พม่าเซ็นขายก๊าซให้จีน 30 ปี ส่งผ่านท่อเบงกอลไปหยุนหนัน

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 12 มกราคม 2006.

  1. NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 มกราคม 2549 21:11 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=380 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=380> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5></TD></TR></TBODY></TABLE> กรุงเทพฯ- ทางการพม่าได้ตกลงใจเซ็นบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจขายก๊าซธรรมชาติจากหลุ่ม A1 ในอ่าวเบงกอลให้กับจีนเป็นเวลานานถึง 30 ปี เป็นการดับความหวังของอินเดียที่หาทางนำเข้าก๊าซจากพม่า โดยวางท่อผ่านบังกลาเทศ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็เป็นการยืนยันในบทบาทสำคัญของจีนในความร่วมมือด้านพลังงานในประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนประเทศนี้

    ตามรายงานของสำนักข่าวเพรสทรัสต์แห่งอินเดีย (Press Trust of India) หรือ พีทีไอ บริษัทที่ปรึกษาของบริษัทก๊าซและน้ำมันของอินเดียในพม่าได้แจ้งเรื่องนี้ให้ทางการพม่าได้รับทราบ ซึ่งเป็นผลทำให้รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันและก๊าซของอินเดียต้องยุติการเยือนลงอย่างกะทันหันและเดินทางกลับประเทศ เมื่อได้ทราบข่าวว่าพม่าได้ตัดสินใจที่จะเปิดการซื้อขายกับจีน

    ทางการพม่าได้ทำบันทึกช่วยความจำเรื่องนี้กับบริษัทปิโตรไชน่า (PetroChina) ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง บริษัทของจีนดังกล่าวสามารถเอาชนะการประมูลบริษัทน้ำมันและก๊าซของอินเดียมาแล้วถึง 3 ครั้งในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา ในการประกวดราคาเพื่อการสำรวจขุดเจาะหาก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ ในประเทศต่างๆ

    สำหรับหลุม A1 นี้บริษัทน้ำมันของอินเดีย 2 แห่งร่วมมีหุ้นส่วนด้วยถือ คือ ONGC Videsh Ltd (OVL) กับ บริษัท GAIL ร่วมกันมีหุ้นส่วนรวมกัน 30% ส่วน ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท Daewoo International จากเกาหลี (60%) กับบริษัท Korea Gas (KOGAS) ถืออีก 10% และไม่มีบริษัทน้ำมันจากจีนมีผลประโยชน์อยู่ในหลุมก๊าซใหญ่จากแหล่งในอ่าวเบงกอลแห่งนี้

    "เราได้รับแจ้งว่าปิโตรไชน่ากับกระทรวงพลังงานพม่าได้เซ็นบันทึกช่วยความจำกันเมื่อเร็วๆ นี้ โดยฝ่ายพม่าได้ตกลงขายก๊าซธรรมชารติประมาณ 6.5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตจากหลุม A1 เป็นเวลากว่า 30 ปี โดยส่งผ่านท่อส่งทางบกเข้าสู่มลฑลหยุนหนัน" หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชี่ยลไทมส์ของอินเดีย รายงานโดยอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวในกระทรวงก๊าซและน้ำมัน

    แหล่งข่าวเดียวกันกล่าวว่า ที่ปรึกษาของบริษัท OVL ในพม่าเป็นผู้แจ้งเรื่องนี้ให้กับทางการอินเดียได้รับทราบ ซึ่งการขนส่งจะเริ่มตั้งแต่ปี 2552 เมื่อการขุดค้นก๊าซในหลุม A1 ขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์เริ่มขึ้นในปีนั้น

    ที่ผ่านมาอินเดียซึ่งมีประชากรกว่า 1,000 ล้านคน ได้พยายามอย่างยิ่งในการหาแหล่งพลังงานจากต่างแดน โดยพยายามนำเข้าก๊าซและน้ำมันจากหลายแหล่ง รวมทั้งอิหร่าน พม่า เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) โดยผ่านระบบท่อทางบกที่สร้างผ่านดินแดนของประเทศที่สาม ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาอินเดียได้มีโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซความยาว 290 กิโลเมตร ด้วยเงินลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากแหล่งก๊าซนอกชายฝั่งพม่าไปยังรัฐเบงกอลตะวันตก ผ่านบังกลาเทศ แต่การเจรจายังไม่ประสบผลสำเร็จ อินเดียยังหวังที่จะได้ก๊าซจากหลุม A3 อีกแห่งหนึ่งด้วย

    บริษัทที่ปรึกษา Ryder Scott Company จากมลรัฐเท็กซัส สหรัฐฯ เปิดเผยในปลายเดือน ธ.ค.2548 ว่ามีก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบในแหล่งฉ่วย (Shwe) ที่อยู่นอกชายฝั่งด้านตะวันตกของรัฐยะไข่ในพม่านั้น มีปริมาณ 2.88-3.56 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งนับเป็นปริมาณมหาศาลช่วยยั่งยืนความมั่งคั่งในด้านการพลังงานของประเทศนี้

    ในต้นปี 2549 นี้ บริษัทหุ้นส่วนต่างๆ ในโครงการสำรวจขุดเจาะนอกชายฝั่ง จะเริ่มขุดสำรวจในบ่อ Shwe Nilar-1 ซึ่งอยู่ในบริเวณแหล่งฉ่วย และ จะมีการขุดค้นในอีกหลายบ่อในหลุม A1 กับ A3 ซึ่งอยู่ในแหล่งที่เรียกว่า ฉ่วยปิว (Shwe Phyu) ส่วนในช่วงปี 2548-2549 ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ร่วมทุนได้ทำการขุดค้นใน 6-7 บ่อ ในหลุม A-1 และ A-3 กับอีก 3 บ่อในแหล่งฉ่วยปิว

    นอกจากนั้นในต้นเดือน ธ.ค.ปีที่แล้วนายซานหวิ่น (U San Lwin ) ผู้อำนวยการบริษัท Myanma Oil & Gas Enterprise (MOGE) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาลพม่าได้ประกาศระหว่างการประชุมคณะกรรมการน้ำมันอาเซียน ครั้งที่ 8 (8th ASEAN Council On Petroleum) ณ กรุงมะนิลาว่า กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการความร่วมมือก่อสร้างท่อส่งก๊าซและน้ำมันกับจีน โดยมีการเซ็นเอ็มโอยูโครงการนี้แล้ว.
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้