พระไตรปิฎก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 1 มิถุนายน 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    คอลัมน์ เก็บเรื่องมาเล่า

    ชนา ชลาศัย



    นิตยสาร "แสงอรุณ" ฉบับมี.ค.-เม.ย.นำเสนอเรื่อง " พระไตรปิฎก" ช่วยเสริมความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์เก่าแก่ของพุทธศาสนาได้อย่างมหาศาล

    พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุพระพุทธพจน์ คือพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม รวม 45 เล่ม ตลอดระยะเวลากว่าสองพันปีได้รับการสังคายนามาหลายครั้ง

    ในภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นฉบับสังคายนาล่าสุด เริ่มชำระมาตั้งแต่ปี 2500 ก่อนจะแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2535 และทยอยจัดพิมพ์ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2539 จนแล้วเสร็จเมื่อปี 2542

    สมภาร พรมทา อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ บอกว่า คนไทยไม่สู้จะคุ้นเคยกับพระไตรปิฎกนัก ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะทำให้เราเสียโอกาสรู้ของดีๆ

    คนไทยมีของดีอยู่ใกล้ตัว แต่เราก็ไม่รู้จักคุณค่า หรือไม่รู้จักวิธีใช้ประโยชน์

    อ.สมภาร บอกด้วยว่า พระไตรปิฎกนอกจากจะเป็นหนังสือดี ยังเป็นหนังสือมหัศจรรย์ เพราะบันทึกประวัติศาสตร์ของมนุษชาติเมื่อ 2,500 ปีก่อนไว้อย่างละเอียด

    เป็นหนังสือดีตรงที่อ่านแล้ว เราสามารถละลายตนที่อยู่ในโลกปัจจุบันแล้วไปปรากฏในโลกที่ต่างไปจากโลกเราเวลานี้ถึง 2,500 กว่าปี

    โลกแห่งอดีตที่ว่านั้นมีอะไรที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เยอะมาก บางทีการย้อนกลับไปในอดีตก็อาจเป็นหนทางหนึ่งที่จะตรวจสอบว่าปัจจุบันของเรานั้นเป็นอย่างไร

    พระไตรปิฎกถือเป็นตัวแทนการแสวงหาทางจิตวิญญาณที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่งของมนุษยชาติ

    แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง ผอ.หอพระไตรปิฎกนานาชาติ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แหล่งรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกที่สมบูรณ์สุดแห่งหนึ่งของโลก

    บอกว่า พระไตรปิฎกช่วยให้เรามองโลก มองชีวิตกว้างขึ้น เพราะสาระสำคัญในพระไตรปิฎก ชีวิตคือความสัมพันธ์ ไม่มีชีวิตที่ไม่มีความสัมพันธ์ ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุและปัจจัยตามเหตุและปัจจัย หมายความว่า คุณไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ลอยตัวเองออกจากสิ่งอื่น

    "ทุกอย่างมีกระแสของความเกี่ยวข้อง และเป็นความเกี่ยวข้องอย่างละเอียด เชื่อมโยงกันทั้งหมด ข้าวที่เธอกิน เสื้อผ้าที่เธอใส่

    มันเป็นชีวิตที่อยู่ร่วมกันในโลกนี้ ในจักรวาลนี้"

    อย่างไรก็ตาม แม่ชีสุภาพรรณยอมรับว่า พระไตรปิฎกมีคุณค่าและลึกซึ้งก็จริงอยู่แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ที่ภาษา ในอนาคตเราต้องกลั่นกรองสิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกแล้วสื่อออกมาง่ายๆ และมีประสิทธิภาพ

    แม่ชีให้แง่คิดว่า เราเป็นชาวพุทธแบบเถรวาท แต่เวลานี้เรากลายเป็นอริยาวาทไปหมดแล้ว คิดถึงแต่บุคคลมากกว่าที่จะคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดว่าพระอาจารย์ท่านนั้นเก่งอย่างนั้นเก่งอย่างนี้

    "เราเข้าหาความพิเศษ แล้วก็ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎก ตรงนี้ก็จะคลาดเคลื่อน อาจถือเป็นความบกพร่องของฝ่ายเผยแพร่พระไตรปิฎกด้วย ที่ยังไม่สามารถหาวิธีสื่อให้น่าสนใจ

    และอีกเรื่องหนึ่งคือเราต้องคิดถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อที่จะเผยแพร่ไปได้ทั่วโลก"

    เป็นความห่วงใยของผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกคนหนึ่ง

    http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03col15010650&day=2007/06/01&sectionid=0303
     

แชร์หน้านี้

Loading...