พระไตรปิฎก ฉบับ ร.ศ.๑๑๒

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 30 เมษายน 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระไตรปิฎก ฉบับ ร.ศ. ๑๑๒


    ความสำคัญของพระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช
    ร.ศ.๑๑๒ :พระไตรปิฎกพิมพ์ชุดแรกของโลก


    พระไตรปิฎกเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งบันทึกเป็นภาษาบาลี สืบทอดมาเป็นระยะเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี ซึ่งมีเนื้อหากว่า ๒๐ ล้านคำ โดยมีบันทึกไว้ชัดเจนว่า พระอรหันตเถระ ๕๐๐ รูป ได้รวบรวมในการประชุมสังคายนาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงดับขันธปรินิพพานเมื่อ พ.ศ. ๑
    <O:p</O:p
    จากความทรงจำของพระสงฆ์ผู้ทรงพระไตรปิฎกและชาวพุทธทั่วโลก ทำให้เกิดการสังคายนาสำคัญของโลกมาเป็นระยะ ๆ ในสมัยพุทธกาลพระไตรปิฎกบาลีได้มีการสวดทรงจำตลอดมา จึงมิได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในทวีปอินเดีย จนเมื่อปี พ.ศ. ๔๓๓ พระสงฆ์ลังกาได้มีการสังคายนาและบันทึกเป็นครั้งแรกด้วยการจารลงในใบลาน ด้วยอักษรสิงหลของลังกาทวีป
    <O:p</O:p
    พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช ร.ศ.๑๑๒ เป็นพระไตรปิฎกพิมพ์ชุดแรกของโลก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดริเริ่มให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้แต่เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ และพิมพ์สำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๓๖ หรือ ร.ศ.๑๑๒
    <O:p</O:p
    นับแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๖ เป็นต้นมา ประเทศต่างๆ ในเอเชีย ทั้งบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เผชิญกับวิกฤตการณ์การล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัส ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเรื่องความสำคัญของการพิมพ์พระไตรปิฎก เพื่อเผยแผ่ให้กว้างขวาง และเพื่อธำรงพระพุทธศาสนาไว้ในโลก ในฐานะที่ประเทศสยามเป็นประเทศเดียวในบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาที่คงความเป็นเอกราชไว้ได้ในเวลานั้น พระราชดำรัสนี้แสดงถึงพระราชวิสัยทัศน์ และพระเมตตาการุญอันหาประมาณมิได้ของพระองค์ท่านที่มีต่อชาติและต่อโลก
    <O:p</O:p
    ผลงานการวิจัยเรื่องพระไตรปิฎก ร.ศ.๑๑๒ โดย กองทุนสนทนาธรรมนำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้พบว่า การพิมพ์และการพระราชทานพระไตรปิฎกชุดนี้ไปยังพระอารามหลวงและพระอารามทั่วประเทศ ๕๐๐ พระอาราม ซึ่งมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ พรั่งพร้อมด้วยสามัคคีธรรมของคนทั้งชาติ ตลอดปี ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) และการพระราชทานพระไตรปิฎกชุดนี้ไปยังสถาบันการศึกษาที่สำคัญทั่วโลกกว่า ๒๖๐ สถาบันนั้น ได้มีผลที่ไม่เพียงทำให้ประเทศสยามรอดพ้นจากการถูกยึดครองจากจักรวรรดินิยม แต่ยังทำให้ประเทศสยามเป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องในฐานะ “ธรรมนคร” และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงได้รับการยกย่องจากชนทั่วโลกในฐานะ “พระมหากษัตริย์บรมธรรมิกมหาราช” ซึ่งผลนี้ได้ประจักษ์ชัดในการเสด็จประพาสต่างประเทศในเวลาต่อมา
    <O:p</O:p
    การวิจัยเรื่องพระไตรปิฎก ร.ศ.๑๑๒ นั้น ได้เจาะลึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระไตรปิฎกฉบับนี้ อย่างที่ไม่เคยมีผู้ใดศึกษามาก่อน เพราะได้ค้นพบเอกสารปฐมภูมิที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎกนี้จำนวนกว่า ๕๐๐ ฉบับ นับตั้งแต่พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงปรารภที่จะจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ บันทึกการประชุมของคณะกรรมการ รายชื่อคณะสงฆ์ผู้ทำหน้าที่ตรวจชำระและเตรียมต้นฉบับ กรรมการฝ่ายฆราวาสซึ่งช่วยให้พระไตรปิฎกชุดนี้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจากการบันทึกในใบลานมาเป็นการจัดพิมพ์เป็นหนังสือชุด ชุดละ ๓๙ เล่ม จำนวน ๑,๐๐๐ ชุด คือ ๓๙,๐๐๐ เล่ม สำเร็จอย่างงดงาม ทันสมัย และเป็นแม่แบบของการพิมพ์พระไตรปิฎกทั่วโลกในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน

    การพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับนี้ไปยังพระอารามหลวงและพระอาราม ๕๐๐ แห่ง การเฉลิมฉลองพระไตรปิฎกซึ่งเป็นหลักฐานเรื่องวัฒนธรรมพระไตรปิฎกแห่งกรุงสยามที่ไม่เคยปรากฏหลักฐานชัดเจนเท่านี้มาก่อน การพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังสถาบันทั่วโลก กว่า ๒๖๐ แห่ง หนังสือตอบรับจากสถาบันเหล่านั้น หนังสือสรรเสริญเฉลิมพระเกียรติจากทั่วโลก ฯลฯ และการค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารอื่นๆ ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลปฐมภูมิหายาก รวมทั้งได้รวบรวมภาพและประวัติของบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎกชุดนี้ด้วย อันนับเป็นงานที่ไม่เคยมีการรวบรวมและศึกษามาก่อน
    <O:p</O:p
    กล่าวได้ว่า พระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช นี้ ได้มีส่วนสำคัญในการพลิกผันปี ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) จากปีที่มักเรียกกันว่า เป็นปีวิกฤตการณ์แห่งสงครามและความขัดแย้ง มาเป็นปีแห่งสันติสุขและความมั่นคงของชาติ ของภูมิภาค และของโลก ทั้งนี้ ก็ด้วยพระปรีชาญาณอันล้ำเลิศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราชของชาวไทย และพระบรมธรรมิกมหาราชของชาวโลกนั่นเอง
    <O:p</O:p
    ปัจจุบันพระไตรปิฎกฉบับประวัติศาสตร์ชุดที่สมบูรณ์ที่สุดที่ค้นพบในประเทศไทย กองทุนสนทนาธรรมนำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้อัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ที่หอพระไตรปิฎกนานาชาติ ขณะที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยอุปชาลา ในสวีเดน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันที่ได้รับพระราชทานไปในครั้งนั้น ยังคงเก็บรักษาพระไตรปิฎกพระราชทานไว้อย่างดีและมีสภาพสมบูรณ์ และชาวตะวันตกเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "The King of Siam's Edition of the Pali Tipitaka" (๑๙๘๓)
    <O:p</O:p
    สำหรับ พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรโรมัน ชุดสมบูรณ์ชุดแรกของโลกนั้นได้อาศัยข้อมูลจากพระไตรปิฎกบาลีอักษรสยาม ร.ศ.๑๑๒ นี้ด้วย ในการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสังคายนาสากลนานาชาติ ภาษาบาลี อักษรโรมัน ตามการ สังคายนาร่วมกันของทุกประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท
    <O:p</O:p
    ๖ มีนาคม ๒๕๔๘ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ผู้ทรงอุปถัมภ์พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา ได้เสด็จจาริกไปพระราชทานพระไตรปิฎกบาลีอักษรโรมันแก่ ฯพณฯ จันทริกา บันดาราไนยเก กุมาราตุงคะ ประธานาธิบดีศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ ตามคำกราบทูลเชิญของ ฯพณฯ ประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา
    <O:p</O:p
    ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกบาลีได้สวดออกเสียงบาลีสังวัธยายตรวจทานพระไตรปิฎก ๔๐ เล่มนี้ ถึง ๓ รอบ นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ชื่อว่า “เทคโนโลยีธรรมะ” มาช่วยยืนยันความแม่นยำสมบูรณ์ของพระคัมภีร์ทั้ง ๔๐ เล่ม จึงทำให้พบการพิมพ์ผิดกว่า ๔๐,๐๐๐ แห่ง
    <O:p</O:p
    พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับนี้ ประกอบด้วยคำภาษาบาลี ๒,๗๐๘,๗๐๖ คำ หรือ ๒๐,๖๐๖,๑๐๔ ตัวอักษรโรมัน โดยในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้จัดพิมพ์ขึ้นจำนวน ๑,๐๐๐ ชุด เพื่อประดิษฐาน ณ สถาบันชั้นนำทั่วโลก โดยเริ่มต้นจาก ๒๖๐ สถาบันที่เคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกจากกรุงสยามเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ ต่อไป.
    <O:p</O:p
    เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ คณะอักษรศาสตร์ร่วมกับกองทุนสนทนาธรรมนำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้จัดงานสมโภชพระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) อักษรสยาม (๓๙ เล่ม) ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ<O:p





    <TABLE class=MsoNormalTable style="WIDTH: 100%; mso-cellspacing: 0cm; mso-yfti-tbllook: 1184; mso-padding-alt: 0cm 0cm 0cm 0cm" cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; PADDING-RIGHT: 0cm; BORDER-TOP: #ece9d8; PADDING-LEFT: 0cm; PADDING-BOTTOM: 0cm; BORDER-LEFT: #ece9d8; PADDING-TOP: 0cm; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: transparent" vAlign=top>
    หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    ชั้น ๒ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ถนนอังรีดูนังต์ พญาไท กทม. ๑๐๓๓๐

    โทรศัพท์ / โทรสาร ๐ - ๒๒๑๘ - ๔๙๑๖


    E-mail : inter_tipitaka@chula.ac.th<O:p</O:p


















    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...