พบ 14 กาแล็กซีรวมตัวให้กำเนิด "กระจุกดาราจักร" ขนาดยักษ์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย วสุธรรม, 27 เมษายน 2018.

  1. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    _101034976_c2135dd3-68d2-4706-832a-1746dbf31efe.jpg
    Image copyrightNRAO/AUI/NSF/S. DAGNELLO
    คำบรรยายภาพ(ภาพจากฝีมือศิลปิน) มีการค้นพบกลุ่มดาราจักรที่ประกอบไปด้วย 14 กาแล็กซี ซึ่งทั้งหมดกำลังจะชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน
    มีการค้นพบกลุ่มของดาราจักรซึ่งประกอบไปด้วยกาแล็กซีต่าง ๆ เป็นจำนวนถึง 14 กาแล็กซี โดยทั้งหมดกำลังจะชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน เพื่อให้กำเนิดแกนกลางของกระจุกดาราจักร (Cluster) เกิดใหม่ ที่มีขนาดมโหฬาร นับว่าเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่หาพบได้ยากยิ่ง

    กล้องโทรทรรศน์ขั้วโลกใต้ (South Pole Telescope) ที่ทวีปแอนตาร์กติกา ได้ตรวจจับและบันทึกภาพของจุดสว่างบนท้องฟ้าซึ่งมาจากกลุ่มของ 14 กาแล็กซีนี้ได้ โดยพบว่าเป็นแสงจากเหตุการณ์เมื่อ 12,000 ล้านปีก่อน ที่เกิดขึ้นในห้วงอวกาศลึกเกือบสุดขอบเขตของเอกภพที่สามารถสังเกตได้ (Observable Universe ) และแสงนี้เพิ่งเดินทางมาถึงโลก

    นายทิม มิลเลอร์ นักศึกษาวิจัยระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐฯ ผู้เขียนรายงานการค้นพบดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature ระบุว่า จากการคำนวณพบว่าเหตุการณ์ที่กาแล็กซีกลุ่มดังกล่าวกำลังจะรวมตัวเข้าด้วยกัน ได้เกิดขึ้นเมื่อจักรวาลยังมีอายุราว 1,400 ล้านปี ซึ่งจัดว่าเป็นช่วงที่จักรวาลเพิ่งถือกำเนิดขึ้นใหม่ ๆ

    _101012289_nrao18cb5a.jpg
    Image copyrightALMA; B. SAXTON
    คำบรรยายภาพภาพของ 14 กาแล็กซีที่กล้องโทรทรรศน์บันทึกไว้ได้ โดยปรากฏให้เห็นเป็นจุดสว่างบนท้องฟ้า
    ผู้เชี่ยวชาญในวงการดาราศาสตร์มองว่า เหตุการณ์นี้มีความสำคัญต่อการศึกษาเรื่องการก่อตัวของกระจุกดาราจักรและกำเนิดจักรวาลอย่างมาก เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่หาพบได้ยาก การที่ดาราจักรประเภทนี้ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดดาวกระจาย (Starburst galaxy) จะรวมตัวเข้าด้วยกันแม้ในจำนวนน้อยเพียง 2 กาแล็กซีขึ้นไปนั้น ที่ผ่านมาก็ยังหาพบได้ยากมาก

    ทั้งนี้ ดาราจักรชนิดดาวกระจายคือแหล่งให้กำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ที่สำคัญของจักรวาล โดยสามารถเพิ่มจำนวนดาวฤกษ์ในตัวเองขึ้นได้อย่างมากและรวดเร็วกว่าอัตราการให้กำเนิดดาวฤกษ์ของกาแล็กซีทางช้างเผือกถึง 1,000 เท่า

    _101012284_opo0838a.jpg
    Image copyrightESA/HUBBLE
    คำบรรยายภาพดาราจักรชนิดดาวกระจาย (Starburst galaxy) อย่าง NGC 1569 เป็นแหล่งให้กำเนิดดาวฤกษ์ใหม่ โดยสามารถเพิ่มจำนวนดาวฤกษ์ขึ้นได้มากอย่างรวดเร็ว
    กลุ่มของ 14 กาแล็กซีที่ค้นพบนี้ ตั้งอยู่ชิดกันอย่างหนาแน่นภายในห้วงอวกาศที่กว้างกว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกเพียง 4-5 เท่า ซึ่งเท่ากับว่าดาราจักรทั้งหมดเบียดเสียดแออัดกันอยู่อย่างเหลือเชื่อ เสมือนนำเอาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทั้งหมดมาใส่ลงในที่ว่างระหว่างโลกและดวงจันทร์

    อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบได้ว่า กลุ่มของกาแล็กซีที่หนาแน่นสูงดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไรในช่วงที่จักรวาลยังมีอายุน้อย ทั้งยังเกิดขึ้นก่อนยุคที่การก่อตัวของดาวฤกษ์จะอยู่ในอัตราสูงสุดถึงราวหนึ่งพันล้านปี

    _101020943_c0336585-milky_way_with_sest_radio_telescope-spl.jpg
    Image copyrightSCIENCE PHOTO LIBRARY
    คำบรรยายภาพมีดาวฤกษ์เกิดใหม่โดยเฉลี่ยปีละ 1 ดวงในกาแล็กซีทางช้างเผือก
    "แต่ที่แน่ ๆ การชนและรวมตัวกันของ 14 กาแล็กซีนี้ ได้ให้กำเนิดแกนกลางของกระจุกดาราจักรหรือคลัสเตอร์ใหม่ ที่มีขนาดมโหฬารยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยอาจจะมีขนาดเท่ากับกระจุกดาราจักรขนาดยักษ์ Coma Cluster ซึ่งกินพื้นที่บนท้องฟ้าที่เรามองเห็นได้กว่า 4 เท่าของดวงจันทร์เต็มดวง ทั้งยังมีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์ 10 ล้านล้านดวง" นายมิลเลอร์กล่าว

    _101034975_c0334870-abell_1656_coma_galaxy_cluster-spl.jpg Image copyrightSCIENCE PHOTO LIBRARY
    คำบรรยายภาพกระจุกดาราจักร Coma Cluster ประกอบด้วยดาราจักรอย่างน้อย 1,000 กาแล็กซี
    ที่มาของบทความ
    http://www.bbc.com/thai/international-43909436?ocid=socialflow_facebook
     
  2. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    810
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,432
    การรวมตัวของ14กาแล็คซี่ที่ห่างไกลนี้ จะส่งผลอย่างไรกับโลก??
    หลุมดำใจกลางกาแล็คซี่ คงจะมีแรงดึงดูดมาก ถึงขนาดทำให้ 14กาแล็คซี่ค่อยเคลื่อนตัวเข้าหากัน
    การกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลังจาก 14กาแล็คซี่รวมตัวกัน / หรืออาจหายไปผสมกลมกลืนพลักไสกัน จนเกิดสิ่งใหม่ๆ ก็เป็นได้
    ว๊ากกกก!!!!
     

แชร์หน้านี้

Loading...