พระธรรมขันธ์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย Toutou, 23 เมษายน 2006.

  1. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    เรียนถามท่านผู้รู้คะ ว่าพระไตรปิฎก 84000 พระธรรมขันธ์ นี่นับยังไงคะ พระธรรมขันธ์หนึ่งๆ เริ่มตรงๆไหนและจบตรงไหนคะ

    พระสูตรก็เช่นกัน นับได้กี่พระสูตร เริ่มตรงไหนและจบตรงไหนคะ[b-wai]
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    • ธรรมขันธ์ กองธรรม , หมวดธรรม , ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติ ขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔ ,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑ ,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑ ,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒ ,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ </B>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>
    • ธรรมขันธ์ [ N ] collective body of laws</B>
      [ Note ] (บาลี/สันสกฤต)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    • ธรรมขันธ์ a portion of the Dharma; a main article of the Doctrine; a textual unit; a category of the Dharma.
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=16208
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    พระสูตร ผมยังไม่ทราบว่ามีกี่พระสูตร
    แต่เกิน 16,000 พระสูตร


    *************************
    พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัส
    ยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระ
    พุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
    ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
    ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
    ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตาม
    หัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
    ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม
    รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
    ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์

    *************************

    พระสูตรจะอยู่ตรง พระสุตันปิฎก เป็นเรื่องราว

    การเริ่มต้นและจบ ลงของพรสูตร จะมีเขียนบอกไว้ในพระไตรปิฎก
    แต่ละพระสูตร อาจจะมีหลายหน้ารวมกัน บางพระสูตรมี 40 กว่าหน้า


    เช่น


    <CENTER class=n>พระสุตตันตปิฎก

    </CENTER><CENTER class=n>เล่ม ๒

    </CENTER><CENTER class=n>ทีฆนิกาย มหาวรรค

    </CENTER><CENTER class=n>ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    </CENTER><CENTER>๑. มหาปทานสูตร (๑๔)</CENTER>
    เนื้อเรื่อง xxxxxxxxxxyyyyyyyyyyzzzzzzzzzzzz
    รวมกัน 40 กว่าหน้า

    จบมหาปทานสูตร ที่ ๑



    <CENTER>*********************</CENTER>
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    1 พระธรรมขันธ์ เขานับอย่างไรผมไม่แน่ใจ อยากให้ผู้รู้มาช่วยชี้แจง

    แต่ที่กำลังสงสัยคือ ว่า 1 ธรรมขันธ์ ใช่ 1 หัวข้อหรือเปล่า
    ตรงในพระไตรปิฎกสังเกตุเห้นว่าจะมี [ตัวเลข]
    [1] เรื่องราว1
    [2] เรื่องราว2
    [3] เรื่องราว3

    ตรงนี้ใช่นับพระ1พระธรรมขันหรือเปล่า ?
     
  5. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    สรุปว่าพระสูตรจะมีในพระสุตันตปิฎกเท่านั้นเหรอคะ เอ...แล้วเรื่องเวรัชพราห์มในพระวินัยปิฎก ไม่เห็นเกี่ยวกับพระวินัยเลย ดคล้ายพระสูตรมากกว่านะคะ ทำไมไปอยู่ในนั้น

    ส่วนเรื่องพระธรรมขันธ์สงสัยเหมือนกันคะว่านับยังไง มีตั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ จะเกี่ยวกับตัวเลขในวงเล็บ [...] หน้าหัวข้อหรือป่าว
     
  6. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012

    ผมเห็นด้วยกับตรงนี้
    และยังสงสัยว่า นับหรือดูยังไงว่าอันไหนเป็นพระสูตร
    ในพระวินัยก็เป้นเรื่องราว
     
  7. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    ปุจฉา-วิสัชนา เรื่องการนับพระธรรมขันธ์ จากเว็บลานธรรม

    พระมหาอมร ถาม:
    ผมมีความข้องใจอยู่อย่างหนึ่ง ที่พระไตรปิฎกนั้นมี 84000 พระธรรมขันฑ์นั้น เป็นพุทธพจน์หรือไม่ หรือว่าเป็นคำพูดของพระอานนท์เถระ ที่ตอบกับพราหมณ์คนที่เข้ามาถามว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้นถ้านับรวมกันแล้วจัดเป็นขันฑ์ ได้กี่ขั้น พระอานนท์ตอบว่า เอวมฺเม สุตํ ก็จะแปละได้ว่า ทเที่ข้พเจ้าจำได้หรือเท่าที่ข้าพเจ้าฟังมา มี 84000 ก็แสดงว่าพระไตรปิฎกอาจมีมากกว่า 84000 ก็ได้ หรือน้อยกว่าก็ได้ หรือว่ามีพอดีก็ได้ใช่หรือไม่ เพราะท่านพระอานนท์เข้ามาเป็นอุปัฏฐากเมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาได้ 20 พรรษาแล้ว ?
    อีกอย่าง เกณฑ์การนับแต่ละขัณฑ์นั้น ทำไมมันยุ่งยากเหลือเกิน ไม่มีใครสามารถอธิบายได้อย่างละเลยหรือ ถ้ามีคนถามจะไปตอบเขาอย่างไรล่ะ งง เช่น ปาราชิกข้อแรก ก็มีตั้งหลายขันธ์แล้ว ส่วนนิคสัคคียปาจิตตีย์ บางขันฑ์ต้องรวมกันถึง 4 สิกขาบทถึงจะนับได้ 1 พระธรรมขันธ์ ในกรณีที่ถูกถามจะไปตอบชาวบ้านเขายังไง เพราะพระเองก็ยังโง่กันอยู่เลยเนี่ย วานผู้รู้ช่วยวิสัชชนาให้หายสงสัยที่เถอ อนุโมทนา

    พระมหากรีฑา วชิรญาโณ ตอบ:

    ตอบพระมหาอมร
    พระพุทธพจน์ มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งธรรมขันธ์ เป็นอย่างไร ?
    วิสัชนาว่า ก็พระพุทธพจน์นั้นทั้งปวงนั่นเอง แตกต่างเป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์อันพระอานนทเถระแสดงไว้แล้วอย่างนี้ว่า
    ทฺวาสีติ พุทฺธโต คณฺหึ เทฺว สหสฺสานิ ภิกฺขุโต
    จตุราสีติ สหสฺสานิ เย เม ธมฺมา ปวตฺติโน
    ธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในหทัยของข้าพเจ้ามี ๘๔,๐๐๐ คือ ข้าพเจ้ารับจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ รับจากพระภิกษุ ๒,๐๐๐.
    บรรดาพระธรรมเหล่านั้น พระสูตรอันมีอนุสนธิหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. พระสูตรใด มีอนุสนธิเป็นอเนก บัณฑิตพึงทราบว่า การนับธรรมขันธ์ ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งอนุสนธิของพระสูตรนั้น. ในคาถาพันธ์ การถามปัญหา บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. การวิสัชนา บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. ในพระอภิธรรม การจำแนกติกะและทุกะหนึ่ง ๆ และการจำแนกวาระจิตหนึ่ง ๆ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง. ในพระวินัย มีวัตถุ มีมาติกา มีปทภาชนีย์ มีอันตราปัตติ มีอาปัตติ มีอนาปัตติ มีติกัจเฉทะ บรรดาวัตถุเป็นต้นนั้น ส่วนหนึ่ง ๆ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นธรรมขันธ์หนึ่ง.
    พระพุทธพจน์ มี ๘๔,๐๐๐ อย่าง ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งธรรมขันธ์ อย่างนี้.

    คำในอภินวฎีกา
    พระอรรถกถาจารย์ ครั้นจำแนกพระพุทธวจนะ แม้ทั้งสิ้น ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งองค์ อย่างนี้ ในกาลบัดนี้ ประสงค์จะจำแนกด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งธรรมขันธ์ จึงกล่าวคำมีคำว่า กถํ เป็นต้น. บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า ธมฺมกฺขนฺธวเสน หมายความว่า ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งกองของธรรม. คาถานี้ว่า ทฺวาสีติ เป็นต้น มีอรรถอันพระอาจารย์กล่าวแล้วนั่นเอง. คำว่า เอวํ ปริทีปิตธมฺมกฺขนธวเสน หมายความว่า ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งธรรมขันธ์ อันท่านพระอานนทเถระ ผู้อันพราหมณ์ชื่อว่า โคปกโมคคัลลานะ ถามแล้ว แสดงแล้วโดยรอบ ในโคปกโมคคัลลานสูตร หรือในเถรคาถา เพื่อประกาศคุณ ของตน ด้วยคำนี้ พระอรรถกถาจารย์ ย่อมแสดงว่า ธรรมขันธ์ทั้งหลาย แม้อันพระอานนทเถระนั้นไม่ได้แสดงไว้ อย่างนี้ มีอยู่ เพราะฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลาย พึงทราบความที่พระธรรมขันธ์ทั้งหลายเป็นสภาวะมากกว่า แม้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งกถาวัตถุปกรณ์และมาธุริยสูตร เป็นต้น และ แห่งคาถาทั้งหลาย บางคาถา ในวิมานวัตถุเป็นต้นทั้งหลาย.
    ถามว่า ก็ ในอธิการนี้ สุภสูตร และโคปกโมคคัลลานสูตร เป็นพระสูตรหยั่งลงในภายใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือ ไม่เป็นเล่า เพราะความที่สุภสูตร และโคปกโมคคัลลานสูตรนั้นเป็นพระสูตรอันพระอานนทเถระกล่าวแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว วิสัชนาว่า พระอาจารย์กล่าวอธิบายนี้ไว้แล้ว ในปฏิสัมภิทาคัณฐีบท ก่อนว่า บัณฑิตทั้งหลาย พึงเห็นว่า พระอานนทเถระ กล่าวแล้วอย่างนี้ สงเคราะห์แม้ธรรมขันธ์ทั้งหลาย อันท่านกล่าวแล้วแม้เอง ลงในธรรมขันธ์ทั้งหลาย อันท่านถือเอาแล้วจากพระภิกษุนั่นเอง. แต่ว่า การกล่าว แม้อย่างนี้ว่า ก็ พระสูตร ๒ พระสูตรนั้น แม้พระอานนทเถระกล่าวแล้วเอง พระอานนทเถระกล่าวสงเคราะห์ลง ในพระธรรมขันธ์อันท่านรับแล้วนั่นเอง จากพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมปรากฏ เหมือนสมควรแล้วกว่า เพราะความที่พระสูตร ๒ พระสูตรนั้นเป็นพระสูตรอันพระอานนทเถระ ตั้งอยู่แล้ว ในนัยอันพระผู้มีพระภาคเจ้าประทานแล้ว กล่าวแล้ว. ด้วยว่า พระสาวกทั้งหลาย ตั้งอยู่แล้ว ในนัยอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานแล้ว ย่อมแสดงธรรม ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง แม้สาวกภาษิต มีกถาวัตถุเป็นต้น ชื่อว่า พุทธภาษิต และเพราะเหตุนั้นนั่นเอง ท่านพระอานนทเถระ เมื่อยกสุภสูตรเป็นต้น แม้อันตนกล่าวแล้ว สู่การสังคายนา จึงกล่าวแล้วว่า เอวํ เม สุตํ.
    พระสูตร อันมีอนุสนธิเดียว มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ด้วยว่า สติปัฏฐานสูตร ท่านย่อมเรียกว่า เอกานุสนฺธิกํ เพราะความที่สติปัฏฐานสูตรเป็นพระสูตรเป็นไปแล้วด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งการปรารภสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ โดยนัยมีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เป็นต้นแล้วแสดงการจำแนกสติปัฏฐานทั้งหลาย ๔ เหล่านั้นนั่นเอง. พระสูตรมีอนุสนธิเป็นเอนก มีปรินิพพานสูตร เป็นต้น. ด้วยว่า ปรินิพพานสูตร พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า อเนกานุสนฺธิกํ เพราะความที่ปรินิพานสูตรเป็นพระสูตรเป็นไปแล้ว ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งพระธรรมเทศนาต่าง ๆ ทั้งหลาย ในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งหลาย. ในคาถาพันธ์ทั้งหลาย การถามปัญหาโดยนัยมีว่า
    กติ ฉินฺเท กติ ชเห กติ จุตฺตริ ภาวเย
    กติ สงฺคาติโค ภิกฺขุ โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ
    (ภิกษุ เมื่อตัด พึงตัดเท่าไร เมื่อละ พึงละเท่าไร เมื่อเจริญ พึงเจริญให้ยิ่งเท่าไร ผู้ก้าวล่วงเครื่องข้องเท่าไร ท่านเรียกว่า ข้ามโอฆะแล้ว) เป็นต้น เป็นธรรมขันธ์ ๑. และการวิสัชนา โดยนัยมีว่า
    ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห ปญฺจ จุตฺตริ ภาวเย
    ปญฺจ สงฺคาติโค ภิกฺขุ โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ
    (ภิกษุ เมื่อตัด พึงตัด ๕ เมื่อละ พึงละ ๕ เมื่อเจริญ พึงเจริญให้ยิ่ง ๕ ผู้ก้าวล่วงเครื่องข้อง ๕ ท่านรียกว่า ข้ามโอฆะแล้ว) เป็นต้น เป็นธรรมขันธ์ ๑.
    การจำแนกติกะและทุกะ อันบัณฑิตทั้งหลายพึงถือเอา ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งนิกเขปกัณฑ์และอรรถกถากัณฑ์ ในพระธัมมสังคณี. เพราะฉะนั้น พระดำรัสใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ในนิกเขปกัณฑ์ ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งการจำแนกบทมาติกาของกุสลติกะว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ? ตีณิ กุสลมูลานิ ฯ เป ฯ อิเม ธมฺมา กุสลา. กตเม ธมฺมา อกุสลา ? ตีณิ อกุสลมูลานิ ฯ เป ฯ อิเม ธมฺมา อกุสลา. กตเม ธมฺมา อพฺยากตา ? กุสลากุสลานํ ธมฺมานํ วิปากา ฯ เป ฯ อิเม ธมฺมา อพฺยากตา (สภาวะธรรมทั้งหลาย เป็นกุศล เป็นไฉน กุศลมูลทั้งหลาย ๓ ฯ ล ฯ สภาวะธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นกุศล. สภาวะธรรมทั้งหลาย เป็นอกุศล เป็นไฉน อกุศลมูลทั้งหลาย ๓ ฯ ล ฯ สภาวะธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นอกุศล. สภาวะธรรมทั้งหลาย เป็นอัพยากต เป็นไฉน วิบากทั้งหลาย ของสภาวะธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล ฯ ล ฯ สภาวะธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นอัพยากต) นี้ เป็นธรรมขันธ์ ๑. นัยนี้ แม้ในการจำแนกบทติกะและทุกะที่เหลือทั้งหลาย. พระดำรัสแม้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ในอรรถกถากัณฑ์ว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ? จตูสุ ภูมีสุ กุสลํ. อิเม ธมฺมา กุสลา. กตเม ธมฺมา อกุสลา ? ทฺวาทส อกุสลจิตฺตุปฺปาทา. อิเม ธมฺมา อกุสลา. กตเม ธมฺมา อพฺยากตา ? จตูสุ ภูมีสุ วิปาโก ตีสุ ภูมีสุ กิริยาพฺยากตํ รูปญฺจ นิพฺพานญฺจ. อิเม ธมฺมา อพฺยากตา (สภาวะธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศล เป็นไฉน กุศล ในภูมิทั้งหลาย ๔. สภาวะธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นกุศล. สภาวะธรรมทั้งหลาย อันเป็นอกุศล เป็นไฉน อกุศลจิตตุปบาท ๑๒. สภาวะธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นอกุศล. สภาวะธรรมทั้งหลาย อันเป็นอัพยากต เป็นไฉน วิบาก ในภูมิทั้งหลาย ๔ กิริยาอัพยากต ในภูมิทั้งหลาย ๓ รูป และนิพพาน. สภาวะธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ เป็นอัพยากต) นี้ เป็นธรรมขันธ์ ๑ อันเป็นไปแล้ว ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งการจำแนกกุสลติกมาติกาบท. นัยนี้ แม้ในมาติกาบททั้งหลายที่เหลือ. ส่วนว่า การจำแนกวาระจิต อันบัณฑิตทั้งหลาย พึงถือเอา ด้วยความเกี่ยวเนื่องแห่งจิตตุปปาทกัณฑ์. ด้วยว่า พระดำรัสใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในจิตตุปปาทกัณฑ์นั้น เพื่อการจำแนกกุศลจิตว่า กตเม ธมฺมา กุสลา ? ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ โสมนสฺสสหคตํ าณสมฺปยุตฺตํ รูปารมฺมณํ ฯเปฯ ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ ฯเปฯ อวิกฺเขโป โหติ (สภาวะธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศล เป็นไฉน ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิต อันเป็นไปพร้อมด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ ปรารภรูปารมณ์ ฯ ล ฯ เกิดขึ้นแล้ว ในสมัยนั้น ผัสสะ ย่อมมี ฯ ล ฯ อวิกเขปะ ย่อมมี)นี้ เป็นธรรมขันธ์ ๑. ในการจำแนกจิตตวาระที่เหลือทั้งหลาย อย่างนี้. ก็ สองบทว่า เอโก ธมฺมกฺขนฺโธ หมายความว่า ธรรมขันธ์ หนึ่ง ๆ. ด้วยว่า เพราะกล่าวว่า เอกเมกํ ติกทุกภาชนํ (การจำแนกติกะและทุกะ หนึ่ง ๆ) และว่า เอกเมกํ จิตฺตวารภาชนํ (การจำแนกจิตตวาระ หนึ่ง ๆ) พระอรรถกถาจารย์ แม้ไม่กล่าวแล้วว่า เอเกโก อรรถนี้ ก็เป็นอรรถปรากฏอยู่นั่นเอง โดยความสามารถ.
    สุทินนกัณฑ์เป็นต้น ชื่อว่า วตฺถุ. อุทเทสสิกขาบท อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว ในเพราะอัชฌาจารนั้น ๆ โดยนัยมีว่า โย ปน ภิกฺขุ ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน (ก็ ภิกษุใด ถึงพร้อมแล้วสิกขาและสาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย) เป็นต้น ชื่อว่า มาติกา. การแยกบทอันเป็นไปแล้วโดยนัยมีว่า โย ปนาติ โย ยาทิโส (สองบทว่า โย ปน หมายความว่า ภิกษุ ผู้เช่นใด) เป็นต้นของสิกขาบทนั้น ๆ ชื่อว่า ปทภาชนียํ. อาบัติ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วในระหว่างสิกขาบททั้งหลาย โดยนัยมีอย่างนี้ว่า ปฏิลาตํ อุกฺขิปติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส (ภิกษุยกฟืนที่ติดไว้ในที่เดิม ต้องอาบัติทุกกฎ) เป็นต้น ชื่อว่า อนฺตราปตฺติ. วาระแห่งอาบัติ อันพ้นจากการกำหนดติกะ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ตามสมควรแก่สิกขาบทนั้น ๆ ชื่อว่า อาปตฺติ. วาระแห่งอนาปัตติ อันเป็นไปแล้ว โดยนัยมีว่า อนาปตฺติ อชานนฺตสฺส อสาทิยนฺตสฺส ขิตฺตจิตฺตสฺส เวทนาวฏฺฏสฺส อาทิกมฺมิกสฺส (ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ผู้ไม่ยินดี ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ผู้เวทนาครอบงำ ผู้เป็นอาทิกัมมิกะ) เป็นต้น ชื่อว่า อนาปตฺติ. การกำหนดตัดตอนติกะ ต่างโดยมี ติกะปาจิตตีย์ ติกะทุกกฏ เป็นต้น อันเป็นไปแล้ว โดยนัยมีอย่างนี้ว่า จีวรล่วง ๑๐ วันไปแล้ว ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์ จีวรล่วง ๑๐ วันไป ภิกษุสงสัย ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์ จีวรล่วง ๑๐ วันแล้ว ภิกษุสำคัญว่า ยังไม่ล่วง ต้องนิสสัคคียปาจิตตีย์ เป็นต้น ชื่อว่า ติกจฺเฉโท. บทว่า ตตฺถ หมายความว่า ในวัตถุและมาติกาเป็นต้นทั้งหลายเหล่านั้น.

    คำตอบเพิ่มเติม
    ที่พระอาจารย์ได้แบ่งพระพุทธจน์เป็นต่าง ๆ มากมายนั้น เพื่อการทรงจำไม่ให้ตกหล่น ที่จริงมีการนับอักษร การนับคาถา การนับภาณวาระ ฉะนั้น การจัดพระพุทธพจน์เป็นอย่างต่าง ๆ ไว้ เพื่อความทรงอยู่ไม่เลือนหายไป แต่เราเองในภายหลังไม่ได้ศึกษาตามแนวโบราณมา คือเราศึกษาตามแนวใหม่ ถ้าประสงค์จะรักษาพระพุทธพจน์ ก็จงศึกษาตามแบบโบราณที่ครูบาอาจารย์รักษากันมา ยังตอบไม่หมด พอดีถึงเวลาบิณฑบาตแล้ว ขอเวลาไปบิณฑบาตก่อน
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  8. Toutou

    Toutou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    1,455
    ค่าพลัง:
    +8,107
    ตอบพระมหาอมรเพิ่มเติม
    สำหรับการแบ่งพระพุทธพจน์เป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และการแบ่งพระพุทธพจน์เป็นอย่างต่าง ๆ เอาความรู้สึกของผมในการศึกษา ผมมองว่าเป็นความอัศจรรย์เหลือเกิน ที่ครูบาอาจารย์ในอดีตศึกษากันมา รักษากันมา ฉะนั้น การรักษาพระพุทธพจน์ จึงมิใช่กิจอันบุคคลกระทำได้ง่ายเลย ผมยิ่งเห็นความสำคัญ ถ้าใครถามผมก็บอกว่า ยังศึกษามาน้อย ยังเรียนมาน้อย พอจะบอกได้เท่าที่เรียนมาเท่าที่ศึกษามา การมองพระพุทธพจน์ ผมมองเป็นความอัศจรรย์ ซึ่งเราเพียงแต่ศึกษาก็เป็นกุศลหนักหนาแล้ว ถ้ามองถูก เราจะศึกษาพระธรรมอย่างปลาบปลื้มใจ อัศจรรย์ใจกับสิ่งที่เราได้ศึกษา ถ้าให้เกิดความสงสัย ให้เกิดความเคลือบแคลง เราก็ศึกษาพระธรรมไม่ได้ ซึ่งไม่ดีเลย ผมขอตอบแต่เพียงเท่านี้นะครับ เพราะผมชอบกล่าวตรง ๆ ถ้ากล่าวมากไปเดี๋ยวจะหนักไปครับ ส่วนคำตอบให้อ่านเอาในคำตอบข้อที่ผ่านมา ผมอ้างเอาข้อความในอรรถกถาและอภินวฎีกามาเขียนไว้
    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...