ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ “ท้องผูก” อาการที่ไม่ควรมองข้าม

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย forworkingkid, 28 สิงหาคม 2019.

  1. forworkingkid

    forworkingkid สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +8
    5665c1a8085b25e22f276f03f7009687.jpg ทำไมเราจึงไม่ควรมองข้ามอาการท้องผูกที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ เพราะทั้งผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุต่างมีภาวะที่รับประทานอาหารได้น้อย ดื่มน้ำน้อย ส่งผลให้ระบบการขับถ่ายผิดเพี้ยนไป จนอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และอาจเกิดอาการเจ็บป่วยจากอาการท้องผูกดังกล่าว ดังนั้นเรามาทำความรู้จักและเข้าใจอาการท้องผูกให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันและเมื่อมีอาการ ควรทำอย่างไรและรับการรักษาอย่างไร ทั้งนี้เพื่อเป็นความรู้ในเบื้องต้นสำหรับผู้อ่านทุกท่าน


    ท้องผูกคืออะไร ?
    คำถามนี้เชื่อว่ามีหลายคนสงสัยและถามกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาการท้องผูกนั้นคุณจะสามารถสังเกตตัวคุณได้อย่างง่าย ๆ โดยเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกว่ากิจวัตรประจำวันของคุณที่เคยตื่นเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายได้หายไปหรือรู้สึกอึดอัดแน่นท้องอยากถ่าย แต่เป็นเรื่องยากที่หลายครั้งต้องนั่งใช้เวลาถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย ใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย แต่ท้ายที่สุดก็ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นไว้ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก ซึ่งอาการทั้งหมดนี้กำลังบอกว่าคุณ...ท้องผูกอยู่เป็นแน่ !



    ท้องผูกเกิดขึ้นได้กับวัยใดบ้าง ?
    อาการท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แต่วัยที่หน้าเป็นห่วงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นวัยผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่ทานอาหารได้น้อยลง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายเท่าที่ควร ดื่มน้ำน้อยอาจเนื่องมาจากไม่สามารถกั้นปัสสาวะได้ จึงแก้ปัญหาด้วยการดื่มน้ำให้น้อยเพื่อให้ปัสสาวะน้อยลงด้วย แต่การกระทำดังกล่าวกลับส่งผลต่อระบบการขับถ่ายที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกเนื่องจากอุจจาระเคลื่อนตัวได้ช้าทำให้การขับถ่ายไม่เป็นปกติ ทั้งนี้นอกจากผู้สูงอายุแล้วผู้ป่วยที่ป่วยติดเตียงก็อาจพบภาวะเดียวกันนี้หรืออาจมีโอกาสท้องผูกได้มากกว่าผู้สูงอายุอีกด้วย



    1.jpg

    ท้องผูกส่งผลอย่างไรกับผู้ที่มีอาการ ?
    • ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบ ๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
    • ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
    • ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
    • ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
    • ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
    • ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ


    เมื่อมีอาการท้องผูกต้องรักษาอย่างไร ?
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยรับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้นดื่มน้ำให้มากพอเพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย
    • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ จะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น
    • การฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ การฝึกถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี มีหลักการคือ ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นหลักแทนการหายใจด้วยปอด และฝึกเบ่งโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง
    • การใช้ยาระบาย การใช้ยาระบายควรใช้ตามแพทย์สั่งและใช้เท่าที่จำเป็น เพราะยาระบายมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็ออกฤทธิ์แตกต่างกันและอาจส่งผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้
    • การผ่าตัด การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกเป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ปัญหาท้องผูกเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ทั้งหมดแล้วไม่ได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาระบายหรือการฝึกเบ่งแต่ลำไส้ใหญ่ยังคงเคลื่อนไหวช้าอย่างรุนแรง
    การรักษาอาการท้องผูกให้ถูกวิธีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการตรวจพบสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาที่เหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น และเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของอาการดังกล่าว โปรดอย่าละเลยสุขภาพ เพราะสุขภาพที่ดีย่อมนำมาซึ่งความสุขที่มากกว่า มายลักษณ์ เนอร์สซิ่งโฮม รับดูแลผู้สูงอายุ และ รับดูแลผู้ป่วย ใส่ใจในโภชนาการของผู้ป่วย และผู้สูงอายุทุกท่าน รับดูแลผู้สูงอายุ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน โดยมีแฟ้มรายงานปประวัติการดูแลของผู้ป่วยทุกวัน ดูแลใส่ใจโดนแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...