พอดีว่าผมอยากทราบถ้าผมทานน้ำปลากับน้ำสมสายชูนั้นจะผิดศีลข้อ5ไหมครับเพราะถ้าแปลจากภาษาบาลีแล้วประกอบด้วยคำว่า "สุรา", "เมรัย", "มัชชะ" และ ซึ่งมีความหมายถึงเครื่องดองของเมาชนิดต่างๆ ดังนี้
สุรา = เหล้า, น้ำเมาที่ได้จากการกลั่นเช่น ร้านนี้ขายแต่สุราต่างประเทศ
เมรัย = น้ำเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น
มัชชะ = น้ำเมา, ของเมา
ช่วยตอบคำถามของผมด้วยนะครับ
ผมมีคำถามครับ
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เด็กชอบพระ, 19 มกราคม 2011.
-
-
ขออนุญาติแสดงความเห็น แบบคนรู้น้อย แต่อยากช่วยมวลมนุษยชาติ
ถ้าสิ่งใดบริโภคแล้ว ส้องเสพแล้วเกิดเป็นโทษ เป็นกังงลในภายหลังสิ่งนั้นไม่ใช่ความดี ดีเรียกกุศล ตรงข้ามน่าจะเรียกว่า อกุศล แปลว่าไม่ดี
ครั้งหนึ่งพญามิลินทร์ได้ถามปัญหาพระนาคเสน ว่า
ศีลมีลักษณะอย่างไร พระนาคเสนตอบว่า
ศีลมีลักษณะเป็นภาชนะรองรับกุศลทั้งปวง
คิดว่าโยมมีปัญญามากแล้วอาตมาคงไม่ต่องสนทนามาก เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้
(สงสัยในสิ่งที่ควรสงสัย ไม่พึงสงสัยในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ) -
ผมว่าน้ำปลาและน้ำส้มสายชูต่อให้กินเป็นขวด....หรือหลายขวดก็ไม่เมานะครับ.....
-
โอ้โฮ...นี่แหละหนา...คน นักตีความ ตีไปตีมา...เลยตีกันเอง พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องปัญญานะจ๊ะ จริงๆ หน่ะ ทานได้ทั้งนั้น ถ้าทานแล้วไม่ทำให้ขาดสติ ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ก็ไม่ผิดศีลจ้ะ ดิฉันขอแปลความหมายของศีลข้อ 5 ที่ว่า "สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี " ตามความเข้าใจของตัวเองนะคะ หมายถึง การสำรวมในเรื่องการดื่มเครื่องดองของเมา รู้จักประมาณในการดื่มว่าเราสามารถดื่มได้แค่ไหนที่ไม่ทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ
ในสมัยโบราณ ผู้คนดื่มสุราเป็นยารักษาโรค เนื่องจากคนโบราณใช้ยาสมุนไพร และส่วนใหญ่ก็จะใช้สุราเครื่องผสมกับตัวยาเหล่านั้น
แต่ก็มีบางคนดื่มโดยไม่ประมาณตน ทำให้ขาดสติ ก่อโทษแก่ตัวเองและผู้อื่นค่ะ