พระเมตตาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พัฒนาตน, 8 กรกฎาคม 2008.

  1. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    [​IMG]

    ท่านภิกษุสามเณรทั้งหลายและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทผู้รับฟัง วันนี้ก็มาฟังเรื่องในสมัยที่ผมเป็น คนบ้า และก็วันที่พูดเก็บเสียงไว้เป็น วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๒๗ เผื่อว่าผมตายไปแล้วจะได้ทราบว่าผมพูดไว้ตั้งแต่เมื่อไร
    ความจริงเรื่องผมเป็นคนบ้านี่ผมเป็นมาหลายปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ ความบ้าของผมมาระงับลงเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายอยากจะถามว่าทำไมจึงบ้า แต่ความจริงผมรู้สึกตัวว่าผมยังไม่ได้บ้า แต่ว่าถ้าจะบ้าก็ใช่เหมือนกัน ที่ว่าใช่ก็เพราะว่าอารมณ์ไม่เหมือนคนอื่น
    ตามธรรมดาถ้าเราเข้าวงเหล้าไปนั่งกับคนที่เขากินเหล้าด้วย ถ้าเราไม่กินเหล้าเขาหาว่า "เราบ้า"
    เขาเล่นการพนัน ถ้าเราไม่เล่นการพนันกับเขา เขาก็หาว่า "เราบ้า"
    ทีนี้ถ้าเข้าวงพระ ถ้าพระท่านเอาแต่ตำราอย่างเดียว และก็ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมดาคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าซึ่งไม่มีความรู้เหมือนเขา เขาก็หาว่า "เราบ้า"
    แต่สำหรับความบ้าของผมไม่ใช่แต่ว่าพระจะให้บ้า มันเป็นทั้งพระ ทั้งประชาชนหลายคนด้วยกันที่เขาให้บ้า

    ความก็มีอยู่ว่า เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ปีนั้นหล่อรูปหลวงพ่อปาน ที่วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ท่านหญิงภาวดี คือ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี ท่านได้ทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราขินีนาถให้ทรงมาเททอง และตามธรรมดาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเสด็จไปไหน สิ่งมหัศจรรย์ที่เราไม่คิดจะปรากฏขึ้นเสมอ นั่นคือฝนตก อากาศปกติธรรมดา ๆ ก็ไม่น่าจะมีฝนตก ก็มีฝนตกลงมาแต่เวลาที่ฝนตก ฝนไม่ทำความเสียหายให้แก่งานเลย ทุกคนกลับมีความชุ่มชื่น เพราะเวลานั้นเป็นฤดูร้อนมาก คือ เดือนเมษายน แต่ว่าพอเวลาใกล้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จมาถึงจริง ๆ ฝนก็หายหมด ปรากฏว่าคนทุกคนได้รับความชื่นใจเป็นพิเศษ
    อาการอย่างนี้บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรและญาติโยมพุทธบริษัทที่รับฟังโปรดทราบ จะคิดว่าฝนตกเป็นเรื่องธรรมดาของดินฟ้าอากาศ อันนี้ไม่จริงแน่ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าพิสูจน์แล้วเวลาพวกเรา ๆ มากันเอง พระมากันตั้งเยอะแยะ ทำไมฝนไม่ตก และก็ฤดูนั้นก็ไม่ใช่ฤดูฝน ก่อนหน้าที่ฝนจะตกก็ไม่มีทีท่าเลยว่าฝนจะตก
    (สำหรับวันนี้ได้ยินเสียงกระแหร่มแอมไอ ขากเสมหะบ้างก็ต้องขออภัยเพราะยังป่วยอยู่มาก ตอนเช้าเดินโซซัดโซเซ ถึงเวลาบ่ายโมงอาการยังไม่ค่อยดีขึ้นมาตอนนี้ก็รู้สึกว่าใจสั่นระริก แต่ว่าเพื่อธรรมะผมก็ทำ ทำเพื่อช่วยการปฏิบัติของบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร ฉะนั้นถ้าหากว่าเสียงจะแหบแห้งไปบ้าง การขากเสมหะจะปรากฏขึ้นก็ต้องขออภัย)
    เป็นอันว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ และมีพระบรมราชินีนาถเสด็จด้วย การเททองปรากฏขึ้น ต่อมาก็มีโอกาสได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระอุโบสถ พระองค์ก็ตรัสถามหลาย ๆ อย่าง
    แต่ว่าพวกคุณทั้งหลายโปรดทราบไว้ด้วยนะ การจะคุยกับคนก็ต้องดูว่าคนประเภทนั้นเป็นอะไร นี่ผมไม่ได้หมายความว่าพระองค์เป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยโดยเฉพาะ ผมหมายถึงว่าท่านผู้จะคุยกับเราเป็นผู้ทรงธรรมหรือเปล่า
    สำหรับพระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ผมทราบมาดีว่า พระองค์ทรงธรรมดีเลิศ ผมก็ไม่เคยเห็นใครปฏิบัติได้ดีอย่างพระองค์
    ถ้าจะถามว่า เอาผมเข้าไปเปรียบเทียบ อย่าเลยครับ อย่าเข้าไปเปรียบเทียบกับท่าน พระกับฆราวาสเปรียบเทียบกันไม่ได้ พระมีภารกิจน้อยกว่าฆราวาส ฆราวาสมีภารกิจมากกว่าพระ เพราะต้องทำมาหากิน พระนี่มีชีวิตอยู่เพราะอาศัยฆราวาสเลี้ยงโดยตรง
    ข้อนี้ขอบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทุกท่านจงอย่าลืม ถ้าลืมข้อนี้กลายเป็นคนอกตัญญู ไม่รู้คุณคน ความดีของพวกเราจะหมด ไม่ปรากฏว่าเป็นคนมีความดี เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า

    "นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา" ซึ่งแปลเป็นใจความว่า
    "ความเป็นผู้มีความกตัญญูรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้ว (คือท่านช่วยเราแล้วท่านสงเคราะห์เราแล้ว) และเราก็ตอบสนองท่านด้วยความดี พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นคนดี"
    ถ้าเราขาดความกตัญญูรู้คุณท่านผู้มีคุณ ในเมื่อพระพุทธเจ้าไม่ทรงยกย่องว่าเป็นคนดี เราก็เป็นคนเลว ฉะนั้นขอท่านทั้งหลาย จงอย่าลืมความดีของท่านที่สงเคราะห์
    แต่สำหรับฆราวาสก็ต้องดูเหมือนกัน ท่านส่งเสริมเรา ท่านสงเคราะห์เราหรือท่านทำลายเรา สำหรับท่านที่ทำลายเราเราก็เฉย ๆ อย่าไปโกรธท่าน อย่าไปว่าท่าน ให้ถือว่าอาการอย่างนั้นมันเป็นกฎของกรรม ในเมื่อกรรมชั่วช้าไปสนองใจของท่าน เข้าไปครอบใจ ท่านผู้นั้นก็จะทำความดีอะไรไม่ได้เลย ใครเขาทำดีเห็นเป็นชั่ว ใครเขาทำชั่วเห็นเป็นดี ตัวเองก็ชอบประพฤติชั่ว ชอบเบียดเบียนคนอื่นอยู่เป็นปกติ นี่เป็นลักษณะของอกุศลกรรมครอบงำจิต
    แต่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ อย่าลืมว่า พระองค์ทรงธรรมดีมาก จะเห็นว่าการปฏิบัติของพระองค์ การเสด็จไปเยื่ยมเยียนบรรดาประชาชนทั้งหลาย ความจริงพระองค์ไม่ได้เสด็จไปเยี่ยมเฉย ๆ ไม่ใช่ไปถามอย่างโน้นไปถามอย่างนี้แล้วก็กลับ ไม่ใช่อย่างนั้น อย่างนั้นก็ยังถือว่าดี แต่ว่าดีไม่มาก แต่ว่าที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย ใครเขาขาดแคลนน้ำหาทางให้มีน้ำขึ้น ใครเขามีความอดอยากหาทางให้มีฐานะดีขึ้น ทรงห่วงใยประชาชนเป็นอย่างเลิศ อันนี้จะต้องคิดว่าความดีอย่างน้อยที่สุด คำว่า "ความดีอย่างน้อย" นะ พระองค์ต้องทรงคุณธรรม ๔ ประการครบถ้วนเป็นอันดับแรก นั่นคือ "สังคหวัตถุ ๔" ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สังคหวัตถุ ๔ ประการนี่ เป็นปัจจัยให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในท้องที่ที่เราอยู่ ถ้าสามารถปฏิบัติได้ทั้งโลก โลกก็จะมีความสุข
    สังคหวัตถุ ๔ ก็คือ
    ๑. ทาน การให้ การยื่นโยน การให้แกงบ้าง ให้ข้าวบ้าง ให้ของใช้บ้าง ตามกำลังที่เราจะพึงสงเคราะห์ เขาอดเราให้ เขาไม่มีเราให้ ถ้าเราไม่มี เราอด เขาก็ให้เหมือนกัน ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า
    "ปูชา ละภะเต ปูชัง" ผู้บูชาเขาย่อมได้การบูชาตอบ
    "วันทโก ปฏิวันทนัง" เราไหว้เขา เราก็ได้ไหว้ตอบ
    คำว่า "บูชา" หมายถึง "การยอมรับนับถือ" ไม่ใช่หมายถึงการจุดธูปเทียนบูชากัน ไม่ใช่อย่างนั้น ยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน ไม่เหยียดหยามไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ยอมรับสิทธิซึ่งกันและกัน ๑. ไม่คิดประทุษร้ายร่างกายเขา
    ๒. ไม่อยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาโดยไม่ชอบธรรม
    ๓. ไม่ยื้อแย่งคนรัก
    ๔. ไม่พูดปด ไม่พูดคำหยาบ
    ๕. ไม่พูดส่อเสียด ยุยงส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน
    ๖. ไม่พูดวาจาที่ไร้ประโยชน์
    ๗. ไม่ดื่มสุราเมรัย
    ๘. ไม่อยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นใดมาโดยไม่ชอบธรรม
    ๙. ไม่คิดประทุษร้ายใคร
    ๑๐. ทำความเห็นให้ถูก
    คือรวมความว่าถ้าอาการทั้งหมดนี้ทรงตัว โลกก็มีความสุข ทีนี้ปัจจัยส่วนหนึ่งที่เราเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ก็เป็นเหตุให้มีความดี ความชอบ ต่างคนต่างรักกัน ต่างคนต่างถนอมน้ำใจกัน และต่างคนต่างเป็นมิตรกัน ต่างคนต่างดีเข้าหากัน มันก็มีความดี เขาขาดแคลนเราให้ เราขาดแคลนเขาให้ ต่างคนต่างรักกัน
    ๒. ปิยวาจา วาจาที่น่ารัก ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความสุขกายสุขใจเหมือนกัน ต่างคนก็ต่างรักกัน ๓. อัตถจริยา การช่วยเหลือในการงานของบุคคลอื่น ที่เขาขาเแคลนการงาน อันนี้ก็เป็นปัจจัยให้รักกัน
    ๔. สมานัตตา การไม่ถือตัวถือตน อันนี้ก็ปัจจัยให้เกิดความรัก
    รวมความว่าอันดับแรก ความดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันดับแรกนี่สังคหวัตถุ ๔ ประการ พระองค์ทรงครบถ้วน เป็นความดีเบื้องต้นที่เราจะพึงเห็น


    ต่อไปก็เป็นความดีอันดับที่สอง นี่ผมไม่ได้จัดเรียงลำดับตามธรรมะนะ อันดับที่สองนี่ผมแปลกใจในพระองค์ ผมก็ต้องถือว่าผมสู้พระองค์ไม่ได้ เพราะว่าพระองค์มีภารกิจมาก ทำได้อย่างนั้น ผมทำยาก นั่นก็คือ ไม่ทรงนินทาใคร ไม่ทรงตำหนิใครว่าเลว
    ผมได้มีโอกาสได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหลายครั้ง ก็ต้องบอกว่าหลายครั้งไม่เคยทรงตำหนิใครเลย อันนี้ แหม...เป็นเรื่องหนักที่คนอื่นทำได้ยากจริง ๆ และการถือพระองค์ว่าพระองค์เป็นอะไร พระองค์ก็ไม่มี เข้าไปหาใครก็ตามทรงถือว่าเป็นกันเองอยู่เสมอ จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเวลาเสด็จเยี่ยมประชาชนพระองค์ก็ทรงนั่งใกล้ ๆ เขา คุยกันแบบธรรมดา ๆ กับปู่ย่าตายายทั้งหลาย และบรรดาพสกนิการทั้งหลาย ท่านคุยตามปกติ บางครั้ง ผมเห็นท่านนั่งพับเพียบคุยกับบรรดาคุณยายทั้งหลาย นี่การไม่ถือตัวไม่ถือตนของพระองค์นี่ดีเยี่ยม
    แต่ว่าครั้งหนึ่งพระองค์ตรัสกับผมเองว่า "กิเลสหยาบที่มีความชั่วมากก็คือมานะ การถือตัวถือตน" พระองค์ทรงถือว่าการถือตัวถือตนเป็นความหยาบของอารมณ์ เป็นความหยาบของจิต เป็นกิเลสที่หยาบมาก อันนี้จริงและก็ไม่ทรงถือพระองค์จริง ๆ
    ผมเคยพบข้าราชการผู้ใหญ่หรือเศรษฐี ข้าราชการผู้ใหญ่จริง ท่านก็ไม่ถือตัว แต่เท่าที่ผมพบนะข้าราชการผู้ใหญ่ ข้าราชการผู้น้อยส่วนใหญ่จริง ๆ ท่านไม่ถือตัวสำหรับผม แต่ว่ามีบางจุดท่านกลายเป็นภูใหญ่ไป วางท่าซะมองหน้าไม่ไหวเลย เต๊ะท่า บางทีพูดน้ำลายเขาเรียกว่าไม่มีหางเสียง ภาษาชาวบ้านผมนึกไม่ค่อยออก คือพูดห้วน ๆ สะบัด ๆ ส่วนมากมักจะเป็นขุนนางผู้น้อย วางตัวเกินพอดี ผมเห็นแล้วผมก็สลดใจ

    อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นก็คือ ทรงจิตเป็นฌานสมาบัติได้ดีเป็นเลิศ ผมขอสรรเสริญพระองค์ ความจริงการสรรเสริญของผมนี่ก็คงไม่มีผลตอบสนองเป็นวัตถุ ทั้งนี้เพราะผมไม่ต้องการด้านวัตถุ ผมต้องการอย่างเดียวคือพูดตามความเป็นจริง อย่าลืมนะว่าผมพูดเรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเรื่องเล็กน้อยจริง ๆ ถ้าไปเทียบกับความดีของพระองค์ล่ะพรรณนากันไม่ไหว ส่วนสำคัญคือกำลังใจของพระองค์ในการเจริญสมาธิ สามารถเข้าฌานออกฌานได้ตามเวลา สำหรับด้านวิปัสสนาญาณนั่น ท่านทำถึงไหนผมไม่ทราบ ก็เป็นเรื่องความสะอาดของจิต แต่ผมมีความมั่นใจว่าพระองค์มีความสะอาดของจิตมากเหลือเกิน ยากที่จะพูดพรรณนาได้
    และก็มีคนเขาชอบถามว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระอริยเจ้า ไหม? หรือว่าเป็นพระโพธิสัตว์?
    อันนี้ผมก็ไม่รู้กำลังใจของพระองค์เหมือนกัน แต่ว่าถ้าดูด้านพระราชจริยาวัตรของพระองค์แล้ว จริยาวัตรของพระองค์แสดงออกชัดว่าเป็นพระจริยาของพระโพธิสัตว์ แต่ผมก็ไม่ยืนยันนะครับ เพราะผมไม่ใช่พระพุทธเจ้า อันนี้เป็นการสังเกตของผมเอง
    ก็รวมความว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความดีขนาดนี้ ไม่ดีแต่จริยาที่ประพฤติภายนอกแถมดีภายใน ภายในดีมากเสียด้วย ด้านจิตใจน่ะดีมากครับอย่าประมาทท่านนะ ในบรรดาเพื่อนของผมที่ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ถ้าเห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาหรือไปไหนก็ตาม จงอย่าคิดว่าท่านเป็นฆราวาสธรรมดา ความจริงท่านก็เป็นฆราวาส ท่านไม่ได้นุ่งสบงจีวร แต่กำลังใจและอารมณ์จิตของพระองค์นี่สะอาดมาก บางทีพวกห่มผ้าสบงจีวรหลาย ๆ ท่านไม่สามารถจะทำความดีได้แค่หนึ่งในร้อยของพระองค์ก็มีมาก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าผมเป็นนักบวช ผมย่อมรู้ในจริยาของนักบวช นักบวชที่ดีท่านก็มีมาก ที่เลวไม่เอาไหนเลยท่านก็มีมาก


    ก็รวมความแล้วว่าวันนั้นผมจะต้องเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นวาระแรก ที่เสด็จมาถึงวัดท่าซุง ก่อนนี้ก็ไม่เคยเฝ้า ถ้าผมจำไม่ผิด ผมไม่ได้จดไว้นะ อาจจะเป็นวันที่ ๒๐ เมษายน ก็ได้ ก็รวมความว่าก่อนที่จะเข้าพบกับพระองค์ผมทำอย่างไร อันนี้กำลังใจด้านแรก ขอแนะนำแก่บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรที่มีกำลังใจไม่เข้มแข็งอย่างผม ผมก็ทราบว่าถ้าพบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตามลำพัง ทว่าตามลำพังหมายความว่าไม่ใช่กลุ่มคนมาก ไม่ใช่อยู่องค์เดียว แต่ว่าเป็นส่วนน้อย ตอนนั้นก็ต้องคิดว่าพระองค์เป็นใคร สำหรับกำลังใจของผมมีความรู้สึกเหมือนกับนิยายที่เขาเขียนกัน เขาว่า "ประเทศเมื่อถึงคราวทุกข์ยากลำบากยากแค้น จะต้องมีพระราชาทรงธรรม ที่เรียกว่า ธรรมมิกราช หรือ ธรรมมิกราชา มาสงเคราะห์"


    ความจริง "ธรรมมิกราช" ก็ดี "ธรรมมิกราชา" ก็ดี ไม่มีอะไร ถ้าแปลเป็นภาษาไทย เขาจริง "พระราชาผู้ทรงธรรม" ถ้าเรียกธรรมมิกราชขึ้นมา โอ้โฮ..ใหญ่โตเหลือเกิน ความจริงก็ใหญ่ คนที่ทรงไว้ซึ่งความดีเราจะถือว่าเล็กไม่ได้ เขาจะมีฐานะเช่นใดก็ตาม ถ้ามีความดีเราก็ต้องบูชาความดีของท่านผู้นั้น
    สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนี่ผมไม่สงสัย ที่ไม่สงสัยใครจะว่าอย่างไรก็ช่าง เพราะในยุคนั้นเขาหาว่าผมเป็นคนบ้าอยู่แล้วนี่ ผมก็ต้องบ้าคิดตามอารมณ์ของผม ผมคิดว่าวันนี้เราจะไปพบกับพระราชาผู้ทรงธรรม หรือเรียกตามภาษาบาลีว่า "ธรรมมิกราช" และถ้อยคำของพระองค์ที่ตรัสออกมาต้องประกอบไปด้วยธรรม และสำหรับผมเองก็ไม่ได้เฟื่องฟูในธรรม ไม่ใช่เป็นผู้มีความรู้รอบคอบทุกสิ่งทุกอย่างที่บรรดาท่านมีความรู้อยู่ผมจะทำอย่างไร ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถามอะไรขึ้นมาแล้ว ผมตอบไม่ได้ คำว่าผมตอบไม่ได้ผมเองก็ไม่ได้อายพระองค์ เพราะว่าผมเองก็ไม่ใช่สัพพัญญู ไม่รู้ทั้งหมด ผมสามารถจะตอบได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ได้
    แต่ก็คิดในใจว่าถ้าอะไรบ้างที่ไม่เกินความสามารถของเราและก็ไม่เกินความสามารถของผู้สงเคราะห์ผมอยู่นะ (ท่านผู้สงเคราะห์ผมอยู่นี่เป็นท่านที่พวกท่านเคยเห็น แต่ก็ไม่ปรากฏเป็นร่างเนื้อหรือหนังให้ปรากฏ) ผมคิดว่าผมควรจะตอบได้ทุกอย่างที่พระองค์ตรัสถาม ทั้งนี้ผมจะไม่ใช้เฉพาะปัญญาของผม ผมจะขอพึ่งบารมีท่านผู้ทรงคุณวิเศษ ฉะนั้นเวลาที่จะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระอุโบสถ ในโบสถ์วัดท่าซุงก็ได้อาราธนาบารมีของทุก ๆ พระองค์ที่สงเคราะห์ "ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถามอะไรขึ้นมา ก็ขอให้ตอบได้ตรงตามความเป็นจริง"
    วันนั้นมีโอกาสอยู่กับท่าน คือท่านสนทนาด้วยตามเวลาที่เจ้าหน้าที่เขาบอกมา เขาบอกว่าพระองค์ทรงใช้เวลา ๔๕ นาที ซึ่งมีใครเขาบอกมาก็ไม่ทราบว่า พระองค์จะทรงพบได้แค่ ๑๕ นาที ผมคิดว่าคนอย่างผมนี่มีวาสนาบารมีต่ำต้องอย่างนี้ ถ้าจะมีโอกาสอยู่กับพระเจ้าอยู่หัวเพียงแค่ครึ่งวินาทีนี่ผมก็ชื่นใจ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียวของประเทศไทย คือประเทศไทยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งละ ๑ องค์ และคนไทยเวลานั้นถึง ๔๕ ล้านคน ก็ยากที่จะเข้าไปใกล้ แต่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์นี้แปลกกว่าองค์อื่นทั้งหมด ซึ่งมีประชาชนได้มีโอกาสเข้าใกล้พระองค์ได้มากที่สุด ในดินแดนต่าง ๆ ที่พระองค์เสด็จและเสด็จไปเข้านั่งใกล้คน มีโอกาสจะพูดโอภาปราศรัย พูดด้วยเสมอ อันนี้เป็นของหายาก แต่ถึงกระนั้นก็ดีคนทุกคนก็จะทำอย่างนั้นได้ยาก ถ้าจะหาทุกคนไม่ได้ตั้ง ๔๕ ล้านคน เวลานั้นและถ้าผมมีโอกาสสักครึ่งวินาทีผมก็จะชื่นใจว่าใน ๔๕ ล้านคน ผมก็คนหนึ่งที่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระราชาผู้ทรงธรรม
    คำว่าพระราชาผู้ทรงธรรม อย่าคิดว่าผมยกย่องพระองค์เกินความเป็นจริงนะ ผมบอกแล้วนี่ อันดับต้น สังคหวัตถุ ๔ ของพระองค์ครบถ้วน ขั้นสุดท้ายกำลังใจสูงส่งในด้านสมถะวิปัสสนาและขันติ กำลังใจเมตตาของพระองค์ทรงดีมาก ใครว่าอะไรก็ตาม นินทาอะไรก็ตาม ไม่ทรงโต้ตอบ และก็ไม่เคยตำหนิใครว่าชั่ว อันนี้หาได้ยาก ถ้ามากไปกว่านี้ ผมคิดว่าเทปอีกสัก ๑๐๐ ม้วน ผมพูดเรื่องของท่านไม่จบก็รวมความว่าวันนั้นเข้าไป พระองค์ทรงแสดงชัดไม่เคยถือพระองค์ และผมเองก็เป็นพระป่าพระดง ราชาศัพท์ผมก็ใช้กับเขาไม่เป็น ไม่รู้ว่าพระเขาพูดกับพระเจ้าแผ่นดินว่าอย่างไร ผมก็เล่นลูกทุ่งตามปกติของผม ท่านถามมาผมก็ตอบไป ท่านถามมาผมก็ตอบไป ผมจำไม่ได้ว่าท่านถามเรื่องอะไรบ้าง มาในช่วงหลังพอจะนึกออก ท่านถามถึงภาวะความเป็นไปของชาติและประชาชนในชาติ
    เห็นไหมบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรและญาติโยมพุทธบริษัท ท่านไม่ได้ถามว่าพระองค์จะมีความสุข พระองค์เองจะร่ำรวยขนาดไหน ไม่ได้เคยปรารภถึงพระองค์เองเลย ทรงปรารภเฉพาะว่าเวลานี้บ้านเมืองมันเต็มไปด้วยความคับแคบ บรรดาประชาชนอดอยากยากจนกันมาก ฝืดเคืองมาก ท่านถามว่า
    "ต่อไปชาติเราจะเจริญรุ่งเรืองขนาดไหน และจะมีความอุดมสมบูรณ์ขนาดไหน?"
    ถามเข้าตรงนี้ บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร ผมก็ไม่ไหวซิ ตัวคนเดียวสู้ไม่ได้แล้ว งานเหนื่อยก็เหนื่อย ไม่มีการเตรียมการ ไม่มีหมายกำหนดการจะถามว่าอย่างนั้น อย่าไปนึกว่าท่านถามเกินพอดีนะ ไม่ใช่ ผมทำยังไง ผมก็ต้องเอาบารมีพระพุทธเจ้าเข้าช่วย ผมนึกไปก่อนแล้วขอให้ดลใจให้ผมตอบได้ เมื่อท่านถามมา ผมก็ถวายพระพรไป บอกว่า
    "หลังจากนี้ไปเข้าเขต พ.ศ.๒๕๒๔ บ้านเมืองของเราจะเข้าเขตฟ้าสาง"
    คำว่า "ฟ้าสาง" นี่หมายความว่า มันยังไม่สว่าง ยังมองเห็นหน้ากันไม่ถนัด แต่ว่ามันดีกว่ามืด ถ้ามืดตื้อเสียทีเดียวจะมองไม่เห็นอะไรเลย ฟ้าสางเห็นบ้างลาง ๆ แต่ไม่ชัดเจน เห็นคนรู้ว่าเป็นคน แต่ยังไม่รู้ว่าหน้าเป็นอย่างไร ขาวหรือดำ ผมหงอกหรือผมดำก็ไม่ทราบ นี่เปรียบเทียบกันให้ฟัง ชะตาประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ถ้าปี ๒๔ จะเริ่มเข้าเกณฑ์บอกว่า ประเทศไทยต่อไปนี้จะไม่ยากจนนัก

    ท่านก็ทรงถามต่อไป ถามถึงว่าอะไรมันจะมีขึ้นมาบ้าง มันจะดีขึ้นมายังไง ?
    ผมก็จำชัดไม่ได้ ถ้าหากว่าต้องการจะทราบชัด ให้อ่านหนังสือพระเมตตา เพราะตอนนั้นเขียนระยะใกล้ ๆ ทูลไปอะไรได้บ้างก็ไม่ทราบ แต่พูดเรื่องถึงน้ำมัน ว่ามีแร่ธาตุและน้ำมัน

    แต่ทว่าวันนี้จะไปถึงไหนกันล่ะ ก็ต้องหยุดกันแค่นี้ก่อนเพราะสัญญาณบอกหมดเวลาปรากฏแล้วนี่ ถ้าขืนพูดไปเทปมันก็เลยหน้าไป ขอลาก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนและเพื่อนภิกษุสามเณรทุกท่าน
    สวัสดี
     
  2. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    โมทนาด้วยจ้ะกร...

    พี่มาขออนุญาตกรและทีมงานนะจ้ะ...

    ขออนุญาตเอาข้อความในกระทู้นี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของการแปลภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา... สถาบันหลักทั้งสามของคนไทยเราด้วยนะจ้ะ...

    ขอบพระคุณมากๆ เลยจ้ะ...
     
  3. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ผมจะเป็นคนดี เพื่อเจ้าพ่อหลวง

    ด้วยวัยเพียง ๔ ปี เด็กน้อยตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ยังไม่รู้จักประสา ไม่สามารถแม้แต่จะเขียนหนังสือได้ เพราะยังไม่ถึงวัยที่จะเข้าศึกษาในโรงเรียนด้วยซ้ำ แต่เด็กชายพยุงศักดิ์ กาฬมิค คนนี้ กลับรู้จัก "เจ้าพ่อหลวงของแผ่นดิน" เป็นอย่างดี และซาบซึ้งในพระบารมีของ "เจ้าพ่อหลวง" อย่างสุดซึ้ง

    ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เด็กชายพยุงศักดิ์ ได้มีโอกาสรอส่งเสด็จ ณ ท่าอากาศยานปัตตานี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาถึง เด็กชายตรงเข้ามากราบแทบพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยอากัปกิริยาที่งดงาม เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ทุกคนที่มารอส่งเสด็จต่างรู้สึกปลาบปลื้มและประทับใจมิรู้ลืม



    (จากหนังสือ ในหลวงของฉัน หนังสือประมวลภาพแห่งความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ที่ระลึกงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    [​IMG]


    ขออนุญาติลงรูปให้นะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ขอบพระคุณพี่ๆเพื่อน ทุกคนครับ ยินดีอย่างยิ่งครับ ใครมีอะไรดีๆ เอามาลงได้เลยครับ กระทู้นี้เป็นของทุกคนครับ
     
  6. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ขอบคุณค่ะ... ;30
     
  7. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    ธรรมะจากพระอรหันต์และพระสงฆ์อริยะที่สนทนาธรรมกับพระเจ้าอยู่หัววันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีทรงบรรจุอัฐิธาตุพระราชทานและเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์
    ท่านพระอาจารย์<?XML:NAMESPACE PREFIX = ST1 /><ST1:pERSONNAME w:st="on" productid="จวน กุลเชฎโฐ">จวน กุลเชฎโฐ</ST1:pERSONNAME> ณ วัดเจติยาคิรีวิหาร ( ภูทอก ) พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตักพระธาตุของพระอาจารย์จวนลงบรรจุในเจดีย์และได้ทรงกล่าวว่าพระอาจารย์จวนท่านเป็นพระอรหันตร์แห่งยุคนี้ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระองค์ทรงก้มลงกราบพระอัฐิพระอาจารย์จวนแช่นานเกือบ 5 นาทีธรรมะปฎิสันถาร


    เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจ้าฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมหลวงปู่(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)เป็นการส่วนตัวพระองค์ เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงถามถึงสุขภาพอนามัยและการอยู่สำราญแห่งอิริยาบถ
    ของหลวงปู่ตลอด ถึงทรงสนทนาธรรมกับหลวงปู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว ทรงมีพระราชปุจฉาว่า หลวงปู่ การละกิเลสนั้น ควรละกิเลสอะไรก่อน
    หลวงปู่ถวายวิสัชนาว่า
    กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิตให้เพ่งมองดูที่จิต อันไหนเกิดก่อนให้ละอันนั้นก่อน


    หลวงปู่ไม่ฝืนสังขาร
    ทุกครั้งที่ล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมหลวงปู่หลังจากเสร็จพระราชกรณียกิจในการเยี่ยมแล้วเมื่อจะเสด็จกลับทรงมีพระดำรัสคำสุดท้ายว่า ขออาราธนาหลวงปู่ให้ดำรงขันธ์อยู่เกินร้อยปี เพื่อเป็นที่เคารพนับถือของปวงชนทั่วไปหลวงปู่รับได้ไหม
    ทั้งๆที่พระราชดำรัสนี้เป็นสัมมาวจีกรรมทรงประทานพรแก่หลวงปู่โดยพระราชอัธยาศัย หลวงปู่ก็ไม่กล้ารับ และไม่อาจฝืนสังขารจึงถวายพระพรว่า
    อาตมาภาพรับไม่ได้หรอกแล้วแต่สังขารเขาจะเป็นไปของเขาเอง
    ทางให้ถึงความดับภพดับชาติ
    (หลวงปู่เทสก์เทสรังสี)



    ภพชาติเป็นตั้งของกองทุกข์ทุกข์ทั้งหลายมากองอยู่ที่ผู้ยังมีภพชาตินี้ทั้งนั้นภพชาติจะเกิดมีขึ้นมาได้ก็ต้องอาศัยผู้ยังมีกิเลสอันเป็นคู่กันกับนิมิตนำให้ไปเกิดในที่นั้นๆ
    ผู้ต้องการอยากจะให้ดับภพดับชาติก็ต้องพยายามอย่าให้นิมิตทั้งสองนั้นเกิดขึ้นได้ในเมื่อจวนจะแตกดับนิมิตทั้งสองเราจะแต่งเอาตามปรารถนาไม่ได้แต่มันเป็นไปตามบุญกรรมกิเลสของแต่ละบุคคลที่ได้สร้างเอาไว้ดังกล่าวแล้ว

    ๑.เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเราจะทำอย่างไรจึงจะไม่ให้นิมิตเกิดขึ้นได้ในเมื่อจวนจะแตกดับ

    ตอบเมื่อเราเกิดมาจมอยู่ในกองแห่งทุกข์ทั้งหลายในป่าดงของกิเลสอันน่ากลัวแล้วเห็นผลของกรรมชั่วอันน่าสยดสยองอย่างยิ่ง จึงพอกันทีแล้วบำเพ็ญแต่กรรมดีที่ให้ผลเป็นความสุข
    จนอิ่มพอในความสุขที่กรรมดีมอบให้นั้นแล้วละความสุขนั้นเสียไม่หลงมัวเมาเอามาเป็นของตนของตัวอย่างจริงจังเรียกว่าละทั้งดีและชั่วเพราะอิ่มแก่ความต้องการทั้งหมดแล้วนิมิตทั้งสองนั้นจึงจะไม่เกิด

    ๒. หากจะมีคำถามว่าเมื่อยังไม่อิ่มในกรรมทั้งสองนั้นจะทำอย่างไร

    ตอบก็ต้องสร้างกรรมดีต่อไปแต่อย่าไปสร้างกรรมชั่วเพิ่มขึ้นมาอีก เพราะกรรมชั่วเราได้สร้างมามากแล้วจนมีผลเหลือที่จะเก็บและจำหน่ายออกได้แล้ว

    ๓. เมื่อชีวิตยังมีอยู่กรรมดีกรรมชั่วก็ไม่ทำแล้ว แล้วจะอยู่และทำอะไรอีก

    ตอบเมื่อชีวิตยังมีอยู่การเคลื่อนไหวก็ต้องมี การเคลื่อนไหวอันได้แก่กรรม แต่ก็อย่าให้มีกรรมชั่วจงให้มีแต่กรรมดี เพราะกรรมดีคนดีทำง่าย แต่คนชั่วทำได้ยากคนดีทำกรรมดีไม่ปรารถนาผลตอบแทนถึงแม้จะทำกรรมดีอยู่ก็ไม่ชื่อว่าทำกรรมเรียกว่ากิริยา
    ฉะนั้นพระพุทธเจ้าก่อนจะดับภพดับชาติได้ คือถึงพระสัพพัญญุตญาณท่านได้สร้างบารมีมาแล้วเป็นอเนกชาติ มีทานบารมีเป็นต้น ผลสุดท้ายเมื่อบารมีของท่านอิ่มพอแล้ว จึงละโลกนี้ที่มีกรรมเป็นมูลฐานดับแล้วไม่มีเชื้อเหลืออยู่อีกต่อไป

    ทำความดีมีการบำเพ็ญทาน รักษาศีลเจริญภาวนา ซึ่งเป็นเหมือนดาบอันคมกล้าตัดกิเลส ตัณหา ตัดภพตัดชาติให้เบาบางและสั้นเข้ามา เมื่อบำเพ็ญอยู่โดยสม่ำเสมอไม่ลดละปล่อยวางความดีเหล่านี้ย่อมจะมีกำลังกล้าขึ้นโดยลำดับและ
    ตัดกิเลสตัดภพชาติให้สั้นเข้ามาจนถึงภพชาติปัจจุบันและรู้เท่าทันพร้อมทั้งตัดกิเลสอันเป็นเชื้อแห่งภพที่ฝังอยู่ภายในใจให้ขาดกระเด็นออกเป็นผุยผงไม่มีชิ้นต่อกันกับใจอีกเลย

    แล้วภพชาติจะเรียกโคตรแซ่ที่ไหนจะมาพาให้เกิดแก่เจ็บตายเพื่อหาบหามกองทุกข์น้อยใหญ่อีกต่อไปเล่าถ้าลงใจได้บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้ว เมื่อใจได้ถึงขั้นนี้แล้วกิเลสอย่างไรก็เรียกไม่กลับแน่นอนปู่กับกิเลสมันเคยฟัดกันมาอย่างโชกโชนถึงขนาด
    ใครดีใครอยู่ ใครไม่เก่งจงบรรลัยสุดท้ายกิเลสบรรลัย พระพุทธเจ้าบรมศาสดาของพวกเราเพียงสลบเท่านั้นสำหรับปู่เองเมื่อลมหายใจสิ้นเมื่อไร ไม่อยู่ ปู่ต้องไปขี้เกียจแบกหามธาตุขันธ์อันนี้เต็มประดาแล้ว
    (หลวงปู่ขาว อนาลโย)



    นิพพานเป็นของง่ายเป็นของไม่ยาก นิพพานนี่เขาแปลว่า ดับ นะคุณนะถ้าจะถามว่าดับอะไร ก็ขอตอบว่า ดับความชั่ว คนที่จะถึงนิพพานได้ต้องไม่มีความชั่ว ๓อย่าง คือ

    ๑. ไม่ชั่วทางกาย
    ๒. ไม่ชั่วทางวาจา
    ๓.ไม่ชั่วทางใจ

    ถ้าทุกคนดับความชั่วได้หมดบุคคลนั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน วีระ ถาวโร )



    หลวงพ่อเกษม เขมโก จ.ลำปาง
    พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน
    นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งของคุณปู่ก็กจึงที่กรุณาเล่าให้ผมฟัง ข้อนี้....คุณปู่เล่าให้ฟังสั้นๆ ว่าเหตุการณ์เมือนานมามากแล้วเช่นกัน จู่ๆ วันหนึ่ง เมื่อคุณปู่ไปนมัสการหลวงพ่อท่านได้ถามว่า

    "สามก็ก...รู้ไหม ว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน? "

    (หลวงพ่อเรียกคุณปู่ก๊กว่า สามก๊ก มานานแล้ว)

    คุณปู่ก๊กจึงสมัยนั้นประณมมือไหว้หลวงพ่อพลางตอบว่า

    "ผมไม่ทราบครับหลวงพ่อ"

    ทันใดนั้นหลวงพ่อได้ชี้นิ้วเฉียงไปบนฟ้าพลางกล่าวว่า

    พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ท่านอยู่นอกโลก......

    จาก อนุสรณ์ ครบรอบ ๘๐ ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ๒๘พฤศจิกายน ๒๕๓๔ หน้า 146



    ''นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตนหาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง......''

    พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์อตโล)



    นี่ละตัวพาให้เกิด ก็รู้ได้ชัดละซิ ทีนี้จะเอาอะไรไปเกิด เอ้าเห็นกันอยู่รู้กันอยู่ ตัวนี้จะไปเกิดที่ไหนที่นี่ เอ้า เกิดที่ไหนล่ะอะไรพาให้เกิด ก็สิ่งที่ดับไปตะกี้นี้พาให้เกิด นั่นมันรู้ชัดขนาดนั้นนะทีนี้ไม่เกิดแล้วจะดับไหมจิตดวงนี้ จะเอาอะไรมาดับ
    นั่น ไม่เกิดด้วยไม่ดับด้วยไม่มีคำว่าว่ามีอยู่แบบโลกด้วย ไม่สูญแบบโลกด้วย มีอยู่แบบความบริสุทธิ์ถ้าว่าสูญก็สูญแบบความบริสุทธิ์ เหมือนอย่างที่ว่านิพพาน มีอยู่แบบนิพพานสูญแบบนิพพาน ไม่ได้สูญแบบโลกสงสาร

    หลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน



    '' ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง ''

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าโคกมน จ.เลย



    '' ..... เมื่อเราพิจารณาเห็นควมจริง แจ้งประจักษ์ อย่างนี้แล้วจิตมันก็เลยละได้เมื่อจิตละได้แล้ว มันก็วางจากรูป วางจากรูปมันก็ถึงอรูปภพ อรูปภพคือเป็นอย่างไรคือจิตว่างหมดไม่มีอะไร แต่เหลือผู้รู้ ความรู้นี้แหละ เป็นของสำคัญที่เรียกว่า "พุทธ" คือผู้รู้...... ''

    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพรจ.สกลนคร



    " ปัญหายุ่งยากในสังคมทุกวันนี้เกิดจากเหตุหลายอย่างแต่เหตุที่สําคัญที่ทําให้เกิดปัญหาได้มากคือความขาดหรือบกพร่องในความเป็นระเบียบและความสะอาดมั่นคงในความประพฤติหรือความคิดจิตใจของบุคคล
    องค์การศาสนาทุกศาสนามีภารกิจในการขัดเกลาความประพฤติและจิตใจในบุคคลให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมตามหลักศาสนาอยู่แล้วจึงน่าจะทําหน้าที่แก้ปัญหาสังคมได้เป็นอย่างดี ไม่ลําบาก ในการนี้ทุกฝ่ายควรร่วมมือส่งเสริมอย่างจริงจัง
    โดยประสานสอดคล้องและควรมีแผนการที่แน่นอนเหมาะสมในการสั่งสอน เผยแพร่ธรรม "


    พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


    ที่มา : http://postpicture.igetweb.com/index.php?mo=3&art=57383
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2008
  8. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    หลวงพ่อฤาษีฯกับในหลวง

    [​IMG]


    ………พอเข้าที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จเจ้าฟ้าสิรินธรฯ ท่านก็เข้าไป ท่านถามอะไรหลายอย่าง ความจริงที่มีพระราชดำรัสถามนี่ คิดว่ามีบางอย่างที่ไม่ควรนำมาออกอากาศ หรือนำมาพูดกันเพราะเป็นเรื่องส่วนพระองค์ แต่ทว่า ที่ทรงถามนั้น ไม่มีอะไร ไม่ใช่เรื่องบ้าน ไม่ใช่เรื่องเมือง ไม่ใช่เรื่องบุคคล ทรงถามเรื่องธรรมะ ถ้าจะเกณฑ์ให้จำก็จำได้ไม่หมดเหมือนกัน ไม่รู้ว่าอะไรบ้าง จะว่าปัญญาอ่อนหรือความจำเสื่อมก็ยอมรับ เพราะว่าพระราชดำรัสถามนั้น เป็นคำที่ลึกซึ้ง คัมภีรภาพมาก ละเอียดลออมาก จะเห็นได้จากพระราชวินิจฉัยของพระองค์ข้อหนึ่ง จะพูดให้ฟัง ท่านตรัสว่า

    หลวงพ่อขอรับ ผมว่าธาตุแท้นี่ไม่สกปรกนะขอรับ ธาตุแท้มันสะอาด นี่ฟังกันจริงๆแล้วก็ต้องคิดให้มาก ว่าที่พระองค์ตรัสว่าธาตุแท้นี้ไม่สกปรก ธาตุแท้สะอาดนี้น่ะ เพราะว่าพระองค์ทรงเคยโต้กันมาแล้ว เรื่องกายสกปรก ท่านตรัสถามมาสามรอบ อาตมาจำได้ ท่านทรงยืนยันว่าร่างกายไม่สกปรก แต่ความจริงท่านเห็น แต่ว่าท่านใช้ปัญญาพิจารณาญาณของท่าน พูดกันง่ายๆว่า สอบ กันดีกว่า ท่านทรงมีความเข้าใจดี ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่ก็ทำแบบนักเทศน์ คือเข้าใจแล้ว ต้องทำเหมือนกับว่าไม่เข้าใจ จะเอาข้อความละเอียดให้ได้ ก็โต้กันมาเรื่องร่างกายสกปรกมา ๓ วาระ

    ตอนนั้นพระองค์ตรัสว่า ที่หลวงพ่อว่าร่างกายสกปรก สมมุติมือผมนี่น่ะมันสะอาดๆดีอยู่ ผมก็ไปหยิบของสกปรกมา เมื่อแตะต้องกับของสกปรกมันก็สกปรก แล้วผมมาล้างเสียให้สะอาด
    มันก็สะอาดไม่สกปรก

    ตอนนั้นอาตมาถวายพระพรว่า เรื่องร่างกายสกปรกนี่ไม่ใช่เอาร่างกายภายนอกไปแตะ
    ต้องกับของภายนอกมา ให้พิจารณาส่วนภายในของร่างกายว่ามันสกปรก เช่นเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เสลดน้ำลาย เป็นต้น ที่มันอยู่ในร่างกาย มันสกปรก ถ้าจะพิสูจน์กันง่ายๆก็เอามีดกรีดเนื้อออก ไปให้เลือดมันไหลออกมา เมื่อเลือดไหลออกมาแล้ว ถ้าเลือดมันสะอาดจริงๆก็ไม่ต้องล้างเลือด ถ้าหากต้องล้าง
    เลือดออก ก็แสดงว่าเลือดสกปรก ใจความที่ถวายพระพรในวันนั้นเป็นอย่างนี้ แต่ว่าถ้อยสำนวนอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะตั้งตัวไม่ค่อยติดเหมือนกัน พระองค์โจมตีแบบแย้ปซ้ายแย้ปขวา ฮุคหน้า ฮุคหลัง แหม ถนัด
    คล่องจริงๆ วันนั้น เรื่องร่างกายสกปรกหรือไม่สกปรกก็เป็นอันว่าจบเกมกันยกที่ ๓ มาที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงมาใหม่ ตรัสว่า ธาตุแท้ผมว่าไม่สกปรก ตานี้ชักจะรู้ท่าเสียแล้วว่าถ้าปล่อยไปไกลๆ ก็คงต้องว่ากันนานหลายรอบ จึงได้ถวายพระพรไปว่า อาตมาเห็นชอบด้วย ว่าธาตุแท้จริงๆไม่สกปรก ทั้งนี้หมายถึงถึงธาตุ๔ ในร่างกาย ตอนที่ว่ากันถึงเรื่องร่างกายสกปรกนะ ว่ากันในเรื่องของกายคตานุสสติกรรมฐาน ก็เลยเกณฑ์สมมติขึ้น แต่ความจริงการสมมติไม่ใช่ของลี้ลับ เป็นของธรรมดาๆที่บุคคลจะเห็นได้ง่าย ถ้าเป็นนักสังเกตการณ์ สมมติว่า เอาแก้วมาวางไว้ลูกหนึ่ง เอาน้ำแข็งใส่ไปในแก้วสักประเดี๋ยวหนึ่ง จะมีน้ำชื้นอยู่ข้างนอก เนื้อแท้จริงๆน้ำที่จับข้างนอกไม่ใช่น้ำแข็งที่ละลายในแก้วแล้วไหลออกมา อาศัยความเย็นจัดของน้ำในแก้ว อาโปธาตุอย่างนี้เป็นอาโปธาตุที่มีความสะอาด และเป็นธาตุแท้อย่างนี้สะอาด แต่ทว่าอาโปธาตุในร่างกาย มีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เป็นต้น หรือปัสสาวะอย่างนี้เป็นต้น เป็นอาโปธาตุที่เต็มไปด้วยความสกปรก

    พระองค์จึงทรงค้านว่า นั่นเป็นธาตุที่ปรุงแล้วนี่ขอรับ จึงได้ถวายพระพรไปว่า การพิจารณาร่างกาย คือธาตุ ๔ ก็ให้พิจารณาธาตุที่ปรับปรุงแล้ว มันเป็นของสกปรก มันเป็นของไม่สะอาด เป็นอันว่า ตอนนี้ก็ยุติลง………

    (คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ พระเมตตา เล่ม ๒ โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2008
  9. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    [​IMG]


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินยังวัดจันทาราม(ท่าซุง) จ. อุทัยธานี

    อ้างอิง
    เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้วที่ผมมีโอกาสได้รับฟังเรื่องพระราชกรณียกิจของพระองค์ส่วนหนึ่งที่พระองค์สนับสนุนให้พระเดชพระคุณพระราชพรหมยานเถระ(พระมหาวีระ ถาวโร วัดท่าซุง จ. อุทัยธานี)
    ตั้งศูนย์สงเคราะห์คนยากจนในถิ่นทุรกันดารขึ้นที่วัด หลวงพ่อมีโอกาสถวายพระพรในด้านธรรมะและสนทนาธรรมกับพระองค์ท่านอยู่ระยะหนึ่ง
    หลวงพ่อท่านกล่าวถึงพระองค์เสมอว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในธรรมมาก เป็นเหตุให้ พวกเรามีโอกาสได้รับรู้และซาบซึ้งในอัจฉริยภาพของพระองค์ท่านมากขึ้น
    ดังนั้นในวโรกาสวันมหามงคลคือวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ผมจึงขอนำเรื่องที่หลวงพ่อท่านเทศน์สอนลูกหลานและได้กล่าวถึงพระองค์ท่านไว ้มาให้อ่าน ดังนี้..
    by TheBourne


    “ต่อไปนี้พ่อจะขอปรารภเรื่องของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    พระองค์ทรงเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีความสามารถทั้งในด้านการปฏิบัติในเรื่องส่วนพระองค์
    และในด้านปฏิบัติกับปวงชนชาวไทยทั้งหมดรวมทั้งปฏิบัติกับชาวต่างประเทศด้วย
    แม้แต่กระทั่งกับศัตรูพระองค์ก็ทรงเห็นว่าเป็นมิตร ไม่เคยคิดที่จะเป็นศัตรูกับใคร
    สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดนั่นก็คือพระองค์ทรงช่วยประชาชนทรงช่วยชาวโลกด้วยแ ละก็ทรงช่วยพระองค์เองได้ดีที่สุด

    ในด้านของธรรมะสำหรับวันนี้พ่อจะขอนำพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงประพฤติปฏิบัติให้ลูกรักทั้งหลายจะพึงรับทราบ
    รับทราบแล้วก็จงปฏิบัติตามด้วยเพราะว่าจะช่วยให้พวกเราดี ก่อนที่จะพูดถึงธรรมะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติได้
    ก็จะขอย้อนไปถึงจริยาวัตรของพระองค์ พระราชจริยาวัตรของพระองค์นี่เราจะรู้ไม่ได้เลยว่า ทรงทำอะไรบ้าง
    วันทั้งวัน พระองค์ไม่มีเวลาว่าง บางวันมีพระราชภารกิจตั้งแต่เช้าจรดเย็น เวลาเย็นก็ต้องมานั่งปฏิบัติงาน
    รับแขกกลางคืนอีก กว่าจะทรงเซ็นหนังสือได้ก็ต้องใช้เวลา ๒๔ นาฬิกาผ่านไป

    เมื่อทรงเซ็นหนังสือแล้ว หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงเจริญพระกรรมฐาน วันที่พ่อเข้าไปพบกับพระองค์
    พระองค์ตรัสว่าเวลานี้การฟังเทปรู้สึกว่า ฟังไม่ค่อยจบ นอนฟัง ฟังไป ฟังไป รู้สึกว่าหนักเข้า
    ความไม่ได้ยินในเทปรู้สึกว่า เคลิ้มหลับ แต่ว่าพอเทปดังแกร๊ก รู้สึกตัวตื่นขึ้น แล้วก็พลิกฟังใหม่อีกหน้าหนึ่ง
    คราวนี้ก็หลับไปเลย พระองค์ทรงติพระองค์เองว่า รู้สึกว่าไม่ดี แต่พ่อกลับทูลพระองค์ไปว่า นั่นเป็นความดี
    เพราะว่าถ้าหลับในระหว่างการฟังธรรม ชื่อว่าจิตฝังอยู่ในธรรมตลอดเวลา และการฟังค่อย ๆ เคลิ้มไปทีละน้อย ๆ
    พอเทปหมดหน้า รู้สึกเสียงดังแกร๊ก ก็แสดงว่านั่นไม่ได้หลับ แต่ทว่าจิตฟังธรรมเป็นฌานสมาบัติ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟังไม่ได้ยินเสียงเลยนั่นเป็นฌาน ๔ ความจริงเรื่องนี้ดีมาก
    ฉะนั้นขอบรรดาลูกรักทุกคนจงปฏิบัติเยี่ยงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    จงอย่าอ้างว่าข้าพเจ้ามีงานมาก มีภารกิจมาก ไม่มีเวลาพักผ่อน ไม่มีโอกาสเอาจิตเข้าไปฝึกฝนธรรมะ ..



    ..การปฏิบัติธรรมะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระองค์ทรงปรารภให้พ่อฟัง
    ดูเหมือนว่าพระองค์ทรงเป็นบุคคลที่ไม่มีเวลาว่าง เวลาใดถ้ามีโอกาสว่างนิดหนึ่ง
    ก็ใช้เวลาฟังเทปบ้าง วินิจฉัยธรรมะบ้าง และในบางขณะที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปรอบ ๆ พระราชฐานที่พัก
    พระองค์จะถือเวลา ว่าจะเดินสักกี่ชั่วโมง ถ้าเดิน ๑ ชั่วโมง เอาเทปสะพายไปด้วย แล้วก็ฟัง ๒ หน้า
    ถ้าเดิน ๒ ชั่วโมง ก็ฟัง ๔ หน้าเทป อย่างนี้รู้สึกว่าพอดี จริยาวัตรส่วนนี้ ขอบรรดาลูกรักควรจะฝึกฝนใจให้มาก
    พยายามปฏิบัติตามพระองค์ให้มาก เวลาบูชาพระ พระองค์ก็ทรงสมาธิ ทำสมาธิ และวิปัสสนาญาณในระยะนั้น
    เวลาที่เสด็จบรรทมก็ทรงฟังเทป เป็นอันว่าพระองค์จะไม่ยอมให้เวลาที่ว่างอยู่เสียเปล่าไปในด้านของความดี
    จะพยายามหาทางบีบบังคับอารมณ์จิตให้อยู่ในขอบเขตของความดี คือฟังเสียงธรรมะ
    ขณะใดที่จิตสนใจในธรรม พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ขณะนั้นจิตย่อมว่างจากกิเลส
    ลูกต้องมีความขยันหมั่นเพียร มีความสนใจให้มาก เรียกกันว่าเป็นการปฏิบัติแบบเบา ๆ



    อีกประการหนึ่งการเจริญพระกรรมฐานของพระองค์อันดับแรก
    คงจะตั้งพระทัยมุ่งสมาธิเป็นฌานสมาบัติบทใดบทหนึ่ง และการที่พ่อไปพบกับพระองค์ตอนนั้นพระองค์ตรัสว่า
    การทำสมาธิเวลานี้ ไม่มุ่งหวังจุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะ ปล่อยไปตามสบาย จะถึงไหนก็ใช้ได้ เป็นที่พอใจ
    จริยาแบบนี้ลูกรักเป็นจริยาที่ดีที่สุด เพราะพ่อเองก็เคยตกอยู่ในความหวั่นไหวมามากแล้วทำให้ยุ่งยากใจ
    เพราะการบังคับจิตต้องการจะให้ได้ฌานชั้นนั้นได้ฌานชั้นนี้ ..


    ..แต่ในที่สุดแทนที่มันจะดี มันก็กลับเลวสู้การปล่อยอารมณ์ใจสบายไม่ได้
    การทรงสมาธิหรือพิจารณากรรมฐานในด้านสมถภาวนาหรือวิปัสสนาภาวนาอย่างใดอย่าง หนึ่งก็ดี
    ถ้าจิตเราปล่อยไปตามสบาย มันจะถึงฌานไหนก็ช่าง เมื่อถึงไหนพอใจแค่นั้น อย่างนี้ถูก
    อารมณ์ฌานและวิปัสสนาญานที่เข้าถึงใจ จะมีการทรงตัวและในที่สุดก็จะสามารถตัดกิเลสสมุจเฉทปหาน
    คือตัดกิเลสได้อย่างเด็ดขาดกิเลสไม่กำเริบ เรียกว่ามีอารมณ์จิตเข้าถึงพระนิพพานได้แน่นอน
    วิธีปฏิบัติแบบนี้ลูกรักต้องพยายามปฏิบัติให้มาก คำว่ามากก็หมายความว่า การเว้นจากการงาน เมื่อยามว่าง ไม่ควรจะให้โอกาสปล่อยไป

    ฉะนั้นการปฏิบัติ ขอบรรดาลูกรักทั้งหลาย จงพยายามปฏิบัติเอาอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ลูกรักทั้งหลายจงจำไว้ว่า ความดีเกิดขึ้นกับเรามากคนเขาก็รักเรามาก
    แต่ถ้าความดีเกิดขึ้นกับเราน้อย คนเขาก็รักเราน้อย เมื่อคนรักน้อย คนเกลียดมาก
    เราก็มีความทุกข์กายทุกข์ใจมากกว่าความสุข เดินไปพบคนที่เรารัก หรือเขารักเรา
    เราก็ยิ้มแย้มแจ่มใสมีความชื่นบาน แต่ถ้าไปพบคนที่เกลียดเราเมื่อไร เมื่อนั้นแหละความกลุ้มใจ
    กำเริบใจมันก็เกิดขึ้น เราจะหาความสุขไม่ได้ ..

    ..ขณะที่พ่อนอนป่วยอยู่ที่บ้านพักชายทะเลจังหวัดระยอง พ่อยืนมองดูคลื่นในทะเลที่พัดเข้ามาหาฝั่งแล้วก็สลายตัวไป
    แล้วพ่อก็มองดูตัวของพ่อเอง ว่าตัวของพ่อก็ไม่ต่างอะไรกับคลื่นในทะเล มันเกิดขึ้น มันก็สลายไป
    เกิดขึ้นแล้วก็สลายไป ที่ยังมีคลื่นอยู่ ก็เพราะยังมีลม ถ้าลมหมดเมื่อไร คลื่นก็หมดเมื่อนั้น
    เหมือนกับชีวิตของพ่อเช่นเดียวกัน มันจะหนุ่ม มันจะแก่ มันจะขาว มันจะดำ ก็เป็นเรื่องของลมหายใจ
    ลมมันสร้างให้เกิดขึ้น ถ้าลมหมดเมื่อไร พ่อก็ตายเมื่อนั้น


    เช่นเดียวกับคลื่นในทะเล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสบอกกับพ่อว่า เรื่องคลื่นนี่ผมก็ชอบ เพราะว่าชอบดูคลื่น
    การที่ชอบคลื่นและพิจารณาคลื่นเป็นกรรมฐาน ก็เพราะอาศัยชอบเล่นเรือใบ และก็ทรงวินิจฉัยต่อไปว่า
    เห็นคลื่นที่มากระทบฝั่ง คลื่นมันเกิดแต่ละลูก ไม่ใช่คลื่นลูกเก่า มันเป็นคลื่นลูกใหม่ ขึ้นทดแทนซึ่งกันและกัน
    ในที่สุดมันก็มากระทบฝั่งหายไป และน้ำอาจจะกระเพื่อมขึ้นมาใหม่กลายเป็นคลื่นลูกใหม่
    ก็มาเทียบกับอารมณ์จิตของพระองค์ว่า ร่างกายมันก็ทรงอยู่ได้คล้ายกับคลื่นในทะเล คลื่นในทะเล
    ถ้าลมยังมีอยู่เพียงใดคลื่นก็จะมีอยู่เพียงนั้นถ้าลมหมดเมื่อไรคลื่นก็หายเหมือนกับร่างกายของเรา
    ถ้าหมดลมเสียเมื่อไรก็ชื่อว่าตาย เห็นไหมลูกรัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นทุกอย่างเป็นกรรมฐาน
    ที่พ่อเคยบอกลูกว่า จงดูทุกอย่างให้เป็นสมถะและวิปัสสนา จิตใจจะได้ตัดกิเลสง่าย
    อีกตอนหนึ่งพระองค์ตรัสว่า ที่หลวงพ่อบอกว่าร่างกายมันกรอบเต็มที
    ถ้าหมดภารกิจคือลูกหลายมีกำลังใจใหญ่ พอจะคุ้มตัวได้ ก็จะขอวางภาระ
    ตรัสต่อไปว่า กระผมเห็นว่าคงจะไม่มีใครทรงตัวได้แน่นอน มั่นคง แม้แต่กระผมเองก็เหมือนกัน
    ก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าดี ฉะนั้น ผมอยากจะขออาราธนาหลวงพ่อให้อยู่ต่อไป
    พ่อได้กราบทูลว่า เรื่องขันธ์ ๕ พ่อยึดถือไม่ได้ เพราะอะไร ๆ มันก็ไม่ใช่เรื่องของพ่อ ขันธ์ ๕ มันจะเกิด
    ขันธ์ ๕ มันจะพังมันก็เป็นเรื่องของขันธ์ ๕ แต่ที่พยายามรวบรวมกำลังใจให้อยู่เช่นนี้
    ก็เพราะห่วงลูกห่วงหลาน เพราะลูกหลานของพ่อดีทุกคน ..




    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสปรารภถึงเรื่องที่เกิดขึ้นที่เมืองยะลาในเดือนกันยายน
    ขณะที่พระองค์เสด็จเยี่ยมประชากรของพระองค์ที่จังหวัดยะลาปรากฏว่ามีเสียงระ เบิดดังขึ้น ๒ ครั้ง
    แต่ความจริงพ่อได้ยินข่าว พ่อก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
    แต่ว่าในใจส่วนหนึ่งยังอดที่จะสงสารพระองค์ไม่ได้
    เพราะว่าพระองค์ทรงกระทำทุกอย่างเพื่อความสันติสุขของปวงชนชาวไทยทั้งชาติ
    ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เสียสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
    มีน้ำพระราชหฤทัยหวังอยู่อย่างเดียวว่า ทำอย่างไรคนไทยทั้งชาติจึงจะมีความสุข
    และถ้าสิ่งนั้นไม่เกินความสามารถของพระองค์แล้ว
    พระองค์ทรงทำทุกอย่างรวมความแล้วพระองค์เป็นผู้ให้ไม่ใช่ผู้รับ


    พระองค์จึงได้ปรารภว่า วันนั้นพอได้ยินเสียงระเบิดครั้งแรกเห็นคนเขาวิ่งวุ่นขวักไขว่ไปมา
    ก็มีความรู้สึกว่าเสียงระเบิด มันระเบิดไปแล้วก็เป็นอดีต อย่างนี้ตามภาษาบาลีเขาเรียกว่า
    อดีตใกล้ปัจจุบัน ถ้าเราจะเอาจิตไปคิดห่วงใยเรื่องราวในอดีต งานในปัจจุบันของเราก็ไม่เป็นผล
    ฉะนั้น พระองค์จึงได้ทรงวางอารมณ์เฉยเป็นอุเบกขา ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันเกิดแล้วก็แล้วกันไป
    เวลานี้มีหน้าที่ที่จะทำงานในปัจจุบันก็ทำ ทำไปจนกว่าจะเสร็จ
    และหลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงให้โอวาทแก่ลูกเสือชาวบ้าน ทรงปรารภว่าวันนั้นพูดยาวหน่อย
    เพราะเป็นการดับกำลังใจในความตื่นเต้นของประชาชนและลูกเสือทั้งหลาย


    ..หลังจากให้โอวาทเสร็จ จะต้องเสด็จไปเยี่ยมประชาชน ก็ทรงดำริว่า
    ถ้าขณะที่ไปเสียงระเบิดมันระเบิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จะเป็นอย่างไร ความจริงระเบิดที่ระเบิดขึ้นมานั้น
    ไกลจากที่ประทับ ลูกหนึ่ง ๕๐ เมตร อีกลูกหนึ่ง ๑๐๐ เมตร แต่ว่าถ้าพระองค์เสด็จไปเยี่ยมประชากรของพระองค์
    ระเบิดทั้งสองจุดจะไกลจากพระบาทเพียง ๗ เมตรเท่านั้น พ่อทราบจากเจ้าหน้าที่ผู้มีความชำนาญ
    ในระเบิดแสวงผลประเภทนี้มีรัศมีทำการถึง ๒๐ เมตรที่ได้ผลและขอลูกทุกคนก็จงศึกษาไว้ว่า
    ระเบิดแบนนี้เขาทำไว้ เขาวางไว้ หรือเขาหมกไว้ ในที่ไม่น่าจะสงสัย เขาจะมีวัตถุชิ้นหนึ่งเป็นเครื่องล่อตา
    เช่น ไม้ขีดจุดไฟแช็ค หรือว่าปืน หรือของที่น่ารักวางไว้ แต่มีสายล่ามไว้
    ถ้าบังเอิญใครมีความสนใจในวัตถุนั้นหยิบขึ้นมา สายเชือกที่ผูกกับชนวนจะกระตุกระเบิด ระเบิดก็จะเกิดระเบิดทันที

    เรื่องนี้ลูกทั้งหลายก็ควรระวังไว้ เพราะว่าอันตรายมันจะเกิดมีเพราะสิ่งที่เรารัก
    ที่พระพุทธเจ้าตรัส
    ว่า ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยัง ความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้นจากความรัก
    ภัยอันตรายเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยความรักเป็นเหตุ นี่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัส
    อย่างนี้ตรง
    ฉะนั้น ขอลูกทั้งหลายจงจำไว้ ระมัดระวังเรื่องนี้ให้มาก แต่ถ้าบังเอิญวิบากกรรมให้ผล
    ก็จะเป็นปัจจัยให้เราลืมได้เหมือนกัน ในตอนที่สอง พระองค์ก็ทรงตัดสินพระทัย
    ว่าเรื่องระเบิดที่จะระเบิดขึ้นมาภายหลัง มันเป็นเรื่องของอนาคต

    ถ้าเอาจิตใจไปยุ่งกับอนาคตเข้าแล้ว งานปัจจุบันมันจะเสีย เป็นอันว่า
    น้ำพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    มีความมั่นคงในอุเบกขารมณ์ มีความมั่นในธรรม
    คนที่จิตมั่นในธรรมจริง ๆ มีความกล้าพอที่จะเอาชีวิตเข้าแลกกับความดีได้..


    ฉะนั้น ขอบรรดาลูกรักทั้งหลายจงจำพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ไว้
    และจงพยายามกระทำน้ำใจของลูกให้เหมือนกับน้ำพระทัยของพระองค์ คือว่า
    จงเห็นว่าชีวิตมีความหมายน้อยกว่าความดี เราเกิดมาแล้วคราวนี้ เราก็ต้องตาย
    ไหน ๆ จะตาย ขอให้เราตายอยู่กับความดีเท่านี้เป็นพอ
    และถ้าความดีนี้เป็นความดีสูงสุดลูกรักทั้งหมดของพ่อก็จะไปพระนิพพานได้

    เป็นอันว่าพ่อเห็นน้ำพระทัยในความเมตตาปรานีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ว่า
    พระองค์ทรงปฏิบัติตามธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ในด้านพรหมวิหาร ๔ ได้อย่างครบถ้วน
    เห็นหรือยังลูกรัก ถ้าเห็นแล้วก็จำไว้ ทำอย่างพระองค์ ความดีไม่หนีเราไปไหน
    ในเมื่อเราทำความดี ใครเขาจะหาว่า เราชั่ว เราเลว ก็ช่างเขา จงจำวาจาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า
    นินทา ปสังสา ขึ้นชื่อว่านินทาและสรรเสริญเป็นธรรมดาของโลก ไม่มีใครจะหนีการนินทา
    ไม่มีใครจะหนีการสรรเสริญได้ ถ้าลูกไปรับมันเมื่อไรลูกก็จะมีแต่ความทุกข์ใจเท่านั้น

    ..อีกตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัส
    กับพ่อว่า ท่านหญิงวิภาวดีมีความห่วงใยในพระองค์มาก
    เพราะว่ามาเตือนอยู่เสมอ ขณะที่พระองค์ตรัส รู้สึกว่าเหลียวซ้ายแลขวา และก็ตรัส
    อีกว่า เวลานี้หายไป
    การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรงทราบว่า ท่านหญิงวิภาวดีมาเยี่ยมอยู่เสมอ และก็ตักเตือนเสมอ
    จุดนี้ขอบรรดาลูกรักจงจำให้ดี ว่าความรู้สึกอย่างนี้จะมีขึ้นมาได้ นั่นก็คือ บุคคลผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม
    จะต้องมีอารมณ์เข้าถึงทิพจักขุญาณ คือมีอารมณ์เป็นทิพย์ มีความรู้สึกทางใจคล้ายกับตาทิพย์
    ในเมื่อท่านได้ทิพจักขุญาณ ท่านก็มีโอกาสรับสัมผัสได้

    นี่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรงมีพระราชภารกิจมาก เรื่องของพระองค์มีเรื่องกวนทั้งกายและก็ใจ
    อย่างที่บรรดาลูก ๆ ทั้งหลายจะไม่มีโอกาสประสบการรบกวนอย่างพระองค์เลย
    กลางวันก็ไม่ได้พักกลางคืนก็ไม่ได้พัก มีเวลาพักอยู่นิดเดียวพระองค์ทรงทำพระกรรมฐาน
    และก็ทรงทำได้ดี บุคคลประเภทนี้ ลูกควรจะลอกแบบเข้าไว้ การเลียนแบบ การลอกแบบ

    “การปฏิบัติตามท่านในด้านของความดีไม่ใช่ความเสีย เป็นผลกำไรที่เราไม่ต้องรื้อฟื้นเอง”

    ความจริงท่านหญิง วิภาวดี รังสิต นี่เป็นลูกศิษย์เจริญพระกรรมฐานกับอาตมาเป็นเวลา ๘ เดือน
    หลังจากที่ท่านมาเรียนพระกรรมฐานด้วยสัก ๗ วัน ไม่ใช่มานอนปฏิบัติด้วยนะ
    ไม่ใช่เกาะครูนะเป็นแต่เพียงมาศึกษาพอเข้าใจแล้วก็กลับไปปฏิบัติเอง ๗ วัน ผ่านไป
    ก็ปรากฏว่าท่านได้ธรรมปีติเป็นกรณีพิเศษ เป็นอุเพ็งคาปีติ และสามารถควบคุมสมาธิได้ตามเวลาที่ต้องการ
    แล้วต่อมาท่านก็ไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    กราบทูลอาการนี้ให้ทรงทราบ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    จึงได้ทรงมีพระราชดำรัสว่า

    “ถ้าอย่างนั้นท่านหญิงต้องไปขอหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานมาให้ฉันเล่มหนึ่งจากหลวงพ่อ
    ไม่อย่างนั้นท่านหญิงจะออกหน้าฉันไป ฉันไม่ยอม” ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต จึงมาแจ้งอาตมาทราบ
    อาตมาก็มอบหนังสือไปถวายแล้ว บอกกับท่านว่า
    “ท่านหญิงระวังจะเสียท่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรง
    ได้พระกรรมฐานมาตั้งแต่เด็ก ถ้าท่านหญิงสงสัยละก็ไปสอบถามท่านว่า เมื่ออายุประมาณ ๗–๘ ปี
    ไม่เกิน ๑๒ ปี ท่านเคยเจริญอานาปานุสสติกรรมฐานจนกระทั่งเห็นแสง
    มีอารมณ์จิตแน่นสนิทเป็นสมาธิดี ท่านได้มาตั้งแต่ตอนนั้นจนปัจจุบันท่านก็ไม่ได้ละ
    เวลานี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    ทรงมีกำลังสมาธิสูงมาก สามารถเข้าฌานออกฌานได้ตลอดเวลา
    และยิ่งกว่านั้น ยังสามารถฝึกสมาธิเป็นพิเศษเป็นกีฬาสมาธิ บางส่วนได้ด้วย”


    เมื่อท่านหญิงวิภาวดี รังสิต ได้รับทราบ เมื่อเอาหนังสือไปถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทูลถาม ท่านก็ทรงรับว่าเป็นความจริง หลังจากนั้นมา ท่านหญิงวิภาวดี รังสิต ท่านก็เจริญพระกรรมฐานวิปัสสนาญาณ พระกรรมฐานนี่มี ๒ อย่าง คือ สมถภาวนาด้านสมาธิจิต ซึ่งต้องควบคู่กับวิปัสสนาญาณ ถ้าฝึกเฉพาะสมถภาวนาประเดี๋ยวมันก็พัง ถ้าไม่ฝึกควบคู่กับวิปัสสนาญาณ แล้วก็เอาดีไม่ได้เมื่อสมาธิดี เข้มข้นดี วิปัสสนาญาณยังอ่อน ตอนหลังก็พยายามฝึกควบวิปัสสนาญาณให้มีความเข้มแข็งเท่าสมาธิจิต ........
    <!--MsgFile=0-->
     
  10. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
     
  11. ท้องฟ้าและแผ่นดิน

    ท้องฟ้าและแผ่นดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +127
    ขอขอบคุณคุณ 'พัฒนาตน' ที่ลงข้อมูลดีดีนี้ไว้ให้ทุกคนได้รับรู้
    แค่ได้เห็นความยาวของหัวข้อนี้
    คุณค่าสาระของข้อความทั้ง อันมีองค์หลวงพ่อฤาษี กับองค์พระเจ้าอยู่หัว
    สูงค่ามากยิ่ง
    แต่ความตั้งใจของคุณก็น่านับถือยิ่งเช่นกัน [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2008
  12. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    พระเนตรขวาของ ในหลวง

    --------------------------------------

    [​IMG]
    พระเนตรขวาของ ในหลวง;...เรื่องที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้

    พระองค์ทรงประสบอุบัติเหตุทาง รถยนต์ ขณะทรงประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่ง ไปชนกับรถ บรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกกระเด็นเข้า พระเนตรข้างขวา พระอาการ สาหัส เมื่อตอนที่พระชนมายุ ครบ 20 พรรษา



    "ข่าวพาดหัวหนังสือ พิมพ์ใหญ่ๆ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายใน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ มีเนื้อข่าว ด่วนจากวิทยุ B.B.C. เมื่อ เวลา ๑๓.๐๐ น. แจ้งว่า



    "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสบ อุบัติ เหตุด้วยรถยนต์ ณ ที่แห่งหนึ่งใกล้ๆ เมืองโลซานน์ เมื่อ ค่ำวัน ที่ ๓ เดือนนี้ พระอาการค่อนข้างสาหัส"



    และหลังจากนั้นเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม มีรายงานข่าวจากการ ออกประกาศล่า ที่สุดของสถานีวิทยุบี.บี.ซี. เวลา ๑๔.๔๗ น. แจ้งว่า



    "พระอาการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พ้นอันตรายแล้ว อย่างไรก็ดีราชเลขานุการแถลงว่าพระเนตรข้าง ขวาถูกเศษกระจกเข้าและยังไม่ทราบ ว่าอีกหลายวันสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงใช้พระเนตรข้างขวาได้หรือ ไม่"

    หนังสือพิมพ์สยามนิกรฉบับวัน ที่ ๘ ตุลาคม ๒๔๙๑ ลงพาดข่าวขนาดใหญ่ว่า

    "อาจ เสียพระนตร ใกล้พระเนตรขวาสาหัสที่สุด"

    หลังจากนั้นพระองค์ท่านทรง มีพระอาการแทรกซ้อนเรื่อง พระเนตรขวา ซึ่งแพทย์ถวายการรักษาอีกหลายครั้งก็ ไม่ดีขึ้น จึงได้ถวายการแนะนำให้พระองค์ทรงพระเนตร ปลอมในที่ สุด

    "...อาจจะเป็นเพราะว่าพระองค์ไม่อยากให้คนไทยเป็นห่วงและวิตกใน พระองค์มากและบ้านเมืองขณะนั้นก็ไม่สู้จะเรียบร้อยนักทั้งปัญหาการเมืองใน ประเทศเองก็มากเหมือนกัน ทรงเก็บความทุกข์ส่วนพระองค์ไว้ จากนั้นก็ทรง ใช้พระเนตรเพียงข้างเดียว ทรงศึกษาค้นคว้า อ่านหนังสือต่างๆมากมาย เพื่อทรง งานของบ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรของพระองค์มาตลอดระยะ เวลา 60 ปี"

    จากหนังสือ"บันทึกของพ่อ"

    ลองใช้มือข้าง หนึ่งยกขึ้นปิดตา แล้วจะรู้ว่ายากเพียงใดที่ จะทำงาน นั่นคือความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของในหลวง เพื่อราษฎรที่ รักยิ่งของพระองค์

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืน นาน

    เมื่อทุกท่านได้อ่านแล้ว รู้สึกอย่างไรกันบ้าง

    ท่านลองหลับตาข้างขวา แล้วทำ งานดูจะรู้ ว่ามันยากลำบากสักเพียงไหน

    ไม่ใช่อะไร .... ที่ส่งบทความนี้มา

    เพียงเพื่ออยากเตือนสติ ทุก ๆ คนว่า

    ที่เราพูดกันปาว ปาว ว่ารักในหลวงนั้น

    เรารู้สึกกันจากใจ หรือไม่

    ที่เราใส่เสื้อเหลืองกันนั้น

    เพื่ออยากถวายความจงรักภักดี ต่อในหลวง

    จริง หรือไม่

    ตอนนี้ใน สังคม มีคนหลายกลุ่มต่างก็อ้างสิทธิ์อันชอบธรรม แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น รบรา ฆ่าฟัน

    ลองถามใจตัวเองดูว่าสิ่งนั้น คุณทำเพื่อชาติ หรือเพื่อตัวเอง กันแน่...

    พอเถอะนะ... มองขึ้นไปยังเบื้องสูงบ้างว่า ณ เวลานี้

    พ่อหลวงของเรา จะรู้สึกอย่างไร

    ที่เห็นลูก ๆ ของท่าน รบราฆ่าฟันกันเอง เยี่ยงนี้

    หรือถ้าหากคุณคิดไม่ได้ จริง ๆก่อน กระทำการใด ๆ

    กรุณาถอดเสื้อเหลือง ออกซะก่อน เถิด นะ

    คิดซะว่า ประเทศชาติและคนหมู่มาก ที่ รักพ่อหลวง ขอร้อง
     
  13. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    "บุญกุศลและความดีทั้งหลายที่ข้าพเจ้าและสมาชิกพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ และสมาชิกจากเว็บไซด์พลังจิตดอทคอม... ได้สร้างได้บำเพ็ญมานับแต่อดีต ปัจจุบัน และจะบำเพ็ญต่อไปในอนาคต

    ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายองค์สมเด็จพระสังฆราช ผู้ทรงเป็นองค์พระประมุขแห่งพุทธศาสนจักร... อีกทั้งแทบพระบาทองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นพระมหาธรรมมิกราชามหาโพธิสัตว์ผู้ทรงเปี่ยมล้นไปด้วยพระคุณอันประเสริฐ

    ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนไตรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลจักรวาล ได้โปรดอภิบาลทั้งสองพระองค์ท่านให้ทรงพระเกษมสำราญมีพระพลานามัยที่แข็งแรง ทรงพระชนมายุยิ่งยืนนาน แผ่พระบารมีปกเกล้าชาวไทยตลอดไปด้วยเทอญ

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ"
     
  14. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    บันทึกพระราชปุจฉา สนทนาธรรม
    บันทึกโดย พระครูปลัดจันทร์ กตปุญโญ


    [​IMG]

    คัดลอกจาก http://www.tumnan.com/king_kasem.html

    ต่อไปนี้เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงปฏิสันถารกับพระอินทรวิชยาจารย์ และหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสช่วยหลวงพ่อถวายพระพรด้วย ข้อความนี้ข้าพเจ้าบันทึกไว้หลังจากเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้วดังนี้

    ในหลวง
    “หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ”

    หลวงปู่
    “ขอถวายพระพรอาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์”

    ในหลวง
    “อยากไปหาหลวงพ่อเหมือนกัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก”

    หลวงปู่
    “พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็นการไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ”

    ในหลวง
    “สบายดี”

    หลวงปู่
    “ขอถวายพระพรมหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร”

    ในหลวง
    “ได้ ๕๐ ปี”

    หลวงปู่
    “อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี”

    ในหลวง
    “หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากกว่าพระที่วัด ในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า”

    หลวงปู่
    “ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีล บริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้”

    ในหลวง
    “การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยมีภารกิจมากจะปฏิบัติ อย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้น เข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจากหนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาที หรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือ ได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไปอย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม”

    หลวงปู่
    “ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้”

    ในหลวง
    “ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบให้สติตั้งอยู่ตลอด เวลา”

    หลวงปู่
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรทรงปฏิบัติอย่างนั้นถูกแล้ว การที่มหาบพิตรเสด็จพระราชดำเนิน มาปฏิบัติงานอย่างนี้ ก็เรียกว่าได้ทรงเจริญเมตตาในพรหมวิหารอยู่”

    ในหลวง
    “ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่นว่ามาตัดลูกนิมิตนี้ ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ด้วยขี้เกียจมาจึงมี กำลังใจมา และเมื่อได้โอกาสได้เรียนถามพระสงฆ์ว่า การปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็น ตอนๆ อย่างนี้จะได้ผลไหม อุปมาเหมือนช่างทาสีผนังโบสถ์ เขาทาทางนี้ดีแล้วพัก ทาทาง โน้นดีแล้วพัก ทำอยู่อย่างนี้ก็เสร็จได้ แต่ต้องใช้เวลาหน่อย จึงอยากเรียนถามว่าปฏิบัติอย่างนี้ จะมีผลสำเร็จไหม”

    หลวงปู่
    “ปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้โดยอาศัยหลัก ๓ อย่าง คือ มีศีลบริสุทธิ์ ทำบุญในชาติปางก่อนไว้มาก มี บาปน้อย ขอถวายพระพร”

    เจ้าคุณ
    “ได้ตามขั้นของสมาธิ คือ อุปจารสมาธิได้สมาธิเป็นแต่เฉียดๆ ขณิกสมาธิ ได้สมาธิเป็นขณะๆ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ได้สมาธิแน่วแน่ดิ่งลงไปได้นานๆ (อธิบายละเอียดกว่าที่บันทึกนี้)

    ในหลวง
    “ครับ ที่หลวงพ่อว่ามีศีลบริสุทธิ์ ชาติก่อนทำบุญไว้มากอยากทราบว่าผมเกิดเป็นอะไร ได้ทำ อะไรไว้บ้าง จึงได้มาเป็นอย่างนี้” (หลวงพ่อยิ้มและนิ่ง แล้วหันมาทางข้าพเจ้าบอกว่าตอบยาก)

    ข้าพเจ้า
    “ขอถวายพระพร หลวงพ่อไม่อาจจะพยากรณ์ถวายมหาบพิตรได้”

    เจ้าคุณ
    “หลวงพ่ออาจจะเกรงพระราชหฤทัยมหาบพิตรก็ได้ ขอถวายพระพร”

    ในหลวง
    “หลวงพ่อไม่ต้องเกรงใจว่าเป็นพระราชา ขอให้ถือว่าสนทนาธรรมก็แล้วกันยินดีรับฟังมีคน พูดกันว่า ชาติก่อนผมเกิดเป็นนักรบมีบริวารมาก ถ้าเป็นอย่างนั้น ศีล ๕ จะบริสุทธิ์ได้อย่าง ไร? การเป็นนักรบนั้นจะต้องได้ฆ่าคนสงสัยอยู่” (หลวงพ่อหันมากระซิบกับข้าพเจ้าว่า เอใคร ทำนายถวายท่านอย่างนั้นก็ไม่รู้ เราไม่รู้ เราไม่มีอตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ตอบยาก ต้องหลวงพ่อเมืองซิ)

    ข้าพเจ้า
    “ขอถวายพระพร หลวงพ่อยืนยันว่า มหาบพิตรมีศีลบริสุทธิ์และทรงมีบุญมาก”

    ในหลวง
    “เรื่องบุญกับกุศลนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง ตามที่รู้ผู้ทำบุญ หรือผู้มีบุญได้ผลแค่เทวดาอยู่สวรรค์ ผู้มี กุศลหรือทำกุศล มีผลให้ได้นิพพาน ถ้าอย่างนั้นที่ว่าพระราชามีบุญมากก็คงได้แค่เป็นเทวดา อยู่บนสวรรค์เท่านั้นไม่ได้นิพพาน ทำไมเราไม่พูดถึงกุศลกันมากๆ บ้าง หลวงพ่อสอนให้คน ปฏิบัติธรรมตามแนวปฏิบัติของหลวงพ่อบ้างหรือเปล่า”

    หลวงปู่
    “ขอถวายพระพร อาตมาภาพได้ทราบว่าที่วัดปากน้ำ วัดมหาธาตุ ก็มีสอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน มหาบพิตรเคยเสด็จไปบ้างไหม”

    ในหลวง
    “ทราบ แต่ไม่เคยไป หลวงพ่อสอนอย่างไร อยากฟังบ้างและอยากได้เป็นแนวปฏิบัติเอาอย่างนี้ ได้ไหม มีเครื่องหรือเปล่า” (นายชุมพลกระซิบข้าพเจ้าว่า...มีเทป)

    ข้าพเจ้า
    “ขอถวายพระพร เครื่องเทปของวัดมี”

    ในหลวง
    “ขอให้หลวงพ่อสอนตามแนวของหลวงพ่อที่เคยสอน จะสอนอะไรก็ได้”

    หลวงปู่
    “ขอถวายพระพร มีเป็นประเภทภาษิตคติธรรมต่างๆ”

    ในหลวง
    “อะไรก็ได้ ขอให้เป็นคำสอนก็ใช้ได้”

    หลวงปู่
    “ได้ ขอถวายพระพร”

    ในหลวง
    “ขอนมัสการลา”

    (ทรงกราบแล้วเสด็จพระราชดำเนินถึงประตูพระอุโบสถ เสด็จกลับมาที่หลวงพ่ออีก) แล้วตรัสว่า “หลวงพ่อจำหมอดนัยได้ไหม เคยส่งมาพยาบาลหลวงพ่อที่คราวหลวงพ่ออาพาธมาหลายปีแล้ว ผมจะให้เขานำเครื่องบันทึกมา”

    หลวงปู่
    “จำได้ ขอถวายพระพร”


    (หมายเหตุ เจ้าคุณฯ หมายถึง เจ้าคุณพระอินทรวิชยาจารย์ เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น)

    “สัพเพ ชนา สุชิโต โหนตุ”

    หลวงพ่อเกษม เขมโก

    (บทความทั้งหมดนี้ได้คัดลอกมาจาก หนังสือหลวงพ่อเกษม เขมโก)
    <!-- / message -->
     
  15. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    หลวงพ่อพุธตอบปัญหา..ธรรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถาม

    <TABLE width=700 align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>ภาวนาและบริกรรมต่างกันอย่างไร

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม :</TD><TD align=left width=600>คำว่า ภาวนา และ บริกรรม ต่างกันอย่างไรขอรับ คือเคยฟังพระเถระผู้ใหญ่บอกว่า การภาวนานี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไร ก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลาใช่ไหมขอรับ?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ :
    </TD><TD align=left width=600>ใช่แล้ว คำว่า ภาวนา กับ บริกรรม มีต่างกัน

    <DD>ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใสในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา <DD>แต่ บริกรรม นั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำ ๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า "บริกรรม" บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง
    </DD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ :</TD><TD align=left width=600>เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม :</TD><TD align=left width=600>ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ :</TD><TD align=left width=600>การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา

    <DD>เช่นอย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้ <DD><DD>ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา <DD><DD>จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม <DD><DD>ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้ <DD><DD>การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปี ๆ จิตไม่สงบ ก็มีอุบายที่จะปฏิบัติได้ <DD><DD>คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อย ๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิดกำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้ <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>วิญญาณคือธาตุรู้

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>คำว่า วิญญาณ หมายความว่า "ธาตุรู้" ใช่ไหมขอรับ?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>คำว่า วิญญาณ คือ "ธาตุรู้"

    <DD>วิญญาณในเบญจขันธ์หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น <DD>ตากับรูปกระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ <DD>เสียงกับหูกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ <DD>กลิ่นกับจมูกกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ฆานวิญญาณ <DD>ลิ้นกับรสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ <DD>กายกับสิ่งสัมผัสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้นเรียกว่า กายวิญญาณ <DD>จิตนึกคิดอารมณ์เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ ทีนี้วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสมาธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>วิธีทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>พอจิตนิ่ง ลมหายใจจะหายไป และคำภาวนาก็หายไปพร้อมกัน แต่รู้สึกเช่นนี้เพียงเดี๋ยวเดียวก็หายไป ควรจะทำอย่างไรต่อไป

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว จิตจะสงบละเอียดไปถึงจุดที่เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ลมหายใจก็ทำท่าจะหายขาดไปคำภาวนาก็หายไป พอรู้สึกว่ามีอาการเป็นอย่างนี้เกิดขึ้น ก็เกิดอาการตกใจ แล้วจิตก็ถอนจากสมาธิ

    <DD>เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ถ้ายังเสียดายความเป็นของจิตในขณะนั้น ให้กำหนดจิตพิจารณาใหม่ จนกว่าจิตจะสงบลงไป จนกว่าลมหายใจจะหายขาดไปคำภาวนาจะหายไป <DD><DD>ถ้าตอนนี้เราไม่เกิดเอะใจ หรือเปลี่ยนใจขึ้นมาก่อน จิตจะสงบนิ่งละเอียดลงไปกว่านั้น ในที่สุดจิตก็จะเข้าสู่อัปปนาสมาธิอยู่ในขั้นตัวก็หายไปหมด ยังเหลือแต่จิตรู้สงบสว่างอยู่อย่างเดียว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ <DD><DD>แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อลมหายใจหายไป คำภาวนาก็จะหายไป แล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา เลื่อนให้จิตมาพิจารณา พิจารณาโดยเพ่งกำหนดลงที่ใดลงหนึ่ง จะบริเวณร่างกายลงที่ใดที่หนึ่ง จะบริเวณร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูก แต่ตายังไม่เห็นก่อน เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูกแต่ตายังไม่เห็นก่อน ให้พิจารณาจนจิตสงบเห็นกระดูกชัดเจน ในทำนองนี้จะทำให้จิตเป็นสมถกรรมฐานเร็วขึ้น ซึ่งเคยมีตัวอย่างครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำกันมา คือ <DD><DD>ท่านอาจารย์องค์หนึ่งภาวนาพุทโธมาถึง ๖ ปี จิตสงบลงไป แต่ทำท่าว่าลมหายใจจะหายไป คำภาวนาก็หายไป แล้วสมาธิก็ถอนออก จิตไม่ถึงความสงบสักที อาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้เป็นชีผ้าขาวไม่ได้บวชเป็นเณรว่า <DD><DD>"ทำอย่างไรจิตมันจะสงบดี ๆ สักที" <DD><DD>อาจารย์องค์นั้นก็ให้คำแนะนำว่า <DD><DD>"ให้เพ่งลงที่หน้าอก พิจารณาให้เห็นกระดูก โดยพิจารณาลอกหนังออก แล้วจึงจ้องจิตบริกรรมภาวนาลงไปว่า อัฐิ อัฐิ อัฐิ" <DD><DD>อาจารย์ที่ถามจึงนำวิธีการนี้ไปปฏิบัติ ก็เกิดจิตสงบเป็นสมาธิ ในครั้งแรกก็มองเห็นเศษกระดูกตรงนั้น จิตมันก็นิ่งจ้องอยู่ตรงนั้น และผลสุดท้ายก็มองเห็นโครงกระดูกทั่วตัวไปหมด <DD><DD>ในเมื่อมองเห็นโครงกระดูกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง โครงกระดูกก็พังลงไป และสลายตัวไป สลายไปหมด ยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง สว่างอยู่อย่างเดียว และในอันดับต่อไปนั้น จิตจะสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉย ๆ <DD><DD>ภายหลังเมื่อจิตสงบสว่างอยู่พอสมควรแล้ว ก็เกิดความรู้อันละเอียดขึ้นมาภายในจิต แต่ไม่ทราบว่าอะไร มันมีลักษณะรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป มันเหมือนกับกลุ่มเมฆที่มันผ่านสายตาเราไปนั่นแหละ จิตก็นิ่งเฉย สงบนิ่ง สว่างอยู่ตลอดเวลา ที่มีให้รู้ให้เห็นก็ผ่านไปเรื่อย ๆ เราลองนึกภาพดูว่า ที่เกิดขึ้นเช่นนี้เรียกว่าอะไร <DD><DD>อาการเป็นเช่นนี้เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาอย่างละเอียดของจิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่อยู่เหนือสมมุติบัญญัติ สภาวธรรมส่วนที่เป็นสัจธรรมเกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติ มีแต่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งท่านอาจารย์มั่นเรียกว่า "ฐีติภูตัง" ซึ่งมีความหมายว่า <DD><DD>ฐีติ คือ ความตั้งเด่นของจิต อยู่ในสภาพที่สงบนิ่งเป็นกิริยาประชุมพร้อมของอริยมรรค ยังจิตให้บรรลุถึงความสุคติภาพโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตประชุมพร้อม ภายในจิตมีลักษณะ สงบ นิ่ง สว่าง อำนาจของอริยมรรคสามารถปฏิบัติจิตให้เกิดภูมิรู้ ภูมิธรรมอย่างละเอียด <DD><DD>ภูมิรู้ ภูมิธรรมซึ่งเกิดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีสมมุติ บัญญัติ เรียกว่า "ภูตัง" หมายถึงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร สงสัยต่อไปในเมื่อเราไม่สามารถจะเรียกว่าอะไร ทำอย่างไรเราจึงจะรู้สิ่งนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ แม้แต่ท่านแสดงธรรมจักกฯ ให้ภิกษุปัญวัคคีย์ฟัง เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรม เห็นธรรม ก็รู้แต่ว่า <DD><DD>"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" <DD></DD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>การเจริญภาวนาที่ท่านอาจารย์เสาร์แนะนำไว้ คือ

    <DD>๑. ให้เจริญสมาธิ <DD>๒. พิจารณาอสุภกรรมฐาน <DD>๓. ให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน <DD></DD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>อันนี้เป็นหลักวิชา เมื่อจะพูดกันให้จบ ต้องพูดกันตามลำดับขั้นในปัญหา ๓ ข้อ คือ

    <DD>๑. ให้เจริญสมาธิ <DD>๒. ให้พิจารณาอสุภกรรมฐาน <DD>๓. ให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน <DD><DD>ในข้อ ๓ ข้อนี้ใครจะเริ่มวิธีใดวิธีหนึ่งได้ ไม่ต้องไปบริกรรมพิจารณาใด ๆ ก็ได้ เช่น พอใจอยากพิจารณาอสุภกรรมฐาน ก็พิจารณาเรื่องอสุภกรรมฐานไปเลย ถ้าจะพิจารณาเรื่องธาตุก็พิจารณาเรื่องธาตุไปเลย <DD><DD>ทั้ง ๓ อย่างถ้าเจริญแล้ว การเจริญสมาธิด้วยบริกรรมภาวนาจะทำให้ผู้เจริญกรรมฐานนั้นได้รับผลช้า คือ บางทีเมื่อบริกรรมภาวนแล้ว จิตจะติดอยู่ในความสงบ ภายหลังจะต้องพิจารณาอสุภหรือธาตุกรรมฐานต่อไปจึงจะเกิดมีภูมิความรู้ขึ้นได้ <DD><DD>แต่ถ้าพิจารณาอสุภกรรมฐานเลยทีเดียว หรือพิจารณาธาตุกรรมฐานเลยทีเดียว การพิจารณาก็เป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิได้เหมือนในข้อต้น <DD><DD>ในเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิเพราะการพิจารณาข้อ ๒ และข้อ ๓ เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว จิตจะเกิดภูมิปัญญาขึ้นง่ายกว่าข้อหนึ่ง <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>การรวมของกระแสจิตเข้าสู่สมาธิ

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>เมื่อปฏิบัติต่อไปแล้วจะรู้สึกเหมือนมีอะไรวนกลับเข้ามาในตัว สิ่งนั้นคืออะไร ?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>อันนี้เป็นลักษณะของความหดสั้นเข้ามาของกระแสจิต เมื่อส่งกระแสออกไปไกล ๆ เมื่อเราภาวนาแล้วเมื่อจิตเริ่มสงบ จิตเริ่มหดสั้นเข้ามา ๆ จนกระทั่งถึงตัวแล้ว ก็ถึงจิตแห่งความสงบ

    <DD>บางครั้งมันอาจเกิดความรู้สึกว่า ทุกสิ่งมันรวมเข้ามา บางครั้งอาจเกิดแสงสว่างอยู่ไกล ๆ มองสุดสายตาในจิตสมาธิ เมื่อบริกรรมภาวนามากเข้าแสงนั่นจะเข้ามาหาตัว ทุกที ๆ เมื่อจิตสงบเข้ามาจริง ๆ แล้วแสงจะวิ่งเข้ามาในตัว เกิดความสงบสว่างขึ้น อันนี้เป็นการรวมของจิตเข้าสู่สมาธิ ซึ่งจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ <DD><DD>เมื่อต้องการจะหยุดทำสมาธิ คล้ายกับมีร่างอีกร่างหนึ่งมาซ้อนอยู่ และเหมือนกับมีจิตแยกกันอยู่ เหตุการณ์ดังที่ว่าจะเกิดขึ้นบางครั้งบางขณะ บางทีเราทำจิตสงบลงไป เราอาจจะมองเห็นตัวของเราอีกร่างหนึ่งแฝงขึ้นมา มีความรู้สึกขึ้นมา มีร่างสองร่าง มีจิตสองจิต เพราะในขณะนั้น เรารู้สึกว่า กายของเราแยกออกไปเป็นสองส่วน และจิตแยกออกเป็นสองส่วนด้วย <DD><DD>ในเมื่อเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ควรปฏิบัติอย่างไร <DD><DD>อะไรจะเกิดขึ้นก็แล้วแต่ จะเป็นสองร่าง สามร่าง สิบร่างก็แล้วแต่ สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นนั้นเป็นผลของสมาธิ กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก ถ้าไม่เห็นภาพอื่น ๆ ก็จิตสงบเข้าจริงจังแล้วจิตที่สองหรือร่างที่สองจะหายไป มารวมอยู่ที่จุด ๆ เดียว เป็นเรื่องธรรมดา เป็นทางผ่านของการทำสมาธิ <DD><DD>ปัญหาสำคัญ อย่าไปเอะใจหรืออย่าไปสำคัญกับเหตุการณ์เหล่านั้น ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไปเอะใจกับสิ่งเหล่านั้น จิตจะถอนออกจากสมาธิ นิมิตเหล่านั้นจะหายไป <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>ขั้นของสมาธิ

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>ขั้นของสมาธิที่เราปฏิบัติได้ จะสังเกตด้วยปรากฏการณ์ หรือระยะเวลาที่ปรากฏการณ์นั้น ?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>ขั้นของสมาธิที่ปรากฏการณ์เกิดขึ้น การเกิดขึ้นของสมาธิมี ๒ ลักษณะ

    <DD>เมื่อเราบริกรรมภาวนา หรือกำหนดพิจารณาอะไรอยู่ก็ตาม เมื่อจิตสงบเคลิ้ม ๆ ลงไปเหมือนจะนอนหลับ เมื่อจิตสงบวูบลงไปตั้งมั่นเป็นสมาธิ สว่างไสวขึ้น อันนี้เป็นลักษณะความสงบอย่างหนึ่ง ความสงบอย่างนี้เรียกว่า ผู้นั้นยังไม่ชำนาญในการเดินจิต <DD><DD>เราจะรู้เฉพาะเวลาเราบริกรรมภาวนา หรือพิจารณาอารมณ์ กับเมื่อตอนที่จิตสงบนิ่งแล้ว ในช่วงระหว่างกลางนี้ เรากำหนดไม่ได้ สมาธิจึงยังไม่พร้อมด้วยองค์ <DD><DD>สมาธิที่ถึงพร้อมด้วยองค์นั้น ผู้ภาวนาจะต้องกำหนดรู้ไปตั้งแต่ วิตก วิจาร เกิดปีติ เกิดสุข ยังเหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา ซึ่งเป็นสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิที่เดินตามแนวขององค์ฌาน เป็นสมาธิของผู้ที่ดำเนินจิตให้เป็นสมาธิได้พอสมควร <DD><DD>ถ้าชำนาญจริง ๆ แล้ว สามารถที่จะยับยั้งจิตของตน ให้อยู่ในองค์ฌานนั้น ๆตามต้องการได้ เว้นเสียแต่ว่าจิตลงไปถึงขั้นฌานขั้นที่ ๓ ที่ ๔ แล้วนั่นแหละ จิตจะเป็นไปโดยอัตโนมัติเราจะทำอะไรไม่ได้ <DD><DD>ถ้าจิตอยู่ในระหว่างฌานขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ ตอนนี้เราสามารถกำหนดเอาให้อยู่ในองค์ฌานนั้น ๆ ได้ ถ้าใช้ความตั้งใจอ่อน ๆ เรานึกประคองจิตให้อยู่ในระดับของปีติ ระดับของสุข ระดับของความสงบก็ได้ แต่เมื่อจิตสงบถึงฌานขั้นที่ ๓ ที่ ๔ แล้ว จิตจะดำเนินไปเองโดยอัตโนมัติ <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนา

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร ?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนา คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน

    <DD>ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดา ๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง <DD><DD>โดยความรู้สึก นึกคิดเอาเองนี่แหละ เป็นการตกแต่ง ปฏิปทาเพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิแล้ว จะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา <DD><DD>จงทำความเข้าใจว่า ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ ถ้าสมถะคือ สมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง <DD></DD></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>คำภาวนา พุทโธ เป็นสมาธิ จะทำวิปัสสนาต่อไปจะทำอย่างไร

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>คำภาวนา พุทโธ ทำจิตให้เป็นสมาธิ พูดได้ว่า ภาวนาพุทโธ ทำจิตให้สงบลงเป็นสมาธิเพียงแค่ขั้นอุปจารสมาธิ

    <DD>ถ้าต้องการทำจิตให้เป็นวิปัสสนาสืบเนื่องมาจากการภาวนาพุทโธ เมื่อทำจิตให้สงบลงไป รู้สึกว่าสงบสว่างขึ้นมาแล้ว น้อมจิตไปพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งเป็นพระไตรลักษณ์ <DD><DD>หรือมิฉะนั้นก็กำหนดรู้ที่จิตของตนเอง เมื่ออารมณ์อันใดเกิดขึ้นในความคิด ก็กำหนดตามความคิดนั้นเรื่อยไป เมื่อความคิดอันใดเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เราเอาพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ควบคุมความคิดว่า ความคิดนี้มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญวิปัสสนา ในสมาธิอ่อน ๆ <DD><DD>บางครั้งเมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตจะถอน ออกมาสู่จิตปกติธรรมดา ก็อย่าเลิกการพิจารณาเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นเครื่องหมายแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในที่สุด จิตจะสงบลงสู่ความเป็นสมาธิ และเกิดวิปัสสนากรรมฐานขึ้นมาโดยอัตโนมัติ <DD><DD>การบริกรรมภาวนานี้ บางทีบางท่านเพียงแต่บริกรรมภาวนา พอจิตสงบลงเป็นอุปจารสมาธิ จิตท่านผู้นั้นจะปฏิวัติไปสู่ภูมิวิปัสสนาโดยไม่ได้ตั้งใจ อันนี้แสดงว่าผู้นั้นได้เคยเจริญวิปัสสนาแล้วตั้งแต่ชาติก่อน <DD><DD>เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว วิปัสสนาก็ไม่เกิด เห็นแต่เพียงสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉย ๆ หากเป็นทำนองนี้ ต้องค้นคิด ฝึกหัด วิปัสสนากรรมฐาน ยกเอาอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณาจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาริ วิญญาณ ก็ได้ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนกว่าจะเกิดสมาธิขึ้นมาแล้วจึงจะรู้ภูมิแท้แห่งวิปัสสนาไปเอง <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>ปุพเพนิวาสานุสติญาณ

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>ที่กล่าวว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทราบว่า เหตุใดจึงเกิดเป็นคน </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>การรู้ว่าเหตุใดจึงเกิดเป็นคน อันนี้ไม่เฉพาะแต่พระพุทธเจ้า พวกฤาษีในสมัยโบราณก็รู้ว่าเหตุใดจึงเกิดเป็นคน เช่น พวกฤาษีชีไพร ที่บำเพ็ญตบะอยู่ในภูเขา เมื่อเขาทำ สมาธิจนได้ฌาน ก็สามารถรู้ได้เหมือนกันว่า ชาติก่อนท่านเกิดเป็นอะไร แต่ท่านเหล่านั้นมิได้บำเพ็ญมาเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถทำลายกิเลสได้

    <DD>อันนี้เป็นการระลึกชาติภพหลังได้ ไมใช่แต่พระพุทธเจ้าองค์เดียว แต่ในฐานะที่เราเรียนแต่ศาสนาของพระพุทธเจ้า เราจึงมักจะพูดว่า พระพุทธเจ้า องค์เดียวเท่านั้นที่รู้ว่าเหตุใด คนจึงเกิดมาเป็นคนได้ <DD><DD>ที่จริงฤาษีเขารู้ก่อนพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นความรู้พิเศษ ไม่จำเป็นแต่พระพุทธเจ้าองค์เดียวจะรู้ ผู้ใดทำสมาธิถึงขั้นสมถะ หรือสำเร็จฌาน สามารถรู้ยิ่งเห็นจริงว่าชาติก่อน เราเกิดมาเป็นอะไรมาแล้ว สามารถที่จะรู้ได้ <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>บุญอยู่ที่เจตนา

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>เวลานำของไปถวายพระ แต่พระไม่ได้ฉันอาหารนั้นผู้ถวายจะได้บุญเต็มที่ไหม ?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>ผู้ถวายจะได้บุญเต็มที่หรือไม่นั้น อยู่ที่ความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของเรา แม้แต่ว่า ถ้าเรานำของไปถวายพระแล้ว ยังระแวงสงสัยในพระว่า พระองค์นั้นจะบริสุทธิ์หรือไม่ บุญที่เราทำลงไปก็ไม่ได้อย่างเต็มที่

    <DD>การจะทำบุญจะได้บุญมากหรือน้อยก็อยู่ที่เจตนา ของเราบริสุทธิ์สะอาด ถ้าเราให้แต่คนยากจน มุ่งเพื่อความสงเคราะห์ ให้ผู้ทรงศีลทรงธรรม มุ่งเพื่อความบูชาให้แก่พระสงฆ์ มุ่งเพื่อให้ผู้ที่ทำกิจเพื่อพระศาสนา <DD><DD>เจตนาของเราบริสุทธิ์ เมื่อทำบุญลงไปแล้ว ถึงแม้ว่า พระไม่ได้ฉัน ท่านเพียงแต่รับ เราก็ได้บุญอย่างเต็มที่แล้ว <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>พิจารณาภูมิจิต </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>รูปขันธ์เมื่อแยกออกจากขันธ์ทั้ง ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้ว ตัวรูปขันธ์ จะเคลื่อนไหวได้หรือไม่?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>อันตัวรูปขันธ์จะเคลื่อนไหวได้หรือไม่นั้น จิตของผู้ภาวนาถ้ารู้สึกว่ารูปมันหายไปแล้ว ก็ไม่รู้ว่ารูปมันเคลื่อนไหวหรือไม่ประการใด

    <DD>ลักษณะของการพิจารณารูปขันธ์ หรือพิจารณาขันธ์ ๕ นี้ ในเมื่อเราจะกำหนดลงไปว่า เราจะพิจารณารูป เราก็พิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร ไปพร้อมกัน <DD><DD>ในเมื่อเราพิจารณารูปในแง่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ยกกาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นกายคตาสติกรรมฐาน ในเมื่อจิตสงบละเอียดลงไปแล้ว มันอาจจะเกิดนิมิตเห็นอสุภกรรมฐานหรือเห็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือเห็นอาการของร่างกายมันตายไป เน่าเปื่อยผุพังสลายไป จนกระทั่งไม่มีอะไรเหลือ ก็แสดงว่า รูปมันหายไป <DD><DD>ในเมื่อรูปมันหายไปแล้ว เวทนา สัญญา มันก็หายไปด้วย เวทนา สัญญา นี้ มันอาศัยรูปเป็นที่พึ่ง ถ้าหากรูปหายไปแล้ว เวทนา สัญญา จะไม่ปรากฏ คือ เวทนา สุข ทุกข์ ไม่มี มีแต่อุเบกขา เวทนา สัญญา ความทรงจำต่าง ๆ ก็ไม่มีในเมื่อรูปหายไปแล้ว จิตเกิดความรู้อะไรขึ้นมาไม่ได้อาศัยสัญญา แต่หากภูมิรู้จะเกิดขึ้นมาในส่วนละเอียด <DD><DD>ส่วนละเอียดที่จิตมีภูมิรู้ขึ้นมานั้น คือ ตัวสังขาร เมื่อรูป เวทนา สัญญา หายไปแล้ว ผู้ภาวนาจะมีความรู้สึกว่า สังขารยังเหลืออยู่ วิญญาณก็ยังเหลืออยู่ <DD><DD>แต่วิญญาณที่ยังเหลืออยู่ในลักษณะรู้ยิ่งเห็นจริงนั้น เป็นในลักษณะวิญญาณเหลืออยู่เฉพาะตัวผู้รู้ แต่ตัวกระทบไม่มี ถ้าหากในขณะนั้นจะมีสิ่งใดมากระทบให้จิตรู้ จิตก็ไม่มีอาการรู้ทางวิญญาณ เป็นแต่เพียงว่าตัวผู้รู้สามารถที่จะแกว่งกระแสไปรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามา <DD><DD>สิ่งที่ผ่านเข้ามาให้รู้ เปรียบเหมือนกับว่าอยู่เอกเทศส่วนหนึ่ง จิตตัวผู้รู้ก็อยู่ในลักษณะเอกเทศส่วนหนึ่ง คล้าย ๆ กับมันแยกออกไปคนละส่วน ไม่มีความสัมพันธ์กัน <DD><DD>ทำไมมันจึงเป็นเข่นนั้น ก็เพราะเหตุว่า ความรู้หรือสิ่งที่รู้ที่ปรากฏการณ์ขึ้นมานั้น คือ เป็นตัวสังขารจิต หรือเรียกว่า สังขารธรรม เป็นการปรุงของจิตส่วนละเอียด เป็นการปรุงขึ้นมาด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น <DD><DD>คือ รู้สึกเสมือนหนึ่งว่าสิ่งที่ตัวปรุงขึ้นมานั้น ไม่ใช่เรื่องของตนเอง เป็นเรื่องอื่นมาปรากฏการณ์ให้รู้ให้เห็นอันนี้เป็นลักษณะของภูมิจิตพิเศษ เป็นภูมิรู้อย่างละเอียด เป็นสิ่งที่มีอยู่เหมือนกับที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น คือ "ฐีติภูตัง" ของท่านอาจารย์มั่นนั่นเอง <DD><DD>อันนี้ คำถามว่าตัวรูปขันธ์นั้นจะเคลื่อนไหวได้ไหมขอให้พิจารณาดูภูมิจิตของตนเอง แล้วจะรู้จริงเห็นจริงไปเอง
    </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>สู่ภูมิแห่งปรมัตถธรรม

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>จิตตอนที่รู้สมมติบัญญัติเข้าปรมัตถ์นี้มีสภาพเป็นอย่างไร

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>ลักษณะของจิตที่จะเกิดภูมิรู้ ที่มันจะเข้าไปสู่ภูมิแห่งปรมัตถ์ เราพึงสังเกตอย่างนี้

    <DD>เช่น เราทำสมาธิด้วยการพิจารณาอะไรก็ตาม ในขณะที่เราน้อมนึกโดยเจตนา โดยความตั้งใจ โดยอาศัยภูมิความรู้ที่ได้จากตำรับตำรา หรือได้เรียน เช่น เราอาจนึกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง แล้วนำเป็นอุบายนำจิตสงบลงไปสู่สมาธิขั้นอุปจารสมาธิ <DD>ในเมื่อจิตสงบลงไปสู่ภูมิขั้นนี้ อำนาจจิตจะปฏิวัติเป็นภูมิรู้ขึ้นมา รู้ในเรื่องที่เราได้พิจารณามาแต่เบื้องต้นว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความรู้อันนี้เกิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ <DD><DD>เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จิตกับความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น จิตรู้รูปก็อยู่ที่รูป จิตรู้เวทนาก็อยู่ที่เวทนา ความรู้อันนี้ยังอยู่ในสมมติบัญญัติ คือ รู้อะไรก็เรียกว่าอันนั้น เช่น รู้รูปเห็นรูปก็เรียกว่า รูป รู้เวทนาเห็นเวทนาก็เรียกว่า เวทนา เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็รู้อยู่เรื่อย ๆ ไปอย่างนี้ <DD><DD>ในเมื่อจิตตามรู้ ความรู้ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจิต จนกว่าจิตจะรู้ซึ้งเห็นจริงลงไปแล้ว ยอมรับสภาพความเป็นจริง <DD><DD>เมื่อจิตยอมรับสภาพความเป็นจริงแล้ว จิตจะตัดกระแสแห่งความรู้อันเป็นสมมติบัญญัตินั้นให้ขาดตอนลงไปสู่ความว่าง <DD><DD>เมื่อจิตเกิดความว่างขึ้นมาแล้ว ในอันดับต่อไป จิตจะก้าวหน้าไปสู่ภูมิปรมัตถธรรม เมื่อภูมิความรู้อันใด เกิดขึ้นมาในขณะนี้ เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เกิดขึ้นมาแล้ว จะไม่มีสมมติบัญญัติ <DD><DD>ถ้ามองเห็นด้วยสมมติว่าอาจจะเห็นนิมิตเกิดขึ้นมา เป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งเห็นร่างกายนอนตาย เน่าเปื่อยผุพัง จิตจะอยู่เฉย ๆ ไม่มีสมมติบัญญัติว่าอะไร <DD><DD>เมื่อเห็นรูปของตังเอง จิตก็ไม่ว่ารูปของตัวเอง เมื่อรูปเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไปในที่สุด จิตก็จะไม่มีสมมติบัญญัติ เรียกอาการที่เป็นไปตามขั้นตอน เห็นเนื้อไม่ว่าเนื้อ เห็นหนังไม่ว่าหนัง เห็นกระดูกไม่ว่ากระดูก เห็นการสลายเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าการสลายเปลี่ยนแปลง จิตจะเห็นอยู่เฉย ๆ ไม่มีสมมติบัญญัติใด ๆ ทั้งสิ้น <DD><DD>อันนี้คืออาการที่จิตเดินเข้าสู่ภูมิแห่งปรมัตถธรรมโดยไม่มีสมมติบัญญัติ ไม่มีตัวตน ไม่มีตัว ไม่มีผู้หญิง ไม่มีผู้ชาย ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีจิต ไม่มีสภาวธรรมอะไรทั้งนั้น
    <DD>แต่ว่าจิตผู้รู้ปรากฏเด่นชัด สิ่งที่รู้ก็ปรากฏให้รู้ให้เห็น อยู่ตลอดเวลา อันนี้คือลักษณะของจิตที่ก้าวขึ้นไปสู่ภูมิปรมัตถ์ <DD></DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2><HR width=350></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>ปัญญาในมรรค ๘

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>ถาม : </TD><TD align=left width=600>ทำไม มรรค ๘ จึงมีปัญญาอยู่ ๒ อย่าง ?

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD align=left width=600>มรรค ๘ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ จิตตั้งมั่นชอบ <DD>ในเมื่อภูมิจิตของผู้ดำเนินนั้นยังไม่ประชุมพร้อมลงไปเป็นหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างจะปรากฏที่อาการ เช่น สัมมาทิฏฐิ ( เห็นชอบ) ก็มีอยู่ สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ก็มีอยู่ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องของปัญญา <DD><DD>ปัญญาในมรรค ๘ ยังไม่มาประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่ง ที่ดวงจิต ยังมีสอง ในขณะที่มรรค ๘ ยังไม่ประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่งที่ดวงจิต ยังมีอาการอยู่ ๘ นั้น เป็นอาการของมรรคเมื่อประชุมพร้อมเป็นหนึ่ง คือ สมาธิ <DD><DD>ความประชุมพร้อมเป็นหนึ่งนั้นอยู่ที่สมาธิ ในเมื่อสัมมาสมาธิ เป็นหนึ่งแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเกิดขึ้น <DD><DD>ทีนี้อาการเกิดขึ้นของมรรค ๘ ในเมื่อประชุมพร้อมลงแล้ว เราจะนับอาการไม่ถูก เพราะถ้าหากมรรค ๘ ยังแยกกันอยู่ตราบใด เราไม่สามารถปฏิบัติจิตไปสู่ภูมิรู้ ภูมิธรรม ได้เลย เพียงแต่ว่าเราทำให้จิตสงบเพียงนิดหน่อยเท่านั้น <DD><DD>เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญมักจะหนักใจว่า ทั้ง ๘ ข้อนี้จะทำอย่างไร กว่าจะรวมลงมาเป็นหนึ่ง มิต้องเสียเวลามากมายหรือ ? <DD><DD>การรวมธรรมะคือมรรค ๘ นี้ เราจะต้องเริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เป็นประการแรกก่อน <DD><DD>ประการที่สอง พยายามทำใจ ฝึกหัดใจให้เป็นสมาธิ <DD><DD>ประการที่สาม ทำสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบในการปฏิบัติว่าเพื่ออะไร <DD><DD>เมื่อมุ่งผลแห่งความสงบ รู้ยิ่งเห็นจริงตามสภาวธรรม ตามความเป็นจริง ในเมื่อศีลก็บริสุทธิ์ เป็นอุบายที่ทำให้จิตสงบลงเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สมาธิจิต <DD><DD>สมาธิ เมื่อจิตสงบลงเป็นหนึ่ง คือจิตไปนิ่งอยู่เฉย ๆ อันนี้เป็นแต่เพียงมีสมาธิองค์เดียวเท่านั้น <DD>ถ้าสติสัมปชัญญะยังไม่มีกำลังเพียงพอ ศรัทธาพละ ยังไม่เก่ง วิริยะพละยังไม่มี สติพละยังไม่พร้อม สมาธิพละยังไม่เข้มแข็ง ปัญญาพละยังไม่มีกำลังที่จะรอบรู้ถึงที่สุด จิตก็ยังไม่ประชุมพร้อมอริยมรรครวมเป็นหนึ่งได้ ต้องพยายามที่จะฝึกหัดสมาธิให้ยิ่งขึ้น <DD><DD>ในเมื่อทั้งมรรค ๘ รวมกันเป็นหนึ่งแล้ว มีแต่หนึ่งไม่มีสอง ในเมื่อยังไม่ประชุมพร้อม มันก็ยังมีแยกกันเป็นสองคำถามที่ว่าทำไมปัญญาในมรรค ๘ จึงมี ๒ ก็เพราะเราไปพูดตามอาการ <DD><DD>ในเมื่อเราทำจิตเป็นสมาธิ ประชุมพร้อมด้วยอริยมรรคแล้ว สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะรวมเป็นหนึ่ง สัมมาอันอื่น ๆ ก็จะรวมเข้ามา จนรวมเป็นหนึ่งเท่านั้น เมื่ออริยมรรครวมกันเป็นหนึ่งแล้ว ก็สามารถปฏิวัติจิตไปสู่ภูมิรู้ภูมิธรรมได้
    </DD></TD></TR><TR><TD align=middle colSpan=2>
    <HR width=350>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. ภาวิโต

    ภาวิโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    269
    ค่าพลัง:
    +268
    ต้องขออภัยคุณธร ในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ไม่รู้จะแก้ตัวอย่างไร เมื่อผิดพลาดก็ขอยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นนะครับ แต่อยากจะถือโอกาสเล่าความจริงให้ทราบเรื่องหนึ่งแล้วคุณธรและอีกหลายๆท่านจะเข้าใจ หลังจากที่ได้ทราบกุศลเจตนาของคุณธร ผมก็พยายามนึกหาบุคคลที่มีความสามารถทางด้านภาษาเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ก็ได้ทราบกิติศัพท์และความสามารถของสุภาพสตรีท่านหนึ่งคิดว่าถ้ามีโอกาสก็จะลองคุยเรื่องนี้กับท่าน จังหวะโชคดีครับได้มีโอกาสพบกับท่านผู้นี้ ท่านคือดร.ดาราวรรณ เด่นอุดม หลายๆท่านคงถึงบางอ้อนะครับ ได้พบกับท่านที่วัดป่าวะภูแก้ว อ.สูงเนิน นครราชสีมา ท่านนำนักเรียนระดับมัธยมจำนวนประมาณ 200 คนไปปฎิบัติธรรม อันนี้เป็นภารกิจที่ท่านได้ปฎิบัติอยู่เป็นประจำ ผมได้เรียนเรื่องการแปลดังกล่าวกับท่าน ท่านเกรงว่าจะไม่มีเวลา และท่านเองก็ห่างทางด้านศัพท์แสงทางธรรมะมานานนับสิบปี แต่ก็ยินดีที่จะช่วยตรวจทานให้ได้ สำหรับภูมิหลังของท่าน จบปริญญาตรีและโท จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาเอกทางด้านภาษา จากฝรั่งเศส ข้อสำคัญท่านเป็นผู้ที่สนใจในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ปัจจุบันท่านพักอาศัยอยู่ที่นครราชสีมาครับ สามารถติดต่อกับท่านได้ที่วัดป่าวะภูแก้วครับ เรียนท่านว่าเป็นเรื่องที่ผมได้เคยมาพูดคุยไว้
     
  17. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    ตอนนี้มีกลุ่มคนที่ไม่เคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวโต้แย่งอย่างรุนแรงและไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี อยากรู้ว่าพวกเค้านั้นเป็นคนไทยหรือเปล่า ความดีที่ทุกๆพระองค์ ทุกๆท่านทำนั้นยังไม่ประจักษ์หรือครับ หรือว่าใจบอดซะแล้วครับ
     
  18. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    กราบขอบพระคุณค่ะคุณลุง...

    ธรจะลองติดต่อท่านดูค่ะ...

    โมทนากับคุณลุงด้วยนะคะ...
     
  19. Sawiiika

    Sawiiika เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,811
    ค่าพลัง:
    +1,557
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2008
  20. พัฒนาตน

    พัฒนาตน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +1,282
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถามปัญหาธรรมกับหลวงพ่อพุธ
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ภาวนาและบริกรรมต่างกันอย่างไร
    ถาม : คำว่า ภาวนา และ บริกรรม ต่างกันอย่างไรขอรับ คือเคยฟังพระเถระผู้ใหญ่บอกว่า การภาวนานี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไร ก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลาใช่ไหมขอรับ?
    หลวงพ่อ : ใช่แล้ว คำว่า ภาวนา กับ บริกรรม มีต่างกัน
    ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใสในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา
    แต่ บริกรรม นั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำ ๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า "บริกรรม" บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง
    หลวงพ่อ : เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก
    ถาม : ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่?
    หลวงพ่อ : การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา
    เช่นอย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้
    ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา
    จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม
    ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้
    การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปี ๆ จิตไม่สงบ ก็มีอุบายที่จะปฏิบัติได้
    คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อย ๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิดกำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้

    --------------------------------------------------------------------------------

    วิญญาณคือธาตุรู้
    ถาม : คำว่า วิญญาณ หมายความว่า "ธาตุรู้" ใช่ไหมขอรับ?
    หลวงพ่อ : คำว่า วิญญาณ คือ "ธาตุรู้"
    วิญญาณในเบญจขันธ์หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น
    ตากับรูปกระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
    เสียงกับหูกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ
    กลิ่นกับจมูกกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ฆานวิญญาณ
    ลิ้นกับรสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
    กายกับสิ่งสัมผัสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้นเรียกว่า กายวิญญาณ
    จิตนึกคิดอารมณ์เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ ทีนี้วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสมาธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด

    --------------------------------------------------------------------------------

    วิธีทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ
    ถาม : พอจิตนิ่ง ลมหายใจจะหายไป และคำภาวนาก็หายไปพร้อมกัน แต่รู้สึกเช่นนี้เพียงเดี๋ยวเดียวก็หายไป ควรจะทำอย่างไรต่อไป
    หลวงพ่อ : เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว จิตจะสงบละเอียดไปถึงจุดที่เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ลมหายใจก็ทำท่าจะหายขาดไปคำภาวนาก็หายไป พอรู้สึกว่ามีอาการเป็นอย่างนี้เกิดขึ้น ก็เกิดอาการตกใจ แล้วจิตก็ถอนจากสมาธิ
    เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ถ้ายังเสียดายความเป็นของจิตในขณะนั้น ให้กำหนดจิตพิจารณาใหม่ จนกว่าจิตจะสงบลงไป จนกว่าลมหายใจจะหายขาดไปคำภาวนาจะหายไป
    ถ้าตอนนี้เราไม่เกิดเอะใจ หรือเปลี่ยนใจขึ้นมาก่อน จิตจะสงบนิ่งละเอียดลงไปกว่านั้น ในที่สุดจิตก็จะเข้าสู่อัปปนาสมาธิอยู่ในขั้นตัวก็หายไปหมด ยังเหลือแต่จิตรู้สงบสว่างอยู่อย่างเดียว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ
    แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อลมหายใจหายไป คำภาวนาก็จะหายไป แล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา เลื่อนให้จิตมาพิจารณา พิจารณาโดยเพ่งกำหนดลงที่ใดลงหนึ่ง จะบริเวณร่างกายลงที่ใดที่หนึ่ง จะบริเวณร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูก แต่ตายังไม่เห็นก่อน เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูกแต่ตายังไม่เห็นก่อน ให้พิจารณาจนจิตสงบเห็นกระดูกชัดเจน ในทำนองนี้จะทำให้จิตเป็นสมถกรรมฐานเร็วขึ้น ซึ่งเคยมีตัวอย่างครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำกันมา คือ
    ท่านอาจารย์องค์หนึ่งภาวนาพุทโธมาถึง ๖ ปี จิตสงบลงไป แต่ทำท่าว่าลมหายใจจะหายไป คำภาวนาก็หายไป แล้วสมาธิก็ถอนออก จิตไม่ถึงความสงบสักที อาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้เป็นชีผ้าขาวไม่ได้บวชเป็นเณรว่า
    "ทำอย่างไรจิตมันจะสงบดี ๆ สักที"
    อาจารย์องค์นั้นก็ให้คำแนะนำว่า
    "ให้เพ่งลงที่หน้าอก พิจารณาให้เห็นกระดูก โดยพิจารณาลอกหนังออก แล้วจึงจ้องจิตบริกรรมภาวนาลงไปว่า อัฐิ อัฐิ อัฐิ"
    อาจารย์ที่ถามจึงนำวิธีการนี้ไปปฏิบัติ ก็เกิดจิตสงบเป็นสมาธิ ในครั้งแรกก็มองเห็นเศษกระดูกตรงนั้น จิตมันก็นิ่งจ้องอยู่ตรงนั้น และผลสุดท้ายก็มองเห็นโครงกระดูกทั่วตัวไปหมด
    ในเมื่อมองเห็นโครงกระดูกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง โครงกระดูกก็พังลงไป และสลายตัวไป สลายไปหมด ยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง สว่างอยู่อย่างเดียว และในอันดับต่อไปนั้น จิตจะสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉย ๆ
    ภายหลังเมื่อจิตสงบสว่างอยู่พอสมควรแล้ว ก็เกิดความรู้อันละเอียดขึ้นมาภายในจิต แต่ไม่ทราบว่าอะไร มันมีลักษณะรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป มันเหมือนกับกลุ่มเมฆที่มันผ่านสายตาเราไปนั่นแหละ จิตก็นิ่งเฉย สงบนิ่ง สว่างอยู่ตลอดเวลา ที่มีให้รู้ให้เห็นก็ผ่านไปเรื่อย ๆ เราลองนึกภาพดูว่า ที่เกิดขึ้นเช่นนี้เรียกว่าอะไร
    อาการเป็นเช่นนี้เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาอย่างละเอียดของจิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่อยู่เหนือสมมุติบัญญัติ สภาวธรรมส่วนที่เป็นสัจธรรมเกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติ มีแต่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งท่านอาจารย์มั่นเรียกว่า "ฐีติภูตัง" ซึ่งมีความหมายว่า
    ฐีติ คือ ความตั้งเด่นของจิต อยู่ในสภาพที่สงบนิ่งเป็นกิริยาประชุมพร้อมของอริยมรรค ยังจิตให้บรรลุถึงความสุคติภาพโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตประชุมพร้อม ภายในจิตมีลักษณะ สงบ นิ่ง สว่าง อำนาจของอริยมรรคสามารถปฏิบัติจิตให้เกิดภูมิรู้ ภูมิธรรมอย่างละเอียด
    ภูมิรู้ ภูมิธรรมซึ่งเกิดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีสมมุติ บัญญัติ เรียกว่า "ภูตัง" หมายถึงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร สงสัยต่อไปในเมื่อเราไม่สามารถจะเรียกว่าอะไร ทำอย่างไรเราจึงจะรู้สิ่งนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ แม้แต่ท่านแสดงธรรมจักกฯ ให้ภิกษุปัญวัคคีย์ฟัง เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรม เห็นธรรม ก็รู้แต่ว่า
    "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา"
    ถาม : การเจริญภาวนาที่ท่านอาจารย์เสาร์แนะนำไว้ คือ
    ๑. ให้เจริญสมาธิ
    ๒. พิจารณาอสุภกรรมฐาน
    ๓. ให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน
    หลวงพ่อ : อันนี้เป็นหลักวิชา เมื่อจะพูดกันให้จบ ต้องพูดกันตามลำดับขั้นในปัญหา ๓ ข้อ คือ
    ๑. ให้เจริญสมาธิ
    ๒. ให้พิจารณาอสุภกรรมฐาน
    ๓. ให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน
    ในข้อ ๓ ข้อนี้ใครจะเริ่มวิธีใดวิธีหนึ่งได้ ไม่ต้องไปบริกรรมพิจารณาใด ๆ ก็ได้ เช่น พอใจอยากพิจารณาอสุภกรรมฐาน ก็พิจารณาเรื่องอสุภกรรมฐานไปเลย ถ้าจะพิจารณาเรื่องธาตุก็พิจารณาเรื่องธาตุไปเลย
    ทั้ง ๓ อย่างถ้าเจริญแล้ว การเจริญสมาธิด้วยบริกรรมภาวนาจะทำให้ผู้เจริญกรรมฐานนั้นได้รับผลช้า คือ บางทีเมื่อบริกรรมภาวนแล้ว จิตจะติดอยู่ในความสงบ ภายหลังจะต้องพิจารณาอสุภหรือธาตุกรรมฐานต่อไปจึงจะเกิดมีภูมิความรู้ขึ้นได้
    แต่ถ้าพิจารณาอสุภกรรมฐานเลยทีเดียว หรือพิจารณาธาตุกรรมฐานเลยทีเดียว การพิจารณาก็เป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิได้เหมือนในข้อต้น
    ในเมื่อจิตสงบเป็นสมาธิเพราะการพิจารณาข้อ ๒ และข้อ ๓ เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว จิตจะเกิดภูมิปัญญาขึ้นง่ายกว่าข้อหนึ่ง

    --------------------------------------------------------------------------------

    การรวมของกระแสจิตเข้าสู่สมาธิ
    ถาม : เมื่อปฏิบัติต่อไปแล้วจะรู้สึกเหมือนมีอะไรวนกลับเข้ามาในตัว สิ่งนั้นคืออะไร ?
    หลวงพ่อ : อันนี้เป็นลักษณะของความหดสั้นเข้ามาของกระแสจิต เมื่อส่งกระแสออกไปไกล ๆ เมื่อเราภาวนาแล้วเมื่อจิตเริ่มสงบ จิตเริ่มหดสั้นเข้ามา ๆ จนกระทั่งถึงตัวแล้ว ก็ถึงจิตแห่งความสงบ
    บางครั้งมันอาจเกิดความรู้สึกว่า ทุกสิ่งมันรวมเข้ามา บางครั้งอาจเกิดแสงสว่างอยู่ไกล ๆ มองสุดสายตาในจิตสมาธิ เมื่อบริกรรมภาวนามากเข้าแสงนั่นจะเข้ามาหาตัว ทุกที ๆ เมื่อจิตสงบเข้ามาจริง ๆ แล้วแสงจะวิ่งเข้ามาในตัว เกิดความสงบสว่างขึ้น อันนี้เป็นการรวมของจิตเข้าสู่สมาธิ ซึ่งจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
    เมื่อต้องการจะหยุดทำสมาธิ คล้ายกับมีร่างอีกร่างหนึ่งมาซ้อนอยู่ และเหมือนกับมีจิตแยกกันอยู่ เหตุการณ์ดังที่ว่าจะเกิดขึ้นบางครั้งบางขณะ บางทีเราทำจิตสงบลงไป เราอาจจะมองเห็นตัวของเราอีกร่างหนึ่งแฝงขึ้นมา มีความรู้สึกขึ้นมา มีร่างสองร่าง มีจิตสองจิต เพราะในขณะนั้น เรารู้สึกว่า กายของเราแยกออกไปเป็นสองส่วน และจิตแยกออกเป็นสองส่วนด้วย
    ในเมื่อเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น ควรปฏิบัติอย่างไร
    อะไรจะเกิดขึ้นก็แล้วแต่ จะเป็นสองร่าง สามร่าง สิบร่างก็แล้วแต่ สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นนั้นเป็นผลของสมาธิ กระแสจิตส่งออกไปข้างนอก ถ้าไม่เห็นภาพอื่น ๆ ก็จิตสงบเข้าจริงจังแล้วจิตที่สองหรือร่างที่สองจะหายไป มารวมอยู่ที่จุด ๆ เดียว เป็นเรื่องธรรมดา เป็นทางผ่านของการทำสมาธิ
    ปัญหาสำคัญ อย่าไปเอะใจหรืออย่าไปสำคัญกับเหตุการณ์เหล่านั้น ให้กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไปเอะใจกับสิ่งเหล่านั้น จิตจะถอนออกจากสมาธิ นิมิตเหล่านั้นจะหายไป

    --------------------------------------------------------------------------------

    ขั้นของสมาธิ
    ถาม : ขั้นของสมาธิที่เราปฏิบัติได้ จะสังเกตด้วยปรากฏการณ์ หรือระยะเวลาที่ปรากฏการณ์นั้น ?
    หลวงพ่อ : ขั้นของสมาธิที่ปรากฏการณ์เกิดขึ้น การเกิดขึ้นของสมาธิมี ๒ ลักษณะ
    เมื่อเราบริกรรมภาวนา หรือกำหนดพิจารณาอะไรอยู่ก็ตาม เมื่อจิตสงบเคลิ้ม ๆ ลงไปเหมือนจะนอนหลับ เมื่อจิตสงบวูบลงไปตั้งมั่นเป็นสมาธิ สว่างไสวขึ้น อันนี้เป็นลักษณะความสงบอย่างหนึ่ง ความสงบอย่างนี้เรียกว่า ผู้นั้นยังไม่ชำนาญในการเดินจิต
    เราจะรู้เฉพาะเวลาเราบริกรรมภาวนา หรือพิจารณาอารมณ์ กับเมื่อตอนที่จิตสงบนิ่งแล้ว ในช่วงระหว่างกลางนี้ เรากำหนดไม่ได้ สมาธิจึงยังไม่พร้อมด้วยองค์
    สมาธิที่ถึงพร้อมด้วยองค์นั้น ผู้ภาวนาจะต้องกำหนดรู้ไปตั้งแต่ วิตก วิจาร เกิดปีติ เกิดสุข ยังเหลือแต่เอกัคคตากับอุเบกขา ซึ่งเป็นสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิที่เดินตามแนวขององค์ฌาน เป็นสมาธิของผู้ที่ดำเนินจิตให้เป็นสมาธิได้พอสมควร
    ถ้าชำนาญจริง ๆ แล้ว สามารถที่จะยับยั้งจิตของตน ให้อยู่ในองค์ฌานนั้น ๆตามต้องการได้ เว้นเสียแต่ว่าจิตลงไปถึงขั้นฌานขั้นที่ ๓ ที่ ๔ แล้วนั่นแหละ จิตจะเป็นไปโดยอัตโนมัติเราจะทำอะไรไม่ได้
    ถ้าจิตอยู่ในระหว่างฌานขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ ตอนนี้เราสามารถกำหนดเอาให้อยู่ในองค์ฌานนั้น ๆ ได้ ถ้าใช้ความตั้งใจอ่อน ๆ เรานึกประคองจิตให้อยู่ในระดับของปีติ ระดับของสุข ระดับของความสงบก็ได้ แต่เมื่อจิตสงบถึงฌานขั้นที่ ๓ ที่ ๔ แล้ว จิตจะดำเนินไปเองโดยอัตโนมัติ

    --------------------------------------------------------------------------------

    สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนา
    ถาม : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร ?
    หลวงพ่อ : สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนา คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน
    ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดา ๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
    โดยความรู้สึก นึกคิดเอาเองนี่แหละ เป็นการตกแต่ง ปฏิปทาเพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิแล้ว จะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    จงทำความเข้าใจว่า ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ ถ้าสมถะคือ สมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง
    ถาม : คำภาวนา พุทโธ เป็นสมาธิ จะทำวิปัสสนาต่อไปจะทำอย่างไร
    หลวงพ่อ : คำภาวนา พุทโธ ทำจิตให้เป็นสมาธิ พูดได้ว่า ภาวนาพุทโธ ทำจิตให้สงบลงเป็นสมาธิเพียงแค่ขั้นอุปจารสมาธิ
    ถ้าต้องการทำจิตให้เป็นวิปัสสนาสืบเนื่องมาจากการภาวนาพุทโธ เมื่อทำจิตให้สงบลงไป รู้สึกว่าสงบสว่างขึ้นมาแล้ว น้อมจิตไปพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ซึ่งเป็นพระไตรลักษณ์
    หรือมิฉะนั้นก็กำหนดรู้ที่จิตของตนเอง เมื่ออารมณ์อันใดเกิดขึ้นในความคิด ก็กำหนดตามความคิดนั้นเรื่อยไป เมื่อความคิดอันใดเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไป เราเอาพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ควบคุมความคิดว่า ความคิดนี้มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เจริญวิปัสสนา ในสมาธิอ่อน ๆ
    บางครั้งเมื่อเจริญสมาธิแล้ว จิตจะถอน ออกมาสู่จิตปกติธรรมดา ก็อย่าเลิกการพิจารณาเป็นเครื่องรู้ของจิต เป็นเครื่องระลึกของสติ เป็นเครื่องหมายแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ในที่สุด จิตจะสงบลงสู่ความเป็นสมาธิ และเกิดวิปัสสนากรรมฐานขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
    การบริกรรมภาวนานี้ บางทีบางท่านเพียงแต่บริกรรมภาวนา พอจิตสงบลงเป็นอุปจารสมาธิ จิตท่านผู้นั้นจะปฏิวัติไปสู่ภูมิวิปัสสนาโดยไม่ได้ตั้งใจ อันนี้แสดงว่าผู้นั้นได้เคยเจริญวิปัสสนาแล้วตั้งแต่ชาติก่อน
    เมื่อจิตสงบลงไปแล้ว วิปัสสนาก็ไม่เกิด เห็นแต่เพียงสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉย ๆ หากเป็นทำนองนี้ ต้องค้นคิด ฝึกหัด วิปัสสนากรรมฐาน ยกเอาอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณาจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาริ วิญญาณ ก็ได้ ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนกว่าจะเกิดสมาธิขึ้นมาแล้วจึงจะรู้ภูมิแท้แห่งวิปัสสนาไปเอง

    --------------------------------------------------------------------------------

    ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
    ถาม : ที่กล่าวว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระองค์เดียวเท่านั้นที่ทราบว่า เหตุใดจึงเกิดเป็นคน
    หลวงพ่อ : การรู้ว่าเหตุใดจึงเกิดเป็นคน อันนี้ไม่เฉพาะแต่พระพุทธเจ้า พวกฤาษีในสมัยโบราณก็รู้ว่าเหตุใดจึงเกิดเป็นคน เช่น พวกฤาษีชีไพร ที่บำเพ็ญตบะอยู่ในภูเขา เมื่อเขาทำ สมาธิจนได้ฌาน ก็สามารถรู้ได้เหมือนกันว่า ชาติก่อนท่านเกิดเป็นอะไร แต่ท่านเหล่านั้นมิได้บำเพ็ญมาเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถทำลายกิเลสได้
    อันนี้เป็นการระลึกชาติภพหลังได้ ไมใช่แต่พระพุทธเจ้าองค์เดียว แต่ในฐานะที่เราเรียนแต่ศาสนาของพระพุทธเจ้า เราจึงมักจะพูดว่า พระพุทธเจ้า องค์เดียวเท่านั้นที่รู้ว่าเหตุใด คนจึงเกิดมาเป็นคนได้
    ที่จริงฤาษีเขารู้ก่อนพระพุทธเจ้า อันนี้เป็นความรู้พิเศษ ไม่จำเป็นแต่พระพุทธเจ้าองค์เดียวจะรู้ ผู้ใดทำสมาธิถึงขั้นสมถะ หรือสำเร็จฌาน สามารถรู้ยิ่งเห็นจริงว่าชาติก่อน เราเกิดมาเป็นอะไรมาแล้ว สามารถที่จะรู้ได้

    --------------------------------------------------------------------------------

    บุญอยู่ที่เจตนา
    ถาม : เวลานำของไปถวายพระ แต่พระไม่ได้ฉันอาหารนั้นผู้ถวายจะได้บุญเต็มที่ไหม ?
    หลวงพ่อ : ผู้ถวายจะได้บุญเต็มที่หรือไม่นั้น อยู่ที่ความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของเรา แม้แต่ว่า ถ้าเรานำของไปถวายพระแล้ว ยังระแวงสงสัยในพระว่า พระองค์นั้นจะบริสุทธิ์หรือไม่ บุญที่เราทำลงไปก็ไม่ได้อย่างเต็มที่
    การจะทำบุญจะได้บุญมากหรือน้อยก็อยู่ที่เจตนา ของเราบริสุทธิ์สะอาด ถ้าเราให้แต่คนยากจน มุ่งเพื่อความสงเคราะห์ ให้ผู้ทรงศีลทรงธรรม มุ่งเพื่อความบูชาให้แก่พระสงฆ์ มุ่งเพื่อให้ผู้ที่ทำกิจเพื่อพระศาสนา
    เจตนาของเราบริสุทธิ์ เมื่อทำบุญลงไปแล้ว ถึงแม้ว่า พระไม่ได้ฉัน ท่านเพียงแต่รับ เราก็ได้บุญอย่างเต็มที่แล้ว

    --------------------------------------------------------------------------------

    พิจารณาภูมิจิต
    ถาม : รูปขันธ์เมื่อแยกออกจากขันธ์ทั้ง ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้ว ตัวรูปขันธ์ จะเคลื่อนไหวได้หรือไม่?
    หลวงพ่อ : อันตัวรูปขันธ์จะเคลื่อนไหวได้หรือไม่นั้น จิตของผู้ภาวนาถ้ารู้สึกว่ารูปมันหายไปแล้ว ก็ไม่รู้ว่ารูปมันเคลื่อนไหวหรือไม่ประการใด
    ลักษณะของการพิจารณารูปขันธ์ หรือพิจารณาขันธ์ ๕ นี้ ในเมื่อเราจะกำหนดลงไปว่า เราจะพิจารณารูป เราก็พิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร ไปพร้อมกัน
    ในเมื่อเราพิจารณารูปในแง่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ยกกาย ขึ้นมาพิจารณาเป็นกายคตาสติกรรมฐาน ในเมื่อจิตสงบละเอียดลงไปแล้ว มันอาจจะเกิดนิมิตเห็นอสุภกรรมฐานหรือเห็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือเห็นอาการของร่างกายมันตายไป เน่าเปื่อยผุพังสลายไป จนกระทั่งไม่มีอะไรเหลือ ก็แสดงว่า รูปมันหายไป
    ในเมื่อรูปมันหายไปแล้ว เวทนา สัญญา มันก็หายไปด้วย เวทนา สัญญา นี้ มันอาศัยรูปเป็นที่พึ่ง ถ้าหากรูปหายไปแล้ว เวทนา สัญญา จะไม่ปรากฏ คือ เวทนา สุข ทุกข์ ไม่มี มีแต่อุเบกขา เวทนา สัญญา ความทรงจำต่าง ๆ ก็ไม่มีในเมื่อรูปหายไปแล้ว จิตเกิดความรู้อะไรขึ้นมาไม่ได้อาศัยสัญญา แต่หากภูมิรู้จะเกิดขึ้นมาในส่วนละเอียด
    ส่วนละเอียดที่จิตมีภูมิรู้ขึ้นมานั้น คือ ตัวสังขาร เมื่อรูป เวทนา สัญญา หายไปแล้ว ผู้ภาวนาจะมีความรู้สึกว่า สังขารยังเหลืออยู่ วิญญาณก็ยังเหลืออยู่
    แต่วิญญาณที่ยังเหลืออยู่ในลักษณะรู้ยิ่งเห็นจริงนั้น เป็นในลักษณะวิญญาณเหลืออยู่เฉพาะตัวผู้รู้ แต่ตัวกระทบไม่มี ถ้าหากในขณะนั้นจะมีสิ่งใดมากระทบให้จิตรู้ จิตก็ไม่มีอาการรู้ทางวิญญาณ เป็นแต่เพียงว่าตัวผู้รู้สามารถที่จะแกว่งกระแสไปรู้สิ่งที่ผ่านเข้ามา
    สิ่งที่ผ่านเข้ามาให้รู้ เปรียบเหมือนกับว่าอยู่เอกเทศส่วนหนึ่ง จิตตัวผู้รู้ก็อยู่ในลักษณะเอกเทศส่วนหนึ่ง คล้าย ๆ กับมันแยกออกไปคนละส่วน ไม่มีความสัมพันธ์กัน
    ทำไมมันจึงเป็นเข่นนั้น ก็เพราะเหตุว่า ความรู้หรือสิ่งที่รู้ที่ปรากฏการณ์ขึ้นมานั้น คือ เป็นตัวสังขารจิต หรือเรียกว่า สังขารธรรม เป็นการปรุงของจิตส่วนละเอียด เป็นการปรุงขึ้นมาด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น
    คือ รู้สึกเสมือนหนึ่งว่าสิ่งที่ตัวปรุงขึ้นมานั้น ไม่ใช่เรื่องของตนเอง เป็นเรื่องอื่นมาปรากฏการณ์ให้รู้ให้เห็นอันนี้เป็นลักษณะของภูมิจิตพิเศษ เป็นภูมิรู้อย่างละเอียด เป็นสิ่งที่มีอยู่เหมือนกับที่กล่าวแล้วในเบื้องต้น คือ "ฐีติภูตัง" ของท่านอาจารย์มั่นนั่นเอง
    อันนี้ คำถามว่าตัวรูปขันธ์นั้นจะเคลื่อนไหวได้ไหมขอให้พิจารณาดูภูมิจิตของตนเอง แล้วจะรู้จริงเห็นจริงไปเอง

    --------------------------------------------------------------------------------

    สู่ภูมิแห่งปรมัตถธรรม
    ถาม : จิตตอนที่รู้สมมติบัญญัติเข้าปรมัตถ์นี้มีสภาพเป็นอย่างไร
    หลวงพ่อ : ลักษณะของจิตที่จะเกิดภูมิรู้ ที่มันจะเข้าไปสู่ภูมิแห่งปรมัตถ์ เราพึงสังเกตอย่างนี้
    เช่น เราทำสมาธิด้วยการพิจารณาอะไรก็ตาม ในขณะที่เราน้อมนึกโดยเจตนา โดยความตั้งใจ โดยอาศัยภูมิความรู้ที่ได้จากตำรับตำรา หรือได้เรียน เช่น เราอาจนึกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง แล้วนำเป็นอุบายนำจิตสงบลงไปสู่สมาธิขั้นอุปจารสมาธิ
    ในเมื่อจิตสงบลงไปสู่ภูมิขั้นนี้ อำนาจจิตจะปฏิวัติเป็นภูมิรู้ขึ้นมา รู้ในเรื่องที่เราได้พิจารณามาแต่เบื้องต้นว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความรู้อันนี้เกิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
    เมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว จิตกับความรู้ที่เกิดขึ้นนั้น จิตรู้รูปก็อยู่ที่รูป จิตรู้เวทนาก็อยู่ที่เวทนา ความรู้อันนี้ยังอยู่ในสมมติบัญญัติ คือ รู้อะไรก็เรียกว่าอันนั้น เช่น รู้รูปเห็นรูปก็เรียกว่า รูป รู้เวทนาเห็นเวทนาก็เรียกว่า เวทนา เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็รู้อยู่เรื่อย ๆ ไปอย่างนี้
    ในเมื่อจิตตามรู้ ความรู้ที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจิต จนกว่าจิตจะรู้ซึ้งเห็นจริงลงไปแล้ว ยอมรับสภาพความเป็นจริง
    เมื่อจิตยอมรับสภาพความเป็นจริงแล้ว จิตจะตัดกระแสแห่งความรู้อันเป็นสมมติบัญญัตินั้นให้ขาดตอนลงไปสู่ความว่าง
    เมื่อจิตเกิดความว่างขึ้นมาแล้ว ในอันดับต่อไป จิตจะก้าวหน้าไปสู่ภูมิปรมัตถธรรม เมื่อภูมิความรู้อันใด เกิดขึ้นมาในขณะนี้ เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เกิดขึ้นมาแล้ว จะไม่มีสมมติบัญญัติ
    ถ้ามองเห็นด้วยสมมติว่าอาจจะเห็นนิมิตเกิดขึ้นมา เป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งเห็นร่างกายนอนตาย เน่าเปื่อยผุพัง จิตจะอยู่เฉย ๆ ไม่มีสมมติบัญญัติว่าอะไร
    เมื่อเห็นรูปของตังเอง จิตก็ไม่ว่ารูปของตัวเอง เมื่อรูปเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไปในที่สุด จิตก็จะไม่มีสมมติบัญญัติ เรียกอาการที่เป็นไปตามขั้นตอน เห็นเนื้อไม่ว่าเนื้อ เห็นหนังไม่ว่าหนัง เห็นกระดูกไม่ว่ากระดูก เห็นการสลายเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าการสลายเปลี่ยนแปลง จิตจะเห็นอยู่เฉย ๆ ไม่มีสมมติบัญญัติใด ๆ ทั้งสิ้น
    อันนี้คืออาการที่จิตเดินเข้าสู่ภูมิแห่งปรมัตถธรรมโดยไม่มีสมมติบัญญัติ ไม่มีตัวตน ไม่มีตัว ไม่มีผู้หญิง ไม่มีผู้ชาย ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีจิต ไม่มีสภาวธรรมอะไรทั้งนั้น
    แต่ว่าจิตผู้รู้ปรากฏเด่นชัด สิ่งที่รู้ก็ปรากฏให้รู้ให้เห็น อยู่ตลอดเวลา อันนี้คือลักษณะของจิตที่ก้าวขึ้นไปสู่ภูมิปรมัตถ์

    --------------------------------------------------------------------------------

    ปัญญาในมรรค ๘
    ถาม : ทำไม มรรค ๘ จึงมีปัญญาอยู่ ๒ อย่าง ?
    หลวงพ่อ : มรรค ๘ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ จิตตั้งมั่นชอบ
    ในเมื่อภูมิจิตของผู้ดำเนินนั้นยังไม่ประชุมพร้อมลงไปเป็นหนึ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างจะปรากฏที่อาการ เช่น สัมมาทิฏฐิ ( เห็นชอบ) ก็มีอยู่ สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ก็มีอยู่ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องของปัญญา
    ปัญญาในมรรค ๘ ยังไม่มาประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่ง ที่ดวงจิต ยังมีสอง ในขณะที่มรรค ๘ ยังไม่ประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่งที่ดวงจิต ยังมีอาการอยู่ ๘ นั้น เป็นอาการของมรรคเมื่อประชุมพร้อมเป็นหนึ่ง คือ สมาธิ
    ความประชุมพร้อมเป็นหนึ่งนั้นอยู่ที่สมาธิ ในเมื่อสัมมาสมาธิ เป็นหนึ่งแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเกิดขึ้น
    ทีนี้อาการเกิดขึ้นของมรรค ๘ ในเมื่อประชุมพร้อมลงแล้ว เราจะนับอาการไม่ถูก เพราะถ้าหากมรรค ๘ ยังแยกกันอยู่ตราบใด เราไม่สามารถปฏิบัติจิตไปสู่ภูมิรู้ ภูมิธรรม ได้เลย เพียงแต่ว่าเราทำให้จิตสงบเพียงนิดหน่อยเท่านั้น
    เพราะฉะนั้น ผู้บำเพ็ญมักจะหนักใจว่า ทั้ง ๘ ข้อนี้จะทำอย่างไร กว่าจะรวมลงมาเป็นหนึ่ง มิต้องเสียเวลามากมายหรือ ?
    การรวมธรรมะคือมรรค ๘ นี้ เราจะต้องเริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์เป็นประการแรกก่อน
    ประการที่สอง พยายามทำใจ ฝึกหัดใจให้เป็นสมาธิ
    ประการที่สาม ทำสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบในการปฏิบัติว่าเพื่ออะไร
    เมื่อมุ่งผลแห่งความสงบ รู้ยิ่งเห็นจริงตามสภาวธรรม ตามความเป็นจริง ในเมื่อศีลก็บริสุทธิ์ เป็นอุบายที่ทำให้จิตสงบลงเป็นหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า สมาธิจิต
    สมาธิ เมื่อจิตสงบลงเป็นหนึ่ง คือจิตไปนิ่งอยู่เฉย ๆ อันนี้เป็นแต่เพียงมีสมาธิองค์เดียวเท่านั้น
    ถ้าสติสัมปชัญญะยังไม่มีกำลังเพียงพอ ศรัทธาพละ ยังไม่เก่ง วิริยะพละยังไม่มี สติพละยังไม่พร้อม สมาธิพละยังไม่เข้มแข็ง ปัญญาพละยังไม่มีกำลังที่จะรอบรู้ถึงที่สุด จิตก็ยังไม่ประชุมพร้อมอริยมรรครวมเป็นหนึ่งได้ ต้องพยายามที่จะฝึกหัดสมาธิให้ยิ่งขึ้น
    ในเมื่อทั้งมรรค ๘ รวมกันเป็นหนึ่งแล้ว มีแต่หนึ่งไม่มีสอง ในเมื่อยังไม่ประชุมพร้อม มันก็ยังมีแยกกันเป็นสองคำถามที่ว่าทำไมปัญญาในมรรค ๘ จึงมี ๒ ก็เพราะเราไปพูดตามอาการ
    ในเมื่อเราทำจิตเป็นสมาธิ ประชุมพร้อมด้วยอริยมรรคแล้ว สัมมาทิฏฐิกับสัมมาสังกัปปะรวมเป็นหนึ่ง สัมมาอันอื่น ๆ ก็จะรวมเข้ามา จนรวมเป็นหนึ่งเท่านั้น เมื่ออริยมรรครวมกันเป็นหนึ่งแล้ว ก็สามารถปฏิวัติจิตไปสู่ภูมิรู้ภูมิธรรมได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...