พระอภิธรรมเล่ม ๓ เอกกนิทเทส

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 16 เมษายน 2011.

  1. Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    36-036 [FONT=&quot]เอกกนิทเทส[/FONT][FONT=&quot]
    [/FONT]
    [FONT=&quot][/FONT]
    [FONT=&quot][MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=61938[/MUSIC][/FONT]​

    [FONT=&quot]ที่มาไฟล์[/FONT][FONT=&quot]เสียง ทดลองอ่าน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมเล่ม ๓ - Buddhism Audio
    [/FONT]

    <CENTER>เอกกนิทเทส
    </CENTER> [๑๗] บุคคลผู้พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ในกาลโดยกาล
    ในสมัยโดยสมัย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะบางอย่างของบุคคลนั้น
    หมดสิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้พ้นแล้วในสมัย
    [๑๘] บุคคลผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ในกาลโดยกาล
    ในสมัยโดยสมัย สำเร็จอิริยาบถอยู่ อนึ่ง อาสวะทั้งหลายของบุคคลนั้น หมด
    สิ้นแล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่าผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย พระอริย-
    *บุคคลแม้ทั้งปวง ชื่อว่าผู้มิใช่พ้นแล้วในสมัย ในวิโมกข์ ส่วนที่เป็นอริยะ
    [๑๙] บุคคลผู้มีธรรมอันกำเริบ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
    สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ตามปรารถนา มิใช่เป็นผู้ได้
    โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด
    ในที่ใด นานเท่าใด ตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่แล ที่สมาบัติเหล่านั้น
    จะพึงกำเริบได้ เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มี
    ธรรมอันกำเริบ
    [๒๐] บุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
    สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตามต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก
    เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใดในที่ใด นานเท่าใด
    ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาสที่สมาบัติเหล่านั้นจะพึงกำเริบ
    เพราะอาศัยความประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ
    พระอริยบุคคลแม้ทั้งหมดชื่อว่าผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ ในวิโมกข์ส่วนที่เป็นอริยะ
    [๒๑] บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
    สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น มิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้โดย
    ไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่
    ใด นานเท่าใดตามปรารถนา ข้อนี้ก็เป็นฐานะอยู่แล ที่บุคคลนั้น จะพึงเสื่อม
    จากสมาบัติเหล่านั้นได้ เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรม
    อันเสื่อม
    [๒๒] บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌาน หรือ
    สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้นเป็นผู้ได้ตามต้องการ เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก
    เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นานเท่าใด
    ตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาสที่บุคคลนั้นจะพึงเสื่อมจากสมาบัติ
    เหล่านั้น เพราะอาศัยความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม
    พระอริยบุคคลแม้ทั้งปวงเป็นผู้มีธรรมอันไม่เสื่อมในวิโมกข์ส่วนที่เป็นอริยะ
    [๒๓] บุคคลผู้ควรโดยเจตนา เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสรหคตด้วยรูปฌาน หรือ
    สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้นมิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่ได้โดยไม่ยาก
    มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด นาน
    เท่าใดได้ตามปรารถนา หากว่าคอยใส่ใจอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น
    หากไม่เอาใจใส่ก็เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ควรโดยเจตนา
    [๒๔] บุคคลผู้ควรโดยการตามรักษา เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสรหคตด้วยรูปฌาน หรือ
    สรหคตด้วยอรูปฌาน และบุคคลนั้นแลมิใช่เป็นผู้ได้ตามต้องการ มิใช่เป็นผู้ได้
    โดยไม่ยาก มิใช่เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก ไม่สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด
    ในที่ใด นานเท่าใดได้ตามปรารถนา หากว่าคอยรักษาอยู่ ย่อมไม่เสื่อมจาก
    สมาบัติเหล่านั้น หากว่าไม่คอยรักษาก็เสื่อมจากสมาบัติเหล่านั้น บุคคลนี้เรียกว่า
    ผู้ควรโดยการตามรักษา
    [๒๕] บุคคลที่เป็นปุถุชน เป็นไฉน
    สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละไม่ได้ ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อละธรรมเหล่านั้น
    บุคคลนี้เรียกว่า ปุถุชน
    [๒๖] โคตรภูบุคคล เป็นไฉน
    ความย่างลงสู่อริยธรรมในลำดับแห่งธรรมเหล่าใด บุคคลผู้ประกอบ
    ด้วยธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า โคตรภูบุคคล
    [๒๗] บุคคลผู้งดเว้นเพราะกลัว เป็นไฉน
    พระเสขะ ๗ จำพวก และบุคคลปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่าผู้งดเว้นเพราะ
    กลัว พระอรหันต์ชื่อว่ามิใช่ผู้งดเว้นเพราะกลัว
    [๒๘] บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน
    บุคคลที่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบ
    ด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่
    ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ไม่ควร
    แก่การบรรลุมรรคผล
    [๒๙] บุคคลผู้ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน
    บุคคลที่ไม่ประกอบด้วยกัมมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่
    ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ไม่โง่เขลา เป็นผู้ควร
    เพื่อหยั่งลงสู่นิยามอันถูกในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้เรียกว่า ผู้ควรแก่
    การบรรลุมรรคผล
    [๓๐] บุคคลผู้เที่ยงแล้ว เป็นไฉน
    บุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม ๕ จำพวก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ และ
    พระอริยบุคคล ๘ ชื่อว่า ผู้เที่ยงแล้ว บุคคลนอกนั้นชื่อว่า ผู้ไม่เที่ยง
    [๓๑] บุคคลผู้ปฏิบัติ เป็นไฉน
    บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ ชื่อว่าผู้ปฏิบัติ บุคคลผู้พร้อมเพรียง
    ด้วยผล ๔ ชื่อว่าผู้ตั้งอยู่แล้วในผล
    [๓๒] บุคคลชื่อว่าสมสีสี เป็นไฉน
    การสิ้นไปแห่งอาสวะ และการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคลใด มีไม่ก่อน
    ไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียกว่า สมสีสี
    [๓๓] บุคคลชื่อว่าฐิตกัปปี เป็นไฉน
    บุคคลนี้พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และเวลาที่กัลป์
    ไหม้จะพึงมี กัลป์ก็ไม่พึงไหม้ตราบเท่าที่บุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
    บุคคลนี้เรียกว่า ฐิตกัปปี บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรคแม้ทั้งหมด ชื่อว่า
    เป็นผู้มีกัลป์ตั้งอยู่แล้ว
    [๓๔] บุคคลเป็นอริยะ เป็นไฉน
    พระอริยบุคคล ๘ เป็นอริยะ บุคคลนอกนั้น ไม่ใช่อริยะ
    [๓๕] บุคคลเป็นเสขะ เป็นไฉน
    บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๔ พร้อมเพรียงด้วยมรรค ๓ เป็นเสขะ
    พระอรหันต์เป็นอเสขะ บุคคลนอกนั้น เป็นเสขะก็มิใช่ เป็นอเสขะก็มิใช่
    [๓๖] บุคคลผู้มีวิชชา ๓ เป็นไฉน
    บุคคลประกอบด้วยวิชชา ๓ ชื่อว่าผู้มีวิชชา ๓
    [๓๗] บุคคลผู้มีอภิญญา ๖ เป็นไฉน
    บุคคลประกอบด้วยอภิญญา ๖ ชื่อว่าผู้มีอภิญญา ๖
    [๓๘] บุคคลเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งสัจจะด้วยตนเองใน
    ธรรมทั้งหลาย ที่ตนมิได้เคยสดับมาแล้วในก่อน บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู
    ในธรรมนั้น และบรรลุความเป็นผู้มีความชำนาญในธรรมเป็นกำลังทั้งหลาย
    บุคคลนี้เรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธะ
    [๓๙] บุคคลเป็นพระปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมตรัสรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลายด้วยตนเอง ใน
    ธรรมทั้งหลายที่ตนไม่ได้สดับมาแล้วในก่อน แต่มิได้บรรลุความเป็นพระสัพพัญญู
    ในธรรมนั้น ทั้งไม่ถึงความเป็นผู้ชำนาญในธรรมอันเป็นกำลังทั้งหลาย บุคคล
    นี้เรียกว่า พระปัจเจกพุทธะ
    [๔๐] บุคคลชื่อว่า อุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จ
    อิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียก
    ว่า อุภโตภาควิมุต
    [๔๑] บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุต เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จ
    อิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
    เรียกว่า ปัญญาวิมุต
    [๔๒] บุคคลชื่อว่ากายสักขี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จ
    อิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
    บุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี
    [๔๓] บุคคลชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม
    รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
    นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
    อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดี
    แล้วด้วยปัญญา อนึ่งอาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
    บุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ
    [๔๔] บุคคลชื่อว่าสัทธาวิมุต เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อม
    รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า
    นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
    อนึ่งธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว
    ด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
    แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่าสัทธาวิมุต
    [๔๕] บุคคลชื่อว่าธัมมานุสารี เป็นไฉน
    ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมี
    ประมาณยิ่ง บุคคลนั้นย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญา
    เป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อ
    ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า
    ทิฏฐิปัตตะ
    [๔๖] บุคคลชื่อว่าสัทธานุสารี เป็นไฉน
    สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี
    ประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีสัทธาเป็นเครื่องนำมา มีสัทธาเป็นประธานให้
    เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารีบุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
    ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่าสัทธาวิมุต
    [๔๗] บุคคลชื่อว่าสัตตักขัตตุปรมะ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เป็น
    โสดาบัน มีอันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ในเบื้อง
    หน้า บุคคลนั้นจะแล่นไปท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ๗ ชาติ แล้วทำที่
    สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมะ
    [๔๘] บุคคลชื่อว่าโกลังโกละ เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ เป็น
    โสดาบัน มีอันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะได้ตรัสรู้ในเบื้อง
    หน้า บุคคลนั้นจะแล่นไปท่องเที่ยวไปสู่ตระกูลสองหรือสาม แล้วทำที่สุดทุกข์
    ได้ บุคคลนี้เรียกว่า โกลังโกละ
    [๔๙] บุคคลชื่อว่าเอกพิชี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓ มี
    อันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคล
    นั้นเกิดในภพมนุษย์อีกครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า
    เอกพิชี
    [๕๐] บุคคลชื่อว่าสกทาคามี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง ๓
    เพราะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง เป็นสกทาคามี ยังจะมาสู่โลกนี้
    คราวเดียวเท่านั้น แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่าสกทาคามี
    [๕๑] บุคคลชื่อว่าอนาคามี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
    ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอัน
    ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า อนาคามี
    [๕๒] บุคคลชื่อว่าอันตราปรินิพพายี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญ-
    *โญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มี
    อันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น
    เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน ในระยะเวลาติดต่อกับที่เกิดบ้าง ยังไม่ถึง
    ท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อันตราปรินิพพายี
    [๕๓] บุคคลชื่อว่าอุปหัจจปริพพายี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญ-
    *โญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น
    มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น เพื่อ
    ละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน เมื่อล่วงพ้นท่ามกลางกำหนดอายุบ้าง เมื่อใกล้จะ
    ทำกาลกิริยาบ้าง บุคคลนี้เรียกว่า อุปหัจจปรินิพพายี
    [๕๔] บุคคลชื่อว่าอสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
    ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่
    กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้นย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้นโดยไม่ลำบาก
    เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อสังขารปรินิพพายี
    [๕๕] บุคคลชื่อว่าสสังขารปรินิพพายี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบ แห่งโอรัมภาคิยสัญ-
    *โญชน์ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น
    มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น ย่อมยังอริยมรรคให้เกิดขึ้น
    โดยลำบาก เพื่อละสัญโญชน์อันมีในเบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า สสังขารปรินิพพายี
    [๕๖] บุคคลชื่อว่าอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์
    ทั้ง ๕ มีกำเนิดเป็นอุปปาติกะ ปรินิพพานในเทวโลกชั้นสุทธาวาสนั้น มีอันไม่
    กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนั้น จุติจากอวิหาไปอตัปปา จุติจากอตัปปา
    ไปสุทัสสา จุติจากสุทัสสาไปสุทัสสี จุติจากสุทัสสีไปอกนิฏฐา ย่อมยังอริยมรรค
    ให้เกิดขึ้นในอกนิฏฐา เพื่อละสัญโญชน์เบื้องบน บุคคลนี้เรียกว่า อุทธังโสโตอก
    นิฏฐคามี
    [๕๗] บุคคลชื่อว่าโสดาบัน ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
    โสดาปัตติผล เป็นไฉน
    บุคคลผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อละสัญโญชน์ ๓ ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง
    โสดาปัตติผล สัญโญชน์ ๓ อันบุคคลใดละได้แล้ว บุคคลนั้นเรียกว่าโสดาบัน
    บุคคลปฏิบัติแล้วเพื่อความเบาบางแห่งกามราคะและพยาบาท ปฏิบัติ
    แล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล เพราะราคะและพยาบาทของบุคคลใดเบาบาง
    แล้ว บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี
    บุคคลปฏิบัติแล้วเพื่อละไม่ให้เหลือ ซึ่งกามราคะและพยาบาท ปฏิบัติ
    แล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล กามราคะและพยาบาทอันบุคคลใดละได้หมด
    ไม่มีเหลือ บุคคลนั้นเรียกว่า อนาคามี
    บุคคลปฏิบัติแล้ว เพื่อไม่ให้เหลือซึ่งรูปราคะ อรูปราคะ มานะ
    อุทธัจจะ และอวิชชา ปฏิบัติแล้วเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล รูปราคะ อรูปราคะ
    มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อันบุคคลใดละได้หมดไม่มีเหลือ บุคคลนี้เรียกว่าอรหันต์

    <CENTER>เอกกนิทเทส จบ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>ที่มาเนื้อหา
     
  2. Siranya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    2,051
    ค่าพลัง:
    +9,004

    กราบอนุโมทนาสาธุคะ
    <!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้