พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 4 สิงหาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    <CENTER>| หน้าแรก | พระวินัยปิฎก | พระสุตตันตปิฎก |</CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER>









    <DD>เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ



    1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
    2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
    3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ


    <DD>


    <DD>
    แผนผังพระไตรปิฎก



    <DD>

    พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ

    1. มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์

    2. ภิกษุณีวิภังค์
    ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี</B>
    3. มหาวัคค์
    ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันธกะ

    10 หมวด
    4. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ 12 หมวด

    5. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน 4 เรื่องข้างต้น


    </DD>

    พระสุตตันตปิฎก
    มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ

    1. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี 34 สูตร

    2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป

    มี 152 สูตร
    3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี 7,762 สูตร

    4. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1 ธรรมะหมวด 2 ธรรมะหมวด 10 แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ 1, 2, 10 ตามหมวดนั้น

    มี 9,557 สูตร
    5. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง


    พระอภิธรรมปิฎก
    แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ
    1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม

    2. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ

    3. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก

    4. ปุคคลบัญญัตว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล

    5. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม

    6. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ

    7. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง




    ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

    1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป


    2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง


    3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่


    4. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ

    ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
    ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์
    ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
    ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน
    ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ
    5. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจและจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก

    6. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า




    การสังคายนาพระไตรปิฎก





    <DD>พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว


    ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง


    <DD>
    การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก




    <DD>
    การสังคายนาครั้งที่ 2 กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก




    <DD>
    การสังคายนาครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา




    <DD>
    การสังคายนาครั้งที่ 4 กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท


    การนับสังคายนาของไทย

    <DD>ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ 1,2 และ 3 ในอินเดีย และครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. 238, พ.ศ. 433, พ.ศ. 956 และ พ.ศ. 1587 รวมกันเป็น 7 ครั้ง <DD>การสังคายนาครั้งที่ 8 ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2020 พระเจ้าติโลกราช


    แห่งเชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูปช่วยกันชำระพระไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 1 ในประเทศไทย


    <DD>การสังคายนาครั้งที่ 9 ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน 5 เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย


    การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย

    <DD>สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า <DD>สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง <DD>สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ <DD>สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก


    ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
    ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

    <DD>[size=+1]พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า พระบาลี <DD>อรรถกถาหรือวัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๒ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ <DD>ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ <DD>อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔


    การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
    การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
    ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
    คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
    ๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
    ๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
    คณะสังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย
    จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม
    [size=+1]

    </DD>[/size]
    [/size]
     
  2. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    ดีใจครับ ที่ช่วยกันแผ่พระคำสอน พร้อมเจตนาเต็มเปี่ยมด้วยกุศล ..
    ขออนุญาตเสนอนิดหนึ่ง (อย่าว่าผมเลยครับ)
    ผมอยากพูดถึงการใช้ภาษา (เขียน) ถ้าเราใช้ไม่ถูก จะเป็นบ่อเกิดให้ภาษาวิบัติ และจะได้รับการจดจำสืบต่อ ๆ กันไปอย่างนั้น ตัวอย่างเช่นเด็กจะขอกล้วยสักหน่อย แต่ก็พูดเอาะแอะว่า ขอถ้วยนอย .. เขาก็เลยได้ถ้วยมา
    กับบางคำ หรือหลายคำ ที่ใช้เขียนกัน (โดยเฉพาะในพุทธศาสนา) เช่น
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    เราจะเห็นช่องว่าง (ในระหว่าง) หรือวรรค 4 วรรค
    คำทั้ง 5 เป็นคำนาม มี โหตุ ที่ยกเข้ามาเพื่อให้ไวยากรณ์สมบูรณ์
    1. นโม เป็นคำนาม เป็นประธาน ปริสลิงค์ ลง สิ ปฐมาวิภัตติ เอกพจน์ ใช้แสดงความนอบน้อม (ไม่สามารถแยก เช่น น โม จะกลายเป็นว่า ไม่ อะไรสักอย่าง ..)
    2. ตสฺส เป็นคำขยายโดยเจาะจง ว่า พระองค์นั้น เท่านั้น ของคำ ภวคโต (ไม่สามารถแยก เช่น ตัส สะ)
    3. ภควโต แสดงถึงพระองค์ผู้ชำนาญการแจงพระธรรม ฯลฯ (คำนี้ ไม่สามารถแยก)
    4. สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส เป็นคำขยายของ ภควโต เป็นผู้ทรงรู้ต้วยพระองค์เองโดยชอบ => สมฺมา โดยชอบ สมฺ (สํ - สยํ) พระองค์เอง /พระองค์เดียวเท่านั้น ส่วน พุทธ แสดงภาวะผู้รู้ รู้เท่าทัน (ไม่สามารถแยก เพราะ สมฺมา และ สมฺ ล้วนเป็นคำขยายของพุทธ 'พุธ ธาตุ +ต ปัจจัย' ที่นี่ใช้เป็นนาม)
    ... คำทั้ง 5 ไม่สามารถจะรวม หรือแยกกันได้ เช่น นโมตัส สภคะ วโต อะไรประมาณนี้
    หรืออีกนัย คำ ๆ หนึ่งที่ประกอบด้วยธาตุ วิภัติ ปัจจัย รวมเรียกว่า คำ ไม่สามารถแยกได้ ..

    มหาเก่าครับ (2532)



    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2006
  3. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    สวัสดีครับ ..
    ขอถามนิดหนึ่ง ..
    พระไตรปิฎกที่จะร่วมกันสร้างฉบับใหม่นี้ ..
    ส่วนอักษรนั้น .. ต้องคีย์อินใหม่หมดหรือปล่าวครับ หรือว่าสำเนามาจากที่อื่น

    ที่ถามไม่ใช่อะไร อยากทราบคุณสมบัติของผู้คีย์อิน !!
    ขอบคุณครับ
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    มีสำเนาครับต้นฉบับไม่มีการพิมพ์ใหม่

    ตอนนี้ทางเรามีปัญหาเรื่องการอ่านออกเสียง คนทั่วไปจะร่วมอ่าน แต่ปัญหามีอยู่ว่า จะอ่านถูกไหม คุณพอช่วยตรงนี้ได้ไหมครับ
     
  5. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    ถ้าไม่พิมพ์ไหม่ คงมีพิสูจน์อักษรมังครับ (Prove) สาเหตุที่ผมขอยกมาถาม เพราะเท่าที่ผมอ่านพระไตร (ผมดาวน์มาจากเวบ /ไม่ใช่คัมภีร์โดยตรง) พบว่า มีพิมพ์พลาดเยอะ รวมไปถึงการเว้นวรรค ทำการการอ่านติดขัด พูดง่ายคือ ไม่ถูกหลักการเขียน ทำให้การอ่านติดขัด เช่น คำว่ามนุษย์ พิมพ์ว่าหมวด อย่างนี้ คุณจะคิดอย่างไร ที่ควรวรรค ก็พิมพ์ติดกัน ที่ผมเจอเพราะผมกำลังเก็บเสียงอภิธรรมไว้สอนตัวเองนั่นเอง ...<HR>
    ... ช่วยได้ไหม หรือ.. คุณว่า ด้วยคุณสมบัติด้านล่าง พอไหวหรือปล่าว !! แต่ก็ปวารณาว่า เรื่องนี้ยินดียิ่ง ..
    ***จบมหาเปรียญ 7 (ครั้งเป็นสามเณร แต่ปี 2532),
    ***พุทธศาสตร์บัณฑิต (มนุษย์ศาสตร์) รุ่น 39
    ท้ายสุดนี้เก็บตัวมาอยู่ลำพังใช้ชีวิตเป็น Web Programmer ค่าย Sybase จนกระทั่งมาเจอเวบของคุณนี่แหละครับ ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2006
  6. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    wowwwwwwwwwww
    คุณสมบัติสามารถช่วยได้มากเลย
    เก่งทั้งทางโลกและทางธรรมเลย

    เช่น การตรวจสอบ คำเขียน คำอ่าน เนื้อหาพระไตรปิฎก บาลี เว้นวรรค และฐานข้อมูล

    ผมจะเอาไปปรึกษาทีมงานดูว่าจะให้ช่วยอะไรดี
     
  7. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    คุณจะถนัดในการช่วยส่วนไหนบ้างครับ ของพระไตร

    ที่กำลังจะทำคือ
    ตอนนี้โครงการเราจะสร้างเนื้อหาพระไตรปิฏกจากต้นฉบับ ฉบับสยามรัฐ
    เรามีผู้ตรวจสอบ12 คนเป็นอาสาสมัครบุคคลทั่วไป
    ตรวจทานว่า ทีมผู้สร้าง 6 คน ได้ใส่เนื้อหาและเว้นวรรค์เหมือนต้นฉบับไหม

    และปัญหาอีกอย่างคือ ทีมผู้สร้างและทีมตรวจสอบ อาจจะไม่ทราบ ว่าต้นฉบับพิมพ์ถูกหรือผิด

    เนื้อหามีทั้งหมด 1,400 กว่าหมวดใหญ่ แล้ว แบ่งเรื่องรวมกันย่อยๆ 10,000 กว่าเรื่อง

    พอใส่เนื้อหาเสร็จ ก็จะมีทีม user inter desing
    ตกแต่ง interface ตัวอักษร
    เป็นอักษรสีและเน้นคำต่างๆ เว้นวรรค กลุ่มคำเป็นสี เพื่อให้ต่อความเข้าใจ


    พระไตร อ่านออกเสียง

    ก็จะเปิดให้คนมาอ่านพระไตรแล้ว upload เข้าในพระไตร
    ปัญหาคือ ไม่ทราบว่าจะอ่านถูกไหม ตรงนี้ยังไม่มีไอเดียมากว่าจะทำอย่างไร
    คำนี้ คำนั้น อ่านว่าอะไร จึงจะถูก เป็นต้น........


    พระไตรรูปประกอบ
    ก็จะมีทีมวาดรูปประกอบ ครบทั้งพระไตร
     
  8. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    ยกเว้นการวาดรูป (มันตรงข้ามกับชีวิตผมเลยทีเดียว)
    ..
    แล้วน่าจะถนัดทุกด้าน (เพราะเคยเรียนมาหมด แต่ชั้น 1-3)
    อยากให้ช่วยอะไรก็เรียกได้ ผมปวารณาตัวไว้แล้ว <br>แต่ก็ขอบอกก่อนว่า ผมทำได้ตามกำลังของสองตา สองมือ หนึ่งหัวใจเท่านั้น <br>
    พระไตรฯ ผมก็มีหลายฉบับ บาลี อังกฤษ ไทย สามารถนำมาเทียบกันได้ ... <br>แม้แต่ของหลวงพ่อในดวงใจ 'พุทธทาส' 56 CD ก็ยังมี แต่ถ้าเนื้อ ๆ ก็ต้องพระไตร ... <br>
    ขอบคุณที่เชิญ เชิญครับ ..
     
  9. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,682
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    พระไตร ฉบับ อังกฤษ ผมอยากได้มาสร้างมากกกกกกกกกกกก ยังไม่เคยเห้นเลย

    ที่เขาบอกว่าเป็นอักษรโรมันใช่ไหมใช่ไหม
    แล้วเป็นภาษาอังกฤษ แบบภาษาที่ใช้ในปัจจุบันไหม
     
  10. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    ใช่ครับ <HR>เฉพาะบาลีนั้น ผมยังเคยสร้างถวายวัดเลยที่เพชรบูรณ์ 45 เล่ม + ตู้ เป็นโรมันจริง ๆ อ่านแล้ว ทำให้สามารถเข้าใจได้ง่าย และ/หรือกว้างกว่าภาษาไทย ....

    ส่วนเรื่องเสียง ผมก็ทำอยู่แล้ว พระอภิธรรม .. มาถึงกถาวัตถุเกือบจบเล่มแล้ว .. มีทั้ง wav (ต้นฉบับ) mp3 (ต้นฉบับ /mix) cda (mix) ไฟล์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 40 นาที
    เรื่องพระไตร ฉบับไหน ถ้าจะใช้ ผมยินดีสำเนาให้ อับโหลดไม่ไหวหรอกครับ แจ้งที่ส่งทิ้งไว้ ผมส่งให้
    ....
    พอดีนึกได้ว่า เคยโหลด ลองเข้าไปโหลดดูซิครับ ..
    http://www.budpage.com/budboard/show_content.pl?b=1&t=7953
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2006
  11. mw user

    mw user เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +177
    จากที่คุย ก็จับได้ 2 เรื่องหลักคือเรื่องอักษร และเสียง
    ขอเสนอเพิ่มอีกนิดครับ ..

    <HR>
    คงมีการวางแผน (วาง chart) ทุก ๆ จุด รวมไปถึงระยะเวลาแล้วเสร็จ หรือส่ง web master เรื่องอักษร ผมรับมาสแกนให้ได้ คิดเล่นว่า (ถ้าได้ช่วย) กันพลาดสัก 2 รอบ ...

    เรื่องเสียง เพื่อให้ผู้อ่าน สามารถซืมซาบพระธรรมในระหว่างนั้น น่าจะให้หลาย ๆ ท่านช่วยกันอ่าน เพียงให้ถูกลักษณ์ภาษา และจบวรรคตอน (ไม่ใช่ครึ่ง ๆ กลาง) .. มีระยะเวลาแล้วเสร็จและส่งมอบ ..

    กรณีเนื้อหาเกี่ยวกับการสนทนา อาจจะต้องใช้ผู้อ่านมากกว่า 1 และถ้าเป็นบทสตรี อาจต้องรบกวนสุภาพสตรี (ถ้าได้อย่างนี้ ผมว่า เสียงอ่าน จะสมบูรณ์มากทีเดียว หรือต้องการบุคลากรเพิ่ม แนะนำคุยกับ web ms ที่ http://www.mcu.ac.th/site/in_SearchResult.php ต้นตำหรับ)

    ส่วนเรื่อง IT ผมว่า น่าจะทำแบบ Compress ใช้ Java เป็นตัวเปิด คือ Data ของเราเป็น Zip ไฟล์ เก็บไว้เป็นกลุ่มก้อน ณ ที่ที่ควรจะอยู่ คราวอ่าน เราใช้แบบเปิด Zip -> Text /All format Standard -> Browser /Download ในฝั่งเรียก ..หรือจะแบบ Online ก็ใช้แบบเดิม คือแบบธรรมดา ... ใน database เราอาจเขียนเป็นชื่อไฟล์ไว้ เพื่อรอให้ชี้ไป เมื่อ User อับโหลด Zip ไฟล์นั้น ก็สามารถอ่านได้เลย อะไรประมาณนี้ ทำให้ท่านอื่นสามารถช่วยเราได้ เราเพียงระวังสแกน หรือ Prove ความถูกต้อง ...

    ถ้ามีซ้ำกับ Web Programmer อยู่ก็ข้ออภัยครับ ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กรกฎาคม 2006
  12. Phra Atipan

    Phra Atipan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,301
    อนุโมทนาสาธุ กำลังหางาน ทำรายงานส่งอาจารย์อยู่พอดีครับ
     
  13. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,641
    อนุโมทนาครับ
    ขอให้สิ่งที่ตั้งใจในการทำพระไตรปิฎก จงสำเร็จและราบรื่นเทอญ
     
  14. NamfonBaanfa

    NamfonBaanfa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +7,086
    สวัสดีค่ะคุณWeb Snow

    ฉบับภาษาไทย(หลวง)ที่จัดพิมพ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2500 หน้าปกหนังสือมีสีอื่นหรือไม่คะ เพราะที่ดิฉันไปเห็นมาในห้องสมุด(หนังสือหายาก) ซึ่งมี 80 เล่มเหมือนกัน หน้าปกเป็นสีเหลืองค่ะ มีปีที่จัดพิมพ์ลงไว้ชัดเจนว่าพิมพ์ขึ้นในปีพ.ศ. 2500 ทราบหรือไม่คะว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรกับหน้าปกสีเขียว แล้วฉบับหน้าปกสีเขียวมีเก็บไว้ในห้องสมุดที่ไหนบ้าง ทราบมั้ยคะ ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้าสำหรับคำตอบค่ะ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...