ปัญหาการพิจารณาขันธ์5 และ ไตรลักษณ์(มือใหม่)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย hommy102, 17 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. hommy102

    hommy102 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +4
    คือหนูมีข้อสงสัยว่านั่งสมาธิแล้ว
    มีการพิจารณาขันธ์5 ไตรลักษณ์ และ ธาตุ4
    1.เขาพิจารณาตอนไหนคะ แบบเข้าสมาธิแล้วจึงพิจารณา(เรียกว่าฟุ้งซ่านไหมคะ) พิจารณาตอนก่อนนั่ง พิจารณาก่อนถึงสมาธิ พิจารณาออกสมาธิ หรือ ตอนเลิกนั่งสมาธิแล้ว
    2. ขันธ์5 ไตรลักษณ์ ธาตุ4 ต้องพิจารณาอันไหนก่อน หรือพิจารณาแค่อันเดียวนอกนั้นไม่ต้อง ถ้าอันเดียวพิจารณาอันไหนคะ
    3. เวลาพิจารณาธรรมเหล่านี้ต้องพิจารณาไปทางไหนคะ(เกิด-ดับ ตัวเราไม่ใช่ตัวเรา เราคือใคร หรือยังไงคะ)
    4. นิมิตคือฟุ้งซ่านไหมคะ บางครั้งนั่งอยู่ก็ได้ยินเสียงขึ้นมาว่า อย่าวอกแวก(ทำนองแนวๆนี้)(อย่างนี้ฟุ้งซ่านแล้วใช่ไหมคะ)

    ท่านผู้รู้ช่วยตอบให้เข้าใจง่ายด้วยนะคะ ถ้าเป็นชื่อธรรมขั้นสูง(กว่าหนังสือเรียน)ช่วยอธิบายด้วยนะคะ หนูกลัวจะไม่เข้าใจจังเลยเพราะ หนูพึ่งฝึกไม่นานเองค่ะ

    และขอบคุณทุกท่านที่ตอบนะคะ หนูจะนำความรู้ไปปฏิบัติต่อไปค่ะ
     
  2. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่น
    เป็นธรรมดา เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง มีอันแปรปรวน
    เป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้
    เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละ(ตาย)ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ย่อมควรเพ่งด้วยปัญญาโดยประมาณอย่างนี้แก่ผู้ใด. เรากล่าวผู้นี้ว่า ธัมมานุสารี ก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ก้าวลงสู่สัปปุริสภูมิ ล่วงภูมิปุถุชน ไม่ควรเพื่อทำกรรมที่บุคคลทำแล้วพึงเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานหรือปิตติวิสัย ไม่ควรเพื่อทำกาละ ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.
    ----------------------------------------------------------
    อธิบายพระสูตรตามความเข้าใจชองผมผิดพลาดขออภัย
    จากพระสูตรแสดงถึงบุคคล ผู้เป็นสัทธานุสารี(เชื่อว่า ขันธ์5 เป็นทุกข์ อนิจจัง อนัตตา)
    และธรรมานุสารี(พิจารณาด้วยปัญญาว่า ขันธ์ 5 เป็น ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา)
    บุคคล 2 ประเภทนี้เที่ยงต่อการบรรลุเป็นพระโสดาบันในชาตินี้ บุคคล 2 ประเภทนี้จะทำบุญ รักษาศีล บำเพ็ญสมาธิ เพื่อความสิ้นไปของกิเลสเป็นเป้าหมายแรก ไม่ปรารถนา มนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ พรหมสมบัติ สาวกภูมิ ปัจเจกพุทธภูมิ พุทธภูมิ เพราะท่านกลัว ขันธ์ 5(ในอรรถกถาบอกว่าต่อให้โลกจะแตกเพราะไฟบรรลัยกัลป์ หากเหลือสัทธานุสารีหรือธรรมานุสารีเพียงแค่คนเดียวอยู่ในโลก ไฟนั้นจะไม่เกิดขึ้นก่อนจนกว่า คนๆนั้นจะบรรลุเป็นพระโสดาบัน (แต่พอบรรลุแล้วก็คง...เหมือนกัน))
    ----------------------------------------------
    ตอบคำถาม
    1.พิจารณาเนืองๆตอนไหนก็ได้ครับ ปกติการพิจารณาแนวนี้ไม่ถือว่าฟุ้งซ่านเพราะมันระงับความฟุ้งซ่านได้ สมมติเกิดสังขาร(การปรุงแต่ง)อย่างหนึ่งขึ้น เช่น โกรธนาย A เราก็ไม่ต้องไปคิดต่อดูเฉยๆว่าเมื่อไรความโกรธมันจะดับไป พอมันดับไป ก็ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าสังขารเป็นทุกข์เพราะมันแตกสลายหายไปได้ เป็นอนิจจังเพราะมันเปลี่ยนแปลงได้ เป็นอนัตตาเพราะมันนึกจะมาก็มาไปก็ไป เป็นต้น

    2.น่าจะพิจารณาขันธ์ 5 ก่อนเพราะควรจะละสังโยชน์เบื้องต่ำคือสักกายทิฏฐิ(การเห็นขันธ์5 ว่านั้นเป็นตัวตนของเรา)ก่อน การพิจารณาธาตุ 4 มักใช้ในการละสังโยชน์ขั้นกลางคือ กามราคะ

    3.ตามที่ตนเองเห็นชัดที่สุดครับ จำได้ว่า
    ถ้ามีศรัทธามาก อนิจจังจะชัดที่สุด
    ถ้ามีสมาธิมาก ทุกข์จะชัดที่สุด
    ถ้ามีปัญญามาก อนัตตาจะชัดที่สุด

    4.เป็นการฟุ้งขึ้นของวิตก วิตกที่ทำลายสมาธิ มีกาม พยาบาท เบียดเบียน นอกนั้นก็คงไม่เป็นไรหรอกครับ วิตกบางอย่างก็ช่วยในการเกิดสมาธิด้วย เช่น ระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ศีล จาคะ วัตรของเทวดา เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นต้น

    ตอบจากความรู้ความเข้าใจของผม(ส่วนใหญ่จำมาจากหนังสือพุทธธรรมของท่าน ประยุทธ์ ปยุตฺโต)ผิดพลาดอย่างไรก็ขออภัยด้วยนะครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กุมภาพันธ์ 2011
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    4. นิมิตคือฟุ้งซ่านไหมคะ บางครั้งนั่งอยู่ก็ได้ยินเสียงขึ้นมาว่า อย่าวอกแวก

    นิมิตไม่ใช่ฟุ้งซ่าน แต่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของจิตซึ่งเริ่มๆเป็นสมาธิแล้ว

    บางครั้งนั่งอยู่ก็ได้ยินเสียงขึ้นมาว่า อย่าวอกแวก

    เป็นลักษณะของจิตที่ถูกสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เป็นไปต่างๆ ...มีบางคนนั่งแล้วได้ยินเสียง คนห้ามทำสมาธิเป็นต้น ก็มี

    ภาคปฏิบัติ จขกท. ค่อยๆอ่านลิงค์นี้แล้วจะเห็นช่องทางการปฏิบัติกรรมฐาน

    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - อิริยาบถนั่งอบรมจิตกับสนทนาวิธีปฏิบัติกรรมฐานกับคุณรินรส

    ถามจขกท. ว่า ใช้กรรมฐานอะไร ภาวนายังไงครับ

    2. ขันธ์ 5 ไตรลักษณ์ ธาตุ 4 ต้องพิจารณาอันไหนก่อน หรือพิจารณาแค่อันเดียว นอกนั้นไม่ต้อง ถ้าอันเดียวพิจารณาอันไหนคะ

    เกี่ยวกับ ขันธ์ 5 ไตรลักษณ์ ธาตุ 4 ตอบคำถามให้ที่

    ปัญหาการพิจารณาขันธ์ 5 และไตรลักษณ์ (มือใหม่)

    เพราะ จขกท. ยังเข้าใจปนๆกันอยู่ ควรอธิบายทำความเข้าใจกันยาวหน่อย






     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    เอาหละ ขอสรุปรวบ ตอบคำถามในทีเดียว

    ก่อนอื่น เราต้องมีความเข้าใจว่า ก่อนที่เราจะพิจารณาขันธ์ 5 ได้นั้น เราจะต้องมี สติแก่กล้าพอที่จะมองเห็น ขันธ์ 5 ได้
    เพราะขันธ์ 5 นั้นเป็นของละเอียดที่เกิดขึ้นกับใจเรา กับตัวเรา และมีสภาพที่คลุมเครือ เกิดเร็วดับเร็ว มีการโยงใยต่างๆ นาๆ ทับถมกันจนเป็น ตัวเรา

    ทีนี้ เมื่อ เราเจริญสติ แก่กล้าแล้ว เราก็จะมองเห็นว่า อะไรบ้างที่เกิดขึ้นกับเรา นั้นแหละ เราจึงจะพิจารณาขันธ์ 5 ได้ตรง

    ทีนี้ ถามว่า ควรพิจารณาขันธ์ 5 แล้วถามว่า เรารู้จักขันธ์ 5 หรือยัง เคยเห็นมันหรือยัง แยกความแตกต่างของแต่ละอย่าง ด้วยการเห็นเองหรือยัง
    ตอบว่า ยัง เพราะว่า เรายังไม่ได้เจริญสติ จนเห็นขันธ์ทั้ง 5 ด้วยตนเอง อย่างมากก็ฟังเขาบอกมา แล้วเราก็ดูตาม เราก็จะเห็นบ้าง ไม่เห็นบ้าง เพราะสติที่จะไปเห็นของละเอียดนั้นยังไม่มากพอ (คำว่าเห็นหมายถึง การสัมผัส รับรู้ได้)

    ทีนี้ อะไรเล่าที่ทำให้ สติเราละเอียดจนสามารถสังเกตุได้ รู้สึกได้
    ตอบว่า เราจะต้องเจริญ สติ เบื้องต้น ให้จิตใจนั้น มีสติระลึกรู้เกี่ยวกับ กาย ของเราก่อน เพราะเป็นสิ่งหยาบ มองเห็นได้ง่าย ระลึกได้ง่ายว่า กายนี้กำลังทำงานอะไร เช่น กำลังเดิน กำลังกิน กำลังนั่ง จิตจะมาระลึกรู้อยู่เป็น ฐาน เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ซึ่งจะทำให้เรามีสติมองไปเห็นในส่วนละเอียดได้ รวมถึงเป็นสมาธิในตัวได้ด้วย

    ทำในส่วนนี้ให้มีให้เป็นก่อน แล้ว เราค่อยๆ เอาสติไปวางไว้ที่ความรู้สึก ว่า เราสุข เราทุกข์
    ในใจอย่างไร เรียกว่า เป็น เวทนานุปัสสนา สติปัฎฐาน

    ทำให้ดีทำให้ชำนาญ คราวนี้แหละ เราจึงจะเข้าสู่ระดับ จิต และ ระดับ ธรรม ขึ้นไปได้
    แต่ อย่าเพิ่งถามว่า จิต และ ธรรม หน้าตามันจะให้เรารับรู้อย่างไร ทำในส่วนต้นให้ดีก่อน
    แล้ว เราจะเห็นเองว่า ระดับละเอียดนั้นยังมีอยู่

    ทีนี้เราจึงจะเห็น ทุกๆสิ่งที่ปรากฎกับตัวเรา เมื่อนั้นแหละจึงค่อยแยก ขันธ์ 5

    และ จึงจะสามารถทราบถึงเหตุปัจจัย ของ การเกิดทุกข์ และ สรรพสิ่งทั้งมวลได้

    ขอให้ทำตามที่บอกนั้น ซึ่งก็คือ เริ่มต้น เอาใจไประลึกรู้ที่กาย ให้บ่อย ทำซัก 1 เดือน จนสติเป็นอัตโนมัติ ทำอะไรระลึกรู้ตัวทันที จะทำให้เข้าใจอะไรดีขึ้นเอง

    ขอให้โชคดีสำหรับมือใหม่ อย่าลืม ทำกุศล ทำตัวเป็นคนดี แล้วกุศลจะส่งเสริมให้เราสำเร็จ
     

แชร์หน้านี้

Loading...