พญาหอระมานในความเชื่อของล้านนาไทย

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย แมงวันคำ, 10 กันยายน 2008.

  1. แมงวันคำ

    แมงวันคำ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +96
    หอรมาน(หอระมาน) ในความเชื่อของล้านนา<O:p</O:p
    โดย อ.กฤษณะ แก้วพรหม บ้านมนตราล้านนา เชียงใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 17.02 น.
    <O:p</O:p
    หอระมาน มีคำ ๆ นี้มากในพับสาประเภทคาถาอาคมโบราณ เดิมทีนั้นผู้เขียนไม่เข้าใจว่าคืออะไรจนเมื่อได้เรียนถามท่านผู้รู้ว่าหอระมานคืออะไรกันแน่ คำตอบนั้นหาใช่สิ่งอื่นใดเลย หอระมานที่ใช้เขียนเป็นศัพท์ในจารึกพับสานั่นก็คือ หนุมาน ที่เราท่านทั้งหลายรู้จักและคุ้นกันเป็นอย่างดีนี่เองจนเมื่อได้ศึกษาพับสายันต์พบยันต์รูปลิงที่เขียนจารึกไว้ว่ายันต์หอระมานจึงเพิ่มหลักฐานทางเอกสารไปได้ว่าหอระมานก็คือหนุมานมีความเชื่อในเรื่องอำนาจของหอระมานว่าใช้ไปในทางคงกระพันหรือข่ามคง ในด้านวรรณกรรม คำว่าหอระมานหากนำมาใช้แต่งโคลงที่ใช่ภาษาถิ่นล้านนาด้วยแล้วจะสามารถเข้ากันได้อย่างเหมาะสม
    <O:p</O:p
    ยกตัวอย่างดังโครงดาดเมืองลับแลได้กล่าวไว้ว่า<O:p</O:p
    พระพิหารยอสูงพ้น......เหลือประมาณ
    เสาคำสูงวิตาน......................หยั่นหย้อง
    ชม่อยเมียงสลั้งลาน..............บันมาศ ผกาเฮิย
    หอระมานข่ามปกป้อง...........แชงช่ำ สุพรรณทวาร<O:p</O:p

    ที่มา โครงดาดยวนลับแลง http://www.lannaworld.com/cgi/lannaboard/reply_topic.php?id=34569
    <O:p</O:p
    ในตัวอย่างโครงดาดเมืองลับแลนี้คำที่ขีดเส้นใต้ หอระมาน คือหนุมานชาญสมรผู้ทรงฤทธิ์ทหารเอกพระราม มีขนเป็นเพชรฟังแทงไม่เข้า คงกระพันต่ออาวุธหอกดาบ ทางภาคเหนือใช้คำว่า ข่าม คือคงกระพันในโคลงบทนี้กล่าวถึงคันทวยที่แกะสลักเป็นรูปหอระมาน หอระมานนั้นจะเข้ามามีอิทธิพลในภาคเหนือนั้นก็คงด้วยสาเหตุหลายด้าน ด้านวรรณกรรมอาจรับมาจากพม่าและไทลื้อ โดยเรื่องรามเกียรติ์ได้มีแพร่หลายในไทลื้อ เรียกวรรณกรรมนี้ว่า ลังกาสิบโห หรืออาจมาพร้อมกับการติดต่อค้าขายระหว่างล้านนากับอยุธยาก็เป็นได้ หากครูบาอาจารย์ผู้รจนายันต์หอรมานได้นำเอาคุณสมบัติและคุณลักษณะตลอดจนความเชื่อเข้าผูกเป็นยันต์และคาถาหอระมานโดยนำความเชื่อที่ว่า หนุมานฆ่าไม่ตาย ฟันแทงไม่เข้ามาเป็นหลักวิชาคงกระพันเพื่อใช้ในการกิจอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในด้านกำลังใจ การเรียนรู้วรรณกรรมในสมัยอดีตต้องแตกฉานในภาษาบาลี มคธ และเป็นผู้เก่งในทางภาษาอยู่มาก ถึงได้เรียนรู้คุณลักษณะเด่นของหนุมานอันที่จริงแล้วล้านนาในอดีตพระสงฆ์จะเก่งบาลีกันมาก ในล้านนามีวรรณภาษาบาลีอันพระสงฆ์ชาวล้านนาได้รจนาแต่งไว้มีมากมาย เป็นสมบัติทางประวัติศาสตร์ให้คนล้านนาในยุคปัจจุบันได้ศึกษา เช่น ชินกาลมาลีปกรณ์ จามเทวีวงค์ มูลศาสนา เป็นต้น ล้วนแล้วแต่ได้แสดงถึงความสามารถของปราชญ์ชาวล้านนาอย่างมาก
    <O:p</O:p
    หอระมานยังได้เคยเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงรายในอดีตด้วยเช่นกัน ล้านนาในอดีตพ.ศ.2437พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่รัชกาลที่ 5ได้พระราชบัญญัติจัดตั้งมณฑลต่าง ๆ ขึ้น ยุคนี้มีการรวมอาณาจักรล้านนาอันเป็นเมืองประเทศราชเข้าเป็นมณฑลพายัพโดยมีการส่งข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณขึ้นมาปกครองแทนเจ้าเมืองหรือเจ้าหลวงและต่อมาได้กลายมาเป็นการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด โดยสมัยนั้นเรียกว่าข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพภาคเหนือ รับราชกาลต่างพระเนตรพระกรรณพระมหากษัตริย์สำหรับในจังหวัดเชียงรายได้มีพระภักดีณรงค์เป็นข้าหลวงคนแรกมาปกครองเมืองเชียงราย

    เมื่อกล่าวถึงหอระมานในภาพหลักฐานแล้วหอระมานในตำราพับสาก็มีการกล่าวไว้ไม่น้อย จะไม่มีคำว่าหนุมานเลย จะด้วยเหตุอันใดที่ไม่เรียกว่าหนุมานก็มิทราบ สันนิษฐานได้ว่าการใช้ศัพท์และการถ่ายทอดทางภาษาด้วยระยะทางและเวลาในอดีตมีส่วนส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนกันได้ หรืออาจเป็นคำที่ใช้เรียกในสมัยอดีต มีชื่อบางชื่อในล้านนาที่ไม่เหมือนกับของภาคกลางเช่น องค์ปรไมไอศวร ทางภาคกลางคือพระอิศวร เป็นต้น
    <O:p</O:p
    หอระมานในทางด้านความเชื่อทางไสยศาสตร์ล้านนาจะเชื่อในด้านกายะ หรือด้านข่ามคง(ในล้านนามักเรียกประเภทของคาถาไว้สองด้านคือ ปิยะคือด้านเสน่ห์ และ กายะ คือคงกระพัน)โดยผูกคาถา และผูกยันต์ไว้เป็นรูปลิง เรียกว่ายันต์หอระมาน ความเชื่อเรื่องอำนาจของหอรมานยังนำมาสร้างเป็นเงื่อนถักเชือกได้เช่นกัน ดังเช่นเงื่อนที่ใช้ถักปิดหัวท้ายของยันต์ ทางล้านนาเรียกว่าขอดหอรมาน การขอดเชือกหอรมานนั้นมีอยู่ 2 แบบคือ ขอดหอรมานตัวเมีย กับขอดหอรมานตัวผู้ การขอดหอรมานนั้น แท้จริงแล้วเรียกว่า ไส้หอรมาน หรือ ไส้หนุมานนั่นเอง เป็นการเปรียบเงื่อนที่ถักเป็นไส้ของหนุมานเพื่อดึงเอาพลังอำนาจมาเป็นตัวประกอบในยันต์นั้นให้ขลังและศักดิ์สิทธิ์ แต่ถึงอย่างไรแล้วหนุมานก็ยังคงความสำคัญตลอดมาตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่เคยเสื่อมคลาย คงเป็นดังเรื่องรามเกียรติ์ที่ว่าหนุมานเป็นไม่มีวันตาย เพราะทุกวันนี้หนุมานก็งโลดแล่นไปในทุกที่ ๆ ดังเราจะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน ทุกเพศทุกไวต่างก็รู้จัก ด้วยความเป็นฮีโร่ที่ครองใจทุก ๆ คน
    <O:p</O:p
    การเสนอบทความในเวปบอร์ดแห่งนี้เป็นบทความที่ได้จากการศึกษาและเรียนถามผู้รู้หลายท่าน มิได้มาจากตัวผู้เขียนเพียงอย่างเดียว ผู้เขียนขอเรียนให้ทราบว่าไม่ได้คิดจะเป็นผู้รู้ เพื่อความยกย่องสรรเสริญและชื่อเสียง เพียงแต่ขอใช้เวลาและกำลังสติปัญญาค้นคว้าข้อมูลแนวคติชนวิทยา คือการแสดงความสัมพันธ์ของความเชื่อออกมาให้ท่านได้ทราบถึงระบบความคิดและมุมมองของศาสตร์ เราท่านทั้งหลายเป็นปัญญาชนพึงเข้าใจและเรียนรู้ศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ถึงจะเกิดประโยชน์ต่อตัวท่านเอง การรับรู้และเรียนรู้ข้อมูลหลาย ๆ ด้านจึงทำให้เรารู้มากและเข้าใจมากในสิ่งที่เราศึกษา ไครจะว่ายังก็แล้วแต่ผู้เขียนมีความสุขที่ได้ค้นคว้า เวลาที่มีอยู่ทุกวันนี้ผู้เขียนได้ใช้อย่างคุ้มค่าทุกวินาทีแล้ว ติดตามบทความเรื่องใหม่ได้จากเวปบอร์ดแห่งนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้กำลังใจแก่ผู้เขียนเสมอมา

    <O:p</O:p
    อ.กฤษณะ แก้วพรหม ประธานบ้านมนตราล้านนา เชียงใหม่
    ข้อมูลจากเว็บไซต์มนตราล้านนา www.montralanna.com
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กันยายน 2008
  2. BlueBlur

    BlueBlur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,664
    ค่าพลัง:
    +1,568
    อนุโมทนาในความรู้นี้ครับ เคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่พูดเหมือนกัน แต่ไม่เข้่าใจในความหมาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...