พระธาตุหลวง แห่งเมืองเวียงจันทร์

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย อำนวยกรณ์, 5 มกราคม 2011.

  1. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    พระธาตุหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประตูชัย พระธาตุหลวงแห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว เป็นสัญญาลักษณ์ประจำชาติและยังแทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศลาวอีกด้วย พระธาตุนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 พระธาตุองค์นี้มีรูปทรงที่ไม่เหมือนกับองค์อื่นๆ เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมของอาณาจักร
    • ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุองค์นี้ได้สร้างในสมัยพุทธศักราชที่ 236 โดยมีพระภิกษุลาวจำนวน 5 รูปเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย และได้อันเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามายังนครเวียงจันทน์ด้วย ต่อมาด้ำกราบทูลพระยาจันทบุรีประสิทธิ์ศักดิ์ เจ้านครเวียงจันทน์ในสมัยนั้น ให้สร้างพระธาตุหลวงขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเพื่อให้ชาวลาวได้กราบไหว้ กล่าวไว้ว่า พระธาตุองค์เดิมนั้นสร้างด้วยหินเป็นทรงโอคว่ำ มีการก่อกำแพงล้อมรอบเอาไว้ทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีความกว้าง 10 เมตร หนา 4 เมตร และสูง 9 เมตร เชื่อกันว่าพระธาตุที่เห็นในปัจจุบันสร้างครอบองค์เดิม ซึ่งต่อมาสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านช้างจากหลวงพระบางมาอยู่ที่เวียงจันทน์ ตามดำริของพระราชบิดา คือพระเจ้าโพธิสาร จากนั้นทรงมีพระบัญชา ให้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ณ บริเวณที่เคยเป็นเทวสถานเก่าของขอมโดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2109 และหลังจากสร้างพระธาตุหลวงได้โปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นล้อมรอบพระธาตุไว้ทั้งสี่ทิศด้วย แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงสองแห่งด้วยกันคือ วัดพระธาตุหลวงเหนือและวัดพระธาตุหลวงใต้
    • ในปัจจุบัน พระธาตุหลวงมีลักษณะคล้ายป้อมปราการ เพราะมีการสร้างระเบียงสูงใหญ่ขึ้นโอบล้อมรอบองค์พระธาตุไว้ พร้อมกับทำช่องหน้าต่างเล็กๆเอาไว้โดยตลอด สำหรับประตูทางเข้านั้นเป็นประตูไม้บานใหญ่ ลงรักสีแดงไว้ทั้งหมด นอกจากนี้รอบๆองค์พระธาตุใหญ่ยังมีเจดีย์บริวารล้อมรอบอยู่โดยรอบอีหลายองค์ เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ก็จะเห็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาแห่งนี้ปรากฏอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแกะสลักพญานาค พระพุทธรูปปิดทองลายกลีบบัวประดับอยู่บนฐานปักษ์ และถัดจากประตูทางเข้าใหญ่ประมาณ 100 เมตรจะแลเห็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ตั้งอยู่บนฐานสูง พระหัตถ์ทรงถือพระแสงดาบวางพาดไว้บนพระเพลา เล่ากันว่า พระแสงดาบเล่มนี้ทำหน้าที่ปกป้องพระธาตุหลวงซึ่งได้ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวลาวทุกคน
    [​IMG]
    ตำนาน
    พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่ง แห่งนครหลวง
    เวียงจันทน์ มีประวัติกล่าวไว้ ในหนังสือนิทานอุรังคธาตุได้สร้างขึ้นในสมัยเดียวกันกับการตั้ง เมืองเวียงจันทน์ครั้งแรก หลักจากการสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างครั้งแรก คือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์เจ้าครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ ดังมีข้อความกล่าวไว้ในหนังสืออุรังคนิทาน ซึ่งขอคัดเอาแต่ใจความสำคัญมากล่าวให้ฟังดังนี้
    “เมื่อพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้วได้ 8 ปีกว่า พระมหากัสปะ เถระ ได้นำเอาอุรังคธาตุคือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า มาประดิษฐานไว้ที่ ภูกำพร้า
    ซึ่งเรียกว่า “ดอยกะปะนะคีรี(พระธาตุพนมในปัจจุบัน) ในการก่อสร้างพระธาตุครั้งแรกที่ภูกำพร้านั้นได้มีพระกษัตริย์ 5 นครมาร่วมชุมนุมกันคือ
    1. พระยาสุวรรณพิงคาน เจ้าเมืองหนองหานหลวง
    2. พระคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย
    3. พระยานันทะเสน เจ้าเมืองมะรุกขนคร (คือท่าแขก)
    4. พระยาอินทะปัตถะนคร เจ้าเมืองอินทปัตยะ ประเทศเขมร
    5. พระยาจุลณีพรมหัสดี เจ้าเมืองแก้วประกัน (แขวงเชียงขวาง)
    ต่อมาพระยาสุวรรณพิงคาน เมืองหนองหานหลวง และพระยาคำแดง เมืองหนองหาน้อย ได้สวรรคต เลย เกิดน้ำท่วมเมืองทั้งสอง ชาวเมือง
    ทั้งสองจึงอพยพหนีขึ้นมา
    ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง โดยมีท้าวคำบาง ซึ่งเป็นน้าของ พระสวรรณพิงคาน เมืองหนองหานหลวง ได้นำบ่าวไพร่และบริวารขึ้นมาตั้ง
    เมืองใหม่อยู่ริมห้วยเก้าเลี้ยว ใกล้กับแม่น้ำโขง ใส่ชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองสุวรรณภูมิ ส่วนบ่าวไพร่บริวาร ก็แยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือน
    ในบริเวณรอบ ๆ นั้น
    ในเวลานั้น มีชายคนหนึ่งชื่อ บุรีจัน" ได้พาญาติพี่น้องมาตั้งบ้านอยู่ริมร่องแก ปากหนองคันแทเสื้อน้ำ ซึ่งเรียกว่า
    “บ้านหนองคันแทเสื้อน้ำ” ในปางนั้นพระอรหันต์สององค์ เดินทางมาเผยแผ่ที่บ้านหนองคันแท องค์ชื่อ พระมหาพุทธวงศ์
    พักอยู่ที่ริมแม่น้ำโขง และอีกองค์ขื่อ พระมหาสัสดี พักอยู่ป่าโพน เหนือน้ำบึง (อาจจะเป็นวัดพระธาตุฝุ่นในปัจจุบันนี้) บุรีจันทน์ หัวหน้าหมู่บ้านหนองคันแท ได้เป็นผู้อุปฐาก พระอรหันต์สององค์นี้
    ในสมัยเดียวกันนี้ ทางเมืองสาเกตุนคร (เมืองร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) เกิดความวุ่นวาย เนื่องด้วยมีข้าศึกจาก กุรุนนคร คือ ทวาราวดีอยุธยา ยกทัพมาตี ชาวเมืองสาเกตุนคร จึงแตกหนีขึ้นมาพึ่งบารมีท้าวคำบาง มีหมื่นหลวงกางโฮง กับ หมื่นนันทะอาฮามได้พาเอา เจ้าสังขวิชากุมาร กับครอบครัวบ่าวไพร่สองแสนคนหนีขึ้นมา ในเวลานั้น เจ้าสังขะวิชา
    ได้พาบ่าวไพร่แสนคนตั้งอยู่บ้าน หนองคาย และขยายมาตามริมแม่น้ำโขง ถึงห้วยบังพวน หมื่นหลวงกางโฮง พาครอบครัว 50,000 คน มาตั้งอยู่ห้วยคุคำ หมื่นนันทะอาฮาม พาครอบครัว 50,000 คน มาตั้งอยู่ริมห้วยนกยุง หรือห้วยน้ำโมง บริเวณนี้จึงมีคนอยู่หนาแน่นต่อมา
    ต่อมา บุรีจัน หัวหน้าบ้านหนองคันแท ได้แต่งงานกับนางอินทะสว่าง ธิดาของ ท้าวคำบาง เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ แล้ว บุรีจัน จึงตั้งบ้านหนองคันแทขึ้นเป็นเมืองเรียกว่า “ เมืองจันทบุรี” ตามนามของตน เมื่อจันทบุรี ตั้งเมืองขึ้นแล้ว จึง จัดแจงแต่งเครื่องราชบรรณาการ ไปถวาย พระเจ้าสุมิตตะธรรมวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินแห่งเมือง
    มะรุกขนคร(คือเมืองท่าแขก หรือ ศรีโคตรบูรณ์) องค์เป็นเจ้าแผ่นดินเอกราช พระเจ้าสุมิตตะธรรมวงศ์ จึงแต่งตั้งให้พราหมณ์ 5 คน ขึ้นมาอภิเษกบุรีจัน ให้เป็น เจ้านครจันทบุรี มีพระนามว่า “พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์” พร้อมกันนี้ ยังได้พระราชทานนางกัลยานี ที่เป็นเชื้อชาติแขกมาให้สองนาง แล้วพระเจ้าสุมิตตะธรรมวงศ์จึงกำหนดเขตแดนเมืองจันทบุรี ให้คือ “ทางใต้นับจากแม่น้ำกระดิ่งขึ้นมา และฟากแม่น้ำโขง นับแต่ห้วยบางบาดขึ้นมา”
    บุรีจัน เมื่อได้ครองนครเวียงจันทน์แล้ว จึงสร้างสะพานข้ามน้ำบึงไปหาบ้านเก่า และสร้างวัดขึ้นในบ้านเก่านั้น เรียกว่า “วัดสวนอ่วยล่วย” แห่งหนึ่ง สร้างวิหารขึ้นอีก 4 หลัง ที่ป่าใต้ และป่าเหนือ สำหรับให้พระอรหันต์ 4 องค์นั้นอยู่
    ต่อมาพระมหาพุทธวงศ์จึงไปนำเอาพระธาตุพระอรหันต์ มาบรรจุไว้ในวัดป่ามหาพุทธวงศ์ ได้ถมดินลงลึก 5 วา กว้าง 3 วา ก่อด้วยอิฐแดง เป็นรูป ปราสาท เอาแผ่นเงินเรียงปูรองไว้ จึงเอาธาตุลงบรรจุ แล้วเอาหินถมให้แน่น และ ฝั่งหลักศิลาหมายไว้ และหลักศิลานั้น สูง 3 วา กว้าง 1 วา
    ในกาลต่อมา จึงมีพระอรหันต์ 5 องค์ ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มาจากเมืองราชคฤชค์ ประเทศอินเดีย พระธาตุที่นำมานั้น คือ พระธาตุหัวเหน่า 27 องค์ พระธาตุแข้วฝาง(เขี้ยวฝาง) 7 องค์ พระธาตุฝ่าตีนขวา 9 องค์ เวลาพระอรหันต์ 5 องค์มานั้น ได้ผ่านมาทางเมืองละโว้ (ลพบุรี) และเมืองโคราช แล้วได้เอาพระบรมธาตุไป บรรจุไว้ในที่ต่าง ๆ ดังนี้
    พระธาตุหัวเหน่า บรรจุไว้ที่ภูเขาหลวง หรือภูเขาลวง(เข้าใจว่าเป็นพระธาตุหลวง) เพราะในศิลาจารึกพระธาตุหลวงเรียกว่า “คุยหะถูปาโย” แปลว่า“ ที่ลับคือกระดูกหัวเหน่า” แต่ในหนังสือตำนานพระธาตุบังพวน อยู่บ้านห้วยบังพวน จังหวัดหนองคาย ที่เขียนเป็นอักษรธรรม “เรียกว่าภูเขาลวง คำว่า ลวง แปลว่านาค ดังนั้นภูเขาลวงอาจจะแปลว่า “โพนนาค” หรือโพนชื่อนาค ก็ได้
    พระธาตุฝ่าตีนขวา บรรจุไว้ที่เมืองหล้า หนองคาย (พระธาตุกลางน้ำ)
    พระธาตุแข้วฝาง บรรจุไว้ที่ เวียงงัว และท่าหอแพ (บ้านปะโค เวียงคุก)
    ในการบรรจุพระธาตุหัวเหน่า 27 องค์ ไว้ที่ภูเขาลวงนั้น พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้านครเวียงจันทน์ ได้เป็นประธานระองค์ได้ให้ก่อ อุโมงค์หินครอบไว้เต้าฝาอุโมงค ์ทั้งสี่ด้าน กว้างด้านละ 5 วา หนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหาร ขึ้นในเวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ 5 องค์นั้น
    ครั้นต่อมาพระอรหันต์ 2 องค์ที่อยู่ก่อนนั้น คือพระมหาพุทธวงศ์ ที่อยู่วัดป่ามหาพุทธวงศ์ และพระมหาสัสดี ก็ถึงแก่ปรินิพพาน พระเจ้าจันทบุรี ได้กระทำการฌาปณกิจศพแล้วได้นำเอาพระอัฐิธาตุของพระอรหันต์ 2 องค์ มาบรรจุไว้ ในวัดสวนอ่วยล่วย ที่พระองค์ได้สร้างไว้
    ตามประวัตินี้ พระธาตุหลวงองค์เดิม ที่พระยาจันทบุรีสร้างนี้ จึงสูงเพียงแค่ 4 วา 3 ศอก และกว้างด้านละ 4 วา เท่านั้น
    [​IMG]
    สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสร้างพระธาตุหลวง (พ.ศ.2109 )
    ประวัติศาสตร์การสร้างเวียงจันทน์ และพระธาตุหลวงเวียจันทน์ ตั้งแต่ดั้งเดิมนั้น คือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ (บุรีอ่วยล่วย) และได้สร้างขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 238 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ในสมัยต่อมา ชื่อเสียงของนครเวียงจันทน์ ก็ไม่ได้ปรารฎในหนังสือเรื่องใดอีก ทั้งความสำคัญของเวียงจันทน์และเหตุการณ์บ้านเมืองในเขตนี้ไม่มีเรื่องราวใดกล่าวถึงเวียงจันทน์ ถึงอยางไรก็ตาม เมืองเวียงจันทน์ก็ยังคง เป็นเมืองอยู่อย่างนั้น เพราะว่า ใน ปี พ.ศ. 1828 เมื่อพ่อขุนรามคำแหง ได้ครองกรุงสุโขทัย พระองค์ได้ทำศิลาจารึกบอกเขตแดนเมืองสุโขทัยไว้ว่า
    “ เขตแดนเมืองสุโขทัยนี้ ด้านตะวันออก ถึงเวียงจันทน์ เวียงคำ เป็นที่แล้ว” ตามจารึกนี้เป็นเวลาก่อนที่เจ้าฟ้างุ่มจะมาตี เวียงจันทน์ และเวียงคำ ถึง 72 ปี ฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า เวียงจันทน์ เวียงคำ นี้เป็นเมืองเก่าแก่มีชื่อมาแล้วแต่โบราณนับเป็นพัน ๆ ปี ดังมีรายชื่อเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ตาม ที่สืบรู้ในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ่มลงมา​

    1. ท้าวเชียงมุง เป็นเจ้านครเวียงจันทน์ พ.ศ. 1899
    2. พระเจ้าฟ้างุ่มตีเวียงจันทน์ได้ ได้ตั้งให้ บาคุ้ม เป็นหมื่นจัน และเป็นเจ้านครเวียงจันทน์แทน ท้าวเชียงมุง
    3. ท้าววังบุรี โอรสของพระยาสามแสนไท ได้รับตำแหน่งเป็น พระยาเมืองขวา ครองนครเวียงจันทน์ ในระหว่าง พ.ศ. 1960 ท่านผู้นี้ได้สร้าง วัดสีหอม ครอบ อัฐิพระนางมหาไก น้องสาว (ท้าววังบุรี ได้เป็นพระเจ้าไชยะจักรพรรดิ์แผ่นแผ้ว)
    4. เจ้าชายมุ่ย (โอรสของใคร ไม่ปรากฎ) เป็นเจ้าเวียงจันทน์ ระยะหนึ่งแต่ถูกพระเจ้าไชยะจักรพรรดิ์ กำจัดเสีย
    5. พระยาจันหงอก (หลานพระเจ้าไชยจักรพรรดิ์ ในระหว่าง พ.ศ.2022
    6. พระยาแสนสุรินทะลือไชย (ท่านผู้นี้เป็นคนเมืองหนองคาย ภายหลังมาได้เป็นเจ้าแผ่นดินเวียงจันทน์ สืบต่อจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช)
    7. พระยาสุริสัทธรรมไตรโลก ( พ.ศ. 2093) ท่านผู้นี้สร้างวัดจันทบุรี และวัด เพียวัด
    ผู้ที่ได้เป็นเจ้าครองนครเวียงจันทน์ ตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ่ม มาถึงสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มีทั้งหมด 7 คน
    ปี พ.ศ. 2103 สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ลงมาตั้งนครเวียงจันทน์ขึ้นเป็นนครหลวงของประเทศใส่ชื่อว่า
    “นครเวียงจันทบุรีศรีสัตตะนาคนหุตอุตมะราชธานี” แล้วถึงปี พ.ศ.2109 พระองค์จึงได้สร้างพระธาตุหลวงขึ้น ในพระราชอุทยาน ด้านตะวันออกของเมือง โดยสร้างครอบพระธาตุเก่าลูกหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ​
    [​IMG]
    การลงมือสร้าง พระองค์ได้มีพระราชโองการประกาศข่าวให้ประชาชนราษฎรลาวทั่วทั้งแผ่นดินสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงพากันมาสร้างสัญลักษณ์แห่งความหมายว่าพระธาตุ
    ใหญ่องค์นี้คือแรงงานและน้ำใจของชาวลาวร่วมกันเข้าเป็นหนึ่งเดียวและใหญ่โตมโหฬารกว่าพระธาตุใด ๆ ในแผ่นดิน หรือ ชมพูทวีป เริ่มในวันเพ็ญ เดือนอ้าย พระองค์ทั้งเป็น ผู้นำในการก่อสร้าง และนำทัพออกสงครามเพื่อปกป้องรักษาแผ่นดิน
    ในการสร้างพระะธาตุนี้ พระองค์ได้สร้างพระธาตุองค์เล็ก ๆ ล้อมรอบพระธาตุใหญ่ จำนวน 30 องค์ ซึ่งหมายถึงบารมี 30 ทัศ ของพระพุทธเจ้า พระองค์ได้หล่อทองคำบรรจุไว้ในพระธาตุองค์ละ 4 บาท และใช้ทำทองคำหล่อเป็นใบลานจารึก คำสอนของพระพุทธเจ้าไว้
    พอสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงขนานนามพระธาตุนี้ว่า “ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” แต่คนส่วนมาก มักเรียกว่า “พระธาตุลวง” เพื่ออนุรักษ์รักษาให้พระธาตุสภาพเป็นปกติอยู่เสมอพระองค์มีพระราลโองการให้ 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษา ซึ่งพระองค์อุทิศไร่น่าให้ทุกครอบครัว เพื่อทำมาหากิน
    การปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุหลวงในสมัยต่อมา
    พระมหากษัตริย์องเสวยราชสมบัติในนครเวียงจันทน์ ต่อจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ไม่ปรากฎพระองค์ได้
    [​IMG]
    รูปลักษณของพระธาตุหลวง
    เป็นพระธาตุใหญ่สูง 45 เมตร รูปลักษณะคล้ายดอกบัวตูม อันหมายถึงสัญลักษณ์คำสอนของพระพุทธเจ้า มีพระธาตุเล็กอยู่บนพระธาตุใหญ่ชั้นที่สอง รองทั้งสี่ด้าน มี 30 องค์เรียกวา “สัมมติงสบารมี”อยู่ในธาตุองค์เล็กทั้ง 30 องค์นี้ ผู้สร้างได้นำเอาทองคำมาหล่อเป็นรูปพระธาตุเล็ก ๆ 30 องค์ แต่ละองค์หนัก 4 บาท และเอาทองคำมาตีเป็นแผ่น รุปลักษณะเหมือนใบลาน เรียกว่า “ลานคำ” 30 แผ่น แต่ละแผ่นยาวศอกกำมือ (คือวัดศอก โดยกำมือไว้ ไม่วัดจากปลายมือ กำมือแล้วยื่นนิ้วก้อยออกมา วัดที่สุยปลายนิ้วก้อยเท่านั้น) แล้วเขียนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงในใบลานคำทุกใบว่า “เยธัมมา เหตุปปัพวา เตสัง เหตุง คถาคโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาทิ มหาสมโณ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเพราะเหตุเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสเช่นนี้”
    แล้วเอาทองคำและใบลานลงไว้ในพื้นธาตุเล็ก ทั้ง 30 องค์ การที่ได้สร้างพระธาตุขนาดเล็กนี้ขึ้นมา มีความหมายว่า “ผู้ที่จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องได้สร้างคุณงามความดีไว้ให้ถึง 30 ประการ มีทานบารมี เป็นต้น จนถึงอุเบกขา ปรมัตถบารมีเป็นปริโยสาน"
    รูปชั้นล่างสุดเป็นฐานพระธาตุ 4 เหลี่ยม ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาวด้านละ 69 เมตร ส่วนทางทิศเหนือและทางทิศใต้ยาวด้านและ 68 เมตร ด้านล่างมีใบเสมรอบ 4 ด้าน มีทั้งหมด 323 ใบ มีหอไหว้ทั้ง 4 ด้าน มีบันใดขึ้นหอไหว้ทุกหอ ที่หอไหว้ทิศตะวันออก ชั้นบนขึ้นไป มีธาตุเล็กองค์หนึ่งที่มีลวดลายสวยงาม และได้สร้างหอครอบไว้อีกชั้นหนอ หอที่สร้างครอบมีลวดลายวิจิตรสวยงามเช่นเดียวกัน ธาตุเล็กนี้เรียกว่า “ พระธาตุศรีธรรมทายโลก
    ด้านที่สอง ถัดจากหอไหว้ขึ้นไป แต่ละด้านยาว 48 เมตร มีกลีบดอกบัวล้อมรอบ ทั้งหมดมีจำนวน 120 กลีบ ภายในกลีบดอกบัวทำด้วยกระดูกงู (เส้นลวดเป็นขอบล้อมทั้ง 4 ด้าน) แล้วตั้งใบเสมาบนกระดูกงูนั้น ใบเสมาในชั้นนี้ จำนวน 228 ใบ ตรงกลางใบเสมาทุกใบเป็นโพลง(ไม่ทะลุ) สำหรับใส่พระพิมพ์ใบละองค์ บนชั้นนี้มีประตูโขงตรงกับทางขึ้นหอไหว้ทั้ง 4 ด้านพอเข้าไปที่ประตูโขงนั้นก็จะพบพระธาตุบารมีที่กล่าวแล้ว และธาตุบารมีก็มีชื่อเรียกทุกองค์ คือเริ่มแต่ทานบารมี ทานอุปบารมีในจนครบ ทั้ง 30 องค์
    ชั้นที่สาม สร้างขึ้นถัดจากพระธาตุองค์เล็ก 30 องค์นั้น ขึ้นไปบนชั้นนี้จะเห็นว่า มีความกว้าง ด้านละ 30 เมตร พื้นด้านที่สามนี้ มีรูปลักษณะเป็นหลังเต่า หรือโอคว่ำ (ขันตักน้ำคว่ำ) อยู่บนชั้นหลังเต่า เป็นฐานของยอดพระธาตุ มีรูปเป็นสี่เหลียมล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัวใหญ่ ซึ่งมีปลายกลีบเริ่มบานออก ถัดจากดอกบัวไปจึงมีรูปรัดเอว เหนือจากที่รัดเอวไปจะเป็นฐานจอมธาตุ ฐานนี้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเหวอ (บาน) ขึ้นด้านบนนิดหน่อย ต่อจากฐานนี้ คนโบราณเรียกว่า “ดวงปี” ดังมีอยู่ในคำกลอนว่า “เจดีย์ดิ้ว ดวงปีพ้นพุ่ง” อยู่บนดวงปี จึงเป็นสเวตฉัตรเป็นยอดพระธาตุที่สูงสุด”
    อยู่รอบฐานะพระธาตุ ก็ได้สร้างบริเวณล้อมรอบติดกันทั้ง 4 ด้าน มีประตูเข้าทั้ง 4 ด้าน ประตูอยู่ระหว่างกลาง บริเวณแต่ละด้านพอดี บริเวณยาวด้านละ 91 เมตร 75 เซนติเมตร
    นอกบริเวณทางทิศเหนือ และทางทิศใต้ มีวัดสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย เรียกว่า “วัดธาตุหลวงเหนือและวัดธาตุหลวงใต้”
    [​IMG]
    ประเพณีนมัสการพระธาตุหลวง
    ประเพณีบุญนมัสการพระธาตุหลวงนี้ ได้ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล โดยมีพระมหากษัตริย์องค์เป็นประมุขของชาติทรงเป็นประทาน จึงนับว่าบุญนมัสการพระธาตุหลวงนี้เป็นบุญของหลวง โดยแท้
    ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ตอนบ่ายประชาชนทุกภาคส่วน มารวมกันที่ วัดศรีสัตนาค เพื่อแห่ปราสาทผึ้ง และต้นกัลปพกฤษ์ ไปทอดถวายที่วัดศรีเมืองอนค่ำมีงานมหรสมโภชน์ตลอดทั้งคืน
    วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้า ทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัธสัจจาอยู่สิมวัดองตื้อ ผู้ที่เข้ารับน้ำสาบาน มีตั้งแต่ระดับหัวหน้าขึ้นไป ถึงคณะรัฐมนตรี
    ตอนบ่าย 2 โมง ประชาชนทุกภาคส่วนตั้งขบวนแห่ปราสาทผึ้ง และต้นกัลปพฤกษ์ ออกไปธาตุหลวง
    เวลาบ่าย 3 โมง ประมุขรัฐ และเจ้านาย ทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปสู่พระธาตุหลวง เพื่อเป็นเกียรติแห่ปราสาทผึ้งเดินรอบบริเวณพระธาตุหลวงร่วมกับประชาชนที่มาจากทั่วสารทิศ เมื่อเวียนครบ 3 รอบแล้วก็ทำพิธีถวาย ถึงเวลากลางคืนก็มีมหรสพคบงัน
    วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตในบริเวณพระธาตุ แล้วฟังพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ตอนกลางคืนฉลองเป็นวันสุดท้าย
    วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 เสร็จงานจากพระธาตุหลวงแล้ว ก็มีการแห่ปราสาทผึ้งมาถวายที่วัดองค์ตื้อ และวัดอินแปง อีกจึงจะถืองานนมัสการพระธาตุหลวงเสร็จสิ้นสมบูรณ์……​
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2011
  2. bnbk

    bnbk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,047
    ค่าพลัง:
    +15,613
    ครูติ๋งหาข้อมูลไปเที่ยว หรือไปเี่ที่ยวมาแล้วจ๊ะ
     
  3. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ไปเที่ยวมานานแล้วละค่ะ ได้เจอคนลาวอพยพเค้าเล่าตำนานในหนังสือลาวว่า
    เค้าตั้งให้ตระกูลของพญานาคที่มีคำว่า หลวง รักษาพระธาตุ เช่น หลวงอภัย
    และได้เล่าอีกหลาย ๆ เรื่องให้ฟัง เลยอยากเอามาลงนะค่ะ
     
  4. bnbk

    bnbk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,047
    ค่าพลัง:
    +15,613
    งั้นครูติ๋งก็เล่าเอาแบบที่เค้าเล่านะ ไม่เอาข้อมูลวิชาการน่ะ
    แต่ถ้าเปิดเผยสาธารณะไม่ได้ก็ อินไซด์ได้นะเจ้าคะ จะรอ
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    พี่ติ๋ง ไปเที่ยวไม่ชวนกันบ้าง......
     
  6. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    อ๋อ..เล่าได้ คือป้าแกเล่าให้ฟังว่าพ่อแกเป็นคนเวียงจันทร์ พ่อแกเล่าว่าที่ใต้พระธาตุนะเป็นโพลงพญานาค แต่ก่อนเก่าเค้าเคยลองใช้ลูกมะพร้าวหย่อนลงไป แล้วไปโผล่ที่น้ำของ แล้วเล่าต่อว่า โพลงตรงนี้นะคอยช่วยเหลือชาวเมืองมาตลอด จนผู้รุกรานวางแผนอุดรู เพื่อไม่ให้พญานาคออกมาช่วย แล้วก็ทำสำเร็จจริง ๆ จนได้ตกเป็นเมืองขึ้น แล้วต่อมาก็มีคนมาแก้ ลาวเลยได้รับอิสระคืนมา แล้วได้แต่งตั้งผู้สืบทอด ที่นามสกุลขึ้นต้นด้วย หลวง เฝ้าปากทาง ไม่แน่ใจว่า ๘ หรือ ๙ สาย ป้าแกก็มีนามสกุลขึ้นต้นด้วยหลวงเหมือนกัน ป้าแกก็เล่าต่อให้ฟังหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่พ่อแก เล่นอาคม สนุกดี เพราะเค้าขลังมาก ๆ เหลือเชื่อ แต่แกบอกว่าได้เห็นกับตาจริง ๆ แล้วจะเล่าให้ฟังทีหลังนะค่ะ
     
  7. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ไปนานแล้วค่ะ สิบปีมาแล้วละ แม่สร้อยคงยังเรียนไม่จบละมั๊งค่ะ
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ถ้าไปอีก อย่าลืมเค้านะ.....^^
     
  9. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ไม่ลืมจ้า .. ลืมได้ไงมือกล้องระดับเซียน

    [Music]http://palungjit.org/attachments/a.1313436/[/Music]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2011
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    (k) (k) (k)
    ไปเที่ยวกับพี่ติ๋ง น่าจะมีอะไรตื่นเต้ลลลลลลล..... ให้ได้สนุกสนานกัน vb vb...
     
  11. little voice

    little voice เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    152
    ค่าพลัง:
    +351
    อนุโมทนา สาธุไปกราบนมัสการที่ลาวมาแล้วจ้า
    สวยงามมาก คนลาวเป็นกันเองมากค่ะ
     
  12. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    [​IMG]

    เค้าไปด้วยคนนะ ๆ ๆ ๆ

    ขาดไปคนนึง ก็ไม่ครบทีมคนน่ารักจิ!!.. :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2011
  13. วรุณบุตร

    วรุณบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    926
    ค่าพลัง:
    +1,018
    อยากรู้ตลอดนะคุณ ไปเองไปรู้เอง จะได้เห็นจะได้เข้าใจ อย่าเอาแต่ตัว อย่าเอาแต่ตาไปดูอย่างเดียว เอาจิตเอาใจไปดูด้วยว่าที่แท้นั่นคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับผู้ปราถณาโพธิญาณกับข้าเก่าแห่งพระเจ้าล้านช้างพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช และจะได้รู้ว่าใครได้เป็นผู้สร้างผู้ดูแลมาก่อนด้วยนะจ๊ะ

     
  14. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    จ้า..ไม่ลืมน้องสาวน่ารักน่าชังคนนี้หรอก..แต่ที่แน่ ๆ พี่ติ๋งสวยที่สุดดดดดดดดดดดด
     
  15. ศรีสัตตนาค

    ศรีสัตตนาค Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2007
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +79
    เวียงงัว หมายถึง พระธาตุโพนจิกเวียงงัว
    พระธาตุหล้าหนอง ล่มลงไปกลางแม่น้ำโขง มีการสร้างองค์จำลองขึ้นที่ริมฝั่ง ซึ่งตอนนี้กำลังจะสร้างฉัตรทองคำประดับด้วยรัตนชาติ
     
  16. bnbk

    bnbk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,047
    ค่าพลัง:
    +15,613
    เพื่อนซึมไปเลยจ้า
     
  17. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392

    แมน...คั่ก ๆ...[​IMG]
     
  18. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    [​IMG]โห..หายไปโดนแท้น้อ..คุณพิชญ์
    [music]http://palungjit.org/attachments/a.1314973/[/music]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. พิชญ์

    พิชญ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +3,392
    ก้อหายไป พร้อมพี่ครู นั่นล่ะค่ะ...อิ อิ (แต่พุง.. ไม่ยักกะหาย...)

    หมดวาระ กับบางเรื่องแล้วล่ะค่ะ ... ที่ยังเหน ๆ เข้ามาอยุ่นี่ เพื่อเคลียร์ของเก่าเท่านั้นเอง..

    เรื่องของพี่ครู.. ที่จะให้ขึ้นศรีสะเกษนั้น น้องได้คำตอบแล้วค่ะ...แล้วเด๋วจะกริ๊งกร๊าง...แถลงไขให้ฟังนะคร๊า...
     
  20. อำนวยกรณ์

    อำนวยกรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    515
    ค่าพลัง:
    +1,931
    จะรอจ้า..ช่วงนี้พี่ก็ชักเพี้ยน ๆ ซะด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...