พระพุทธศาสนา...พระโบราณ...พระในตำนาน...

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย บรรพชนทวา, 12 กันยายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    สิ่งที่ไกลกัน ๔ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลกัน ๔ ประการนี้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟ้า กับแผ่นดินนี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการ ๑ ฝั่งนี้ และฝั่งโน้นแห่งมหาสมุทรเป็นสิ่งที่ไกลแสนไกลกันประการที่ ๒ พระอาทิตย์ยามขึ้น และยามอัสดงนี้เป็นสิ่งที่ไกลกันแสนไกลประการที่ ๓ ธรรมของสัตบุรุษ และของอสัตบุรุษ เป็นสิ่งที่ไกลแสนไกลกันประการที่ ๔

    นภญฺฺจ ทูเร ปฐวี จ ทูเร
    ปาร° สมุทฺทสฺส ตทาหุ ทูเร
    ยโต จ เวโรจโน อพฺภุเทติ
    ปภงฺกโร ยตฺถ จ อตฺถเมติ
    ตโต หเว ทูรตร° วทนฺติ
    สตญฺจ ธมฺม° อสตญฺจ ธมฺม°ฯ
    อพฺยายิโก ฌหติ สต° สมาคโม
    ยาวมฺปี ติฏฺเฐยฺย ตเถว โหติฯ
    ขิปฺปญฺหิ เวติ อสต° สมาคโม
    ตสฺมา สต° ธมฺมา อสพฺภิ อารกาฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๖๕)
    นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าฟ้ากับแผ่นดินไกลกัน ฝั่งมหาสมุทรก็ไกลกัน อาทิตย์ส่องอสงยามอุทัยกับยามอัสดงคตก็ไกลกัน ยัณฑิตกล่าวว่า ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น การสมาคมของสัตบุรุษมั่นคงยืนยาว และย่อมเป็นอย่างนั้นตราบกาลที่พึงดำรงอยู่ ส่วนการสมาคมของสัตบุรุษย่อมจืดจางเร็ว เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจากธรรมของอสัตบุรุษ


    วิปลาสธรรม ๔

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสมี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน ๑ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑

    อนิจเจ นิจจสญญิโน....................ทุกเข จ สุขสญญิโน
    อนตตนิ จ อตตาติ.......................อสุเภ สุภสญญิโน
    มิจฉาทิฏฐิหตา สตตา..................ขิตตจิตตา วิสญญิโน
    เต โยคยุตตา มารสส...................อโยคกเขมิโน ชนา
    สตตา คจฉนติ สสาร...................ชาติมรณคามิโนฯ
    ยทา จ พุทธา โลกสมิ°................อุปปชชนติ ปภงกราฯ
    เตม° ธมม° ปกาเสนติ..................ทุกขูปสมคามิน°
    เตส° สุตวาน สปปญญา...............สจิตต° ปจจลตถุ เต
    อนิจจ อนิจจโต ทกข°.................ทุกขมททกขุ ทุกขโต
    อนตตนิ อนตตาติ....................... อสุภ° อสุภตททสุ°
    สมมาทิฏฐิสมาทานา...................สพพ° ทุกข° อุปจจคุน°ฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๖๘)
    เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิกำจัด มีจิตฟุ้งซ่าน มีความสำคัญผิด มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สำคัญในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข สำคัญในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าเป็นตน และสำคัญในสิ่งที่ไม่งามว่างาม สัตว์คือชนเหล่านั้น ชื่อว่าประกอบแล้ว ในเครื่องประกอบของมาร ไม่เป็นผู้เกษมจากโยคะ มีปกติไปสู่ชาติ และมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร ก็ในกาลใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้กระทำแสงสว่างบังเกิดขึ้นในโลก พระพุทธเจ้าเหล่านั้นย่อมประกาศธรรมนี้ เป็นเครื่องให้สัตว์ถึงความสงบทุกข์ ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีปัญญา ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ยังจิตของตนให้เห็นในสิ่งที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ให้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ ให้เห็นในสิ่งที่ไม่ใช่ตนว่าไม่ใช่ตน ให้เห็นสิ่งที่ไม่งามโดยความเป็นของไม่งาม สมาทานสัมมาทิฏฐิจึงล่วงจากทุกข์ทั้งปวงได้


    ความเลื่อมใส ๔ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก คือ
    ๑. รูปปปมาโร รูปปปสนโน ผู้ถือประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป
    ๒. โฆสปปมาโณ โฆสปปสนโน ผู้ถือประมาณในเสียง เลื่อมใสในเสียง
    ๓. ลูขปปมาโณ ลูขปปสนโน ผู้ถือประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
    ๔. ธมมปปมาโณ ธมมปปสนโน ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม

    เย จ รูเปน ปามิ°สุ........................เย เจ โฆเสน อนฺวคู
    ฉนฺทราควสูเปตา..........................น เต ชานนฺติ ตญฺชน°
    อชฺฌตฺตญฺจ น ชานาติ.................พหิทฺธาจน ปสฺสติ
    สมนฺตาวรโณ พาโล.....................ส เว โฆเสน วุยฺหติฯ
    อชฺฌตฺตญฺจ น ชานาติ.................พหิทฺฺธา จ วิปสฺสติ
    พหิทฺฺธา ผลทสฺสาวี......................โสปี โฆเสน วุยฺหติฯ
    อชฺฌตฺตญฺจ ปชานาติ...................พหิทฺฺธา จ วิปสฺสติ
    (เอว°)วินีวรณทสสาวี....................น โส โฆเสน วุยฺหติฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๙๓)
    ชนเหล่าใดถือประมาณในรูป และชนเหล่าใดคล้อยไปตามเสียง ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ เขาย่อมไม่รู้จักชนนั้น คือย่อมไม่รู้คุณธรรมภายในของเขา และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา บุคคลเช่นนั้นแลเป็นคนเขลา ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ อันเสียงย่อมพัดไป อนึ่ง บุคคลไม่รู้คุณภายใน และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา แม้บุคคลนั้นเห็นผลในภายนอก ก็ยังถูกเสียงพัดไป ส่วนบุคคลรู้ทั่วถึงคุณภายในของเขา และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภายนอกของเขา บุคคลนั้นเห็นผู้เป็นธรรมอันปราศจากเครื่องกั้น ย่อมไม่ถูกเสียงพัดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  2. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผลที่ได้รับเมื่อผู้นำไม่ตั้งอยู่ในธรรม

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดพระราชาไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้นแม้พวกข้าราชการก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพวกข้าราชการไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้นแม้พราหมณ์ และคฤหบดีก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์ และคฤหบดีไม่ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้นแม้ชาวนิคม และชาวชนบทก็เป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม พระจันทร์ และพระอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อพระจันทร์ และพระอาทิตย์หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอแล้ว หมู่ดาวนักษัตรก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอแล้ว คืน และวันก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อคืน และวันหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอแล้ว เดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อเดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอแล้ว ฤดู และปีก็ย่อมหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ เมื่อฤดู และปีหมุนเวียนไม่สม่ำเสมอแล้ว ลมย่อมพัดไม่สม่ำเสมอ เมื่อลมพัดเวียนไม่สม่ำเสมอ พัดเวียนไป เทวดาย่อมกำเริบ เมื่อเทวดากำเริบ ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกัน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ผู้บริโภคข้าวที่สุกไม่เสมอกัน ย่อมเป็นผู้มีอายุน้อย มีผิวพรรณเศร้าหมอง มีกำลังน้อย มีอาพาธมาก(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๙๘)


    ผลที่ได้รับเมื่อผู้นำตั้งอยู่ในธรรม

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้นข้าราชการก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อข้าราชการตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้นแม้พราหมณ์ และคฤหบดีก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพราหมณ์ และคฤหบดีตั้งอยู่ในธรรม สมัยนั้นชาวนิคม และชาวชนบทก็ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อชาวนิคม และชาวชนบทเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม พระจันทร์ และพระอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อพระจันทร์ และพระอาทิตย์หมุนเวียนสม่ำเสมอแล้ว หมู่ดาวนักษัตรก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อหมู่ดาวนักษัตรหมุนเวียนสม่ำเสมอ คืน และวันก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อคืน และวันหมุนเวียนสม่ำเสมอ เดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อเดือนหนึ่ง และกึ่งเดือนหมุนเวียนสม่ำเสมอ ฤดู และปีก็ย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอ เมื่อฤดู และปีหมุนเวียนสม่ำเสมอ ลมย่อมพัดสม่ำเสมอ เมื่อลมพัดสม่ำเสมอ ลมย่อมพัดไปถูกทาง เมื่อลมพัดไปถูกทาง เทวดาย่อมไม่กำเริบ เมื่อเทวดาไม่กำเริบ ฝนย่อมตกต้องตามฤดูกาล เมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกเสมอกัน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ผู้บริโภคข้าวที่สุกเสมอกัน ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มีผิวพรรณดี มีกำลัง มีอาพาธน้อย(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๙๘)


    ผู้นำควรตั้งอยู่ในธรรมเสียก่อนหมู่คณะจึงสวัสดีได้

    คุนฺนญฺเจ ตรมานาน°............ชิมฺห° คจฺฉติ ปุงฺคโว
    สพฺพา ตา ชิม.ห° คจฺฉนฺติ.....เนตฺเต ชิมฺห° คเต สติ
    เอวเมว มนุสฺเสสุ...................โย โหติ เสฏฺฐสมฺมโต
    โส เจ อธมฺม° จรติ................ปเคว อิตรา ปชา
    สพฺพ° รฏฺฐ° ทุกฺข° เสติ..........ราชา เจ โหตฺยธมฺมิโกฯ
    คุนฺนญฺเจ ตรมานาน°.............อุชุ° ตจฺฉติ ปุงฺคโว
    สพฺพา ตา อุชุ° คจฺฉนฺติ ........เนตฺเต อุชุ° คเต สติ
    เอวเมว มนุสฺเสสุ...................โย โหติ เสฏฺฐสมฺมโต
    โส เจ ธมฺม° จรติ...................ปเคว อิตรา ปชา
    สพฺพ° รฏฺฺฐ° สุข° เสติ.............ราชา เจ โหติ ธมฺมิโกฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๙๘)
    เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปคด โคเหล่านั้นก็ย่อมไปคดทั้งหมด เพราะโคผู้นำไปคด ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติอธรรม ประชาชนนอกนี้ก็จะประพฤติอธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดก็ได้ประสบความทุกข์ ถ้าพระราชาเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อฝูงโคข้ามไปอยู่ ถ้าโคผู้นำฝูงไปตรง โคเหล่านั้นก็ย่อมไปตรงทั้งหมด ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นผู้นำ ถ้าผู้นั้นประพฤติธรรม ประชาชนนอกนี้ก็ย่อมประพฤติธรรมเหมือนกัน แว่นแคว้นทั้งหมดย่อมได้ประสบความสุข เพราะพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม


    สิ่งที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เพราะจะเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน ๔ ประการนั้นเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑ ญาณวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑ วิบากแห่งกรรม ๑ ความคิดเรื่องโลก ๑(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๑๐๔)


    ปฏิปทา ๔

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้คือ
    ๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิปทาที่ลำบาก รู้ช้า
    ๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิปทาที่ลำบาก แต่รู้เร็ว
    ๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสบาย แต่รู้ช้า
    ๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิปทาสบาย แต่รู้เร็ว(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๒๐๘)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  3. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ความรัก และความโกรธย่อมเกิดเพราะเหตุ ๔ ประการ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้ย่อมเกิด คือ
    ๑. ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก
    ๒. ความโกรธย่อมเกิดเพราะความรัก
    ๓. ความรักย่อมเกิดเพราะความโกรธ
    ๔. ความโกรธย่อมเกิดเพราะความโกรธ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๒๙๐)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคลในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆมาประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเราด้วยอาการน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก อย่างนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความโกรธย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคลในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล ครั้นคนอื่นๆมาประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเราด้วยอาการแนไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก อย่างนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลในโลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล ครั้นคนอื่นๆมาประพฤติต่อบุคคลนั้นด้วยอาการไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆมาประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเราด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักใคร่ในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ อย่างนี้แล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล ครั้นคนอื่นๆมาประพฤติต่อบุคคลนั้นด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดเห็นว่า คนอื่นๆมาประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเราด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะ อย่างนี้แล


    การนอนมี ๔ อย่าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไสยา คือ การนอน มี ๔(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๓๓๑) อย่างคือ
    ๑. เปตเสยฺยา นอนอย่างเปรต
    ๒. กามโภคิเสยฺยา นอนอย่างคนบริโภคกาม
    ๓. สีหเสยฺยา นอนอย่างราชสีห์
    ๔. ตถาคตเสยฺยา นอนอย่างตถาคต

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ “เปตเสยฺยา” เป็นไฉน คนตายโดยมากนอนหงาย นี้เราเรียกว่า เปตเสยฺยา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ “กามโภคิเสยฺยา” เป็นไฉน คนบริโภคกามโดยมากนอนตะแคงข้างซ้าย นี้เราเรียกว่า กามโภคิเสยฺยา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ “สีหเสยฺยา” เป็นไฉน สีหมฤคราชย่อมสำเร็จการนอนข้างขวาซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า สอดหางเข้าในระหว่างโคนขา มันตื่นขึ้นแล้วยึดกายเบื้องหน้า เหลียวดูกายเบื้องหลัง ถ้ามันเห็นว่าผิดแปลก หรือผิดปกติแห่งกายมันย่อมเสียใจเพราะเหตุนั้น ถ้ามันไม่เห็นอะไรผิดปกติ มันย่อมดีใจด้วยเหตุนั้น นี้เราเรียกว่า สีหเสยฺยา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ “ตถาคตเสยฺยา” เป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม บรรลุจตุตถฌาน นี้เราเรียกว่า ตถาคตเสยฺยา


    ธรรม ๔ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๓๓๒) ๔ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา คือ
    ๑. สปฺปุริสส°เสโว การคบสัปบุรุษ
    ๒. สทฺธมฺมสฺสวน° ฟังธรรม
    ๓. โยนิโสมนสิกาโร กระทำอารมณ์ไว้ในใจโดยแยบคาย
    ๔. ธมฺมานุธมฺมปตฺติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม


    การแสวงหาสิ่งที่ไม่ประเสริฐ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา คือ การแสวงหาอันไม่ประเสริฐ ๔(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๓๓๔) ประการนี้ คือ
    ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดานั่นเอง
    ๒. ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็แสวงหาสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดานั่นเอง
    ๓. ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็แสวงหาสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดานั่นเอง
    ๔. ตนเองมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็แสวงหาสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นเอง


    การแสวงหาสิ่งที่ประเสริฐ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา คือ การแสวงหาอย่างประเสริฐ มี ๔(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๓๓๔) ประการ คือ
    ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เมื่อตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็รู้โทษในสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันไม่มีชรา เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม
    ๒. ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็รู้โทษในสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันไม่มีพยาธิ เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นยอดเยี่ยม
    ๓. ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็รู้โทษในสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดา แล้วแสวงหานิพพานอันไม่ตาย เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นยอด
    ๔. ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ก็รู้โทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพานอันไม่มีความเศร้าหมอง เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นยอดเยี่ยม

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาสิ่งที่ประเสริฐ ๔ ประการนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  4. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ตระกูลใหญ่ตั้งอยู่ได้ไม่นานเพราะสถาน ๔

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมตั้งอยู่ได้ไม่นานเพราะสถาน ๔ คือ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๓๓๖)
    ๑. ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
    ๒. ไม่ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า
    ๓. ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
    ๔. ตั้งสตรี หรือบุรุษผู้ทุศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน


    เพราะไม่รู้ธรรม ๔ ประการจึงเกิดบ่อยๆ

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พันธคาม ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา และพวกเธอทั้งหลายได้แล่นไปท่องเที่ยวไปแล้วสิ้นกาลนานอย่างนี้ ก็เพราะยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดซึ่งธรรม ๔ ประการ คือ
    ๑. ศีลที่เป็นอริยะ
    ๒. สมาธิที่เป็นอริยะ
    ๓. ปัญหาที่เป็นอริยะ
    ๔. วิมุติที่เป็นอริยะ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ศีลที่เป็นอริยะ สมาธิที่เป็นอริยะ ปัญหาที่เป็นอริยะ อันเรา และเธอทั้งหลายได้ตรัสรู้แทงตลอดแล้ว ถอนตัณหาในภพได้แล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพสิ้นสุดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป

    สีลสมาธิปญฺญา จ..................วิมุตฺติ จ อนุตฺตรา
    อนุพุทฺธา อิเม ธมฺมา..............โคตเมน ยสสฺสินาฯ
    อิติ พุทฺโธ อภิญฺญาย..............ธมฺมมกฺขาสิ ภิกฺขุน°
    ทุกฺขสฺสนฺตกโร สตฺถา.............จกฺขุมา ปรินิพฺพุโตฯ(อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๒)
    ธรรมเหล่านั้นคือ ศีล สมิ ปัญญา และวิมุติ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันพระโคตมศาสดาผู้มียศได้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดามีจักษุ ซึ่งกระทำที่สุดทุกข์ ตรัสรู้พระธรรมแล้ว ตรัสภิกษุทั้งหลาย พระองค์เสด็จปรินิพพานแล้วด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  5. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ภิกษุที่ลาสิกขาย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ๕ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ หรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ย่อมถูกกล่าวหาอันชอบด้วยเหตุ ๕ ประการในปัจจุบัน คือ
    ๑. ท่านไม่มีแม้ศรัทธาในกุศลธรรม
    ๒. ไม่มีหิริในกุศลธรรม
    ๓. ไม่มีแม้โอตตัปปะในกุศลธรรม
    ๔. ไม่มีแม้ความเพียรในกุศลธรรม
    ๕. ไม่มีแม้ปัญญาในกุศลธรรม

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ หรือภิกษุณีบางรูปในธรรมวินัยนี้ แม้มีทุกข์โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการในปัจจุบัน คือ
    ๑. เธอมีศรัทธาในกุศลธรรม
    ๒. มีหิริในกุศลธรรม
    ๓. มีโอตตัปปะในกุศลธรรม
    ๔. มีความเพียรในกุศลธรรม
    ๕. มีปัญญาในกุศลธรรม


    ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการชื่อว่าปฏิบัติเพื่อตน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แล้วไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสน แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสน


    ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการชื่อว่าปฏิบัติเพื่อผู้อื่น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อตน ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสน แต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสน


    ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการชื่อว่าไม่ปฏิบัติเพื่อตนไม่ปฏิบัติเพื่อผู้อื่น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ย่อมไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อตน ไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อผู้อื่น ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ ตนเองไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสน แล้วไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่ชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน เพื่อประโยชน์ผู้อื่น


    ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการชื่อว่าไปฏิบัติเพื่อตน และผู้อื่น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ย่อมชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และปฏิบัติแก่ผู้อื่น คือ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แล้วชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ แล้วชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา แล้วชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ แล้วชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  6. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    จิตที่ได้รับการอบรมฝึกฝนดีแล้วย่อมบรรลุธรรมหลายอย่าง

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทองซึ่งเมื่อเศร้าหมองแล้วย่อมไม่อ่อนใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้มี ๕ ประการ คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑ ตะกั่ว ๑ เงิน ๑

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการนี้ เมื่อทองเศร้าหมองแล้วย่อมไม่อ่อนใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ไม่ได้ ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาลย์ ก็ทำไม่ได้ตามต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิตซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อนใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบในการทำอาสวะให้สิ้นไป ก็มี ๕ ประการเหมือนกัน

    อุปกิเลส ๕ ประการนั้นคือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจ ๑ วิจิกิจฉา ๑ อุปกิเลส ๕ ประการนี้เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง ไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เมื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ และภิกษุน้อมจิตไปเพื่อให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อธรรมอันเป็นเครื่องสืบต่อมีอยู่โดยไม่ขาดสาย เธอก็ย่อมบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้นๆโดยแน่นอน

    เมื่อภิกษุหวังอยู่ว่าเราจะพึงแสดงฤทธิได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนได้ ทำให้ปรากฎได้ ทำให้หายไปก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวได้ ทำให้ปรากฎก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก้ได้ เดินบนน้ำ แต่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนบกก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทน์พระอาทิตย์ก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เมื่อทำเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในอิทธิวิธีนั้นๆโดยแน่นอน ถ้าเธอหวังอยู่ว่าเราพึงฟังเสียง ๒ อย่างคือ เสียงทิพย์ และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกล และใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตะของมนุษย์ เมื่อทำเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในทิพย์โสต(หูทิพย์)นั้นโดยแน่นอน

    ถ้าเธอหวังอยู่ว่าจะกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ เมื่อจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ เมื่อจิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต หรือไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เมื่อทำเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอย่อมบรรลุผลสำเร็จในเจโตปริยญาณ(ญาณที่หยั่งรู้ถึงจิตของผู้อื่นว่าเป็นอย่างไร)นั้นโดยแน่นอน

    ถ้าเธอหวังอยู่ว่าเราจะพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้างเป็นต้น ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมาก ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก ตลอดสังวัฏฏกัปตลอดสังวัฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากว่าภพโน้นเรามีชื่ออย่างไรนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น และในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้นเป็นต้น เมื่อทำเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอย่อมบรรลุผลสำเร็จในบุพเพนิวาสานุสติญาณ(ญาณที่หยั่งรู้ถึงชาติในอดีต)นั้นๆโดยแน่นอน

    ถ้าเธอหวังอยู่ว่าเราจะพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังเคลื่อนกำลังอุบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักุอันบริสุทธิ์ล่วงจักขุของมนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่าสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยทุจริตทางกาย ทุจริตทางวาจา ทุจริตทางใจ ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือมั่นในการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาตนรก ส่วนสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือมั่นในการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไปเขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นต้น เมื่อทำเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในจุตูปปาตญาณ(ญาณที่หยั่งรู้เห็นความคิดของสัตว์ที่เป็นไปตามกรรม)นั้นๆโดยแน่นอน

    ถ้าเธอหวังอยู่ว่าเราจะพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เมื่อทำเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นๆโดยแน่นอน(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๑๗)


    สัมมาทิฏฐิมีองค์ ๕ สงเคราะห์ย่อมมีเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ เป็นพลานิสงส์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๒๒) อนุเคราะห์แล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นพลานิสงส์ และเป็นธรรมมีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นพลานิสงส์ องค์ ๕ นั้นเป็นไฉน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสัมมาทิฏฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันการสนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิอันองค์ ๕ เหล่านี้อนุเคราะห์แล้วย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล มีเจโตวิมุติเป็นพลานิสงส์ มีปัญญาวิมุติเป็นผล มีปัญญาวิมุติเป็นพลานิสงส์


    อานิสงค์การเดินจงกรมมี ๕ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อานิสงค์การเดินจงกรม ๕ ประการนี้ ๕ ประการนั้นเป็นไฉน
    ๑. อทฺธานกฺขโม โหติ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล
    ๒. ปธานกฺขโม โหติ ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญความเพียร
    ๓. อปฺปาพาโธ โหติ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย
    ๔. อสิต°ปีต° ขายิต° สายิต° สมฺมาปริณาม° คจฺฉติ อาหารที่กิน ดื่มเคี้ยว ลิ้มแล้ว ย่อมย่อยไปด้วยดี
    ๕. จงฺกมาธิตโต สมาธิ จิรฏฺฐิติโก โหติ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรมย่อมตั้งอยู่ได้นาน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อานิสงค์การเดินจงกรมมี ๕ ประการนี้แล(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๓๓)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  7. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผล ๕ ประการย่อมเกิดขึ้นจากเหตุ ๕ ประการ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคจาริกไปในโกศลชนบท เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อ อิจฉานังคละ ครั้งนั้นได้ตรัสแก่นาคิตะว่า

    ดูก่อน นาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดจากความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ สุขอันเกิดแต่วิเวก แต่เราได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้ ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอน สุขที่อาศัยลาภสักการะ และการสรรเสริญ

    ดูก่อน นาคิตะ อาหารที่กินที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ย่อมมีอุจจาระปัสสาวะเป็นผล นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น

    ดูก่อน นาคิตะ ความรักมีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปยาส ที่เกิดขึ้นเพราะความรักแปรปรวนเป็นอื่น เป็นผล นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น

    ความเป็นของปฏิกูลในอสุภะนี้ ย่อมตั้งอยู่แก่พระภิกษุผุ้ขวนขวายในการประกอบตามอสุภะนิมิตนั้น นี้เป็นผลแห่งการประกอบตามอสุภะนิมิต

    ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในผัสสายตนะ ๖ อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในผัสสายตนะ ๖ นั้น

    ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความเกิด เห็นความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิด และความดับในอุปาทานขันธ์นั้น(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๓๓)


    ความต่างกันในวิมุติย่อมไม่มีในระหว่างคน ๒ คน

    ครั้งหนึ่ง สุมนาราชกุมารี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเจริญ ขอประทานวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาค ๒ คนมีศรัทธา มีศีล มีปัญญาเท่าๆกัน อีกคนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ได้ให้ คนั้ง ๒ นี้เมื่อตายไปแล้วเข้าถึงสุคติในโลกสวรรค์ และคนทั้ง ๒ นั้นก็เป็นเทวดาเหมือนกัน จะมีความพิเศษแตกต่างกันหรือไม่

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อน สุมนา คนทั้ง ๒ นั้นถึงมีความพิเศษต่างกัน คือผู้ให้เมื่อเป็นเทวดาแล้ว ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ได้ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ ด้วยอายุที่เป็นทิพย์ ด้วยวรรณะที่เป็นทิพย์ ด้วยสุขที่เป็นทิพย์ ด้วยยศที่เป็นทิพย์ อธิปไตยที่เป็นทิพย์

    สุมนาเทวีทูลถามว่า ถ้าเทวดาทั้ง ๒ นั้นจุติจากเทวโลกแล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์อย่างนี้ คน ๒ คนนั้นทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกันจะมีความพิเศษแตกต่างกันหรือไม่

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุมนา คนทั้ง ๒ มีความพิเศษต่างกัน คือมนุษย์ผู้ให้ย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ ด้วยอายุ ด้วยวรรณะ ด้วยสุขะ ด้วยยศ ด้วยอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์

    สุมนาเทวีกราบทูลว่า ถ้าคน ๒ คนนั้นออกบวช และคนทั้ง ๒ คนนั้นทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกันจะพึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือไม่

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สุมนา คนทั้ง ๒ มีความพิเศษต่างกัน คนที่ให้เป็นบรรพชิตย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการคือ เมื่อออกปากขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บิณฑบาตมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้เสนาสนะน้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บริขาร คือยาอันเป็นที่บำบัดไข้มาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย และเมื่อจะอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งที่พอใจมาให้เป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาให้เป็นส่วนน้อย ดูก่อน สุมนา ผู้ให้เป็นบรรพชิตย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้แล

    สุมนาเทวีกราบทูลว่า ถ้าคนทั้ง ๒ นั้นบรรลุพระอรหันต์ และเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน จักมีความพิเศษแตกต่างกันหรือไม่

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อน สุมนา เราไม่กล่าวว่ามีเหตุต่างกันใดๆในวิมุติกับวิมุติข้อนี้

    สุมนาเทวีกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้อนี้พึงกำหนดได้ว่า เราควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญเป็นอุปการะแก่เทวดา แม้มนุษย์ แม้บรรพชิต

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    ยถาปิ จนฺโท วิมโล...............คจฺฉ° อากาสธาตุยา
    สพฺเพ ตารคเณ โลเก............อาภาย อติโรจติ
    ตเถว สีลสมฺปนฺโน................สทฺโธ ปุริสปุคฺคโล
    สพฺเพ มจฺฉริโน โลเก............จาเคน อติโรจติฯ
    ยถาปี เมโฆ ถนย°.................วิชฺชุมาลี สตกฺกกุ
    ถล° นินฺนญฺจ ปูเรติ................อภิวสฺส° วสุนฺธร°ฯ
    เอว° ทสฺสนสมฺปนฺโน............สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก
    มจฺฉริ° อธิคณฺหาติ................ปญฺจฏฺฐาเนหิ ปณฺฑิโต
    อายุนา ยสสา เจว.................วณฺเณน จ สุเขน จ
    ส เว โภคปริพฺยุโฬฺห..............เปจฺจ สคฺเค ปโมทติฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๓๖-๔๑)
    ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน เดินไปในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลกด้วยรัศมีฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลมีศรัทธาก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ที่ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ เมฆที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ มีช่อทั้ง ๑๐๐ ตกรดแผ่นดินเต็มทั้งตอนแลกที่ลุ่มฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยทัสนะ เป็นบัณฑิตก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ ๕ ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ ยศ และเปี่ยมด้วยโภคะย่อมบันเทิงในสวรรค์ ในปรโลกดังนี้


    สุภาพสตรีคนใดปรารถนาเกิดเป็นเทวดาเหล่ามนายิกาพึงประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่กุมารีทั้งหลายว่า

    โย นิ° ภรติ สพฺพทา...............นิจฺจ° อาตาปี อุสฺสุโก
    สพฺพกามหร° โปส°................ภตฺตาร° นาติมญฺญติ
    น จาปิ โสตฺถิ ภตฺตาร°...........อิสฺสาจาเรน โรสเย
    ภตฺตุ จ ครุโน สพฺเพ...............ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
    อุฏฺฐายิกา อนลสา.................สงฺคหิตปริชฺชนา
    ภตฺตุ มนาป° จรติ...................ส°ภต° อนุรกฺขติฯ
    ยา เอว° วตฺตตี นารี................ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
    มนาปา นาม เต เทวา.............ยตฺถ สา อุปปชฺชติ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๓๖-๔๑)
    สุภาพสตรีผู้มีปรีชาย่อมไม่ดูหมิ่นสามีผู้หมั่นเพียรขวนขวายเป็นนิจ เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ทำให้สามีขุ่นเคืองด้วยประพฤติแสดงความหึงหวงสามี และย่อมบูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านสงเคราะห์คนข้างดคียงของสามี ประพฤติตนเป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อมประพฤติการตามความพอใจของสามีอย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดา เหล่ามนาปกายิกาดังนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  8. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ผู้ไม่ตระหนี่ให้ทานย่อมได้รับผล ๕ ประการ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่สีหะเสนาบดีว่า

    ทท° ปีโย โหติ ภชนฺต น° พหู
    กิตติ° จ ปปฺโปติ ยสสฺส วฑฺฒติ
    อมงฺกุภูโต ปริส° วิคาหติ
    วิสารโท โหติ นโร อมจฺฉรี
    ตสฺมา หิ ทานานิ ททนฺติ ปณฺฑิตา
    วิเนยฺย มจฺเฉรมล° สุเขสิโน
    เต ทีฆรตฺต° ติทิเว ปติฏฺฐิตา
    เทวาน° สหพฺยคตา รมนฺติ เต
    กตาวกาสา กตกุสลา อิโต จุตา
    สยมฺปภา อนุวิจรนฺติ นนฺทเน
    เต ตตฺถ นนฺทนฺติ รมนฺติ โมทเร
    สมปฺปีตา กามคุเณหิ ปญฺจหิฯ
    กตฺวาน วากฺย° อสิตสฺส ตาทิโน
    กมนฺติ สพฺเพ สุคตสฺส สาวกาฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๔๓)
    นรชนผู้ไม่ตระหนี่ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชนเป็นอันมากไม่คบหานรชนนั้น นรชนนั้นย่อมได้เกียรติยศ เจริญเป็นผู้ไม่เก้อเขิน แกล้วกล้าเข้าสู่ที่ประชุมชน เพราะเหตุฉะนี้แล บัณฑิตผู้หวังความสุขจงขจัดมลทินคือ ความตระหนี่แล้วให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้นย่อมประดิษฐานในไตรทิพย์ถึงความเป็นสหายของเทวดาร่าเริงอยู่ตลอดกาลนาน บัณฑิตเหล่านั้นได้ทำสิ่งที่มุ่งหวัง ได้ทำกุศลแล้ว จุติจากโลกนี้แล้วย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อว่านันทวัน ย่อมเพรียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เพลิดเพลินรื่นเริงบันเทิงใจอยู่ในนันทวันนั้น สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส ผู้คงที่ ทำตามพระลำดับของพระองค์แล้วย่อมร่าเริงทุกเมื่อ


    อานิสงค์แห่งทาน ๕ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ (อังคุตตรนิกาย ๒๒/๔๓)ประการนี้เป็นไฉน

    ๑)พหุโน ชนสฺส ปีโย โหติ ผุ้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก
    ๒)มนาโป สนฺโต สปฺปุริสา ภชนฺติ สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
    ๓)กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉติ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรไปทั่ว
    ๔)คิหิธมฺมา อนปคโต โหติ ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
    ๕)กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคติ° สคฺต° โลก° อุปปชฺชติ ผู้ให้ทานเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

    ททมาโน ปีโย โหติ..................สต° ธมฺม° อนุกฺกม°
    สนฺโต น° สทา ภชนฺติ..............สญฺญตา พฺรหฺมจารโย
    เต ตสฺส ธมฺม° เทเสนฺติ............สพฺพทุกฺขาปนูทน°
    ย° โส ธมฺม° อิธญฺญาย.............ปรินิพฺพาตนาสโวฯ(อังคุตตรนิกาย ๒๒/๔๔)
    ผู้ให้ท่านย่อมเป็นที่รักแก่ชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามกรรมของสัปบุรุษ สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ผู้ประกอบพรหมจรรย์ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัดแล้วย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปรินิพพานในโลกนี้


    มารดาบิดาเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการจึงปรารถนาให้บุตรเกิดในสกุล

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาในโลกนี้เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาให้บุตรเกิดในสกุล ฐานะ ๕ ประการนั้นเป็นไฉน คือ

    ๑)บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงตอบแทน
    ๒)ทำกิจแทนเรา
    ๓)วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน
    ๔)บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก
    ๕)เมื่อเราตายไปแล้วบุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานให้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แลจึงปรารถนาให้บุตรเกิดในสกุล

    ปณฺจฏฺฐานานิ สมฺปสฺส°.............ปุตตฺ° อิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา
    ภโต วา โน ภริสฺสติ....................กิจฺจ° วา โน กริสฺสติ
    กุลว°โส จิร° ติฏฺเฐ......................ทายชฺช° ปฏิปชฺชติ
    อถ วา ปน เปตาน°.....................ทกฺฺขิณ°นุปฺปทสฺสติ
    ฐานาเนตานิ สมฺปสฺส°................ปุตฺต° อิจฺฉนฺติ ปณฺฑิตา
    ตสฺมา สนฺโต สปฺปุริสา................กตญฺณู กตเวทีโน
    ภรนฺติ มาตาปิตโร.......................ปุพฺเพ กตมนุสฺสร°
    กโรนฺฺติ เนส° กิจฺจานิ...................ยถาต° ปุพฺพการิน°
    โอวาทการี ภตโปสี.....................กุลว°ส° อหาปย°
    สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน................ปุตฺโต โหติ ปส°สิโยฯ(อังคุตตรนิกาย ๒๒/๔๖)
    มารดาบิดาผู้ฉลาดเล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตรด้วยหวังว่า บุตรนั้น บุตรที่เลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงตอบเรา จักทำกิจแทนเรา วงศ์สกุลจะดำรงอยู่ได้นาน บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก และเมื่อเราตายไปแล้วบุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานให้ มารดาบิดาผู้ฉลาดเล็งเห็นฐานะเหล่านี้จึงปรารถนาบุตร ฉะนั้นบุตรผู้เป็นสัปบุรุษผู้สงบ มีกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงบุรพคุณของท่านจึงเลี้ยงมารดาบิดาทำกิจแทนท่าน เชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนองพระคุณท่าน สมกับที่ท่านเป็นบุรพการี ดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธาสมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  9. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    วิธีใช้ทรัพย์ ๕ ประการ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่อนาถบิณฑิกะคฤหบดีว่า ประโยชน์ที่เราจะพึงถือเอาโภคทรัพย์ ๕ ประการคือ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๔๙)

    ๑) อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ด้วยความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารตนให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้ควรเป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ข้อที่ ๑

    ๒) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒

    ๓) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม ป้องกันมิให้ทรัพย์เหล่านั้นเกิดอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โขลน หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทำตนให้สวัสดีนี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๓

    ๔) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม ทำพลี ๕ อย่างคือ
    1.ญาติพลี บำรุงญาติ
    2.อติถิพลี ต้อนรับแขก
    3.ปุพพเปตพลี บำรุงญาติที่ตายไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้
    4.ราชพลี บำรุงราชการคือบริจาคทรัพย์ช่วยเหลือประเทศชาติ
    5.เทวตาพลี บำรุงเทวดาคือ ทำบุญอุทิศให้แก่เทวดา
    นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔

    ๕) อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม บำเพ็ญทักษิณามีผลอันสูงสุด เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์อันเลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณะพราหมณ์ คือผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติ และโสรัจจะ มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียว นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงได้ในข้อที่ ๕
    แล้วตรัสว่า

    ภูตฺตา โภคา ภตา ภจฺจา.............. วิติณฺณา อาปทาสุ เม
    อุทฺธคฺคา ทกฺขิณา ทินฺนา..............อโถ ปญฺจ พลี กตา
    อุปฏฺฐิตา สีลวนฺโต........................สญฺญตา พฺรหฺมจารโย
    ยทตฺถ° โภคมิจฺเฉยฺย.....................ปณฺฑิโต ฆรมาวส°
    โส เม อตฺโถ อนุปฺปตฺโต...............กต° อนนุตาปิย°ฯ
    เอต° อนุสฺสสร° มจฺโจ...................อริยธมฺเม ฐิโต นโร
    อิเธว น° ปส°สนฺติ.........................เปจฺจ สคฺเค ปโมทติฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๕๐)
    นรชนเมื่อได้คำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว ได้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้นภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์แล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำพลี ๕ ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีสีลสำรวมอินทรีย์ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนพึงปรารถนาโภคทรัพย์เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นเราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้วดังนี้ ชื่อว่าเป้นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เมื่อเขาละจากในโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  10. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    สัปบุรุษเกิดในสกุลใดย่อมยังประโยชน์ให้เกิดแก่สกุลนั้น

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุลย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากคือ แก่มารดา บุตร ภริยา ทาส กรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณะพราหมณ์

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาเมฆ ยังข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ย่อมชื่อว่ามีมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

    หิโต พหุนฺน° ปฏิปชฺช โภเค
    ต° เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตฺต°
    พหุสฺฺสุต° สีลวตูปปนฺน°
    ธมฺเม ฐิต° น วิชหาติ กิตฺติฯ
    ธมฺมฏฺฐ° สีลสมฺปนฺน° สจฺจวาทิ° หิรีมน°
    เนกข° ชมฺฺโพนทสฺเสว โก ต° นินฺทิตุมรหติ
    เทวาปิ น° ปส°สนฺติ พฺรหฺมุนาปี ปส°สิโตฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๕๑)
    สัปบุรุษผู้ครอบครองโภคทรัพย์ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เทวดาย่อมรักษาเขาผู้มีธรรมอันคุ้มครองเป็นพหูสูตร สมบูรณ์ด้วยศีล และความประพฤติ เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรมนั้น ใครจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัจ มีหิริในใจเปรียบเหมือนแท่งทองชมภูนุช แม้เทวดาก็ชม แม้พราหมณ์ก็สรรเสริญเขา


    ให้อย่างใดย่อมได้อย่างนั้น

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่อุคคะเทพบุตรว่า

    มนาปทายี ลภเต มนาป°
    อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺค°
    วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ
    เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฺฐมุเปติ ฐาน°
    อคฺคทายี วรทายี เสฏฺฐทายี จ โย นโร
    ทีฆายุ ยสวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๕๖)
    ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี ผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจักบังเกิด ณ ที่ใดๆย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้


    ห้วงบุญ

    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๕ ประการนี้ เป็นเหตุนำความสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีผลเป็นความสุข ยังอารมณ์เลิศให้เกิดขึ้นเป็นไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข การที่จะถือเอาประมาณแห่งบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล มีประมาณเท่านี้ เป็นเหตุนำความสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีผลเป็นความสุข ยังอารมณ์เลิศให้เกิดขึ้นเป็นไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นต้น พึงทำไม่ได้โดยง่าย กองบุญนี้ใหญ่ประมาณไม่ได้ เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณน้ำในมหาสมุทรว่ามีประมาณอารหกะเท่านี้ เป็นต้น ย่อมนับประมาณไม่ได้ฉันนั้น

    มโหทธิ° อปริมิต° มหาสร°
    พหุเภรว° รตนคณานมาลย
    นชฺโช ยถา มจฺฉคณสงฺฆ°เสวิตา
    ปุถู สวนฺติ อุปยนฺติ สาคร°
    เอว° นร° อนฺนทปานวตฺถท°
    เสยฺยานิสชฺชตฺถรณสฺส ทายก°
    ปุญฺญสฺส ธารา อุปยนฺฺติ ปณฺฑิต°
    นชฺโช ยถา วาริวหาว สาคร°ฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๕๘)
    แม่น้ำเป็นที่อยู่แห่งฝูงปลา ส่วนมากย่อมหลั่งไหลไปสู่สาคร ห้วงทะเลหลวง อันจะประมาณไม่ได้มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่แห่งรัตนหลายชนิดฉันใด ห้วงบุญย่อมหลั่งไหลเข้าสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิตให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ที่นั่ง เครื่องปูลาด เหมือนห้วงน้ำหลั่งไหลเข้าสู่สาคร ฉะนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2013
  11. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ฐานะ ๕ อย่างอันใครๆในโลกนี้ย่อมไม่ได้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ (อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๖๒) อย่างอันใครๆในโลกนี้ มีสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ย่อมไม่พึงถือได้ ฐานะ ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ
    ๑. ฐานะว่าขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราจงอย่าได้แก่เลย
    ๒. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของเราจงอย่าได้เจ็บไข้เลย
    ๓. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาของเราจงอย่าได้ตายเลย
    ๔. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาของเราจงอย่าได้สิ้นไปเลย
    ๕. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราจงอย่าได้มีความฉิบหายไปเลย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ หรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกไม่พึงได้
    น โสจนาย ปริเทวนาย
    อตฺโถ อิธ ลพฺภติ อปิ อปฺปโกปี
    โสจนฺตเมน° ทุกฺขิต° วิทิตฺวา
    ปจฺจตฺถิกา อตฺตมนา ภวนฺติ
    ยโต จ โข ปณฺฑิโต อาปทาสุ
    น เวธติ อตฺถวินิจฺฉยญฺญู
    ปจฺจตฺถิกาสฺส ทุกฺขิตา
    ภวนฺติ ทิสฺวา มุข° อวิการ° ปุราณ°
    ชปฺเปน มนฺเตน สุภาสิเตน
    อนุปฺปทายน ปเวณิยา วา
    ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถ°
    ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยย
    สเจ ปชาเนยฺย อลพฺภเนยฺโย
    มยา วา อญฺเญน วา เอส อตฺโถ
    อโสจมาโน อธิวาสเยยฺย
    กมฺม° ทฬฺห° กินฺติ กโรมิทานิฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๖๒)
    ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้อันใครๆไม่พึงได้ เพราะการเศร้าโศก เพราะการคร่ำครวญ เมื่อพวกอมิตรทราบว่าเขาเศร้าโศกเป็นทุกข์ย่อมดีใจ คราวใดบัณฑิตผู้พิจารณารู้เนื้อความ ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหมด คราวนั้นพวกอมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปกติของบัณฑิตนั้น ผู้แย้มยิ้มตามเคย ย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆด้วยประการใดๆ เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะกล่าวคำสุภาษิต เพราะการบำเพ็ญทาน หรือเพราะประเพณีของตน ก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆด้วยประการนั้นๆ ถ้าพึงทราบว่า ความต้องการอย่างนี้อันเราหรือผู้อื่นไม่พึงได้แล้วไซร้ ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่ดังนี้


    ฐานะ ๕ ประการที่ทุกคนควรพิจารณาเนืองๆ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ (อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๘๑) ประการนี้อันสตรี บุรุษคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ คือ
    ๑. สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ บรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
    ๒. เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
    ๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
    ๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    ๕. เรามีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย เราทำกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น


    ประโยชน์ที่พิจารณาฐานะ ๕ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ ฐานะ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาว มีอยู่แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาดังนี้แล้วอยู่เนืองๆ เขาย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่ม เป็นสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงควรพิจารณาเนืองๆว่าเรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรค มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรัก มีอยู่แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรค ย่อมละความมัวเมาในชีวิต ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจอะไร จึงควรพิจารณาเนืองๆว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง เราทำกรรมดีก็ตาม กรรมชั่วก็ตาม เราจะต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๘๑)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  12. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    กุลบุตรผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมมีแต่ความความเจริญส่วนเดียวไม่มีเสื่อม

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสแก่มหานามะว่า ธรรม ๕ ประการนี้มีอยู่แก่กุลบุตรผู้ใดแล้วจะเป็นขัตติยราชได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม เป็นผู้ปกครองรัฐ หรือได้รับมรดกจากบิดามารดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ปกครองหมู่บ้านก็ตาม เป็นหัวหน้าพวกก็ตาม เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม กุลบุตรนั้นย่อมได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน

    ๑. ดูก่อนมหานาม กุลบุตรในโลกนี้ย่อมสักการะเคารพนับถือบูชามารดาบิดาด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยันสะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำชอบธรรม ได้มาโดยธรรม มารดาบิดาผู้ได้รับสักการะ เคารพนับถือบูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์แล้วย่อมได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม

    ๒. อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาบุตรภริยาทาส กรรมกร และคนใช้ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยันสะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำชอบธรรม ได้มาโดยธรรม บุตรภริยาทาส กรรมกร และคนใช้ผู้ได้รับสักการะ เคารพนับถือบูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันบุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้อนุเคราะห์แล้วย่อมได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม

    ๓. อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะเพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน เพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานผู้ได้รับสักการะ เคารพนับถือบูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานอนุเคราะห์แล้วย่อมได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม

    ๔. อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาเทวดาผู้รับพลีกรรมด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยันสะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เทวดาผู้รับพลีกรรม ครั้นได้รับสักการะ เคารพนับถือบูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้วย่อมได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม

    ๕. อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาสมณะพราหมณ์ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยันสะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำชอบธรรม ได้มาโดยธรรม สมณะพราหมณ์เมื่อได้รับสักการะ เคารพนับถือบูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันสมณะพราหมณ์อนุเคราะห์แล้วย่อมได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๘๘) แล้วตรัสว่า

    มาตาปิตุกิจฺจกโร...................ปุตฺตทารหิโต สทา
    อนฺโตชนสฺส อตฺถาย..............เย จสส อนุชีวิโน
    อุภินฺนญฺเญว อตฺถาย.............วทญฺญู โหติ สีลวา
    ญาตีน° ปุพฺพเปตาน°.............ทิฏฺเฐ ธมฺเม จ ชีวิต°
    สมณาน° พฺราหฺมณาน°.........เทวตานญฺจ ปณฺฑิโต
    วิตฺติสญฺชนโน โหติ...............ธมฺเมน ฆรมาวส°
    โส กริตฺวาน กลฺยาณ°...........ปุชฺโช โหติ ปส°สิโย
    อิเธว น° ปส°สนฺติ.................เปจฺจ สคฺเค ปโมทติฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๘๙)
    กุลบุตรผู้โอบอ้อมอารี มีศีล ย่อมทำการงานแทนมารดาบิดา บำเพ็ญประโยชน์แก่บุตรภริยา แก่คนภายในครอบครัว แก่ผู้อาศัยเลี้ยงชีพ แก่ชนทั้งสองประเภท กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตเมื่ออยู่ครองเรือนโดยธรรม ย่อมยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ญาติ ทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ทั้งสมณะพราหมณ์ และเทวดา กุลบุตรนั้นครั้นได้บำเพ็ญกัลยาณธรรมนี้แล้วเป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาละโลกนี้ไปแล้วย่อมบันเทิงใจในสวรรค์


    ภิกษุบวชเมื่อแก่หาคุณธรรม ๕ ประการนี้ยาก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ (อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๙๐) ประการนี้หาได้ยาก ธรรม ๕ ประการนี้เป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ที่จะเป็นคนละเอียดนั้นหาได้ยากยิ่ง ๑ เป็นผู้มีมรรยาทสมบูรณ์หาได้ยาก ๑ ที่จะเป็นพหูสูตรก็หาได้ยาก ๑ ที่เป็นธรรมกถึกก็หาได้ยาก ๑ เป็นวินัยธรก็หาได้ยาก ๑

    อีกประการหนึ่ง ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการหาได้ยาก ธรรม ๕ ประการนี้เป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่เป็นผู้ว่าง่าย หาได้ยาก เป็นผู้คงแก่เรียน หาได้ยาก เป็นผู้รับโอวาทด้วยการเคารพ หาได้ยาก เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก เป็นวินัยธร หาได้ยาก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่จักประกอบด้วยธรรม ๕ ประการเหล่านี้หาได้ยาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  13. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ความเจริญ ๕ ประการเป็นสิ่งประเสริฐ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรม อันเป็นเหตุแห่งความเจริญ ๕ ประการได้ชื่อว่า เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุ คือความเจริญอย่างประเสริฐชื่อว่าเป็นผู้ถือสาระ และยึดสิ่งที่ประเสริฐแห่งกาย ธรรมอันเป็นเหตุแห่งความเจริญนั้นเป็นไฉน คือย่อมเจริญด้วยศรัทธา ด้วยศีล สุตตะ จาคะ และปัญญา พระองค์ทรงตรัสว่า

    สทฺธาย สีเลน จ โย ปวฑฺฒติ
    ปญฺญาย จาเคน สุเตน จูภย
    โส ตาทิโส สปฺปุริโส วิจกฺขโณ
    อาทียติ สารมิเธว อตฺตโนฯ(อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๙๑)
    อริยสาวกผู้ใดย่อมเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตตะ จาคะ ปัญญา ทั้งสองฝ่าย อริยสาวกผู้เช่นนั้นเป็นสัปบุรุษ มีปรีชาเห็นประจักษ์ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือเอาสาระแห่งตนในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว


    อิทธิบาทที่เจริญดีแล้วย่อมได้รับผล ๒ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ และภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งย่อมเจริญ ย่อมทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการ ภิกษุ และภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผล หรือเมื่อมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ย่อมเป็นพระอนาคามีในปัจจุบันชาตินี้เทียว ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน คือ

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทะสมาธิ และปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยะสมาธิ และปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยจิตสมาธิ และและปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญวิริยะอย่างยิ่งเป็นที่ ๕

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการนี้แล้วภิกษุ หรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังได้ผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คืออรหัตผล หรือเมื่อมีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ย่อมเป็นพระอนาคามีในปัจจุบันชาตินี้เทียว


    ธรรม ๕ ประการเมื่อเจริญแล้วย่อมยังอาสวะให้สิ้นไป

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย
    ๒. มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล
    ๓. มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง
    ๔. พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
    ๕. เข้าไปตั้งมรณะสัญยาไว้ในภายใน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  14. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ที่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมนั้นอย่างไร

    ครั้งหนึ่งพระภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรม ผู้อยู่ในธรรมดังนี้ ภิกษุที่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ย่อมเรียนธรรมะคือ สุตตะ เคยย เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไปละจากการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม

    ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้วแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละเว้นจากการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจ เพราะการแสดงธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม

    ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละเว้นจากการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม

    ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละเว้นจากการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการตรึกธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม

    ส่วนภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรมะคือ สุตตะ เคยย เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วงไป ไม่ละเว้นจากการหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ในธรรมอย่างนี้แล

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการแสดงธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการสาธยายธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม แสดงภิกษุผู้อยู่ในธรรมด้วยประการฉะนี้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดพระศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลอนุเคระห์ อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้นเราได้ทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งญานอย่าประมาท อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย


    ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ชื่อว่ายังความเสื่อมแก่ชนเป็นอันมาก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฎิบัติในสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ มิใช่เพื่อความสุข เพื่อความฉิบหายแก่คนเป็นอันมาก มิใช่เพื่อความเกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑. ภิกษุผู้เถระเป็นรัตตัญญู บวชนาน
    ๒. เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ทั้งพวกคฤหัสถ์ และบรรพชิต
    ๓. เป็นผู้ได้จีวรบิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานะปัจจัยเภสัชชะบริขาร
    ๔. เป็นพหูสูตรทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับตรับฟังมามาก ทรงจำไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง
    ๕. เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มากให้ห่างเหินจากสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ชนหมู่มากทั้งหลายเหล่านั้นย่อมยึดถือทิฏฐานุคติของเธอว่าเพราะเธอเป็นภิกษุผู้เถระรัตตัญญู บวชนาน ดังนี้บ้าง เพราะเธอเป็นภิกษุผู้เถระมีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เพราะเธอผู้เถระได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานะปัจจัยเภสัชชะ บริขาร ดังนี้บ้าง เพราะเธอเป็นภิกษุผู้เถระ เป็นพหูสูตร ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ ดังนี้บ้าง

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ปฎิบัติเพื่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ มิใช่เพื่อความสุข แต่เพื่อความฉิบหายแก่ตนเป็นอันมาก มิใช่เพื่อเกื้อกูล แต่เกิดทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก


    ทรงตรัสยกย่องพระสารีบุตร

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมที่ตถาคตได้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยชอบเทียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกนี้จักคัดค้านไม่ได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ๑. อตฺถญฺญู พระสารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักผล
    ๒. ธมฺมญฺญู รู้จักเหตุ
    ๓. มตฺตญฺญู รู้จักประมาณ
    ๔. กาลญฺญู รู้จักกาล
    ๕. ปริสญฺญู รู้จักบริษัท

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมที่ตถาคตได้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยชอบทีเดียว ธรรมจักรนั้นย่อมยังจักรอันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกจะคัดค้านไม่ได้


    พระสัทธรรมเสื่อมเพราะเหตุ ๕ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการนั้นเป็นไฉน
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ศึกษาเล่าเรียนธรรมะคือ สุตตะ เคยย เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ
    ๒. ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
    ๓. ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
    ๔. ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร
    ๕. ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ตรึกครอง ไม่เพ่งดูด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อม เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม


    ธรรมที่ระงับความอาฆาตได้มี ๕ ประการ คือ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑. เมื่อความอาฆาตบังเกิดขึ้นแก่บุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น
    ๒. ความอาฆาตบังเกิดขึ้นแก่บุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น
    ๓. ความอาฆาตบังเกิดขึ้นแก่บุคคลใด พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น
    ๔. ความอาฆาตบังเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ไม่พึงนึกถึง ไม่พึงใฝ่ใจในบุคคลนั้น
    ๕. ความอาฆาตบังเกิดขึ้นแก่บุคคลใด พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตนให้มั่นในบุคคลนั้น ว่าท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง เขาทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2013
  15. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ลักษณะคำพูดที่เป็นสุภาษิต

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ (อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๗๗๑) ประการนี้แลเป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาที่ไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน
    ๑. กาเลน จ ภาสิตา โหติ วาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล
    ๒. สจฺจา จ ภาสิตา โหติ เป็นวาจาที่จริงคือกล่าววาจาสัตย์
    ๓. สญฺหา จ ภาสิตา โหติ กล่าววาจาที่อ่อนหวาน
    ๔. อตฺถสญฺหิตา จ ภาสิตา โหติ วาจาที่กล่าวนั้นประกอบด้วยประโยชน์
    ๕. เมตฺตจิตฺเตน จ ภาสิตา โหติ เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต


    ธรรมะสำหรับภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของพวกพรหมจรรย์ ธรรม ๕ (อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๒๙๐) ประการนี้เป็นไฉน คือ
    ๑. เป็นผู้มีศีล มีความสำรวมในปาฏิโมกข์ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเป็นประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
    ๒. เป็นพหูสูตร ทรงไว้ซึ่งสุตตะ สั่งสมสุตตะ เป็นผู้ได้สดับตรับฟังมามาก จำทรงไว้มาก ขึ้นปากคล่องใจ แทงตลอดด้วยดี ด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
    ๓. เป็นผู้มีวาจาไพเราะ กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสรวยไม่มีโทษ ทั้งให้ทราบข้อความได้ชัด
    ๔. เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
    ๕. ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่


    เจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ต้องตกนรก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ (อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ๒๒/๒๙๓) ประการเหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก คือ
    ๑. ไม่ใคร่ครวญให้รอบคอบ ไม่พิจารณาเสียก่อน แล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ
    ๒. ไม่ใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อน ไม่พิจารณาเสียก่อน แล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ
    ๓. ไม่ใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อน ไม่พิจารณาเสียก่อน แล้วกล่าวแสดงความเลื่อมใสให้ปรากฎในที่อันไม่ควรเลื่อมใส
    ๔. ไม่ใคร่ครวญให้รอบคอบเสียก่อน ไม่พิจารณาเสียก่อน แล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฎในที่ควรเลื่อมใส
    ๕. ย่อมยังศรัทธาทัยให้ตกไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2013
  16. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    อนุสติ ๕ ประการ

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสถามพระอุทายีว่า อนุสติมีเท่าไหร่ ครั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสถามเช่นนี้ พระอุทายีไม่สามารถตอบได้ จึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า

    ดูก่อน อานนท์ เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่ แล้วตรัสถามพระอานนท์ต่อไปว่า ดูก่อน อานนท์ อนุสติมีเท่าไร พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสติมี ๕ ประการ ๕ ประการนี้เป็นไฉน คือ
    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติข้อที่ ๑ ซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
    ๒. อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ ตั้งสัญญาว่า เป็นกลางวัน เธอกระทำอาโลกสัญญาว่ากลางวันไว้ในใจฉันใด กลางคืนก็กระทำฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจปลอดโปร่ง อันนิวรณ์ไม่พัวพัน ย่อมเจริญกิจที่มีความสว่างด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ฌานทัสสนะ
    ๓. อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่สะอาดมีประการต่างๆว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเปลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ
    ๔. อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน พองขึ้นมีสีเขียวพราว มีหนองไหลออก เธอย่อมน้อมซึ่งกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า กายนี้แลย่อมเป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ถูกฝูงกา นกตระกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอก หรือสัตว์ปานะชาติต่างๆกำลังกัดกิน เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้
    อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีแต่โครงกระดูก มีเนื้อ และเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีแต่โครงกระดูก ไม่มีเนื้อ และเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีแต่โครงกระดูก ปราศจากเนื้อ และเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเครื่องผูก เรี่ยไรไปตามทิศต่างๆคือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกเอวไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ก็ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้
    อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์ เป็นท่อนกระดูกเรี่ยราดเป็นกองเกินหนึ่งปี เป็นท่อนกระดูกผุ เป็นจุล เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบเทียบอย่างนี้ว่ากายของเรานี้ ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้นไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอ้สมิมานะ
    ๕. อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาให้บริสุทธิ์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุทำให้มากแล้ว อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อแทงตลอด ซึ่งธาตุหลายประการ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสติมี ๕ ประการฉะนี้แล


    พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ดีแล้วๆอานนท์ ถ้าเช่นนั้นเธอจงจำอนุสติข้อที่ ๖ แม้นี้คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่ มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูก่อน อานนท์ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ(อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๓๖๑)

    อนุตตริยะมี ๖ ประการ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อนุตตริยะมี ๖ (อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๓๖๓) ประการนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑. ทัสสนานุตตริยะ
    ๒. สวนานุตตริยะ
    ๓. ลาภานุตตริยะ
    ๔. สิกขานุตตริยะ
    ๕. ปาริจริยานุตตริยะ
    ๖. อนุสสตานุตตริยะ


    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย “ทัสสนานุตตริยะ” เป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทัสสนะเหล่านั้นมีอยู่ เราไม่ได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าทัสสนะเหล่านี้เป็นกิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบเพื่อประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นตถาคต หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยมกว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่นเป็นต้นดังนี้แล เราเรียกว่าทัสสนานุตตริยะ

    ก็ “สวนานุตตริยะ” นั้นเป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมไปเพื่อจะฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง หรือเสียงสูงๆต่ำๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าการฟังนี้เป็นกิจเลว

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังของตถาคต หรือพระสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่นเป็นต้นนี้แล เราเรียกว่าสวนานุตตริยะ ดังนี้

    ก็ “ลาภานุตตริยะ” เป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะ ในพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ลาภเหล่านี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าลาภเหล่านี้เป็นของเลว

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าลาภานุตตริยะ

    ก็ “สิกขานุตตริยะ” เป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ แต่ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้หลงผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การศึกษาอย่างนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่เมื่อการศึกษานี้นั้นเป็นการศึกษาที่เลว

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีล อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าสิกขานุตตริยะ

    ก็ “ปาริจริยานุตตริยะ” เป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้บำรุงกษัตริย์บ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุงคนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะพราหมณ์ผู้เห็นผิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การบำรุงนั้นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าการบำรุงนี้เป็นการบำรุงที่เลว

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้เราเรียกว่าปาริจริยานุตตริยะ

    ก็ “อนุสสตานุตตริยะ” เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ได้ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือทางได้มากบ้างน้อยบ้าง ระลึกถึงสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การระลึกนี้มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่ว่าการระลึกเช่นนี้เป็นกิจอันเลว

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว คือความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอนุสสตานุตตริยะ

    ทสฺสนานุตฺตริย° ลทฺธา.........สวนญฺจ อนุตฺตร°
    ลาภานุตฺตริย° ลทฺธา............สิกฺขานุตฺตริเย รตา
    อุปฏฺฐิตา ปาริจริเย...............ภาวยนฺติ อนุสฺสติ
    วิเวกปฏิสญฺฺญุตฺต°.................เขม° อมตคามินิ°
    อปฺปมาเท ปมุทิตา...............นิปกา สีลส°วุตา
    เตเว กาเลน ปจฺจนฺติ.............ยตฺถ ทุกฺข° นิรุชฺญติ°ฯ(อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๓๖๘)
    ภิกษุเหล่าใดได้ทัสสนานุสตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ ยินดีในสิกขานุตตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง เจริญอนุสติที่ประกอบด้วยวิเวกเป็นแดนเกษม ให้ถึงอมตธรรมผู้บันเทิงในความไม่ประมาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล ภิกษุเหล่านั้นแลย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์โดยกาลอันสมควร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2013
  17. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ความจนเป็นทุกข์ของผู้บริโภคกาม

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนจนเป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ย่อมกู้ยืมแม้การกู้ยืมนั้นก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้ดอกเบี้ย แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้รับใช้ดอกเบี้ย แต่ไม่รับใช้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ถูกเจ้าหนี้ทวงแล้วไม่ให้ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน เพราะไม่ให้ทรัพย์ ทั้งหลายย่อมจองจำเขา แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้ความเป็นคนจนก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก การกู้ยืมนั้นก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ด้วยประการฉะนี้(อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๘๙๕)

    ความเป็นคนจน และการกู้ยืมเรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก คนจนกู้ยืมเลี้ยงชีวิตย่อมเดือดร้อน เจ้าหนื้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา เพราะไม่ใช้หนี้นั้น เขาย่อมเข้าถึงแม้การจองจำ การจองจำนั้นเป็นทุกข์ของคนทั้งหลายผู้ปรารถนาการได้กาม

    ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ย่อมดำริว่าคนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา พอกพูนบาปกรรมในที่นั้นๆอยู่บ่อยๆด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เราตถาคตย่อมกล่าวว่าเป็นทุกข์เหมือนอย่างนั้น เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่ว่าเป็นคนจน มีหนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือดร้อน ลำดับนั้นความดำริที่มีในใจ ความเป็นทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเดือดร้อนของเขา และย่อมติดตามเขาไปแม้ที่บ้านหรือที่ป่า เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่ ย่อมเข้าถึงกำเนิดเดรัจฉานบางอย่าง หรือถูกจองจำในนรก ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้ บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใสให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาโดยชอบธรรม ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสอง ของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน ถือประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพการบริจาคของคฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้นย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา และสำรวมในศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้นั้นแลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข

    ในวินัยของพระอริยเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิสยังอุเบกขาในจตุถฌานให้ดำรงมั่น และนิวรณ์ ๕ ประการเป็นผู้ปรารถนาความเพียรอยู่เป็นนิจ บรรลุฌานทั้งหลาย มีเอกกัคคตาจิตปรากฎ มีปัญญารักษาตัว มีสติ จิตของเขาย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะทราบเหตุในนิพพาน เป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงตามความเป็นจริง เพราะไม่ถือมั่นในประการทั้งปวง หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ คงที่อยู่ในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบแล้วไซร้ ญาณนั้นแลเป็นญาณชั้นเยี่ยม ญาณนั้นเป็นสุข ไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า ญาณนั้นไม่มีโศก หมดความมัวหมอง เป็นญาณเกษมสูงสุดกว่าความไม่มีหนี้


    พระขีณาสพย่อมมไม่นำตนเข้าไปเปรียบเทียบ

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    นุ อุสฺเสสุ น โอเสสุ.........สมตฺเถ โนปนิยฺยเร
    ขีณา สญฺชาติ..................พฺรหฺมจริย จรนฺติ(อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๔๐๒)
    พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า ไม่น้อมตนเข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน เพราะมีชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ประพฤติเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์


    ภิกษุสนทนาอภิธรรมกัน

    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี

    เตน โข ปน สม เยน สมฺพหุลา เถรา ภิกฺขุ ปจฺฉาภตฺต° ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา มณฺฑลมาเฬ สนฺนิสินฺนา สนฺนิปติตา อภิธมฺมกถ° กเถนฺติฯ (มีบางท่านไม่ได้ค้นคว้าทั้งในพระสูตร และพระอภิธรรมพระวินัย เข้าใจผิดไปว่าอภิธรรมมิใช่พุทธพจน์ ความจริงนั้นอภิธรรมเป็นพุทธพจน์ ตามหลักฐานที่มานี้แสดงให้เห็นแล้วว่า การศึกษาอภิธรรมนั้นในสมัยพุทธกาลได้ศึกษากันมากทีเดียว ๒๒/๔๓๙)

    ในสมัยนั้น ภิกษุผู้เถระหลายรูปกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตร นั่งประชุมสนทนาอภิธรรมกถากันอยู่ที่โรงกลม ลำดับนั้นในที่ประชุมนั้น ท่านพระจิตตะหัตถิสารีบุตร เมื่อภิกษุผู้เถระกำลังสนทนาอภิธรรมกถากันอยู่ก็พูดสอดขึ้นในระหว่างนั้น ลำดับนั้นท่านมหาโกฏิฐิตะได้กล่าวกะท่านฐิตะ ได้กล่าวกะท่านจิตตะหัตถิสารีบุตรว่า ท่านพระจิตตะหัตถิสารีบุตรเมื่อภิกษุผู้เถระกล่าวสนทนาอภิธรรมกถากันอยู่ ท่านอย่าเพิ่งพูดสอดขึ้นในระหว่าง ขอให้ท่านจงรอคอยจนกว่าภิกษุผู้เถระสนทนากันให้จบเสียก่อน


    บุคคลผู้ประกอบกรรม ๖ ประการย่อมไม่ได้บรรลุมรรคผล

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยกรรม ๖ ประการ ถึงแม้จะฟังธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเห็นชอบในกุศลทั้งหลาย กรรม ๖ ประการนั้นเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่ามารดา ๑ เป็นผู้ฆ่าบิดา ๑ ฆ่าพระอรหันต์ ๑ ยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วยจิตประทุษร้าย ๑ เป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม ใบ้ บ้าน้ำลาย ๑

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยกรรม ๖ ประการ ถึงแม้ฟังธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเห็นชอบในกุศลทั้งหลาย(อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๔๘๗)


    ของที่หาได้ยากในโลก ๖ อย่าง

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฎขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการ เป็นของหาได้ยากในโลก คือ
    ๑. ตถาคตสฺส อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปาตุภาโว ทุลฺลโภ โลกสฺมิ° ความปรากฎขึ้นแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นของหาได้ยากในโลก
    ๒. ตถาคตปฺปเวทิตสฺส ธมฺมวินยสฺส เทเสตา ปุคฺคโล ทุลฺฺลโภ โลกสฺมิ° บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นของหาได้ยากในโลก
    ๓. อริยายตเน ปจฺจาชาโต ทุลฺลโภ โลกสฺมิ° ความเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศที่มีพระอริยเจ้า เป็นของหาได้ยากในโลก
    ๔. อินฺทฺริยาน° อเวกลฺวตา ทุลฺลโภ โลกสฺมิ° ความเป็นผู้มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เป็นของหาได้ยากในโลก
    ๕. อชฬตา อเนฬมูคตา ทุลฺลโภ โลกสฺมิ° ความไม่เป็นใบ้บ้าน้ำลาย เป็นของหาได้ยากในโลก
    ๖. กุสลธมฺมจฺฉนฺโท ทุลฺลโภ โลกสฺมิ° ความพอใจในกุศลธรรม เป็นของหาได้ยากในโลก
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรากฎขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการนี้แลเป็นของหาได้ยากในโลก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2013
  18. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมีอานิสงส์ ๖ ประการ คือ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ (อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๔๙๐) ประการ คือ
    ๑. สทฺธมฺมนิยโต โหติ บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้แน่นอนในพระสัทธรรม
    ๒. อปริหานธมฺโม โหติ ย่อมเป็นผู้มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา
    ๓. ปริยนฺตกตสฺส ทุกฺข° โหติ เขาผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว ย่อมไม่มีทุกข์ต่อไป
    ๔. อสาธารเณน ญาณเน สมนฺนาคโต โหติ เป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ
    ๕. เหตุจสฺส สุทิฏโฐ เขาเห็นเหตุแล้วด้วยดี
    ๖. เหตุสมปปนฺนา จ ธมฺมา และเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแก่เหตุด้วยดี

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล


    อานิสงส์ผู้ยังอนิจจสัญญาให้ปรากฎ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ (อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๔๙๓) ประการ ย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเหตุจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญาให้ปรากฎ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ
    ๑. ภิกษุพิจารณาเห็นว่า สังขารทั้งปวงจักปรากฎโดยความเป็นของมั่นคง
    ๒. ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง
    ๓. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง
    ๔. ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน
    ๕. สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงกาละได้
    ๖. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญธรรมชั้นเยี่ยม


    อานิสงส์ของผู้ยังทุกข์สัญญาให้ปรากฎ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ (อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๔๘๑) ประการเป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเหตุจำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วยังทุกข์สัญญาให้ปรากฎ อานิสงส์ ๖ ประการนั้นเป็นไฉน คือ
    ๑. ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า นิพพานะ สัญญาในสังขารทั้งปวงจะปรากฎแก่เราเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นอยู่
    ๒. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง
    ๓. เราจักเป็นผู้มีปกติเห็นสันติในพระนิพพาน
    ๔. อนุสัยของเราจักถึงการเพิกถอน
    ๕. เราจักเป็นผู้กระทำตามหน้าที่
    ๖. เราจักบำรุงพระศาสดาด้วยความบำรุงอันประกอบด้วยเมตตา


    อานิสงส์ผู้ยังอนัตตสัญญาให้ปรากฎ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ (อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๔๘๑) ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อให้กระทำเหตุจำกัดในธรรมทั้งปวง แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฎ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ
    ๑. ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า เราเป็นผู้ไม่มีตัณหา และทิฏฐิในโลกทั้งปวง
    ๒. ทิฏฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัวว่าเรา และของเราจักดับไป
    ๓. ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือตัวว่าของเราๆจักดับไป
    ๔. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ
    ๕. เราจักถึงเหตุด้วยดี
    ๖. เราจักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแก่เหตุด้วยดี

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อให้กระทำเหตุจำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฎ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2013
  19. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตผลโดยลำดับ

    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ครัสแก่พระอานนท์เถระว่า

    อานนฺท กุสลานิ สีลานิ อวิปฺปฏิสารตฺถานิ อวิปฺปฏิสารานิ ส°สานิ อวิปฺปฎิสาโร ปามุชฺชตฺโถ ปามุชฺชานิส°โส ปามุชฺช° ปีตตฺถ° ปีตานิส°ส° ปีติ ปสฺสทฺธตฺถา ปสฺสทฺธานิส°สาปสฺสทฺธิ สุขตฺถา สุขานิส°สาสุข° สมาธตฺถ° สมาธิ ยถาภูตญาณทสฺสนตฺโถ ยถาภูตญาณทสฺสนาพิส°โส ยถาภูตญาณทสฺส สมาธานิส°ส°น° นิพฺพิทาวิราคตฺถ นิพฺพิทาวิราคานิส°ส° นิพฺพิทาวิราโค วิมุตฺติญาณทสฺสนตฺโถ วิมุตฺติญาณทสฺสนานิส°โส(อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ๒๒/๔๘๑)

    ดูก่อน อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปฏิสารเป็นผล มีอวิปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีประโยชน์เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปิติเป็นผล มีปิติเป็นอานิสงส์ ปิติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุติญาณทัสสนทัสสนเป็นผล มีวิมุติญาณทัสสนทัสสนเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้

    อิติ โข อานนฺท กุสลานิ สีลานิ อนุปุพฺเพน อรหตฺตาย ปูเรนฺติ
    ดูก่อน อานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตผลโดยลำดับด้วยประการฉะนี้แล


    ตรัสถึงเรื่องกาม

    กาม° กามยมานสฺส..........ตสฺส เจ ต สมิชฺฌติ
    อทฺธา ปิติมโน โหติ.........ลทฺธา มจฺโจ ยทิจฺฉติฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๑)
    เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นสำเร็จแก่สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้วย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน

    ตสฺส เจ กามยมานสฺส......ฉนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน
    เต กามา ปริหายนฺติ.........สลฺลวิทฺโธว รูปฺปติฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๔)
    เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงเข้าฉะนั้น

    โย กาเม ปริวชฺเชติ..........สปฺปสฺเสว ปทา สิโร
    โสม° วิสตฺติก° โลเก........สโต สมติวตฺตติฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๖)
    ผู้ใดย่อมเว้นขาดจากกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัญหาอันชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลกเสียได้


    นักปราชญ์ย่อมเป็นผู้ฉลาดในการใช้ทรัพย์

    โจรา หรนฺติ ราชาโน.......อคฺคิ ฑหติ นสฺสติ
    อโถ อนฺเตน ชหติ...........สรีร° สปริคฺคห°
    เอตทญฺญา ย เมธาวี.......ภุญฺเชถ จ ทเทถ จ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๕)
    ทตฺวา จ ภูตฺวา จ ยถานุภาว°
    อนินฺทิโต สคฺคมุเปติ ฐาน°ฯ
    โภคทรัพย์ทั้งหลายถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบไป ถูกไฟไหม้เสียหาย อนึ่งบุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อมละทิ้งสรีระกาย กับทั้งข้าวของเพราะความตาย นักปราชญ์ทราบเหตุนี้แล้วพึงใช้สอยบ้าง พึงให้ทานบ้าง ครั้นให้ทานแล้วใช้สอยตามสมควรแล้วย่อมไม่เป็นผู้ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสัคคะสถานคือสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2013
  20. บรรพชนทวา

    บรรพชนทวา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    2,025
    ค่าพลัง:
    +167
    มลทินภายในจิต

    อนตฺถชนโน โลโภ..................โลโภ จิตฺตปฺปโกปโน
    ภยมนฺตรโต ชาต°....................ต° ชโน นาวพุชฺฌติ
    ลุทฺโธ อตฺถ° น ขานาติ............ลุทฺโธ ธมฺม° น ปสฺสติ
    อนฺธตม° ตทา โหติ..................ย° โลโภ สหเต นร°
    อนตฺถชนโน โทโส..................โทโส จิตฺตปฺปโกปโน
    ภยมนฺตรโต ชาต°....................ต° ชโน นาวพุชฺฌติ
    กุทฺโธ อตฺถ° น ขานาติ.............กุทฺโธ ธมฺม° น ปสฺสติ
    อนฺธตม° ตทา โหติ..................ย° โลโภ สหเต นร°
    อนตฺถชนโน โมโห...................โมโห จิตฺตปฺปโกปโน
    ภยมนฺตรโต ชาต°....................ต° ชโน นาวพุชฺฌติ
    มูโฬฺห อตฺถ° น ขานาติ.............มูโฬฺห ธมฺม° น ปสฺสติ
    อนฺธตม° ตทา โหติ...................ย° โมโห สหเต นรนฺติฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๑๘)
    โลภะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ โลภะยังจิตให้กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นภายใน แต่คนพาลย่อมไม่รู้สึกในภัยนั้น คนผู้มีความโลภแล้วย่อมไม่รู้จักอัฏฐ คนมีความโลภแล้วย่อมไม่เห็นธรรม ความโลภครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดย่อมเกิดขึ้นแก่นรชนนั้นเมื่อนั้นความโกรธยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด ความโกรธยังขิตให้กำเริบ ความโกรธเป็นภัยเกิดขึ้นภายใน คนพาลย่อมไม่รู้สึกในภัยนั้น คนผู้ถูกความโกรธเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รู้จัก คนผู้เกิดความโกรธขึ้นแล้ว ย่อมไม่เป็นธรรม ความโกรธเกิดขึ้นครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดย่อมเกิดขึ้นครอบงำนรชนเมื่อนั้น โมหะยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้น โมหะยังจิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นภายใน แต่คนพาลย่อมไม่รู้สึกในภัยนั้น คนผู้หลงแล้วย่อมไม่รู้จักอรรถ คนผู้หลงแล้วย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำนรชนเมื่อใด ความมืดย่อมครอบงำนรชนนั้นเมื่อนั้น


    ธรรมที่เป็นอันตราย

    โลโภ โทโส จ โมโห จ............ปุริส° ปาปเจตส°
    หิ°สนฺติ อตฺตสมฺภูตา.................ตจสาร°ว สมฺผล°ฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๑๘)
    โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัดบุรุษผู้มีจิตลามกเหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ฉะนั้น


    กิเลสมีอัตภาพเป็นเหตุให้เกิด

    ราโค จ โทโส จ อิโตนิทานา
    อารตี รติ โลมห°โส อิโต ชาโต
    อิโต สมฺฏฺฐาย มโนวิตกฺกา
    กุมารกา ธงฺกมิโวสฺสชฺชนฺติฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๑๙)
    ราคะ และโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดในอัตภาพนี้ ไม่ยินดีในกุศล ยินดีแต่กามสุข ทำให้ขนลุก บาปวิตกในใจตั้งขึ้นแก่อัตภาพนี้ผูกจิตไว้ เหมือนพวกเด็กผูกกาที่ข้อเท้าฉะนั้น


    กิเลสเหมือนน้ำที่ไหลเข้าเรือ

    อพลา น° พลียนฺติ...................มทฺทนฺเต น° ปริสฺสยา
    ตโต น° ทุกฺฺขมเนฺฺวติ................นาว° ภินฺฺนมิโวทก°ฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๒๑)
    เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไปเหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่แตกแล้วฉะนั้น

    ตสฺมา ชนฺตุ สทา สโต.............กามานิ ปริวชฺชเย
    เต ปหาย ตเร โอฆ°.................นาว° สิตฺวาว ปารคูฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๒๑)
    เพราะเหตุนั้นสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงเว้นขาดจากกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดจากกามเหล่านั้นแล้ว จึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่งฉะนั้น


    พระขีณาสพไม่มีภพใหม่

    ตสฺสาย ปจฺฉิมโก ภโว..............จริโมย° สมุสฺสโย
    ชาติมรณส°สาโร......................นตฺถิ ตสฺส ปุนพฺภโวฯ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๒๕)
    พระขีณาสพนั้นมีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นที่หลัง มิได้มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่อีก


    กามทำให้นรชนไกลจากวิเวก

    สตฺโต คุหาย° พหุนาภิฉนฺโน
    ติฏฺฐ° นโร โมหนสฺมิ° ปคาโฬฺห
    ทูเร วิเวกา หิ ตถาวิโธ โส
    กามา หิ โลเก น หิ สปฺปหายาติ(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๓๓)
    นรชนเป็นผู้ข้องอยู่ในถ้ำ เป็นผู้อันกิเลสมากปิดบังไว้แล้ว นรชนนั้นเมื่อตั้งอยู่ก็หยั่งลงในที่หลง นรชนเช่นนั้นย่อมอยู่ไกลจากวิเวก ก็เพราะกามทั้งหลายในโลกไม่เป็นของอันนรชนละได้โดยง่าย

    อิจฺฉานิทานา.............................ภวสาตพุทฺธา
    เต ทุปฺปมุญฺจา...........................น หิ อญฺญโมกฺขา
    ปจฺฉา ปุเร..................................วาปิ อเปกฺขมานา
    อิเมว กาเม................................ปุริเมว ชปฺป°(ขุททกนิกาย มหานิเทส ๒๙/๓๓)
    สัตว์เหล่านั้นผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา มุ่งหวังอยู่ในเบื้องหลังบ้างในเบื้องหน้าบ้าง ปรารถนาอยู่เช่นกามเหล่านี้ หรือกามที่มีในก่อน เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...