+++ ถูกต้องแล้ว ถ้าได้ทั้งตัว "รู้สึกตัวทั่วถึง กลายมาเป็น ปิติซาบซ่านทั้งตัวทั่วถึง" จะสมบูรณ์มาก
ฝึก กรรม-ฐาน ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรม-ชาติ, 16 ตุลาคม 2013.
หน้า 68 ของ 69
-
-
+++ ให้ "เล่น" กับมันไปเรื่อย ๆ จะได้ปรากฏการณ์ใหม่ ๆ มาเอง
+++ เมือถึงเวลาที่จะต้อง "ลาจาก ออกจาก กองขันธ์" ก็สามารถ "ทำได้ทันที ในทุกอิริยาบท"
+++ ว่า ๆ ไปแล้ว "ลองฝึก วางขันธ์ ในอิริยาบท เดิน" ดูบ้างนะ
+++ มันมีอะไรที่ "ไม่เกี่ยวกับขันธ์" อยู่ด้วย ตรงนี้เป็น "ความรู้ อีกแบบหนึ่ง" นะ -
มีอะไรให้เล่นเรื่อยๆๆๆ สนุกดีค่ะ.....
สรรพสิ่งถูกรู้ ส่วนเรารู้อยู่ -
กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว....
ทบทวนคะ...
"อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"
วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ
1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น
4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า "ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ
หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้
6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 100%
8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ 0%
ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100% และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง
ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% - 100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ -
กระทู้นี้จะเริ่มต้นที่ ความรู้สึกตัว....
ทบทวนคะ...
"อาการของ ความรู้สึกตัว" มีได้หลายอย่าง เช่น อาการหนึบ ๆ อาการหยุ่น ๆ อาการคล้ายสนามพลังแม่เหล็ก อาการชา อาการอุ่น ๆ อาการซ่าน ๆ อาการแผ่ออก อาการคล้ายความดันออกไปที่ผิวหนังทั่วทุกทิศทั้งตัว เป็นต้น อาการเหล่านี้ล้วนแตกต่างกันไปตาม การใช้ภาษาของผู้ที่ต้องการอธิบายสภาวะของตน แต่สรุปออกมาได้เหมือนกันคือ เป็นอาการของ "ความรู้สึกตัว"
วิธี "สร้างความรู้สึกตัว" พร้อมกับ "การบริหารจัดการกับ ความรู้สึก" เบื้องต้น
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ
1. หายใจเอาลมเข้าปอด ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้ว
2. กลั้นลมหายใจไว้เล็กน้อย สิ่งที่จะเกิดในขณะนี้คือ "ความรู้สึกตัว ที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง"
3. ให้อยู่กับความรู้สึกตัวนี้ แล้วผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ โดยไม่ให้ความรู้สึกตัวหายไป จากนั้น
4. หายใจเข้าช้า ๆ หากสังเกตุได้ว่า"ความรู้สึกตัว" นี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ ก็ให้สังเกตุอาการที่เรียกว่า "เพิ่ม" นี้ให้ดี
5. ทำความ "คุ้นเคย" กับอาการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" หากมี ทั้งสองอาการ
หากสามารถทำการ "เพิ่ม" หรือ "ลด" ความรู้สึกตัว ได้ด้วย "ตนเอง" โดยไม่ต้องพึ่ง "ลมหายใจ" แล้ว จึงถือว่า ผ่านในขั้นตอนนี้
6. ให้ทำการ "เพิ่ม" ความรู้สึกตัว ให้มากที่สุด จนถึงขั้นที่ "ไม่สามารถที่จะเพิ่มได้อีกแล้ว" ก็ให้
7. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับสูงสุดนี้ ซึ่งจะเรียกมันว่า ระดับ100%
8. ให้ฝึกตรงกันข้ามกับการ "เพิ่ม" ด้วยการ "ลด" ความรู้สึกตัวลง จนหมดไม่มีความรู้สึกตัวเหลืออยู่เลย จากนั้นให้
9. "ตรึง และ หยุด" จากนั้นจึง "แช่ และ อยู่" ในระดับที่ไม่เหลืออยู่นี้ ซึ่งจะเรียกมันว่าระดับ 0%
ควรฝึก "แช่ และ อยู่" กับทั้งระดับ 100%และ 0% ให้ชำนาญ เพราะทั้ง 2 ระดับนี้ ล้วนมีความสำคัญในอนาคตทั้งคู่ โดยที่ระดับ 100% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ฌาน" และระดับ 0% จะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า "ว่าง" หรือ "รู้" โดยตรง
ส่วนระดับอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่าง 0% -100% นั้น จะเป็นเรื่องของ การปรับระดับความรู้สึกตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับ มิติ รวมทั้งการศึกษาเรียนรู้ "ด้วยระบบ การจูนคลื่นความถี่ แห่งความรู้สึกตัว" ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ๆ นะครับ -
สวัสดีครับคุณธรรมชาติ ผมขอเริ่มฝึกด้วยคนนะครับ ตอนนี้กำลังฝึกความรู้สึกทั้งตัวอยู่ครับ และขอขอบคุณมากนะครับที่นำความรู้ดีๆแบบนี้มาสอน
-
+++ อยู่ใน PM นะครับ
-
สวัสดีครับคุณธรรมชาติ, ขอร่วมฝึกด้วยนะครับ.
-
-
สวัสดีครับ อจารย์ ธรรม-ชาติ ขอร่วมฝึกด้วยคนนะครับ
โปรดชี้แนะ -
+++ อยู่ใน PM นะครับ
-
ชอบเลยคับท่าน อ.ธรรมชาติ
ลุงแมวรอมานานกว่าจะเจอ
แนะนำแบบสาธารณะเเบบเต็มแม๊ก
ลุงแมวคงเมินไม่ได้หรอกฮะ -
+++ OK ครับ หาก "ฝึกแล้วติดขัด ในภาคปฏิบัติ" ก็ถามมาได้
+++ กระทู้นี้ ใช้การฝึกแบบ "เดินจิต" โดยตรงอย่างเดียว เท่านั้น
+++ ให้ทำความเข้าใจกับ "คำศัพท์เฉพาะ" ในกระทู้นี้ ให้มาก
+++ เพราะเป็นการ "ใช้ภาษาตามความเป็นจริง และ เป็นภาษาในยุคปัจจุบัณ"
+++ ให้เข้าใจไว้ก่อนว่า กระทู้นี้ "ใช้ภาษาแบบ การเดินจิต"
+++ ดังนั้น จะไม่ใช่ภาษาแบบ "เชิงพรรณา" ประเภท "ตำราการศึกษา"
+++ แต่จะเป็นภาษาแบบ "คู่มือ ระบุการเดินจิต (คู่มือการใช้งาน)"
+++ ดังนั้น ภาษาจะ "สั้นกระชับ ตรงเฉพาะกับ เหตุการณ์ และ ระดับชั้นฝึก"
+++ หากระดับชั้นฝึกเปลี่ยนไป ภาษา "อาจ" เปลี่ยนตาม ระดับการฝึกได้
+++ มักจะ "พบเห็น การระบุขั้นตอนแบบ 1-2-3" อยู่เสมอ แบบ "คู่มือประกอบเครื่อง" ฯลฯ
+++ เพื่อป้องกัน "การมโนเอาเอง" ภาษาจึงหลีกเลี่ยง "การสมมติ" ทุกชนิด เว้นแต่จำเป็น เท่านั้น
+++ ดังนั้นจึง "ไม่เหมาะสม" กับกลุ่มที่ ชอบเข้าใจด้วยการอ่าน (มโน) แต่ รังเกียจ การลงมือทำ
+++ กระทู้นี้จะ "เหมาะสม" กับกลุ่มที่ อ่านแล้ว (เอหิปัสสิโก) "ลงมือทำ (สันทิฏฐิโก)" ทดสอบ/ประเมินผล เท่านั้น
+++ ศาสนาพุทธ "ไม่ใช่ไสยศาสตร์" ดังนั้น "อย่าเพิ่งเชื่อ โดยที่ยังไม่ได้ พิสูจน์ด้วยตนเอง"
+++ ให้สังเกตุ "ตามบทสวด" ว่า การ "ลงมือทำ VS ลงมือท่อง VS ลงมือมโน" ว่า อะไรตรงกับ อาการของ "ธรรมคุณ 6" บ้าง
====================================================
ธรรมคุณ 6
ธรรมคุณ หมายถึง คุณของพระธรรมมี 6 ประการ ดังนี้
1.สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมเป็นคำสอนอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นความจริงแท้ เป็นหลักครองชีวิตอันประเสริฐ
2.สันทิฏฐิโก พระธรรมนี้ผู้ปฏิบัติตามจะเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อคำผู้อื่น ผู้ที่มิได้ปฏิบัตินั้นแม้จะมีใครมาบอกและอธิบายให้ฟังก็ไม่อาจเห็นได้
3.อกาลิโก ไม่เนื่องด้วยกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาปฏิบัติตามได้พร้อมบริบูรณ์เมื่อใดก็เห็นผลเมื่อนั้น เป็นจริงตลอดเวลาไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย สิ่งที่เนื่องด้วยเวลาเป็นสิ่งที่มีเกิด มีเปลี่ยนแปลง มีดับไปตามเวลา แต่พระธรรมเป็นจริงอยู่เสมอเป็นนิจ
4.เอหิปัสสิโก ควรเรียกให้มาดู คือ พระธรรมเป็นคำสอนที่ควรจะเชิญให้ใครๆ มาดู มาพิสูจน์ มาตรวจสอบ เพราะเป็นของที่จริงตลอดเวลา
5.โอปะนะยิโก ควรน้อมเข้ามา คือ เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้าไว้ในใจเพื่อยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในชีวิต จะได้บรรลุถึงความหลุดพ้น
6.ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ คือวิญญูชนรู้ได้เฉพาะตน คือพระธรรมนี้เป็นสิ่งที่วิญญูชนจะรู้ได้ และการรู้ได้นั้นเป็นของเฉพาะตน ต้องปฏิบัติตามจึงจะรู้ ทำแทนกันไม่ได้ แบ่งปันให้กันไม่ได้ ต้องประจักษ์ด้วยตนเอง
+++ จาก กระทรวงวัฒนธรรม
https://www.m-culture.go.th/young/ewt_news.php?nid=105&filename=index
====================================================
+++ หากจะกล่าวแบบ Specification ในภาษาปัจจุบัณ คือ
+++ 1. สิ่งที่พระพุทธองค์ ทรงสอนไว้อย่างไร ก็ เป็นไปอย่างนั้น
+++ 2. จัก "รู้" ได้ ด้วยการ "ลงมือทำ" ไม่ใช่การ "อธิบาย" แล้วรู้
+++ 3. ลงมือ "ทำ" เมื่อไร "ก็ได้" เมื่อนั้น (ลงมือท่อง/อธิบาย "ไม่มีวันได้")
+++ 4. ให้เข้ามา "พิสูจน์/ตรวจสอบ" เอาเอง ด้วยตนเอง (ลงมือด้วยตนเอง)
+++ 5. การลงมือ "ทำ/พิสูจน์/ตรวจสอบ" ต้องทำด้วยการ "เดินจิตตน เข้า/ออก สภาวะต่าง ๆ"
+++ 6. แล้ว "ผลลัพธ์" ย่อมเป็นที่ "ประจักษ์แก่ตน" เท่านั้น ผู้อื่น "ไม่เกี่ยว"
+++ ดังนั้น "กระทู้นี้" จึงใช้ "การฝึก" ตามแบบฉบับที่ "บทสวดมนต์" กล่าวเอาไว้ 6 ประการข้างต้น
+++ เพียงแต่ "กระทู้นี้ เริ่มต้นที่ สัมโพชฌงค์ 7 แบบตรง ๆ" ไม่อ้อมไปที่ "อนุสติ" ตามที่อื่น ๆ (มีมากแล้ว)
+++ และ "กระทู้นี้" จะเริ่มต้นที่ "อาการของสัมปชัญญะ" ซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจาก สติปัฏฐาน 4 ที่ "คนธรรมดา" ทำได้
+++ ดังนั้น "อาการของสัมปชัญญะ จึงอยู่ใกล้กับ อาการของสัมโพชฌงค์" มากกว่าอย่างอื่น
+++ ขอให้ "เข้าใจ Specification ของกระทู้นี้" ไว้เพียงคร่าว ๆ แค่นี้ก่อน นะครับ -
+++ ในปีใหม่ 2562 นี้ ให้ผู้ที่ "เป็นและอยู่" ในสัมมาปฏิบัติ แห่ง "โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ" จงได้ "รับพรโดยธรรม" ครบถ้วนหน้ากัน นะครับ -
Cheewin... อิ่มแล้ว...ไปต่อไม่ไหวแล้ว
สวัสดีครับ ท่านธรรมชาติอยู่มั้ยครับ คุณจิตยิ้มแนะนำให้ผมมาที่นี้ครับ ผมควบคุมและไม่รู้วิธีการใช้ไอ้ตัวที่อยู่ในกายครับ บ้างครั้งมันเกิดขึ้นบ่อยเวลานอน แต่ไม่รู้วิธีใช้และก็ไม่ทราบว่ามันคืออะไร มันขัดแย้งกับกายอยู่ตลอดเวลา บ้างครั้งก็เหนื่อย เหมือนการซื้อของมา แล้วไม่รู้ว่ามันต้องใช้ยังครับครับ
-
Cheewin... อิ่มแล้ว...ไปต่อไม่ไหวแล้ว
บ้างครั้งผมนอน สัมผัสถึงไอ้ตัวที่อยู่ในกาย ขัดแย้งกับมันอยู่ตลอด และเหมือนไอ้ตัวที่อยู่ในกายจะสัมผัสถึงบ้างสิ่งที่อยู่ในตัวมันมาอีกทีและก็ขัดแย้งกับมันเช่นกัน เหมือนมันซ้อนทับกันครับ แต่รู้ว่าตัวเองนอนอยู่ ไอ้ตัวที่รู้เป็นเพียงแค่ตัวรู้ และบอก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ส่วนไอ้ตัวสัมผัสไอ้ตัวที่รับรู้ความรู้สึก ก็ดิ้นรนหาทางออก บ้างครั้งก็ไม่ตื่น จนกว่าจะเอาชนะมัน
-
Cheewin... อิ่มแล้ว...ไปต่อไม่ไหวแล้ว
ช่วงนี้เกิดบ่อยมากครับและไม่รู้ว่ามันคืออะไร คือผมนอนแต่ไม่ได้นอนหลับสนิท เหมือนนอนทำสมาธิ สามารถสั่งไอ้ตัวภายในได้ รู้สึกถึงความซ่านที่อยู่ภายในร่างกาย สามารถกำหนดการไหลของมันได้ มันจะซ่านทั้งตัว ผมลองกำหนดให้มันไหลไปในที่ต่างๆของร่างกายและที่หูขวาสามรอบวนซ้ำ มันก็ไหลออกแต่จะได้ยินเสียงแค่หูขวาคล้ายเสียงกลองเวลาที่ไหลผ่านไปถึงหู แต่ความซ่านยังคงอยู่ในตัว ไม่มีวันหมด บ้างครั้งก็รู้สึกสั่นเขย่าไอ้ตัวที่อยู่ในกาย ห้องมันก็สั่นไปด้วย และได้ยินเสียงสั่นสะเทือนก้องออกไปทั่ว ไม่ทราบว่ามันคืออะไรครับ สิ่งสำคัญคือผมไม่รู้วิธีการใช้มัน T_T
-
+++ ก่อนอื่นต้อง "ปรับภาษาในการสื่อสาร" ให้ไปในทางเดียวกันก่อนนะ
+++ ภาษาที่ผมใช้ "จะใช้ตามหมวดของ สติปัฏฐาน 4 เป็นหลัก"
+++ "ความเป็นกาย" จะระบุ ณ ขณะที่ "ความเป็นตน" ครอง/เสพ อยู่ ณ ขณะนั้น ๆ ตามสติปัฏฐาน
+++ ดังนั้น "กาย" จะมี 4 อย่างตามหมวดสติปัฏฐาน คือ 1. กายเนื้อ 2. กายเวทนา 3. กายจิต 4. กายธรรมารมณ์
+++ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับ "ความเป็น ตน/อัตตา" ที่ "เป็นอยู่ในกาย ณ ขณะนั้น ๆ"
+++ อาการ "เป็นตัว" เท่านั้น จึงจะใช้คำพูดว่า "ตัว"
+++ ส่วน "สภาวะที่ ไม่มีตัว" จะใช้คำว่า "สภาวะ" เท่านั้น
+++ จะไม่ใช้คำว่า "ตัว" เข้ามาเกี่ยว
+++ เพราะมันเป็นคำพูดที่ "ไม่ตรงความเป็นจริง" เช่น สภาวะใน "อรูป"
+++ ส่วน คำศัพทอื่น ที่ระบุไปที่เดียวกัน แต่ สภาวะต่างกัน มักจะใช้คำว่า "เนื้อ/สภาวะ" ต่าง ๆ
+++ คำศัพท์ที่มักเกี่ยวข้องกับ คำว่า "ตัว" ที่ผมใช้จะมีหลัก ๆ อยู่แค่ 2 ตัว เท่านั้น
+++ คำว่า "ตัวพูดมาก" ในยามที่เป็น "ตน+กาย" จะเป็น "กายจิต"
+++ และ ณ ขณะที่่ "ตัวพูดมาก" ไม่ใช่ ตน/กาย จะเป็นเพียง "กิริยาจิต" ไม่ใช่ตน
+++ คำว่า "ตัวดู" ในยามที่เป็น "ตน+กาย" จะเป็น "กายธัมมารมณ์"
+++ และ ณ ขณะที่่ "ตัวดู" โดนแยกออก ความเป็น "ตน/อัตตา" จะไม่มีเหลืออยู่
+++ ทั้งหมดนี้เป็นส่วน "คร่าว ๆ" ที่คุณจะเจอ ในเวลาที่คุยกับผม
+++ ภาษาใด ๆ ที่ "ไม่ตรงกับความเป็นจริง" ผมจะ "ตัดออกทั้งหมด"
+++ แล้วจึง "ปรับภาษา ให้สื่อ ให้ตรงทาง เป็นภาษาเดียวกัน" ไปเรื่อย ๆ
+++ แรก ๆ "จะคุยกัน คนละภาษาก่อน"
+++ ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ ภาษาปฏิบัติ จะรู้เรื่องกันได้ เมื่อ "ไม่เคยเจอ อาการ"
+++ ต่อเมื่อ "คนเจออาการ กับ คนเจออาการ" มาคุยกันเท่านั้น จึงจะ พอรู้เรื่องได้
===============================================
+++ คำถามของคุณ "ในโพสท์นี้" ระบุออกมาหลัก ๆ ได้ดังนี้
+++ 1. ไอ้ตัวที่อยู่ในกาย
+++ 2. มันขัดแย้งกับกายอยู่ตลอดเวลา
+++ ตรงนี้ คุณจะได้ คำศัพท์ ออกมา 2 คำ คือ "เห็น กับ เป็น" ดังนี้
+++ เอาข้อ 1 "ไอ้ตัวที่อยู่ในกาย" ก่อน
+++ อันดับแรก "ไอ้ตัวนี้ มีลักษณะของ แสงสีเสียง ประกอบหรือไม่" เช่น ผิวสี ผมสี ตาสี ฯลฯ ที่เรียกว่า "รูปกาย"
+++ หากมัน อยู่ในส่วนของ "รูปกาย" ตรงนี้จะเป็น "กายจิต รูปละเอียด กายมโน (ของพระไตรปิฏก) รูปนิรมิต ฯลฯ"
+++ หากมันไม่เกี่ยว "รูปกาย" แต่มัน "เป็นความรู้สึกกาย" ไม่มี "แสง สี เสียง" เข้ามาเกี่ยวข้อง
+++ มันเป็นแค่ "ความรู้สึก เป็นกลุมอณูกอปร รวมตัวกัน เป็นลักษณะ หมอกทึบแสง ไม่มี หน้าตา มีแต่ร่าง ไม่มี รูป"
+++ คล้าย ๆ "ไอ้โม่งทึบแสง" หากเป็นตรงนี้ มันจัดเป็น "นามกาย"
+++ นามกาย ที่มี หัว ตัว แขน ขา ครบถ้วน ผมเรียกมันว่า "กายเวทนา (สติปัฏฐาน)"
+++ และในยามที่ "นามกาย" อยู่ในสภาพ "ทรงกลม" ผมเรียกมันว่า "ตัวดู" เป็น "กายธัมมารมณ์ (สติปัฏฐาน)
+++ จากข้อ 2 ที่คุณระบุมาว่า "มันขัดแย้งกับกายอยู่ตลอดเวลา" นั้น ชี้ว่า มันเป็น "นามกาย"
+++ เป็น "นามกาย" ที่มี หัว ตัว แขน ขา (ส่วนจะครบหรือไม่ ขึ้นกับ คุณฝึกมาอย่างไร)
+++ อาการนี้ เรียกว่า "กายเวทนา" ในกระทู้นี้ เป็นอาการของ "กายในกาย" ที่พูดถึงกัน
===============================================
+++ ความต้องการ อีกอย่างหนึ่งที่ถามมา คือ "ไม่รู้วิธีการใช้ไอ้ตัวที่อยู่ในกาย"
+++ คำตอบ คือ หากคุณ "ไม่เป็นมัน" คุณจะ ใช้มันไม่ได้ เพราะมัน "ไม่ใช่ กายมโน (รูปกายละเอียด)" ที่บังคับได้
+++ การจะใช้ในหมวด "นามกาย" มีได้เพียงประการเดียวเท่านั้น คือ ต้อง "เป็น" มัน เท่านั้น -
+++ อาการที่เกิดขึ้นนั้น เรียกว่า "มันเป็น คนละส่วน แยกออกจากกัน"
+++ คำว่า "เหมือนมันซ้อนทับกัน" นั้น ถูกต้อง "ตรงกับอาการจริง ของ สภาวะที่เกิดขึ้น"
+++ ตรงนี้ เป็นอาการของ "กายเวทนา ที่แยกออกจาก กายเนื้อ" บางที่เรียกว่า "กายในกาย" ก็ได้
+++ ประโยคที่ว่า "ไอ้ตัวที่รู้เป็นเพียงแค่ตัวรู้ และบอก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้" ตรงนี้ "เป็นความจริง"
+++ คำว่า "ไอ้ตัวรู้ ไอ้ตัวบอก" นั้น ภาษาในกระทู้นี้ เรียกว่า "ตัวพูดมาก" เป็นฐานของ "กายจิต"
+++ อาการของคุณ คือ "รับรู้ ถึงการแยกส่วนของ กายเนื้อ กายเวทนา และ กายจิต" นับว่า ไปได้ไกลทีเดียว
+++ สำหรับ "ไอ้ตัวที่ ดิ้นรนหาทางออก" นั้น คือตัว "กายเวทนา (นามกาย)"
+++ นั่นเป็นอาการ "เริ่มต้น ก่อนที่จะเกิด การแยกกาย แล้ว ถอดกาย ออกมา" ตรงนี้ ถูกต้องแล้ว
+++ ที่สำคัญ คือ "ห้ามเอาชนะมัน" เพียงแค่ "เปลี่ยนจาก รู้สึกมัน มาเป็น รู้มันเฉย ๆ" ก็จะตื่น ได้เอง
หน้า 68 ของ 69