เรื่องเด่น พบมส.ศรีลังกาเจ้าของร.ร.มัธยมพุทธใหญ่ที่สุด

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 มีนาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    104573_th.jpg

    วันจันทร์ ที่ 05 มีนาคม พ.ศ. 2561, 09.19 น.

    พบมส.ศรีลังกาเจ้าของร.ร.มัธยมพุทธใหญ่ที่สุด


    “ผอ.ไอบีเอสซี มจร” รุดเฟ้นนักเรียน ม.ปลายศึกษาต่อที่ไทย เตรียมลงนามความร่วมมือด้านการศึกษาร่วมถึงที่ภูฏานด้วย

    วันที่ 3 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มจร ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานสมาคมสภาสากลวิสาขบูชาโลก ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ได้ที่เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา เพื่อนำหนังสือจากพระพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี มจร ในฐานะประธานกรรมการบริหารสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก กราบนิมนต์พระมหานายกะของนิกายสยามวงศ์ทั้งสองรูป คือ (1) Most Ven. Thibbatuwawe Sri Siddhartha Sumangala Maha Nayaka thera นิกายมัลวัตตะ (Malwaththa) และ (2) Most Ven. Warakagoda Sri Gnanarathana Thero นิกาย อัสคิริยะ (Asgiriya) ไปร่วมพิธีเฉลิมฉลองการจัดงานวิสาขบูชาโลกครั้งที่ 17 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่าง 25-27 พฤษภาคม 2561

    นอกจากนี้ ได้เข้าปรึกษาหารือกับพระมังคละ มหาเถระ กรรมการมหาเถรสมาคมของประเทศศรีลังกา ในฐานะที่เป็นเจ้าของโรงเรียนมัธยมศึกษาพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศศรีลังกา ซึ่งมีนักเรียนที่เข้ารับการศึกษา จำนวนกว่า 3,000 คน เพื่อขอให้จัดส่งนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีผลการศึกษาที่ดีที่สุด เข้าไปศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาพระพุทธศาสนา หลักสูตรนานาชาติ ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร จำนวน 5 คน พร้อมทั้งสนับสนุนทุนในการศึกษาจำนวนครึ่งหนึ่งด้วย โดยพระคุณท่านได้แสดงเจตจำนงค์ตามที่ได้ร้องขอไป ภายใต้การประสานงานของ ดร.พระปิยะรัตนะ

    ทั้งนี้ ในปลายเดือนมีนาคมนี้ ผู้บริหารระดับสูงของวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติจะเดินทางไปร่วมลงนามความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาด้านพระพุทธศาสนาที่ประเทศภูฏาน เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่ความเฉลี่ยวฉลาดมาร่วมศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาพระพุทธศาสนา หลักสูตรนานาชาติ มจร ด้วยเช่นกัน การดำเนินการดังกล่าว เป็นการดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ของวิทยาลัยที่มุ่บไปสู่การเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ

    พระมหาหรรษา กล่าวด้วยว่า ตัวแปรสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาไปสู่การเป็นวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยระดับโลกคือ “การเฟ้นหาช้างเผือก” หรือ “Talent” กลุ่มคนเหล่านี้ คือ กลุ่มคนที่มีศักยภาพในการเรียนเรียนรู้ พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆ ได้ดี และในที่สุดเมื่อออกจากสถานศึกษาไปแล้ว จะสามารถในการพัฒนางาน และสังคมให้ได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น สุดท้ายก็จะนำเชื่อเสียงมาสู่วิทยาลัย ผ่านนวัตกรรม รางวัล ผลงานทางวิชาการ และอื่นๆ กลุ่มคนที่ยังไม่ตัดสินใจเรียนก็จะทำเห็นแบบอย่าสงที่ดี และเข้ามาศึกษาในที่สุด

    ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาช้างเผือก หรือ Talent จึงจำเป็นต้องลงทุนทั้งแบบให้เปล่าด้านการศึกษา แบบให้ทุนการศึกษาเฉพาะค่าเล่าเรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บรรดาช้าวเผือกเกิดแรงจูงใจในการเข้ามาศึกษา จากการลงพื้นที่พบปะวิทยาลัย และโรงเรียนปริยัติธรรมในศรีลังกาพบว่า ในแต่ละปีนั้น จะมีสถาบันการศึกษาในประเทศต่างๆ ให้ทุนเยาวชน สามเณร และพระภิกษุไปเรียนทั้งระดับปริญญาตรี โท แบะเอกจำนวนมาก เหตุผลสำคัญเพราะพื้นฐานทางการศึกษา และได้รับการบ่มเพาะด้านพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เยาว์วัยผ่านโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

    ในฐานะที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กำลังจะเปิดปริญญาตรี สาขาพระพุทธศาสนา หลักสูตรนานาชาติ รุ่นที่ 1 ในภาคการศึกษา 1/2561 ในเดือนสิงหาคมนั้น นิสิตที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target Market) ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย คือ นิสิตที่อยู่สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) และสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) การเข้ามาของนิสิตกลุ่มนี้ จึงมาพร้อมกับแหล่งทุนที่จะทำหน้าที่สนับสนุนจากวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และองค์กรเลด้านพระพุทธศาสนาที่มีอยู่ทั่วโลก

    จุดเด่นของหลักสูตรปริญญาตรี สาขาพระพุทธศาสนา (นานาชาติ) คือ การนำนิสิตจากมหายาน วัชรยาน และเถรวาทมาหล่อมรวม ซึ่งจะได้ทั้งวัฒนธรรมแบบอินเตอร์ วิธีคิดที่มองข้ามตัวเองไปสู่การอยู่ร่วมกันกับกลุ่มคนอื่นๆ ในสังคมโลก โดยมีอาจารย์ผู้บรรยายที่มาจากทั้ง 3 นิกาย เพื่อจะทำให้นิสิตมองเห็นความเชื่อมโยงของพนัพุทธศาสนากับวัฒนธรรมต่างๆ การเรียน 120 หน่วยกิต วิชาเรียนน้อยลง แต่ไปพร้อมสารัตถะของรายวิชาให้เข้มข้นมากขึ้น และที่สำคัญคือ ก่อนจบการศึกษานั้น นิสิตต้องทำสารนิพนธ์ 6 หน่วยกิตโดยการลงพื้นที่ไปทำหน้าที่เป็นสมณทูตเผยแผ่พระพุทธศาสนาในชุมชน และสังคมทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ จึงจะมีสิทธิ์รับปริญญาตรี อันเป็นการเน้นสอนให้ผู้เรียนได้นำธรรมไปทำอย่างแท้จริง

    “นิสิตเหล่านี้ เมื่อได้รับการดูแล เอาใจใส่ และฝึกฝนอย่างดีแล้ว จะกลายเป็นสมณทูต หรือศาสนทายาทที่สำคัญที่จะออกไปทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาในทวีปต่างๆ ทั่วโลก อีกทั้งกลับไปทำงานรับใช้บ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง รวมไปถึงการศึกษาต่อยอดในระดับที่สูงขึ้น ฉะนั้น การลงทุนจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพระพุทธศาสนา หลักสูตรนานาชาติ จึงเป็นก้าวย่างสำคัญส่งออกพระพุทธศาสนาไปสร้างพุทธปัญญาแก่ชาวโลก เพื่อความสุข สงบเย็นและเป็นสันติสุขอย่าางยั่งยืนต่อไป” พระมหาหรรษา ระบุ


    ________________

    (หมายเหตุ : ข้อมูลจากสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และ IBSC)


    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/104573
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 มีนาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...