ปรัชญานรก สวรรค์ ของเซ็น

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย tum399, 4 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    บทความและเรื่องราวถามตอบที่ดีๆ จาก kitty.in.th ครับ

    นรก สวรรค์

    โนบุชิเกะ เป็นซามูไรที่มี่ชื่อเสียง รู้สึกสงสัยมานานแล้วว่า สวรรค์ นรก นั้นมีจริงหรือไม่ วันหนึ่งเขาจึงได้ปีนเขาขึ้นไปหาพระเซ็นรูปหนึ่ง คือท่านอาจารย์
    ฮากูอิน ซึ่งทุกคนร่ำลือกันว่าท่านเก่งนักเก่งหนา พอไปถึงก็เอ่ยถามท่านอาจารย์ฮากูอินเลยว่า

    "ท่านอาจารย์ เรามาพูดกันอย่างตรงไปตรงมาเลยว่า นรก สวรรค์ นั้นมีจริงหรือไม่ ?"

    ท่านอาจารย์หันขวับมาจ้องหน้าดูเขา แทนที่จะตอบ กลับถามย้อนไปว่า

    "เธอน่ะเป็นใคร ?"

    "กระผมเป็นซามูไรขอรับ" โนบุชิเกะ ตอบโดยซื่อ

    "ซามูรงซามูไรอะไรกัน ใครช่างเอาเธอไปเป็นซามูไรกันนะ หน้าตายังกะขอทานแน่ะ" ท่านอาจารย์ขึ้นเสียง

    โดนหลู่เกียรติเข้าเช่นนี้ โนบุชิเกะก็พลุ่งโกรธขึ้นมา อะไรกันวะ เรามาถามดีๆ ทำไมถึงต้องมาด่ากันด้วย จึงลุกขึ้นยืนเอามือกุมด้ามดาบทันที

    "อ้อ มีดาบด้วยเรอะ ดาบขี้เท่อนี่ใช้ตัดหัวฉันได้หรือเปล่าล่ะ ?"

    ท่านอาจารย์กล่าวสำทับลงไปอีก ก็เหมือนสาดน้ำมันเข้ากองไฟ ซามูไรผู้มีศักดิ์ศรีจึงชักดาบออกมาโดยไม่รู้ตัว เงื้อดาบขึ้นเต็มที่ ก็พอดีได้ยินท่านอาจารย์เปลี่ยนระดับเสียงด้วยน้ำใจเมตตาว่า

    "นี่ไงล่ะลูกเอ๋ย ประตูนรกกำลังเปิดรอเจ้าอยู่แล้ว ถ้ามีประตูแล้ว นรกจะมีหรือไม่ล่ะ ?"

    โนบุชิเกะพอได้ยินก็รู้สึกตัวสำนึกได้ ทรุดตัวลงวางดาบแล้วก้มลงกราบ ท่านอาจารย์ฮากูอินจึงถือโอกาสชี้แจงต่อไปอีกว่า

    "นี่ไงล่ะลูกเอ๋ย ประตูสวรรค์ล่ะ เจ้ากำลังเหยียบประตูสวรรค์อยู่ ถ้ามีประตูแล้ว สวรรค์จะมีหรือไม่ล่ะ ?"

    การสอนแบบเซ็นนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ตำรามาสอนกันอย่างยืดยาว ข้อความที่ใช้สอน ตอบโต้กันสั้นๆ ก็ทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของธรรมะได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องใช้ให้เหมาะกับบุคคลและสถานการณ์ด้วย แล้วท่านล่ะว่า นรก สวรรค์ มีจริงหรือไม่ ? "




    ฟังโจ๊กในมุมฝรั่งบ้าง



    กาลครั้งหนึ่ง ณ สรวงสวรรค์


    โดนัลด์ รัมเฟลด์ ได้ตายลงและไปยังสวรรค์
    ขณะที่เขานั่งลงหน้าเซนต์ปีเตอร์ที่ประตูมุกเขามองเห็นกำแพงขนาดมหึมาเต็มไปด้วยนาฬิกาอยู่เบื้องหลัง

    เขาจึงถาม "นาฬิกาพวกนั้น มันคืออะไรน่ะ"
    เซนต์ปีเตอร์ตอบ "มันคือนาฬิกาแห่งการโกหก ทุก ๆคนบนโลกจะมีนาฬิกานี้คนละ1อัน เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณโกหกเข็มนาฬิกาของคุณจะเคลื่อนไป"

    "โอ.." รัมเฟลด์กล่าว "นั่นมันนาฬิกาของใครกัน"
    "นั่นเป็นของแม่ชี เทเรซ่าเห็นมั๊ยว่าเข็มนาฬิกาไม่เคยเคลื่อนที่ไปเลยแสดงว่าหล่อนไม่เคยโกหกเลยสักครั้ง"
    "เหลือเชื่อจริง ๆ" รัมเฟลด์ถามต่อ "แล้วนั่นของใครกันล่ะ"
    เซนต์ปีเตอร์ตอบ " นั่นคือนาฬิกาของ อับบราฮัม ลินคอล์น เข็มนาฬิกาเดินไปสองครั้ง บอกให้รู้ว่าอับราฮัมพูดโกหกแค่ต็ม 2 ครั้งเท่านั้นตลอดชั่วชีวิตของเขา"
    " เอ๊ะแล้วนาฬิกาของบุช อยู่ไหนกันล่ะ" รัมเฟลด์ถาม
    "อ๋อนาฬิกาของบุชอยู่ในห้องทำงานของพระเยซูน่ะ
    ท่านกำลังใช้มันแทนพัดลมเพดาน"<O:p</O:p

    ได้รับจากการส่งต่อๆกันมาจากเพื่อนทาง e-mailครับ<O:p</O:p
     
  2. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ปรัชญาเซนนั้นมีต้นกำเนิดมาจาก ปรมาจารย์ตั๊กม้อ ตอนที่ท่านเข้ามาเผยแผ่พระธรรมของพระพุทธศาสนาในประเทศจีน ประเทศจีนในขณะนั้นมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่เยอะแล้วก็จริง แต่ว่าส่วนใหญ่จะนิยมเรียนรู้ศึกษาและท่องจำพระธรรมจากคัมภีร์จากตำราต่างๆ ซึ่งหาคนที่เข้าถึงพระธรรมจริงๆนั้นยากมาก เมื่อท่านปรมาจารย์เข้ามาเผยแผ่พระธรรมจึงต้องเน้นรูปแบบของการถ่ายทอดพระธรรมจากจิตสู่จิต ก็คือให้คนอย่าติดอยู่เพียงแค่ตำราหรือการท่องจำ แต่ให้เข้าถึงธรรมด้วยใจ

    ส่วนในยุคก่อนปรมาจารย์ตั๊กม้อไม่นานที่ประเทศจีนยังขาดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมของพระพุทธศาสนาอยู่ ฮ่องเต้ ถังไท่จง จึงได้ส่ง พระถังซำจั๋ง ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกมาจากชมพูทวีป เมื่อท่านอัญเชิญกลับมาได้ก็ทำการคัดลอกออกมาเป็นตำราต่างๆมากมายหลายพระสูตรหลายเล่ม เพื่อให้คนได้นำไปศึกษาไปท่องบ่นสาธยายธรรมกัน เป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นที่รู้จักกันก่อน ดูๆไปแล้วการอัญเชิยพระไตรปิฎกของพระถังซำจั๊งก็เหมือนกับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้กับท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศจีนเลยล่ะครับ

    ท่านทั้งสองต่างก็ถือได้ว่าเป็นปรมาจารย์ทั้ง 2 ยุค 2 สมัย ซึ่งแต่ละท่านแม้จะมีหน้าที่และบทบาทที่ดูเหมือนขัดแย้งกัน แต่จริงๆแล้วกลับส่งเสริมเชื่อมโยงกันโดยบังเอิญ อย่างเหมาะสมในแต่ละยุคสมัย

    หรือดูอย่างประเทศธิเบตที่มีปัญหาจึงทำให้พระลามะต่างๆต้องย้ายไปอยู่ในประเทศอื่น แต่ปรากฏว่าการย้ายไปอยู่ในประเทศอื่นของท่านเหล่านั้นกลับเป็นการนำมาซึ่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปให้กับทางประเทศในแถบตะวันตก ซึ่งเท่ากับเป็นการกระตุ้นและปลุกกระแสจากที่ไม่ค่อยมีคนสนใจหรือศรัทธาในพระพุทธศาสนาสักเท่าไหร่ ได้หันมาสนใจและศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น.....

    จากตัวอย่างเหล่านี้ทำให้ผมได้มุมมองอย่างหนึ่งว่า ไม่ว่าปัญหาหรือเรื่องอะไรก็ตามเราอย่าพึ่งไปเป็นทุกข์เป็นร้อนกับเหตุการณ์อะไรต่างๆมากมายเกินไปนัก เพราะบางทีเหตุนี้อาจจะเป็นไปเพื่อเหตุนั้น เหตุนั้นอาจจะเป็นไปเพื่อเหตุการณ์ในวันนี้ก็เป็นได้ครับ และเมื่อเราเฝ้าดูเหตุการณ์ภายนอกอยู่อย่างนี้เราก็จะเห็นมันขึ้นๆลงๆหมุนเวียนไปมา เดี๋ยวเป็นอย่างนี้แล้วก็เป็นอย่างนั้นสลับกันไปไม่รู้จบ นี่แหละเรียกว่าวัฏสงสาร เมื่อเราดึงจิตออกมาเป็นเพียงผู้ดูเราก็จะมองเห็นความจริงทั้งหมดของสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เมื่อเห็นบ่อยๆเข้าจิตของเราก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ และมีจิตที่เป็นอุเบกขาธรรมไปเองโดยอัตโนมัติครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...