ประสาทหูเสื่อม

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 13 ตุลาคม 2018.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    ประสาทหูเสื่อม
    #ประสาทหูเสื่อม
    41710807_254200758501992_5703280853245755392_n.jpg
    หู( Ear) เป็นอวัยวะของร่างกายที่มีหน้าที่สำคัญ ได้แก่การได้ยิน และการทรงตัวการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานานย่อมเป็นอันตรายอย่างมาก คนส่วนใหญ่อาจมองข้าม และอาจไม่รู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพที่ตามมาได้
    .
    โรคเส้นประสาทหูเสื่อม คือ ภาวะที่การได้ยินเสียงลดลง รวมถึงมีเสียงวี้ดในหู อาจเสื่อมได้ตามวัยที่มากขึ้น อาการเสื่อมตามวัยนั้นมักจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ได้ยินลดลงที่ละน้อย และการเสื่อมตามพฤติกรรมในชีวตประจำวัน หรือสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน และเป็นโรคที่คนยุคใหม่ๆ ซึ่งปัญหาการสูญเสียการได้ยิน
    .
    ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยิน
    - เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัส
    - ประสบอุบัติเหตุ (กระทบกระแทกทางศีรษะ )
    - อาชีพที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมของเสียงดัง หรือการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก(สถานที่ทำงาน สถานบันเทิง ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์)
    - พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันเช่น การใส่หูฟังเสียงดังเป็นเวลานาน เป็นต้น
    .
    อาการแบบไหนที่อาจเป็นโรคประสาทหูเสื่อม
    - มีอาการเหมือนหูอื้อ
    - ระดับการได้ยินลดลง
    - ได้ยินเสียงซ่า เหมือนแมลงหวี่ หรือจิ้งหรีดดังอยู่ในหู
    - หากปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดความผิดปกติจนถึงระดับที่ทำให้เซลล์ขนเสื่อมหรือเยื่อแก้วหูทะลุก็จะทำให้สูญเสียการได้ยินแบบถาวร
    ( การได้ยินจะไม่สามารถกลับคืนมาเป็นปกติได้อีก )
    .
    แนวทางในการป้องกันประสาทหูเสื่อม
    - ปรับลดระดับความดังเสียงลง
    - ใส่ที่อุดหูกันเสียง หากจำเป็นต้องเข้าไปที่เสียงดัง
    - ตั้ังความดันเสียงในอุปกรณ์ต่างๆในระดับที่ปลอดภัยคืออยู่ที่ประมาณ60% ของความดังสูงสุด
    - พักหูในช่วงที่มีกิจกรรมที่ต้องได้ยินเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานาน
    - จำกัดเวลาใช้หูฟังส่วนตัวไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
    (ประเมินระดับเสียงที่ได้ยิน)
    - เสียงที่ควรได้ยินไม่ควรดังเกิน 80 เดซิเบลและนานต่อเนื่องเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
    - ถ้าเริ่มมีความผิดปกติในการได้ยิน ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ทันที
    ------------------------------------------------------------------------------------------------
    Credit: Healthy Me
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     

แชร์หน้านี้

Loading...