ปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นคน _ พระราชพรหมยาน( หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง )

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 14 เมษายน 2018.

  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=1375a3df3937ea2f8c258c3ecfc5fc30.jpg





    ปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นคน


    เราก็มานั่งคิดกันอีกทีว่า ที่เราเกิดมาเสวยความทุกข์ โลกนี้ที่มันเต็มไปด้วยความทุกข์ ทำไมเราจึงเกิด ก็ต้องตอบว่า เพราะเราอยากเกิดมันจึงเกิด หรือไง ถูกไหม ที่เราจะต้องเกิดมาเพราะความชั่วของจิต จิตคบความชั่ว ๔ อย่าง คือ
    ๑. กิเลส
    ๒. ตัณหา
    ๓. อุปาทาน
    ๔. อกุศลกรรม
    เหตุทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้เราเกิด

    "กิเลส" คือ "ความเศร้าหมองของจิต" ถ้าเขียนว่ากิเลสคือความเศร้าหมองของจิต ความจริงเขียนสุภาพเกินไป คนเลยอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าจะพูดกันตรงๆ กิเลสคือ "อารมณ์ชั่วของจิต" เศร้าหมองคืออารมณ์ชั่ว เห็นว่าของเลวเป็นของดี อารมณ์เลวเป็นอารมณ์ดี
    แหม..เราด่าใครสักพักมันชื่นใจหายโกรธ เขาจะตามกระทืบเอาตาย เพราะสร้างศัตรู คำว่ากิเลสคืออารมณ์ชั่ว
    การฆ่าสัตว์ สัตว์ทุกตัวเขาก็รักชีวิต คนทุกคนก็รักชีวิต เราฆ่าเขา เราประทุษร้ายเขา เขาไม่ชอบใจเพราะเป็นอาการความชั่วของเรา เราเองถ้าใครเขาทำแบบนั้นบ้าง เราชอบไหม เราก็ไม่ชอบ ถ้าเราทำแสดงว่าเราชั่ว อารมณ์มันชั่ว คิดชั่ว แล้วมันจึงทำชั่ว พูดชั่ว

    ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นก็เหมือนกัน ของเราเรารัก ทรัพย์สินไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมายื้อแย่ง ถ้าเราไปยื้อแย่งเขาไป คดโกงเขา เราก็ชั่ว กิเลสตัวนี้มันเสี้ยมสอนให้ทำชั่ว ให้คิดชั่ว เป็นอารมณ์ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยให้เราเวียนว่ายตายเกิดให้ได้รับความทุกข์
    ในเมื่อจิตมันคิดชั่ว ตัณหา คำว่า "ตัณหา" เขาแปลว่า "ความทะยานอยาก" คืออยากจะทำสิ่งชั่วๆ อยากจะพูดสิ่งชั่วๆ ให้ปรากฏ เมื่อทำชั่วแล้วก็พูดชั่ว คนเขาก็เกลียดคนชั่ว เราก็เป็นคนชั่ว คนเขาเกลียด จิตใจเราก็เศร้าหมอง มีแต่ความวุ่นวาย

    ต่อไปอุปาทาน คำว่า"อุปาทาน" เข้าใจกันให้ดีนะ นักเจริญกรรมฐานชอบพูดกันนัก นักบุญน่ะ มันเป็นอุปาทานหรือเปล่า ถามเข้าจริงๆ ไม่รู้ว่าอุปาทานเป็นยังไง แล้วก็เสือกพูดมาได้เยอะ ฉันตอกหน้าไปหลายคนแล้ว ถ้าพูดกับฉันระมัดระวังหน่อยนะ อย่าเสือกรู้มากเกินไป เอาแค่พอดีๆ เพราะฉันไม่ต้องการคนประเภทนั้น มันไม่ได้รู้จริง ถ้าไม่รู้จริงก็ทำลายความดีของบุคคลอื่นเขาด้วย
    คำว่า "อุปาทาน" แปลว่า "ยึดมั่นถือมั่น" คิดว่าการพูดชั่วเป็นของดี การทำชั่วเป็นของดี อยากได้สิ่งที่เลวอยากได้สิ่งที่ชั่วถือว่าดี ยึดมั่นในตัวนั้นไว้ อย่างนี้เรียกว่าอุปาทาน คืออารมณ์ยึดมั่นในด้านของความชั่ว ทีนี้ความชั่วมันก็ติดหนักในใจ

    ต่อมาอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เราเกิด คืออกุศล "อกุศลกรรม" นี้เขาแปลว่า "ไม่ฉลาด คือ โง่" กุศลท่านแปลว่าฉลาด อกุศลกรรมทำตามกำลังความโง่ที่เราต้องการ ทำยังไง อารมณ์จิตคิดชั่ว แล้วปากก็พูดชั่ว กายก็ทำชั่ว คิดว่ามันดี ทำเลย
    "ตัณหา" ความทะยานอยาก อยากได้ความชั่วมาเป็นสมบัติของตัว ก็ทำตามความต้องการของตัณหา อุปาทานยึดมั่นว่าความชั่วเป็นความดี ก็ทำตามนั้น
    กำลังความชั่วทั้ง ๔ ประการ บันดาลให้เรามาเกิดเป็นมนุษย์ชั้นสูงสุดแล้วนะ อีกทีก็ไปเกิดเป็นอสุรกาย เสื่อมยศลงไปหน่อยก็เป็นเปรต เสื่อมยศต่ำสุดก็เป็นสัตว์นรก มันก็วนกันไปวนกันมา

    การเกิดของเราแต่ละชาติ มันมีทั้งความดีและความชั่ว ไอ้ส่วนของความดีผลของความดี เราเสวยความสุขใช้เวลาน้อยมาก แต่ผลของความชั่ว เราเสวยความทุกข์ใช้เวลามากเหลือเกิน
    อย่างบรรดาท่านพุทธบริษัทที่มานั่งที่นี่ทุกคน ถ้ามานั่งด้วยศรัทธา เอากันด้วยศรัทธานะ ที่สักแต่ว่ามานั่งไม่ขอยืนยัน อันนี้ก็มีที่สักแต่ว่ามานั่งเฉยๆ ไม่ได้สนใจจริง ไม่ต้องโกหกหรอก นั่งตรงไหนก็รู้ มีทุกเที่ยวและมีทุกวัน

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ วัดท่าซุง อุทัยธานี
    จากหนังสือ "ธรรมปฏิบัติ" เล่ม ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๙ หน้าที่ ๘๗-๘๙
    คัดลอกโดย Thamma Sukkho


    ***************************************************************************



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...