าวสวยและกับแกล้มสำหรับตนในวันนั้น แด่พระปัจเจกพุทธะเหล่านั้นแล้วนิมนต์ว่า พรุ่งนี้ ท่านทั้ง ๘ ขอโปรดรับอาหารของดิฉันด้วย.

    <DD>พระปัจเจกพุทธะเหล่านั้นกล่าวว่า ดีละท่านอุบาสิกา ท่านมีสักการะและมีอาสนะ ๘ ที่เท่านั้น ก็พอเห็นพระปัจเจกพุทธะองค์อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ก็จงคงจิตใจของท่านไว้.

    <DD>วันรุ่งขึ้น นางก็ปูอาสนะไว้ ๘ ที่ นั่งจัดสักการะสำหรับพระปัจเจกพุทธะ ๘ องค์ พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายที่รับนิมนต์ จึงให้สัญญานัดหมายแก่เหล่าพระปัจเจกพุทธะนอกนั้นว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย วันนี้อย่าไปที่อื่น ทั้งหมดจงช่วยกันสงเคราะห์โยมมารดาของพวกท่านเถิด. ฟังคำของพระปัจเจกพุทธะ ๘ องค์นั้นแล้วทุกองค์ก็เหาะไปพร้อมกัน ปรากฏอยู่ที่ประตูเรือนของมารดา.

    <DD>แม้นางเห็นพระปัจเจกพุทธะจำนวนมากกว่าสัญญาที่ได้รับคราวแรก ก็มิได้หวั่นไหว นิมนต์ทุกองค์เข้าไปเรือนให้นั่งเหนืออาสนะ. เมื่อพระปัจเจกพุทธะกำลังนั่งตามลำดับ องค์ที่ ๙ ก็เนรมิตอาสนะเพิ่มขึ้นอีก ๘ ที่ ตนเองนั่งเหนืออาสนะที่ไกล. เรือนก็ขยายตามเท่าที่อาสนะเพิ่มขึ้น.

    <DD>เมื่อพระปัจเจกพุทธะทุกองค์นั่งอย่างนั้นแล้ว หญิงนั้นก็ถวายสักการะที่จัดไว้สำหรับพระปัจเจกพุทธะ ๘ องค์จนเพียงพอเท่าพระปัจเจกพุทธะ ๕๐๐ องค์ แล้วจึงนำเอาดอกอุบลขาบทั้ง ๘ ดอกที่อยู่ในมือวางไว้แทบเท้าของพระปัจเจกพุทธะที่นิมนต์มาเท่านั้น กล่าวอธิษฐานว่า ท่านเจ้าข้า ขอผิวกายของดิฉันจงเป็นประดุจผิวภายในห้องดอกอุบลขาบเหล่านี้ ในสถานที่ที่ดิฉันเกิดแล้วเกิดอีกนะเจ้าข้า.

    <DD>พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ท่านอนุโมทนาแก่มารดาแล้วก็ไปสู่เขาคันธมาทน์ แม้หญิงนั้นทำกุศลจนตลอดชีวิต จุติจากภพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก.

    <CENTER>ได้รับตำแหน่งเป็นผู้เลิศฝ่ายผู้มีฤทธิ์</CENTER>
    <DD>ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในครอบครัวเศรษฐี. ก็เพราะนางมีผิวพรรณเสมอด้วยดอกอุบลขาบ. บิดามารดาจึงขนานนามของนางว่า "อุบลวรรณา"

    <DD>เมื่อเวลานางเจริญวัย พระราชาทั่วชมพูทวีปก็ส่งคนไปสำนักเศรษฐีขอนาง ไม่มีราชาพระองค์ใดที่ไม่ส่งคนไปขอ. แต่นั้น เศรษฐีคิดว่า เราไม่อาจยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทุกคนได้ แต่จำเราจะทำอุบายสักอย่างหนึ่ง จึงเรียกธิดามาถามว่า เจ้าบวชได้ไหมลูก. เพราะเหตุที่นางเกิดในภพสุดท้าย คำของบิดานั้นจึงเป็นเหมือนน้ำมันเคี่ยว ๑๐๐ ครั้งราดลงบนศีรษะ. เพราะเหตุนั้น นางจึงกล่าวกะบิดาว่า บวชได้จ้ะพ่อ.

    <DD>เศรษฐีนั้นจึงทำสักการะแก่นางแล้วนำไปสำนักภิกษุณี ให้บวช เมื่อนางบวชใหม่ๆ ถึงเวร [วาระ] ในโรงอุโบสถ. นางตามประทีปกวาดโรงอุโบสถ ถือเอานิมิตที่เปลวประทีป ตรวจดูบ่อยๆ ก็ทำฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้ฌานบังเกิด แล้วทำฌานนั้นให้เป็นบาท ก็บรรลุพระอรหัต. พร้อมด้วยพระอรหัตผลนั่นแล ก็เป็นผู้ช่ำชองชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่างๆ.

    <DD>ต่อมา ในวันที่พระศาสดาทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ท่านก็บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ถวาย.

    <DD>พระศาสดาทรงทำเหตุอันนี้ให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง ประทับนั่ง ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีฤทธิ์ แล.
    </DD>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำเนิดเป็นปิบผลิมาณพ ในสมัยพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้

    <DD>ในระหว่างที่คนทั้งสองนั้นอยู่ในพรหมโลก พระศาสดาของเราทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ เมื่อครั้งพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์นั้น ปิบผลิมาณพนี้ก็จุติมาบังเกิดในท้องภรรยาหลวงของกบิลพราหมณ์ ในหมู่บ้านของพวกพราหมณ์ชื่อ "มหาติตถะ" ในนครมคธ

    <DD>นางภัททากาปิลานี ก็มาเกิดในท้องของภรรยาหลวงของพราหมณ์ โกลิยโคตร ในสาคลนคร ในนครมคธเช่นกัน เมื่อท่านทั้งสองนั้นเติบโตขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งเมื่อ นางภัททา มีอายุได้ ๑๖ ปี และ ปิบผลิมาณพ มีอายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้เคี่ยวเข็นให้ท่านแต่งงานเพื่อดำรงวงศ์ตระกูล ด้วยอำนาจบุพเพสันนิวาสท่านทั้งสองก็ต้องแต่งงานกัน แต่ก็ถือพรหมจรรย์จนกระทั่งออกบวช แล้วได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ดังที่เล่าผ่านไปแล้ว

    <DD>ฉะนั้น อาการทรงรับพระมหากัสสปะเข้าในพระธรรมวินัย และโปรดให้รับพระพุทธโอวาท ๓ ข้อ พระอรรถกถาจารย์แยกเป็นวิธีอุปสัมปทาอย่างหนึ่ง ดุจประทานแก่ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ด้วยให้รับ ครุธรรม ๘ ประการ แต่วิธีหลังแลเห็นชัด เพราะเป็นครั้งแรกที่ประทานสัมปทาแก่สตรีให้เป็นภิกษุณี และไม่ได้ประทาน "เอหิภิกขุนีอุปสัมปทา" เลย ส่วนวิธีต้น เห็นไม่พ้นไปจากประทาน "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

    <DD>พระมหากัสสปะได้ฟังพุทธโอวาททรงสั่งสอนแล้ว บำเพ็ญเพียรไม่ช้านัก ในวันที่แปดแต่อุปสมบท ได้สำเร็จพระอรหัต ท่านได้รับยกย่องจากพระศาสดาโดยอาการเฉพาะพระองค์ คือทรงรับผ้าสังฆาฏิของท่านไปทรง ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ให้แก่ท่าน ตรัสว่ามีธรรมเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์ และทรงสรรเสริญว่าเป็นผู้ปฏิบัติมักน้อย สันโดษ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้ถือเอาเป็นตัวอย่างว่า

    <DD>ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะผู้นี้ เป็นผู้สันโดษ ยินดีด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ เภสัช ตามมีตามได้ ไม่มักมาก และกล่าวสรรเสริญคุณของความสันโดษด้วยปัจจัยสี่นั้น เธอไม่ถึงความแสวงหาไม่ควร เหตุปัจจัยสี่นั้น แสวงหาไม่ได้ ก็ไม่สุะดุ้งตกใจ แสวงหาได้แล้ว ก็ไม่เป็นคนกำหนดในปัจจัยสี่นั้นบริโภค ท่านทั้งหลายพึงศึกษาตามอย่างนั้น ท่านทั้งหลายอันเราสั่งสอนแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อเป็นเช่นนั้นเถิด

    <DD>ภิกษุทั้งหลาย กัสสปะเข้าไปใกล้สกุลชักกายและใจห่าง ประพฤติตนเป็นคนใหม่ ไม่คุ้นเคยเป็นนิตย์ ไม่คะนองกาย วาจา ใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลเหล่านั้นเพิกเฉย ตั้งจิตเป็นกลางว่า ผู้ใคร่ลาภ ก็จงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญ ก็จงได้บุญ ตนได้ลาภมีใจฉันใด ผู้อื่นได้ก็มีใจฉันนั้น ภิกษุใดแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เขาพึงตั้งใจฟังธรรมของเรา ครั้นฟังธรรมแล้วจะพึงเลื่อมใสในธรรม เลื่อมใสแล้วจะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใส ธรรมเทศนาของภิกษุนั้นไม่บริสุทธิ์

    <DD>ส่วนภิกษุใด แสดงธรรมแก่ผู้อื่นด้วยคิดว่า ธรรมอันพระศาสดากล่าวดีแล้ว ไฉนหนอเขาจะพึงฟังธรรมของเรา ครั้นฟังแล้วจะพึงรู้ธรรมนั้น ครั้นรู้แล้วจะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ภิกษุนั้น อาศัยความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดี อาศัยกรุณาและเอ็นดูแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ธรรมเทศนาของภิกษุนั้นบริสุทธิ์แล้ว กัสสปะก็เหมือนอย่างนั้น เราสอนท่านทั้งหลาย ยกกัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง ท่านทั้งหลายอันเราสอนแล้ว จงปฏิบัติเพื่อเป็นอย่างนั้น

    <DD>พระมหากัสสปะนั้น โดยปกติถือธุดงค์ ๓ อย่าง คือ ถือทรงผ้าบังสุกุลจีวรเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถืออยู่ป่าเป็นวัตร พระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นเยี่ยมแห่งภิกษุผู้ทรงธุดงค์ ครั้งหนึ่งท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาที่เวฬุวัน พระศาสดาตรัสแก่ท่านว่า

    <DD>กัสสปะ..เดี๋ยวนี้ท่านแก่แล้ว ผ้าป่าบังสุกุลจีวรที่เขาไม่นุ่งห่มของท่านนี้หนักนัก ท่านทรงจีวรที่คฤหบดีถวายเถิด จงฉันโภชนะในที่นิมนต์เถิด และจงอยู่ในที่ใกล้เราเถิด

    <DD>ท่านทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเคยอยู่ในป่า เที่ยวบิณฑบาต ทรงผ้าบังสุกุลจีวร ใช้แต่ผ้าสามผืน มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบเงียบสงัด ไม่ชอบระคนด้วยหมู่ ปรารภความเพียรและพูดสรรเสริญคุณเช่นนั้นมานานแล้ว พระศาสดาตรัสถามว่า

    <DD>กัสสปะ..ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงประพฤติตนเช่นนั้น และสรรเสริญความเป็นเช่นนั้น ท่านทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเห็นอำนาจประโยชน์สองอย่าง คือการอยู่เป็นสุขในบัดนี้ของตนด้วย อนุเคราะห์ประชุมชนในภายหลังด้วย ประชุมชนภายหลังทราบว่า สาวกของพระพุทธเจ้า ท่านประพฤติตนอย่างนั้น จักถึงทิฏฐานุคติ ปฏิบัติตามที่ตนได้เห็นได้ยิน ความปฏิบัตินั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์และสุขแก่เขาสิ้นกาลนาน

    <DD>พระศาสดาประทานสาธุการว่า ดีละ..ดีละ..กัสสปะ ท่านปฏิบัติเพื่อประโยชน์และสุขแก่ชนเป็นอันมาก ท่านจงทรงผ้าบังสุกุลจีวรของท่านเถิด ท่านจงเที่ยวบิณฑบาตเถิด ท่านจงอยู่ในป่าเถิด

    <DD>ด้วยความมักน้อยสันโดษ และปฏิบัติเคร่งครัดอย่างนี้ พระมหากัสสปะ ย่อมเป็นที่นับถือของสกุลทั้งหลาย มีคำกล่าวว่า ในกรุงราชคฤห์ สกุลที่ไม่ใช่ญาติก็คงเป็นอุปัฏฐากของท่าน แต่ท่านก็มิได้พัวพันห่วงใยอยู่ในสกุลเหล่านั้น ถึงคราวที่พระศาสดาจะเสด็จจาริกไปโปรดสัตว์ ท่านก็เตรียมตัวตามเสด็จโดยฐานเป็นสาวก แต่พระศาสดาตรัสให้อยู่เพื่อเจริญศรัทธา และปสาทะของชาวกรุงราชคฤห์ก็มี

    <DD>พระมหากัสสปะนั้น ดีในการปฏิบัติ แต่หาพอใจในการสั่งสอนภิกษุสหธรรมิกไม่ ท่านระอาภิกษุปูนหลังว่าเป็นผู้ว่ายาก ธรรมเทศนาอันเป็นอนุศาสนีของท่านจึงไม่มี คงมีแต่ธรรมภาษิตเนื่องมาจากสากัจฉา กับเพื่อนสาวกบ้าง กล่าวบริหารพระพุทธดำรัสบ้าง อย่างไรก็ดีเรื่องที่เกี่ยวกับท่าน พระธรรมสังคาหกาจารย์ รวมสังคีติไว้หมวดหนึ่งในสังยุตนิกาย เรียกว่า กัสสปสังยุต เป็นการไว้เกียรติคุณแห่งพระเถรเจ้า
    </DD>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปเถระ กับการบัญญัติพระวินัยบางข้อ

    <DD>ในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธองค์นั้น จะทรงบัญญัติขึ้นก็ต่อเมื่อมีเหตุให้ทรงต้องบัญญัติ จะไม่ทรงบัญญัติโดยไม่มีเหตุ พระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นนั้น หลายข้อก็มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับพระมหากัสสปเถระดังนี้

    อุปสมบทกรรม สวดอุปสัมปทาเปกขะระบุโคตร

    <DD>ครั้งหนึ่ง มีผู้ประสงค์จะบวชในสำนักของท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัสสปจึงส่งทูตไปยังสำนักท่านพระอานนท์เพื่ออาราธนาท่านพระอานนท์ให้มาสวดอุปสัมปทาเปกขะ ซึ่งการสวดอุปสัมปทาเปกขะนี้ผู้สวดจะต้องระบุนามของพระอุปัชฌาย์

    <DD>ท่านพระอานนท์จึงตอบปฏิเสธไปเนื่องจากท่านไม่สามารถจะระบุนามของพระมหากัสสปได้ เพราะพระมหากัสสปเป็นที่เคารพของท่าน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจึงตรัสอนุญาตให้สวดระบุโคตรแทนการระบุนามได้.

    อุปสมบทคู่

    <DD>สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปมีผู้ประสงค์จะบวชอยู่ ๒ คน ทั้งสองแก่งแย่งกันเพื่ออุปสมบทก่อน ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตให้ทำการอุปสมบทภิกษุ ๒ รูปในอนุสาวนาเดียวกัน.

    พระมหากัสสปเถระเดินทางไปทำอุโบสถ

    <DD>สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปมาจากอันธกวินทวิหาร สู่พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ ในระหว่างทางข้ามแม่น้ำเชี่ยวท่านเกือบถูกน้ำพัดไป จีวรของท่านเปียก ภิกษุทั้งหลายจึงถามท่าน ท่านจึงเล่าเรื่องดังกล่าวให้ฟัง ภิกษุทั้งหลาย จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติพระวินัยว่า สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร.

    พระพุทธานุญาตการเย็บดามผ้าด้วยด้าย

    <DD>สมัยหนึ่ง ผ้าอุตราสงค์ที่ทำด้วยผ้าบังสุกุล ของท่านพระมหากัสสปเป็นของหนัก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค จึงทรงอนุญาตให้ทำการเย็บดามด้วยด้าย

    สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๖ เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี

    <DD>สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายชาวรัฐอาฬวี สร้างกุฎีซึ่งมีขนาดใหญ่ไม่มีกำหนด (ในขณะนั้นยังไม่มีพุทธบัญญัติเรื่องขนาดของกุฎี) กุฎีเหล่านั้นจึงไม่สำเร็จ

    <DD>พวกภิกษุเหล่านั้นจึงต้องมีการวิงวอน มีการขอเขาอยู่ร่ำไป ประชาชนที่ถูกเบียดเบียนด้วยการวิงวอนด้วยการขอ พอเห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว หวาดบ้าง สะดุ้งบ้าง หนีไปเสียบ้าง เดินเลี่ยงไปเสียทางอื่นบ้าง เมินหน้าเสียบ้าง ปิดประตู เสียบ้าง แม้พบแม่โคเข้าก็หนี สำคัญว่าพวกภิกษุ.

    <DD>ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ แล้วออกเดินทางมุ่งไปรัฐอาฬวี เที่ยวจาริกไปโดยลำดับถึงรัฐอาฬวีแล้ว พักอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ในรัฐอาฬวีนั้น ครั้นเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปเข้าไปบิณฑบาต ในรัฐอาฬวี

    <DD>ประชาชนเห็นท่านพระมหากัสสปแล้วหวาดบ้าง สะดุ้งบ้าง หลบหนีไปบ้าง เดินเลี่ยงไปทางอื่นบ้าง เมินหน้าบ้าง ปิดประตูบ้านบ้าง ครั้นท่านกลับจากบิณฑบาตแล้ว เรียกภิกษุทั้งหลายมาถามถึงเหตุดังกล่าว ภิกษุจึงกราบเรียนเรื่องนั้นให้ท่านพระมหากัสสปทราบ

    <DD>ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จจาริกไปถึงรัฐอาฬวีแล้ว ประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ในรัฐอาฬวีนั้น ท่านพระมหากัสสปจึงเข้าไปเฝ้า แล้วได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

    ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

    <DD>ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วทรงสอบถามภิกษุชาวรัฐอาฬวี ถึงเหตุดังกล่าวว่าจริงหรือไม่ ภิกษุชาวรัฐอาฬวีเหล่านั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

    <DD>พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ เพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

    <DD>ครั้นพระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนภิกษุชาวรัฐอาฬวีโดยอเนกปริยายดั่งนี้ แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว จึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้ดังนี้

    พระบัญญัติ

    <DD>อนึ่ง ภิกษุผู้จะสร้างกุฎีอันหาเจ้าของมิได้ เฉพาะตนเอง ด้วยอาการ ขอเอาเอง พึงสร้างให้ได้ประมาณ ประมาณในการสร้างกุฎีนั้นดังนี้ โดยยาว ๑๒ คืบ โดยกว้างในร่วมใน ๗ คืบ ด้วยคืบสุคต พึงนำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ ภิกษุเหล่านั้นพึงแสดงที่อันไม่มีผู้จองไว้ อันมีชานรอบ

    <DD>หากภิกษุสร้างกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง ในที่อันมีผู้จองไว้ อันหาชานรอบมิได้ หรือไม่นำภิกษุทั้งหลายไปเพื่อแสดงที่ หรือสร้างให้ล่วงประมาณเป็นสังฆาทิเสส.ดังนี้:-
    </DD>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปเถระโปรดพุทธบริษัท

    เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ

    (ธัมมปทัฏฐกถา ปุปผวรรควรรณนา)

    <DD>พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภการถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อัปปะมัตโต อะยัง คันโธ" เป็นต้น.

    นางอัปสรอยากทำบุญแต่ไม่สมหวัง

    <DD>ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระออกจากนิโรธสมาบัติ โดยล่วงไป ๗ วัน ออกไปแล้ว ด้วยคิดว่า "จักเที่ยวบิณฑบาต ตามลำดับตรอก ในกรุงราชคฤห์." ในสมัยนั้น นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีเท้าเหมือนเท้านกพิราบ เป็นบริจาริกาของท้าวสักกเทวราช เกิดความอุตสาหะว่า " จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ"

    <DD>จึงตระเตรียมบิณฑบาต ๕๐๐ ที่ แล้วถือมายืนอยู่ในระหว่างทาง กล่าวว่า "นิมนต์รับบิณฑบาตนี้ เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์แก่พวกดิฉันเถิด."

    <DD>พระเถระกล่าวตอบว่า พวกเจ้าจงไปเสียเถิด, ฉันจักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ.

    <DD>นางอัปสร. ขอท่านอย่าให้พวกดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์พวกดิฉันเถิด.

    <DD>พระเถระรู้แล้ว จึงห้ามเสียอีก แล้วดีดนิ้ว ( บอก) นางอัปสรทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกไปยังอ้อนวอนอยู่ว่า "พวกเจ้าไม่รู้จักประมาณตัว, จงหลีกไป." นางอัปสรเหล่านั้น ฟังเสียงนิ้วมือของพระเถระแล้ว ไม่อาจเพื่อจะยืนขัดแข็งอยู่ได้ จึงหนีไปยังเทวโลกตามเดิม อันท้าวสักกะตรัสถามว่า "พวกหล่อนไปไหนกันมา"

    <DD>จึงทูลว่า "หม่อมฉันพากันไปด้วยหมายว่า จักถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ผู้ออกจากสมาบัติ พระเจ้าข้า.
    <DD>สักกะ. ก็พวกหล่อนถวายแล้วหรือ ?
    <DD>นางอัปสร. พระเถระไม่ปรารถนาจะรับ.
    <DD>สักกะ. พระเถระพูดอย่างไร ?
    <DD>นางอัปสร. " ท่านพูดว่า จักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ'
    พระเจ้าข้า.
    <DD>สักกะ. พวกหล่อนไปกันด้วยอาการอย่างไร ?
    <DD>นางอัปสร. ไปด้วยอาการนี้แล พระเจ้าข้า.

    ท้าวสักกะแปลงตัวทำบุญแก่พระเถระ

    <DD>ท้าวสักกะ ตรัสว่า "หญิงเช่นพวกหล่อน จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระได้อย่างไร?" ประสงค์จะถวายด้วยพระองค์เอง จึงแปลงเป็นคนแก่คร่ำคร่าด้วยอำนาจชรา มีฟันหัก มีผมหงอก หลังโกง เป็นช่างหูกผู้เฒ่า ทรงทำแม้นางสุชาดาผู้เทพธิดา ให้เป็นหญิงแก่ เหมือนอย่างนั้นนั่นแล แล้วทรงนิรมิตถนนช่างหูกขึ้นสายหนึ่งประทับขึงหูกอยู่.

    <DD>ฝ่ายพระเถระ เดินบ่ายหน้าเข้าเมือง ด้วยหวังว่า "จักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ" เห็นถนนสายนั้น นอกเมืองนั้นแล แลดูอยู่ก็ได้เห็นคน ๒ คน. ในขณะนั้น ท้าวสักกะกำลังขึงหูก, นางสุชาดากรอหลอด. พระเถระคิดว่า " สองคนนี้ แม้ในเวลาแก่ก็ยังทำงาน,

    <DD>ในเมืองนี้ผู้ที่จะเข็ญใจกว่าสองคนนี้เห็นจะไม่มี, เราจักรับภัตแม้ประมาณกระบวยหนึ่งที่สองคนนี้ถวายแล้ว ทำความสงเคราะห์แก่คนสองคนนี้." พระเถระได้บ่ายหน้าไปตรงเรือนของตนทั้งสองนั้นแล.

    <DD>ท้าวสักกะ ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั้นมาอยู่ จึงตรัสกะนางสุชาดาว่า "หล่อน พระผู้เป็นเจ้าของเรา เดินมาทางนี้, เธอจงนั่งทำเป็นเหมือนไม่เห็นท่านเสีย, ฉันจักลวงท่านสักครู่หนึ่ง แล้วจึงถวายบิณฑบาต."

    <DD>พระเถระได้มายืนอยู่ที่ประตูเรือนแล้ว. แม้สองผัวเมียนั้นก็ทำเป็นเหมือนไม่เห็น ทำแต่การงานของตนฝ่ายเดียว คอยอยู่หน่อยหนึ่งแล้ว .

    <DD>ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า "ที่ประตูเรือนดูเหมือน (มี) พระเถระยืนอยู่รูปหนึ่ง, เธอจงไปตรวจดูก่อน." นางสุชาดาตอบว่า

    <DD>"ท่านจงไปตรวจดูเถอะ นาย." ท้าวเธอเสด็จออกจากเรือนแล้ว, ทรงไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว. เอาพระหัตถ์ทั้งสองเท้าพระชานุแล้ว ถอนใจ เสด็จลุกขึ้น. ย่อพระองค์ลงหน่อยหนึ่ง ตรัสว่า "พระผู้เป็นเจ้า เป็นพระเถระรูปไหนหนอแล ?" แล้วตรัสว่า "ตาของผมฝ้าฟาง"

    <DD>ดังนี้แล้ว, ทรงวางพระหัตถ์ไว้เหนือพระนลาต (ป้องหน้า) ทรงแหงนดูแล้ว, ตรัสว่า " โอ ตายจริง !, พระผู้เป็นเจ้า พระมหากัสสปเถระของเรา นาน ๆ จึงมายังประตูกระท่อมของเรา, มีอะไรอยู่ในเรือนบ้างไหม ?" นางสุชาดาทำเป็นกุลีกุจออยู่หน่อยหนึ่งแล้ว ได้ให้คำตอบว่า "มี..นาย"

    <DD>ท้าวสักกะ ตรัสว่า "ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้า อย่าคิดเลยว่า 'ทานเศร้าหมอง หรือประณีต' โปรดทำความสงเคราะห์แก่กระผมทั้งสองเถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทรงรับบาตรไว้, พระเถระคิดว่า

    <DD>"ทานที่สองผัวเมียนั่นถวายแล้ว จะเป็นน้ำผักดองหรือรำกำมือหนึ่งก็ตามที, เราจักทำความสงเคราะห์แก่สองผัวเมียนั้น" ดังนี้แล้ว จึงได้ให้บาตรไป.

    <DD>ท้าวสักกะนั้น เสด็จเข้าไปภายในเรือนแล้ว ทรงคดข้าวสุกออกจากหม้อใส่เต็มบาตรแล้ว มอบถวายในมือพระเถระ. บิณฑบาตนั้นได้มีสูปพยัญชนะมากมาย ได้หอมตลบทั่วกรุงราชคฤห์แล้ว. ท้าวสักกะตรัสบอกความจริงแก่พระเถระ

    <DD>ในกาลนั้น พระเถระคิดว่า "ชายนี้ มีศักดิ์น้อย, บิณฑบาตมีศักดิ์มาก เช่นกับโภชนะของท้าวสักกะ, นั่น ใครหนอ ?"

    <DD>ครั้งนั้นพระเถระทราบชายนั้นว่า " ท้าวสักกะ" จึงกล่าวว่า "พระองค์ทรงแย่งสมบัติของคนเข็ญใจ ( จัดว่า ) ทำกรรมหนักแล้ว . ใคร ๆ ก็ตามที่เป็นคนเข็ญใจ ถวายทานแก่อาตมภาพในวันนี้ พึงได้ตำแหน่งเสนาบดีหรือตำแหน่งเศรษฐี."

    <DD>สักกะ. ผู้ที่เข็ญใจไปกว่ากระผม ไม่มีเลย ขอรับ.
    <DD>พระเถระ, พระองค์เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะจัดว่าเป็นคนเข็ญใจ เพราะเหตุไร ?

    <DD>สักกะ. อย่างที่พระผู้เป็นเจ้าว่า ก็ถูกละ ขอรับ. แต่เมื่อพระพุทธเจ้า ยังมิทรงอุบัติ, กระผมได้ทำกัลยาณกรรมไว้. เมื่อพุทธุปบาทกาลยังเป็นไปอยู่, เทพบุตรผู้มีศักดิ์เสมอกัน ๓ องค์เหล่านี้ คือ จูฬรถเทพบุตร, มหารถเทพบุตร, อเนกวัณณเทพบุตร ทำกัลยาณกรรมแล้ว ได้เกิดในที่ใกล้ของกระผม มีเดชมากกว่ากระผม;

    <DD>ก็กระผม เมื่อเทพบุตรทั้งสามนั้นพาพวกบริจาริกาลงสู่ระหว่างถนน ด้วยคิดว่า 'จักเล่นนักขัตฤกษ์' ต้องหนีเข้าตำหนัก, เพราะเดชจากสรีระของเทพบุตรทั้งสามนั้น ท่วมทับสรีระของกระผม, เดชจากสรีระของกระผม ไม่ท่วมทับสรีระของเทพบุตรทั้งสามนั้น, ใครจะเข็ญใจกว่ากระผมเล่า ? ขอรับ.

    <DD>พระเถระ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป พระองค์อย่าได้ลวงถวายทานแก่อาตมภาพอย่างนั้น.
    <DD>สักกะ. เมื่อกระผมลวงถวายทานแก่ท่าน, กุศลจะมีแก่กระผมหรือไม่มี ?
    <DD>พระเถระ. มี พระองค์.
    <DD>สักกะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น การทำกุศลกรรมก็จัดเป็นหน้าที่ของกระผมซิ ขอรับ.

    <DD>ท้าวเธอตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงไหว้พระเถระ พานางสุชาดาทรงทำปทักษิณพระเถระแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่งอุทานว่า :-

    <DD>"โอ..ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

    <DD>เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวไว้ใน "มหากัสสสปเถรทานสูตร" ว่า :-

    <DD>"ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ได้ทรงสดับเสียงของท้าวสักกะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วว่า

    <DD>"ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ทรงเปล่งอุทาน เสด็จไปทางอากาศ."

    <DD>ภิกษุ. ก็ท้าวสักกะนั้น ทำอะไร ? พระเจ้าข้า.
    <DD>พระศาสดา. ท้าวเธอลวงถวายบิณฑบาตแก่กัสสปผู้บุตรของเรา, ครั้นถวายบิณฑบาตนั้นแล้ว ดีพระทัย พลางทรงเปล่งอุทานไป.
    <DD>ภิกษุ. ท้าวเธอทราบได้อย่างไรว่า "ถวายบิณฑบาตแก่พระเถระควร พระเจ้าข้า?"

    <DD>พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ทั้งเหล่าเทพเจ้า ทั้งเหล่ามนุษย์ย่อมพอใจ ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ชื่อว่าเช่นบุตรของเรา" ดังนี้แล้ว แม้พระองค์เองก็ทรงเปล่งอุทานแล้ว.

    <DD>ก็ในพระสูตร คำมาแล้วเท่านี้นั่นเทียวว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับแล้วแล ซึ่งเสียงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพเจ้า ผู้เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้ง ในอากาศกลางหาวว่า :-

    <DD>"โอ..ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป, โอ..ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้ในท่านพระกัสสป, โอ..ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป." ด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ หมดจดล่วงเสียซึ่งโสตของมนุษย์."

    <DD>ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า:- " เทวดาและมนุษย์ ย่อมพอใจ แก่ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตัวเอง มิใช่เลี้ยงผู้อื่น ผู้มั่นคง ผู้เข้าไปสงบแล้ว มีสติทุกเมื่อ."

    <DD>ก็แลครั้นทรงเปล่งอุทานนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้เสด็จมาถวายบิณฑบาตแก่บุตรของเราเพราะกลิ่นศีล " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

    <CENTER>อัปปะมัตโต อะยัง คันโธ ยะวายัง ตะคะระจันทะนี
    โย จะ สีละวะตัง คันโธ วาติ เทเวส อุตตะโม.


    " กลิ่นนี้ คือ กลิ่นกฤษณา และกลิ่นจันทน์
    เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย, ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย
    เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไปในเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์."
    </CENTER>
    <DD>ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น. เทศนาเกิดประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

    th.wikisource.org/wiki</DD><DD> </DD><DD> </DD><DD> </DD><DD>
    </DD>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โปรดหญิงถวายข้าวตอก

    <DD>ความพิสดารว่า ครั้งหนึ่ง ท่านพระมหากัสสป อยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌานแล้ว ออกในวันที่ ๗ เมื่อออกจากฌานแล้วท่านได้พิจารณาด้วยทิพยจักษุเพื่อพิจารณาบุคคลที่ควรโปรด เห็นหญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่

    <DD>ท่านได้เห็นว่าหญิงนี้มีศรัทธาจึงได้เดินทางไปโปรด นางกุลธิดาพอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส จึงได้นำข้าวตอกไปถวายพระเถระแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ และได้ทำความปรารถนา ขอเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว

    <DD>ในระหว่างนางเดินทางกลับนางได้นึกถึงทานที่ตนได้ถวายไปเกิดจิตเป็นกุศลอยู่ แต่บนทางที่นางเดินทางกลับนั้น นางได้ถูกงูพิษร้ายกัด และถึงแก่ความตาย ณ ที่นั้นเอง.

    <DD>ด้วยจิตอันเป็นกุศลก่อนที่จะตาย นางจึงได้ไปเกิดในวิมานทอง ในภพดาวดึงส์ ประดับเครื่องอลังการ แวดล้อมด้วยนางอัปสรตั้งพัน ที่ประตูวิมานอันประดับด้วยขันทองคำ เต็มไปด้วยข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่

    <DD>นางเทพธิดานั้นต้องการจะทราบว่าตนทำกรรมเช่นไรจึงได้สมบัตินี้ เมื่อพิจารณาด้วยทิพยจักษุแล้วจึงได้รู้ว่า สมบัตินี้ได้มาเพราะผลแห่งข้าวตอกที่ถวายพระมหากัสสปเถระนางจึงคิดว่า สมบัติที่นางได้เช่นนี้เป็นเพราะได้กระทำกรรมไว้เพียงนิดหน่อย นางไม่ควรประมาท,ควรจะกระทำการปฏิบัติแก่พระพระมหาเถระนั้นเพื่อทำสมบัตินั้นให้ถาวร

    <DD>นางจึงไปยังที่พักของพระมหาเถระ แล้วไปปัดกวาดบริเวณของพระเถระ แล้วตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้แต่เช้าตรู่.พระเถระเห็นเช่นนั้น สำคัญว่าภิกษุหนุ่มหรือสามเณรบางรูปทำให้ท่าน.ในวันรุ่งขึ้นนางก็ได้ทำเช่นเดียวกันอีก ฝ่ายพระเถระก็เข้าใจเช่นเดิม จนกระทั่งในวันที่ ๓ พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดของนางและเห็นรัศมีของนางฉายเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตูออกมา ถามว่า “นั่นใคร ?”

    <DD>นางเทพธิดาจึงตอบแล้วเล่าเรื่องความประสงค์ของตนให้พระเถระฟัง พระเถระจึงห้ามมิให้นางกระทำต่อไป เพื่อมิให้.มีผู้กล่าวในอนาคตว่า มีนางเทพธิดามาทำวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหากัสสปเถระ

    <DD>นางเทพธิดาจึงอ้อนวอนในความประสงค์ของตนซ้ำแล้วซ้ำอีก พระเถระเห็นว่านางเทวธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังถ้อยคำ จึงปรบมือขึ้น ด้วยเสียงปรบมือขับไล่ของพระมหาเถระดังกล่าว นางเทพธิดาไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ จึงเหาะขึ้นในอากาศ ยืนประนมมือร้องไห้ คร่ำครวญอยู่

    <DD>พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎี ทรงสดับเสียงนางเทวธิดานั้นร้องไห้ จึงทรงแผ่พระรัศมีดุจประทับนั่งตรัสอยู่ในที่หน้านางเทวธิดา ตรัสว่า

    <DD>“เทวธิดา การทำความสังวร (ในสมณจริยา) เป็นหน้าที่ของกัสสปผู้บุตรของเรา, แต่การกำหนดว่า ‘นี้เป็นประโยชน์ของเรา แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ที่ต้องการบุญ, เพราะว่าการทำบุญทำให้เกิดสุขแต่อย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า” ดังนี้

    <DD>ในกาลจบเทศนาของพระพุทธองค์ นางเทพธิดานั้น จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล
    </DD>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปกับเด็ก ๕๐๐ คน

    <DD>วันหนึ่งพระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวารพร้อมด้วยพระอสีติมหาเถระ เสด็จเข้าไปกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ได้ทอดพระเนตรเห็นเด็ก ๕๐๐ คน ยกกระเช้าขนมออกจากเมืองแล้วไปสวนในวันมหรสพวันหนึ่ง เด็กเหล่านั้นก็เพียงแต่ถวายบังคมพระศาสดาแล้วก็หลีกไป,ไม่ปวารณาเพื่อถวายขนมแก่ภิกษุแม้สักรูปหนึ่ง

    พระศาสดาตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักฉันขนมไหม ?”

    ภิกษุทูลถามว่า. ขนมที่ไหน ? พระเจ้าข้า.

    พระศาสดา. เธอทั้งหลายไม่เห็นพวกเด็กถือกระเช้าขนมเดินผ่านไปแล้วดอกหรือ ?

    ภิกษุ. พวกเด็กนั้น ไม่ถวายขนมแก่ใครๆ พระเจ้าข้า.

    <DD>พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย เด็กเหล่านั้นไม่นิมนต์เราหรือพวกเธอด้วยขนมก็จริง. ถึงกระนั้น ภิกษุผู้เป็นเจ้าของขนม ก็กำลังมาข้างหลัง ฉันขนมเสียก่อนแล้วไป จึงควร.

    <DD>ตามธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มีความริษยาในบุคคลใด ๆ เลย; เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสคำนี้แล้วจึงพาภิกษุสงฆ์ไปประทับทั่งใต้ร่มเงาโคนไม้ต้นหนึ่ง.

    <DD>ต่อมาพวกเด็กเมื่อเห็น พระมหากัสสปเถระ เดินมาข้างหลัง ก็บังเกิดความรักและเลื่อมใสพระมหาเถระขึ้นอย่างเต็มเปี่ยมจึงวางกระเช้า ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วยกขนมพร้อมทั้งกระเช้าถวายแก่พระเถระ

    <DD>พระเถระจึงกล่าวแก่เด็กเหล่านั้นว่า “นั่น..พระศาสดาพาพระภิกษุสงฆ์ไปประทับนั่งแล้วที่โคนไม้, พวกเธอจงถือไทยธรรมไปแบ่งส่วนถวายภิกษุสงฆ์เถิด พวกเด็กจึงกลับไปพร้อมกับพระเถระ ถวายขนมพระบรมศาสดาและหมู่ภิกษุสงฆ์ แล้วได้ถวายน้ำในเวลาฉันเสร็จ.

    <DD>ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า “พวกเด็กถวายภิกษาเพราะเห็นแก่หน้าพระมหากัสสปเถระ ในครั้งแรกไม่ต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระมหาเถระอื่นทั้งหลายด้วยขนม ต่อเมื่อเห็นพระมหากัสสปเถระแล้ว จึงถือเอาขนมพร้อมด้วยกระเช้านั่นมาถวาย”

    <DD>พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้วจึงตรัสว่า
    <DD>“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เช่นกับ "มหากัสสป" ผู้บุตรของเรา ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดาและมนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมทำบูชาด้วยปัจจัย ๔ แก่เธอโดยแท้” ดังนี้

    <DD>แล้วตรัสพระคาถาแสดงแก่เหล่าเด็กทั้ง ๕๐๐ นั้น ในกาลจบเทศนา เด็กเหล่านั้นทั้งหมด ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ดังนี้

    <HR>
    <CENTER>อาจามะทายิกาวิมาน</CENTER>


    <DD>ครั้งหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันจทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีครอบครัวหนึ่งเป็นอหิวาตกโรค คนในครอบครัวนั้นตายกันหมด เหลือหญิงคนหนึ่ง

    <DD>หญิงนั้นทิ้งเรือนหนีไป หมดที่พึ่ง ไปเรือนของคนอื่น อาศัยอยู่ด้านหลังเรือนของเขา.พวกผู้คนในเรือนนั้นคิดสงสาร ให้ข้าวต้มข้าวสวยและข้าวตังเป็นต้น ที่เหลือในหม้อข้าวเป็นต้นแก่นาง นางเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยข้าวตังของผู้คน เหล่านั้น.

    <DD>วันนั้น ท่านพระมหากัสสปะ เข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน เมื่อออกจากนิโรธนั้นแล้ว พิจารณาหาผู้ที่สมควรจะอนุเคราะห์ ได้เห็นหญิงนั้นถึงวาระใกล้ตาย และเห็นกรรมในอดีตของนางจะนำไปสู่นรก แต่ก็ยังเห็นโอกาสที่นางจะได้ทำบุญ ท่านได้พิจารณาว่า เมื่อเราไปยังบ้านนั้น หญิงคนนี้จักถวายข้าวตังที่ตนที่ตนได้มา เพราะบุญนั้นนางจะได้ไปเกิดในเทวโลกชั้น "นิมมานรดี" (สวรรค์ชั้นที่ ๕)

    <DD>ดังนั้นในเวลาเช้า ท่านจึงเดินมุ่งหน้าไปยังที่อยู่ของนาง แล้วจึงยืนอยู่ข้างหน้าของหญิงนั้น นางเห็นพระเถระแล้ว คิดว่าพระเถระนี้เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ในที่นี้ก็ไม่มีของกิน หรือของเคี้ยว ซึ่งควรที่จะถวายแก่พระเถระนี้ จะมีก็เพียง น้ำข้าวข้าวตังอันจืดเย็นไม่มีรส เต็มไปด้วยหญ้าและผงธุลี ซึ่งอยู่ในภาชนะสกปรกนี้ เราไม่อาจจะถวายแก่พระเถระเช่นนี้ได้

    <DD>นางจึงกล่าวว่า ขอท่านจงโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด พระเถระยืนนิ่งไม่ขยับเท้าแม้แต่ข้างเดียว ผู้คนอยู่ในเรือนนำภิกขาเข้าไปถวาย พระเถระก็ไม่รับ

    <DD>หญิงเข็ญใจนั้น รู้ว่าพระเถระประสงค์จะรับเฉพาะของเรา จึงมาในที่นี้ก็เพื่ออนุเคราะห์เรา เท่านั้น มีใจเลื่อมใส เกิดความเอื้อเฟื้อ ก็เกลี่ยข้าวตังนั้นลงในบาตรของพระเถระ

    <DD>พระเถระแสดงอาการว่าจะฉันเพื่อเพิ่มความเลื่อมใสของนางให้มากขึ้น ผู้คนปูอาสนะแล้ว พระเถระก็นั่งบนอาสนะนั้นฉันข้าวตังนั้น ดื่มน้ำแล้วชักมืออกจากบาตร ทำอนุโมทนาแก่หญิงเข็ญใจนั้นแล้วก็ไป.

    <DD>ในคืนนั้นนางก็สิ้นชีวิต ก็ไปบังเกิดร่วมกับเหล่าเทพในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้น ดังนี้.

    <HR>
    <DD>บางคนทำดีเหมือนปิดทองหลังพระ บางคนทำดีเพื่อเอาหน้าแบบ “ผักชีโรยหน้า” เรื่องทำนองนี้มิได้มีอยู่เพียงในหมู่ฆราวาสเท่านั้น แม้ในหมู่สงฆ์ก็มีเหมือนกัน เรื่องต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์
    </DD>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลูกศิษย์เผากุฏิของพระมหากัสสปเถระ

    <DD>ในกรุงราชคฤห์ มีพระ ๒ รูป เป็นผู้อุปัฏฐากพระมหากัสสปเถระ ผู้อาศัยอยู่ในถ้ำปิปผลิ. ภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งกระทำการปฏิบัติต่อท่านพระมหาเถระโดยเคารพ ส่วนอีกรูปหนึ่งเป็นคนมักตู่เอากิจที่พระอีกรูปหนึ่งกระทำเป็นเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นผู้กระทำเอง

    <DD>เมื่อภิกษุผู้ปฏิบัติต่อพระเถระโดยอาการอันเคารพนั้น ตั้งน้ำบ้วนปากเพื่อถวายพระมหาเถระเป็นต้น ภิกษุขี้ตู่รูปนั้นก็จะไปยังสำนักของพระเถระ ไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ..น้ำ..กระผมตั้งไว้แล้ว ขอท่านจงล้างหน้าเถิดขอรับ

    <DD>เมื่อภิกษุรูปแรกนั้นลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ปัดกวาดบริเวณกุฏิไว้แล้ว ในเวลาพระเถระออกมา ภิกษุขี้ตู่รูปนั้นก็จะทำอย่างโน้นอย่างนี้ไปมา ทำทีเสมือนว่าบริเวณนั้นทั้งสิ้นตนเป็นผู้ปัดกวาดไว้ ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรจึงคิดจะทำให้กรรมของพระหัวดื้อนี้ปรากกฎต่อพระเถระ

    <DD>เมื่อภิกษุขี้ตู่นั้นฉันแล้วหลับอยู่นั้น ภิกษุรูปแรกจึงต้มน้ำเพื่อถวายพระเถระสำหรับอาบแล้ว ก็ตักใส่ในหม้อใบหนึ่ง ตั้งไว้หลังซุ้ม แต่เหลือน้ำไว้ในหม้อต้มน้ำประมาณกระบวยหนึ่ง แล้วตั้งไว้ให้เดือดพลุ่งเป็นไออยู่.

    กรรมตามทัน

    <DD>ภิกษุนี้ตื่นขึ้น เห็นไอพลุ่งออกจากหม้อต้มน้ำ จึงคิดว่า น้ำที่ภิกษุนั้นต้มแล้วคงไว้ในซุ้ม จึงรีบไปเรียนพระเถระว่า “น้ำกระผมตั้งไว้ในซุ้มแล้วขอรับ นิมนต์ท่านสรงเถิด” แล้วเข้าไปในซุ้มพร้อมกับพระเถระ พระเถระเมื่อไม่เห็นน้ำ จึงถามว่า“น้ำอยู่ที่ไหน..คุณ ?”

    <DD>ภิกษุหนุ่มไปยังโรงต้มน้ำ จ้วงกระบวยลงในภาชนะที่มีไอน้ำพลุ่งอยู่ เมื่อกระบวยกระทบพื้นภาชนะเปล่าที่ไม่มีน้ำ ก็มีเสียงดังเหมือนเสียงระฆัง ตั้งแต่นั้นมาภิกษุนั้นจึงมีชื่อว่า "อุฬุงกสัททกะ"

    <DD>พระภิกษุนั้นเมื่อพบว่าหม้อน้ำนั้นไม่มีน้ำ จึงโพนทะนาว่า “ขอท่านจงดูกรรมของภิกษุหัวดื้อเธอยกภาชนะเปล่าขึ้นตั้งไว้บนเตา แล้วไปไหนเสีย? กระผมเรียนด้วยเข้าใจว่าน้ำมีอยู่ในซุ้ม” แล้วก็ได้ถือหม้อน้ำไปยังท่าน้ำ.

    <DD>ฝ่ายภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร จึงนำเอาน้ำมาจากหลังซุ้มแล้วตั้งไว้ในซุ้ม. พระเถระเห็นดังนั้นจึงพิจารณาดูก็รู้ว่า “ภิกษุ "อุฬุงกสัททกะ" นั้น ชอบกระทำกิจที่ตนไม่ได้ทำ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้กระทำเอง” ท่านจึงได้ให้โอวาทแก่ "พระอุฬุงกสัททกะ" ผู้มานั่งอุปัฏฐากในเวลาเย็น ถึงความไม่ควรของความประพฤติของภิกษุนั้น

    <DD>ภิกษุนั้นโกรธ แล้วในวันรุ่งขึ้นจึงไม่เข้าไปบิณฑบาตกับพระเถระ เมื่อพระเถระไปแล้ว ภิกษุนั้นไปสู่ตระกูลอุปัฏฐากของพระเถระ เมื่อถูกอุปัฏฐากถามถึงพระเถระ "พระอุฬุงกสัททกะ" จึงบอกว่าพระเถระนั่งอยู่ในวิหาร นั่นแหละ เพราะไม่ผาสุก เมื่อเขากล่าวว่า ได้อะไรจึงจะควรขอรับ จึงกล่าวว่า ท่านจงให้สิ่งนี้และสิ่งนี้ แล้วถือเอาสิ่งที่อุปัฏฐากถวายพระเถระนั้นไปยังที่ชอบใจของตน ฉันแล้วจึงได้ไปยังวิหาร

    พระเถระจับความเลวทรามของศิษย์ได้

    <DD>ในวันรุ่งขึ้น พระเถระไปสู่ตระกูลอุปัฏฐากนั้น, เมื่อพวกอุปัฏฐากกล่าวว่า “ได้ยินว่า ความไม่ผาสุกเกิดแก่ท่าน’ จึงจัดแจงอาหารส่งไปตามที่ภิกษุหนุ่มแจ้ง ความผาสุกเกิดแก่ท่านแล้วหรือ?” พระเถระได้ฟังก็นิ่งเสีย,

    <DD>ครั้นเมื่อพระเถระไปสู่วิหารแล้ว จึงกล่าวกับภิกษุหนุ่มนั้นผู้มาอุปัฏฐากในเวลาเย็น ว่า “การกระทำของเธอเมื่อวานนี้ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย”

    ประทุษร้ายแก่ผู้มีคุณตายไปเกิดในอเวจี

    <DD>ภิกษุนั้นโกรธแล้วผูกอาฆาตในพระเถระในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระเถระเข้าไปสู่บ้าน ส่วนตนพักอยู่ในวิหาร จึงจับท่อนไม้ ทุบวัตถุทั้งหลาย มีภาชนะสำหรับใช้สอยเป็นต้น แล้วจุดไฟที่บรรณศาลาของพระเถระ สิ่งใดไฟไม่ไหม้ก็เอาพลองทุบทำลายสิ่งนั้นแล้วหนีออกไป

    <DD>พระอุฬุงกสัททกะนั้น ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นเหมือนดังเปรต..ผอมโซ ครั้นตายแล้วก็ได้บังเกิดในอเวจีมหานรก อนาจารกิริยาของภิกษุนั้น ลือกระฉ่อนไปในมหาชน ดังนี้

    พระพุทธเจ้าตรัสเล่าบุพพกรรมเดิม

    <DD>ต่อมา ภิกษุพวกหนึ่งจากราชคฤห์มาสู่นครสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระศาสดา พระพุทธองค์ตรัสถามว่า ใครเป็นอาจารย์ให้โอวาทสั่งสอนในที่นั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า..พระมหากัสสป จึงตรัสถามว่า กัสสปสบายดีอยู่หรือ ?

    <DD>ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องราวทั้งปวงที่เกี่ยวกับภิกษุเสียงกระบวยให้ทรงทราบ พระศาสดาตรัสว่า “การเที่ยวไปผู้เดียวของกัสสปประเสริฐว่าการสมาคมด้วยคนพาลเช่นภิกษุนั้น เพระคุณความเป็นสหายไม่มีในคนพาล” ดังนี้แล้วตรัสว่า ภิกษุนั้นทำลายกุฎีในชาตินี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในชาติก่อนก็เคยทำมาแล้วเหมือนกัน

    <DD>ในอดีตกาล นกขมิ้นตัวหนึ่ง ทำรังอยู่เป็นที่พอใจของตน อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ วันหนึ่งในวัสสานฤดู เมื่อฝนตกหนักมีธารน้ำไม่ขาดสาย วานรตัวหนึ่งถูกความหนาวบีบคั้น นั่งกัดฟันอยู่ นกขมิ้นเห็นดังนั้นจึงทักทายขึ้นว่า

    <DD>“วานร..ดูศีรษะและมือเท้าของท่านคล้ายมนุษย์ แต่ทำไมหนอท่านจึงไม่มีรังไม่มีเรือนอย่างมนุษย์”

    <DD>ลิงได้ยินดังนั้น จึงกล่าวตอบไปว่า

    <DD>“นกขมิ้นตัวน้อยเอย ศีรษะ มือและเท้าของเรามีอยู่ละม้ายคล้ายของมนุษย์ก็จริงแต่ปัญญาใดอันเป็นสิ่งประเสริฐในหมู่มนุษย์ปัญญานั้นของเราไม่มี”

    <DD>“ผู้มีจิตไม่มั่นคง ใจเบา มีปรกติประทุษร้ายมิตร มีศีลไม่ยั่งยืนย่อมไม่มีความสะอาด วานรท่านจงละทิ้งปรกติวิสัยเดิมของท่านเสียแล้ว จงสร้างอานุภาพของตนขึ้น ท่านจงสร้างกระท่อมไว้เป็นเครื่องป้องกันลมหนาวเถิด”

    <DD>วานรคิดว่า นกขมิ้นตัวนี้อวดดีสั่งสอนเรา ดูหมิ่นเราว่าไม่มีที่อยู่ ตัวมันมีรังอยู่ไม่ถูกฝน เราจักทำลายมันและรังมันเสียคิดดังนี้แล้วกระโดดจับนกขมิ้น แต่นกขมิ้นไวกว่าจึงบินไปเสีย ลิงจึงทำลายรังนกขมิ้นเสียสิ้นเชิง

    <DD>พระศาสดาตรัสสรุปว่า ลิงในครั้งนั้นคือภิกษุผู้เผากุฎีในครั้งนี้ ส่วนนกขมิ้นคือ พระองค์เอง ดังนี้

    ข้อสังเกต

    <DD>๑. คนที่ดีแต่เอาหน้า ไม่ทำความดีจริงและไม่มีดีจริง สักแต่ว่าให้คนอื่นเข้าใจว่าตนเป็นเช่นนั้น ดีย่อมแตกในไม่ช้า ส่วนคนทำดีจริง มีความดีจริงแม้จะไม่ออกหน้าไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ได้ทำความดีเช่นนั้นๆ แต่คนใกล้ชิดย่อมเห็น และจะมองเขาด้วยความนิยมยกย่อง เกียรติคุณที่เขาได้ย่อมยั่งยืน
    ในทางโลก

    <DD>คนที่ได้ดี มีตำแหน่งสูงขึ้นเพราะการประจบเจ้านายก็มีเหมือนกัน แต่มักเป็นไปชั่วครู่ชั่วคราว พอเปลี่ยนนาย ฐานะของเขาก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่คนได้ดีเพราะการทำงาน เพราะความสามารถของตนเองย่อมได้รับความนิยมยกย่องทุกกาลทุกสมัย แม้ใครไม่เลี้ยงเขา เขาก็มีความสามารถที่จะเลี้ยงตนได้ ทรัพย์ที่ได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงอันสุจริตนั้น ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ไม่จืดจางง่ายและไม่มีวิปฏิสาร (ความเดือดร้อนใจเพราะรู้สึกว่าได้ประกอบกรรมชั่ว)

    <DD>๒. พระมหากัสสป โดยตัวท่านเองท่านเป็นผู้มีความซื่อตรงอย่างยิ่ง และโอวาทศิษย์ให้เป็นซื่อตรง ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้ การพูดเท็จเป็นสิ่งที่สมณะควรเว้นให้ขาด

    <DD>พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คนที่มีปกติพูดเท็จจะไม่ทำบาปเป็นไม่มี” เพราะฉะนั้น บุคคลควรเป็นผู้ซื่อตรง โดยเฉพาะสมณะยิ่งจำต้องมีความซื่อตรง เว้นความเท็จทั้งปวง ทั้งทางกายและทางวาจา เท็จทางวาจานั้นเข้าใจกันแล้วโดยมาก ส่วนเท็จทางกาย คือการมีกิริยาหลอกลวง

    <DD>๓. เมื่อภิกษุเสียงกระบวยไปหลอกเอาอาหารของชาวบ้านไปฉันแล้ว วันรุ่งขึ้น ชาวบ้านถามพระมหากัสสปท่านนิ่งเสียไม่ยอมตอบนั้นเป็นความรอบคอบของพระผู้ใหญ่ที่ไม่ตำหนิศิษย์ของตนให้ชาวบ้านฟัง ศิษย์ของตนจะชั่วช้าเลวทรามอย่างไรก็ค่อยมาตักเตือนติเตียนกันเฉพาะหน้า

    <DD>เรื่องที่ท่านพระมหากัสสปกระทำนี้ น่าจะเป็นตัวอย่างอันดีของพระที่ชอบเล่าเรื่องความเลวของพระด้วยกันให้ชาวบ้านฟัง บางท่านเป็นถึงเจ้าอาวาสแล้ว ยังเที่ยวนำความบกพร่อง ความไม่ดีของพระรูปนั้นรูปนี้ ในวัดของตนไปเล่าให้ชาวบ้านฟังความประสงค์ของท่านก็เพื่อให้ชาวบ้านเห็นความดีของตัวท่านเองว่ามิได้เป็นอย่างพระที่ท่านกำลังติเตียนอยู่ แต่ถ้ามองแง่หนึ่งเขาก็จะว่า “สมภารไม่ดี หลวงชีจึงสกปรก” เป็นการประจานตัวเองโดยแท้

    <DD>๔. ภิกษุเสียงกระบวยเป็นพระพาลโดยแท้ ท่านพระมหากัสสปสอนดีๆ ก็โกรธ ไม่เพียงโกรธอย่างเดียวยังทำลายของ เผากุฏีเสียอีกด้วย อย่างนี้ ถ้าเป็นฆราวาสทะเลาะกับภรรยาก็คงจะต้องทุบถ้วยชามหม้อไหจนหมดแล้วเผาบ้านทิ้ง ใช้ไม่ได้เลย ใครไปได้พ่อบ้านอย่างนั้นก็นับว่าเวรมาก

    <DD>๕. ศีรษะ มือเท้าของลิงคล้ายมนุษย์แต่มันไม่มีปัญญาอย่างมนุษย์ มันจึงทำอะไรไม่ได้อย่างมนุษย์ อย่ากล่าวถึงลิงกับคนเลย แม้คนด้วยกัน มีอวัยวะเหมือนกันทุกอย่างก็ยังมีปัญญาที่แตกต่างกันมากท่านว่า ร่างกายมือเท้าแม้เหมือนกัน แต่ถ้าระดับปัญญาต่างกันมาก ฐานะของคนก็ย่อมจะแตกต่างกัน ช้างมีกำลังหลายเท่าของมนุษย์แต่มันก็ทำได้เพียงลากซุงที่มนุษย์จัดแจงให้มันลากไป คนที่กำลังกายมาก จึงสู้คนมีกำลังปัญญามากไม่ได้คนมีกำลังกายมากย่อมต้องยอมเป็นลูกน้องของผู้มีกำลังปัญญาด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า

    <CENTER>“ปญฺา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ
    ปัญญาแลท่านผู้ฉลาดกว่าวว่าประเสริฐที่สุด

    นกฺขตฺตราชารวิ ตารกานํ
    เหมือนดวงจันทร์เป็นราชาแห่งหมู่ดาว

    สีลํ สิริญฺจาปิ สตญฺจ ธมฺโม
    ศีล สิริ และธรรมของสัตบุรุษ

    อนฺวายิกา ปญฺวโต ภวนฺติ
    ย่อมตามหลังผู้มีปัญญา”</CENTER>

    <DD>คราวหนึ่ง มีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า บัณฑิตเรียกผู้มีชีวิตอย่างไรว่าเป็นชีวิตอันประเสริฐ พระองค์ตรัสตอบว่า “ปัญญาชีวึ ชีวิตะมาหุ เสฎฺฐัง บัณฑิตเรียกผู้มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาว่าเป็นชีวิตอันประเสริฐที่สุด”

    </DD>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การขอโทษและให้อภัย

    <DD>กุลบุตรผู้หนึ่ง มีศรัทธาในศาสนาของพระศาสดาออกบวชไม่นานนักได้บรรลุพระอรหัตตผล ต่อมาโยมมารดาของท่านถึงแก่กรรมลง ท่านจึงชวนโยมบิดาและน้องชายให้บวชอยู่เชตวันวิหาร

    <DD>เมื่อจวนเข้าพรรษา ท่านทั้งสามรูป คือภิกษุหนุ่ม ภิกษุชรา ผู้เป็นบิดา และสามเณรน้องชายของภิกษุหนุ่ม ทราบว่า วัดในชนบทแห่งหนึ่ง (คามกาวาส) มีจีวรและปัจจัยอื่นๆ อุดมสมบูรณ์ หาได้ง่าย จึงพากันไปจำพรรษาในอาวาสนั้น เมื่อออกพรรษาแล้วพากันกลับมาสู่เชตวันวิหาร

    <DD>เมื่อจวนถึงเชตวันวิหาร ภิกษุหนุ่มได้สั่งสามเณรน้องชายว่า “ขอให้ท่านบิดาพักผ่อนเสียก่อน ส่วนฉันจะล่วงหน้าไปจัดแจงเสนาสนะ กวาดบริเวณก่อน”

    <DD>พระเถระผู้เฒ่าจึงค่อยๆ เดินไปช้าๆ ส่วนสามเณรลูกชายใจร้อน จึงเอาหัวดุนหลังท่านบิดาอยู่เรื่อย เพื่อให้ถึงวัดเร็วๆ ท่านบิดาเห็นสามเณรทำอย่างนั้น ไม่พอใจกล่าวว่า “เธอมีหน้าที่จะต้องพาฉันไป” ดังนี้แล้วเดินกลับไปตั้งต้นใหม่ สามเณรก็ไปเอาหัวดุนหลังมาอีก เมื่อมาได้หน่อยหนึ่งท่านก็กลับไปตั้งต้นใหม่อีก ทำอยู่อย่างนี้จนมืดค่ำ

    <DD>ฝ่ายภิกษุหนุ่ม ไปปัดกวาดเสนาสนะตั้งน้ำใช้น้ำฉันไว้เรียบร้อยแล้ว คอยการมาของท่านบิดาและสามเณรน้องชายอยู่ เมื่อไม่เห็นมา จึงจุดคบเพลิงออกไปตาม พบท่านทั้งสองเดินทะเลาะกันอยู่ จึงให้ท่านบิดาพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วค่อยๆ นำมา วันนั้นไม่ได้โอกาสเข้าเฝ้าพระศาสดา คือเข้าเฝ้าไม่ทันวันรุ่งขึ้นจึงได้เข้าเฝ้า

    <DD>พระศาสดาตรัสถามว่า “มาถึงเมื่อไร ?”
    <DD>“มาถึงเมื่อวานพระเจ้าข้า” ภิกษุหนุ่มทูลตอบ
    <DD>“ทำไมจึงเพิ่งมาหาเราวันนี้ ?”

    <DD>ภิกษุหนุ่มได้ทูลเล่าเรื่องที่ชักช้าอยู่ทั้งปวงถวาย พระศาสดาทรงทราบแล้ว ทรงติเตียนภิกษุแก่นั้นว่า ภิกษุแก่นี้ในชาตินี้ทำให้เธอลำบาก แต่ในชาติก่อนได้ทำให้บัณฑิตลำบาก เมื่อภิกษุหนุ่มทูลถามถึงเรื่องเก่า จึงตรัสเล่าว่า

    <DD>ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ในกาสิกนคร เมื่อมารดาทำกาลกิริยา (ถึงแก่กรรม) แล้วทำการปลงศพมารดาเสร็จแล้ว เอาทรัพย์สมบัติออกบริจาคทานอยู่ถึง ๑๕ วัน จึงเสร็จสิ้น พาบิดาและน้องชายออกไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในหิมวันตประเทศ เลี้ยงชีพด้วยมูลผลาผล (คือรากไม้และผลไม้) อยู่ในไพรสนฑ์อันเป็นรมณียสถาน

    <DD>ธรรมดาในหิมวันตประเทศนั้น ในฤดูฝน เมื่อฝนตกชุก พวกฤษีไม่สามารถขุดเง่ามันได้ ผลาผลและใบไม้ก็ร่วงหล่นเสียหายมาก พวกดาบสจึงพากันออกจากป่าหิมพานต์ไปอยู่แดนของมนุษย์

    <DD>ในกาลนั้น ดาบสโพธิสัตว์ก็พาบิดาและน้องชายไปอยู่ในแดนของมนุษย์เหมือนกันเมื่อพ้นฤดูฝนแล้ว ต้นไม้ในหิมวันตประเทศผลิดอกออกผลใหม่ จึงพาบิดาและน้องกลับมายังป่านั้นอีก เมื่อจวนจะถึงอาศรมบท พระโพธิสัตว์จึงขอให้ดาบสน้องชายค่อยๆ พาบิดาผู้ชรามา ส่วนตนล่วงหน้าไปก่อน เพื่อจัดแจงปัดกวาดเสนาสนะ และตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้

    <DD>ดาบสน้อย ผู้เป็นน้องชาย เอาหัวดันหลังดาบสผู้บิดาให้รีบเดินมา ส่วนบิดาไม่พอใจ จึงกลับไปต้นทางเดินมาใหม่ (เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุแก่และสามเณรน้อยดังที่กล่าวมาแล้ว)

    <DD>จนมืดค่ำพระโพธิสัตว์ทำกิจต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วไม่เห็นบิดาและน้องชายมา จึงถือคบเพลิงเดินสวนทางไปพบท่านบิดาและดาบสน้องชาย จึงถามว่า ทำไมจึงชักช้าอยู่ดาบสผู้บิดจึงเล่าให้ฟัง

    <DD>ดาบสโพธิสัตว์ทราบเรื่องแล้วไม่พูดอะไร รีบพาท่านบิดาและน้องชายไปยังอาศรมบท ให้เก็บงำเครื่องบริขารแล้วให้บิดาอาบน้ำ ทาน้ำมัน นวดหลังเสร็จแล้ว ให้ผิงไฟเมื่อทราบว่าท่านบิดาระงับความอิดโรยแล้วจึงเข้าไปนั่งใกล้และกล่าวว่า

    <DD>“ข้าแต่ท่านบิดา เด็กหนุ่มเป็นเช่นภาชนะดิน แตกง่าย ประสานยาก ครู่เดียวก็แตก เมื่อแตกแล้วก็ประสานไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อเด็กด่าอยู่ บริภาษอยู่ ผู้ใหญ่จึงควรอดทน เด็กเป็นผู้อ่อนปัญญา บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมทนได้และให้อภัยในความผิดนั้น

    <DD>อนึ่ง สัตบุรุษ แม้จะทะเลาะกันก็กลับคืนดีกันได้ง่าย ส่วนพาลชน เมื่อแตกแล้วย่อมเป็นเหมือนภาชนะดิน ไม่สงบได้เลย ผู้ใดรู้จักโทษของตน และรู้จักขออภัยในโทษล่วงเกิน ผู้นั้นย่อมสมัครสมานพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น ความสนิทสนมของเขาย่อมไม่เปลี่ยนแปลง อนึ่ง ผู้ใดเมื่อผู้อื่นล่วงเกินแล้ว ตนเองมีใจเอื้อเฟื้อพร้อมที่จะสมัครสมาน ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้นำภาระไปเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธุระเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง

    <DD>รวมความว่า ดาบสโพธิสัตว์เตือนทั้งพ่อและสอนทั้งน้องเพื่อให้ท่านทั้งสองได้กลมเกลียวสามัคคีกัน

    ข้อสังเกต

    <DD>เรื่องนี้มีคติหลายอย่าง โดยเฉพาะเป็นการสอนผู้หลักผู้ใหญ่ ให้มีความอดทนต่อความอ่อนความคิดของผู้น้อย รู้จักอดทนและให้อภัย เมื่อเด็กโกรธ ถ้าผู้ใหญ่ไม่โกรธด้วย เจอที่ไหนทักทายปราศรัยด้วยดี เด็กก็คงโกรธไปได้ไม่นาน ไม่เท่าไหร่ก็คงเคารพกราบไหว้อย่างเดิม

    <DD>ท่านสอนว่า วิธีที่จะไม่ให้ทะเลาะกับใครนั้นคือคิดว่า เมื่อเขาเด็กกว่าก็ให้อภัยในฐานะที่เขาเป็นเด็ก เมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่กว่าก็ยกให้เสียว่า ท่านแก่แล้ว ส่วนคนเสมอกันก็นึกว่าเขาคงไม่แกล้ง ไม่เจตนา หรือเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    <DD>เกี่ยวกับการอดโทษและการให้อภัยนั้นพระพุทธองค์ตรัสว่า คนที่ล่วงเกินเขาแล้วไม่ขอโทษ และคนที่เขาขอโทษแล้ว ไม่ยอมให้อภัย จัดว่าเป็นพาลเสมอกันทั้งสองพวก

    <DD>ในทางพระวินัย ทรงปรับอาบัติทั้งสองพวก คือทั้งพวกที่ล่วงเกินเขาแล้วไม่ขอโทษและพวกที่เขาขอโทษแล้วไม่ยอมให้อภัย การรู้โทษแล้วขอโทษ และการให้อภัยจึงเป็นจุดสำคัญในความสามัคคีและความรักอันไม่จืดจาง

    <HR>
    ที่มา : หนังสือ เพียรพายสำเภาแก้ว เผยแพร่โดย วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร </DD><DD> </DD><DD>www.dhammasavana.or.th/article.php?a=431</DD><DD>
    </DD>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปกล่าวตักเตือนพระอานนท์

    <DD>[๕๑๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสป อยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

    <DD>ก็โดยสมัยนี้แล ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของท่านประมาณ ๓๐ รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม พากันลาสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นหินเพศ ฯ (หินเพศ เป็นเพศที่ตำทราม ท่านหมายถึงจะสึกกลับไปเป็นเป็น "ฆราวาส" อีกนั่นเอง)

    <DD>[๕๑๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามชอบใจในทักขิณาคิรีชนบท แล้วกลับไปสู่พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่

    <DD>ครั้นเข้าไปหาแล้ว อภิวาทมหากัสสปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหากัสสปได้กล่าวปราศรัยกะท่านพระอานนท์ว่า
    <DD>อาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอ จึงทรงบัญญัติ การขบฉันถึง ๓ หมวด ในตระกูลเข้าไว้ ฯ

    <DD>[๕๒๐] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ข้อ จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉันถึง ๓ หมวดในตระกูลเข้าไว้

    <DD>คือเพื่อข่มคนหน้าด้าน เพื่อให้ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักอยู่เป็นสุข และเพื่ออนุเคราะห์ตระกูล โดยเหตุที่พวกมีความปรารถนาลามก อาศัยสมัครพรรคพวกแล้วจะพึงทำสงฆ์ให้แตกกันไม่ได้ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ข้อเหล่านี้แล จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉันถึง ๓ หมวดในตระกูลเข้าไว้ ฯ

    <DD>[๕๒๑] ก. อาวุโสอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเที่ยวไปกับภิกษุเหล่านี้ ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร เพื่อประโยชน์อะไรเล่า

    <DD>เธอมัวแต่จาริกไปเหยียบย่ำข้าวกล้า มัวแต่จาริกไปเบียดเบียนตระกูล อาวุโสอานนท์ บริษัทของเธอย่อมลุ่ยหลุดไป สัทธิวิหาริกของเธอซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่ ย่อมแตกกระจายไป เธอนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ ฯ

    <DD>อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บนศีรษะของกระผม ผมหงอกแล้วมิใช่หรือ ถึงอย่างนั้น พวกกระผมก็ยังไม่พ้นจากท่านพระมหากัสสปว่าเป็นเด็ก ฯ

    <DD>ก. ก็เป็นจริงอย่างนั้น อาวุโสอานนท์ เธอยังไปเที่ยวกับภิกษุใหม่ๆ เหล่านี้ ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร

    <DD>เธอมัวแต่จาริกไปเหยียบย่ำข้าวกล้า มัวแต่จาริกไปเบียดเบียนตระกูล อาวุโสอานนท์ บริษัทของเธอย่อมลุ่ยหลุดไป สัทธิวิหาริกของเธอซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่ ย่อมแตกกระจายไป เธอนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ ฯ

    <DD>(หมายเหตุ : ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากัสสปกับพระอานนท์นั้น ความจริงท่านสนิทสนมกัน ด้วยพระมหากัสสปท่านรักและเอ็นดูพระอานนท์ จึงเห็นพระอานนท์เป็นเด็กอยู่เสมอ ส่วนพระอานนท์ก็เคารพพระมหากัสสปเช่นกัน แต่ลูกศิษย์ไม่เข้าใจ จึงมีเรื่องเกิดขึ้นจนได้ เรื่องนี้น่าจะเป็นอุทาหรณ์สอนใจได้เป็นอย่างดี)

    ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวปรามาสพระมหากัสสป

    <DD>[๕๒๒] ภิกษุณีถุลลนันทา ได้ยินแล้วคิดว่า ทราบว่าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ ถูกพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปรุกรานด้วยวาทะว่า "เป็นเด็ก" ไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า

    <DD>อะไรเล่า..พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสป ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ จึงสำคัญพระคุณเจ้าอานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ ว่าตนควรรุกรานด้วยวาทะว่าเป็นเด็ก ท่านพระมหากัสสปได้ยินภิกษุณีถุลลนันทากล่าววาจานี้แล้ว ฯ

    พระมหาเถระจำเป็นต้องประกาศคุณธรรมของตนเอง

    <DD>[๕๒๓] ครั้งนั้นแล ท่านมหากัสสปจึงกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ ภิกษุณีถุลลนันทายังไม่ทันพิจารณา ก็กล่าววาจาพล่อยๆ เพราะเราเองปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่นึกเลยว่าเราบวชอุทิศศาสดาอื่น นอกจากพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    <DD>ครั้งก่อน เมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์เคยคิดว่า ฆราวาสช่างคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ประดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ทางที่ดี เราควรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

    <DD>สมัยต่อมา เราทำผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่า ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก เมื่อบวชแล้วยังเดินไปสิ้นระยะทางไกล ได้พบพระผู้มีพระภาคระหว่างเมืองราชคฤห์กับบ้านนาฬันทคาม กำลังประทับนั่งอยู่ ณ พหุปุตตเจดีย์

    <DD>พอพบเข้าแล้วก็รำพึงอยู่ว่า เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสุคต ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคด้วย

    <DD>อาวุโส..เรานั้นจึงซบเศียรเกล้าลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคว่า

    <DD>ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้ ฯ

    <DD>[๕๒๔] เมื่อเรากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเราว่า ดูกรกัสสป ผู้ใดเล่ายังไม่ทราบชัดถึงสาวกผู้ประมวลมาด้วยจิตทั้งหมด อย่างนี้แล้วจะพึงพูดว่ารู้ ยังไม่เห็นเลยจะพึงพูดว่าเห็นศีรษะของบุคคลนั้นพึงแตก

    <DD>ดูกรกัสสป แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่ารู้ เห็นอยู่ จึงพูดว่าเห็น เพราะเหตุนั้นแหละกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

    <DD>เราจักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้นวกะ ผู้มัชฌิมะ ...

    <DD>เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จักกระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เกิดประโยชน์ ใส่ใจถึงธรรมนั้นทั้งหมด จักประมวลมาด้วยจิตทั้งหมด เงี่ยโสตสดับพระธรรม

    <DD>เราจักไม่ละกายคตาสติที่สหรคตด้วยกุศลความสำราญ ดูกรกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ


    <DD>ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคทรงโอวาทเราด้วยพระโอวาทนี้เสด็จลุกจากอาสนะแล้วทรงหลีกไป ดูกรอาวุโส เราเป็นหนี้ บริโภคก้อนข้าวของราษฎรถึงหนึ่งสัปดาห์ วันที่ ๘ พระอรหันตผลจึงปรากฏขึ้น

    <DD>คราวนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกจากหนทางตรงไปยังโคนต้นไม้แห่งหนึ่ง เราจึงเอาผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าปูเป็นสี่ชั้นถวาย แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน

    <DD>ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคก็ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวาย ครั้นประทับนั่งแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะเราว่า กัสสป..ผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าของเธอผืนนี้อ่อนนุ่ม เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์ทรงรับผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าของข้าพระองค์เถิด

    <DD>พระองค์ตรัสว่า ดูกรกัสสป เธอจักครองผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่หรือ เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักครองผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ฯ

    <DD>[๕๒๕] ดูกรอาวุโส เราได้มอบถวายผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าแด่พระผู้มีพระภาค และได้รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของพระผู้มีพระภาค ดูกรอาวุโส ก็เมื่อบุคคลจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผู้ใดว่า บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอฐ ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระธรรม อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่

    <DD>เขาเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึง ผู้นั้นคือเราว่า บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอฐ ของพระผู้มีพระภาค เกิดแต่พระธรรม อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ ฯ

    <DD>[๕๒๖] ดูกรอาวุโส เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรอาวุโสเราหวัง ฯลฯ[อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และอภิญญา ๙ มีเปยยาลอย่างนี้]

    <DD>[๕๒๗] ดูกรอาวุโส เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดด้วยอภิญญา ๖ ผู้นั้นก็ควรสำคัญช้าง ๗ ศอกหรือ ๗ ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้ ฯ

    <DD>ก็และภิกษุณีถุลลนันทาเคลื่อนจากพรหมจรรย์เสียแล้ว ฯ

    ที่มา - พระไตรปิฎกเล่มที่ 16 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 8 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค กัสสปสังยุตต์ จีวรสูตร
    </DD>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปเถระถูกกล่าวโทษ

    <DD>พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระมหากัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุยยุญชันติ" เป็นต้น.

    ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าผู้จะเสด็จจาริก

    <DD>ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในกรุงราชคฤห์ รับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " โดยกาลล่วงไปกึ่งเดือน เราจักหลีกไปสู่ที่จาริก."

    <DD>ได้ยินว่า การรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "บัดนี้เราจักหลีกไปสู่ที่จาริกโดยกาลล่วงไปกึ่งเดือน" ดังนี้ ด้วยทรงประสงค์ว่า "ภิกษุทั้งหลายจักทำกิจต่าง ๆ มีการระบมบาตรและย้อมจีวรเป็นต้นของตนแล้ว จักไปตามสบาย ด้วยอาการอย่างนี้ " นี้เป็นธรรมเนียนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไปกับพวกภิกษุ. ก็เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังทำกิจต่าง ๆ มีการระบมบาตรเป็นต้นของตนอยู่. แม้พระมหากัสสปเถระ ก็ชักจีวรทั้งหลายแล้ว.

    พวกภิกษุ (กล่าวหา) ว่าพระเถระละญาติและอุปัฏฐากไปไม่ได้

    <DD>พวกภิกษุยกโทษว่า "เพราะเหตุไร พระเถระจึงชักจีวร ? ในพระนครนี้ ทั้งภายในและภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิ: บรรดามนุษย์เหล่านั้น พวกใดไม่เป็นญาติของพระเถระ, พวกนั้นเป็นอุปัฏฐาก, พวกใดไม่เป็นอุปัฏฐาก, พวกนั้นเป็นญาติ; ชนเหล่านั้นย่อมทำความนับถือ ( และ ) สักการะแก่พระเถระด้วยปัจจัย ๔; พระเถระนั้น จักละอุปการะมีประมาณเท่านั้นไป ณ ที่ไหนได้; แม้หากพึงไปได้ ก็จักไม่ไป เลยจากซอกชื่อ "มาปมาทะ".

    <DD>ดังได้สดับมา พระศาสดาเสด็จถึงซอกใดแล้ว ย่อมตรัสบอกภิกษุทั้งหลาย ผู้ควรที่พระองค์พึงให้กลับอีกว่า " เธอทั้งหลายจงกลับเสียแต่ที่นี้, อย่าประมาท," ซอกนั้นชาวโลกเรียกว่า "ซอกมาปมาทะ," คำนั่นภิกษุทั้งหลายกล่าวหมายเอาซอกมาปมาทะนั้น.

    รับสั่งให้พระมหากัสสปกลับ

    <DD>แม้พระศาสดาเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกพลางดำริว่า " ในนครนี้ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีมนุษย์อยู่ ๑๘ โกฏิ. อันภิกษุจะต้องไปในที่ทำการมงคลและอวมงคลของมนุษย์ทั้งหลายมีอยู่, เราไม่อาจทำวิหารให้เปล่าได้เราจักให้ใครหนอแลกลับ."

    <DD>ลำดับนั้น พระองค์ได้ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า "ก็พวกมนุษย์เหล่านั้น เป็นทั้งญาติเป็นทั้งอุปัฏฐากของกัสสป, เราควรให้กัสสปกลับ."

    <DD>พระองค์ตรัสกะพระเถระว่า " กัสสป เราไม่อาจทำวิหารให้เปล่าได้, ความต้องการด้วยภิกษุ ในที่ทำมงคลและอวมงคลทั้งหลาย ของพวกมนุษย์มีอยู่, เธอกับบริษัทของตน จงกลับเถิด." พระเถระทูลว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" แล้วพาบริษัทกลับ.

    <DD>ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเห็นไหมละ, พวกเราพูดประเดี๋ยวนี้เองมิใช่หรือ ? คำที่พวกเราพูดว่า 'เพราะเหตุไร พระมหากสัสปจึงชักจีวร ? ท่านจักไม่ไปกับพระศาสดา,' ดังนี้นั่นแลเกิด เป็นจริง แล้ว."

    ทรงชี้แจงเหตุที่พระมหากัสสปกลับ

    <DD>พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายแล้วเสด็จกลับประทับยืน ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวชื่ออะไรกันนั่น ?" ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "พวกข้าพระองค์ กล่าวปรารภพระมหากัสสปเถระ พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดตามแนวความที่ตนกล่าวแล้วนั่นแล.

    <DD>พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าว (หา) กัสสปว่า ข้องแล้วในตระกูลและในปัจจัยทั้งหลาย,' (แต่ความจริง) เธอกลับแล้ว ด้วยทำในใจว่า 'เราจักทำตามคำของเรา (ตถาคต).' ก็กัสสปนั่น แม้ในกาลก่อน เมื่อจะทำความปรารถนานั่นแล ก็ได้ทำความปรารถนาว่า

    <DD>'เราพึงเป็นผู้ไม่ข้องในปัจจัย ๔ มีอุปมาดังพระจันทร์ สามารถเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายได้,' กัสสปนั่น ไม่มีความข้องในตระกูลหรือในปัจจัยทั้งหลาย; เราเมื่อจะกล่าวข้อปฏิบัติอันเปรียบด้วยพระจันทร์ และข้อปฏิบัติแห่งวงศ์ของพระอริยะ ก็กล่าวอ้างกัสสปให้ เป็นต้น."

    พระศาสดาตรัสถึงการตั้งความปรารถนาเดิมของพระเถระ

    ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า "ก็พระเถระตั้งความปรารถนาไว้เมื่อไร ? พระเจ้าข้า."
    พระศาสดา. พวกเธอประสงค์จะฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย.
    พวกภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า.

    พระศาสดาตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
    <DD>"ภิกษุทั้งหลาย ในที่สุดแห่งแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก" ดังนี้แล้ว ตรัสความประพฤติในกาลก่อนของพระเถระทั้งหมด ตั้งต้นแต่ท่านตั้งความปรารถนาไว้ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "ปทุมุตตระ"

    <DD>ความตั้งปรารถนาเดิมนั้น "พระธรรมสังคาหกาจารย์" ให้พิสดารแล้ว ในพระบาลีอันแสดงประวัติของพระเถระนั่นแล.

    ตรัสเปรียบพระเถระด้วยพระยาหงส์

    <DD>ก็พระศาสดาครั้นตรัสบุรพจริตของพระเถระนี้ให้พิสดารแล้ว จึงตรัสว่า
    <DD>"ภิกษุทั้งหลาย เพราะอย่างนี้แล เราจึงกล่าวข้อปฏิบัติอันเปรียบด้วยพระจันทร์ และข้อปฏิบัติแห่งวงศ์ของพระอริยะ อ้างเอากัสสปบุตรของเราให้เป็นต้น.

    <DD>ชื่อว่าความข้องในปัจจัยก็ดี ตระกูลก็ดี วิหารก็ดี บริเวณก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา. บุตรของเราไม่ข้องในอะไร ๆ เลย เหมือนพระยาหงส์ ร่อนลงในเปือกตม เที่ยวไปในเปือกตมนั้นแล้ว ก็บินไปฉะนั้น"
    ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรมจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

    <DD>อุยยุญชันติ สะตีมันโต นะ นิเกเต ระมันติ เต หังสาวะ ปัลละลัง หิตฺวา โอกะโมกัง ชะหันติ เต.

    <DD>"ท่านผู้มีสติย่อมออก. ท่านย่อมไม่ยินดีในที่อยู่; ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนฝูงหงส์ ละเปือกตมไปฉะนั้น."

    แก้อรรถ

    <DD>บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อุยยุญชันติ สะตีมันโต ความว่า ท่านผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ คือว่าท่านผู้มีอาสวะสิ้นแล้วย่อมขวนขวาย ร่ำอยู่ในคุณอันตนแทงตลอดแล้ว มีฌานและวิปัสสนาเป็นต้น

    <DD>ด้วยนึกถึง ด้วยเข้าสมาบัติ ด้วยออกจากสมาบัติ ด้วยตั้งใจอยู่ในสมาบัติ และด้วยพิจารณาถึงบาทพระคาถาว่า นะ นิเกเค ระมันติ เต คือชื่อว่าความยินดีในที่ห่วงของท่าน ย่อมไม่มี.

    <DD>บทว่า หังสาวะ นี้ เป็นแง่แห่งเทศนา. ก็นี้ความอธิบายในคำนี้ว่า :- ฝูงนกถือเอาเหยื่อของตน ในเปือกตมอันบริบูรณ์ด้วยเหยื่อแล้ว ในเวลาไป ไม่ทำความห่วงสักหน่อยในที่นั้นว่า "น้ำของเรา, ดอกปทุมของเรา, ดอกอุบลของเรา, ดอกบุณฑริกของเรา. หญ้าของเรา" หาความเสียดายมิได้เทียว ละประเทศนั้น บินเล่นไปในอากาศ ฉันใด :

    <DD>พระขีณาสพทั้งหลายนั่น ก็ฉันนั้นแล แม้อยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ไม่ข้องแล้วในสกุลเป็นต้นเทียวอยู่ แม้ในคราวไป ละที่นั้นไปอยู่ หาความห่วงหาความเสียดายว่า " วิหารของเรา, บริเวณของเรา, อุปัฏฐากของเรา" มิได้เทียว ไปอยู่.

    <DD>บทว่า โอกโมกัง คือ อาลัย, ความว่า ละความห่วงทั้งปวงเสีย. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

    ที่มา - เว็บ //th.wikisource.org/wiki/
    </DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...