ปาฏิหาริย์ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ พระอรหันต์ ๗ แผ่นดิน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 25 กันยายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #888; BORDER-RIGHT-WIDTH: 1px; BORDER-TOP-COLOR: #888; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP-WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 1px; BORDER-RIGHT-COLOR: #888; BORDER-LEFT-COLOR: #888; BORDER-LEFT-WIDTH: 1px" border=1 cellSpacing=0 borderColor=#888><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] พระอรหันต์ ๗ แผ่นดิน [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]อมตเถระ ผู้มีอายุยืนนานถึง ๑๒๘ ปี[/FONT] ​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ณ วัดเขาถ้ำบุญนาค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์[/FONT]​


    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ตอนที่ ๑

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif][/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]สมัยเด็ก อาชีพเป็นพรานป่า[/FONT]​


    หลวงปู่สี ฉนฺสิริ มีอุบายธรรมเป็นเลิศ แก่กล้าด้วยญาณรู้ ผู้เรืองเวทย์วิทยา อาคมแก่กล้าชานหมากสุดวิเศษ ตระกรุดมหาอุด แคล้วคลาดจากภยันตรายนานับประการ สายสิญจน์ สิงห์ เศษจีวรยอดเยี่ยม พระผงครอบจักรวาล อายุยืน อมตะยากจักหาในปัจจุบัน

    สิ่งเหล่านี้จะเห็นได้จากสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เศษผ้าถูพื้นของท่านก็แทบไม่มีเหลือ น้ำล้างเท้าของท่านผู้คนก็ยื้อแย่ง ทั้งพวกชานหมากของท่านก็ไม่มีตกค้าง แม้แต่ไม้จิ้มเขี้ยว (ไม่แคะฟันของท่าน) ลูกศิษย์ก็พากันเก็บจนหมดสิ้น และที่หาได้ยากยิ่ง ก็คือ "พระผงรุ่นอายุยืนรุ่นพิเศษ ที่มีเกศาจีวร"

    วัตถุมงคลของหลวงปู่ทุกอย่าง รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่หลวงปู่จับถือ ถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นของดีของวิเศษ เป็นสิ่งมงคล เป็นโชคลาภของผู้ที่ได้นำไปบูชา ตลอดจนข้อธรรมของหลวงปู่ก็ลึกซึ้ง หลวงปู่มีลูกศิษย์ที่ชาวพุทธให้การเคารพยกย่องกราบไหว้ด้วยกันหลายองค์ อาทิ เช่น หลวงปู่แหวน สุจินโน วัดดอยแม่ปั๋งเชียงใหม่ หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข สิงห์บุรี หลวงพ่อเจริญ วัดผักไห่ อยุธยา หลวงพ่อทบ วัดชนแดนเพชรบูรณ์ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ตาคลี นครสวรรค์ อาจารย์สมบูรณ์ วัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี นครสวรรค์ อาจารย์สุพจน์ (เจ๊ก) ฉนฺชาโต วัดเขาถ้ำ อาจารย์รักษ์ พิษณุโลก พระอาจารย์ประเทือง พุทธธมฺโม เขาถ้ำบุญนาคปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่วัดสัมปทานนอก ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ...ฯลฯ

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่าน ชาตะ เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๒ แรม ๔ ค่ำเดือน ๕ ปีระกา เวลา ๑๗.๔๕ น. ราศีกันย์ เทษาตรีฤกษ์ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่าน มรณะภาพ เมื่อวันพุทธที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราข ๒๕๒๐ ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๔ ปีมะเส็ง

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านชาตะในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี และท่านมรณะลงในสมัยรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี ท่านเป็นพระภิกษุที่มีอายุยืนนานถึง ๗ รัชกาล

    ผมได้นำวันเกิดที่ได้จากหลานของท่าน ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ จังหวัดสุรินทร์ นำมาให้ อาจารย์เกรียงศักดิ์ เทศถมทรัพย์ นักพยากรณ์เอกแห่งยุค (เป็นพยากรณ์ลงหนังสือธัมมวิโมกข์ประจำปีวัดท่าซุง ต่อจากพระอรุณ ซึ่งเป็นบิดาที่มรภาพ หลวงพ่อฤาษีดำยอมรับ ผมแทรกข้อมูลส่วนครับ) ท่านได้ตรวจตามหลักโหราศาตร์ สิบลัคณา ปรากฏว่า วัน เวลา ปีแห่งการกำเนิดของท่านเป็นไปตามคุณลักษณะวิเศษต่างๆ ครบถ้วนทุกประการ

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเกิดที่บ้านหนองฮะ ตำบลหนองฮะ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

    โยมพ่อของหลวงปู่สี ชื่อ ผา (เซียงผา) ต่อมาใช้นามสกุล ดำริห์ โยมแม่ชื่ ข้อล่อ (ภาษาถิ่น) มีน้องทั้งหมด ๖ คน หลวงปู่สีท่านเป็นคนโต

    คนที่ ๑ เป็นหญิงชื่อ หัว ถึงแก่กรรมไปแล้วในวัยชรา

    คนที่ ๒ เป็นหญิงชื่อ ลุย หรือ มะโล เป็นแม่ของ อาจารย์ก๋อม (บุญมี) อายุ ๘๖ ปี (แม่มะโล มีลูกทั้งหมด ๑๐ คน เหลืออาจารย์ก่อมคนเดียวนอกนั้นตายหมด)

    คนที่ ๓ เป็นหญิงชื่อ เภา เป็นโยมแม่ของ ครูบาอินทร์ (มรภาพแล้ว) ญาคูอินทร์ หรือครูบาอินทร์ ท่านเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดอีสานหมกเต๋า และวัดหนองลุมพุก ที่หลวงปู่สีท่านเคยจำพรรษา(กำลังจัดทำครับ)

    คนที่ ๔ เป็นหญิงชื่อ ล่อน (แปลว่าเกลี้ยง) ภายหลังอพยพครอบไปอยู่บ้านหนองเหมือนแอ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (จังหวัดหนองบัวลำภูปัจจุบัน) ซึ่งเป็นแม่ของ อาจารย์บุญมี บุตรดี ผู้มีฐานะดีใจบุญ

    คนที่ ๕ ชื่อ อิ่ม ดำริห์ ภายหลังอพยพไปอยู่กับ อา (น้องพ่อ) หนองแค จังหวัดสระบุรี

    คนที่ ๖ เป็นหญิง ชื่อ อิ๋ง ถึงแก่กรรม ที่บ้านหมกเต่า ตำบลเบิด รัตนบุรี ยังบ้านป่า บ้านดง การเดินทางไปมาก็แสนยากลำบากกันดารนัก โดยพ่อของหลวงปู่ พ่อเซียงผา และแม่ข้อล่อ จึงได้ตกลงใจอพยพครอบไปหาที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าที่อยู่เดิม

    ทั้งหมดจึงอพยพย้ายเดินทางไปอยู่บ้านยาง (อีเมิน) ตำบลธาตุ แต่ยังอยู่ในเขตอำเภอรัตนบุรี ซึ่งอยู่หางจากท่าน้ำบ้านกล้วยห้วยทับทันราว ๒-๔ กิโลเมตร ในเขตใกล้เคียงที่จะย้ายไปอยู่ใหม่นั้นเป็นพื้นที่มีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ในเขตใกล้เคียงก็มีหนองยาง หนองน้ำเกลี้ยง ห้วยทับทันจึงนับว่าเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ณ บริเวณทุ่งบ้านยาง เป็นพื้นที่ราบลุ่มกว้างไกล พื้นที่ท้องนา และลำเนาป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

    พ่อเซียงผา และแม่ข้อล่อ จึงพาลูกๆ ซึ่งมีหลวงปู่เมื่อตอนเด็กๆ เดินทางมากับพ่อแม่ในครั้งนั้น พอเดินทางมาถึง "บ้านหมกเต่า" หรือเรียกว่า "บะฮี" ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านหนองยางไม่มากนัก แต่เดิมนั้นพ่อเชียงผามีจุดประสงค์จะพาครอบครัวไปอยู่ที่บ้านยาง แต่เมื่อเดินทางมาถึงบ้านหมกเต่า ได้ยินคนแถวนั้นที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ก่อน เล่าให้ฟังว่า ทางที่ไปสู่บ้านยางต้องผ่านลำน้ำที่ชุกชุมไปด้วยปลิงมากมาย แม้แต่วัวควายทั้งตัวยังถูกปลิงรุมเกาะกินดูดเลือดถึงตายได้...พ่อเชียงผา และแม่ข้อล่อ เมื่อได้ยินเช่นนั้น ประกอบกับลูกเต้าที่อพยพย้ายมาก็ยังเล็กอยู่ เกรงว่าจะได้รับอันตรายในการเดินทางต่อไป จึงตัดสินใจสร้างที่พักตั้งเรือนสร้างครอบครัวอยู่ที่บ้านหมกเต่า ซึ่งอยู่คนละฟากกับ ดงปู่ตาดง หรือ บ้านดงเจ้าปู่ กับบ้านบะฮี ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี

    ครอบครัวหลวงปู่ จึงตั้งรกรากขึ้นที่บ้านหมกเต่า อยู่ไม่ห่างไกลจากแหล่งน้ำนัก ท่าน้ำบ้านน้ำดำห้วยทับทัน ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นป่าสงวน "สวนรัตนธรรม" ซึ่งมีสำนักสงฆ์มัสสะวิรัติ

    ครั้งกระโน้นบ้านบะฮี หรือที่เรียกกันว่าหมกเต่า ยังเป็นป่ารกชัฏ หรือที่เรียกว่าเป็นป่าดงดิบมีเนื้อที่กว้างไกลหลายพันไร่ ในละแวกใกล้เคียงมีบ้านดงเจ้าปู่ (ดงอีปู่) ดงบังกึ๊ก ดงบักเกว และดงกลาง เป็นป่าดงดิบไปจนจรดน้ำคำ ดงห้วยทับทัน ดงบ้านกล้วย บ้านยาง และต่อเนื่องไปสู่ดงใหญ่ บ้านเบิด บ้านธาตุ บ้านม่วงหมาก ในยุคนั้นป่าแถบนี้ล้วนอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด มีทั้งเสื้อโคร่ง เสือลายพาดกลอนขนาด ๘ ศอกตัวใหญ่เท่าม้า เสือดาว เสือดำ หมูป่า ละมั่ง หมี ช้าง ลิง ค่าง ชนี กระต่าย กระแต อีเก้ง งูเห่า งูเหลือม งูจงอาง ไม้ป่า กล้วยไม้ที่สวยงาม นับว่าเป็นดงดิบที่ความอุดมสมบูรณ์มากมายไปด้วยทรัพยากร

    อาชีพผู้คนในป่าดงดิบในขณะนั้นก็คือ อาชีพพรานป่า ทุกชีวิตจะต้องมีความกล้าหาญและอดทน การใช้ชีวิตคือการหาของป่าและสัตว์ป่ามาซือขายแลกเปลี่ยน ยังชีพไปตามสภาพชีวิตบ้านป่า ครับถ้าใครไม่เคยอยู่ป่า ไม่เคยเข้าป่า อ่านพบ ฟังดูก็ไม่สู้จะมีความลึกซึ้งเท่าใดนัก แต่ถ้าหากเคยอยู่ก็จะทราบทันที ชีวิตป่าในยามราตรีกาลนั้นเงียบสงัด มืดทะมึน สั่นคลอนความรู้สึกอย่างประหลาด ยิ่งสำหรับชีวิตผู้ที่เพิ่งจะเริ่มย่างกลายเข้าไปสัมผัสรับรู้ใหม่ ยิ่งมีความหวาดกลัววาบหวิวในความสงัดแห่งราตรีกาล...

    ป่าในยุคก่อนๆ ยุคที่พ่อเซียงผา โยมพ่อของหลวงปู่พาครอบครัวยกย้ายมาตั้งรกรากที่บ้านหมกเต่านั้น ในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมานั้น ป่ายุคนั้นยังเป็นป่าไม้ที่มีต้นไม้ใหญ่ยืนต้นเป็นสง่าทมึน คงยังรกชัฏ สัตว์ป่ายังท่องเที่ยวอยู่ทั่วไปคึกคักในป่านั้น น้ำท่าบริบูรณ์ ลำห้อยลำธารน้ำซับ (ตาน้ำที่เกิดขึ้นมีอยู่ทั่วไป) ซึ่งทำให้พวกที่อยู่ในป่าไม่ขาดน้ำ...

    ...เด็กชายลี ใช้ชีวิตตั้งแต่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางกลิ่นไอของป่า ได้ติดตามพ่อเซียงผาพรานใหญ่เข้าป่าล่าสัตว์ เพื่อนำมาเป็นอาหาร และเป็นสินค้าซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นข้าวของหยูกยา เสื้อผ้าเครื่องใช่ไม้สวย จวบจนเด็กชายลีอายุ ๑๑ ปี พ.ศ. ๒๔๐๒ จศ.๑๒๒๑ พ่อเชียงผาได้พาเด็กชายลี ไปกราบพระธุดงค์ ซึ่งเคยเป็นสหายเก่าของพ่อเซียงผา ผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม ใช้ชีวิตเพศสมณะถือธุดงค์ผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรม เมื่อพรานใหญ่พาเด็กชายลีไปกราบ พระอาจารย์อินทร์ พอเห็นลักษณะเด็กชายลี ก็เพ่งพิจารณาเห็นหน่วยก้านดี มีลักษณะดี ก็เอ่ยถามขึ้นว่า "ลูกชายคุณโยมหรือ" พรายใหญ่เซียงผาก็ตอบว่า ใช่ พระอาจารย์ก็กล่าวขึ้นว่า "คุณโยม อาตมาขอเด็กนี่ได้ไหม? เพราะเขาน่าจะได้ศึกษาเรียนรู้ มากกว่าจะใช้ชีวิตเป้นพรานอยู่ในป่า เพราะลักษณะเป้นคนมีบุญวาสนา อาตมาขอเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูให้โยมให้โยมเองอย่าได้เป็นห่วง"

    พ่อเชียงผาใหญ่แห่งป่าเมืองสุรินทร์ เมื่อสหายรักซึ่งขณะนี้เป็นพระนักปฏิบัติผู้เคร่งครัดในพระวินัย ขอลูกชายตน ก็มองเห็นว่าอนาคตลูกชายจะไปไกลกว่าที่จะใช้ชีวิตอยู่กับตนในป่า และครอบครัวก็มีภาระมาก มีลูกหลายคน จึงได้ยกลูกชายให้พระอาจารย์อินทร์ สหายรักเลี้ยงดูแทนตน

    เด็กชายลี กลับบ้านพร้อมพ่อเซียงผา มากราบลาแม่ข้อล่อ และน้องๆ ออกเดินทางติดตามพระอาจารย์อินทร์ เดินธุดงค์มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ หรือเรียกว่า กรุงสยาม ในครั้งกระนั้น

    ในสมัยกว่าร้อยปีโน้นการเดินทางจากสุรินทร์มาสู่กรุงเทพฯ ไม่ใช่เป็นของง่ายเฉกเช่นในยุคปัจจุบันนี้ (๒,๔๐๐-๒,๕๔๐) การธุดงค์แสวงหาวิเวกนั้น ครูบาอาจารย์แต่เดิมมาท่านไม่ให้ติดที่อันเป็นสัปปายะให้ไปในหนทางที่ยากลำบาก จึงจะถึงแก่นแท้แห่งชีวิต การเดินทางบุกป่าฝ่าดง จะต่อสู้กับความลำบากนานัปประการ ความเหน็ดเหนื่อย อากาศที่ไม่คงที่ ธรรมชาติของป่าดงและขุนเขา ไข้ป่า และสัตว์ร้ายหลากหลาย

    เสียงเท้าย่ำอยู่ในป่าของศิษย์และพระอาจารย์ผ่านไปจากวัน สัปดาห์ และเดือน ผ่านป่าต่อป่า ต่อเขตแดนของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด สิ่งต่างๆ ของวันเวลาถูกสั่งสั่งสมให้บังเกิดสัจธรรมแห่งชีวิต

    ป่าทัเงป่ายังเงียบวังเวงราวกับปราศจากสิ่งมีชีวิต ความร้อนระอุของแดดยามบ่ายขับเหงื่อออกมาอย่างชุ่มโชก บางครั้งมันก็ไหลเข้าไปในเบ้าตา แสบเหมือนหยอดด้วยน้ำเกลือ เด็กชายลีไม่กล้าเลื่อนมือขึ้นมาลูบหน้า ไม่กล้าแม้กระทั่งขยับตัว ซึ่งเริ่มทวีความทรมานขึ้นทุกขณะ ด้วยเกรงว่าสัตว์ร้ายมันจะกระโจนเข้ามาทำร้าย ณ ในขณะที่เผชิญหน้ากับ เจ้าเสือร้ายลายพาดกลอนตัวมหึมา ที่ยืนขวางจ้องอยู่ข้างหน้า ในระยะที่ไม่ห่างไกลนัก ทั้งที่เคยออกป่าล่าสัตว์ติดตามพ่อเซียงผา มาก็นับไม่ถ้วย แต่ก็ไม่เคยที่ต้องมาอึ้งตะลึงมิกล้าขยับตัวอย่างเฉกเช่นขณะนี้ เห็นแต่พระอาจารย์อินทร์ ท่านยืนนิ่งสงบอย่างปกติมิได้หวาดกลัว แต่ได้ยินแต่เสียงท่านบริกรรมอย่างแผ่วเบา...และสายตาของเจ้าเสือร้ายที่จ้องมองมายังพระอาจารย์ ทำให้เสมือนหนึ่งตกอยู่ในภวังค์ บัดดลเจ้าเสือลายพาดกลอนมันก็หลบตา และค่อยๆ หันตัวเดินกลับเข้าสู่ป่าทึบอย่างอาการสงบ

    ทุกสิ่งก็คืนสู่สภาพปกติ วินาทีที่เต็มไปด้วยความเคร่งเครียดและทุกข์ทรมานได้ผ่านชีวิตของเด้กชายลีไปอีกครั้งหนึ่ง เด็กชายลี (หลวงปู่สี) ท่านติดตามอาจารย์อินทร์เดินธุดงค์จากป่าจังหวัดสุรินทร์ ผ่านป่าดงดิบมากมาย ได้ศึกษาสรรพสิ่งต่างๆ โดยรอบตัวมาตลอด และได้รับการสั่งสอนอบรมจากพระอาจารย์ซึ่งเป็นสหายของพ่อเซียงผา ด้วยความเมตตาโดยตลอด ได้รับการศึกษาธรรมมากหลากหลาย สรรพสิ่งในการพานพบล้วนเป็นข้อธรรมทั้งสิ้น...
    [/FONT]​
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๒ ถวายตัวเป็นศิษย์ และบวชเณร กับสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)

    พระอาจารย์อินทร์ ท่านได้พาศิษย์รักเด็กชายลี รอนแรมธุดงค์จากป่าลึกดงดิบสุรินทร์จบจนบรรลุถึงเมืองเขตสยาม อันเป็นจุดหมายที่พระอาจารย์อินทร์ ต้องการธุดงค์มาเยี่ยมสหธัมมิกของท่านที่เมืองกรุง ทุกครั้งที่ท่านมากรุงเทพฯ พระอาจารย์อินทร์ะมาพักที่วัดสลัก (วัดมหาธาตุ) หรือไม่ก็วัดระฆังฯ ที่วัดสลัก หรือ วัดมหาธาตุ ปัจจุบัน จะมีพระทางภาคอีสานมาจำพรรษาอยู่ ท่านเป็นพระปฏิบัติทางภาคอีสานท่านจึงมีพระสหธัมมิกอยู่หลายองค์

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ส่วนที่วัดระฆังนั้น พระอาจารย์อินทร์ ท่านมีความสนิทสนมกับขรัวโต (พระธรรมกิตติ) หรือสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ในกาลต่อมา[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] พระอาจารย์อินทร์ ท่านมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับขรัวโต เมื่อคราวที่ขรัวโตท่านไปศึกษาวิปัสสนาธุระ กับ พระอาจารย์แสง วัดชลมณีขันธ์ ที่ลพบุรี ในยุค พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระองค์ส่งเสริมวิปัสสนา แต่สำนักที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้นก็คือ สำนักของอาจารย์แสง ลพบุรี พระอาจารย์แสงเป้นพระเชี่ยวชาญทางพระกรรมฐานมาก[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ณ ที่นี้จะขอแทรกคำอธิบายถึง "ท่านพระอาจารย์แสง" ไว้โดยสังเขป...[/FONT]
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #888; BORDER-RIGHT-WIDTH: 1px; BORDER-TOP-COLOR: #888; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP-WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 1px; BORDER-RIGHT-COLOR: #888; BORDER-LEFT-COLOR: #888; BORDER-LEFT-WIDTH: 1px" border=1 cellSpacing=0 borderColor=#888><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 756px; HEIGHT: 7px"> "ที่กล่าวเล่าลือกัน ในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง ที่เลื่องลือในอภินิหาร จนถึงกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ตอนคราวเสด็จไปประพาสมณฑลอยุธยา ในปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ ได้เสด็จมาถึง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ทรงพระราชนิพนธ์รับสั่งถึงขรัวแสงไว้ว่า "ขรัวแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้มีวิชา เดินตั้งแต่เมืองลพบุรี เช้าลงไปฉันเพลที่กรุงเทพฯ ได้เป็นคนกว้างขวาง เจ้านายขุนางรู้จักมาก ได้สร้างพระเจดีย์สูงไว้องค์หนึ่งที่วัดมณีชลขันธ์ ตัวไม่ได้อยู่ที่วัดนี้หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ถ้าถึงออกพรราแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์องค์นี้ก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วย ราษฎรที่นับถือพากันเรี่ยไรส่งอิฐปูน และพระเจดีย์องค์นี้เจ้าของจำทำไว้แล้วเสร็จตลอดไป หรือทิ้งให้ผู้อื่นช่วยเมื่อตายแล้วไม่ได้ถามดูของเธอก็ดีอยู่"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] บางท่านอ่านข้อความในตอนที่ยกมานี้นั้นเข้าใจกันว่า ท่านเป็นพระอาจารย์ในยุคสมัยรัฐกาลที่ ๕ แต่ความจริงแล้ว พระอาจารย์แสง หรือขรัวแสงนั้นท่านเป็นพระอาจารย์ที่เก่งมากองค์หนึ่งในปลายสัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่เสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ ๒-๓ โดยเฉพาะสมัยรัชกาลที่ ๒ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยท่านส่งเสริมวิปัสสนาธุระมาก[/FONT]

    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ฟื้นฟูทำนุบำรุงวิทยาการวิปัสสนาธุระ พระองค์โปรดให้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิในทางวิปัสสนาทั้งในกรุง และทุกหัวเมืองทั้งเหนือ ใต้ อีสาน มารับพระราชทานบริขารอันควรแก่สมณะฝ่ายอรัญวาสี แล้วทรงแต่ตั้ง พระอาจารย์บอกกรรมฐาน

    ในยุคสมัยนั้นศิษย์พระอาจารย์แสงที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ก็ไม่มีใครเกินท่านเจ้าคุณสมเด็จโต เล่ากันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนาธุระมาก...หลังจากนั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็เสด็จสวรรคต

    ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยุ่หัว มีความดำริห์ในพระราชหฤทัย ที่จะทรงแต่งตั้งให้ท่านเจ้าประคุณสมเด้จฯ เป็นพระราชาคณะ จึงได้รับสั่งให้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จฯ เข้าเฝ้าเพื่อรับพระราชทานแต่งตั้งให้เป้นพระราชาคณะ แต่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้ทรงทูลขอตัวไม่รับพระราชทานสมณศักดิ์ และได้ออกเดินทางไปธุดงค์ในจังหวัดต่างๆ จนถึงกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เลยไปถึงเมืองเขมร ซึ่งขณะนั้นเขมรยังเป็นเมืองขึ้นของไทยอยู่ เพื่อหนีการแต่งตั้งในครั้งนี้ ขรัวโตท่านจึงมีความสนิทสนมกับพระอาจารย์อินทร์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของเด็กชายลี (หลวงปู่สี)

    เมื่อรัชกาลที่ ๓ สวรรคต ปี ๒๓๙๔ รัชสมัยรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ ท่านเจ้าประคุรสมเด็จฯ ได้เดินทางเข้าในประเทศแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบข่าวเกีรติประวัติในคุณธรรมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงทรงมีรับสั่งนิมนต์ให้เข้าเฝ้า และมีรับสั่งแต่งตั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป้นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิตติ" เมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๙๕ (เวลานั้นท่านมีอายุ ๖๕ ปีแล้ว)...

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ทูลลา และออกจากพระบรมมหาราชวังไป หอบเครื่องไทยทานคือ พัดยศ และย่ามพะรุงพะรัง ใครจะช่วยถือท่านก็ไม่ยอมท่าเดียว พอถึงวัดระฆังฯ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ได้บอกกล่าวกับชาวบ้าน และพระเณรว่า "ในหลวง ท่านให้ฉันมาเป็นสมภารวัดระฆังฯ จ๊ะ" ท่านเจ้าประคุณสมเด้จก็ขึ้นกุฏิ

    ครั้นต่อมาอีก ๒ ปี ถึงปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งให้เลื่อนสมณศักดิ์ "พระธรรมกิตติ" ขึ้นเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ว่าที่ "พระเทพกวี"

    พุทธศักราช ๒๔๐๓ ตรงกับ จศ. ๑๒๒๒ พระอาจารย์อินทร์ พระสหมิกธรรมสายวิปัสสนากรรมฐาน กับสมเด็จฯ ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "พระเทพกวี" เมื่อท่านมาพำนักที่สำนักวัดสลัด วัดมหาธาตุ ในระยะหนึ่ง ก็พาเด้กชายลีศิษย์รักข้ามฟากไปวัดระฆังฯ พาไปกราบ พระเทพกวี (ขรัวโต) เมื่อพระเทพกวีเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ได้พบพระอาจารย์อินทร์สหมิกธรรม เมื่อครั้งเป็นศิษย์พระอาจารย์แสง ลพบุรี ด้วยกัน และได้พระอาจารย์อินทร์เป็นนำทางดินธุดงค์สู่ประเทศเขมร และป่าดงดิบ ดินแดนแถวเขมร และดินแดนทางภาคอีสาน ขรัวโตกับพระอาจารย์อินทร์ จึงมีความสนิทสนมกันมาก เมื่อได้พบกันก็ดีใจ พระอาจารย์อินจึงให้ลูกศิษย์คือเด็กชายลี เข้าไปกราบพระเทพกวี (ขรัวโต)

    ครับ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เด็กจากบ้านป่า จังหวัดสุรินทร์ มีวาสนาได้เดินทางเข้ากรุง และได้มีโอกาสได้กราบ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระเทพกวี" เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ด้วยพระอาจารย์ของท่านที่นำพามาเป็นพระสหมิกธรรมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จวัดระฆัง ฝั่งธนบุรี (พระเทพกวี) พอเห็นลักษณะรูปร่างของเด็กชายลี ที่พระอาจารย์อินทร์ สหมิกธรรมของท่านเดินทางมาไกลมาจากจังหวัดสุรินทร์ นำมาฝากไว้ให้เป็นศิษย์ของท่าน ก็ยินดีนักด้วยลักษณะของเด็กชายลีถูกชะตาท่านนัก จึงได้รับเด็กชายลีไว้เป็นศิษย์ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๐๓ เป็นต้นมา

    เด็กชายลี ลูกชายพรานใหญ่ของพ่อเซียงผา ชาวรัตนะจังหวัดสุรินทร์ จึงอยู่ปรนนิบัติรับใช้ท่านเจ้าพระคุณพระเทพกวี เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    พระเทพกวี ได้ให้ความเมตตาต่อเด็กชายลี ด้วยเป็นผู้ที่มีความอดทน ขยัน สนใจในข้อธรรม จึงอบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาอักขระขอมไทย จนแตกฉาน กอปร์ไปด้วยเด็กชายลี มีพื้นฐานทางด้านการปฏิบัติธรรมมาดี จากพระอาจารย์อินทร์ ที่ท่านได้ถ่ายทอดความรู้ในด้านการปฏิบัติธรรมให้เป็นพื้นฐาน ตั้งแต่เด้กชายลีติดตามท่านเดินทางมาจากจังหวัดสุรินทร์ นานนับปี

    เด็กชายลี จึงเข้าใจในข้อธรรม มีดวงจิตนิสัยในการปฏิบัติธรรม เมื่อได้ปฏิบัติต่อเนื่องกันไป ก็เป็นดั่งสายน้ำไหลอารมณ์แนบแน่นเป็นเอกัคคตา...ด้วยความอดทนขยัน หมั่นเพียรอย่างไม่ย่อท้อต่อการเรียนรู้จึงทำให้พระเทพกวีท่านโปรดนัก อบรมสั่งสอน ถ่านทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้เด็กชายลีได้ล่วงรู้ นอกจากการสอนให้รู้หนังสือ อักขระ ขอมไทย และการชี้แนะอุบายธรรมให้เจริญสมถภาวนา และวิปัสสนา...(ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานสมณศักดิ์ให้ ท่านเจ้าพระคุณพระเทพกวีก้ได้เลื่อนขึ้นเป็น "สมเด็จพุฒาจารย์" ปี พ.ศ. ๒๔๐๗)...

    ณ ในกาลนั้น วัดระฆังฯ หนาแน่นไปด้วยฝูงชน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ลูกหาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ต่างมาร่วมฉลองที่สมเด็จพระเทพกวี...ได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น "สมเด็จพุฒาจารย์ฯ" ณ วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร

    ณ ในงานนี้นั้น มีการบวชพระ บวชเณร ๑๐๘ รูป พร้อมด้วยบวชชีพราหมณ์อีกมากมาย เหล่าคณะศิษย์สมเด็จโตได้ร่วมใจกันจัด

    ในงานนี้เด็กชายลี ไปปลงผมบวชเป็นเณรด้วยเช่นกัน โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ซึ่งเป็นพระอาจารย์เป็นอุปัชฌาจารย์ให้ จึงนับได้ว่า สามเณรลี ได้บวชเป็นสามเณรที่วัดระฆังฯ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๗ จ.ศ. ๑๒๒๖ อายุสามเณรในตอนนั้น ๑๕ ปี

    เมื่อบวชเณรแล้ว ก็ยังรับใช้ใกล้ชิดเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และได้รับการถ่ายทอดวิชาอื่นๆ อีกมากมาย ตลอดเวลาที่อยู่รับใช้สนองงานเจ้าประคุณสมเด็จฯ นอกจากจะเรียนรู้อักขระขอมไทย ยังร่ำเรียนการทำผง "ปถมัง" ซึ่งเป็นปฐมบท หรือเรียกว่าพระสูตรพระเจ้า ๕ พระองค์ "นะ โม พุท ธา ยะ" ต่อจากนั้นก็เรียกผลจากธาตุสี่ อันมี ดิน น้ำ ลม ไฟ

    ๑.อิทธิเจ ธาตุไฟ

    ๒. ฆะเฏสิ ธาตุดิน

    ๓. ตรีสิงเห ธาตุน้ำ

    ๔. มหาพุทธา ธาตุลม

    หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า สูตรนารายณ์สี่กร (นะ มะ พะ ทะ )

    รวมวิชาในการเรียนรู้ทำผงวิเศษให้เกิดขึ้นในโลก ๗ ประการคือ

    ปัถมัง ปฐมบท สูตรพระเจ้า ๕ พระองค์ อันมี นะ โม พุท ธา ยะ

    อิทธิเจ เรียกสูตรธาตุไฟ
    ฆะเกสิ เรียกสูตรธาตุดิน
    ตรีสิงเห เรียกสูตรธาตุน้ำ
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]มหาพุทธา เรียกสูตรธาตุลม[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] มหาราชปิโยมหาราช มหาพุทธา[/FONT]

    ทั้งหมดที่กล่าวมาในเบื้องต้นนี้ เป็นพระสูตรในการทำผงวิเศษ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านนำมาผสมสร้างพระเครื่องที่ทรงคุณวิศิษ ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก

    นอกจากผงวิศิษที่เกิดขึ้นจากอำนาจแห่งมนต์วิศิษในการรวบรวมธาตุทั้ง ๔ ของโลกแล้ว ยังประกอบไปด้วยผลมวลบุปผาชาติที่มีคุณค่าอันวิศิษและผงว่านยาต่างๆ อีกมามาย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ก้ถ่ายทอดให้ศิษย์ ให้ได้เรียนรู้จนสิ้น สามเณรลีได้ใช้ความเพียรจดจำทุกสิ่งทุกอย่างที่พระอาจารย์สมเด็จโต ท่านสอนไว้อย่างเช่น ผงเกษร ๑๐๘ ชนิดอันมีชื่อดังนี้ ฯลฯ...นอกจากเกษรดอกไม้นานาพรรณแล้ว ๑๐๘ แล้ว ยังมีว่าน ๑๐๘ ชนิด ฯลฯ... (รายละเอียดส่วนนี้มีมากขอข้ามไป)

    นับว่าเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของสามเณรลี (หลวงปู่สี) ท่านได้พบครูบาอาจารย์ที่ประเสริฐเป็นยอดนักปราชญ์ราชบัณฑิต มีความรอบรู้ศาสตร์ต่างๆ มากมาย และเป้นผู้สร้างผู้เนรมิตพระสมเด็จที่มีชื่อเสียงโด่งดังขจรขจายไปทั่ว จนได้รับสมญานามว่า "เป็นราชาแห่งพระเครื่อง" สูงด้วยคุณค่านานัปการ เป็นที่เล่าขานสืบทอดต่อกันมาเป็นร้อยๆ ปี ตราบปัจจุบันก็มีการกล่าวขานกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ผู้คนใฝ่หากันอย่างคลั่งไคล้ต่างก้แยกได้ไว้เป็นเจ้าของ

    พระสมเด็จฯ ที่มีความศักดิ์สิทธิ์จนเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับหนึ่งนั้น สืบเนื่องมาจากมวลสารที่ประกอบด้วยผงพุทะคุณ หรือผงวิศิษ คือผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช และผงตรีสิงเห ซึ่งเกิดจากการเขียนสูตรและยันต์อักขระแล้วลบให้เกิดผลอิทธิฤทธิ์อิทธิเดช ซึ่งต้องนำมาเสกโดยบทนมัสการ เขียนแล้วลบๆ เสกๆ วันแล้ววันเล่าจนมากพอที่ใช้ผสมเป้นผงพุทะคุร สำหรับสร้างพระเครื่อง...หลวงปู่สี หรือสามเณรลี ในสมัยเป็นศิย์สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เป็นผู้หนึ่งที่ได้เรียนรู้พระสูตรอันวิศิต่างจากพระอาจารย์จนครบทุกสูตร...

    (พระจอมเกล้าฯ ช่วงทอดพระเนตร "สุริยุปราคา" ที่หว้ากอ)... เดือนกันยายน ๒๔๑๑ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้สร้าง พระสมเด็จนางพญาสีขาว จำนวน ๖๕ องค์ นำขึ้นไปถวายให้พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงรับพระสมเด็จนางพระยาสีขาว ทอดพระเนตรดุพระและทราบถึงจำนวนพระ ก็ทรงตรัสถามขรัวโตว่า "จะกลับพระราชวังทันหรือไม่" ขรัวโตตอบ "เสด็จกลับได้ทันมหาบพิตร"

    พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงทราบถึงปริสนาในการที่ ขรัวโต สมเด็จพระฒาจารย์ (โต) สร้างนางพญาขาว ๖๕ องค์ ถวายให้กับพระองค์ จึงได้เสด็จกลับพระบรมมหาราชวังที่กรุงเทพฯ เมื่อเสด็จกลับสู่กรุงเทพฯ พระองค์ก็ทรงประชวรหลังจากเสด็จกลับได้ ๗ วัน และเสด็จสวรรคต ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ พระชนพรรษา ๖๕ พรรษา เสวยราชได้ ๑๗ ปีเศษ....

    (ก่อนสวรรคตทรงสมาทานศีล และพิจารณาธรรม แล้วกำหนดอานาปนนุสสติภาวนาพุท-โธ ข้าราชบริพารที่อยู่ใกล้ชิดได้ยินพระสุรเสียงภาวนาว่า พุท-โธ ๆๆ เสียงค่อยๆ แผ่วเบาลงๆ ตอนท้ายเหลือคำว่า โธ-โธ ๆๆๆๆ แล้วก็สรรคตอย่างสงบ)

    หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆัง ธนบุรี ท่านเก็บตัวเงียบ ไม่ค่อยออกพบปะญาติโยมเท่าใดนัก

    ในช่วงนี้สามเณรลี (หลวงปู่สี) จึงไม่ค่อยได้ติดตามรับใช้เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ฯ เท่าใดนัก ประกอบกับ "ญาครูอินทร์" กลับจากธุดงค์แวะมาเยี่ยมสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) สามเณรลี จึงถือโอกาสขออนุญาตลาสมเด็จ (โต) กลับไปเยี่ยมโยมพ่อ โยมแม่ ที่จังหวัดสุรินทร์ พร้อมกับ "ญาครูอินทร์" หรือพระอาจารย์อินทร์ สมเด็จท่านก็ทรงอนุญาต
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๓ ลาสิกขาบท ชีวิตวัยหนุ่มที่บ้านเกิด

    ในช่วงนั้นกำลังอยู่ในขณะผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตลง ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ก็เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๑๑ ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ในขณะนั้นพระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

    หลังจากเสร็จงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ญาครูอินทร์พระอาจารย์ จึงพาสามเณรลี เดินธุดงค์บุกป่าผ่าดงข้ามขุนเขาน้อยใหญ่มุ่งสู่จังหวัดสุรินทร์ สามเณรลีเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ สง่างาม ผิวพรรณดี ผิดกับหนุ่มชาวบ้านทั่วไป เมื่อกลับมาเห็นครอบครัว โยมพ่อ โยมแม่ลำบาก ก็ขออนุญาต "ญาครูอินทร์" สึกออกมาเพื่อช่วยพ่อแม่ทำงาน ญาครูอินทร์ ได้ตรวจดูดวงชะตาของสามเณรลี ซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๘ ย่างขึ้น ๑๙ ปี ว่าชะตาจะต้องเกี่ยวกับพันทางโลก เมื่อพ้นภาวะกรรมก็จะบวชไม่สึก และจะสำเร็จในบั้นปลายชีวิต จึงได้สึกให้ตามคำขอ

    หนุ่มลี เป็นชายหนุ่มวัยฉกรรจ์ รูปร่างสง่างามสูงใหญ่ สมลักษณะชายชาติทหาร หนุ่มลีช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำมาหากินด้วยความขยันขันแข็ง เป็นคนใจนักเลง มีลูกน้องมากมาย นอกจากทำไร่ทำนา ก็รับจ้างคุมฝูงวัวไปขายต่างจังหวัด ซึ่งเป็นอาชีพของคนกล้าในยุคนั้น หนุ่มลี ใช้ชีวิตในวัยหนุ่มฉกรรจ์ ท่องเที่ยวไปในดินแดนต่างๆ อย่างโชกโชน กับอาชีพค้าวัวในต่างแดน โดยเฉพาะในดินแดนทางภาคอีสาน

    ลุปี พ.ศ.๒๔๑๕ หนุ่มลีจึงขอลาพ่อเซียงผา และแม่ข้อล่อ ออกเดินทางไปเยี่ยมอาซึ่งเป็นน้องชายของพ่อที่หนองแค จังหวัดสระบุรี พ่อแม่ก็ไม่ขัดข้อง เพราะเห็นว่าโตเป็นหนุ่มใหญ่แล้ว หนุ่มลีจึงเดินทางจากบ้านหมกเต่า ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ไปอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ช่วยน้าทำไร่ ค้าของป่า อยู่ไม่นานประมาณสัก ๑ ปี ก็ทราบข่าวว่า ทางกรุงเทพฯ เมืองหลวงจะมีงานสมโภชน์ใหญ่ในจิตใจของความเป็นหนุ่ม อยากจะเข้าไปเที่ยว และจะแวะไปเยี่ยมพระอาจารย์ด้วยที่วัดระฆังฯ ไม่ทราบว่าขณะนี้สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านจะเป็นอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ท่านจากมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๑ ก็ไม่ทราบข่าวอย่างไรเลย จึงขออนุญาตน้าชายไปงานฉลองเมืองที่กรุงเทพฯ

    พ.ศ. ๒๔๑๖ หลังปีใหม่แล้ว หนุ่มลีกับเพื่อนหนุ่มบ้านหนองแค สระบุรีก็เดินทางสู่กรุงเทพฯ พอถึงกรุงเทพฯ ก็รีบตรงไปวัดระฆังฯ ฝั่งธนบุรี เพื่อไปกราบสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พระอาจารย์ของท่านในสมัยที่ท่านบวชเณรอยู่ด้วยสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) เย็นวันนั้นหนุ่มลีไปถึงวัดระฆัง พอย่างเหยียบเข้าบริเวณวัดมันช่างเงียบสงบ จึงตรงไปกุฏิพระพุทธบาทปิลันท์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ใหญ่องค์หนึ่งที่สมัยหนุ่มลีบวชเป็นสามเณร และเคยรับใช้ใกล้ชิดพระพุทธบาทปิลันท์ ก็ทราบว่า สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ท่านมรณะภาพแล้วตั้งแต่ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕ เวลา ๒๔ นาฬิกา อายุได้ ๘๕ ปี มีพรรษา ๖๕ พรรษา หลังจากรัชกาลที่ ๕ ครองราชได้ ๕ ปี หนุ่มลีอยู่ในอาการเศร้าโศกเพราะทราบข่าวว่าอาจารย์มระภาพแล้ว โดยท่านมิได้ทราบเรื่องเลย เพราะช่วงเวลานั้น ท่านได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน ในบ้านป่าเมืองสุรินทร์ จึงไม่ทราบการทราบการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในเมืองหลวง ในช่วงนั้นท่านจึงพักอาศัยกับพระอยู่วัดระฆังฯ

    จวบจนวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ หนุ่มลีได้มีโอกาสไปชมงานอุปสมบทเป็นพระของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๕ เป็นงานหลวงใหญ่มากที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา พระองค์ทรงลาสิกขามาปกครองบ้านเมืองในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๑๖ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้ทำพิธีราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ ขึ้นครองราชอย่างสมบูรณ์ หนุ่มเคยมีโอกาสได้ชมงานสำคัญๆ ของบ้านเมืองในยุคนั้น
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๔ เป็นทหารอาสากองหน้ากล้าตาย ในศึกปราบฮ่อ ฉายา "เสือหาญ"

    ...ปีพุทธศักราช ๒๔๑๘ ข่าวกองทัพไทยจะยกขึ้นไปปราบพวกฮ่อ ก็แพร่กระจายไปทั่วเมือง หนุ่มลีพอทราบข่าวศึก และทราบว่ามีการรับอาสาสมัคร และเกณฑ์กำลังไปรบ หนุ่มลีจึงเข้าไปสมัครเป็นทหารไปรบกับฮ่อ โดยได้เข้าไปอยู่ในสังกัดของเจ้าพระยาภูธราภัย ได้มีการทดสอบความรู้ความสามารถในวิชาการต่อสู้ ความรู้ทางเวทย์มนตร์ มีความคงทนต่ออาวุธ มีวิชาคงกระพันชาตรี ความรู้ทางอาชา ทางคชศาสตร์เพื่อคัดเข้าอยู่กองหน้ากล้าตาย

    ปรากฏว่า หนุ่มลีได้รับคัดเลือกให้อยู่ในหน่วยอาสากล้าตายระดับแนวหน้า เพราะหนุ่มลีมีรูปร่างแข็งแรงใหญ่โต มีวิชาความรู้ในเรื่องป่าดงพงพี มีความรอบรู้ในคชศาสตร์ และวิชาอยู่ยงคงกระพัน เป็นที่โปรดปรานของเจ้าพระยาภูธราภัย การเดินทัพผ่านป่า จะต้องอาศัยกองทัพช้างเป็นกำลังสำคัญ หนุ่มลีเป็นชาวสุรินทร์ มีพ่อเป็นพรานใหญ่ จึงมีความรอบรู้ในวิชาคชศาสตร์ จะเห็นได้ว่า หนุ่มลีมีความผูกพันกับช้างมานานนับตั้งแต่บรรพบุรุษ...

    หนุ่มลีเป็นชาวเมืองสุรินทร์ เชื้อสายกุย จึงเป็นผู้ที่มีความห้าวหาญ มีความรู้ความสามารถรอบตัว ทั้งเรื่องวิทยายุทธมีดดาบ หมัดมวย ปืนผาหน้าไม้ เวทย์มนต์คาถา อยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะชำนาญไพร จึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการรบครั้งนี้ โดยเฉพาะการควบคุมช้าง ในการเดินป่า และการรบ

    ซึ่งการรบในครั้งนี้ ทั้งกองหน้าของเจ้าพระยาภูราภัย ควบคุมกองทัพโดย พระยามหาอำมาตย์ กับพระยานครราชสีมา ช่วยกันตีทัพพวกฮ่อธงคำที่ยกกำลังมา จะตีเมืองหนองคาย พวกฮ่อถูกทัพไทยตีแตกย่อยยับ ถึงขั้นรบประจันบานกัน พวกฮ่อเสียขัวญมากเพราะทหารไทยกองหน้าอยู่ยงคงกระพันยิงฟันไม่เข้าไม่ตาย อีกทั้งมีฝีมือจิตใจห้าวหาญมีขัวญกำลังใจดี ฝ่ายพวกฮ่อล้มตายเป็นใบไม้ร่วง ต่างแตกพ่ายร่นหนีไปอย่างยับเยิน

    ส่วนพระยาพิไชย กับพระสริยะภักดี ก็ช่วยกันตีทัพฮ่ออีกทัพหนึ่ง ที่ยกไปตีเมืองหลวงพระบางแตกพ่ายยับเยินเช่นกัน การรลปราบฮ่อครั้งนี้ ทหารลีได้แสดงฝีมือให้เพื่อนทหารไทยได้ประจักษ์ ทั้งนายทหารและเพื่อนที่ทหารที่ไปรบในฝีมือการรบ และความอยู่ยงคงกระพันยิงฟันแทงไม่เข้า ไม่มีอาวุธใดระคายผิวได้

    ความห้าวหาญของพลทหารลีและทหารที่ไปรบชนะพวกฮ่อในครั้งนี้ ต่างก็ได้รับความดีความชอบทั่วหน้ากันทุกคน โดยเฉพาะพลทหารลี ได้เลื่อนเป็นทหารคนสนิทติดตามรับใช้ใกล้ชิดท่านเจ้าพระยาภูธราภัย ให้ความเมตตารักใคร่หัวหมู่ลี เพราะท่านเจ้าพระยาเห็นว่าหัวหมู่มีความรู้ ความสามารถ รูปร่างดี บวชเรียนมาแล้ว และทราบว่า เคยเป็นลูกศิษย์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ท่านก็ยิ่งโปรดเป้นพิเศษกว่าคนอื่นๆ

    หัวหมู่ลี เป้นทหารรับใช้ใกล้ชิดเจ้านาย ท่านเจ้าพระยาภุธราภัย ท่านเมตตาหัวหมู่ลีนัก เวลาท่านเรียกใช้ให้ติดตามไปราชกาลในต่างแดน ท่านก็ไว้ใจให้ติดตามไปด้วย เวลาท่านเรียกท่านก็จะเรียกหัวหมู่ลีว่า "ไอ้เสือหาญ" ตลอดมา ในคำว่า "เสือหาญ" นี้มีลูกหลานหลายท่านไม่ทราบว่า เป็นฉายานามของท่าน (หลวงปู่สีตอนเป็นทหารรับใช้ชาติ) คิดว่าท่านเป็นไอ้เสือห่าคนมามาก ความจริงแล้ว ท่านเป็นยอดนักรบผู้กล้า ท่านเจ้าพระยาเมตตารักใคร่ เวลาเรียกใช้ให้ติดตามก็จะเรียกว่า "ไอ้เสือหาญ"

    หัวหมู่ลี เป็นคนขยันรับใช้เจ้านายด้วยความซื่อสัตย์มั่นคง ติดตามท่านเจ้าพระยาไปงานราชการในต่างเมืองหลายครั้ง และได้แสดงความสามารถในกิจการงาน ที่ท่านเจ้าพระยามอบให้ทำสำเร็จลุล่วงด้วยตลอดมา ต่อมาหัวหมู่ลาได้รับการคัดเลือก และการสนับสนุนของท่านเจ้าพระยาภูธราภัยให้เป็น "ตำรวจหลวง" คอยติดตามเสด็จและปราบปรามโจรผู้ร้าย
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]สู่ทางสงบ[/FONT]​

    หลวงปู่สีท่านรับใช้ราชการทหาร และตำรวจอยู่นานนับสิบปี ท่านได้พบเห็นอะไรมากมาย ได้รับความดีความชอบทางราชการสูงขึ้นตามลำดับ ในที่สุดท่านก็เกิดความเบื่อหน่ายต่อชีวิตการงานทางราชการ และสังคมความเป็นอยู่ทางฆราวาส และเริ่มมีจิตใจหันเหสู่ทางธรรม อันเป็นจิตสำนึกส่วนลึกของท่าน ยามใดที่ท่านว่างจากราชการ และติดตามรับใช้เจ้านายผู้ใหญ่ ท่านจะเข้าวัดสลักข้างวังหลวงมาสนทนาธรรมกับพระทางภาคอีสาน ด้วยวัดสลีก (วัดมหาธาตุ) มีพระทางอีสานมาอยู๋ปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ท่านส่งเสริมพระปฏิบัติธรรมที่เคร่งครัดในพระวินัย

    ยามที่ท่านอยู่คนเดียว ท่านก็ระลึกถึงว่า ที่ผ่านมาท่านได้ใช้ชีวิตมาอย่างโชกโชนในทางโลก เป็นทั้งพรานป่า เด็กวัด นักเลง พ่อค้า ทหาร ออกรบสู้ศึกฆ่าศัตรูของชาติล้มตายมามากมาย เป็นตำรวจปราบโจรผู้ร้าย ต่อสู้กับความดี ความชั่วมาสารพัดมากมาย จนเกิดความเบื่อหน่ายในโลกีวิสัย โดยท่านมองเห็นว่า ชีวิตที่ผ่านมาไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร สมควรที่จะหันเหชีวิตเข้าพึ่งความสงบ ท่านจึงพยายามหาโอกาสไปตามวัดต่างๆ ที่มีพระอาจารย์ที่เคร่งครัดปฏิบัติธรรม มีปฏิปทา รอบรู้ในพระธรรม ประกอบกับท่านมีพิสัยในทางปฏิบัติรรมเป็นพื้นฐาน ท่านจึงศึกษาเข้าถึงธรรมอย่างถ่องแท้
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๕ : สมณวิสัย > สู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์

    ปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ หลวงปู่สีท่านจึงลาออกจากทางราชการในตอนนั้น ท่านมีอายุได้ ๓๙ ปี เมื่อออกจากราชการ ท่านก็เดินทางไปเยี่ยมญาติของท่านที่จังหวัดสระบุรี ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางไปบ้านเส้า (อยู่ในอำเภอบ้านหมี่ ในปัจจุบันนี้) ท่านได้อุปสมบทที่วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๓๑ อายุได้ ๓๙ ปี พระครูธรรมขันธ์ เป็นพระอุปปัชฌาย์ หลังจากที่ได้บวชเป็นพระแล้ว ท่านก็ขอสมาทานธุดงควัตร จากพระอุปัชฌาย์ของท่าน พระอาจารย์ของท่านเห็นว่าเคยบวชเรียนเป็นสามเณรมาแล้ว เป็นผู้ใหญ่ มีความรู้ความสามารถ จึงอนุญาตให้หลวงปู่สี ท่านออกธุดงค์ตามประสงค์ ท่านจึงตัดสินใจเข้าไปอยู่ในป่าเขาลำเนาไพรก่อนที่จะเข้าพรรษา จึงออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำเขาไม้เสียบ ตำบบลช่องแค อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาท่านจึงออกธุดงค์ ในขณะที่จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำเขาไม้เสียบ มีพระภิกษุทางเหนือมาจำพรรษาอยู่ด้วย ได้เล่าเรื่อง "พระบาทสี่รอย" ให้ท่านฟัง ทำให้ท่านเกิดความคิดที่จะไปนมัสการ "พระบาทสี่รอย"

    มีพระบางรูปพูดให้ท่านฟังว่า การเดินทางไปนั้นมีอันตรายนานาประการ การเดินทางเป็นการเสี่ยงอันตรายต่อไข้ป่า และสัตว์ร้ายนานาชนิด พระภิกษุหนุ่มมิได้กลัวด้วยดวงจิตที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นกุศลจิต มุ่งอุทิศเพื่อพุทธศาสนา แผ่เมตตาธรรมแก่สรรพสัตว์อย่างไร้ขอบเขต มุ่งลดละกิเลสด้วยสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน...

    พระพุทธบาทสี่รอย
    ...พ.ศ. ๒๔๓๒ หลังจากออกพรรษา และรับกฐินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุลี (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ) ท่านได้ออกเดินทางไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยที่เชียงใหม่ การเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องเดินทางเข้าป่าดงลึก บางครั้งก็ต้องปีนป่ายขึ้นๆ ลงๆ ตามขุมเขาต่างๆ บางแห่งเป็นป่ารกลึกๆ ก็ยากที่จะพบผู้คน...

    การเดินทางครั้งนั้นมีอยู่ช่วงหนึ่ง ในป่าลึก ผู้คนไม่มีอาศัยอยู่ ท่านต้องอดอาหาร ไม่มีอะไรให้ฉันถึง ๑๑ วัน นัยว่าเทพยดาในป่าเขา ได้ทดลองจิตของท่านว่ามีความเข้มแข็งสักปานใด จึงทำให้เดินหลงป่า ไม่พบผู้คน อดอาหารอยู่ถึง ๑๑ วัน จนวันหนึ่งในขณะที่กำลังวังชาของท่านใกล้จะสิ้นลงนั้น ก็บังเอิญได้พบชายหญิงคู่หนึ่ง กำลังนั่งกินยาลูกกลอนอยู่ ส่งกลิ่นหอมชื่นใจ หญิงชายทั้งสองพอเห็นพระธุดงค์เดินมาก็ออกปากนิมนต์ พร้อมทั้งนำยามาถวายให้ ๑ ช้อน พระภิกษุลี ก็รับยาจากโยมถวายมาปั้นเป็นลูกกลอน (ลูกกลม) ได้ ๑ ลูก ท่านผลพุดทรา มีกลิ่นหอมประหลาดๆ ท่านจึงฉันพร้อมน้ำ ๑ กระบอก พอกลืนยาลงไปตกถึงท้อง ก็มีอาการประหลาดมหัศจรรย์เสมือนหนึ่งมีพลังความร้อนแผ่กระจายไปทั่วขุมขน ท่านจึงพริ้มตาหลับลงด้วยลักษณะทำสมาธิสักอึดใจ ท่านก็ลืมตาขึ้น แต่เป็นที่ประหลาดนัก ปรากฏว่า ชายหญิงคู่นั้นที่นั่งอยู่ตรงหน้าหายไป

    ท่านก็มองหารอบๆ ที่นั่น ก็ไม่ปรากฏร่างของชายหญิงคู่นั้น ท่านจึงให้ศีลให้พรแก่เทพยดาที่ถวายยาให้ท่าน ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางไปพระพุทะบาทสี่รอย
    พบช้างป่า

    ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ไปนมัสการพรพุทธบาทสี่รอย ตอนเช้าท่านก็ได้ไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยเป็นประจำทุกวัน แต่น่าประหลาดบริเวณรอยพระพุทธบาทสะอาดเรียบร้อยไม่เปรอะเลื้อน ทั้งๆ ที่ไม่คนอยู่ทำความสะอาด ต่อมาก็ได้ เห็นช้างป่าหลายเชือกมาทำความสะอาดในตอนเช้าเป็นประจำ โดยการใช้งวงปัดเป่าทำความสะอาดได้อย่างยอดเยี่ยม

    ท่านเล่าว่า ด้วยการที่อยู่ใกล้กัน และเห็นกันอยู่ทุกวันเป็นประจำ ทำให้ช้างเหล่านั้นเกิดความสนิทสนมกับท่านเป็นอย่างดี จนในเวลาต่อมาช้างเหล่านั้นได้นำหัวบัวบ้าง กระจับบ้าง และน้ำอ้อยมาถวายท่านได้ฉันอย่างไม่ขาด ช้างเหล่านั้นมันปฏิบัติได้เหมือนคนไม่มีผิด แม้พวกช้างเหล่านั้นจะเป็นช้างป่าก็ตาม แต่ก็เชื่องเหมือนช้างบ้าน

    เมื่อท่านได้นมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและปฏิบัติธรรมนานพอสมควรแล้ว ท่านจึงเดินทางกลับเพื่อไปแสวงหาความวิเวกที่อื่นต่อไป ในวันที่ท่านเดินทางกลับนั้น หลังจากฉันอาหารที่เหล่าฝูงช้างป่านำมาถวาย และบอกว่าวันนี้ท่านจะเดินทางกลับแล้ว ช้างป่าเหล่านั้นก็พร้อมใจกันเดินทางมาส่งท่านที่เชิงเขาด้วยความอาลัย

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่หลวงปู่เดินธุดงค์ไปในป่าลึก ขณะที่หลวงปู่เดินอยู่ในป่าดงดิบนั้น ท่านก็ได้พบช้างโขลงใหญ่ ช้างป่าทุกเชือกมีลักษณะโหดร้าย โดยเฉพาะเชือกจ่าฝูง รูปร่างสูงใหญ่งายาว มันยืนจ้องมองมายังหลวงปู่ พอหลวงปู่เห็นท่านก็ยืนสงบแผ่เมตตาให้พญาช้าง และทุกๆ เชือกในโขลงนั้น...พลันเชือกที่เป็นหัวหน้าโขลง ก็ชูงวงขึ้นพร้อมเปล่งเสียงร้องดังก้องป่า ในสภาพบรรยากาศเช่นนี้หากไม่ใช่หลวงปู่แล้ว นับว่าเป็นช่วงที่น่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างยิ่ง แต่หลวงปู่ท่านอยู่ในอาการสงบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

    พอสื้นเสียงร้องก้องกังวาลของหัวหน้าโขลง ช้างป่าทุกเชือกก็ย่อตัวลงหมอบอยู่กับพื้นพร้อมชูงวงขึ้น ประหนึ่งเป็นการแสดงคารวะอย่างน้อมน้อมต่อหลวงปู่สี ผู้มีเมตตาธรรมและความบริสุทธิ์ ต่อจากนั้นหัวหน้าโขลงก็เดินเข้ามาหมอบอยู่ตรงหน้าท่าน ต่อจากนั้นช้างอีกเชือกก็เข้ามาใช้งวงช้อนร่างหลวงปู่ให้ขึ้นไปนั่งบนคอของหัวหน้าโขลง ทุกอย่าเป็นไปอย่างอัศจรรย์ยิ่ง ต่อจากนั้นมันก็ลุกขึ้นเดินนำโขลงไปส่งท่าน ผ่านป่าดงดิบจนถึงชายป่า

    ตอนเช้าวันหนึ่ง พวกชาวบ้านป่าได้มาพบเห็นเหตุการณ์มหัศจรรย์เช่นนั้น ต่างก็ก้มลงกราบหลวงปู่ และนำอาหารมาถวาย ถามหลวงปู่ว่าทำอย่างไรช้างป่าจึงไม่ทำร้าย และยังมาส่งหลวงปู่อีก

    ชาวบ้านเขตชายแดนไทยพม่า ทราบดีมาช้างป่าโขลงนี้เป็นช้างป่าที่โหดร้ายที่สุดในแถบนั้น แต่น่าอัศจรรย์ที่ช้างป่าไม่ทำร้ายหลวงปู่สี หลังจากหลวงปู่สีฉันอาหารเสร็จ ท่านให้ให้ศีลให้พรชาวบ้านป่า และถามถึงเส้นทางที่จะเดินทางไปแผ่นดินพม่า
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๖ : นมัสการพระมหาเจดีย์ชะเวดากอง, เทพธิดาฟังธรรม

    ภายหลังที่ได้เดินทางบุกป่ารกชัฏ ท่องป่า ข้ามภูเขา และห้วยละหานเหวไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และเจดีย์สำคัญทุกแห่งในเมืองไทยแล้ว หลวงปู่สีก็ได้ยินคำเล่าลือว่า ในประเทศพม่ามีเจดีย์สำคัญสูงใหญ่ ชื่อ มหาเจดีย์ชะเวดากอง ท่านก็เกิดความกระตือรือร้นใคร่จะไปนมัสการทันที แต่เมื่อได้ปรารภเรื่องนี้ให้เพื่อภิกษุฟัง ส่วนมากก็ทักท้วงให้ระงับยับยั้งไม่อยากให้ไป ต่างอ้างเหตุผลว่า หนทางมันไกลนัก เป็นเมืองต่างด้าวพูดไม่รู้เรื่อง ประการสำคัญถนนหนทางที่จะไปก้ไม่มีเป็นเส้นสายแน่นอน นอกจากจะต้องเดินวกเวียนเลี้ยวลัด และมุดลอดไปตามดงทึบ หรือป่าเถาวัลย์ ไม้พุ่มไม่เลื้อยนานาชนิด ด่านแรกที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องบุกฝ่าไปในดงป่า ซึ่งครั้งกระนั้นรกชัฏ ยามร้อนก็ร้อนจัด ยามเย็นก็เย็นยะเยือก และชื้นแฉะ จนได้รับสมญานามว่า ดงผีห่า ป่าดงดิบ

    ผู้เดินทางผ่านดงทั้งสอง ซึ่งมีความยาวนับร้อยกิโลเมตร มีสภาพปกคลุมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ เป็นดงทึบจนมองไม่เห็นแสงแดด เต็มไปด้วยไม้เลื้อยพัวพันกันเป็นพืด เหมือนแนวกำแพงชั้นแล้วชั้นเล่าไม่สิ้นสุด

    นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยหินแหลม หินคม โขดเขา หุบเหวใหญ่น้อย เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด...มีโรคภัยเฉพาะจากดงใหญ่มหาก่ฬซึ่งขึ้นชื่ว่าเป็นดงผัห่ามหาประลัย..ใครจะชักแม่น้ำทั้งห้ากีดกันขัดคออย่างไรไม่เป็นผล หลวงปู่ไม่เถียง ไม่แม้แต่จะหาเหตุผลใดมาเข้าหักล้าง เป็นแต่เพียงหัวเราะ หึ หึ หึ ตีหน้าตายเสมือนมิได้แยแสต่อสรรพสิ่งน่าสยดสยองหวาดกลัวตามคำบอกเล่าเหล่านั้นแม้แต่น้อยนิด...

    ในครั้งนั้น พ.ศ. ๒๔๓๓ พระภิกษุลี (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ) ท่านได้พบกับพระภิกษุศุข (หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า) พระภิกษุกลั่น (หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ อยุธยา) ทั้งสามองค์ได้ร่วมกันเดินธุดงค์เข้าสู่พม่า.. ทั้งสามองค์ก็มิได้หวั่นไหว แม้บางครั้งจะพบกับเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว

    การเดินธุดงค์ครั้งนั้น ท่านไม่กลัวอด ไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวตาย ท่านจึงสามารถผ่านอุปสรรคนานัปการ ด้วยท่านแจ้งในสัจธรรม "อันรูปกายเกิดของมนุษย์ และปวงสรรพสัตว์ ก็มีความตายนี่แล เป็นความเที่ยงแท้ ชีวิตตาย เกิด ทุกรูป ทุกนาม พึงต้องประสบ" คติธรรมนี้หลวงปู่ท่านอบรมสั่งสอนให้ลูกศิษย์พึงระลึกอยู่เสมอ จะได้ไม่ประมาท ไม่กลัวโดยเฉพาะความตาย...

    ในที่สุด หลวงปู่สี หลวงปู่กลั่น หลวงปู่ศุข ก็เดินทางฝ่าพ้นอันตรายนานัปการ จนในที่สุดท่าก็ไปกราบพระมหาเจดีย์ชะเวดากอง หลังจากนั้นท่านก็เดินทางกลับ และได้แยกทางกับหลวงปู่กลั่นในเวลาต่อมา ส่วนหลวงปู่ศุขท่านก็แยกทางไปอีกทางหนึ่ง

    หลวงปู่ศุขท่านมีภาระต้องกลับวัดเพราะท่านเป็นเจ้าอาวาสวัด..ส่วนหลวงปู่กลั่นท่านก็กลับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และครองวัดพระญาติในการต่อมา หลวงปู่สีนั้นท่านก้สมัครใจที่จะอยู่ป่าต่อไป ท่านจึงออกเดินะดงคือยู่ตามป่าต่อไปตามความปรารถนาของท่าน

    เทพธิดามาฟังสวดมนต์

    กาลต่อมาลูกศิษย์ของหลวงปู่ ยามใดที่เห็นหลวงปู่ว่างจากการปฏิบัติธรรม ก็มักจะให้หลวงปู่สีเล่าเรื่องราวต่างๆ ในการเดินธุดงค์ของท่านว่าได้พบเห็นอะไรบ้าง

    ศิษย์ : "หลวงปู่ครับ เวลาที่หลวงปู่เดินธุดงค์ในป่าลึกๆ ที่ไม่มีบ้านคนอยู่ ไม่มีผู้คนอาศัย แล้วหลวงปู่จะไปบิณฑบาต กับใครที่ไหนครับ?"

    หลวงปู่ : "การบิณฑบาตเป็นกิจของสงฆ์ สงฆ์แม้จะอยู่ในที่ใดก็ตามก็ต้องบิณฑบาตตามปกติ การบิรฑบาตในป่า ก่อนที่จะออกบิณฑบาต พระทุกรูปที่ปฏิบัติอยู่ในป่าจะต้องเข้าสมาบัติ แผ่เมตตา มีพรหมวิหารสี่เป็นอารมณ์ จากนั้นก็ออกบิณฑบาตไปตามป่า ก็จะมีคนนำข้าว นำอาหารมาใส่บาตร แปลกอยู่ที่ว่า ผู้ที่มาใส่บาตรนั้นแต่ละคนบขาตรพวกเขาก้จะมาใส่กัน"

    พระที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ไปอยู่ไหน ณ ที่แห่งใดก็ไม่ทุกข์ยาก ย่อมมีเทพยดาสงเคราะห์ ไม่เฉพาะแต่พระสงฆ์เท่านั้น แม้แต่พวกฆราวาสก้เช่นกัน หากทำดี เทวดาก็จะดูแลรักษาช่วยเหลือกัน เทวดาตามป่าเขา เขาชอบฟังธรรม เวลาพระทำวัตรสวดมนต์พวกเทพยดาก็จะพากันมาฟัง บ้างก็กล่าวว่า "ท่านเจ้าขา ท่านสวดมนต์จนเสียงมนต์สะเทือนไปทั่ว นานๆ จะมีพระมาโปรด ขอท่านได้โปรดกรุณาเทศนาด้วยเถิดเจ้าค่ะ"...

    หลวงปู่ท่านเล่าว่า พวกเทวดาบางพวก เขาก็ชอบฟังบทพระธัมมจักรกัปวัตนสูตร บางหมู่ก็ชอบกรณีเมตตาสูตร เวลาพระสวดมนต์ หรือเทศน์จบ จะได้ยินเสียงสาธุพร้อมๆ กัน เสียงก้องกังวาลน่าฟัง ต่อจากนั้นก็กราบลงพร้อมกันอย่างงดงาม

    "หลวงปู่ท่านพยายามย้ำอยู่เสมอว่า นรกสวรรค์มีจริงนะ"

    ในเรื่องของนรก สวรรค์ ที่หลวงปู่สี และนักปฏิบัติธรรมชั้นสูงกล่าวย้ำว่ามีจริง อย่าประมาทนั้น ก็เป็นจริง ในส่วนตัวผมเองนั้นสิ้นสงสัยมานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่ปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่นาควัดระฆังโฆสิตาราม ฝั่งธนบัรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ก็ได้ประจักชัดเจน...
    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่หลวงปู่เทศน์โปรดเทพยดา

    "คุณโยมเทพบุตร เทพธิดาทั้งหลาย ผู้มีความปิติสุข ความอิ่มเอิบในทิพยสมบัติเป็นเครื่องอยู่ เป็นผู้นิราศแล้วจากทุกข์ทั้งปวง แม้กระนั้นคุณโยมก็มิได้อยู่ในความประมาท หลงอยู่ในทิพยสมบัติ มีจิตใจปรารถนาจะได้รับรสพระธรรม เป็นที่น่ายินดีอนุโมทนาด้วยความปรารถนากุศลธรรมนี้ เป็นบุญที่ควรอนโมทนาอย่างยิ่ง

    คุณโยมทั้งหลายที่เสวยทิพยสมบัติอยู่ จงพิจารณาให้ดี จะเห็นว่ายังเป็นโลกที่ไม่มีแก่นสาร อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นโรคไม่มีตัวตน เป็นแต่แสงสว่างแผ่ซ่านอยู่ อันเป็นโลกที่ละเอียดอ่อนด้วยอำนาจของจิตที่เป็นกุศล ให้โยมปรากฏให้อาตมาได้เห็น ก็ด้วยอำนาจของจิตอธิษฐาน

    จิต เป็นนามธรรม ไม่มีรูปที่จะประกอบกรรมดี หรือชั่วได้อย่างมนุษย์ แต่จิตก็สามารถบริจาคทาน เจริญสมาธิ รักษ
    าศีลได้เช่นกัน คุณโยมผู้เป็นเทพทั้งหลายพึงใช้จิตบริจาคทาน จิตรักษาศีล ใช้จิตเจริญสมาธิ

    การบริจาคทานด้วยจิต ก็คือให้ความกรุณา ให้ความเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย นับได้ว่าเป็นทานบารมีอันยิ่งใหญ่

    ศีล ก็ย่อมรักาได้ด้วยจิต จิตของคุณโยมเป็นกุศลจิตจึงนับได้ว่า ได้รักาศีลไว้โดยสมบูรณ์

    สมาธิ ก้คือทำจิตให้ตั้งมั่นอะไร ที่อุบายให้จิตตั้งมั่นก็คือการตามระลึกถึงอนุสติ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีนึกภาวนาถึงพระพุทะเจ้า พระธรรม เป็นต้น จิตภาวนาพุทโธ ให้เป็นอารมณ์จิตอยู่สม่ำเสมอต่อเนื่อง กุศลธรรมก็จะสูงขึ้นตามลำดับ

    เมื่อคุณโยมผู้เป็นเทพได้ตระหนักชัดว่าความเป็นเทพนั้นยังเป็นโลกียสมบัติ เป็นสิ่งสมมุติไม่คงทนถาวร เสื่อมได้ หมดได้ สิ้นไปได้ ก็จงอย่ามีความประมาท เวลาสรรค์แม้จะยาวนานกว่าโลกมนุษย์ถึงร้อยเท่า พันเท่า จะพ้นจากไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้นไม่ได้สิ่งสมมุติทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วย่อมดับ จงขวนขวายละสมบัติไปสู่ วิมุตติ เถิด จึงจะพ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร"

    หลวงปู่สี ท่านมิได้ยึดอยู่กับที่ ท่านจะธุดงค์แสวงหาความวิเวกไปยังสถานที่ต่างๆ พร้อมทั้งโปรดเทพเทวา สรรพสัตว์ และมนุษย์ ไปยังดินแดนต่างๆ อันเป็นการปฏิบัติตามครูบาอาจารย์แต่เดิมมา...
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๗ : โปรดญาติโยม, เทวดาบอกเหตุ, ป่าหลวงพระบาง, ผจญเสือโคร่ง, บรรลุธรรม

    โปรดญาติโยม

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ นอกจากท่านจะอบรมสั่งสอนธรรมกับชาวบ้านตามที่ทุรกันดาร ตามป่าดงพงเขาเป็นกลุ่มชนที่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งมีพระน้อยรูปที่จะเข้าไปอบรมสั่งสอน เพราะผู้คนนักบวชส่วนใหญ่ ขอบที่จะอยู่ในถิ่นที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่า นอกจากชาวบ้านทุ่ง ชาวบ้านป่าก็พวกเทพเทวาอารักษ์ และพระเณรผู้ปฏิบัติธรรม หลวงปู่ท่านมีอุบายธรรมในการอบรมสั่งสอนอย่างลึกซึ้ง ท่านจะยกพระธุดงค์ พระธรรมของพระพุทธองค์เป็นคำสอน เป็นผู้สืบทอดต่อ เช่น การอบรมพระเณรในเรื่องการเดินบิณฑบาต

    พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้เดินบิณฑบาต เดินจงกรม เดินธุดงค์ เป็นการรักษาสุขภาพร่างกาย ทำให้ไม่เมื่อยขบ ไม่หนาวเวลาเดิน ท่านให้เดินอย่างสำรวม เดิยอย่างมีสติ เอาจิตจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เวลาเดินจะแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ หรือไม่ก้ภาวนามนต์บทใดบทหนึ่ง อย่าง เช่น "สัมมาอรหัง" หรือ "พุทโธ"

    เวลาเข้าไปรับบาตร ก็ให้มองพิจารณาในบาตร เพื่อมิให้สายตาสอดส่าย เพื่อมิให้จิตปรุงแต่ง การคิดปรุงแต่งย่อมเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต ถ้าตาไปเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส แม้ไม่ได้สัมผัส จิตมันก็ปรุงแต่งจากสัญญาขึ้นมาได้ เมื่อสัมผัสแล้วทำอย่างไร เมื่อจิตเกิดปรุงแต่งท่านให้พิจารณาถึงสิ่งตรงกันข้ามเสีย ความสวยที่สุดมันก็ไม่สวยได้ ยามชราเนื้อหนังมังสามันก็เหี่ยวย่น ยามตายผิวมันก็จะบวมฉุ แตกปริเน่าเฟะ ส่งกล่นเหม็นมันจะสวยไหม ท่านบอกไว้ทุกอย่างทุกทาง แม้กระทั่งเจ้าความอยากในกามคุณมันก็ยังเล็ดลอดออกไปได้ ท่านก้สอนให้มีสติ คอยระวังรักาจิต คอยรู้เท่าทันอารมณ์กิเลส

    คำสอนของพระองค์ แม้จะประเสริฐยอดเยี่ยมอย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติด้วยตนเองแล้วยากที่จะพ้นทุกข์ได้ ถึงเราจะประกอบงานอาชีพอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ทำด้วยตัวเอง อาศัยจมูกคนอื่นหายใจคอยให้เขาทำให้ ก็จะไม่เกิดผลแก่ตน ธรรมปฏิบัติที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้ เราต้องรู้ด้วยตนเอง เห็นด้วยตนเอง จึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งถึงทางพ้นทุกข์นั้น การตอยแทนคุณท่านก็คือปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์...
    เทวดาบอกเหตุ
    คืนวันหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่สีนั่งบพเพ็ญสมาธิภาวนาอยู่นั้น เป็นเวลาดึกสงัดประมาณสองยามเห็นจะได้ จิตของท่านอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ คือ สมาธิอย่างอ่อนๆ กำลังพิจารณาสังขารธรรมอยู่อย่างเพลิดเพลินเจริญใจ ไม่ลดละความเพียร พลันทันใดก็ ปรากฏภาพนิมิตขึ้นในห้วงสมาธิ มีผู้ชายคนหนึ่งนุ่งขาว ห่มขาว ได้เดินคุกเข่าก้มลงกราบท่านแล้วพูดว่า

    "นิมนต์หลวงพ่อย้ายกลดขึ้นไปอยู่บนเขาเสียเถิด ด้วยคืนนี้จะมีน้ำป่าพัดผ่านมาที่นี่ หลวงพ่อจะเป็นอันตรายถึงชีวิต"

    แล้วภาพนิมิตของเทวดาผู้นั้นก็หายไป หลวงปู่สีท่านจึงอธิษฐานจิตขอบารมีพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และพระอรหันต์สาวกทั้งหลาย เพื่อขอตรวจดูเหตุการณ์ด้วยทิพจักขุญาณ พลันก็พบว่าไกลออกไปทางเหนือฝนกำลังตกหนักมืดคลื้ม มีพายุและฟ้าแลบน่ากลัวมาก เห็นน้ำป่ากำลังทะลักทลายลงมาจากภูเขา พัดพาถล่มต้นไม้ในป่าเสียงดังกึกก้องไปหมด น่ากลัวมาก กระแสน้ำป่านั้นกำลังพัดมาทางจุดที่ท่านกำลังบำเพ็ญเพียรอยู่อย่างแรง

    หลวงปู่รู้สึกประหลาดใจระคนสงสัย จึงถอยจิตออกจากสมาธิลืมตาขึ้นดู พบว่าบริเวณหุบเขาที่ท่านพักอยู่ แสงเดือนหงายอย่างแจ่มจรัส อากาศก้เย็นสบายปลอดดปร่งรื่นรมย์ไม่มีเค้าเมฆฝนอยู่ในท้องฟ้าเลย แต่เหตุการณ์ผ่านไปสักชั่วอึดใจใหญ่ ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงอื้ออึงดังมาจากเบื้องทิสเหนือ เสียงนั้นน่ากลัวมาก คล้ายเสียงรถไฟหลายขบวนวิ่งแข่งกันเข้ามาในป่าไม่มีผิด ทำให้ท่านแน่ใจทันทีว่า โอปาติกะ เทพเทวาปรากฏกายเข้ามาแจ้งเหตุในนิมิตนั้นบอกกล่าวเป็นความจริง และทิพจักขุญาณของท่านก็เห็นภาพแน่ชัด ไม่ใช่ภาพหลอนหลอกแต่อย่างใด เสียงอื้ออึงนั้นเป็นเสียงน้ำป่าห่าใหญ่ กำลังพัดมาอย่างรวดเร็ว รุนแรงมากอย่างแน่นอน

    นี่คือภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ไม่มีใครไปห้ามมันได้ เราเป็นผุ้สมณะผู้บำเพ้ยะรรมไม่บังควรที่จะกีดขวางธรรมชาติ รำพึงเช่นนั้นแล้วท่านก็ถอนกลดจัดแจงย้ายขึ้นไปอยู่บนเขาสูงให้พ้นอันตราย แต่หาได้ตื่นกลัวแต่อย่างใดไม่

    พอแบกกลดใส่บ่าข้างหนึ่งสะพายบาตรอีกข้างแล้ว ท่านก็ออกเดินจะขึ้นเขาไป กระทำใจให้มั่นคงภาวนาไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อนอะไร เพราะเสียงน้ำอื้ออึงนั้นยังอยู่ไกล คงไม่มาถึงตัวท่านรวดเร็วแน่ เดินภาวนาสักครู่ก็ขึ้นเขาสูง

    ท่านมองลงมาจากหน้าผา เห็นกระแสมหึมาไหลกรากท่วมต้นไม้ใบหญ้าบริเวณที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ในหุบเขานั้น กลายเป็นทะเลสาบไปหมดในพริบตา ช่างอัศจรรย์ใจในธรรมชาติที่งดงามแต่แฝงด้วยอันตรายนานัปการ พอรุ่งเช้าน้ำป่านั้นก็หายวับไปกับตา นี่แหละธรรมชาติของน้ำป่ามาเร็วหายไปเร็ว และเป็นอันตรายร้ายแรงอย่างน่ากลัวยิ่งนัก หลวงปู่สีนั้นนับว่ามีบุญญาภิสมภารสูง ถึงรอดตายมาได้ในครั้งนี้ จะว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทวดาช่วยชีวิตไว้ก็ให้น่าสงสัยมาก

    ป่าหลวงพระบาง

    จากพม่า หลวงปู่สีท่านก็ข้ามแม่น้ำโขง จาริกธุดงค์ไปยังหลวงพระบาง รอนแรมบุป่าฝ่าดงอันหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ และขวากหนาม เส้นทางธุรกันดารยากลำบาก วกไปเวียนมากมองไปทางทางไหนมีแต่ป่าแต่เขาสูงใหญ่ จนอ่อนหล้าเพราะหลงทิศทาง เดินไปทั้งวันก็วกกลับมาที่เดิม ไม่น่าเชื่อสัตว์ตัวกระจ่อยร่อยประเภทดูดเลือด เช่น ฝูงทากก็มากมาย คอยรบกวนให้ได้รับความรำคาญอยู่ตลอดเวลา ตะวันยอแสงฉาบสีทองเอิบอาบขุนเขาสูงใหญ่เบื้องหน้า เป็นภาพที่สวยงามตระการตาราวกับสีมณีวิศิษอันมีสีต่างๆ

    ท่านรู้สึกชื่นชมธรรมชาติในยามใกล้สนธยาเบื้องหน้า จึงรุดตรงไปยังเชิงเขา เพื่อยึดเอาเขาลูกนี้เป็นที่พักแรมคืน ภูมิภาพอันสวยงามเบื้องหน้า เงาหมู่ไม้ทอดยาว แสงสะท้อนจากกลุ่มเมฆสีขาวสลับซับซ้อนเบื้องบนเป็นสีระยับวะวับวาว ทำให้หุบเขาแห่งนั้นกลายเป็นสีรุ้ง ดั่งว่าเนรมิตไว้ฉะนั้น คำวันนั้น หลวงปู่สีท่านได้หยุดปักกลดที่เชิงเขาในคูหาถ้ำอันกว้างขวางสะอาดสะอ้านคล้ายมีคนมาคอยปัดกวาดเป็นประจำ ที่ใกล้ๆ มีธารน้ำใสไหลเย็นผ่าน

    หลังจากลงสรงน้ำในลำธารเป็นที่ชุ่มชื่นเย็นกายเย็นใจแล้ว ท่านก็กลับเข้ามาในถ้ำนั่งพักผ่อนอยู่พักหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงนั่งภาวนาด้วย "พุทโธ" เป็นวัตรปกติเสมอมา แสงเดือนกระจ่างนวลสาดเข้ามาในถ้ำ กระแสลมที่พักอยู่รวยรินทำให้สดชื่นเย็นสบายใจ บรรยากาศภูมิประเทสก็เงียบสงัดวิเวก เหมาะสำหรับบำเพ็ญสมณะธรรมพิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ ด้วยประการทั้งปวง

    เวลาผ่านไปอย่างสม่ำเสมอ ท่านจึงถอนจิตจากสมาธิเปลี่ยนเป็นมาเดินจงกรมที่บริเวณหน้าถ้ำ ท่ามกลางแสงเดือนกระจ่างสว่างพราวเหมือนกลางวัน

    ผจญเสือโคร่ง

    มีเสียงกระหึ่งร้องดังขึ้นสนั่นหวั่นไหว เสียงร้องรับกันทางโน้นที ทางนี้ที แสดงว่ามีเสือออกหากินในยามราตรี เสียงร้องของมันทำให้ป่าที่วังเวงด้วยเสียงจักจั่นเรไรที่ร้องระงม เงียบเสียงไปหมดสิ้น ดั่งต้องมนต์อาถรรพณ์

    หลวงปู่มิได้ ไม่ได้นึกเกรงกลัวแต่อย่างใด ถือว่าสัตว์ป่าออกหากินไปตามประสาของมัน ท่านคงเดินจงกรมไปตามปรกติ ด้วยอริยบถสม่ำเสมอ มี มหาสิตปัฏฐานเป็นหลักคอยควบคุมกายและใจอยู่ตลอดเวลาไม่วอกแวก เสียงเสือขานรับกันคำรามใกล้เข้าทุกที แล้วในที่สุดเสียงกระหึ่งร้องนั้นก้เงียบหายไป ท่านเดินจงกรมกลับไปกลับมาอยู่พักใหญ่ รู้สึกเฉลียวใจว่ามีอะไรผิดปกติข้างทางเดินจงกรม จึงชำเรืองมองไป

    พลันก้ได้เห็นเสือโคร่งตัวใหญ่มาก ตัวใหญ่เกือบเท่าม้าล่ำพี ๒ ตัว กำลังจ้องมองท่านอยู่อย่างเงียบๆ ท่านรู้สึกสงสัยว่า มันมายืนจ้องมองท่านอยู่เช่นนี้เพื่อต้องการอะไรกันหนอ ถ้ามันต้องการจะจับตะครุบท่านกินมันน่าจะทำไปแล้ว ไม่น่าจะพากันจ้องมองไม่กระดิกกระดิกเช่นนี้เลย ดูๆ ไปแล้วก็น่ารักน่าสงสาร สวยงามสง่า ในจิตท่านมีแต่เมตตา

    พอท่านคิดเช่นนี้ พลันทันใดเสือใหญ่ทั้ง ๒ ตัว ก็ส่งเสียงร้องกระหึ่มขึ้นมาพร้อมๆ กัน ดังสนั่นหวั่นไหวไปหมดจนแก้วหูอื้อ เมื่อได้ยินเสียงคำรามดังขึ้นพร้อมๆ กันเช่นนั้น ท่านก็คิดในใจว่า ชะลอยพวกมันคงจะพูดบอกความในใจกับท่านอันเป็นภาษาของมันกระมัง พอท่านคิดเช่นนั้น มันก็พากันร้องสนั่นขึ้นมาอีกจนสะเทือนไปทั้งป่า

    หลวงปู่สีคงเดินจงกรมผ่านหน้ามันไปมาเป็นปกติ มันก็ไม่ทำอะไร ได้แต่จ้องมองตามิริยาบถเคลื่อนไหวของท่านอย่างเงียบๆ อยู่เป็นเวลานาน แล้วพวกมันก็พากันถอยห่างเดินหนีหายไปในป่า คงทิ้งไว้แต่ความเงียบสงบดังเดิม

    บรรลุธรรม
    หลวงปู่สีเที่ยวบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่ภาคเหนือ พม่า หลวงพระบาง และธุดงค์ลัดเลาะข้ามลำแม่น้ำโขง ตัดเข้าภาคอีสานของประทศไทย เป็นเวลานานถึง ๙ ปี ตลอด ๙ ปี ท่านจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ นับไม่ถ้วน หลังจากท่านบรรลุธรรมวิศิษ จึงปรากฏว่าค่อยมีพระลูกศิย์เพิ่มมากขึ้น

    พระลูกศิษย์ทั้งหลายที่บุกบั่นรอนแรมเข้าป่าดงไปหาหลวงปู่สี ท่านจะให้อยู่กับท่านไม่นานนัก แล้วท่านก็จะสั่งให้แยกย้ายกันออกหาที่วิเวกตามที่ต่างๆ เพื่อบำเพ็ญเพียรภาวนามุ่งทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    ท่านให้พักตามถ้ำบ้าง ตามชายเขาบ้าง และยอดเขาบ้าง การขบฉัน อาหารก็ให้ออกบิณฑบาตไปตามหมู่บ้านชาวป่าชาวเขา บางครั้ง ๗-๘ วันถึงได้ออกบิณฑบาตกัน เพราะมัวแต่เพลิดเพลินเจริญสมาธิวิปัสสนาจนลืมเวล่ำเวลา ลืมคืนลืมวัน แต่ก้ไม่ปรากกว่าหิวโหยอ่อนเพลียเจ็บไข้ได้ป่วยกันแต่อย่างไร เพราะจิตสงเคราะหืมีความสุข ชุ่มชื่นเย็นใจ เย็นกาย ด้วยอำนาจบารมีธรรม มีพระลูกศิษย์ของท่านบางองค์มีอำนาจจิตแก่กล้าบุญญาบารมีสูง ทรงอภิญญา ๖ สามารถทรงตัวอยู่ในสมาธิวิปัสสนาได้เป็นเวลานานถึง ๓ เดือนก็มี โดยที่ไม่ขบฉันอาหารอะไรเลย นอกจากฉันแต่น้ำอย่างเดียวนับเป็นเรื่องมหัสจรรย์

    พระธุดงค์กรรมฐานศิษย์หลวงปู่สี ล้วนเป็นผู้เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก เที่ยวแสวงหาธรรมกันในป่าในเขาถิ่นอันตรายแบบเอาชีวิตเข้าแลกจริงๆ ไม่อาลัยชีวิตยิ่งกว่าธรรม ที่ใดมีเสือ มีอำนาจเร้นลับ น่าสะพรึงกลัว หลวงปู่สีจะสั่งให้พระไปที่นั่นเพราะเป็นสถานที่ช่วยกระตุ้นเตือนสติปัญญามิให้นิ่งนอนใจ ความเพียรก็จำต้องติดต่อกันไปเอง และเป็นเครื่องหนุนนใจให้มีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าปกติที่ควรจะเป็น ท่านเองก้บำเพ็ญสุขวิหารธรรมอยู่โดดเดี่ยว ในป่าในเขาอันชุกชุมด้วยสัตว์ร้ายสงัดเงียบปราศจากผู้คนทั้งกลางวัน กลางคืน

    การติดต่อกับพวกกายทิพย์ เช่น เทวบุตร เทวธิดา อินทร์ พรหม พญานาค และภูติผีที่มาจากที่ต่างๆ ท่านถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา และเป้นเรื่องมีจริง เป็นเรื่องลี้ลับพิศดารที่พระธุดงค์กรรมฐานเท่านั้นจะพานพบรู้เห็นได้ เหลือวิสัยที่จะพูดที่จะอธิบายให้ปุถุชนชาวบ้านเข้าใจได้ เพราะปุถุชนชาวบ้านทั่วไปมีความช่างสงสัยเป็นนิสัย

    ชาวบ้านศึกาเรียนรู้ ช่างจด ช่างจำ ช่างสงสัย หมายรู้เอาด้วยทางวัตถุสิ่งมีตัวตนจับต้องได้ มองเห็นได้ แต่ทางพระศึกษาเรียนรู้ทางจิตที่ไม่ใช่วัตถุ การรู้เห็นทางจิตจึงเป็นการรู้เห็นด้วยสติปัญญานามธรรม ดังนั้นการรู้เห็นของพระและของชาวบ้านจึงต่างกัน

    หลวงปู่สีท่านมีการติดต่อกับพวกกายทิพย์จากโลกวิญาณ เช่น เดียวกับมนูษย์ติดต่อไปมาหาสู่กันกับมนุษย์ชาติต่างๆ ที่เข้าใจภาษากันนั้นเอง เพราะท่านชำนาญในทางนี้มานานแล้ว การพบเห็นพวกวิญญาณของท่าน ไม่ใช่สิ่งลวงตาลวงใจ หรือเป็นเพียงภาพมายา หากเป็นเรื่องจริงที่ท่านพิสูจน์เห็นแท้แน่นอนในทุกแง่ทุกมุมไม่ผิดพลาด

    ท่านพักอยู่ในป่าเขา โดยมากก็ได้ทำประโยชน์โปรดสัตว์อบรมสั่งสอนข้ออรรถธรรมแก่กายทิพย์ แต่ละภูมิแต่ละชั้นตามภูมิปัญญา..ให้เขาได้ซาบซึ้งในอรรถธรรมพวกชาวป่าชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่นอีก้อ ขมุ มูเซอ แม้ว เย้า เหล่านี้นับถือผีสางนางไม้ หลวงปู่สีได้แผ่ธรรมะเข้าไปถึงจิตใจพวกเขา ทำให้พวกเขาเคารพเลื่อมใสท่านมาก ทั้งทำให้ชาวป่าชาวเขาเป็นคนดีมีสัตย์ มีศีล หันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๘ : พบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ป่าหลวงพระบาง

    เมื่อคราวที่หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เดิยธุดงค์อยู่ในป่าหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๘ ได้พบพระภิกษุมั่น ภูริทัตโต เดินธุดงค์ในป่าหลวงพระบาง พระภิกษุลี และพระภิกษุมั่น ได้พบกันและร่วมเดินธุดงค์ด้วยกัน ยามพักผ่อนก็สนทนาธรรมกัน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พรรษาอ่อนกว่าหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ๖ พรรษา หลวงปู่สีอุปสมบทเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ หลวงป฿มั่นอุปสมบท พ.ศ.๒๔๓๖

    ส่วนอายุ อ่อนกว่าหลวงปู่สี ๒๑ ปี หลวงปู่มั่น ชาตะ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ชาตะ วันองคาร เดือน ๕ ปีระกา ตรงกับวันอังคารที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๒

    พระอาจารย์ทั้งสองถึงจะอายุต่างกัน แต่มีปฏิปทาปฏิบัติ มุ่งมั่นในพระพุทธศาสนา จากวัยที่ต่างกัน หลวงปู่มั่นจึงให้ความเคารพหลวงปู่สี เรียกหลวงปู่สีว่า "หลวงพี่" ในขณะที่ร่วมเดินธุดงค์ปฏิบัติอยู่ป่า ไม่เฉพาะแต่พระอาจารย์เท่านั้น ในขณะที่หลวงปู่ปฏิบัติอยู่ในดงในป่า หลวงปู่สีท่านได้พบพระที่ชอบปฏิบัติอยู่ตามป่าดงอีกหลายรูปด้วยกัน แต่หากไม่มีใครถามท่านก็จะไม่พูดไม่เล่าให้ฟัง เพราะหลวงปู่ท่านเป็นพระพูดน้อย สำรวม มุ่งแต่ปฏิบัติเป็นชีวิต

    ทราบจากคำบอกเล่าของหลวงปู่บุดดา ถาวโร อายุ ๑๐๑ ปีเมื่อคราวนวดให้ท่านตอนอายุ ๙๙ ปี

    กลับสู่บ้านเกิด

    ปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ หลวงปู่ธุดงค์กลับมายังบ้านหมกเต่าบะฮี ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เพื่อโปรดญาติโยมที่บ้านเกิด และจำพรรษาอยู่ที่ วัดอิสานหมกเต่า

    หลวงปู่กลับสู่บ้านเกิด [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ของท่านอย่างพระเถระผู้รุ่งเรืองด้วยบารมีธรรม นับจากบรรพชาหลวงปู่ท่านก็ได้ผ่านช่วงของการฝึกอบรมตนเองอย่างเข้มข้น ตามปฏิปทาทางดำเนินของพระธุดงค์กรรมฐานอย่างแท้จริงเป็นเวลาถึง ๑๐ ปี[/FONT]

    หลวงปู่สีท่านเป็นผู้มีบุญบารมี มีวาสนาที่ได้มีโอกาสได้รับการวางพื้นฐานในการปฏิบัติธรรมจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆัง ธนบุรี ตั้งแต่ที่ท่านเป็นเด็กวัดรับใช้สมเด็จฯ และบวชเป็นสามเณร อยู่นานถึง ๙ ปี และติดตามพระอาจารย์อินทร์ ธุดงค์อยู่ป่าอีกหลายปี หลวงปู่สีจึงมีพื้นฐานญาณที่แข็งแกร่ง มั่นคงในทางธรรม จวบกับท่านได้มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตหลายรูปแบบ ทั้ง พรานป่า พ่อค้า ข้าราชการ ทหารกล้าอาสาศึก ตำรวจหลวง ในสมัย รัชกาลที่ ๕ จวบจนท่านมาอุปสมบทเป็นพระมุ่งปฏิบัติธรรมตามป่าดง มุ่งแสวงหาธรรมในป่าเขา มิได้เป็นอยู่สบายเช่นพระเมือง

    หลวงปู่สีท่านได้กลับมาโปรดโยมพ่อ โยมแม่ของท่าน และญาติพี่น้องด้วยความกตัญญูและเมตตาธรรม อาจารย์ประสงค์ ดีนาน อดีตอาจารย์ใหญ่ และหลายชายแท้ๆ ของหลวงปู่สี ได้เล่าว่า วันหนึ่งมีคณะมาสำรวจประวัติของภิกษุวัดต่างๆ อย่างเป็นทางการ เพื่อให่ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้สำรวจถามหลวงปู่ถึงชื่อ และฉายา หลวงปู่บอกชื่อ "ลี" นามฉายา "จันทสิริ" (คำของภาษาท้องถิ่น) นั่นคือหลวงปู่ชื่อ ลี จันทสิริ แต่ต่อมาเมื่อมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตาคลีนครสวรรค์ คนทางตาคลีเรียกชื่อท่านว่า "หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ"

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เป็นพระมักน้อย สันโดษ พูดน้อย ฉันน้อย แต่ทำมาก คือใช้เวลาส่วนใหญ่ในการปฏอบัติธรรมกรรมฐาน ทุกอริยาบถ ๔ ท่านมุ่งมั่นในการฝึกฝนโดยเพ่งกสิณเป็นอาจิณ...หลวงปู่สีท่านรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ และของบริขารเครื่องใช้ต่างๆ เป็นอย่างมาก หลวงปู่เช็ดถูกุฏิน้อยของท่านด้วยผ้าขี้ริ้วที่สะอาดอยู่เสมอ เช็ดถูจนขึ้นมันเป็นเงา ท่านจะปัดกวาดกุฏิน้อยและบริเวณข้างเคียงเป็นประจำ จึงดูสะอาดโล่งเตียน และยังได้การบริหารกายคลายเมื่อยขบอีกด้วย เรื่องความสะอาดนี้อาจารย์สุพจน์ ผู้อยู่ใกล้ชิดหลวงปู่สีได้เล่าเน้นให้ฟังอีกเช่นกัน

    สบง จีวร เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้ต่างๆ ของหลวงปู่สีจะดูสะอาดตาอย่างมาก ในการซักผ้านั้น ท่านไม่ให้ใช้สบู่ (สมัยนั้นมีสบู่กรด สบูซันไลด์) เป็นอันขาด ท่านจะใช้ต้มซัก หรือซักด้วยน้ำร้อนเท่านั้น เมื่อซักแล้วท่านไม่ค่อยชอบย้อม สีจึงซีดดูสะอาดตามาก ถ้าจะพึงย้อม หลวงปู่จะให้ย้อมด้วยน้ำต้มแก่นขนุน ตามอย่างโบราณของผ้ากาสาวะ ตามปกติหลวงปู่สีจะปลงผมทุกวันโกน กลางเดือน และสิ้นเดือน ท่านจะปลงผมด้วยตนเอง โดยไม่ส่องกระจกเงา และปลงผมได้เกลี้ยงเกลาเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก พระในปัจจุบันที่เห็นปลงผมด้วยตนเองก็มี อย่างเช่น ครูบาสร้อย อยู่ที่ท่าสองยาง แม่ตะวอ จังหวัดตาก ติดชายแดน

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ (ลี จนฺทสิริ) ไม่ฉันเนื้อวัว เนื้อควายเป็นอันขาด ด้วยเป็นสัตว์ที่มีคุณต่อมนุษย์ตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว นหลวงปู่เป็นสำรวมระวังในอาหารการขบฉันตามแบบอย่างของสมณะ อาหารง่ายๆ ที่ท่านชอบฉันเมื่ออยู่วัดอีสานหมกเต่าคือ ข้าวสุกคลุกด้วยกากกะทิที่เคี้ยวเอาน้ำมะพร้าวออกแล้ว และท่านมักแบ่งให้แจกแก่เด็กนักเรียนช่างพักกลางวัน (เพล) ด้วย สมัยนั้นยังไม่มีน้ำมันก๊าดใช้เพื่อให้แสงสว่าง จึงใช้น้ำมันมะพร้าวเคี่ยวเอาเอง สำหรับน้ำที่ใช้ฉันนั้นท่านจะฉันน้ำต้มสุกทุกเวลา ถ้าต้มไม่สุกท่านจะไม่ฉันด้วย ส่วนมากจะเป็นน้ำช่ น้ำมะตูม น้ำใบกะเพรา น้ำใบเตย รวมทั้งน้ำต้มพืชสมุนนไพร ยาสมุนนไพรด้วย

    หลวงปู่สีท่านไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ท่านอยู่ด้วยความวิเวกเงียบสงัด ให้เหมาะแก่การปฏิบัติเพื่อสกัดตัดเสียซึ่งบ่วงแห่งตัณหาทั้งปวง เมื่ออยู่ที่วัดอีสานหมกเต่า ท่านก็เป็น "ครูบาใหญ่" เท่านั้น ไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส และไม่ว่าจะอยู่วัดไหนๆ ด้วยโดยปกติหลวงปู่ท่านจะแยกตัวไปอยู่กุฏิน้อยเพียงรูปเดียว "กุฏิน้อย" ของหลวงปู่สีนั้น ท่านจะยกขึ้นแบบง่ายๆ เป็นการชั่วคราว มีความกว้างพอประมาณ ยกพื้นเตี้ยๆ มีบันใดไม่เกิน ๓ ขั้น แบ่งเป็น ๒ ระดับ เรียกกันว่าพักล่าง-พักบน พักบนเป็นที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน จำวัด พักล่างเป็นที่นั่งปกติ ที่ฉัน และทำกิจบางอย่าง ถ้ามีพระเณรญาติโยมไปเยี่ยมไปหา ก็จะนั่งได้เพียง ๒-๓ ท่านเท่านั้น หลวงปู่สีมีวิธีป้องปรามเด็กๆ ส่งเสียงดังในบริเวณวัด ด้วยการใช้หน้าไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "หน้าถุน" ท่านจะใช้ดินเหนียวคลึงให้กลมขนาดเท่าผลพุทราเขื่องๆ ตากให้แห้งเก็บไว้ใช้เป็นลูกหน้าถุน ถ้ามีพวกเด็กๆ ส่งเสียงดังให้รำคาญหู แม้จะอยู่ห่างกุฏิน้อย หลวงปู่ก็จะยิงหน้าถุนให้ถูกกิ่งไม้ใกล้ๆ เด็ก จนลูกดินเหนียวแตกกระจาย เด็กๆ จะเงียบกริบทีเดียว ท่านไม่ใช้ปากปรามเด็กๆ อันเป็นการส่งเสียงดังเสียเอง และเป็นการระวังปาก ระวังเสียงของท่าน

    เหตุที่หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ชอบอยู่ที่กุฏิน้อยตามลำพังนั่นเองในการปฏิบัติพระกรรมฐาน..จึงสรุปเอาเองว่า ท่านหลวงปู่สีเป็นพระที่ไม่เข้าหมูเข้าพวก ไปอยู่วัดไหนก้ให้ยกกุฏิน้อยให้อยู่องค์เดียว ฉันองค์เดียว พอออกพรรษาก็มักจะหนีไปเที่ยวในที่ต่างๆ ไปๆ มาๆ อยู่ไม่เป้นที่ เป็นทาง ไม่แน่นอน ญาติโยมนิมนตืไปงานบุญละแวกบ้านก็มักจะไม่ไป และที่มองว่าหลวงปู่เป็นพระตระหนี่ เห็นแก่ตัวก็มีด้วย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่เอื้อหลวงปู่ได้อยู่ตามลำพังอย่างสงบเงียบไม่วุ่นวาย..หลวงปู่สีเองก็ไม่ค่อยอวดตัว ไม่บอกให้รู้ด้วยซ้ำไปว่าท่านกำลังทำอะไร กำลังปฏิบัติอะไร เพื่ออะไร อันนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกหลานญาติโยมทางบ้านเดิมไม่ได้สนใจท่าน ไม่ได้ติดตามถามถึงท่านเท่าที่ควร จะมีเพียงในฐานะเป็นญาติใกล้ชิดเท่านั้นจึงเสมือนใกล้เกลือกินด่าง ไม่มีโอกาส ไม่มีโอกาสได้ชื่นชมบารมีธรรม เมตตาธรรม จากท่านหลวงปู่สี ในเมื่อท่านเข้าสู่ความเป็นผู้พ้นโลกแล้ว..
    ภาพถ่ายสุดท้ายของหลวงปู่กลายเป็น "พระทองคำ"

    เมื่อปี ๒๕๐๓ ขณะที่หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ยังอยู่ที่กุฏิน้อยวัดอีสานหมกเต่า พ่อจารย์ก๋อม ดำหริห์ หรือบุยมี แห่งบ้านหนองกรุทง หลานผู้เป็นลูกชายน้องสาวคนที่ ๒ ของท่านฝันไปว่า หลวงปู่นำพระพุทธรูปทองคำมาให้ถึงที่บ้าน พ่อจารย์ก๋อมดีใจมากที่ได้พระทองคำ แต่พอตื่นจากหลับก็ไม่เห็นได้ดังฝัน เมื่อใคร่ครวญดูก็รู้แก่ใจว่า หลวงปู่สีให้ภาพถ่ายของท่านแก่ลูกหลานในคราวนี้อย่างแน่นอน พ่อจารย์จึงไปว่าจ้างช่างภาพจากบ้านหนองหลวง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านหนองกระทุง ให้ไปถ่ายรูปหลวงปู่สีไว้ให้ (แทนพระทองคำในฝัน) โดยพ่อจารย์เป็นผู้นำไป เมื่อได้กราบนมัสการและแจ้งความประสงค์ต่อหลวงปู่แล้ว ก็ขออนุญาตถ่ายภาพท่านไว้ (ถ้าหลวงปู่ไม่อนุญาตจะถ่ายไม่ติด และบางทีกล้องถ่ายรูปเสย หรือแตก) หลวงปู่ถามหลานชายว่า "กล้องดีไหม จะถ่ายติดหรือ" พ่อจารย์ก็ตอบว่า "ต้องติดแหละครับ เพราะได้ไว้ตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว" หลวงปู่บอกว่า ถ้าจะเอาจริงๆ ก็ให้ท่านปลงกรรมฐานเสียก่อนจึงจะถ่ายได้ แล้วหลวงปู่ก็เข้ากุฏิน้อยปลงกรรมฐาน จึงครองผ้าลดไหล่ใส่สังฆาฏิ ออกมานั่งบนเตียงอุปโป (อุโบสถ-ธรรมาสน์ปาฏิโมกข์) ให้ช่างภาพรูปถ่ายท่าน ภาพถ่ายล่าสุดที่ลูกหลานทางบ้านเดิมได้ไว้ เพราะหลังจากนั้นอีก ๒-๓ ปี หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ก็ไปจำพรรษาที่วัดหนองลุมพุก ตำหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (หนองบัวลำภูปัจจุบัน) และนานๆ ท่านจะกลับมารัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สักคราวหนึ่ง
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๙ : เจ้าปู่เขาภูเกศา, พบศิษย์จังหวัดเลย, พบเพชรเม็ดงามที่หนองคาย

    เจ้าปู่เขาภูเกศา

    บ้านหนองลุมพุก อำเภอโนนสัง อยู่ห่างจากเขาภูเกศาแค่ไปหาของป่าเช้า-เย็นกลับไม่พอเหนื่อย ชาวบ้านหนองลุมพุกเคารพนับถือหลวงปู่ภูเกศามาก และติดข้างจะกลัวอำนาจลึกลับของเจ้าปู่มากกว่าอย่างอื่น เคารพเกรงกลัวตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงทุกวันนี้ พากันเรียกเจ้าปู่ (ชื่อ ผีตาหลุบ) ว่า หลวงปู่บ้าง "ผู้เพิ่นเทิงภู" บ้าง แม้แต่พระเณรก็นับถือเกรงกลัวเจ้าปู่ภูเกศา กระทั่งท่านหลวงพ่ออินทร์ หลานหลวงปู่สี ก็ยังเคยถูกเจ้าป่าภูเกศาย่ำยีบีฑามาแล้วจนเข้าวัดไม่ถูก

    แต่สำหรับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ แล้ว ท่านพูดกับเจ้าปู่ภูเกศารู้เรื่อง เข้าใจกันดี และเจ้าปู่ภูเกศายังเคารพเชื่อฟังท่านอีกด้วย เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเจ้าปู่ภูเกศา เข้ามาซ่อนอยู่ใต้กุฏิน้อยของหลวงปู่ หลวงปู่รู้..จึงพูดขึ้นว่า "มาหลบซ่อนอยู่ทำไม" เด็กลูกหลานเขาเห็นเข้า เขาจะกลัว รีบหนีไปให้พ้นบริเวณเสีย" พอจบคำพูดของหลวงปู่สี เจ้างูใหญ่ก็เลื้อยหนีหายโดยมิชักช้า เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง และมีบ่อยครั้งที่ลูกหลานชาวบ้านหนองลุมพุกถูกเจ้าปู่ภูเกศารังครวญ ก็ได้อาศัยหลวงปู่สีให้ช่วยเหลือ ช่วยพูดจาว่ากล่าวให้เจ้าปู่ภูเกศาเลิกราไป ไม่ก่อกวนให้ได้รับความเดือดร้อน หลวงปู่ก็พูดขอกับเจ้าป่าเจ้าเขาเจ้าปู่ก็ไม่มารบกวนลูกหลานชาวบ้านอีกต่อไป

    หมายเหตุ : ที่ยกข้อความดังกล่าวมานี้เป็นคำบอกเล่าของอาจารย์ประสงค์ ดีนาน โดยท่านอาจารย์ชนินทร์ ดีนาน หลานชายของท่านหลวงปู่อีกคนรวบรวมข้อมูลและประวัติหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ส่งมาให้ผู้เขียนเพื่อมิให้ประวัติของหลวงปู่ที่แท้จริงสูญหาย

    โยมพ่อ โยมแม่ของหลวงปู่เป็นคนแข็งแรงมีอายุยืน ต่อมามีการใช้นามสกุล โยมพ่อของท่านได้มาใช้นามสกุล "ดำริห์" เซียงผา ดำริห์ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ อายุได้ ๑๐๐ ปี ตอนนั้นหลวงปู่สีมีอายุได้ ๘๓ ปี ต่อมา ปี พ.ศ.๒๔๘๕ แม่ข้อล้อ ดำห์ ก็ถึงแก่กรรมลง อายุ ๑๑๕ ปี หลวงปู่สีอายุตอนนั้น ๙๓ ปี เป็นครูบาใหญ่ อยู่วัดอีสานหมกเต่า อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

    ตอนโยมแม่อายุมาก ท่านให้โยมแม่มาถือศีลอยู่ที่วัดในตอนนั้น ท่านให้ต่อโลงศพ ตั้งไว้บนศาลาวัดด้วยไม้กระบากแผ่นใหญ่ (ใกล้วัดขณะนั้นเป็นดงไม้กระบาก ไม้ตะเคียน)

    หลวงปู่ท่านดูแลเอาใจใส่โยมแม่ทานอย่างดี จวบจนถึงแก่กรรมลง ท่านจัดแจงงานศพโยมแม่ของท่านเป็นอย่างดีในช่วงตอนนั้น ท่านจะไม่ธุดงค์ที่ไหนไกลๆ เพราะท่านเป็นหว่งโยมแม่ โยมพ่อของท่าน

    จวบจนโยมแม่ของท่านสิ้นลง ท่านจึงธุดงค์จากวัดอีสานหมกเต่า ไปอยู่ที่วัดหนองเหมือดแอ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี (หนองบัวลำภู) แต่ก่อนจะจากวัดอีสานหมกเต่า หลวงปู่ท่านได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้ ๒ ต้น คือที่หน้าวัด ๑ ต้น และหลังวัด ๑ ต้น ปัจจุบัน (๒๕๓๙) ต้นโพธิ์ทั้สองใหญ่มาก อยู่คู่วัด "หมกเต่า" อำเภอรัตนะ จังหวัดสุรินทร์
    พบศิษย์จังหวัดเลย (พ.ศ ๒๔๕๓)
    ในบันทึกบอกเล่าของหลาน และศิษย์หลวงปู่สี และจากคำบอกเล่าของ "หลวงปู่แหวน สุจิณโณ" วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิด ๑๖ มกราคม ๒๔๓๐ มีจิตใจใฝ่ในธรรม อายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ชัย บ้านโป่ง จังหวัดเลย พออายุได้ ๒๒ ปี ใน พ.ศ.๒๔๕๒ ก็อุปสมบทที่วัดสร้างถ่อ อำเภอเกษมสีมา (อำเภอม่วงสามสิบในปัจจุบัน) จังหวัดอุบลราชธานี

    พระภิกษุแหวน สุจิณโณ ได้ออกจาริกธุดงค์ไปแต่ลำพังผู้เดียว โดดเดี่ยวดั้นด้นเข้าสู่ป่าเขาลำเนาไพรด้วยดวงใจอันเด็ดเดี่ยว พระภิกษุหนุ่มแหวนท่องเที่ยวจากริกไปเรื่อยๆ หยุดพักตามโคนไม้ ชายทุ่งล้าง ชายป่าห่างไกลบ้าง เข้าไปในป่าลึกพักบำเพ็ญเพียรตามชะโงกเขาบ้าง ตามเงื้อมผาบ้าง หรือในถ้ำบ้าง บางวันก็ออกโคจรบิรฑบาต บางครั้ง ๒-๓ วัน ถุงบิณฑบาตครั้งหนึ่ง อาหารที่บิณฑบาตได้ส่วนมากเป็นข้าวเหนียวนึ่งเป็นปั้นๆ เมื่อได้มาแล้วก็นำมาฉันตามมีตามเกิด เป็นการฉันหรือกินข้าวด้วยความไม่มีอุปาทาน คือไม่มีเจตนากินให้อร่อย แต่เป็นการกินเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้...

    ในระหว่างที่พระภิกษุหนุ่มแหวน ท่องเที่ยวธุดงควัตรอยู่แถวอีสานแถบถิ่นอุบลราชธานี เข้าสู่จังหวัดเลย ได้พบปะกับพระธุดงค์ในป่าอยู่บ่อยๆ บ้างก็มาจากถิ่นไกลข้ามไกลมาจากฝั่งลาวก็มี

    แต่แล้วพระภิกษุแหวนก็ได้พบพระธุดงค์องค์สำคัญ รูปร่างสูงใหญ่ เป็นพระภิกษุที่อยู่ในวัย ๖๒ ปี ผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมีปฏิปทาสูง ลักษณะเป็นผู้มากบุญจิตเมตตา นั่งปฏิบัติธรรมอยู่บนหน้าผาบนหุบเขาในป่าจังหวัดเลย

    ในเย็นวันนั้น พระภิกษุแหวนจึงได้มีโอกาสเข้าไปกราบพระภิกษุผู้เคร่งปฏิบัติธรรม เพราะตลอดระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร ท่านนั่งปฏิบัติอยู่ พระภิกษุแหวนก้มิได้เข้าไปรบกวน จวบจนพระภิกษุผู้เคร่งปฏิบัติท่านออกจากสมาธิ

    หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านก็เพ่งมองอยู่ชั่วครู่ แล้วจึงเอ่ยถามพระภิกษุแหวน ท่านมาจากไหน? พระแหวนตอบ "ผมมาจากจังหวัดเลยครับ ผมเข้าป่าตั้งใจจะแสวงหาที่วิเวกปฏิบัติธรรม"

    "...อือม...ตั้งใจดี มั่นภาวนานะ" [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เป็นคำพูดสั้นๆ แต่ได้ใจความ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในวันต่อมาหลวงปู่สีได้สอนกรรมฐาน โดยย้ำว่าการภาวนาเป็นพื้นฐาน จงมีสติเป็นเพื่อนอยู่เสมอ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]การเรียนรู้ปฏิบัติธรรมอยู่ด้วย หลวงปู่แหวนได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็วมีความเพลิดเพลินในการปฏิบัติ เมื่อติดขัดอะไรก็เข้าไปเรียนถามหลวงปู่สี หลวงปู่ก็แนะนำให้เป็นอย่างดี และแจกแจงข้อธรรมอย่างละเอียด อย่างเช่นท่านสอนให้รักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเราให้ดี จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทุกอย่างต้องน้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้าหาใจ พระธรรมทั้งหลายให้ยกใจขึ้นเป็นหัวหน้า[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ชำระใจให้บริสุทธิ์ รักษาตา หู จมูก ลิ้น กาย ไว้ รักษาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ไว้ หมั่นภาวนา พิจารณาให้ดีนะ...ดั่งคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“ละในสิ่งที่ควรละ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละคือทางดำเนินไปสู่มรรคผลนิพพาน”[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ พิจารณาเห็นว่า พระภิกษุแหวน เป็นผู้ตั้งใจในการปฏิบัติธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ อย่างสม่ำเสมอ วันหนึ่งข้างหน้าจะเป็นผู้สืบสานพระพุทธศาสนาต่อไปได้ดี[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่ และพระภิกษุแหวน อาจารย์ และศิษย์ได้ออกธุดงค์ บำเพ็ญเพียรเสาะแสวงหาสัจธรรม ร่วมอยู่ในป่าจังหวัดเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๕๔[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระภิกษุแหวนติดตามหลวงปู่อยู่ ๒ ปี หลวงปู่สีท่านก็ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้พระภิกษุแหวน สุจิณโณ หลายประการ ก่อนแยกย้าย หลวงปู่ก็เน้นสั่งสอนในข้อปฏิบัติของการออกธุดงค์...คือ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- อย่าปักกลดที่ไหนเกิน ๗ วัน จะทำให้ติดที่[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- ห้ามนอนปักกลดขวางทางสัตว์เดิน[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- ห้ามปักกลดริมน้ำ (นอน) เพราะธรรมชาติสัตว์จะต้องมากินน้ำริมลำธาร[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- ห้ามปักกลดนอนใต้ต้นไม้ใหญ่เกิน ๓ ราตรี เพราะต้นไม้ใหญ่มีรุกขเทวดาอยู่ จะทำให้รุกขเทวดาเดือดร้อน ไม่กล้าอยู่ จะเข้าออกขึ้นลงก็ลำบาก หากไม่จำเป็นห้ามนอนปักกลดใต้ต้นไม้ใหญ่[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]จงอย่าลืม ต้องหมั่นพิจารณากรรมฐาน ทุกเช้าจะต้องตื่นมาพิจารณารับอรุณ เดินจงกรม ทำอานาปานสติ ทำจิตให้เป็นสมาธิ ทุกย่างก้าวต้องมีสติเน้อ...[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พบเพชรเม็ดงามที่หนองคาย[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif](พ.ศ. ๒๔๖๗)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่บุดดา ถาวโร เกิดที่หมู่บ้านหนองเต่า ตำบลพุคา อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี นามเดิม (มุกดา มงคลทอง) เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]บิดาชื่อ น้อย มงคลทอง มารดาชื่อ อึ่ง มงคลทอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๗ คน ชาย ๔ หญิง ๓[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พ.ศ.๒๔๕๘ มีอายุได้ ๒๑ ปี ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ถ้าใครใกล้ชิดหลวงปู่บุดดา ท่านก็จะพลิกท้องแขนของท่านให้ดูหลักฐานที่สักเอาไว้ คือ ท.บ. ๓ / ๒๕๘๕ หมายถึงทหารบก ปืน ๓ สมัยรัชกาลที่ ๖ ปี ๒๔๕๘[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้น หลวงปู่อาสาไปรบยุโรป ตอนนี้ท่านเล่าให้ฟังอย่างสนุก ว่าท่านอยากไปรบ ถึงได้ไปสมัคร แต่เขาตัดออก เพราะเหตุอย่างเดียวคือ ท่านกินเหล้าไม่เป็น เขาบอกกับท่านว่า กินเหล้าไม่เป็น ไปไม่ได้ เพราะยุโรปหนาวมาก ทหารที่ไปรบในยุโรปจะต้องกินเหล้าเป็น เพราะเหล้าจะช่วยลดคลายหนาวเย็น ท่านจึงไม่ได้เข้าไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อมาพ้นทหารแล้วก็ออกมาช่วยพ่อแม่ ประกอบสัมมาอาชีพ ในด้านเกษตร จนอายุได้ ๒๘ ปี ท่านจึงอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๕[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]อุปสมบทที่วัดเนินยาว ตำบลโนนทอง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีท่านพระครูธรรมขันธ์สุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูเรือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านได้ฉายาว่า “ถาวโรภิกขุ”[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่ท่านกล่าวเสมอว่า ท่านถือพระอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์ ๒๕ รูป เป็นครูบาอาจารย์ของท่านเป็นปฐม ท่านสอนปัญจกรรมฐานให้ในวันอุปสมบท คือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยให้พิจารณาเรียงไปตามลำดับและย้อนกลับจนเห็นได้ชัดเจน[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เมื่อพิจารณาก็เกิดเห็นความเป็นจริง คือ ความไม่เที่ยงแท้ มันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ทั้งกายและจิตใจ เป็นของหาตัวตนไม่ได้ จะยึดว่าเรา ว่าเขาไม่ได้ ถ้าไปยึดติดในสังขาร ร่างกายก็จะเป็นคน[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในวันหนึ่งขณะที่ผู้เขียนบีบนวดให้ท่านหลวงปู่บุดดา ท่านจะเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟังพร้อมทั้งอบรมธรรมต่าง ๆ ให้ได้รู้ ไม่ว่าจะเรื่องสมัยที่ท่านรับราช ธุดงค์การทหาร และการธุดงค์ไปตามป่าเขา หลวงปู่บุดดา[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ท่านเป็นผู้ที่มีความจดจำ แม่นยำมาก เวลาท่านเล่าให้ฟัง สนุกสนาน ท่านจะเล่าให้ฟังทุกครั้งที่นวดให้ท่าน[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]วันหนึ่ง ผมเอ่ยถามท่านว่า “หลวงปู่ครับ หลวงปู่พบหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เขาถ้ำบุญนาค ตาคลี เมื่อไหร่ครับ”[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่บุดดา ท่านนิ่งไปสักครู่ ท่านจึงตอบว่า [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“หลวงพ่อลี (สี) น่ะ ท่านเป็นคนสุรินทร์ พบท่านเมื่อบวชได้ พรรษาที่ ๓ ที่ป่าจังหวัดหนองคาย[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่ดี มีความรู้มาก ได้ติดตามธุดงค์กับท่าน ตอนหลังท่านมาอยู่ที่ถ้ำเขาบุญนาค ตาคลี นครสวรรค์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ธรรมะของหลวงพ่อสี ท่านให้ไว้เมื่อคราวติดตามธุดงค์นั้น หลวงพ่อสีท่านให้ไว้...[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เป็นพระป่า [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- อย่ากลัวอด[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- อย่ากลัวเจ็บ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- อย่ากลัวตาย[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ถ้าไม่กลัว ในสิ่งเหล่านี้ รักษาวินัย หมั่นภาวนา พิจารณากรรมฐาน ก็จะธุดงค์ไปได้อย่างไม่มีอันตราย”[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่บุดดา ถาวโร ท่านเล่าว่าพรรษาที่สาม หลวงปู่ได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านทุ่ง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย พอออกพรรษาท่านก็ออกธุดงค์เข้าป่าแถบป่าเมืองหนองคาย และได้พบหลวงพ่อสี (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ) และได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่สี ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ ๙๕ ปี พ.ศ.๒๔๖๗ [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในเรื่องการเคารพนับถือที่หลวงปู่บุดดา ถาวโร ที่มีต่อหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ นั้น จะเห็นได้จากแม้ในบางครั้งท่านจะเจ็บป่วยอย่างไร เมื่อถึงวาระท่านจะต้องไปกราบหลวงปู่ ทุกปี บางครั้งอาพาธจนลงจากรถไม่ได้ ก็ให้คนขับรถพาท่านไปที่เขาถ้ำบุญนาค แล้วท่านก็กราบนมัสการหลวงปู่จากในรถตู้ที่เป็นพาหนะของท่าน[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางเรื่องเท่านั้น ที่หลวงปู่บุดดา ถาวโร ที่มีความเคารพศรัทธามั่นคงต่อหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]นอกจากหลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่บุดดา ถาวโร ที่พบพานหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ในระหว่างธุดงค์อยู่ในป่า มีความศรัทธาในปฏิปทา อาจรักษาพระวินัยที่มั่นคง มีความรอบรู้แตกฉานในข้อธรรม จนมอบตัวเข้าเป็นศิษย์ แล้วยังมีพระอาจารย์อีกหลายรูปด้วยกัน ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สี อาทิเช่น.[/FONT][FONT=trebuchet ms,sans-serif]:.[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ตาคลี นครสวรรค์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- หลวงพ่อเจริญ วัดตาลานใต้ ผักไห่ อยุธยา[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- หลวงพ่อจ้อย วัดสายชลรังษี (วัดแหลมบน) จังหวัดฉะเชิงเทรา[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- พระครูนิวิปริยคุณ (อาจารย์สมบูรณ์ ปริสัมปุณโณ) เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี นครสวรรค์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- พระอาจารย์รักษ์ เตชธัมโม (อยู่พิษณุโลก) เป็นผู้ดูแลหลวงปู่สีตอนอยู่วัดเขาถ้ำฯ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- พระอาจารย์สุพจน์ (อาจารย์เจ็ก) ฉนฺทชาโต วัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- พระอาจารย์จันทร์ (ญาครูจันทร์) วัดจันทราราม จังหวัดสุรินทร์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- พระอาจารย์ประเทือง พุทธธมฺโม วัดสัมปทวนนอก ตำบลบางแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ ชัยนาท[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]- พระครูวิศิษธ์สมโพธ์ วัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพฯ[/FONT]
    - ฯลฯ
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงบางองค์เท่านั้น เท่าที่ได้ฟังคำบอกเล่าจากหลวงปู่บุดดา ถาวโร และหลวงปู่เย็น ทานรโต เพราะพระอาจารย์ทั้ง ๒ องค์นี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปถวายการนวดหลายครั้งจึงมีโอกาสถามเรื่องราวต่าง ๆ ได้มากพอสมควร แต่ก็คงมีอีกหลายองค์ด้วยกันที่มิได้กล่าวถึงในที่นี้[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]โดยเฉพาะหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ จนถึงกาลมรณะของหลวงปู่สี[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในส่วนพระสหธรรมมิกของหลวงปู่ที่ปรากฏชัดเจนก็มีหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อยุธยา หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท หลวงพ่อป่าน วัดคลองด่าน (บางเหี้ย) จังหวัดสมุทรปราการ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระอาจารย์ของหลวงบู่สี ฉนฺทสิริ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑. พระอาจารย์อินทร์ พระธุดงค์ จังหวัดสุรินทร์ (พ.ศ.๒๔๐๒)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง บางกอกน้อย ธนบุรี (พ.ศ. ๒๔๐๓-๒๔๑๑)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๓ พระครูธรรมขันธ์สุนทร พระอุปัชฌาย์ (พ.ศ.๒๔๓๑) วัดบ้านเส้า อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๕. พระเทพโลกอุดร (ตอนธุดงค์อยู่ในป่า) (คำบอกเล่าของหลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ ชัยนาท พระสหธรรมมิกของหลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่กอง วัดสระมณฑล สหายธรรมของปู่โทน หลำแพร อายุ ๑๐๐ ปี ปู่โทนเป็นสาย “หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร เป็นอาจารย์คนหนึ่งของอาจารย์สมบูรณ์ ซึ่งเป็นผู้แนะนำอาจารย์สมบูรณ์ สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาค ให้ไปนิมนต์หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ให้มาช่วยสร้างสำนักสงฆ์เขาถ้ำให้เป็นวัดในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ )[/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนที่ ๑๐ : พระสหมิกธรรม, ปฏิหาริย์, อานุภาพพระเครื่อง วัตถุมงคล

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่เย็น ทานรโต[/FONT]





    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เจ้าตำรับตัว “พ” พระสหธรรมิก กับ หลวงปู่บุดดา ถาวโร[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่เย็น ทานรโต วัดสระเปรียญ ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท เกิดวันเสาร์ เดือนสี่ ปีขาล พุทธศักราช ๒๔๔๕ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]อุปสมบท พ.ศ.๒๔๖๖ วัดเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาย้ายมาอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี เป็นมหาเปรียญ ๕ ประโยค ท่านเป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น พูดถึง “มหาเย็น” ทุกคนแถบแถวละแวกนั้นจะรู้จักดี ท่านเป็นพระนักเทศน์ นักปฏิบัติที่เคร่ง เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรที่งดงามในสมัยนั้น ท่านฉันมังสวิรัติ ถือสันโดษ ไม่เกาะติดยึดมั่นกับสิ่งใด มุ่งแต่จะศึกษาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ต่อมาได้เป็นผู้สร้างวัดร้างให้เจริญรุ่งเรือง อาทิเช่น วัดกลางชูศรีเจริญสุข ตำบลพักทัน จังหวัดสิงห์บุรี ท่านไปพบเป็นเพียงเศษอิฐหัก ๆ กองสุม มีพื้นฐานเป็นเจดีย์เก่า ท่านก่อสร้างฟื้นฟูจนเจริญรุ่งเรืองดังเช่นปัจจุบัน และวัดสระเปรียญ สรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ในสมัยที่ผู้เขียนบวชอยู่ ได้ไปปรนนิบัติหลวงปู่เย็น ท่านเคยชวนให้ไปดูวัดร้าง มีแต่ซากปรักหักพังและกองอิฐ อยู่ไม่ห่างจากวัดกลางชูศรีฯ เป็นเขตแดนติดต่อระหว่างสิงห์บุรี กับชัยนาท ต่อมาท่านก็มาสร้างขึ้นเป็นวัดอีกเช่นกัน[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เรื่องราวของหลวงปู่พระเทพโลกอุดร ท่านเล่าให้ฟังว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในสมัยนั้นท่านยังจำพรรษาอยู่ที่วัดระฆัง ธนบุรี วันหนึ่งท่านเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินแบกกลดสะพายบาตรผ่านมา พอท่านเห็นก็เกิดความเลื่อมใส จึงเข้าไปกราบนิมนต์ขอให้พระธุดงค์รูปนั้นเข้ามาพักที่กุฏิของท่านก่อน เมื่อพระธุดงค์รูปนั้นเข้ามาพักที่กุฏิของท่าน จึงเอาน้ำมาถวาย หากาสนะมาปูให้นั่งพักผ่อน พอพระธุดงค์ฉันน้ำเรียบร้อยสักพัก ท่านก็ถามพระธุดงค์ว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“หลวงพ่อจะไปไหน?” [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ท่านก็ตอบว่าจะไป “ธุดงค์”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระธุดงค์รูปนั้นก็เล่าถึงเรื่องการเดินธุดงค์ไปยังเมืองลาวให้ฟังว่า ต้องเดินทางผ่านป่าเขาซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้ป่า ที่ร้ายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ต้องเดินผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่ง เรียกว่า “บ้านแก้ว”. ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เลื่องลือในเรื่องยาพิษยาสั่ง คนแปลกหน้าเดินผ่านหมู่บ้านนี้ไม่ได้ จะต้องถูกยาสั่งเสมอ น้อยคนที่จะผ่านหมู่บ้านนี้ได้อย่างปลอดภัย[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่เย็นได้ฟังดังนั้น เกิดความสงสัยจึงถามพระธุดงค์ว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“ท่านไม่กลัวเขาทำให้ตายหรือ?”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระธุดงค์ก็ตอบเป็นปริศนา..[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“เขาทำให้ตาย กินข้าวได้ เราไม่กลัว”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อจากนั้นก็สนทนาเรื่องอื่นๆ จึงรู้ว่าพระธุดงค์ที่ท่านสนทนาอยู่ด้วยนั้น ไม่ใช่พระธรรมดา เป็นพระอภิญญาผู้เรืองวิทยาคม[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่เย็นจึงเอ่ยขึ้นว่า ท่านธุดงค์ไปทั่วสารทิศไม่ว่า เมืองแขก เมืองลาว เขมร พม่า ไทย หลวงพ่อจะต้องมีของดี ท่านก็บอกว่ามี และเหมือนจะรู้ใจว่า หลวงปู่เย็นอยากจะขอของดีจากท่าน ท่านก็ให้หลวงปู่เย็นไปหยิบก้านธูปที่บูชาพระมาให้ท่าน [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ท่านก็หักก้านธูปเป็นตัว “พ” แล้วเอาด้ายสายสิญจน์มาพันตัว “พ” พร้อมทั้งสาธุยายมนต์กำกับตัว “พ” ให้ฟัง พอเสร็จท่านก็ส่งมอบให้ และบอกว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“เป็นแก้วสารพัดนึก สามารถให้เป็นไปตามปรารถนาได้ทุกประการ”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ของวิเศษนี้ สร้างขึ้นง่ายดาย ไม่ต้องใช้วัสดุอื่นให้ยุ่งยาก ใช้แต่ก้านธูปที่บูชาพระและด้ายสายสิญจน์เท่านั้น พอท่านรับของวิเศษตัว “พ” ท่านก็ก้มลงกราบ แต่น่ามหัศจรรย์ พอเงยหน้าขึ้น พระธุดงค์รูปนั้นก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ถือว่าพระธุดงค์รูปนั้นเป็นครูบาอาจารย์ของท่าน แต่ท่านก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร? [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อเมื่อภายหลังมีผู้เอารูปหลวงพ่อพระครูเทพโลกอุดรมาให้ท่านปลุกเสก ท่านจึงจำได้ว่าเป็นพระองค์ที่มาถ่ายทอดตัว “พ” ให้ จึงถามผู้นั้นว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]”เอามาจากไหน? ข้าขอสักรูปได้ไหม” [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ศิษย์คนนั้นก็ขยายรูปใหญ่มาถวายให้ท่าน ท่านเล่าพร้อมกับชี้นิ้วไปที่รูปพระครูเทพโลกอุดร ที่ตั้งบูชาไว้ที่บนหัวนอนของท่าน[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อมาท่านก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ท่านเล่าว่า “ใครว่าที่ไหนดี กูก็ไป ใครว่าพระองค์ไหนเก่ง กูไปขอเป็นศิษย์”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“มีใครบ้างล่ะหลวงปู่...” ผมถาม[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]นอกจากพระครูเทพโลกอุดร องค์ต่อไปก็หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา สุพรรณ เจ้าคุณศรี วัดพระธาตุ หลวงพ่อสี พระธุดงค์ในป่า (หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ)[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พอเอ่ยถึงหลวงพ่อสี ผมก็ถามท่านว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“หลวงปู่พบหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ที่ไหน” [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ผมพูดพร้อมทั้งเอารูปหลวงปู่สีให้ดู[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ท่านบอกว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“พบในป่าแถบลพบุรี ท่านเป็นพระดี พระเก่ง พูดน้อย ปฏิบัติมาก เวลาไปไหน? พบต้นไม้ใหญ่ ๆ ท่านจะยืนคุยกับรุกขเทวดา สักพักท่านจึงเดินทางต่อไป เวลาท่านพักตามถ้ำ จะได้ยินท่านพูดคุยกับรุกขเทวดา บางครั้งท่านก็แสดงธรรมแผ่เมตตา หลวงพ่อสี ท่านเป็นพระที่มีเมตตา หลวงพ่อสี ท่านเป็นพระแท้ เป็นพระทองคำ”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่เย็น ทานรโต เทพเจ้าแห่งตัว “พ” ท่านกล่าวถึง หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ด้วยหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ด้วยจิตใจที่ยกย่องเคารพบูชา...[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ย่นระยะทางไปพบสหายธรรม[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในสมัยที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่สีมักจะเดินทางไปสนทนาธรรมกันอยู่บ่อยครั้ง ในบางครั้งหลวงปู่ศุขก็เดินทางไปพบหลวงปู่สี และบางครั้งก็ไปพบกับหลวงปู่สี และบางครั้งก็ไปพบกับหลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ ทั้งสามท่านมีความผูกพันกันมาก มักจะผลัดเปลี่ยนเวียนกันไปพบซึ่งกันและกัน และในบางครั้งก็ออกธุดงค์ไปตามป่าดงพงเขาด้วยกันในบางครั้งบางคราว[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระสหธรรมทั้งสาม หลวงปู่กลั่น หลวงปู่ศุข หลวงปู่สี ทั้งสามเกิดปี พ.ศ.ใกล้เคียงกัน หลวงปู่กลั่น วัดพระญาติ เกิดปี พ.ศ.๒๓๙๐ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรฯ เกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ส่วนหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ เกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๒ ซึ่งอ่อนกว่าทั้งสองท่านเพียง ๒ ปี แต่พระอาจารย์ทั้งสามท่านก็มีความผูกพันกัน ธุดงค์และศึกษาปฏิบัติธรรมด้วยกัน มีอะไรก็แลกเปลี่ยนกัน[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในครั้งที่หลวงปู่ศุขเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่สีได้เดินทางไปเยี่ยมและอยู่สนทนาธรรมกัน หลังจากที่ออกพรรษาแล้วหลายวัน หลวงปู่สีก็คิดว่าจะออกเดินธุดงค์ต่อไป แต่หลวงปู่ศุขก็ขอร้องให้หลวงปู่สีรออยู่ที่วัดก่อน[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เช้าวันนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็ออกบิณฑบาต ฝ่ายหลวงปู่ลี พอเห็นหลวงปู่ศุขไปแล้วท่านก็เก็บของของท่านที่จำเป็นแล้วออกเดินทางไป[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เมื่อหลวงปู่ศุขกลับจากบิณฑบาต ทราบจากพระในวัดว่าหลวงปู่สีท่านไปแล้ว หลวงปู่ศุขจึงให้พระเณรฉันข้าวก่อน เดี๋ยวจะกลับมาฉันด้วย ต่อจากนั้นท่านก็เข้ากุฏิ นำพระคัมภีร์ ๓ เล่ม ตามไปให้หลวงปู่สี [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ปรากฏว่าพระอาจารย์ทั้งสองรูปมาพบกันที่ตาคลี จากนั้นหลวงปู่ศุขท่านก็เดินทางกลับวัดที่ชัยนาท ไปฉันอาหารร่วมรับพระเณรจนเสร็จ[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระอาจารย์ทั้งสามรูปนี้ท่านสำเร็จอภิญญาชั้นสูง จึงสามารถย่นระยะทางไปไหนมาไหนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระยะทางจากชัยนาทมาถึงตาคลี ระยะทางประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร ถ้านั่งรถก็ต้องใช้เวลาเกือบชั่วโมงเห็นจะได้[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในเรื่องฤทธิ์เดชต่างๆ นี้ เวลาที่ลูกศิษย์ถามหลวงปู่ท่านจะแกล้งล้มตัวลงนอน ไม่ตอบคำถามของลูกศิษย์ แต่หากถามเรื่องธรรมะต่างๆ ท่านก็จะขยายข้อธรรมให้อย่างชัดเจน เพราะท่านไม่ต้องการให้ลูกศิษย์โดยเฉพาะพระภิกษุไปติดในเรื่องเดชฤทธิ์อำนาจ ท่านต้องการให้ใฝ่ใจในเรื่องการปฏิบัติธรรม[/FONT]​




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ปาฏิหาริย์ แยกกายโปรดโยม[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เมื่อราวต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางวัดเขาถ้ำบุญนาค ตาคลี ได้จัดให้มีงานประจำปีขึ้น ซึ่งไปตรงกับงานอีกวัดหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ซึ่งทางวัดก็ได้นิมนต์หลวงปู่สี ไปโปรดญาติโยมชาวจังหวัดชลบุรี ในงานที่วัด หลวงปู่สี ท่านก็รับปากว่าจะไป ในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]งานวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ ที่วัดในจังหวัดชลบุรีที่ได้นิมนต์หลวงปู่ไว้ หลวงปู่ท่านก็ไปประพรมน้ำมนต์ให้ญาติโยมในงานที่วัดชลบุรี ตามคำนิมนต์[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อมาวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๙ ชาวจังหวัดชลบุรี ก็เหมารถมาเที่ยวที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ตั้งใจมากราบหลวงปู่สี เพราะติดใจหลวงปู่สี ที่ได้กราบรับพรจากหลวงปู่เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ ที่วัดในจังหวัดชลบุรี[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ข่าวหลวงปู่เดินทางไปจังหวัดชลบุรี ในวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ แพร่ออกไป เหล่าลูกศิษย์หลวงปู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค ต่างก็แปลกใจและงงไปตามๆ กัน เพราะว่าทุกคนก็เห็นว่าวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๑๙ นั้นหลวงปู่ท่านไม่ได้ไปไหน ท่านอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคตลอดเวลา เพราะว่าทางวัดมีงาน มีคนมากราบไหว้หลวงปู่อยู่ตลอดเวลา[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระและลูกศิษย์ที่วัดเขาถ้ำบุญนาคจึงไปกราบถามหลวงปู่ว่า [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“หลวงปู่ครับ เมื่อวานหลวงปู่ไปเมืองชลบุรีมาหรือครับ”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่ท่านไม่ตอบ พอมีคนมาถามนัก ท่านก็เลยล้มตัวลงนอน เลยไม่มีใครกล้าถามอะไรท่านอีก[/FONT]



    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เมตตาธรรม[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ความเมตตาของหลวงปู่สีนั้นท่านมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเทพเทวา รุกขเทวดา ดวงวิญญาณทั่วไป ท่านจะโปรดแผ่เมตตาจิตไปให้ อีกทั้งมนุษย์ และสัตว์ทั่วไปจะเห็นได้จากเวลาที่หลวงปู่สีท่านฉันอาหารจะมีสัตว์ต่าง ๆ มารายล้อมท่าน อาทิ นก ไก่ ลิง แมว สุนัข ท่านก็หยิบอาหารแบ่งให้สัตว์เหล่านั้น สัตว์นานาชนิดเหล่านั้นก็ต่างกินอาหารกันอย่างเป็นระเบียบ ไม่แย่งกัน ไม่กัดกัน ท่านจะนั่งมองด้วยสายตาที่เปี่ยมล้นด้วยความเมตตา[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ครั้นถึงเวลานอน ก่อนที่ท่านจะเข้านอนท่านจะต้องเอาเศษผ้าจีวร และผ้าเก่า ๆ มาเดินห่มให้ แมว สุนัขทุกลัว ที่นอนอยู่ในบริเวณกุฏิของท่านอย่างทั่วถึง[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่ท่านมีความเมตตาต่อสัตว์มาก ท่านจะสนใจให้ข้าวให้น้ำ มันกินอยู่เสมอ บางคราวท่านเห็นว่ามันจะได้รับอันตราย ท่านก็จะเอาเศษผ้าเช็ดน้ำหมากของท่านฉีกผูกคอทั้งสุนัข แมว ไก่ ซึ่งสัตว์เหล่านั้นถูกพวกขี้เหล้าเมายาอันธพาลรังแก ทำร้าย ท่านจึงได้พิจารณาแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ นำเอาผ้าเช็ดน้ำหมาก ผูกคอคล้องคอให้สัตว์เหล่านั้น ถึงแม้ว่าสัตว์เหล่านั้นจะถูกทำร้าย ถูกรังแกนับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ปรากฏว่าสัตว์เหล่านั้นไม่เคยมีตัวใดได้รับอันตรายเลย ไม่ว่าจากอาวุธชนิดใด มีด ปืน ระเบิดยิงออกบ้าง ไม่ออกบ้าง สุดแต่วิบากของสัตว์เหล่านั้นในเวลานั้น หนักจะเป็นเบาและปลอดภัย[/FONT]​



    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]รถทับไก่[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]มีอยู่คราวหนึ่ง มีนายทหารท่านหนึ่งได้ยินกิตติศัพท์ของท่านจึงขับรถเบนซ์ของตนเดินทางไปเพื่อกราบพบหลวงปู่ท่าน ครั้นเมื่อไปถึงได้เห็นหลวงปู่นั่งยองๆ อยู่ในกุฏิ เปลือยกายท่อนบน กุฏิของท่านมีแต่สุนัข แมว แถมเป็นขี้เรื้อนด้วย ก็เกิดความรังเกียจไม่เลื่อมใส ก็เลยไม่ยอมเข้าไปกราบ เดินมาขึ้นรถกลับ แต่ในขณะนั้นมีไก่ซึ่งหลวงปู่เลี้ยงไว้ ได้เดินเข้าไปอยู่ใต้ท้องรถพอดี [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]นายทหารผู้นั้นไม่ทันเห็นจึงขับรถออกไป ทำให้ล้อรถทับไก่เข้าเต็มที่ ผู้คนที่อยู่ในวัดต่างร้องขึ้นด้วยความตกใจ ทำให้นายทหารผู้นั้นต้องหยุดรถลงมาดู คิดว่าคงเละแน่ แต่ผลกลับปรากฏว่าไอ้ตัวนั้นไม่เป็นอะไรเลย หลังจากถูกทับแล้ว มันขยับปีกไปมาสักชั่วอึดใจ แล้วก็เดินจากไปคุ้ยเขี่ยหากาหารกินของมันตามปกติ เท่านั้นแหละ นายทหารผู้นั้นถึงกับตะถึงงัน รีบถอยรถกลับไปกราบนมัสการหลวงปู่ทันที พร้อมทั้งขอของดีไว้ใช้ติดตัว ทราบว่าได้ไปหลายอย่างทีเดียว[/FONT]​




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ไก่กับระเบิด[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ภายหลังนายทหารผู้นั้นกลับไป ได้มีผู้ใต้บังคับบัญชาหลายคน เดินทางมากราบหลวงปู่อีก เพื่อขอวัตถุมงคล ในระยะนั้นหลวงปู่ท่านยังไม่อนุญาตให้สร้างวัตถุมงคล ท่านจึงคายชานหมากให้ไปกันทุกคน มีทหารผู้หนึ่งซึ่งได้ชานหมากไปด้วย ก็คิดลองดีว่าจะแน่สักแค่ไหน เลยเอาไปแขวนคอไก่ พอไก่เดินออกไปได้ระยะพอสมควร ก็สั่งเพื่อนๆ หมอบ พร้อมทั้งโยนระเบิดสังหารเข้าใส่ไก่ตัวนั้นทันที[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ตูม...เสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว ไก่มันตกใจก็บินขึ้นและตัวมันก็เจอระเบิดเข้าเต็มที่ ขนหลุดปลิวว่อนไปหมด แต่พอมันหล่นลงพื้น ก็มีอาการซวนเซเล็กน้อย ชั่วครู่ก็ออกหากินได้ต่อไป ไม่เป็นอะไรเลย ไม่มีแม้แต่บาดแผล[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]นายทหารผู้เป็นนายได้ทราบเรื่องเข้า มีความเชื่อมั่นในองค์หลวงปู่ยิ่งขึ้น แต่ก็โกรธมากเช่นกัน ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำการทดลองในลักษณะนั้น ผลที่สุดก็สั่งกักบริเวณทหารผู้นั้นไปเสีย ๑๕ วันสบาย ๆ[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่นั้นอันที่จริงแม้ว่าท่านจะหยิบจะจับอะไรล้วนแล้วแต่กลับกลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ไปทั้งสิ้น.แม้แต่ผ้าที่ท่านใช้เช็ดปากเช็ดน้ำหมากก็ตามที ท่านมักฉีกเอาไปผูกคอสุนัขบ้าง แมวบ้าง ด้วยเมตตามันที่มันถูกรังแกบ่อยๆ[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ครั้งหนึ่งมีสุนัขบ้านใกล้ๆ วัด หลงเข้ามาคลุกคลีกับท่าน จึงเอาผ้าเช็ดน้ำหมากฉีกผูกคอมันไป ต่อมาสุนัขตัวนั้นไปรบกวนสัตว์อื่น เช่น เป็ด ไก่ จนกระทั่งเจ้าของสัตว์ปีกเหล่านั้นเหลือจะทน จึงใช้ปืนลูกซองยิงมัน แต่ปรากฏว่าด้วยอานุภาพผ้าเช็ดน้ำหมาก ยิงถูกแต่ไม่เข้า สุนัขตัวนั้นวิ่งกลับไปยังบ้านเจ้าของของมัน ผู้เห็นเหตุการณ์นำเรื่องไปบอกเล่าให้เจ้าของฟัง ก็เลยเกิดการถอดผ้าผืนนั้นเก็บไว้บูชาเสียเอง ภายหลังเมื่อสุนัขตัวนั้นเข้าไปในวัดอีก หลวงปู่ท่านก็เมตตาผูกให้มันใหม่ และจากเหตุนี้เอง ทำให้ผ้าเช็ดน้าหมากของท่านอันตรธานไปบ่อยๆ แต่ใช่ว่าหลวงปู่ท่านจะหลงลืม เปล่าเลย ท่านจำของท่านได้ว่าท่านมีของท่านกี่ผืน จนกระทั่งท่านบ่นว่า.เอาไปทำไมกัน แต่ก็ห้ามศรัทธาของชาวบ้านไม่ได้[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้ร่ำลือกันไปสู่สาธารณชนทั่วไป ดังนั้นผู้ที่ได้รับทราบกิตติคุณของหลวงปู่ ต่างก็เดินทางไปกราบไปนมัสการ ทั้งจากที่ใกล้และที่ไกล ต่างก็อยากได้แต่ขี้หมากชานหมากของท่าน จนท่านเคี้ยวหมาก ฉันหมากแจกให้ไม่ทัน และไม่พอแจก นี่เองจึงเป็นเหตุให้ท่านต้องอนุญาตให้บรรดาศิษย์ผู้ที่เคารพในองค์ท่านสร้างวัตถุมงคลขึ้น แม้ท่านไม่อยากให้สร้าง[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เพราะไม่ต้องการชื่อเสียงก็ตาม แต่ในที่สุดก็ทนต่อคำอ้อนวอนขอร้องของบรรดาศิษย์ไม่ได้[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ก่อนที่จะกล่าวถึงการสร้างวัตถุมงคลของท่าน ขอกล่าวถึงชานหมากของท่านสักเล็กน้อย หลวงปู่ท่านเมื่อคายชานหมากแล้ว ก่อนมอบให้ผู้ใด ท่านจะจำมาแบ่งเป็นก้อนๆ ซึ่งคำหนึ่งได้เพียง ๓-๔ ก้อนเท่านั้น แล้วท่านจะฉีกผ้าเช็ดหมาก[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]บ้าง ผ้าจีวร สบง ผ้าอาบน้ำฝน สีส้มๆ ห่อแล้วผูกไว้อย่างดี จึงมอบให้ผู้ต้องการรับเอาไปติดตัวใช้ หากท่านสาธุชนท่านใดได้พบเห็นห่อผ้าเหลืองกลม ๆ มีขี้หมากอยู่ข้างใน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตรละก็ ให้ทราบได้เลยว่า ท่านได้พบสุดยอดวัตถุมงคลแล้ว หรือหากท่านใดมีไว้ในครอบครองอยู่แล้ว ก็พึงเก็บรักษาไว้ให้ดี นั่นเพราะเป็นสุดยอดวัตถุมงคลจริงๆ และหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน เนื่องจากจนถึงวันนี้เวลานี้ ไม่มีใครมาเคี้ยวมาฉันให้เราอีกแล้ว เพราะหลวงปู่ได้มรณภาพไปตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ เป็นเวลาถึง ๒๐ ปีแล้ว ผู้ใดมีไว้ในครอบครองพึงหวงแหนอย่างยิ่ง[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในยุคสมัยโบราณนั้นครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ไม่นิยมสร้างพระเครื่อง หรือสร้างรูปหล่อรูปท่านเอง ถ้าจะสร้างก็เป็นการสร้างเพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา ในการบรรจุลงในพระเจดีย์ต่างๆ ที่สำคัญ หรือบรรจุไว้ในองค์พระประธาน ใต้ฐานพระประฐาน จะไม่ทำซื้อขายจ่ายแจกกันอย่างมากมายเช่นในยุคปัจจุบัน [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]วัตถุมงคลที่นิยมสร้างขึ้นแจกให้ลูกศิษย์ลูกหาหรือคนที่สนิท ก็จะเป็นพวกผ้ายันต์มงคล แหวนพิรอด เสื้อยันต์ ตะกรุด เบี้ยแก้ เบี้ยกัน ลูกอม ลูกอมที่แจกก็มีลูกอมที่ทำมาจากเนื้อดิน เนื้อผง และจากชานหมาก[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]นอกจากหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน พิจิตร หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อยุธยา หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท ที่มีชานหมากอันวิเศษที่นักสะสมวัตถุมงคลต้องการแสวงหากันแล้ว ก็มีชานหมากของ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ที่มีคุณวิเศษนับว่าเป็นหนึ่งเช่นกัน[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่สี ท่านเป็นนักกินหมากมาตั้งแต่วัยรุ่น ไม่ว่าท่านจะไปไหนมาไหนท่านจะต้องมีหมากห่อพกติดตัวท่านไว้ตลอดเวลา และเมื่อท่านบวชเรียนเป็นครูบาอาจารย์มีผู้คนกราบไหว้ท่าน บ้างก็ขอของดีจากท่าน ท่านเป็นพระโบราณรูปหนึ่งที่ไม่นิยมสร้างวัตถุมงคลเป็นรูปพระจ่ายแจก ท่านมายอมให้สร้างก็ตอนปลายๆ อายุท่าน คือเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมา จนถึงกาลมรณะของท่านเท่านั้น[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ก่อนหน้านั้นไม่มีประวัติการสร้างวัตถุมงคลเป็นรูปองค์พระหรือเป็นรูปองค์ท่าน นอกจากแจกตะกรุด ผ้ายันต์และคำหมาก “ชานหมาก” เท่านั้น[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]คำหมาก หรือ ชานหมาก ที่ได้รับจากมือหลวงปู่สี ส่วนใหญ่ท่านจะฉีกเศษจีวรเก่าที่อยู่ข้างกายของท่านผูกห่อเป็นคำ มอบให้กับศิษย์ และหลวงปู่ก็จะกำชับว่า “อย่าแกะ อย่าลอง”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในเรื่องการทดลองของวัตถุมงคลหลวงปู่ มีเรื่องเล่ากันว่า[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]นายทหารเคยเอาไปลองแขวนคอไก่แล้วลองยิงด้วยปืน แต่ปรากฏว่าไม่ออก และบางครั้งก็เอานักแม่นปืนเหรียญทองมาลองยิงถึงออกก็ไม่ถูก จนเป็นที่เลื่องลือ และแสวงหากันอย่างมากมาย แต่[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พอนายทหารคนที่นำวัตถุมงคลของหลวงปู่ไปทดลองยิง มากราบหลวงปู่ที่กุฏิ หลวงปู่ก็จะพูดขึ้นว่า วันนี้พวกเอ็งสนุกกัน แต่ข้าเจ็บปาก ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่หลวงปู่ห้ามทดลอง เพราะของของท่าน ท่านจะต้องคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้มีติดตัวให้พ้นเคราะห์กรรม แต่ท่านต้องรับกรรม[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ชานหมากของหลวงปู่ พระอาจารย์บางองค์ แม้แต่ที่วัดเขาถ้ำเองก็เอาชานหมาก น้ำหมากของหลวงปู่ไปผสมทำเป็นพระเครื่องในรุ่นต่าง ๆ ทราบว่ามีหลายรุ่นที่ผสมชานหมาก น้ำหมาก[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ของหลวงปู่สี บ้างก็เอาไปผสมทำเป็นลูกอม (ลูกอมเนื้อผงผสมชานหมาก)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เคยพบชานหมากรุ่นเก่าๆ ของหลวงปู่สี แต่ปรากฏว่าผ้าจีวรที่ห่อไว้ขาดไปหมดแล้วเหลือแต่ชานหมาก ภายหลังที่จีวรชำรุดแล้ว จึงนำมาใส่กรอบไว้ แต่รุ่นที่ออกมาจากวัดเขาถ้ำบุญนาค ส่วนใหญ่จะมีผ้าจีวรผูกมัดไว้อยู่เป็นส่วนใหญ่[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ เดชฤทธิ์ ความมหัศจรรย์ ในคุณวิเศษของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ นั้น มีมากมาย โดยเฉพาะในเรื่อง “ชานหมาก” ของหลวงปู่ มีเรื่องเล่าขานถึงคุณวิเศษ มากมาย ดังจะขอยกเอาบันทึกข้อเขียนของ พ.ต.ท.อรรณพ กอวัฒนา มาสอดแทรกไว้เพราะเป็นบันทึกข้อเขียนที่ดีมาก กล่าวอ้างถึงบุคคลและสถานที่ไว้อย่างละเอียด จึงขออนุญาตนำมาลงไว้เพื่อความชัดเจนในเรื่องประวัติของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ว่าเป็นเรื่องจริงมิใช่เรื่องนิทานเล่าขานเพื่อยกย่องครูบาอาจารย์เท่านั้น[/FONT]



    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]การสร้างวัด


    [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่สี ฉนทสิริ ท่านเดินทางออกเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ หลายประเทศ หลายจังหวัดรวมระยะเวลาเกือบร้อยปี หรือเรียกว่าเกือบจะตลอดชีวิตที่ท่านครองเพศบรรพชิต[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ครั้งสุดท้ายก่อนที่ท่านจะมาสร้างวัดเขาถ้ำบุญนาคนั้น ท่านได้ไปสร้างวัดที่หนองลุมพุก อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี ต่อมาพระอาจารย์สมบูรณ์ ที่พระครูนิวิฐปริยัติคุณ พร้อมด้วยชาวบ้านเขาถ้ำบุญนาค ได้พากันไปนิมนต์ให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดเขาถ้ำบุญนาค ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นสำนักสงฆ์


    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]อาจารย์สมบูรณ์ท่านเล่าว่าในสมัยที่วัดนี้ยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์กุฏิหลังเล็กๆ หาทางเข้าออกก็ไม่สะดวก ไปมาลำบาก แต่หลวงปู่ท่านชอบสภาพป่า ท่านเมตตา ท่านเต็มใจที่จะมาช่วยสร้างวัด ท่านเป็นผู้วิเศษ มีญาณหยั่งรู้กาลล่วงหน้า ว่าจะมีใครไปมาหาสู่ท่านและไปมาหาสู่ท่านในเรื่องอะไร ท่านล่วงรู้กาลล่วงหน้าได้ วันที่ไปรับนิมนต์ท่านนั้น หลวงปู่ท่านเตรียมตัวไว้พร้อมแล้ว สมบัติของท่านไม่มีอะไร ท่านเป็นผู้ที่ไม่สะสม ท่านมีกระเป๋าเก่าๆ ใส่ของใช้เล็กๆ น้อยๆ อยู่หนึ่งใบ ปัจจุบันนี้ทางวัดเก็บของทุกอย่างของหลวงปู่ไว้[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อจากนั้นท่านก็เดินทางมาพร้อมกับคณะที่ไปนิมนต์ท่านให้มาอยู่จำพรรษาที่เขาถ้ำบุญนาค เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ต่อมาชาวตาคลีพอรู้ว่าหลวงปู่มาอยู่ที่เขาถ้ำบุญนาคก็พามันมากราบไหว้หลวงปู่กันมากมาย สำนักสงฆ์ที่เก่ามอซอ ก็กลับมีชีวิตชีวาขึ้น มีการปลูกสร้างสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว ต่อมาก็มีถนนหนทางเข้าวัด ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงปู่ก็ช่วยกันสร้าง[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ สำนักสงฆ์เขาถ้ำบุญนาค ก็ยกฐานะขึ้นเป็นวัดโดยมีท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ หรือ ท่านพระครูนิวิฐปริยัติคุณเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบันนี้.[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่ลี ฉนฺทสิริ ท่านไม่สนใจในยศตำแหน่งใดๆ ท่านต้องการเพียงช่วยสร้างวัด สร้างโบสถ์.สร้างศาลาการเปรียญ สร้างกุฏิสงฆ์ สร้างถนนหนทาง สร้างวัดให้เป็นที่วัดที่สมบูรณ์ ส่วนตัวท่านเอง แม้แต่ลูกศิษย์จะร่วมใจกันสร้างกุฏิให้ใหม่ท่านก็ไม่ยอมอยู่ ท่านชอบอยู่ถ้ำและกุฏิหลังเก่า ในเรื่องนี้จึงมีเรื่องราวเล่าขานกันตราบเท่าทุกวันนี้ ในเรื่อง “ไม่อยากอยู่กุฏิหลังใหม่”[/FONT]


    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ไม่ยอมอยู่กุฏิหลังใหม่[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เป็นที่รู้จักกันว่าหลวงปู่สีท่านเป็นพระปฏิบัติที่ไม่ติดในวัตถุ ไม่สะสม และไม่ติดยึดในสิ่งใดๆ แม้แต่ความสะดวกสบายต่างๆ ที่ลูกศิษย์ทุกคนพร้อมที่จะถวายให้ท่าน แต่ท่านไม่เอา ดังนั้นกุฏิของท่านที่อยู่จึงเป็นกุฏิหลังไม้เก่าๆ หลังเล็กๆ หรือไม่ก็ในถ้ำที่ท่านชอบเข้าไปปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเจริญวิปัสสนากรรมฐาน[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ในวันหนึ่งท่านพระอาจารย์สมบูรณ์ เจ้าอาวาสเขาถ้ำบุญนาค ดำริที่จะสร้างกุฏิหลังใหม่ให้หลวงปู่ คณะกรรมการทุกคนก็พร้อมใจกัน จึงได้เรียกช่างปูนมาทำการก่อสร้าง โดยสร้างเป็นกุฏิปูนชั้นเดียว พอท่านทราบเรื่องว่าจะสร้างให้ท่าน ท่านก็บอกว่าจะไม่ยอมไปอยู่กุฏิหลังใหม่[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เป็นที่น่ามหัศจรรย์ หลังจากที่หลวงปู่สีท่านพูดเช่นนั้น ช่างปูนที่รับคำสั่งจากท่านเจ้าอาวาสได้ลงมือก่อสร้างกุฏิหลังใหม่ วันนั้นปรากฏว่าช่างปูนไม่สามารถฉาบปูนได้เลย เพราะฉาบปูนเท่าใดก็ไม่ติด กระทั่งช่างปูนนึกท้อใจ เพราะไม่เคยเป็นเช่นนี้มาก่อนเลยในชีวิตที่รับงานก่อสร้างมานับไม่ถ้วน ในที่สุดก็ตัดสินใจเลิกทำ ความทราบถึงท่านเจ้าอาวาส และ พระอาจารย์รักษ์ เตชธัมโม ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากของหลวงปู่ ได้ไปนมัสการหลวงปู่[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“หลวงปู่ครับทำไมไปแกล้งช่างปูนอย่างนั้น”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่สีท่านก็ตอบว่า “ไม่ได้แกล้ง แต่ไม่อยากไปอยู่กุฏิหลังใหม่”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระภิกษุรักษ์ เตชธัมโม จึงได้บอกกับหลวงปู่ [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“หากหลวงปู่ไม่อยากอยู่ก็ไม่เป็นไร ให้ช่างปูนเขาสร้างให้เสร็จก่อน”[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต่อจากนั้นอีก ๒ วัน พระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านเจ้าอาวาส เรียกช่างปูนมาทำใหม่ ซึ่งคราวนี้ช่างปูนสามารถฉาบปูนได้เป็นผลสำเร็จอย่างไม่มีปัญหา เพียงวันเดียวก็สามารถฉาบปูนสำเร็จหมดทั้งกุฏิ ทีมงานก่อสร้างในครั้งนั้นต่างเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทุกตัวคน[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]กุฏิหลังดังกล่าว ในสมัยที่หลวงปู่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านไม่เคยได้ไปใช้สอยเลย แต่หลังจากที่ท่านมรณะแล้ว บรรดาศิษยานุศิษย์จึงได้อัญเชิญศพของท่านบรรจุลงโลงแก้ว แล้วประดิษฐานไว้ที่กุฏิหลังใหม่ ซึ่งเป็นการสะดวกที่จะให้ลูกศิษย์ของหลวงปู่ไปกราบไหว้บูชาหลวงปู่ แต่ปัจจุบันได้ย้ายสังขารของหลวงปู่มาอยู่ที่มณฑปหลังใหม่แล้ว.[/FONT]


    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]รู้กาลมรณะ[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ต้นปีเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๐ หลวงปู่สีท่านมีอาการอ่อนเพลีย อาพาธด้วยโรคชรา และต่อมลูกหมากโต ได้รับการดูแลรักษา ญาครูจันทร์ (พระอาจารย์จันทร์ หลานหลวงปู่คนสุรินทร์)ก็อยู่ดูแล ตอนที่หลวงปู่อาพาธที่วัดเขาถ้ำ ก็มีพระอาจารย์สมบูรณ์ ปริสมฺปุณโณ เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำบุญนาค พระอาจารย์รักษ์ เตธธัมโม พระอาจารย์ประเทือง พุทธธมฺโม พระอาจารย์สุพจน์ ฉนฺทชาโต[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ส่วนหมอที่ดูแลอาการป่วยของหลวงปู่ คุณหมอโอ๊ด (ชื่อเล่น - ชื่อจริงสอบถามแล้วไม่มีใครทราบ) หมอโอ๊ด จะหนักใจเพราะหลวงปู่ไม่ยอมให้ฉีดยา ถ้าท่านไม่ยอมก็จะฉีดไม่เข้า เข็มจะหักหมด นอกจากท่านอนุญาต จึงจะฉีดยารักษาไข้ได้ ลูกศิษย์ที่ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ ก็จะได้ยินหลวงปู่พูดว่า “รักษาอย่างไร เดือน ๔ ข้าก็จะไปแล้ว“ (สากลก็จะดูเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือน ๒ แต่ถ้าปฏิทินหลวงโบราณก็จะเป็นเดือนสาม แต่ปลายเดือนก็จะเป็นเดือน ๔ เดือนไทย)[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ด้วยคุณวิเศษนานัปการของหลวงปู่สี จึงมีพระอาจารย์ดัง ๆ มากมายแห่งยุคให้การยอมรับ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ พระราชพรหมยานผู้เด่นดัง มีลูกศิษย์มากมายเกือบทั้งประเทศ ให้การเคารพยอมรับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ว่าเป็นครูบาอาจารย์ที่สุดยอดแห่งยุคองค์หนึ่ง หลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้ไปมาหาสู่หลวงปู่สี อยู่เป็นนิจ[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๐ หลวงปู่สีท่านอาพาธมีอาการหนักมาก พระอาจารย์สมบูรณ์ เจ้าอาวาสวัดเขาถ้ำก็คลานเข้าไปถามหลวงปู่ว่า...[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]"หลวงปู่ครับ ถ้าหลวงปู่จะจากไป จะให้ทางวัดจัดพิธีศพหลวงปู่อย่างไร?”[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หลวงปู่ลีถึงท่านจะอาพาธหนักปานใด แต่ท่านก็ควบคุมสติได้อย่างมั่นคง ท่านจึงตอบให้ทุกคนในที่นั้นได้ยินกันอย่างทั่วถึงว่า[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]“หากข้ามรณภาพเมื่อใด ท่านฤๅษีลิงดำจะมาเป็นผู้จัดการศพของข้าเอง ขอทุกคนอย่าได้เป็นห่วง”[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]และแล้วต่อมาเวลาประมาณ ตี ๓.๔๕ นาที ของวันพุธที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง หลวงปู่ก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุของหลวงปู่สี ได้ ๑๒๘ ปี[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ท่ามกลางสายลมพัดผ่านที่เย็นยะเยียบ แต่ความเย็นของอากาศยังไม่ยะเยียบเท่ากับเหล่าลูกศิษย์ได้ทราบข่าวการจากไปของหลวงปู่อย่างไม่มีวันที่จะกลับคืนมาอีกได้ ทุกคนเงียบ น้ำตาล้วนไหลพราก ต่างสะอื้นไห้ด้วยความอาลัยหลวงปู่ ท่านจากมวลลูกศิษย์ไปท่ามกลางลมหนาวแล้ว[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ประมาณตี ๕ กว่าของคืนวันนั้น หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ก็ปรากฏกายขึ้น โดยไม่ได้รับการติดต่อแจ้งข่าวจากผู้ใดในวัดเขาถ้ำบุญนาค แต่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำได้มาถึงอย่างมหัศจรรย์ ตรงตามคำพูดของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริที่ท่านกล่าวไว้ ท่ามกลางลูกศิษย์ก่อนที่ท่านจะถึงกาลมรณะ[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เมื่อหลวงพ่อฤๅษีลิงดำมาถึงวัดเขาถ้ำบุญนาค ก็ได้ขอให้เก็บศพของหลวงปู่ไว้ เสมือนหลวงปู่สีท่านนอนจำวัด และท่านจำวัดหลับสนิทด้วยอาการปกติสงบเรียบร้อยมาตราบเท่าทุกวันนี้[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ที่น่าอัศจรรย์คือร่างกายของหลวงปู่สีไม่มีน้ำเหลือง ไม่เน่าไม่เหม็น ไม่เปื่อยอย่างเช่นซากศพทั่วไป จนวันนั้นถึงวันนี้กลิ่นซากศพของท่านไม่มีเลย คราใดที่ผมมีโอกาสได้ไปกราบศพหลวงปู่ผมจะจูบดมที่ร่างกายของท่านอย่างสนิทใจ เพราะไม่ปรากฏกลิ่นใดที่ทำให้เราไม่อยากเข้าใกล้ แต่กลิ่นกายท่านกลับเสมือนหนึ่งกลิ่นธูปหรือกลิ่นกำยาน แม้แต่เศษกายของท่านที่ร่วงหล่น ผมก็แตะเก็บโปรยลงบนศีรษะและเช็ดที่เส้นผมจนหมด [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]คำพูดของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ที่ท่านกล่าวไว้ก่อนจะถึงกาลมรณะของท่าน ในขณะนั้นท่านฤๅษีลิงดำมิได้อยู่ที่นั่น และหนทางก็ยังอยู่ห่างไกลกัน แต่พอหลวงปู่ท่านมรณภาพลงตอนตี ๓ กว่า พอเวลาตี ๕ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำท่านก็มาถึงทันต่อเหตุการณ์ ตรงตามคำพูดของหลวงปู่ที่พูดถึงหลวงพ่อฤๅษีลิงดำอย่างมหัศจรรย์[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]แสดงว่าหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ กับหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ท่านมีญาณจิตติดต่อกันได้โดยตลอด ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นว่า หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเป็นพระอริยเจ้าระดับสูงท่านหนึ่งที่ทรงญาณและได้ญาณทั้ง ๘ คือ ทิพยจักษุญาณ จุตูปปาตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุบันนังสญาณ ยถากัมมุตาญาณ[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]อีกทั้งเป็นผู้มีฤทธิ์ได้ทั้งวิชชา ๓ และ อภิญญา ๖ อีกด้วย ผู้ที่ติดตามรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่สีย่อมที่จะทราบถึงภูมิปัญญาและปฏิปทาของท่านได้ดี ท่านเป็นพระปฏิบัติกรรมฐาน มีความเชี่ยวชาญในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง อีกทั้งแตกฉานรู้แจ้งในวิปัสสนาญาณทั้ง ๙ โดยแน่แท้[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ฉะนั้น จึงย่อมเป็นการง่ายดายสำหรับหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ซึ่งได้วิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖ ได้ ญาณ ๘ ท่านจึงได้นำสิ่งที่ได้มาพิจารณาวิปัสสนาเพื่อละสังโยชน์ ๑๐ อย่าง จนท่านบรรลุเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูงสุดก็คือ ท่านจึงเป็นผู้บริสุทธิ์ พระอรหันต์ องค์หนึ่ง[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ด้วยความมั่นใจในหมู่ลูกศิษย์ ลูกหาของหลวงปู่ที่มีความรู้ในเรื่องการปฏิบัติของพระอริยเจ้าแล้วก็จะทราบได้ทันทีว่า หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านมิได้เป็นพระอรหันต์แบบ “เตวิชโช” หรือ วิชชา ๓ แบบ “ฉฬภิญโญ” หรือ อภิญญา ๖ เท่านั้น แต่หลวงปู่สีท่านจะต้องเป็นพระ “อรหันต์” ผู้ทรงคุณวิเศษยิ่งยอด ประเภท “ปฏิสัมภิทาญาณ” เพราะหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านทรงคุณวิเศษ ๔ ประการ ดังนี้คือ[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือ ฉลาดในการอธิบายถ้อยคำ และเนื้อความในพระไตรปิฏกได้อย่างพิสดารเข้าใจง่าย และถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นๆ ให้ย่อสั้นลงมาได้ชัดเจนไม่เลียหาย[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๒. ธัมมปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีความฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้มีความพิสดารได้อย่างถูกต้อง[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา เป็นผู้มีความฉลาดในภาษารู้และเข้าใจในภาษาในโลก รวมทั้งภาษาของเทพยดา พรหม ภูตผีปิศาจ อสูรกาย นาค ครุฑ ตลอดจนภาษาของสัตว์เดรัจฉานทุกชนิด[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]สำหรับในเรื่องการรู้ภาษาทุกภาษาในโลกนี้ จะเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านสามารถเข้าใจภาษาทุกชาติทุกภาษาที่มาหาท่านและพูดกับท่าน จนชาวฝรั่งต่างชาติ หลายต่อหลายชาติต่างพูดกันว่า “หลวงปู่ท่านรู้หลายภาษา” และเวลาที่ท่านฉันอาหารนั้น ก็จะมีบรรดาสัตว์ต่างๆ มาห้อมล้อมตัวท่านมารับส่วนแบ่งอาหารจากท่าน เช่น นก ลิง ไก่ แมว หมา เป็นต้น และสัตว์ทุกประเภทที่มาอยู่ใกล้ท่าน มันจะปรองดองกันไม่ไล่กัน ไม่รังแกกัน แสดงว่าท่านสามารถสนทนาภาษาสัตว์เหล่านั้นได้ ทั้งคนและสัตว์[/FONT][FONT=trebuchet ms,sans-serif]จึงอยู่กันอย่างปรองดอง และลูกศิษย์ของหลวงปู่ก็มีทุกชาติทุกภาษา[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริ[/FONT][FONT=trebuchet ms,sans-serif]บเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาต่างๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะมีครบถ้วนอยู่ในตัวของหลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเป็นผู้ที่มีคุณวิเศษ เหมาะสมกับคาว่า “อรหันต์ ๗ แผ่นดิน”[/FONT]​


    --------------------------------------------


    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ขอขอบคุณผู้ที่ให้ข้อมูลหลวงปู่ในแง่มุมต่างๆ ทั้งที่ได้เอ่ยนาม ณ ที่นี้ และมิได้เอ่ยนามอีกหลายท่านรวมทั้งลูกหลานหลวงปู่สี (ลี) ทุกท่าน..[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑. ท่านพระครูวิเศษฏ์สมโพชฏ์ น.๑๖ วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ท่าเตียน โทร ๒๒๒-๗๙๘๐[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๒. ท่านพระอาจารย์สุพจน์ (เจ็ก) ฉนฺทชาโต วัดเขาถ้ำบุญนาค (ผู้ใกล้ชิดหลวงปู่)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๓. พระอาจารย์รักษ์ เตชธมฺโม (ผู้ปรนนิบัติหลวงปู่)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๔. พระอาจารย์ประเทือง พุทธธมฺโม (ผู้ปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ จนถึงกาลมรณะ)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๕. ปู่โทน หลำแพร ศรัทธา ติดตามเรื่องราวของหลวงปู่ก่อนที่จะมาอยู่เขาถ้ำบุญนาค.[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๖. อาจารย์ประสงค์ ดีนาน (หลานชายหลวงปู่ อยู่จังหวัดสุรินทร์).[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๗. อาจารย์บุญมี สิทธินาม (หลานชายหลวงปู่ อายุ ๘๗ อยู่จังหวัดสุรินทร์)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๘. อาจารย์เกลี้ยง ดำริห์ (หลานชายหลวงปู่) ปัจจุบันอยู่.สุรินทร์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๙. ญาครูจันทร์ พระอาจารย์จันทร์ อยู่สุรินทร์ ผู้มาดูแลหลวงปู่ตอนหลวงปู่อาพาธ.[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๐. อาจารย์เกรียงศักดิ์ เทศถมทรัพย์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๑. อาจารย์ชนินทร์ ดีนาน หลานหลวงปู่สี ผู้เคยมาบวชเรียนอยู่ที่วัดมหาธาตุ ปัจจุบันอยู่สุรินทร์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif](ผู้ที่ส่งประวัติต่างๆ ของหลวงปู่สี ตั้งแต่บ้านเกิด จนจากสุรินทร์ อุดรธานี มาอยู่เขาถ้ำบุญนาคตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมทั้งส่งรูปภาพต่างๆ ของหลวงปู่มาให้ ซึ่งแต่ก่อนนี้ไม่มีใครเคยได้เห็น ได้ล่วงรู้ประวัติอันแท้จริงของหลวงปู่สีฯ ที่รู้ก็ตั้งแต่เฉพาะปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมาเท่านั้น ลูกหลานของหลวงปู่ลี จึงอยากให้ทราบเกียรติประวัติ และปฏิปทาของหลวงปู่ มิใช่แต่ในเรื่องวัตถุมงคลของหลวงปู่เท่านั้น)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๒. คุณแก้ว จินดา ช่องแค ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๓. คุณสนั่น สวนสุวรรณ โรงงานปูนซีเมนต์ ตาคลี นครสวรรค์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๔. คุณพิชิต คุ้มคงอมร[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๕. คุณชาญ แดงไพบูรณ์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๖. คุณจีรศักดิ์ (บางโพ)[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๗. คุณสุรสีห์ ตั้งภูมิจรัศวงค์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๘. นาวาเอกชาญ ศรีไทย[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑๙. พล.ต.จ. มงคล จีรเศรษธ์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๒๐. พ.ต.ท. อรรณพ กอวัฒนา[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๒๑. คุณพิทักษ์ เสงี่ยมกลาง (ตรวจ,ทาน)[/FONT]


    แหล่งที่มาข้อมูล : หนังสือ"ชีวประวัติ วัตรปฏิบัติ ปฏิปทา และ ปาฏิหาริย์ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ"

    หนังสือ "อิทธิฤทธิ์ หรือความบังเอิญ" ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    และบางส่วนของเว็ปอื่น
    ศ.ธรรมทัสสี รวบรวม คัดลอก (เฉพาะเนื้อหาที่น่าสนใจ) ลงเว็ป : ศ.ธรรมทัสสี >> http://sites.google.com/site/sphrathrrmthassi/




    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กันยายน 2009
  11. SAM01

    SAM01 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +49
    อ่านแล้วตึ้นตันใจมากๆ ขอเซฟหน้าไว้อ่านต่อครับ...อนุโมทนาครับ.....
     
  12. รักษ์บุญ

    รักษ์บุญ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +13
    ขอบคุณที่นำมาโพสต์ให้ผู้ไม่รู้จักท่านได้รู้จักพระดีในเมืองไทยอีกรูปที่ละสังขารไปแล้ว แต่กลิ่นศีลของท่านยังอยู่ตลอดไป
     
  13. nantapong

    nantapong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    913
    ค่าพลัง:
    +2,154
    [​IMG]
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG]
     
  14. หมอพล

    หมอพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,083
    ค่าพลัง:
    +4,175
    กราบบูชาคุณ พระอรหันต์ ผู้ทรงจตุปฏิสัมภิทาญาณ เลิศด้วยนิโรธธรรม สุญญตาธรรม แล ทรงอภิญญาสมาบัติอย่างยอดยิ่ง


    แม้องค์หลวงปู่ดู่ แห่งวัดสะแก และ ครูบาอาจารย์มากมาย ต่างยกย่อง


    สาธุ สาธุ สาธุ



    ขอน้อมนมัสการกราบไหว้พระผู้ทรงคุณเช่นนั้น ทุกรูปและทุกองค์แล
     
  15. T00M

    T00M Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +90
    อนุโมทนาสาธุค่ะ

    ขอบคุณท่านเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะ ที่นำเรื่องดี ๆ มาเผยแผ่
     
  16. สุชาโต

    สุชาโต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอกราบหลวงปู่ด้วยความรักและศรัทธาอย่างสูงยิ่งครับ อนุโมทนาด้วยครับ
     
  17. chonthipat

    chonthipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    157
    ค่าพลัง:
    +543
    อนุโมทนาครับ อภินาหารท่านมากเหลือยหลายครับ
    <table width="100%" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0"><tbody><tr><tr><td></td></tr></tr></tbody></table>
     
  18. thth

    thth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    537
    ค่าพลัง:
    +887
    ขอสาธุการในธรรมะของหลวงปู่สี และขออนุโมทนาสำหรับท่านที่นำมาเผยแผ่ครับ
     
  19. ราม24

    ราม24 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +15
    หลวงปู่สีเป็นพระอรหันต์ที่หายากยิ่ง ท่านละแล้วทุกสิ่ง ผมศัทธาท่านจริง ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...