ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 1 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    [​IMG]



    กระทู้นี้รวบรวมทุกปัญหาที่เคยมีสมาชิกได้โพสถามไว้เกี่ยวกับการสวดมนต์ ผมได้รวบรวมหลายๆ คำถามมีความคล้ายคลึงกันจึงขอนำมารวบรวมไว้เป็นหัวข้อเดียวกันเพื่อง่ายต่อ การค้นหานะครับ หากสมาชิกท่านใดมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ก็เข้ามาโพสท์ในกระทู้นี้ได้ครับ

    ผมจะทยอยลงนะครับ สมาชิกก็สามารถช่วยกันโพสท์เพื่อเป็นวิทยาทานได้นะครับ

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    เวลาสวดมนต์แล้วลูกชายชอบกวน จะเป็นบาปไหม

    ถาม: ดิฉันต้องการสวดมนต์ทุกวัน แต่ว่าตอนนี้มีลูกชายอายุ 2 ขวบกว่า เวลาสวดมนต์เค้าจะกวน บางครั้งมานอนบนหมอนที่เราไหว้พระ บางครั้งก็ชวนเราคุย ช่วงแรก ๆ ลำบากมากเพราะแกไม่ค่อยให้ความร่วมมือ พอช่วงหลัง ๆ เค้าเริ่มกวนน้อยลง แต่ก็มีอ้อนบ้าง ดิฉันทำไม่สนใจเอาจิตเอาใจไว้กับบทสวดมนต์ อยากถามว่าจะบาปไหมคะ เวลาเราสวดมนต์แต่ลูกเรากวนอย่างนี้ ที่ดิฉันทำนี้ดี หรือผิดอะไรหรือเปล่า ดิฉันต้องการปฏิบัติให้ลูกเห็นเค้าจะได้จำ แต่ต้องใช้สมาธิมากเลย ถ้าไม่ดีหรือผิดอย่างไรดิฉันจะได้ไม่สวดมนต์แล้วค่ะ กลัวลูกบาป แต่อีกใจก็อยากให้ลูกจำสิ่งดี ๆ จากเรา สับสนเหมือนกันอย่างไรช่วยให้ความกระจ่างกับดิฉันสักหน่อยนะคะ

    ตอบ: พาเด็กเล็กเข้าวัด - บาป
    เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องที่สวนกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่หากได้พิจารณาความจริงไปตามเหตุผลที่หลวงปู่ได้เมตตาชี้แนะก็จะเข้าใจ ได้ ท่านว่าเด็กเล็กที่พามาวัดนั้นยังควบคุมดูแลตนเองไม่ได้ จึงมักซุกซนและคึกคะนองไปตามประสาเด็ก แต่เนื่องจากที่วัดมักมีผู้มาฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนาอยู่เสมอๆ ดังนั้น เสียงรบกวนของเด็กจึงอาจรบกวนผู้ที่กำลังปฏิบัติภาวนาอยู่ ดังนั้นบาปจึงเกิดกับเด็กอย่างไม่รู้ตัว ทั้งนี้ก็ด้วยพ่อแม่ผู้ปกครองไม่เข้าใจและปล่อยปละละเลย

    ภาพแห่งความเมตตาที่ท่านเมตตาอบรมชี้แนะข้าพเจ้ายังชัดเจนอยู่ในความทรงจำ วันนั้นข้าพเจ้าพาลูกซึ่งยังเล็กไปวัดสะแกด้วย จำได้ว่าการไปวัดในวันนั้น ข้าพเจ้าไม่สู้รู้สึกปลอดโปร่งนักเพราะว่าต้องมามัวกังวลกับลูกน้อยที่ เดี๋ยวก็ส่งเสียงร้องไห้ เดี๋ยวก็ปัสสาวะรด พอหลวงปู่ท่านเห็นจังหวะเหมาะ ท่านก็เรียกข้าพเจ้าให้เข้าไปใกล้ๆ แล้วบอกว่า

    "นี่ เพราะข้ารักแกหรอกนะ จึงบอกจึงสอนให้รู้ คนเขาภาวนากันอยู่ แกพาเด็กๆ มาวิ่งเล่นซุกซน ส่งเสียงรบกวน มันบาปนะ
    อันที่จริงแกเอาเด็กเล็กไว้ที่บ้านก็ ได้ เวลาที่แกภาวนาก็ให้นึกถึงเขา แผ่เมตตาให้เขา เขาก็ได้บุญเหมือนกัน"

    ที่ มา: จากหนังสือตามรอยธรรมย้ำรอยครู หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ หน้า 212-213
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ที่บ้านมีพระหลายองค์ ต้องสวดมนต์ให้ครบทุกบทไหม

    <table border="0" width="100%"><tbody><tr> <td valign="middle">
    </td><td valign="middle">
    </td> <td style="font-size: smaller;" align="right" valign="bottom" height="20">
    </td> </tr></tbody></table> <hr class="hrcolor" width="100%" size="1"> ถาม: ถ้าที่บ้านมีพระหลายองค์ ทั้งพระพุทธรูปไทย , พระจีน (พระแม่กวนอิม) , รูปเสด็จ ร.5 อยากสอบถามว่าเราจะสวดมนต์บทของไทย พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ โดยไม่สวดมนต์บทพระแม่ได้ไหมครับ

    ตอบ:
    ไม่ว่าเราสวดมนต์บทไหนก็ตาม ที่ระลึก หรือกล่าวถึงคุณแห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือว่าใช้ได้ทุกบทครับ ขอให้ใจเราเคารพ

    เทพทุกพระองค์ หรือผู้ที่เราบูชาท่าน ให้บูชาท่านด้วยการทำดี ก็ดีแล้ว เพียงพอแล้ว การสวดบูชาท่านแทบตาย ท่านก็ไม่เมตตาเรา หากเราทำชั่ว แต่ถ้าหากเราทำดี เป็นคนดี ถึงสวดคาถาบูชาท่านไม่ได้เลย แต่เราคิดถึงท่าน ท่านก็สงเคราะห์เราครับ

    ที่มา: http://www.ponboon.com/forum/index.php/topic,3378.0.html
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    สวดมนต์แล้วขนลุก / ได้ยินเสียงคนเรียกชื่อตอนใกล้หลับ

    ถาม: เวลาที่เราสวด มนต์ แผ่เมตตา (ให้สรรพสัตว์) อุทิศส่วนกุศล (ให้แด่หลวงพ่อจรัญ , เทวดา , เจ้ากรรมนายเวร , เปรต ฯลฯ) ขออโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร บ่อยครั้งตัวเราจะขนลุกค่ะ ไม่ก็เย็นวาบๆ นิดหน่อยๆ แบบนี้คือเขามาร่วมอนุโมทนากับเราหรือเปล่าคะ หรือว่าเราคิดไปเอง

    ตอบ:
    ปรกติครับ พอทำไปซักพัก(ทำไปเรื่อยๆ) จะรู้สึกมากกว่าเดิมอีก คือมันเป็นแรงสะท้อนมาจากคนที่เราอุทิศไปให้นะครับ ถ้าไม่มั่นใจลองอุทิศให้ในหลวงหรือว่าครูบาอาจารย์ที่เรานับถือสิครับ จะสะท้อนมาแรงขึ้นและเร็วขึ้นนะครับ
    อีกกรณีนึงคือว่าเราเริ่มเป็นสมาธิ นะครับ มันเป็นอาการของปิติสุขนะครับ



    ถาม: ในขณะที่ไหว้พระที่บ้านทำการสวดมนต์อาราธนาศีล เกิดอาการขนลุก ตลอดจนสวดจบ เลยครับ อยากทราบว่าเป็นอาการที่แสดงถึงอะไร จะได้รู้และจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องครับผม

    ตอบ:
    เป็นอาการของปีติ บวกกับกระแสของเทวดาที่สื่อเข้ามา
    หากไม่ต้องการให้เกิดการสื่อกระแสมาที่ตัวเรา ให้เรานำผ้าขาว ยาวประมาณสองเมตรขึ้นไป ใส่พานวางไว้ข้างๆ หิ้งพระ เวลาเทวดามา กระแสเขาจะไปอยู่ที่ผ้าขาว เราเองจะไม่เหนื่อย ไม่มีอาการทางกายใดๆ มากระทบ



    ถาม: ในบางครั้งตอนใกล้จะหลับได้ยินเสียงคนเรียก ชื่อ รู้สึกว่าจะเป็นเสียงผู้ชาย แต่ก็ไม่ได้ตอบรับกลับไปนะคะ เพราะตอนนั้นง่วง บวกกับกลัวไปแล้ว มันเป็นอะไรคะ หรือคิดไปเองอีก

    ตอบ:
    ก็เป็นได้2กรณีนะครับ คืออุปทานจริงๆ หรือว่าเป็นเค้าเรียกจริงๆก็ได้ เพราะช่วงใกล้หลักนี่จิตมันกำลังดี จะมีพวกอย่างงี้บ่อย ของผมเองช่วงที่ย้ายมาทำงานต่างจังหวัดใหม่ๆ ก็เห็นก่อนนอนเหมือนกัน ให้เราแผ่เมตตาแผ่นกุสลให้เขาตรงๆเลยครับ เช่นผลบุญที่ได้ทำมา หากมีผลกับฉันฉันใดของให้มีแก่เธอฉันนั้นด้วย
    แต่บางกรณีถ้ากลัวทำเป็น ไม่รู้ไม่เห็นก็ได้ครับ เท่าที่ผมรู้นะครับที่เขามาหาเราได้เพราะว่าเคยมีกรรมร่วมกับเขามาก่อน ฉะนั้นให้บุญให้กุศลเขาดีกว่าครับ
    ป.ล.บางทีเทวดาเจาอาจมาเตือนอะไรเราก็ ได้นะครับ ^^


     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    บทสวดมนต์พระปริตร เหมาะสมที่จะนำมาสวดในบ้านมั้ยครับ

    ถาม เคยอ่านเจอว่า บทสวดมนต์พระปริตรไม่เหมาะจะสวดในบ้าน เพราะจะมีผลกระทบต่อสิ่งที่มองไม่เห็นในบ้านของเรา (ประมาณว่าไปเบียดเบียนเค้า) ไม่ทราบว่าจริงเท็จเป็นอย่างไรบ้างครับ ขอผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ
    ขอบคุณครับ


    ตอบ เค้าว่ากันว่า ของดี ทำอะไรก็ดีคับ
    ถ้าคิดว่าไปเบียดเบียนเค้า เราก็อธิฐานบอกเขาก่อนก็ได้นะครับว่าเราจะสวดมนต์ ถ้าท่านร้อน หรือ เดือดร้อนเพราะเหตุแห่งการสวดมนต์ของเรา ก็ขอให้ท่านเหล่านั้นหลีกไปก่อน ถ้าไม่เดือดร้อน ขอจงโมทนาบุญของเรา และ ร่วมฟังหรือสวดไปกับเราด้วย จะดีกว่านะคับ
    ( ปล.ผมสวดทุกวันนี้ สวดในใจนะคับ เวลาสวดเหมือนมี 2 เสียง เหมือนผู้หญิงมาสวดด้วยกับเรา แปลกดีนะคับ แล้วพอผมแกล้งสวดผิด เสียงผู้หญิงนั้น จะบังคับเสียงเราให้สวดได้อย่างถูกต้อง แปลกดีมั้ยหล่ะคับ ^_^ )

    ไม่งั้น บทสวด คงสวดในบ้านไม่ได้เลยมั้งครับ เช่นพระคาถาชินบัญชร ก็มีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แก่กล้าในบทสวดเช่นกัน

    บทสวดมนต์พระปริตร เหมาะสมที่จะนำมาสวดในบ้านมั้ยครับ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ท่องคาถาผิดจะมีผลหรือไม่ ?

    ถาม : การท่องคาถานี่เป็นธรรมทานมั้ย ถ้าเกิดเราท่อง จิต คำนึงนี่.....(ฟังไม่ชัด) ......มีผลยังไง ?
    ตอบ : เฮ้ย คุณท่องคาถาเป็นธรรมทาน ไม่เข้าใจคำถามคุณว่ะ ?

    ถาม : อ๋อ คือเรื่องมันเป็นอย่างครับ คือผมท่องคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วทีนี้สังเกตว่ารู้สึกว่าจะผิด...(ฟังไม่ ชัด)...?
    ตอบ : ทำไมล่ะ ? เรื่องของคาถาถึงผิดถ้าเข้าใจเราเชื่อมั่นมันมีผลตามนั้น นะโมพุทธายะ กลายเป็นนะโมพุทธาเเยะ เขา ยังเสกหินมากินได้เลย เคยได้ยินเรื่องนี้มั้ยล่ะ ? เออนั่นแหละ หลวงตาออกธุดงค์กลางป่า อาจารย์ก็สอนให้ภาวนานโมพุทธายะ หลวงตาก็หนังสือหนังหาไม่เคยเรียนมาใช่มั้ย ? ฟังไปฟังไปพออยู่ป่าเผลอกลายเป็นนะโมพุทธาแยะ แต่แกก็แยะไปแยะมากำลังใจมันมั่นคงนี่ มันอภิญญาเกิด แกก็จับหินขึ้นมาอธิษฐานให้กลายเป็นอาหารก็เป็นอาหาร ให้กลายเป็นขนมก็กลายเป็นขนม ให้กลายเป็นวุ้นก็กลายเป็นวุ้นกินได้สบายเลย

    ที นี้ไปเจอพระนักเรียนมันเข้าไปธุดงค์เหมือนกัน ไปถึงก็อยู่สบายกินสบายอยากกินอะไรหลวงตาก็ทำให้ ทำไปทำมาก็สงสัยก็ถามอาจารย์ครับ อาจารย์ใช้คาถาอะไรถึงเสกหินเป็นอาหารกินได ้เขาบอกใช้นะโมพุทธาแยะ พระนักเรียนเขาก็รู้ว่ามันผิด มันไม่ใช่ครับหลวงตา มันต้องนะโมพุทธายะ ผมเรียนมาไอ้นะโมพุทธาแยะเนี่ยไม่ใช่แน่ เล่นเอาหลวงตาหมดกำลังใจ เสกหินเมื่อไหร่มันก็กลายเป็นหินเหมือนเดิมอดทั้งคู่ ต้องตะกายกลับวัดมา มาถามอุปัชฌาย์ใหม่ อุปัชฌาย์ก็บอก คุณ...ไอ้นะโมพุทธาแยะนั่นมันตัวเมียมันใช้ได้อยู่ แต่ถ้าจะให้ดีใช้ตัวผู้นะโมพุทธายะดีกว่าเยอะเลย เกิดความมั่นใจขึ้นมาอีก

    อี ทีนี้แยะก็ได้ยะก็ได้ ถ้าไม่ได้อาจารย์เก่งนี่เจ๊งเลยใช่มั้ย ? เขาหมดความมั่นใจไปแล้ว ถ้าคุณมั่นใจถึงคาถาผิดก็ใช้ได้ผล แต่ถ้าหากว่าคุณขาดความมั่นใจมัวแต่ไปสงสัยอยู่ผลมันจะน้อย เพราะฉะนั้นก็เปลี่ยนเอาตัวที่เรามั่นใจ

    ถาม : อยากจะขอคาถาสะเดาะกุญแจไว้ เผื่อว่า.............(ฟังไม่ชัด).....?
    ตอบ : คาถาสะเดาะกุญแจในหนังสือประวัติหลวงปู่ปานก็มี ก็ใช้นะมะพะทะ ถอยหลังก็ใช้ทะพะมะนะ แต่เคล็ดลับมันอยู่นิดเดียวนะ คืออยู่ที่อย่าคิดว่ามันเป็นกุญแจหรืออย่าคิดว่ากุญแมันล็อคอยู่ ลองกับลูกบิดก็ได้ ตอนที่คุณเปิดลูกบิดคุณรู้ว่าลูกบิดมันไม่ได้ล็อค คุณบิดมันสบายใจยังไงตอนที่มันล็อคแล้วคุณก็ว่าคาถาทำใจมันให้ได้อย่างตอน นั้น เช๊ะเดียวหลุดเลย

    ถาม : การท่องคาถาเป็นกรรมฐาน เวลาเราจะใช้สมมติว่าจะสะเดาะกุญแจ อารมณ์นี่ต้องถึงขั้นไหน ?
    ตอบ : อารมณ์ต้องถึงขั้นไหน เรื่องของคาถานี่ตั้งแต่อุปจารฌานได้ผลแล้ว คือมากกว่าตอนนี้นิดเดียวก็เริ่มใช้ได้ผล ยิ่งสมาธิสูงเท่าไหร่ยิ่งได้ผลมากเท่านั้น อารมณ์แน่นกว่าปกตินิดเดียวก็เริ่มมีผลแล้ว ส่วนใหญ่มันอยากมากเกินไปมันก็เลยไม่มีผล

    ตอนนี้ที่วัดมีพระอยู่ องค์ หนึ่งอยากทุกเรื่อง แต่อยากแล้วไม่ทำชาติหน้าบ่าย ๆ มันคงได้อย่างที่ตัวเองอยาก ระยะหลังนี้กลัวไม่กล้าเข้าใกล้เลย เราอยู่ทางด้านนี้ มันจะหนีไปอยู่อีกมุมวัด เพราะว่าเขาอยู่ใกล้ ๆ แล้วคิดอะไรเราพูดออกไปหมด เขาเข็ดไม่กล้าอยู่ใกล้เราก็ไม่ได้ว่าอะไร เขาคิดผิดเราก็จะบอกเขาว่าอย่างนั้นมันผิดมันต้องตั้งอารมณ์อย่างนี้ ว่ามันไปหลายทีด้วยความเมตตาแท้ ๆ มันกลัวซะจนไม่กล้าเข้าใกล้เลย ...ตกลงว่าคุณอ่านลายมือคุณผิดใช่มั้ย ? มันท่องคาถาเป็นกรรมฐาน อ่านไปว่าเป็นธรรมทาน ขนาดเขียนเองยังอ่านไม่ออกเลย (หัวเราะ)

    ถาม : เวลาท่องคาถา ถ้าเกิดอารมณ์เลยฌาน ๑ แล้วจะมี กรรมฐานจะต้องติดต่อกันมั้ย ?
    ตอบ : คือถ้าหากว่ากำลังใจของคุณละเอียดอยู่ในลักษณะของฌานใช้งาน มันจะภาวนาอยู่มันยังเป็นตลอดอยู่ แต่ ถ้าหากว่ามันไม่ใช่ลักษณะฌานใช้งานเป็นการเริ่มต้นใหม่ ๆ ถ้าถึงช่วงนั้นแล้ว คำภาวนามันจะหาย บางทีลมหายใจก็จะหายไปด้วย พอจิตกับประสาทมันเริ่มแยกเป็นคนละส่วนกันมันจะบังคับร่างกายไม่ได้ พอบังคับร่างกายไม่ได้ลมหายใจมันถึงหายใจอยู่เราก็ไม่รับรู้มัน ฉะนั้นบางทีคำภาวนาหายไปไม่หายใจไปเปล่าลมหายใจก็หายไปด้วย ทีนี้ตรงนั้นอย่าตกใจตะกายหายใจใหม่นะ มันไม่เป็นอะไรหรอกมันอยู่ได้สบายมาก

    ถาม : จำเป็นมั้ยครับต้องหลับตา หรือลืมตาก็ได้ ?
    ตอบ : อยู่ที่ตัวเรา บางคนหลับตาแล้วอะไรที่มันเข้าทางประสาทตาตัวเองไม่วอกแวก ลืมตาภาวนาก็ได้ เก่งกว่าด้วย แต่ถ้าหากว่าเรารู้สึกว่าลืมตาแล้วเดี๋ยวอันโน้นมาเดี๋ยวอันนี้มาทำให้ วอกแวกไปสนใจมัน ๆ จะเสียการภาวนาเราก็หลับตามันซะ




    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ


    ท่องคาถาผิดจะมีผลหรือไม่ ? | MThA! Webboard
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    การท่องอิติปิโสถอยหลัง ขลังอย่างไร

    ถาม อยากทราบ ประวัติ และที่มา ว่าการท่องอิติปิโสถอยหลัง นั้น เป็นมาอย่างไร เริ่มเมื่อไหร่ ท่องเพื่ออะไร พระพุทธเจ้ากล่าวเรื่องนี้อย่างไร


    ตอบ บทสวดนี้ไม่ค่อยจะคุ้นหูคนทั่วไปมากนัก โดยทั่วไปจะท่องบทสวด อิติปิโส ธรรมดาทั่วไป ซึ่งก่อนนอนหากท่านสวดมนต์อิติปิโสนี้ทุกวัน เขาว่ากันว่า นอนแล้วจะหลับฝันดี และได้รับความคุ้มครองจากทวยเทพ ซึ่งหากเราไปต่างจังหวัดหรือไปในที่ที่เรา ไม่คุ้นที่และต้องพักข้างแรม ควรมีติดตัวเอาไว้ อย่างน้อยๆก็ทำให้เราสบายใจในยามหลับนอน.. ครับ

    บท อิติปิโส ถอยหลัง เมื่อสมัยพุทธกาล มีเหล่าพระสงฆ์อยู่กลุ่มหนึ่งได้ออกธุดงค์ไปในป่าเขาแห่งหนึ่งซึ่งเป็นป่า ที่ว่ากันว่า ไม่มีนักบุญท่านใดอยู่ได้นาน เพราะมักจะมีเหล่าอสูรกายมาหลอกหลอน ให้ตบะพังจนสติแตกอยู่ร่ำไป พระสงฆ์กลุ่มนี้ได้ปักกรด และจำศีลอยู่ที่นั่น ซึ่งมีกันทั้งหมด 8 องค์ ตกกกลางคืน เหล่าอสูรกายก็ออกฤทธิ์ ทั้งหัวเราะทั่วหุบเขา ทั้งแปลงเป็นผี ควักไส้พุง ตาถลน

    ทั้งหมดกลัวสุดขีดแต่ได้ตั้งสติและสวดมนต์ โดยเฉพาะอิติปิโส แต่พอสวด อสูรกายกลับกลายร่างเป็นยักษ์โล้น(ร่างแท้ๆ) ปัดกลดกระเด็นไปคนละทิศละทาง ทั้งหมดทุกท่านโกย..โกยเถอะโยม..ม และนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ได้ให้บทสวด อิติปิโส แต่ให้สวดถอยกลับ เพื่อไปปลดปล่อยยักษ์ตนั้นที่หวงที่ เหล่าพระสงฆ์เหล่านั้น ก็กลับไปที่เดิม ตกกลางคืน มาอีกหนักกว่าครั้งที่แล้ว

    ทั้งพายุ***ฝนทั้งฟ้าผ่า และมันกำลังจะกระทืบไปที่เหล่าพระสงฆ์กลุ่มนั้น ทั้งหมดห้อมล้อมและท่อง อิติปิโส ถอยหลัง ยักษ์ตนนั้น ปวดหัวทรมานอย่างแรง จนต้องอ้อนวอนให้พระสงฆ์กลุ่มนั้นหยุดท่องคาถานี้ หัวหน้าคณะได้ให้ยักษ์สาบานด้วยวาจาสัตย์ว่าต้องไม่ทำร้ายใครอีก และต้องจำศีลเพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารที่เป็นอยู่นี้ ยักษ์จึงตกลง..และในที่สุดก็มาเป็นบทคาถาบทหนึ่งที่ไม่ใช่แค่คุ้มครองผู้สวด แล้ว ยังป้องกันภัยอันตรายทั้งหลาย ยามจำเป็นต้องพักในที่ที่เราไม่คุ้นเคย...

    คาถาบทนี้มี56ตัว ให้ภาวนา3 หรือ 7คาบ ก่อนออกเดินทางไปสารทิศใด ๆ จะแคล้วคลาดปราศจากทุกภัยพิบัติทั้งปวง หากภาวนาได้ครบ108คาบ ติดต่อกัน จะมีตัวเบา เดินตัวปลิว เสกหรือสะเดาะเคราะห์ สะเดาะกุญแจ หรือโซ่ตรวนของจองจำทั้งปวงได้สิ้น

    ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา

    นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ

    สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ

    นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ

    สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา

    วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ

    อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ฯ

    ข้อความจาก http://xzce.saiyaithai.org/xzce/data/0152-1.php
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    พลังอานุภาพ ของ บทสวดมนต์เเต่ละบท

    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- google_ad_section_start --> <script type="text/javascript"><!-- google_ad_client = "pub-2576485761337625"; /* 250x250, created 31/01/09 */ google_ad_slot = "7252767143"; google_ad_width = 250; google_ad_height = 250; //--> </script> <script type="text/javascript" src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"> </script><script src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></script><script src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></script><script>google_protectAndRun("ads_core.google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</script><ins style="display: inline-table; border: medium none; height: 250px; margin: 0pt; padding: 0pt; position: relative; visibility: visible; width: 250px;"><ins style="display: block; border: medium none; height: 250px; margin: 0pt; padding: 0pt; position: relative; visibility: visible; width: 250px;"><iframe allowtransparency="true" hspace="0" id="google_ads_frame1" marginheight="0" marginwidth="0" name="google_ads_frame" src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-2576485761337625&output=html&h=250&slotname=7252767143&w=250&lmt=1265025618&flash=10.0.22&url=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff17%2F%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E-%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587-%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%258C%25E0%25B9%2580%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597-71431.html&dt=1265025619161&correlator=1265025619170&frm=0&ga_vid=1588708524.1264926877&ga_sid=1265022004&ga_hid=107417336&ga_fc=1&ga_wpids=UA-7034934-1&u_tz=420&u_his=20&u_java=0&u_h=768&u_w=1024&u_ah=740&u_aw=1024&u_cd=24&u_nplug=10&u_nmime=28&biw=1009&bih=587&ref=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Ff17%2F%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2595%25E0%25B9%258C-%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2596%25E0%25B8%25B2%2Findex2.html&fu=0&ifi=1&dtd=357&xpc=B20R11K4wh&p=http%3A//palungjit.org" style="left: 0pt; position: absolute; top: 0pt;" vspace="0" width="250" frameborder="0" height="250" scrolling="no"></iframe></ins></ins>
    [​IMG]




    1.มังคละสูตร : จะได้พบเเต่คนดี
    2.ระตะนะสูตร : ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บเเละไวรัสต่างๆ
    3.กะระณียะเมตตะสูตร : คนเห็นคนรัก ผีเห็นผีรัก
    4.ขันธะปะริตร : ป้องกันสัตว์มีพิษต่างๆ
    5.โมระปริตร : สวดเมื่อพ่อบ้านเเม่บ้านมีปัญหาทะเลาะกัน
    6.อุณหิสสะวิชะยะคาถา : สวดต่ออายุ
    7.อาฏานาฏิยะปะริตร : บูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ เทพยดาทั้งหลาย เเละผู้มีฤทธิ์ได้มาปกป้องคุ้มครอง
    8.อังคุลิมาละโพชฌังคะปะริตร : ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ให้หายป่วยไข้
    9.วิปัสสะนาภูมิปาฐะ : สวดป้องกันคุณไสยเเละอมงคลต่างๆ
    10. ปะฏิจจะสมุปปาทะปาฐะ : สวดป้องกันคุณไสยเเละอมงคลต่างๆ
    11.ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร : สวดอธิษฐานขอให้เกิดปัญญา สมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนา เด็กๆสวดทุกวันจะทำให้เรียนหนังสือเก่ง
    12.อะนันตะลักขะณะสูตร : เเก้โรคเครียด โรคประสาท
    13.อาทิตตะปะริยายะสูตร : สวดเมื่อมีความเร่าร้อน ทำให้อารมณ์สงบเยือกเย็น
    14.มหาสะมะยะสูตร : สวดให้เป็นเสน่ห์เเก่ตัว มีคนรักใคร่ ศัตรูเป็นมิตร ผู้ใหญ่เมตตา
    15.พุทธะชะยะมังคละคาถา : สวดถวายพรพระ
    16.ชะยันโต : สวดเพื่อเสริมมงคลเเก่บทสวดมนต์อื่นๆให้มีพลังมากขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กุมภาพันธ์ 2010
  9. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    ขออนุโมทนาสำหรับความรู้เหล่านี้นะคะ ดีมาก ๆ เลยค่ะ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    การแผ่เมตตากับการอุทิศส่วนกุศลแตกต่างกันอย่างไร

    [​IMG]



    ถาม – การแผ่เมตตากับการอุทิศส่วนกุศลแตกต่างกันอย่างไรคะ?

    การแผ่เมตตานั้น เหมือนนั่งๆคุยกันอยู่กับใครแล้วเราอยากพูดดีให้เขาสบายใจ ก็จะมีลักษณะของจิตแบบแผ่เมตตาอ่อนๆออกมาแล้ว หากใครบอกว่าฝึกแผ่เมตตาแล้วไม่สำเร็จ เป็นของยาก ก็ขอให้ลองตั้งใจพูดดี พูดให้คนอื่นรื่นหู พูดให้คนอื่นเป็นสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกันมากๆ เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน เป็นปี ตั้งใจไว้เลยว่าคำที่ออกจากปากเราจะมีแต่กลิ่นหอมหวน นุ่มนวลเสนาะโสต ไม่เหม็นเน่า ไม่แหลมระคายแก้วหูใคร ถึงวันหนึ่งหากสัมผัสรู้สึกได้ว่ามีกระแสความปรารถนาดีจริงใจแผ่นำออกไปก่อน พูด ก็ให้ทราบเถิดว่าอันนั้นแหละ คุณเป็นนักแผ่เมตตาผ่านคำพูดแล้ว

    ส่วนการอุทิศส่วนกุศลนั้นไม่ใช่แค่มีการตั้งจิตคิดดี กับใครเฉยๆ ก่อนอื่นต้องทำบุญ หรือระลึกถึงบุญ ซึ่งทำให้เรารู้สึกถึงรัศมีกองบุญนั้น ทำให้แช่มชื่น ทำให้มีความยินดีปรีดา อย่างน้อยก็อยากทำให้ยิ้มในหน้าขึ้นมาเองอย่างเป็นธรรมชาติ ที่ความรู้สึกตรงนั้น คุณจะสัมผัสกองบุญอันเป็นนามธรรมได้ด้วยใจอย่างแจ่มชัด แทบจะเรียกว่าเหมือนถือสมบัติเป็นตัวเป็นตนไว้ด้วยมือทีเดียว แตกต่างจากเวลาคิดนึกเอาลอยๆเป็นคนละเรื่อง และเมื่อรู้สึกชัดราวกับกองบุญเป็นสมบัติที่ถือด้วยมือ ใจคุณย่อมเห็นกองบุญเป็นสิ่งที่ยกมอบผู้อื่นร่วมถือครองสมบัติด้วยกันได้ เช่นกัน เรื่องสัมผัสอันเป็นนามธรรมนั้นสนุกครับ ทำบุญไว้มากๆเถอะ จะเข้าใจที่ผมพูดตรงนี้เอง

    เมื่อกล่าวถึง ลักษณะจิตคิดอุทิศส่วนกุศล ก็ต้องกล่าวถึงลักษณะจิตคิดรับส่วนกุศลด้วย การรับส่วนกุศลทำได้โดยยินดี ปลื้มใจ และคิดส่งเสริมสนับสนุนในบุญผู้อื่น อย่างที่เรียกว่า ‘อนุโมทนาบุญ’ นั่นเอง

    หาก ปราศจากจิตคิดยินดีในบุญ จู่ๆบุญหนึ่งๆจะเข้าไปเป็นสมบัติของใครไม่ได้ เหมือนประตูที่ไม่อ้ารับของ หรือเหมือนมือที่ไม่ยอมแบรับเงิน ข้าวของเงินทองย่อมกองอยู่ตรงนั้นเฉยๆ โดยไม่อาจมีผู้ใดนำไปใช้ได้ อย่างมากที่สุดอาจเหมือนเขาสาดน้ำมาให้เย็นผิวกาย เดี๋ยวเดียวก็ร้อนใหม่ โดยหาแหล่งน้ำเองไม่เป็น

    การฝึกเฉลี่ยบุญ ให้ผู้อื่นอนุโมทนานั้น คุณจะได้เห็นผลทันตาเป็นความเบิกบานใจของผู้รับนั้น อย่าเอาแต่นึกๆคิดๆอยู่ฝ่ายเดียว พลังจิตหรือพลังอธิษฐานของคนทั่วไปไม่อาจกระตุ้นให้ญาติมิตรรู้สึกดีขึ้น เหมือนสาดน้ำมนต์ คุณควรชักชวนพูดคุยเหมือนเจ๊าะแจ๊ะให้เขารื่นเริงใจเป็นปกติ แล้วอาศัยความรื่นเริงใจของเขาเป็นสื่อ ค่อยๆหยอด ค่อยๆพูดถึงบุญที่คุณทำมา พร้อมพรรณนาให้เขาซึมซับรับรู้ตาม ว่าคุณรู้สึกแสนดีปานไหนกับบุญที่ได้ทำ อาจบรรยายบรรยากาศให้เขาเห็นภาพตาม หรืออาจให้เขาสัมผัสถึงความปรีดาปราโมทย์ในใจของคุณขณะปัจจุบันนั้นเลยได้ ยิ่งดี

    พอฝึกพูดให้คนอื่นนึกยินดีตามบุญ ของคุณได้บ่อยๆ คุณจะรู้สึกว่าตัวเองมีพลังเพิ่มขึ้นชนิดหนึ่ง คือสามารถกระตุ้นให้คนรอบข้างรู้สึกดีไปกับงานบุญงานกุศลของคุณได้อย่างรวด เร็ว แม้เพียงเห็นคุณกำลังทำบุญ ก็เหมือนมีข่ายใยกุศลแผ่ออกไปโดยรอบ และเหนี่ยวนำให้จิตใครต่อใครพลอยปลาบปลื้มยินดีไปพร้อมกัน


    ถาม – เคยอ่านพบมา เห็นบอกว่าการอุทิศส่วนกุศลโดยตั้งจิตคิดยกให้คนอื่นหมด จะทำให้บุญหมด หรือเหลือบุญเพียงครึ่งเดียว อันนี้เป็นความจริงหรือไม่คะ?

    ไม่จริงหรอกครับ เหมือนคุณให้เขาเอาเทียนมาต่อเปลวไฟ ไฟของคุณไม่ดับลงหรอก กลับจะทำให้ห้องสว่างขึ้นเพราะเกิดการขยายผลบุญด้วยซ้ำ คุณได้บุญเพิ่มนะครับถ้าทำได้จริง ไม่ใช่ว่าบุญลด คนเผยแพร่ความคิดผิดๆแบบนี้จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ ผลกรรมจะทำให้เขาจิตใจคับแคบ มีศักดิ์ศรีน้อย ทุ่มทำบุญแค่ไหนก็ได้ผลจำกัด เพราะฉะนั้นอย่าไปหลงเชื่อหรือยินดีตาม เนื่องจากอาจทำให้คุณได้ส่วนเคราะห์แบบเดียวกับเขาไปด้วยไม่มากก็น้อย


    การแผ่เมตตา

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการแผ่เมตตานั้น มีจุดประสงค์เพื่อละพยาบาท เช่นที่พระพุทธองค์ตรัสสอนพระราหุลในราหุโลวาทสูตรมีความว่า…

    ดูกรราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้

    และเมื่อเข้าใจแล้วว่าเราต้องการละพยาบาท ก็ต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดต่อไปอีกชั้นหนึ่ง ว่า "ความโกรธ" กับ "ความพยาบาท" นั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร สำหรับความโกรธนั้นคือตัวโกธะ ซึ่งอาจหมายถึงความขุ่นเคืองที่เกิดจากผัสสะกระทบใดๆ อาการทางจิตโดยทั่วไปจะเหมือนไฟไหม้ฟาง คือวูบหนึ่ง หรือระยะหนึ่งแล้วดับหายไป ส่วนความพยาบาทนั้นจะหมายเอาความแค้นใจ ความเจ็บใจ ความคิดร้าย ซึ่งเป็นตรงข้ามกับเมตตาโดยตรง พฤติของจิตจะเป็นไปในทางผูกใจคิดแก้แค้นเอาคืน หรือแม้ไม่ถึงขั้นลงมือเอาคืน ก็มีอาการขัดเคือง ขุ่นข้องค้างเติ่งอยู่อย่างนั้น

    เมื่อเข้า ใจตรงนี้ ก็จะเห็นว่าตัวความโกรธอาจพัฒนาเป็นความพยาบาท หรืออาจจะหายไปเสียเฉยๆก็ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายต่อหลายประการ ดังนั้นเราเอาจแผ่เมตตาเพื่อระงับความโกรธ ตัดไฟแต่ต้นลมเพื่อมิให้ลุกลามเป็นพยาบาทก็ได้ หรืออาจแผ่เมตตาเพื่อทำความพยาบาทที่ครอบงำจิตอยู่แล้วให้สูญไปก็ดี ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าการแผ่เมตตามิใช่การทำเชื้อแห่งความโกรธให้ดับลงสนิท เพราะนั่นเป็นงานวิปัสสนา เราแผ่เมตตาเป็นงานสมถะ เพื่อทำจิตให้มีคุณภาพพอจะต่อยอดเป็นวิปัสสนาในภายหลัง

    และเมื่อทำความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วว่าจุดประสงค์ของการแผ่เมตตา เป็นไปเพื่อละพยาบาท อันเป็นของครอบงำจิตระยะยาว ก็ต้องเห็นซึ้งยิ่งขึ้นไป ว่าการแผ่เมตตาเป็นเรื่องของการ "เปลี่ยนนิสัย" คือต้อง "ละพยาบาท" ให้ขาดจากจิต แม้โกรธขึ้นก็เหมือนจุดไฟดวงน้อย เรามีน้ำกลุ่มใหญ่ไว้สาดให้ดับพร้อมอยู่แล้ว

    เมื่อแผ่เมตตาเป็น จะเกิดกระแสจิตอีกแบบหนึ่งที่ทำให้รู้ว่ากรรมฐานข้อนี้ต่างกับข้ออื่น คือถึงจุดหนึ่งแล้วเหมือนจิตฉายรัศมีเมตตาออกมาเองโดยไม่ต้องกำหนด เนื่องจากเมตตาเป็นธรรมชาติของจิตที่เปล่งประกายได้โดยปราศจากเจตจำนงบังคับ ตรงนั้นจะเห็นอานิสงส์ของการแผ่เมตตาตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในเมตตาสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการคือ ย่อมหลับเป็นสุข, ย่อมตื่นเป็นสุข, ย่อมไม่ฝันลามก, ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย, ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา, ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกรายได้, จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว, สีหน้าย่อมผ่องใส, เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ, เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

    สำหรับ งานภาวนาในสติปัฏฐาน 4 คงหวังผลเด่นประการหนึ่งจากบรรดาอานิสงส์ทั้ง 11 ข้อข้างต้นนี้ นั่นคือ "จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว" ซึ่งสำหรับอานิสงส์ดังกล่าวย่อมรู้ได้โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์เสียก่อน ใช้เหตุผลตามจริงที่ว่าเมื่อจิตสงบ อ่อนโยน มีความสุข ปราศจากการคุมแค้นอาฆาตใคร ไม่คิดจองเวรใคร ก็ย่อมปราศจากคลื่นความฟุ้งในหัว และพร้อมพอใจะเข้าสู่ความตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งที่ต้องการได้ง่ายๆ แน่นอน

    การเจริญเมตตาภาวนานั้นแบ่งออกได้ เป็นสองลักษณะใหญ่ๆตามวิธีดำเนินจิต แบบแรกคือใช้จิตที่ยังคิดนึกส่งความปรารถนาดี ปรารถนาให้บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของอันเป็นเป้าหมายมีความสุข แบบที่สองคือกำหนดจิตอันตั้งมั่นแล้ว แผ่กระแสเมตตาออกตามรัศมีจิต เริ่มต้นอาจจะเพียงในระยะสั้นเพียงสองสามเมตร ต่อมาเมื่อล็อกไว้ได้นาน ก็อาศัยกำลังอันคงตัวนั้น ยืดขยายระยะ หรือตั้งขอบเขตออกไปไกลๆ กระทั่งถึงความไม่มีประมาณ ทิศเดียวบ้าง หลายทิศพร้อมกันบ้าง ตลอดจนครอบโลกโดยปราศจากทิศคั่นแบ่งบ้าง เป็นผลพิสดารในภายในอันรู้ได้ด้วยตนเองเมื่อสามารถทำสำเร็จ

    เมื่อทราบว่าการเจริญเมตตาภาวนาแบ่งออกเป็นสองวิถีทางอย่าง นี้ ก็พึงทราบว่าการเจริญเมตตาไม่ได้ขึ้นอยู่กับจริตนิสัย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าใครมีปัจจัยใดๆหนุนหลังหรือถ่วงรั้งเอาไว้ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนสมควรฝึก สมควรทำให้เกิดขึ้นในตน เพื่อขจัดวัชพืชออกไปจากพื้นที่เพาะพันธุ์มรรคผลในจิตเรา

    การฝึกเจริญเมตตาโดยอาศัยจิตสามัญ

    ก่อนอื่นต้องสำรวจด้วยความตระหนักแบบไม่เข้าข้างตนเอง ว่าเป็นคนมักโกรธ เป็นฟืนเป็นไฟง่าย กับผูกโกรธไว้เผาเราเผาเขาได้นานหรือเปล่า หากรู้ตามจริงว่าเป็นบุคคลเคราะห์ร้าย คือจัดอยู่ในพวกโกรธง่ายหายช้า ก็ให้ทราบว่าอย่างนั้นเป็นคนเมตตาอ่อน มีทุนน้อย จะเอามาใช้เจริญเมตตาเป็นภาวนาทันทีทันใดคงยาก

    หลายคนได้รับคำแนะนำให้ภาวนา สัพเพ สัตตา อเวรา โหนตุ ขอสัตว์โลกทั้งหลายอย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย ภาวนาอยู่เกือบสิบปี ยังหน้าตาเหี้ยมเกรียมอยู่เหมือนเดิม ทั้งนี้เพราะตั้งความเข้าใจไว้ผิดพลาด ว่าแค่ท่องบ่นไปก็คือการเจริญเมตตาภาวนาแล้ว หรือหนักกว่านั้นคือนับเป็นการแผ่เมตตาแล้ว ขอให้เข้าใจว่าการเจริญเมตตานั้น เป็นอาการของจิตที่ส่งความปรารถนาดี ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขด้วยใจจริง การท่องบ่นสาธยายมนต์นั้น ไม่ต่างกับนกแก้วนกขุนทองที่พูดได้คำสองคำ แต่หามีความเข้าใจหรือรับรู้ในภาษาที่ตนพูดไม่

    ในมหาสีหนาทสูตรท่านตรัสกะชีเปลือยชื่อกัสสปะว่าเมตตาจิตนั้นคือ จิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ซึ่งหมายถึงการคิด การพูด และการทำอันไม่มีเวรกับใคร ไม่ได้เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน ดังนั้นการ "สร้างทุน" คือเมตตาจิตนั้น ก็ต้องอาศัยการหมั่นสำรวจอย่างเข้มงวด ว่าชีวิตเราล่วงไปวันต่อวัน ขณะต่อขณะอยู่อย่างนี้ ด้วยอาการผูกเวร ด้วยอาการเบียดเบียนใครหรือไม่

    หากสำรวจ ตามจริง พบในขณะแห่งการคิด การพูด หรือการทำ ว่าเราเอาแล้ว ก่อเวรแล้ว เบียดเบียนใครเข้าแล้ว ก็ต้องรีบเปลี่ยนท่าทีให้เป็นตรงข้าม คือไม่แม้คิดก่อเวร ไม่แม้คิดเบียดเบียนใครๆด้วยประการใดๆเลย พูดง่ายๆคือถ้าถามตัวเองว่าตอนนี้คิดไม่ดีกับใครหรือเปล่า รู้ตัวแล้วก็เปลี่ยนให้เป็นตรงข้ามเสีย ด้วยความระลึกว่าการคิดไม่ดีย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อเมตตาจิต ระลึกไว้เพียงเท่านี้ก็จะเป็นบาทฐานอันมั่นคงไว้รองรับเมตตาจิตอันจะมาถึง เองข้างหน้าแล้ว

    แรกๆเมื่อทำให้เมตตาจิต เกิดขึ้นในเรานั้น จะเป็นเรื่องของการฝืนใจ อาจไม่เห็นผลเป็นความสุขความเย็นทันใด บางทีถึงกับต้องสู้กับความรู้สึกได้เปรียบเสียเปรียบ อันนี้ถ้าเห็นว่ายากหรือเหลือบ่ากว่าแรงนัก ก็อาจเอาแค่ถือศีล 5 ให้ครบ ให้จิตใจสะอาด นั่นก็เรียกว่าสร้างเมตตาจิตอยู่กลายๆแล้ว เพราะเมื่อตีกรอบไว้ กำหนดเจตนาไว้ว่าจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ผิดลูกเขาเมียใคร ไม่มุสา และไม่ร่ำสุรา ก็คือระงับเหตุแห่งเวรและการเบียดเบียนทั้งปวงนั่นเอง สำรวจใจที่สะอาดด้วยรั้วคือศีล พอเห็นผลตามจริงก็จะเกิดโสมนัสขึ้นมา

    หลังจากเจริญเมตตาจิตด้วยการคิด การพูด การทำเป็นร้อยครั้งพันหน กระทั่งรู้สึกถึงกระแสฝ่ายดี กระแสเย็นใจชุ่มชื่นอันเกิดจากการระงับเวรทั้งปวงแล้ว ชนิดที่สามารถระบายยิ้มอ่อนๆออกมาได้เองโดยไม่ต้องฝืน พอกระแสนั้นเอ่อขึ้นมาเมื่อใดขณะไหนก็ตาม อยู่ในบ้านหรือนอกบ้านก็ตาม ให้ฝึกล็อกอยู่กับความรู้สึกภายในชนิดนั้นไว้ คือรู้ว่าเป็นสุขเย็น และความสุขไม่เคลื่อน ไม่เลื่อนไหลแปรปรวนเป็นอื่นง่าย กระทั่งชัดเต็มอยู่ในอกในใจ มีความตั้งมั่นไม่ต่างกับขณะแห่งการจ่อจิตไว้ที่ลมหายใจหรืออารมณ์ภาวนา อื่นๆ ถึงขั้นนี้เรียกว่ามีทุนไว้ต่อทุนในระดับต่อไปแล้ว

    ยิ่งถ้าหากมีพื้นนิสัยอ่อนโยน มีลักษณะแห่งเมตตาอยู่ในตัว คือนอกจากไม่ก่อเวรแล้ว ยังเป็นผู้ชอบสร้างสุขผูกไมตรีกับคนอื่น และนอกจากไม่เบียดเบียนแล้ว ยังเป็นผู้ชอบเอื้อเฟื้อเจือจานให้คนอื่นมีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น ก็อาจใช้ทุนประจำตัวได้เลยทันที คือสังเกตว่าขณะที่ไม่ฟุ้งคิด จิตใจสงบสุขอยู่กับตนเอง บอกตนเองว่านี่เพราะเราไม่มีเวร ก็ไม่มีใครเบียดเบียนตอบ ให้ล็อกเอาความรู้สึกนั้นไว้ในใจ เป็นองค์ภาวนาเดี๋ยวนั้น

    หากใครนึกเถียง อยู่ในใจว่าเมตตาแล้ว แต่ยังถูกเบียดเบียนอยู่ดี ก็ให้ตัดเรื่องได้เปรียบเสียเปรียบทิ้ง ยิ่งต้นเหตุยั่วยุให้เหมือนคลั่ง ก็ยิ่งเป็นแบบฝึกชั้นสูง เราจะเอาเป้าหมายเดียวคือเมตตาจิต ฉะนั้นต้องละจากการจองเวร ให้อภัยเป็นทานเสีย ผ่านขั้นยากได้เท่าไหร่ยิ่งเป็นอภัยทานชั้นเลิศขึ้นเท่านั้น เมื่อสำรวจแล้วว่าเราให้ทานเป็นการอภัยออกมาจากแก่นแท้ภายในแล้วมีความสุข ความสงบเย็นทันตาเห็น ก็ดูตามจริงว่านี่ก็คือลักษณะของเมตตาจิต ล็อกไว้อย่างนั้นเป็นองค์ภาวนาได้เช่นกัน

    สรุป คือใช้ชีวิตประจำวันนั่นแหละ ในการเจริญเมตตาภาวนาเบื้องต้น ตราบใดเรายังต้องคิด ต้องเจรจา ต้องมีกิจกรรมตอบโต้กับชาวโลก ตราบนั้นคือโอกาสในการเจริญเมตตาภาวนาของเราทั้งหมด ลองระลึกในทุกขณะว่าเมตตาเป็นด้านหัวของเหรียญ พยาบาทเป็นด้านก้อยของเหรียญ เราพลิกด้านหนึ่งขึ้นมา อีกด้านหนึ่งก็หายไปทันที ตัวที่พลิกจากคิดไม่ดีเป็นคิดดีกับผู้อื่นนั่นแหละตัวเมตตาอันเป็นที่รู้สึก ได้ชัด ระลึกไว้ง่ายๆอย่างนี้จะสำรวจความคิด คำพูด และการกระทำของตนเองถนัดขึ้น

    การ เจริญเมตตาโดยอาศัยสมาธิจิต

    ในเต วิชชสูตร พระพุทธองค์ตรัสกะวาเสฏฐะตอนหนึ่งมีความว่านิวรณ์เป็นทุกข์ เป็นโทษ และอุบายลัดทางอย่างง่ายที่สุดคือให้ "รู้" เข้ามาตรงๆถึงภาวะของนิวรณ์ อย่างเช่นเมื่อตระหนักว่าพยาบาทกำลังครอบงำจิต ก็ให้พิจารณาเปรียบเทียบว่า…

    ดูกรวาเสฏฐะ เปรียบเหมือนผู้ป่วยหนัก บริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกำลังกาย สมัยต่อมาเขาพึงหายจากความป่วยไข้นั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังวังชากลับคืนมา เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นผู้ป่วย ถึงความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้นแล้ว บริโภคอาหารได้และมีกำลังกายเป็นปกติ ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส โดยความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.

    เพียงคิดเทียบเสียได้ด้วยใจอันซื่อ ว่าความพยาบาทนั้นเหมือนโรค เหมือนความป่วย จิตก็เห็นโทษแห่งพยาบาทอย่างแจ่มชัด ถ้าเลิกพยาบาทได้ก็จะปลอดโปร่งโล่งสบาย กินอิ่มนอนหลับเหมือนหายป่วย พอเห็นข้อดีชัดเจนเข้า จิตก็ละพยาบาทอย่างไม่เสียดายเหมือนถ่มเสลดทิ้งจากปากคอ เมื่อทิ้งได้ ก็บังเกิดโสมนัสอันพร้อมน้อมมาใช้แผ่เมตตาขั้นสูงต่อไป

    อีกนัยหนึ่ง เมื่อภาวนาจนจิตตั้งมั่น ผ่องใส อ่อนควรเพียงพอแล้ว ก็อาจพิจารณาว่าจิตมีลักษณะเช่นนั้นอยู่ได้ก็ด้วยเพราะปราศจากความพยาบาท หากมีความพยาบาทครอบงำจิตอยู่ ก็คงถึงซึ่งลักษณะตั้งมั่น ผ่องใส อ่อนควรเช่นนี้ไม่ได้ นี่ก็จะเป็นชนวนให้เกิดความโสมนัสในผลอันเป็นปัจจุบันเช่นกัน พระพุทธองค์ตรัสว่าเมื่อสำรวจได้เช่นนั้น พึงแผ่เมตตาออกดังนี้

    เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องเฉียง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่าในทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    กล่าวโดย วิเคราะห์เพื่อดำเนินจิตเข้าสู่การแผ่เมตตาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้ดังนี้

    1) สำรวจว่าจิตยังมีพยาบาทอันเป็นนิวรณ์ชนิดหนึ่งหรือไม่ หากรู้แก่ใจว่ายังมีพยาบาท ให้ละเสียด้วยความคิดเปรียบเทียบพยาบาทเหมือนโรค คิดว่าถ้าจิตเป็นอิสระจากพยาบาท ก็เหมือนหายจากโรค คิดให้น้อย แต่รู้ตามจริงให้มาก

    2) หากผ่านข้อก่อนได้สำเร็จ ก็จะมีกระแสสุขแบบที่เป็นเมตตาเกิดขึ้นทันที ดังกล่าวแล้วว่าของแบบนี้มีแต่ด้านหัวกับด้านก้อย คว่ำพยาบาทลงได้ก็เท่ากับหงายเอาเมตตาขึ้นแทน ให้ประคองรู้จิตอัน "ประกอบด้วยเมตตา" นั้นไว้สักครู่หนึ่ง แล้วจึงเริ่มแผ่เมตตาออก เริ่มจากทิศหนึ่งคือเบื้องหน้า ทิศสองคือเบื้องขวา ทิศสามคือเบื้องซ้าย ทิศสี่คือเบื้องหลัง แล้วจึงแผ่ไปยังเบื้องบน เบื้องล่าง ด้านทะแยง จากนั้นเมื่อชำนาญแล้ว จึงกำหนดจิตแผ่ครอบไปทุกทิศพร้อมกัน คือแผ่ไปตลอดโลก เป็นการแผ่สุขให้อย่างไม่เลือกหน้า ไม่เลือกภพเลือกภูมิว่าเป็นมนุษย์ สัตว์ เทวดา หรืออื่นๆ ลิ้มรสความวิเวกอันเกิดจากความไร้เวรภัย ตั้งมั่นในระดับที่เรียกว่า "อัปปมัญญาสมาบัติ"

    บางคนอาจสงสัยว่าอุบายวิธีแผ่เมตตาของพระพุทธเจ้าคงต้องรอให้โกรธ หรือคิดพยาบาทมาดร้ายใครเสียก่อนกระมัง จึงจะถือเอามาใช้เป็นบทเริ่มต้นได้ ความจริงแล้วก็เหมือนคนเริ่มทำสมาธิด้วยวิธีสำรวจศีลของตนเองทีละข้อ วันไหนทราบชัดว่าศีลของตนสะอาดบริสุทธิ์ไม่บกพร่อง ก็ย่อมเกิดปราโมทย์ เกิดปีติ สงบสุขอยู่กับความผ่องแผ้วอันเป็นคุณลักษณ์ขณะนั้นแห่งจิตตน ทำนองเดียวกันนั้น เมื่อสำรวจแล้วว่าจิตเราปราศจากความดำริก่อเวร ปราศจากการคิดเบียดเบียนใคร เมื่อนั้นกระแสเมตตาย่อมรินรสอยู่ในภายในให้สำเหนียกได้ กำหนดเป็นตัวตั้งเพื่อใช้แผ่ออกตามทิศต่างๆได้

    ว่าสำหรับการกำหนดจิตเพื่อแผ่ออกนั้น อาศัยปัจจัยหลักเพียง 3 ประการเป็นฐานเริ่ม ได้แก่

    1. จิตอันประกอบด้วยเมตตา ดังกล่าวถึงวิธีก่อแล้วข้างต้น

    2. ทิศทาง ขอให้กำหนดเป็นเบื้องหน้าก่อน เพราะเป็นไปตามธรรมชาติการมองออกด้วยสายตามาทั้งชีวิต จึงง่ายกว่าทิศอื่นทั้งหมด

    3. ระยะ เริ่มต้นควรมีระยะที่แน่นอน เพื่อให้จิตรู้ว่าควรกำหนดไว้แค่ไหน แรกทีเดียวควรเป็นสัก 2-5 เมตร คือระยะระหว่างสายตากับผนังห้องนอนทั่วไปก็ดี

    ด้วยองค์ประกอบทั้ง 3 ประการข้างต้นนี้ พอจะลำดับขั้นตอนได้ง่ายๆ คือให้นั่งตัวตรงสบายๆ สำรวจแน่ใจแล้วว่าจิตประกอบด้วยเมตตาชัดอยู่ในกระแสรู้สึกตรงกลางๆ ทอดตาตรงไปยังเป้าหมายใกล้ตาเบื้องหน้า อาจเป็นเสา อาจเป็นจุดใดจุดหนึ่งบนผนัง ขอให้ตาจับได้โดยไม่ก่อความคิดอันเป็นนิวรณ์ใดๆขึ้นก็แล้วกัน

    มองเป้าหมายนิ่งๆสัก 2-3 วินาทีแล้วปิดเปลือกตาลง โดยที่ยังรักษาอาการทอดตาจับนิ่งๆแบบไม่เพ่งจนเกินไป ขณะเดียวกันโฟกัสก็ไม่เลื่อนไหลไปมาให้นัยน์ตาหลุกหลิก แล้วกำหนดความรู้สึกมาที่กระแสเมตตากลางอกอันไม่คับแคบเป็นจุดเล็ก แต่คลุมๆอยู่ในความรู้สึกตัวทั่วถึง จากนั้นแนบกระแสเมตตาเป็นอันเดียวกับอาการทอดสายตาตรง จะเห็นคล้ายตัดความผูกโยงกับประสาทตามาที่กลางอก เสมือนเปิดแผ่นอกโล่งและฉายรัศมีสุขออกไปตรงๆ

    ขอให้รักษาทิศทางและระยะไว้ดีๆ เพียงตั้งมั่นไม่นานจะสำเหนียกถึงอาการที่จิตล็อกอยู่กับกระแสสุขอย่าง ชัดเจน หาไม่แล้ว จิตที่ขาดทิศทางและระยะย่อมกระจายออก หรือวนๆอยู่ในตัว ทำให้ขาดความตั้งมั่นอย่างรวดเร็ว

    ขอให้ สังเกตการแผ่ที่ผิดพลาดให้ทันตั้งแต่เบื้องแรก คือถ้ารู้สึกดันๆออกไป ตึงขมับ หรือเกร็งส่วนใดส่วนหนึ่ง นั่นอาจเป็นเพราะเราเพ่งมากเกิน ที่ถูกต้องมีเพียงกระแสสุขที่สาดตรงออกไปโดยปราศจากความเครียด และมีสติรู้ตั้งมั่นอยู่ที่กลางๆ

    เมื่อจิต เริ่มทรงอยู่ในกระแสสุข ประกอบพร้อมด้วยทิศเบื้องหน้าและระยะใกล้จนชำนาญแล้ว จะเหมือนจิตแสวงความโล่งเป็นระยะไกลขึ้นเอง เพียงกำหนดรู้ตามว่ารัศมีสุขเริ่มขยายออกไป สติก็จะดำเนินตามพัฒนาการของการแผ่เมตตา ที่มีแต่ทิศเบื้องหน้าเป็นกำหนด แต่ขอบเขตจำกัดไม่มี คล้ายมองขอบฟ้าลิบโลก หรือไปไกลถึงอนันต์ เพียงประคองไว้ได้สักนาทีเดียว จิตจะดึงดูดเข้าสู่ความมั่นคงระดับอุปจารสมาธิ มีปีติเย็นวิเวกแปลกกว่าสุขแม้ในสมาธิทั่วไป

    ขอให้ฝึกจนกระแสมั่นคงในทิศเบื้องหน้าแล้ว จิตรู้กระแสเมตตาอันเป็นนามธรรมว่าต่างหากจากกายแล้ว ไม่ผูกกับสายตาแล้ว จึงค่อยย้ายมาฝึกแผ่ไปทางทิศเบื้องขวา คล้ายนึกในใจถึงวัตถุที่อยู่ด้านขวาโดยไม่ต้องเหลือบแลสายตาตามอาการนึก และมีระยะทางที่แน่นอนใกล้ตัวก่อน เมื่อสามารถตามกระแสเมตตาได้จนเหมือนไกลถึงขอบฟ้าด้านขวา จึงเป็นอันใช้ได้ หากทำทางทิศเบื้องหน้าชำนาญแล้วจะเห็นการกำหนดทิศด้านข้างง่ายดายและรวดเร็ว มาก

    เมื่อได้ด้านขวาชำนาญก็ฝึกกำหนด้าน ซ้าย เมื่อฝึกด้านซ้ายชำนาญก็ให้ลองกำหนดแผ่ซ้ายขวาพร้อมกัน จะมีกระแสแผ่ออกเบื้องหน้าโดยอัตโนมัติ

    เมื่อ สามารถแผ่สามทิศได้พร้อมกันแล้ว จะเหมือนมีกระแสสุขเป็นตัวเป็นตนเด่นชัดขึ้นให้รู้สึกได้ และจิตจะรักความไม่มีเวร ไม่มีการเบียดเบียน คือไม่อยากเป็นศัตรูกับใคร ไม่อยากทะเลาะเบาะแว้งกับใคร และเหตุการณ์ในชีวิตก็เหมือนจะเริ่มเข้าข้างกระแสเมตตาภายในเรา

    สำหรับการแผ่ทางทิศเบื้องหลังนั้นจะยากกว่าสามทิศแรก เหตุเพราะมนุษย์เรามีอายตนะส่งจิตออกกระทบวัตถุเป็นสายตา ซึ่งเล็งไปเบื้องหน้า และเป็นแก้วหู ซึ่งเล็งหนักไปทางซ้ายขวา

    การที่จะกำหนดแผ่เมตตาทางทิศเบื้องหลัง จำเป็นต้องอาศัยความรู้สึกในแผ่นหลัง ประกอบกับจิตนึกทวนทิศของอายตนะหยาบ ขอให้ลองนึกถึงแผ่นหลังก่อน แล้วนึกถึงวัตถุสักชิ้น อาจเป็นผนังระยะใกล้ซึ่งอยู่ด้านหลัง นึกเฉยๆโดยไม่ต้องกำหนดกระแสเมตตาก่อนก็ได้ เมื่อแน่ใจแล้วว่านึกเป็น จึงค่อยกำหนดกระแสเมตตาประกอบการนึกย้อนหลังดังกล่าว หากเป็นไปตามลำดับก็จะพบว่าไม่ยากเย็นนัก

    หาก กำหนดแผ่เมตตาได้ถึงขอบฟ้าเบื้องหลังสำเร็จ จะเหมือนเปิดจิตโล่งออกไปได้ทุกทิศทุกทางไม่จำกัด ทิศเบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องเฉียงทั้งหมด ก็ไม่เหลือวิสัยอีกเลย จะเหมือนมีกระแสเมตตาหลั่งรินออกมาตลอดเวลาโดยไม่ต้องกำหนด พฤติกรรมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นคิด พูด หรือทำ ก็ถูกล้อมไว้ด้วยทะเลเมตตาจากจิตนั่นเอง อานิสงส์ทั้ง 11 ประการตามพระพุทธองค์ตรัสแสดงจะปรากฏชัดให้ทราบได้อย่างปราศจากกังขา

    ถึงตรงนั้น ของแถมที่ตามมาอันรู้ได้เองอาจเป็นการรู้ว่าเมตตาอันเป็นรัศมีจิตของเรามี กำลังใหญ่ โทสะและพยาบาทของคนรอบข้างมีกำลังน้อย ถูกกลบกลืนด้วยสนามพลังเมตตาของเราโดยง่าย ก็จะเป็นการช่วยผู้อื่นให้พ้นนรกในอกได้อ้อมๆ และอาจเป็นสื่อโน้มนำเขามาเข้ากระแสที่ถูกต้องต่อไป หากใครมีไฟร้อนอยู่ในเรือน ก็อาจดับร้อนด้วยจิตตนนี้เอง

    ปกติจิตคนเราชอบคิดกักตัวเองไว้ในหัวเหมือนมีกรงขังเล็กๆในโพรง กะโหลก เมื่อเริ่มแผ่เมตตาจึงอาจรู้สึกว่ายาก แต่เมื่อแผ่เป็น ก็จะเห็นความเคยชินเก่าๆเริ่มแปรไป คือจิตเหมือนเป็นอิสระออกมาจากกรงขังเป็นมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม นับเป็นการเกื้อกูลต่อการปฏิบัติสติปัฏฐานได้อีกทางหนึ่ง

    นักภาวนาที่ประสบปัญหานอนไม่หลับเพราะตาแข็งจากสมาธิอาจชื่นชม อานิสงส์ของการแผ่เมตตาเป็นพิเศษ เมื่อนอนหงายปิดตา กำหนดสุขในอก แผ่ออกไปยังทิศเบื้องบน อาจจับแค่ระยะเพดานห้องนอนก่อน หรือจะเป็นด้านข้างก็ได้ แล้วแต่ถนัด ถ้าจิตล็อกนิ่งแล้วหลับลงในอาการนั้น จะมีแต่ความสุขสบาย และเหมือนเข้าสมาธิอยู่แบบกึ่งเคลิ้มกึ่งรู้ตัว ถึงจะตื่นเร็วเกินเหตุก็เป็นการนอนหลับเต็มตา ไม่เหนื่อยล้าภายหลัง

    อย่างไรก็ตาม ความสุข ความสว่างแจ้งในเมตตาเป็นรสอันยากจะเปรียบ ตรงนี้ก็ต้องย้อนกลับไปดูวิธีพิจารณาสุขเวทนาในหมวดเวทนานุปัสสนาดีๆ เพื่อความไม่ยึดติดจนเกินไป ขอให้ระลึกว่าเราแผ่เมตตาเพื่อผลคือละพยาบาทเป็นหลัก มิใช่เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือไปจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์อันจะพาออกนอกทางสติปัฏฐานเพื่อพ้นทุกข์ พ้นความยึดติดแม้สุขอันเลิศรสใดๆ


    ที่มา http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/003600.htmhttp://dungtrin.com/prepare/archieve/prepare025.htm

    http://www.dhammajak.net/board
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ข้อสงสัยในการสวดมนต์บท..พระคาถามหาจักรพรรดิ์

    คุณซุปเปอร์แมน

    ถาม ผมเริ่มสวดมนต์บทพระคาถามหาจักรพรรดิ คือสวดแบบนับตามเม็ดประคำ(แบบคล้องคอ)แบบว่าผมขี้เกียจจำว่าสวดกี่รอบแล้ว เกิดสงสัยว่าเมื่อเราสวดบทพระคาถามหาจักรพรรดิ เราจะต้องสัพเพทุกรอบหรือเปล่าหรือสวดตัวคาถาอย่างเดียวแล้วสัพเพทีหลังสุด แล้วต้องสัพเพกี่รอบครับส่วนคำอธิฐานถ้ามี..ให้อธิฐานช่วงไหนครับ

    รบกวนผู้รู้ตอบข้อสงสัยด้วยครับ


    คุณ Phanudet<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2786546", true);</script>

    ตอบ สัพเพ หลังสุด...สัพเพ ๕ รอบ..แล้วตามด้วย...พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ...ครับ...


    คุณ GoonS

    ตอบ สวดให้ใจเย็นสิครับ ถ้าจำได้เเสดงว่ามีสติรู้ดี ไม่ใช่สวดให้จบๆไป

    ถ้าสวดตอน20.30 จะมีให้สวดสัพเพอยู่3รอบ
    รอบเเรก 5จบ
    รอบสอง (อธิษฐานตรงนี้ เรื่องส่วนตัวส่วนรวมหรืออะไรก็ได้) 3 จบ
    รอบสุดท้าย 5 จบ

    ถ้าสวดเเบบสั้น ผมว่า 3,5 เเล้วเเต่สะดวกก็พอครับ<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2787367", true); </script>


    <!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2784563", true); </script>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ทำไมโพชฌงค์ 7 ประการ จึงสามารถบำบัดรักษาแก้โรคภัยต่างๆ

    โพสท์โดยคุณ aek_nida7


    ในบทสวดโพชฌงค์ 7 นั้น

    แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาพาธด้วยโรคภัย พระจุนทะเถระก็ยังมาแสดงโพชฌงค์ เพื่อบำบัดอาการอาพาธของพระศาสดาจนหาย ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการ มีความหมายพิศดารประการใด อย่างไร

    จริงๆ แล้ว ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการนี่ เป็นข้อธรรม และก็เป็นกระบวนการกำจัดมลพิษภายในจิตวิญญาณ เป็นขบวนการในการจัดระเบียบของจิตวิญญาณความรู้สึกนึกคิดของตนให้เป็นผู้ ซื่อตรงถูกต้องตามครรลองคลองธรรม หรือครรลองของสภาวะธรรมนั้นๆ ซึ่งมีอยู่ในตนของตน

    ฉะนั้น ความหมายของโพชฌงค์
    ในข้อแรกก็คือ สติสัมโพชฌงค์ นั่นก็คือ โพชฌงค์ข้อแรกต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนมีสติ และในความหมายของโพชฌงค์ก็คือ วิถีแห่งการบรรลุธรรม วิถีแห่งความพ้นทุกข์หรือไม่ก็วิถีแห่งการตัดอาสวะกิเลส เป็นกระบวนการทางจิตชนิดหนึ่ง เป็นอารมณ์แห่งจิตที่ทำงานเป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีสาระ เป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีความหมายพัฒนาไปเป็นจิตที่ประเสริฐ ในสติสัมโพชฌงค์ เมื่อบุคคลใดเป็นผู้ยังให้เกิดขึ้น ยังให้ตั้งขึ้น และมีขึ้น พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเมื่อมีสติแล้วจะต้องมีธัมมวิจยะ คือการวิจารณ์ธรรม เลือกเฟ้นธรรม แสวงหาธรรม ที่เหมาะตรงถูกต้องแก่ตนที่สามารถปฏิบัติได้ เมื่อมีสติมีการแสวงหาวิจารณ์ธรรมที่ดีอยู่แล้ว ที่ตรงถูกต้องก็ต้องทำด้วย
    ความเพียร มานะพยายามบากบั่นอย่างยิ่ง เมื่อมีความเพียรแล้ว ผลที่ได้รับกลับมาก็คือความปีติสุข นั่นก็คือเป็นอารมณ์หนึ่งในโพชฌงค์ เมื่อมีปิติสุขซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการทำด้วยความวิริยะพากเพียรแล้ว

    สิ่งที่จะตามมาจากปีติสุขก็คือ ความผ่อนคลาย ความปล่อยวาง ในสิ่งที่เป็นทาสจากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัสใดๆ ผ่อนคลายจากความชั่วเลวร้ายเสียหาย ทั้งกาย วาจาและใจ
    เมื่อมีความผ่อนคลายปล่อยวางแล้ว ก็จะขยับเข้าไปถึงความหมายหรือองค์คุณแห่งสมาธิ คือความตั้งมั่นแห่งจิต
    ผลแห่งสมาธินั้นเมื่อตั้งมั่นดีแล้ว จะเป็นเอกัคคตา คือเป็นหนึ่งเดียว มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว กระบวนการต่างๆ

    เหล่านั้นทั้ง 7 ประการที่กล่าวมาแล้ว เป็นกระบวนการของโพชฌงค์ ทั้ง7 เราจะเห็นว่าเป็นกิริยาอาการของการที่จะนำพาเราเข้าไปสู่วิถีแห่งการพัฒนา จิตวิญญาณ ที่สามารถจะมีอิสระเสรีภาพในสิ่งที่ร้อยรัดผูกพัน
    หรือห่วงหาอาวรณ์ใดๆ ต่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และกายถูกต้องสัมผัส

    ความ หมายของโพชฌงค์ 7 ประการก็คือ กุญแจที่จะปลดปล่อยไขประตูและก็ปลดปล่อยเราให้ออกมาจากคุกของอารมณ์ คุกที่กักขังเราไว้ คุกที่ควบคุมกักขังตัวเรานั้น ไม่ใช่เป็นคนอื่น ใครอื่น สิ่งอื่น หรือที่อื่นๆ แต่เป็นตัวเราเองที่เรากักขังตัวเองไว้ ในอารมณ์ใดๆ โดยที่เราไม่รู้เท่าทันมัน
    รวมทั้งขังตัว เองเอาไว้ในสุข ทุกข์ เวทนา และก็กิจกรรมหรือการที่เป็นไปในกาย เช่นเกิดอาพาธ เกิดโรค หรือกักขังตัวเองไว้ในเวทนาของโรคนั้นๆ
    ฉะนั้นการเจริญโพชฌงค์ก็คือการปลดปล่อยตัวเองออกจากเวทนา
    และโรคร้ายเหล่านั้นก็จะหมดออกไปจากอารมณ์ เมื่อโรคออกจากอารมณ์เหล่านั้น ใจก็เป็นปรกติ


    โดยหลักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของร่างกายแล้ว โรคทั้งหลายเกิดจากใจบกพร่องไม่ถูกต้องกันเสีย 90 กว่าเปอร์เซนต์ เมื่อใจเป็นปรกติถูกต้องไม่บกพร่อง ร่างกายก็จะสร้างแอนตี้บอดี้ สามารถที่จะมีกระบวนการกำจัดขัดเกลา ทำลายร้างสิ่งที่แปลกปลอม หรือสิ่งที่เข้ามาเกาะกินสุขภาพของกายสุขภาพของจิตหรือสุขภาพของใจ ร่างกายก็จะสร้างสารชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่จะทำลายศัตรูที่แปลกปลอมเข้ามาในกายนี้ เรียกว่าเป็นการต้านทานและก็ภูมิคุ้มกัน ขบวนการของโพชฌงค์ก็คือกระบวนการที่เหมือนยารักษาโรค เป็นสูตรสำเร็จในการที่จะชำระ แกะ แคะ เกา และก็ขัดสีฉวีวรรณจิตนี้ให้ผุดผ่อง และก็เป็นกระบวนการของจิตที่ปล่อยวางจากอารมณ์สุขทุกข์และเวทนาทั้งปวงได้ อย่างที่สุด

    หวังว่าพวกเราจะเข้าใจความหมายของโพชฌงค์ได้อย่างพอสมควร


    สติสัมโพชฌงค์(ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง)

    ธัมมวิจยะสัม โพชฌงค์( ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องค้นหาธรรม )

    วิริยะสัมโพชฌงค์(ความเพียร)

    ปีติสัมโพชฌงค์(ความอิ่มใจ)

    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ความสงบกายสงบใจ)

    สมาธิสัมโพชฌงค์(ความมีใจตั้งมั่น,จิตแน่วในอารมณ์)

    อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง)



    จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต)
    http://www.dhamma-isara.org




    บทสวดโพชฌงค์ ๗ ประการ

    [​IMG]

    โพชฌังโค ปริตร

    โพชฌังโค สะติสังขาโต
    โพชฌงค์ ๗ ประการคือ สติสัมโพชฌงค์


    ธัม มานัง วิจะโย ตะถา
    ธรรมะวิจะยะสัมโพชฌงค์


    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ
    ปีติสัมโพขฌงค์


    โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์


    สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
    สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์


    สัตเตเต สัพพะทัสสินา
    เหล่า นี้ อันพระมุนีเจ้า


    มุนินา สัมมะทักขาตา
    ผู้ทรง เห็นธรรมทั้งปวง ตรัสไว้ชอบแล้ว


    ภาวิตา พะหุลีกะตา
    อัน บุคคลเจริญและทำให้มากแล้ว


    สังสวัตตันติ อะภิญญายะ
    ย่อม เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง


    นิพพานายะ จะ โพธิยา
    เพื่อ ความตรัสรู้และเพื่อพระนิพพาน


    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วย การกล่าวคำสัจนี้


    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอ ความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


    เอกัสมิง สะมะเย นาโถ
    ใน สมัยหนึ่งพระโลกนาถเจ้า


    โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
    ทอด พระเนตร พระโมคคัลลนะและพระกัสสะปะ


    คิลาเน ทุกขิตา ทิสวา
    เป็น ไข้ได้รับความลำบากถึงทุกขเวทนาแล้ว


    โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
    ทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการให้ท่านทั้งสองฟัง


    เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
    ท่านทั้งสองก็เพลิดเพลินพระธรรมเทศนานั้น


    โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
    หายโรคในบัดดล


    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วย การกล่าวคำสัจนี้


    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอ ความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


    เอกะทา ธัมะราชาปิ
    ครั้ง หนึ่งแม้พระธรรมราชาเอง


    เคลัญเญนาภิปีฬิโต
    ทรง ประชวรเป็นไข้


    จุน ทัตเถเรนะ ตัญเญวะ
    รับสั่งให้พระจุนทเถระ


    ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
    แสดงโพขฌงค์นั้นถวายโดยความเคารพ


    สัมโมทิตวา จะ อาพาธา
    ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย


    ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
    หายจากพระประชวรนั้นโดยพลัน


    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้


    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ


    ปะหีนา เต จะ อาพาธา
    ก็อาพาททั้งหลายนั้น


    ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
    อันพระมหาฤาษีทั้งสามองค์หายแล้วไม่กลับเป็นอีก


    มัตคาหะตะกิเลสาวะ
    ดุจดังกิเลสอันมรรคกำจัดแล้ว


    ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
    ถึงซึ่งความไม่เกิดอีก เป็นธรรมดาฉะนั้น


    เอ เต นะ สัจจะวัชเชนะ
    ด้วยการกล่าวคำสัจนี้


    โสตถิ เต โหนตุ สัพพะทา
    ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเทอญ



    <!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_674982", true); </script>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    การจุดธูปเทียนบูชาพระมีอานิสงส์อย่างไร

    ถาม : เวลาไหว้พระที่หน้าหิ้งบูชา การไหว้ที่จุดธูปจุดเทียนและไม่ได้จุดธูปจุดเทียน จะมีความแตกต่างกันไหมคะ ?
    ตอบ : ต่างกันอยู่ตรงอานิสงส์ที่ได้รับ การจุดธูปเทียนเป็นการ บูชาด้วยของหอมและแสงสว่าง มีอานิสงส์เพิ่มขึ้น นอกจากการบูชาด้วยดอกไม้แล้ว ได้อานิสงส์การบูชาด้วยของหอมและแสงสว่างด้วย

    แต่ถ้าว่าเราคิดว่าการจุดธูปเทียนจะทำให้การรักษาลำบากอาจจะทำให้เกิดไฟไหม้ ได้ ของเราเองใช้วิธีปฏิบัติบูชา คือ การปฏิบัติถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แทนอานิสงส์จะสูงกว่ามากมหาศาล อานิสงส์ของ อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของ ส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็นเรื่องลาภยศเงินทอง แต่การปฏิบัติบูชานี่จะเป็นเรื่องของปัญญาความ ฉลาดในการตัดกิเลส หรือในการทำมาหากิน เพราะฉะนั้นอานิสงส์ของปฏิบัติบูชาจะได้มากกว่า

    หรือว่าถ้าหากว่ากลัวว่าไฟมันจะไหม้ ก็ใช้ธูปเทียนที่ทำด้วยไฟฟ้า อย่างเก่งก็ช็อตดับไปเฉย ๆ จะมีอานิสงส์ตรงบูชาด้วยแสงสว่างอยู่ แต่กลิ่นไม่มี

    ถาม : แล้วอย่างนี้ก็ไปซื้อเทียนที่เขาทำหลอดก็ใช้ได้เหมือนกันไหมคะ ?
    ตอบ : ใช้ได้เหมือนกัน ปลอดภัยกว่า เผลอแล้วไฟไม่ไหม้ด้วยอย่างเก่งหลอดขาดแล้วก็ดับ



    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔

    www.watthakhanun.com
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ตั้งใจทำบุญเต็มใจทำ จิตผมไม่นิ่งทำไงดีครับ วอกแวกตลอด

    คุณฉันสัญญา<!-- google_ad_section_end -->

    <script type="text/javascript">vbmenu_register("postmenu_2736896", true);</script>ถาม เวลาผมสวดมนร์ผมจะคิดนู่นคิดนี่เวลาสวดมนเสจพอจะอุทิศบุญผมก็คิดนู่นคิดนี่ คิดวอกแวก แต่ผมตั้งใจจะสวดมน ตั้งใจที่จะอุทิศบุญ ตั้งใจที่จะไปทำบุญตักบาตรทุกวัน ไม่ทราบว่า จิตรไม่นิ่ง คิดวอกแวก แต่ตั้งใจ นี่บุญจะส่งถึงคนที่เราอุทิศให้หรือไม่ครับ


    คุณrattanaphan<!-- google_ad_section_end -->

    ตอบ <script type="text/javascript">vbmenu_register("postmenu_2749706", true);</script>ตั้งใจกับจิตนิ่ง ไม่เหมือนกันครับ ตั้งใจคือเจตนาว่าจะกระทำหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จิตคือความคิด ณ ขณะนั้น คิดอะไรอยู่คิดเรื่องทำเรื่องที่ตั้งใจอยู่หรือเปล่าหรือทำเรื่องนั้นอยู่ แต่ไปคิดเรื่องอื่น ง่ายๆ ก็คือมีสติกำกับอยู่หรือไม่? จิตไม่นิ่งของคุณไม่ได้แจ้งด้วยซิว่ามันแกว่งเบาหรือแรงแค่ไหน เพราะนั่นย่อมมีผลต่อการทำบุญหรืออุทิศส่วนกุศล ถ้าจิตไม่นิ่งเลยหรือแกว่งไปมาตลอด บุญที่ได้ก็จะมีผลน้อยลงหรือการอุทิศส่วนกุศลก็มีผลน้อยลงไปด้วย เพราะบุญนั้นประกอบด้วยองค์ 3 คือ ก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ ต้องสมบูรณ์ดีผลแห่งบุญนั้นจึงจะเต็มเม็ดเต็มหน่วย อันนี้ก็คงพอเข้าใจนะครับ

    การแก้จิตไม่นิ่ง (ไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ) ก็ต้องแก้ด้วยการฝึกจิตให้มีสติให้มีสมาธิ มีหลายวิธีอันนี้ถ้าทางจะยาวโข ค้นหาทาง internet เองนะครับ หรือง่ายๆ ก่อนจะทำบุญหรืออุทิศส่วนกุศลหลับตาหรือไม่ก็ได้แล้วแต่สบายใจกำหนดลมหายใจ เข้า พุทธ หายใจออก โธ ไปมาครบสัก 10 รอบ แล้วก็ทำบุญหรืออุทิศส่วนกุศล จะช่วยจิตนิ่งขึ้นได้บ้างชั่วคราว

    แถมอีกนิด
    การสวดมนต์ เป็นวิธีสำคัญมากที่คนไทยเรามีมาแต่โบราณ แท้จริงการสวดมนต์ให้ถูกต้องจะได้บุญถึง
    10 ประการ การสวดให้ดีต้องสวดให้ออกเสียง ไม่ใช่สวดอ้อมแอ้ม สวดให้ดีต้องออกเสียง เป็นพลัง vibration เป็นการสั่น สะเทือนแบบขัดเกลา การสวดมนต์จะช่วยให้ได้ประโยชน์ทั้งสามประการ โดยเฉพาะสวดไปๆ จะเกิดการขัดเกลา เกิดการน้อมรับ ซึมซับ ธรรมะซึมเข้าไปโดยไม่รู้ตัว



     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    รบกวนท่านผู้รู้ตอบปัญหาเกี่ยวกับบทสวดอิติปิโส

    คุณ ฉันสัญญา

    ถาม บทสวดอิติปิโสต้องสวดเท่าอายุไช่ใหมครับ ผมไม่ทราบว่า ไช่บทนี้รึปล่าวครับ

    บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.

    ท่อง 18จบไช่ใหมครับผมอายุ18 ครับ

    หรือว่าต้องท่อง ทั้ง3บทนี้ 18 จบครับ

    บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ.
    บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
    สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ.
    บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสาติ.

    ขอคำแนะนำด้วยครับว่าเราควรท่องบทใหนก่อนบ้างครับ

    ผมสวดตอนกลางคืนครับ<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2745170", true);</script>



    ท่านพระที่12

    ตอบ สวด อิติปิโส เท่าอายุ + 1
    เพื่อเสริมดวงชะตา ต่ออายุ
    ( ตั้งนะโม 3 จบ )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
    วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    ( ให้สวดเกินอายุ 1 จบ เช่น อายุ 18 ปี ต้องสวด 19 จบ )
    <!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_2746375", true); </script>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    จิตกับตัวคาถาอันไหนสำคัญกว่ากัน(เคล็ดลับวิชาไสยศาสตร์)

    โพสท์โดยคุณ I'mTiM

    คนส่วนมากชอบตัวบทคาถาในวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ แต่มีส่วนน้อยนักที่จะจับจุดได้ถูกต้อง เป็นจุดที่จะทำให้มีอาคมขลัง ทำให้คนทั่วไปยอมรับนับถือได้ นั่นก็คือ จิต นั่นเอง ไสยศาสตร์เป็นเรื่องของจิต พวกรูปแบบวิธีการต่างๆเป็นเพียงเปลือกและกระพี้ของหลักวิชาเท่านั้น แต่ต้นไม้จะมีแต่แก่นไม่มีเปลือกกระพี้ก็หาได้ไม่ ดังนั้นจึงมีรูปแบบวิธีการ ลำดับขั้นตอน เรื่อยมา พวกที่เรีียนวิชาไสยศาสตร์ มักจะชอบมองข้ามสิ่งเล็กน้อย แล้วมุ่งหาแต่สิ่งที่เรียกว่าสุดยอดในสายวิชาต่างๆ แต่พอมองย้อนกลับมา ฐานมันยังไม่ได้เลย จะเอายอดซะแล้ว ก. ไก่ ข. ไข่ ยังไม่ค่อยรู้ จะไปเอา ฮ. นกฮูกซะแล้ว ดังนั้นสิ่งแรกที่นักไสยศาสตร์ต้องเรียนรู้คือการพัฒนาจิต การฝึกสมาธิ สมาธินี่ไม่ใช่นั่งกันนิดๆหน่อยๆ วันละ20นาที แล้วจะมาพูดว่าฝึกฝนอยู่เสมอ นั่งสมาธิมันต้องอย่างน้อยๆ2-3ชั่วโมง ต้องนั่งให้ได้ และต้องได้อารมณ์สมาธิด้วยน้อยที่สุดต้องได้1ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นเรียกว่าสมาธิไม่ถึงขั้น ใครที่ชอบคิดว่าตัวเองเก่งลองพิจารณาดูซิว่า ทำได้แค่ไหน แล้วเวลานั่งก็ไม่ใช่นั่งหลับตาเฉยๆ มันต้องมีสติระลึกรู้อยู่เสมอ ลมหายใจสั้น-ยาวก็รู้ หายใจแรง-เบาก็รู้ การเดินอารมณ์สมาธิเข้าได้ช้า-เร็ว ยาว-สั้นแค่ไหน ก็ต้องรู้ด้วยตัวเอง กำหนดรู้จนจิตมีความละเอียด ลมละเอียด เบาสบาย จนจิตนิ่ง และสามารถทรงอารมณ์สมาธิได้ยาวนานขึ้นเรื่อยๆ เข้าใจถึงดวงจิตและอารมณ์สมาธิ รู้จักการเดินเข้า-ออกสมาธิ การเข้าสมาธิลึกและการเดินถอยออก และรู้จักเดินเข้าไปใหม่ ต้องทำจนชำนิชำนาญจนสามารถเข้าสมาธิได้รวดเร็วหรือที่เรียกว่า วสี ทำแบบนี้แล้วจะเริ่มเข้าใจคำว่าจิต เนื่องเพราะวิชาไสยศาสตร์เกี่ยวข้องกับจิตอย่างที่ไม่อาจจะแยกจากกันได้ "จิตตัวเดียวพลิกไปพลิกมา" หมายความว่าจิตที่ฝึกดีแล้วนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สารพัดตามแต่จะต้อง การ กล่าวคือ หากว่าคาถาคงกระพัน ต้องทำจิตให้เข้มแข็ง ฮึกเหิม จึงจะเสกคงกระพันได้ หากต้องการให้เป็นเมตตา มหานิยม ก็ต้องทำจิตให้อ่อนโยน นุ่มนวล ใช้อารมณ์ที่เรารักและเมตตาที่มีต่อบุคคลอื่นๆ อารมณ์ชื่นชอบที่มีต่อบุคคลอื่นๆ นั้นมาเสก จึงจะได้ผล เพราะวิชาไสยศาสตร์นั้นคือธรรมชาติ หากเราใช้จิตที่โกรธเกลียดมาเสกคาถาเมตตา เสกจนตายก็ไม่ได้ผล ทั้งนี้เพราะวางอารมณ์ไม่ถูกต้องนั่นเอง จะให้คนอื่นเค้ารักก็ต้องรักเค้าก่อน เหมือนกับกระจกน่ะครับ ถ้าเราไม่ยิ้มให้กระจกกระจกก็ไม่ยิ้มให้เรา ถ้าอยากเรียนจำทำเป็น ก็ต้องฝึกตามที่ผมได้แนะนำไว้นี้แหละครับ และคำาที่ว่าทำเป็นนั้นไม่ใช่ทำได้1-2ทีแล้วจะมาคิดว่าทำเป็นนะครับ มันต้องทำได้ทุกครั้งที่ต้องการ จึงจะเรียกว่าทำเป็น ส่วนมากทำได้ซักทีนึงก็จะคิดว่าข้าสำเร็จวิชานี้แล้ว พวกนักไสยศาสตร์ที่โง่และหลงตัวเองพวกนี้มีอยู่มาก ผมเองก็เคยเป็นประเภทนี้มาก่อนกว่าจะมาหูตาสว่างก็ต้องใช้เวลาเป็น10ปีเลยที เดียว เพราะมัวแต่หลงในตัวบทคาถาอยู่นั่นแหละ คือพอฟลุ๊กทำได้แล้วก็รีบไปหาวิชาใหม่ๆทันที ไม่ได้มาสนใจสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างเรื่องสมาธิจิตเลย แบบนี้ว่าคาถาให้ตายก็ไม่เกิดประโยชน์ครับ เพราะมันไม่ก้าวหน้ามันไม่ไปไหน มีแต่จะถอยหลังเข้าคลอง เพราะภาวะจิตจะเสื่อมถอย เนื่องจากไม่ได้มีการสนใจที่จะอบรมจิตจริงๆ ซึ่่งวิชาชั้นสูงจริงๆนั้นต้องใช้จิตที่ละเอียด สมาธิจิตที่มั่นคงกว่าขั้นพื้นฐานเยอะครับ ลองๆฝึกดูกันก่อนครับและยินดีคลายข้อสงสัยพร้อมรับคำติชมจากเพื่อนสมาชิก ครับ
     
  17. วิมุติมรรค

    วิมุติมรรค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    305
    ค่าพลัง:
    +1,753
    [​IMG]


    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    วัดสะเเก
    พระนครศรีอยุธยา




    ๑.หลวงปู่กล่าวรับรองว่าบทสวดมนต์แต่ละบท ๆ ในเจ็ดตำนานก็ดี ๑๒ ตำนานก็ดี ท่านว่าท่านเคยได้พิจารณาโดยตลอดแล้ว พบว่าดีทั้งนั้น ใช้ได้ทั้งนั้น ดีทุก ๆ บทเลยทีเดียว


    ๒.บทไตรสรณาคมน์นั้น (พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณัง คัจฉามิ) ท่านว่า “สวดครั้งหนึ่ง
    (ด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาและเป็นสมาธิ) มีอานิสงส์ไปถึง ๕ กัลป์เชียว”


    ๓.สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนประสบเคราะห์นั้นท่านแนะให้สวดอิติปิโสฯ (บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ)
    เท่าอายุบวกหนึ่ง


    ๔.บางครั้ง ผู้ที่เขามาคอยรับส่วนบุญ เขามีเวลาน้อย (อาจขออนุญาตผู้คุมมาได้เดี๋ยวเดียว) หรืออยู่ในสถานการณ์
    ฉุกเฉิน มีเวลาน้อย หรือจะด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี หลวงปู่จึงได้มีบทแผ่เมตตาชนิดสั้นแต่มีประสิทธิผลมากคือ
    “พุทธัง อนันตังฯ” แทนบทกรวดน้ำ ซึ่งค่อนข้างยาวและกินเวลามากและเหมาะกับการแผ่เมตตาประจำวันหลังสวดมนต์ทำวัตรมากกว่า


    ๕.บทบูชาพระ (นะโมพุทธายะฯ) หลวงปู่บอกว่า “สวดแล้วรับรองว่าไม่มีจน” ท่านเอามาจากวัดประดู่ทรงธรรม สมัยที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่นั่น และเพื่อให้ลูกศิษย์ไม่มองข้ามความสำคัญ เพราะเหตุที่ได้มาจากหลวงปู่ง่าย ๆ ท่านจึงพูดแบบอมยิ้มไปด้วยว่า “คาถาดี ๆ นี่ อาจารย์สมัยก่อนเขาหวงกันนะ เขาไม่เอามาบอกง่าย ๆ หรอกแก”


    ๖.จุดสำคัญในเวลาสวดมนต์หรืออธิษฐานคาถาใด ๆ ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิ ให้จิตสว่าง ให้จิตมีภาวะตื่น จึงจะมีผลมาก และถือเป็นสร้างความชำนาญในการทำกรรมฐานไปด้วยทุกครั้ง
    สำหรับบทสวดมนต์ (ไม่ใช่คาถา)นั้น ถ้ามีโอกาสก็ควรศึกษาคำแปลเพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อธรรมและซาบซึ้งในคุณพระรัตนตรัยยิ่ง ๆ ขึ้นไป


    สุดท้าย หลวงปู่บอกว่า “สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน” สวดมนต์นานเท่าไรไม่ว่า แต่ภาวนาให้มากกว่าจึงจะถือว่าได้จัดสรรเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด



    จากบทความของ คุณสิทธิ์
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ



    *** บท พุทธัง อนันตังฯ ในข้อที่ ๔ คือ คำอธิษฐานแผ่เมตตา
    “พุทธัง อะนันตัง
    ธัมมัง จักกะวาฬัง
    สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ ”


    *** บทบูชาพระ (นะโมพุทธายะฯ) ในข้อที่ ๕ คือ บทสวดมหาจักรพรรดิ
    “นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
    มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
    พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
    พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
    อัคคีทานัง วะรังคันธัง
    สีวลี จะมหาเถรัง
    อะหังวันทามิ ทูระโต
    อะหังวันทามิ ธาตุโย
    อะหังวันทามิ สัพพะโส
    พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ ”
     
  18. love_song_music

    love_song_music เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 เมษายน 2009
    โพสต์:
    455
    ค่าพลัง:
    +907
    อนุโทนาบุญ ได้ความรู้ดีมาก
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ถ้าเราสวดมนต์ รักษาศีล ทำสมาธิ จะทำให้คืนดีกับคนรักได้ไหม

    ถาม: หากเรารักษาศีล๕ บริสุทธิ์ หมั่นสวดมนต์ ทำสมาธิบ้าง จะทำให้แฟนที่เคยนอกใจกลับมาทำดีต่อกันได้ไหมคะ หรือว่าจะทำให้เลิกกัน ทางใครทางมันไปเลย

    เขา มีเหตุผลเป็นรูปธรรมที่เหมือนน้ำป่าเชี่ยวกราก เราจะทำให้เสมอกันด้วยการประกอบเหตุผลทางนามธรรม ก็ต้องดูว่าเป็นเขื่อนกั้นที่แข็งแรงเพียงพอหรือเปล่าด้วยครับ อันนี้พูดเป็นกลางๆเท่าที่เคยเห็นกับตา คือฝ่ายหญิงหากมีความเย็นจริง ศีลสะอาดบริสุทธิ์จริง โดยมีตัวแปรสำคัญคือจิตสำนึกดั้งเดิมของเขาประกอบร่วม วันหนึ่งเขาจะสำนึกได้ และเห็นการเที่ยวเตร่สำส่อนเป็นของต่ำ ใจเห็นชัดด้วยการเปรียบเทียบว่ามีของสูงอยู่ที่บ้าน เขาน่าจะสูงได้เท่ากัน แต่ก็มีตัวแปรประกอบร่วมอื่นๆ คือเขาต้องมีความรักความผูกพันกับเรามากพอ มิฉะนั้นบางทีก็กลายเป็นความแบ่งแยกแตกต่างที่อยากทำให้เลิกๆกันไปเลย


    พูด ให้ง่ายคือเราต้องไม่ดีแบบเจ้านายที่เมตตาบริวารเพื่อให้เขาทำอย่างเรา ปรารถนา แต่ดีแบบคนเลี้ยงแมวที่อ่อนโยนและไม่เคยหวังว่าแมวจะตอบแทนอะไรเรา


    ถ้า ทำใจได้แบบนี้ เขาจะรู้สึกเย็น ผูกพัน และนึกรัก ไม่หนีไปไหนนาน ลองคิดว่าจะเป็นแม่พระเพื่อโปรดตัวเอง พัฒนาตัวเองด้วยกระแสความรู้สึกจากใจจริง ไม่ใช่เพื่อหวังผลทันทีทันใดแบบยื่นหมูไปจะเอาไก่มา กระแสจากใจเราจะต่างกันมาก ชนิดที่แม้คนสัมผัสหยาบ ไม่ช่างสังเกต ก็รู้สึกได้


    เมื่อไม่ช้าไม่นาน นี้เคยได้ยินครับ ภาวนาเพื่อตั้งใจแก้ทุกข์ให้ตัวเองจากเรื่องสามีเจ้าชู้แท้ๆ แต่พอใจเย็นลง ไม่ด่า ไม่ขมวดคิ้ว ไม่แคร์อะไรแล้ว ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรมแล้ว กลับกลายเป็นว่าทำให้สามีสำนึกผิดอย่างแรง ซมซานมาขอโทษขอโพยกลายเป็นบ้านที่เย็นลงอย่างรวดเร็วเหลือเชื่อ


    บางทีเหตุที่ถูก ไม่ใช่ "คิดจะทำ" อะไรอย่างหนึ่ง แต่แค่มี "ใจเป็นธรรม" ก็เพียงพอแล้วสำหรับการบรรเทาทุกข์


    ขอให้เชื่อสัจธรรมประการหนึ่ง เมื่อเราเบาออกมาจากภายใน ความเบาจะปรากฏขึ้นที่ภายนอกด้วย เพียงคงเส้นคงวาได้ไม่นานจะประจักษ์จริงครับ

    โดย ดังตฤณ
    ที่มา http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.p...tm?1#10]007254
     
  20. นาตยา

    นาตยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2005
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +1,104
    อนุโมทนาค่ะ อยากทราบว่าการสวดมนต์ออกเสียงกับสวดในใจ มีผลต่างกันอย่างไร และถ้าหากสวดในใจ เราจะอัญเชิญเทวดามาฟังอย่างไร ขอผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...