พระกริ่ง วัดสุทัศน์ฯ พิมพ์ต่างๆจากบันทึกเจ้าคุณศรี(สนธิ์)

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 6 ธันวาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระกริ่ง วัดสุทัศน์ฯ พิมพ์ต่างๆ



    บันทึก..... วัตถุมงคลวัดสุทัศน์ เจ้าคุณศรี (สนธิ์) มอบแก่พี่ชาย
    ระยะนี้ ยังคงเป็นการพูดถึงวิธีการตรวจสอบพระกริ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระกริ่งวัดสุทัศน์ แบบเข้มข้นที่สมบูรณ์แบบซึ่งจะทำให้ได้ผลตรวจสอบว่าเป็นพระกริ่งเก๊หรือแท้ ได้แน่นอนที่สุดวิธีการก็คือการรวบทฤษฏีการดูพระกริ่งแบบเดิม ซึ่งประกอบด้วยการพิจารณาขนาดและพิมพ์ทรง ฝีมือการแต่ง (ถ้าเป็นพระกริ่งแต่ง) และเนื้อ (เนื้อในและสนิม รวมทั้งความเก่าด้วย) ร่วมกับทฤษฏีเพิ่มเติม คือ พิจารณาร่องรอยการหล่อ (วัดสุทัศน์มีวิธีการหล่อเป็นเอกลักษณ์โดยส่วนมากหล่อแบบเข้าช่อ เป็นพิมพ์ประกบอุดกริ่งแบบกริ่งในตรงสะโพก 1 รู หรือ 2 รู เม็คกริ่งใหญ่กว่ารูอุคมกริ่ง และติดชะนวนช่อใต้ฐาน 1 ก้าวหรือ 2 ก้าน อาจติดตรงกลางใต้ฐานใต้ฐาน 2 ข้าง ด้านหลังฐานโดยไม่โดนใต้ฐา หรือด้านหลังใต้ฐานก็ได้) และนำวิทศาสตร์ ด้านการวิเคราะห์ดินเบ้า (ถ้ามี) ว่าเป็น ดินเบ้าแท้หรือปลอมรวมทั้งการวิเคราะห์ส่วนผสมของโลหะว่าถูกต้องตามทฤษฏีหรือเปล่า (กริ่งวัดสุทัศน์แต่ละรุ่น มีประวัติการสร้างแน่นอนว่าส่วนผสมเป็นโลหะชนิดใดเช่าใช้นวโลหะตามสูตรของสมเด็จพระพนรัตวัดป่าแก้ว เป็นต้น) เมื่อรวมทฤษฏีการพิจารณาแบบเดิมกับทฤษฏีเติมจึงกลายเป็นทฤษฏีใหม่ที่เข้มข้นดังกล่าว
    ข้าวเจ้าได้เสนอผลการตรวจสอบพระกริ่งเทพโมลี รุ่น 1 หมายเลข 3 พิมพ์พรักตร์ยาว และพระกริ่ง 79 ชนิดเป็นช่อไม่แต่งทั้ง 2 พิมพ์ไปแล้ว สรุปว่าเป็นพระกริ่งแท้ทั้ง 2 พิมพ์ เพราะพิมพ์ถูกต้อง ขนาดถูกต้อง ความเก่าถึงยุค ร่องรอยการหล่อถูกต้อง เอกลักษณ์ประจำรุ่นถูกต้อง ดินเบ้าทั้ง 2 รุ่น เป็นดินสุกเกาะติดตามธรรมชาติ และส่วนผสมเป็นนวโลหะ ตรงตามประวัติการสร้างทุกประการ จากผลการตรวจสอบพระกริ่งทั้ง 2 พิมพ์ ทำให้สามารถตัดสินพระกริ่งองค์เดี๋ยวๆ ของ พระกริ่งเทพโมลีรุ่น 1 พิมพ์พระพักตร์ยาว (รวมทั้งพระกริ่งเทพโมลี รุ่น 2 พิมพ์เดียวกัน) และพระกริ่ง 79 ได้แน่นอนกว่าเดิม ชนิดเรียกว่าไม่ต้องโมแมแบบเดิมอีกแล้ว
    ต่อไปนี้เป็นการตรวจสอบพระกริ่งพรหมมุนี ด้วยทฤษฏีใหม่แบบเข้มข้น
    ffice:eek:ffice" /><O:p>[​IMG]</O:p>​
    พระกริ่งพรหมมุนี ชุดนี้เป็นช่อพระกริ่ง 8 องค์ (โปรดดูรูป) ส่วนรายละเอียดพุทธลักษณะได้แสดงไว้เช่นกัน (โปรดดูรูป)
    พระกริ่งช่อนี้ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ได้มอบให้คุณพริ้ง พงศ์กระวี พี่ชายคนหนึ่งของท่าน พระกริ่งช่อนี้เดิมมีมากกว่า 8 องค์ แต่องค์ที่ไม่ปรากฎได้ขาดหายไปตั้งแต่เดิมแล้ว
    [​IMG]
    พระกริ่งพรหมมุนีช่อนี้ ทุกองค์เป็นพิมพ์เดียวกัน คือพิมพ์กริ่งใหญ่แบบพิมพ์ที่ 1 เป็นพระที่อยู่ในสภาพเดิมๆ มีขนาดสูงประมาณ 3.9 ซม. ความกว้างตรงบัวประมาณ 2.3 ซม. เนื้อเป็นนวโลหะแดง (นาถแก่) กลับขาวน้อยมาก กลับคำ ความเก่าแสดงให้เห็นชัดเจนโดยผิวเนื้อในเกิดคลายมุ้งทั้วไปหล่อแบบกริ่งในตามมาตรฐานวัดสุทัศน์ แบบสองซีกประกบ อุดมกริ่งตรงสะโพก 2 รู (รูหนึ่งอุดด้วยตาปู อีกรูอุดด้วยดิน) มีก้านชะนวน ใต้ฐานด้านหลัง 1 ก้าน ลักษณะก้านค่อนข้างกลม มีดินเบ้าและขี้เขม่าจับทั้วไป เห็นผิวไฟทั้วไปด้วย พิจารณาการตกทอดและลักษณะทั่วไปแล้ว ตัดสินได้ขั้นแรกว่า เป็นพระกริ่งพรหมมุนีแท้ แน่ หากการหาส่วนผสมเป็นนวโลหะ (โลหะ 9 ชนิด ประกอบด้วย ชิน ซึ่งเป็นส่วนผสมของดีบุกและตะกั่ว หนัก 1 บาท จ้าวน้ำเงินซึ่งคือพลวงเงิน สติบไนท์ เป็นส่วนผสมของพลวงและกำมะถัน หนัก 2 บาท เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท บริสุทธิ์หรือตะกั่วเถือนหนัก 4 บาท ปรอทหนัก 5 บาท สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท เงินหนัก 8 บาท และทองคำหนัก 9 บาท)
    การตรวจสอบส่วนผสม หา 2 ตำแหน่ง คือตรงโคนก้าน และตรงยอดก้าน โดยส่งไปตรวจสอบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ 2 ครั้ง แยกจากกันและไม่ได้บอกว่าเป็นโลหะจากชุดเดียวกัน
    ผลการตรวจสอบปรากฎดังนี้<O:p></O:p>
    โคนก้าน ยอดก้าน<O:p></O:p>
    1. ทองแดง ร้อยละ 97.8 96.8
    2. สังกะสี ร้อยละ 1.1 1.1
    3. ดีบุก ร้อยละ 0.58 1.7
    4. ตุกั่ว ร้อยละ 0.15 0.14
    5. เหล็ก ร้อยละ 0.12 0.08
    6. เงิน ร้อยละ 0.08 0.11
    7. พลวง ร้อยละ 0.009 0.08
    8. ทองคำ ร้อยละ 0.005 0.004
    9. ปรอท มก.ต่อกก. 0.02 0.01

    จะเห็นได้ว่าโลหะพรหมมุนี ตรงโคนก้าน และตรงยอดก้าน เป็นนวโลหะทั้ง 2 ตำแหน่ง โดยมีโลหะหลักเป็นทองแดงรองลงมาคือสังกะสี และดีบุก นอกนั้นมีตะกั่ว เหล็ก เงิน พลวง และทองคำลดหลั่นกันไป ที่สำคัญมีปรอทผสมอยู่ด้วย
    ผลการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์สรุปได้ดังนี้<O:p></O:p>
    1.พระกริ่งพรหมมุนี ช่อนี้ (8 องค์) มีเนื้อเป็นนวโลหะการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ
    2.อัตราส่วนผสมของนวโลหะไม่ตรงตามสูตรของสมเด็จพระนพรัตวัดป่าแก้ว (สูตร 45 บาท) หมายเหตุ : โปรดดูข้ออธิบายสาเหตุต่อไป
    3.เนื้อนวโลหะ เป็นเนื้อโลหะที่สร้างยาก เท่าที่ทราบมีเพียงพระ กริ่งปวเรศ และพระกริ่งวัดสุทัศน์ ของสมเด็จพระสังฆราชแพ เกือบทุกรุ่นและของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) บางรุ่น เท่านั้นที่สร้างด้วยโลหะชนิดนี้ ส่วนเนื้อนวโลหะปัจจุบัน มันเป็นส่วนผสมของทองแดง เงิน อาจมีทองคำนิดหน่อยหรือทองเหลือง (สังกะสีสมทองแดง) และชนวนพระกริ่งเก่าเล็กน้อย ท่านั้น[​IMG]
    การที่เนื้อนวโลหะสร้างยาก เพราะโดยทั่วไปผู้สร้างมักหาโลหะสำคัญบางชนิดไม่ได้ เช่น ชิน (ดีบุกผสมกับตะกั่ว) จ้าวน้ำเงิน (ส่วนมากไม่ทราบว่าเป็นโลหะอะไรแน่) ปรอท (ปกติทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถผสมกับโลหะอื่นได้ เพราะปรอทเมื่อโดนความร้อน 60 องศาซี ก็จะหนีหายไปหมด แต่ทางไสยศาสตร์สามารถใช้ในใบและต้นอ้ายเหนียว ผสมต้นผักขมหิน ผสมต้นตำลึงตำให้เข้ากันแล้วเคล้ากับปรอท กำกับด้วยคาถาบทพิเศษ สามารถทำให้ปรอทสลมและผสมกับโลหะอื่นได้) และทองคำซึ่งมีราคาแพงมาก
    ที่นี้ มาดูสาเหตุที่อาจทำให้เนื้อหาโลหะไม่เป็นไปตามสูตรอาจเป็นเพราะ<O:p></O:p>
    1.สูตรมาตรฐานดั้งเดิมของนวโลหะ หนัก 45 บาท สามารถสร้างพระกริ่งใหญ่ เป็นช่อแบบวัดสุทัศน์ได้เพียงประมาณ 9 องค์เท่านั้น หากต้องการสร้างเกิน 9 องค์ (ซึ่งเกินทุกรุ่นอยู่แล้ว) ก็จำเป็นต้องเพิ่มโลหะ ซึ่งส่วนมากใช้ทองแดง เงิน หรือทองเหลือง (รุ่นพรหมมุนี บางปีใช้ทองแดง รุ่น 79 ใช้เงิน และรุ่น 83 ใช้ทองเหลือง เป็นต้น) บางครั้งต้องเพิ่มโลหะจำนวนมากเพราะมีการหล่อพระบูชาครอบน้ำพุทธมนต์และอื่นๆ ด้วย
    2.ในการหลอมโลหะในเบ้าหลอม การกระจายตัวของโลหะไม่สม่ำเสมอทั้งเบ้า ทั้งนี้เพราะโลหะแต่ละชนิด มีความถ่วงจำเพราะแต่กต่างกันมาก เช่นทองแดง มี ถ.พ.8.93 ทองคำ 19.32 ตะกั่ว 11.37 เงิน 10.50 ดีบุก 7.29 สังกะสี 7.10 และเหล็ก 7.5 เป็นต้น เป็นไปได้มากกว่าพวกโลหะหนักจะตกอยู่ก้นเบ้า ส่วนโลหะเบาอยู่ปากเบ้า ผู้เคยเทหล่อพระเครื่องย่อมทราบดี
    3.ความบริสุทธิ์ของโลหะที่ผสม มีผลทำให้สูตรเปลี่ยนไปได้มากเช่นกัน เช่น ชิน (ส่วนผสมของดีบุกและตะกั่ว) ค่าดีบุกและตะกั่วที่ผสมอาจแตกต่างกันได้มาก จ้าวน้ำเงิน หากบริสุทธิ์ 100% ก็มีพลวงผสมอยู่ประมาณ 71.4% เท่านั้น เป็นต้น
    4.องค์ที่เทตอนแรกโลหะมีความร้อนสูง การกระจายตัวน่าจะดีกว่าองค์ที่เทตอนหลังๆ ซึ่งโลหะเย็นกว่า เป็นอีกสาเหตุที่อาจทำให้ส่วนผสมแต่ละองค์ไม่เท่ากัน
    [​IMG]
    สรุปว่า พระกริ่งพรหมมุนี ช่อนี้ (8 องค์) แท้แน่นอน <O:p></O:p>
    จากผลการพิสูจน์พระกริ่งพรหมมุนี ช่อ 8 องค์ ทำให้มั่นใจในชั้นต้นว่า พระกริ่งพรหมมุนี ช่อ 9 องค์ (รูป 3) ช่อ 9 องค์ (รูป 4) ช่อ 7 องค์ (รูป 5) และช่อ 5 องค์ (รูป 6) เป็นพระกริ่งแท้ทั้งสิ้น เหตุผลเพราะเป็นพระกริ่งที่เจ้าคุณศรี (สนธิ์) มอบให้ญาติ รายละเอียดนอกนั้นเหมือนพระกริ่งพรหมมุนี ช่อ 8 องค์ ทุกประการ แตกต่างกันที่จำนวนองค์เท่านั้น
    เช่นเดียวกับ พระกริ่งพรหมมุนี สภาพเดิม องค์เดี่ยวๆ อีก 7 องค์ (รูป 7 รูป 8 รูป 9 รูป 10 รูป 11 รูป 12 และรูป 13 ) ล้วนเป็นพระกริ่งพรหมมุนี แท้ทั้งนั้นด้วยเหตุผลเดียวกัน
    อย่างไรก็ตาม พระกริ่งพรหมมนี องค์เบอร์ 7 เคยทอลองส่งไปเซอร์เมื่อเดือน พ.ศ. 2548 ปรากฎว่าคณะกรมการบอกไม่ผ่าน ทั้งที่เป็นพราะกริ่งที่ดูง่ายๆ จึงอยากขอแนะนำให้คณะกรรมการเซอร์พระกริ่งชุดนั้น ไปศึกษาเพิ่มเติมให้ถ่องแท้ก่อนแล้วค่อยกลับเป็นกรรมการจะดีไหม เพราะอาจทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น
    อนึ่ง จากนำพระกริ่งวัดสุทัศน์เนื้อนวโลหะหลายๆ รุ่น ไปตรวจสอบส่วนผสมที่กรมวิทยาศาสตร์บริการปรากฎว่าได้ส่วนผสมเป็นนวโลหะถูกต้องทั้งสิ้นแต่ยังไม่เคยพบองค์ที่มีสูตร (อัตราส่วนผสม) ใกล้เคียงกับสูตรดั้งเดิม (สูตรหนัก 45 บาท) เลย ดังนั้นจึงขอเสนอว่า หากท่านผู้ใดมีพระกริ่งวัดสุทัศน์รุ่นใดก็ได้ ที่มีสูตรส่วนผสมใกล้เคียงกัยสูตรเดิม และสามารถพิสูจน์ได้ ข้าวเจ้ายินดีมอบพระกริ่งพรหมมุนี แท้ๆ ให้เป็นรางวัล 1 องค์ สวัสดี<O:p></O:p>
    <O:p> [​IMG]</O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p> ที่มา http://www.sianpra.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=380769&Ntype=9</O:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...