"พระธาตุภูเพ็ก"สุริยปฏิทินแห่งสยามประเทศ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คนมีกิเลส, 21 มีนาคม 2008.

  1. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top></TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ๒๑มีนาคมของทุกปี ถือเป็นช่วงเวลาที่กลางวันเท่ากับกลางคืน๑ ส่วน วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด คือ วันที่ ๒๑ ธันวาคม หรือเรียกว่า วันเหมายันโดยเฉลี่ยแล้วในประเทศไทย วันดังกล่าวกลางคืนจะนานประมาณ ๑๓-๑๔ ชั่วโมง
    (ประเทศไทยตั้งอยู่บนเส้นรุ้งประมาณ ๘-๒๐ องค์ศาเหนือ) ในขณะที่วันที่กลางคืนแสนสั้นที่สุด คือ วันที่ ๒๑ มิถุนายน หรือเรียกว่า วันครีษมายันโดยเฉลี่ยแล้วในประเทศไทยวันดังกล่าวกลางคืนจะนานประมาณ๑๐-๑๑ ชั่วโมงเท่านั้น

    จากปรากฏการณ์ดังกล่าวของดวงอาทิตย์ มนุษย์ในยุคโบราณจึงสร้างโบรณสถานโดยใช้ข้อมูลดาราศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดและยึดเอาสิ่งก่อสร้างนั้นเป็น "สุริยปฏิทิน" ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของ ปฏิทินสากลที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ในต่างประเทศมีโบราณสถานที่ถือว่าเป็นสุริยปฏิทิน อันเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทมาชูปิกชู ประเทศเปรู ตัวสฟิงซ์ ประเทศอียิปต์ สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ ถ้ำนิวเกรน ประเทศไอซ์แลนด์ พีระมิด เอล คาสติโล ประเทศเม็กซิโก รวมทั้งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงโรม ประเทศอิตาลี
    อย่างไรก็ตามในวันที่ ๒๑ มีนาคม หากมีการถ่ายทอดสด ตำแหน่งของพระอาทิตย์จากโบราณสถานที่กล่าวมาข้างต้น ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับจุดกึ่งกลางของโบราณสถานทั้งหมด เช่น สฟิงซ์ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงบริเวณปลายจมูก มหาวิหารเซ็นต์ปีเตอร์ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับประตูด้านทิศตะวันออกของวิหาร ส่วนที่ปราสาทมาชูปิกชู ดวงอาทิตย์จะขึ้นหน้าช่องกลาง (มี ๓ ช่อง) ในขณะที่ปราสาทนครวัด ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับยอดพระปรางค์องค์กลางพอดี

    สำหรับโบราณสถานของประเทศไทยที่ถือว่าเป็น สุริยปฏิทินคือพระธาตุภูเพ็กซึ่งประดิษฐานณ วัดพระธาตุภูเพ็กต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร และมีบันไดก่อปูนขึ้นบนยอดเขาประมาณ๔๙๙ ชั้น <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    พระธาตุภูเพ็กเป็นโบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทขอมสร้างด้วยหินทรายตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ ๑ สูง๑.๕๘ เมตรชั้นที่ ๒ สูงประมาณ๐.๗๐ เมตรตัวปราสาทสูง ๗.๖๗ เมตรซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น
    พระธาตุภูเพ็กสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่๑๖ ในวันที่๒๑ ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางของประตูห้องวิมาน และเรืองแสงสีแดงอย่างสวยงาม เหนือแท่งศิวลึงค์ที่ตั้งอยู่หน้าประตู

    นายสรรค์สนธิบุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และผู้เขียนหนังสือสุริยปฏิทินพันปี บอกว่าปราสาทภูเพ็กไม่ได้เป็นเพียงแค่ศาสนสถานแบบธรรมดาดังตำนานดาวเพ็ก ตามที่เราๆ ท่านๆ เคยได้ยินมา แต่ที่นี่มีอุปกรณ์ดารา แห่งศาสตร์ไฮเทค เรียกว่า สุริยปฏิทินสามารถบ่งชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญได้อย่างแม่นยำ ไม่แพ้คอมพิวเตอร์ <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    แต่สิ่งที่มหัศจรรย์ไปกว่านั้นคือ สถานที่ตั้งปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา และปราสาทนครทม เสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยมสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราสาทภูเพ็ก กับปราสาทนครทม อยู่เส้นตรงเดียวกันในแนวเหนือใต้ เป็นความบังเอิญ หรือผู้สร้างจงใจเช่นนั้นก็ไม่ทราบ
    ปราสาทภูเพ็ก เป็นวัตถุพยาน ที่สะท้อนภาพในแง่มุมของศาสนา ดาราศาสตร์ และข้อขัดแย้งทางการเมืองอย่างชัดเจน

    เริ่มต้นจากการเลือกสถานที่ก่อสร้างปุโรหิตผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องมองหาภูเขาที่สูงที่สุด และมีรูปร่างเหมือน เขาพระสุเมร ต้องมีการปรับแต่งพื้นดินบนยอดเขาให้ราบเรียบ เพื่อให้ตัวปราสาทตั้งอยู่ริมหน้าผา ด้านทิศตะวันออก และทำมุมกวาด ๙๐ องศา จากทิศเหนือ ตามความเชื่อวันศักดิ์สิทธิ์ของปฏิทินมหาศักราช (Saka calendar) ที่กำหนดให้ตรงกับวสันตวิษุวัต (Vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศ ตะวันออกแท้ (Due east) แสงอาทิตย์ยามเช้าตรู่จะส่องตรงเข้าไปยังประตูห้องวิมานเพื่อเป็นพลังในการประกอบพิธีของเจ้านายชั้นสูง <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    จากการสำรวจอย่างละเอียดพบว่าหินทรายที่ใช้ก่อสร้างถูกนำมาจากหน้าผาด้านทิศตะวันตก อยู่ห่างออกไปประมาณ ๔๐๐ เมตร ปัจจุบันยังมีร่องรอยของการตัดหินทุกขั้นตอน เริ่มจากการทำเครื่องหมายตีเส้น กำหนดรูปร่างบนแท่งหิน การเซาะร่องได้เพียงบางส่วน
    หินที่ตัดเรียบเสร็จแล้วถูกทิ้งอยู่เรี่ยราดตามรายทาง แสดงให้เห็นว่า การทิ้งงานแบบกะทันหัน ขณะเดียวกันก็มีรอยขีดที่พื้นประตูด้านทิศตะวันออก และผนังด้านทิศตะวันตก บ่งชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันวิษุวัต ซึ่งตามปฏิทินสากลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๒๑ มีนาคม (วสันตวิษุวัต : Vernal equinox) และ ๒๓ กันยายน (ศารทวิษุวัต : Autumnal equinox) รวมทั้งรอยขีดที่ประตูด้านทิศเหนือทิศใต้ และทิศตะวันตก บ่งชี้ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า ทิศภูมิศาสตร์ทั้งสี่ (The four cardinals) "ถ้าท่านได้มีโอกาสไปที่ปราสาทภูเพ็ก ตรงกับวัน วสันตวิษุวัต ๒๑ มีนาคมและ ศารทวิษุวัต ๒๓กันยายน จะเห็นด้วยตาตนเองว่า ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางประตูห้องวิมาน และเรืองแสงสีแดงอย่างสวยงาม เหนือแท่งศิวลึงค์ ที่ตั้งอยู่หน้าประตู ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เช่นเดียวกันนี้ ก็มีที่ปราสาทนครวัด ที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา และอีกหลายปราสาท เช่น ปราสาทพนมบาเค็ง และปราสาทบายน" นายสรรค์สนธิกล่าว <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ขออนุโมทนาสาระประโยชน์จาก http://www.komchadluek.net/2008/03/21/x_phra_j001_194840.php?news_id=194840

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...