พระสงฆ์ทําผิดศีลสังฆาธิเสสเเล้วไม่ได้ไปปลงอาบัติปราวาสกรรม สึกออกมาเเล้วอยากกลับไปเเก้ไขอดีตที่ผิดพลาดตอนบวช เคยเรียนถามเว๊ปหลวงพ่อจรัญมีผู้ให้คําตอบว่าถ้าพระจะขอหลวงพ่อจรัญไปปลงอาบัติปราวาสกรรมท่านจะไล่ให้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านๆในที่นี้มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ
พระสงฆ์ทําผิดศีลสังฆาธิเสสเเล้วไม่ได้ไปปลงอาบัติ
ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Kon Surin, 5 ธันวาคม 2012.
-
ผู้เห็นภัย said: ↑ขึ้นชื่อว่าเกิดเป็นคนแล้ว ไม่มีใครที่จะไม่ทำความชั่ว ไม่มีหรอกนะครับ มีทั้งดี และชั่วปะปนกัน ศาสนาพุทธเรา มีเหตุ มีผล อยู่กับข้อเท็จจริง
ก่อนสิ้นลมก็สำคัญ กำลังใจ เกาะด้านดี ก็ไปรับผลของความดี ที่ทำไว้ แต่ถ้า
กำลังใจเศร้าหมอง นึกถึงความไม่ดีที่ตนทำไว้ ก็ต้องไปรับผล ของความชั่วที่
ตัวเองได้กระทำไว้ และอาบัติ ก็แปลว่า บาป หรือความชั่วเช่นนั่นเอง อนันตริยกรรม คือกรรมที่หนัก ปิดสวรรค์ ปิดนิพพาน ตายไปต้องชดไช้ก่อน มีห้าประการ ด้วยกัน ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสไว้
คือ 1 ทำไห้พระพุทธเจ้าทรงพระโลหิต (ห้อเลือด) ดูเทวทัตเป็นตัวอย่าง 2 ฆ่าพระอรหันต์
3
ฆ่าพ่อ 4 ฆ่าแม่ 5 ทำสังฆเพส (ยุยงไห้สงฆ์แตกเป็นฝักเป็นฝ่าย) อันนี้ปิดสวรรค์ นิพาพาน อันนี้เป็นกฏ ตายไปต้องชดไช้ก่อน ความผิด ความชั่วอย่างอื่นไม่เกี่ยว ขึ้นอยู่ที่เจ้าตัว แต่ละคนนะ ปราชิกก็รอดนะ พระท่านบอกไห้สึก
และมาถือศีลห้าสะ เพราะศีลห้าเป็นศีลของคนธรรมดา ถือได้ไม่ขาดแล้ว
กำลังของกุศล ความดี ต่ำกว่าเพศบรรชิต
เราเป็นฆราวาส เป็นคนธรรมดา มีศีลห้ารองรับ ไม่ไช่ศิล227ข้อรองรับ ถ้าทำได้
กำลังใจรักษาไว้ได้ และพยายามทรงกำลังใจในด้านความดีไว้ในใจ ก็มีโอกาส
รอดจากนรกได้ เช่นกัน คนที่ไม่ได้บวช แต่ทำความชั่ว ตายไปก็ต้องรับผล
ของความชั่ว คราวนี้ คนที่ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ถ้าอยากจะกลับไปบวชเป็น
พระ คืออยากเป็นพระ ยังเป็นไม่ได้ เพราะอาบัติ ยังค้างคาอยู่ ความพระเป็นไม่
มี คือต้องบวชเป็นเณรเข้าไปก่อน (อันนี้ พระผู้รู้ท่านไห้ความรู้ไว้แบบนี้นะครับ
บวชป็นพระเลยไม่ได้ครับ) แล้วก็แสดงอาบัติ เสร็จแล้ว ก็ไปอยู่ปริวาสกรรมไห้
ครบตามที่ตัวเองปกปิดมานานแค่ไหน พออยู่ครบแล้วก็จะมีการสวดญัตติ ก็คือ
การบวชพระใหม่นั่นเอง สถานที่ปริวาสกรรม จะมีพระที่ทำหน้าที่สวดญัตติ
ประจำอยู่ครับ เทวดา หรือพหรม ที่พวกท่านอยู่กัน อย่างมีความสุข ทุกคน ทุก
องค์ ก็มีกรรมชั่วติดตัว กันนะครับ พหรมบางองค์ หมดบุญจากพหรมแทนที่ จะมา
เกิดเป็นมนุษย์กลับพุ่งหลาวลง นรกไปเลยก็มี อันนี้ไห้ไว้โดยย่อๆนะครับ อ่าน
ดีๆนะครับ แล้วลองพิจรณาตามเหตุ และผล โชคดีมีชัยครับClick to expand...
ลองพิจารณาดูครับ -
ทรงให้ถือธรรมวินัยเป็นศาสดาต่อไป
( ใช้ธรรมวินัย ไม่ใช้ตัวบุคคล )
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า
“ธรรม วินัย ของพวกเรา
มีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว
พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี
ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย
ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี
ใครก็ตามจักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา
ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล
- มหาปรินิพพาน สูตร มหา.ที. 10/159/128
ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม... -
จะพึงรักษาศีลได้ครบ 227 ข้อได้นั้น ต้องมี...
สติ+ปัญญา เท่านั้นรักษาศีลได้ครบ..ฉันใด
ศีลก็จะพึงรักษาผู้ปฏิบัติได้..ฉันนั้น
จาก...ประสบการณ์ผู้บวชในสายปฏิบัติ หลวงปู่ชา สุภัทโท
ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม... -
Kon Surin said: ↑พระสงฆ์ทําผิดศีลสังฆาธิเสสเเล้วไม่ได้ไปปลงอาบัติปราวาสกรรม สึกออกมาเเล้วอยากกลับไปเเก้ไขอดีตที่ผิดพลาดตอนบวช เคยเรียนถามเว๊ปหลวงพ่อจรัญมีผู้ให้คําตอบว่าถ้าพระจะขอหลวงพ่อจรัญไปปลงอาบัติปราวาสกรรมท่านจะไล่ให้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านๆในที่นี้มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับClick to expand...
-
แล้วถ้าทำสังฆาธิเสสสึกออกมาแล้วยังไม่แก้ เป็นฆราวาสเป้นอะไรหรือเปล่า ปฎิบัติธรรมได้มั้ยครับ บาปยังติดตัวป่าวครับ
-
อาบัติ
คำว่า อาบัติ มาจากภาษาบาลีว่า อาปตติ หมายถึง “การทำผิดทางวินัยของพระสงฆ์” พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยแก่พระภิกษุสงฆ์ไว้เป็นสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ ให้พระภิกษุปฏิบัติเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อการปฏิบัติธรรม ขจัดอาสวะกิเลสตามที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ หากภิกษุละเมิดวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็เรียกว่า อาบัติ หรือต้องอาบัติ เมื่อวินัยมีจำนวนมากดังนี้ ในบางครั้งพระภิกษุจึงอาจเผลอเรอ กระทำผิดไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จึงได้ทรงบัญญัติวิธีแก้ความผิดนั้น คนทำผิดต้องรับโทษตามความผิดเพื่อจะได้รู้สำนึกและไม่กระทำผิดอีกต่อไป เมื่อความผิดมีความหนักเบาต่างกัน โทษก็ต้องหนักเบาต่างกันไปด้วย
อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ
อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.ครุกาบัติ หมายถึงอาบัติหนัก อาบัติที่มีโทษร้ายแรง มี 2 อย่างคือ อาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส
2.ลหุกาบัติ หมายถึงอาบัติเบา อาบัติที่ไม่มีโทษร้ายแรงเท่าครุกาบัติ มี 5 อย่าง คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฎ อาบัติทุพภาสิต
การทำผิดทางวินัยหรืออาบัติของพระภิกษุสงฆ์ จำแนกตามหมวดหมู่ได้ดังนี้
อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่ละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ
๑.เสพเมถุน
๒.ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง
๓.ฆ่ามนุษย์ให้ตาย
๔.อวดอุตริมนุสธรรม
(รายละเอียดจะกล่าวในตอนต่อไป)
อาบัติขั้นรองลงมา คือ สังฆาทิเสส หมายถึงความผิดในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวน ๑๓ ข้อ เช่น มีความกำหนัดอยู่แล้วจับต้องกายหญิง เป็นสื่อชักให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นต้น ภิกษุผู้กระทำผิดเรียกว่า ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษระดับกลาง ต้องรับโทษ “อยู่กรรมทรมานตน” จึงจะพ้นอาบัติ การอยู่กรรมทรมานตน คือ การอยู่ในที่สงบในช่วงเวลาหนึ่ง สำรวมกายใจ ใคร่ครวญพิจารณาโทษของตนแล้วตั้งใจไม่กระทำความผิดเช่นนั้นอีก
อาบัติขั้นรองลงไป คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มีจำนวน ๓๐ ข้อ ปาจิตตีย์ มีจำนวน ๙๒ ข้อ เป็นโทษเบา เรียกชื่อเช่นเดียวกับความผิดนั้นเช่นเดียวกัน คือ ผิดขั้นนิสัคคิยปาจิตตีย์ ก็เรียกว่าต้องอาบัตินิสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติขั้นต่ำลงไปเป็นโทษเบา คือ ปาฏิเทสนียะ มีจำนวน ๔ ข้อ การปฏิบัติผิดเสขิยวัตรข้อใดข้อหนึ่งใน ๗๕ ข้อ จัดเป็นโทษเบา ผู้ที่ทำผิดโทษเบาจะต้องแสดงความผิดของตนต่อคณะสงฆ์
อนิยต มีจำนวน ๒ ข้อ เป็นความผิดที่ไม่กระจ่างชัด ว่าควรจัดเป็นโทษระดับใด จึงต้องมีการไต่สวนและพิจารณากำหนดขั้นโทษตามพยานหลักฐาน
อธิกรณสมถะ มีจำนวน ๗ ข้อ เป็นวิธีการพิจารณาว่าจะตัดสินความผิดนั้นหรือไม่อย่างไร เช่น ตัดสินตามเสียงข้างมาก การประนอมยอมความ เป็นต้น
ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์
เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอาบัติ ก็ถือกันว่าภิกษุรูปนั้นไม่บริสุทธิ์ จะไม่สามารถลงโบสถ์ร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุอื่นๆ ได้ จะต้องแก้อาบัติให้ตนกลับมีความบริสุทธิ์เสียก่อน การไม่กระทำความผิดข้อใดๆ ก็คือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัด นั่นเอง
การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัด เฉพาะเพื่อสำนึกผิด ยกจนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้ -
ปาราชิก
คำว่า ปาราชิก สันนิษฐานว่าแปลว่า “ผู้แพ้” อาจหมายถึง “ผู้แพ้แก่วิถีชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา” ปาราชิกเป็นอาบัติขั้นที่ร้ายแรงที่สุด ภิกษุไม่ว่ารูปใด ถ้าหากอาบัติถึงขั้นปาราชิกแล้วจะสิ้นสภาพการเป็นภิกษุทันที แม้ว่าจะยังครองผ้าเหลืองหรือปฏิบัติตนอย่างภิกษุอื่นๆ อยู่ก็ตาม ภิกษุที่รู้ตนเองว่าอาบัติปาราชิกแล้วสามารถลาสิกขาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างฆราวาสทั่วไปได้ แต่หากยังคงดื้อครองผ้าเหลืองหลอกให้ผู้คนกราบไหว้อยู่อีก ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
อาบัติปาราชิกมี ๔ ประการ ได้แก่ การเสพเมถุน การลักทรัพย์ การฆ่ามนุษย์ และการอวดอัตริมนุสธรรม
๑. การเสพเมถุน คือ การร่วมประกอบกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำกับผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือกระทำกับสัตว์ก็ตาม ปาราชิกข้อการเสพเมถุน บางทีก็เรียกกันว่า ปฐมปาราชิก แปลว่า “ปาราชิกข้อแรก”
๒. การลักทรัพย์ คือ การนำทรัพย์ของผู้อื่นไปเป็นของตนโดยเจตนา ในเมืองไทยกำหนดว่า การลักทรัพย์มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป เป็นการผิดหรือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก การเจตนาแอบอ้างความคิดหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการเบียดบังเอาเงินในกองทุนที่มีผู้ศรัทธาถวายเป็นทานเพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ หรือกิจของศาสนามาใช้ส่วนตัว ก็ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิกเช่นกัน
๓. การฆ่ามนุษย์ คือ การเจตนาทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ไม่ว่าจะลงมือฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าให้ก็ตาม ถือเป็นความผิดปาราชิกข้อที่ ๓ ทั้งสิ้น
๔. การอวดอุตริมนุสธรรม คือ การพูดอวดผู้อื่นว่าตนได้บรรลุธรรมะระดับสูง เช่น บรรลุโสดาบัน บรรลุอรหันต์ เป็นต้น
อุตริมนุสธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะทำ/) หรือ อุตริมนุษยธรรม (/อุดตะหริมะนุดสะยะทำ/) แปลว่า ธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ หรือ ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง ได้แก่ คุณวิเศษซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สมารถมีหรือเป็นได้ มิใช่วิสัยของมนุษย์ทั่วไป แต่เป็นวิสัยของผู้บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว
อุตริมนุสธรรมหมายถึงฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค และผล
การที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ ตนได้บรรลุวิโมกข์ ได้สมาธิ สมารถเข้าสมาบัติได้ หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้ เรียกว่า อวดอุตริมนุสธรรม
ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้เรียกผู้ที่ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลง ๆ ที่คนทั่วไปเขาไม่ทำกันว่า "อวดอุตริ" หรือ "อุตริ" เฉย ๆ
อาบัติปาราชิก หากผิดแม้แต่เพียงข้อเดียวก็ถือว่าภิกษุผู้อาบัติสิ้นสภาพการเป็นภิกษุแล้ว แม้จะไม่มีใครล่วงรู้หรือจับได้ก็ตาม การกราบไหว้บูชาภิกษุที่อาบัติปาราชิก นอกจากจะไม่เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังผิดมงคลที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่ว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชาอีกด้วย
http://gigcomputer.net/board/index.php?topic=172.0 -
Kon Surin said: ↑พระสงฆ์ทําผิดศีลสังฆาธิเสสเเล้วไม่ได้ไปปลงอาบัติปราวาสกรรม สึกออกมาเเล้วอยากกลับไปเเก้ไขอดีตที่ผิดพลาดตอนบวช เคยเรียนถามเว๊ปหลวงพ่อจรัญมีผู้ให้คําตอบว่าถ้าพระจะขอหลวงพ่อจรัญไปปลงอาบัติปราวาสกรรมท่านจะไล่ให้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านๆในที่นี้มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับClick to expand...
สิ่งที่หลวงพ่อจรัญท่านแนะนำสั่งสอนนั้นถูกต้องแล้วครับ
เพราะถึงแม้จะไปอยู่ปริวาสกรรม ก็ใช่ว่าจะรอดจากอบายภูมิได้100%
ดังนั้นการที่หลวงพ่อจรัญท่านให้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็เพื่อยกระดับจิตเข้าสู่ความเป็นพระอริยะเจ้า เพราะมีแต่พระอริยะเจ้าเท่านั้น ที่จะสามารถปิดอบายภูมิได้ 100 %
หรือ อย่างน้อยถ้าสามารถทรงฌานได้ เวลาตายก็ไปเกิดเป็นพรหม สามารถหนีนรกได้เหมือนกัน
พอไปอยู่ข้างบนแล้วก็ไปฟังพระพุทธเจ้าท่านเทศน์จบเดียวก็เป็นพระอริยะเจ้าแล้ว ก็ปิดอบายภูมิได้เช่นกัน