พระไตรปิฏก ฉบับพ้นทุกข์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย aprin, 9 เมษายน 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ธรรมของคนดีและของคนชั่ว


    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะพระภิกษุทั้งหลายถึงเรื่อง ธรรมของคนดี (สัปปุริสธรรม) และ ธรรมของคนชั่ว (อสัปปุริสธรรม) พอสรุปได้ว่า



    ธรรมะของคนดี คือ

    <DIR>
    .ผู้ออกบวชจากสกุลสูง
    .ผู้ออกบวชจากสกุลใหญ่
    .ผู้มีคนรู้จัก มียศ
    .ผู้มีลาภ
    .ผู้มีการศึกษามาก
    .ผู้ทรงจำวินัย
    .ผู้เป็นนักพูดธรรมะ
    .ผู้อยู่ป่า
    .ผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
    ๑๐
    .ผู้ถือบิณฑบาต
    ๑๑
    .ผู้อยู่โคนไม้
    ๑๒
    .ผู้อยู่ป่าช้า
    ๑๓
    .ผู้ได้รูปฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔
    ๑๔
    .และผู้ที่ได้อรูปฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ รวม ๒๐ พวก

    </DIR>

    ใน ๒๐ พวกนี้ที่เป็นคนชั่ว คือ มักจะยกตนข่มขี่ผู้อื่น เพราะเหตุที่ตนอยู่ใน ๒๐ พวกนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างก็ได้ จัดว่าเป็นอสัปบุรุษ คือ คนชั่วทั้งสิ้น


    ส่วนคนดี ย่อมพิจารณาเห็นว่า ความโลภ ความโกรธ และความหลง ย่อมไม่อาจหมดไปได้เพราะการอยู่หรือได้ฐานะ ๒๐ ประการนั้น ถึงแม้ไม่อยู่ในฐานะทั้ง ๒๐ นั้น แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตนสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญในที่นั้น คนดีนั้นเขาปฏิบัติแต่ภายใน (คือไม่โอ้อวด ยกตัว) ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีฐานะ ๒๐ นั้น นี่คือธรรมของคนดี


    สัปปุริสสูตร ๑๔/๑๑๓
    www.tamdee.net

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2010
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ปฏิจจสมุปบาทเป็นธรรมลึกซึ้ง

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิคมกัมมาสะทัมมะ เมืองกุรุ แคว้นกุรุรัฐ พระอานนท์ได้กราบทูลว่า


    "น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า" ปฏิจจสมุปบาท นี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้นก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่าย ๆ แต่ข้าพระองค์"

    พระพุทธองค์ตรัสห้ามในทันทีว่า


    "อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ อานนท์! เธออย่าพูดอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย และการเวียนว่าย


    อานนท์! เมื่อภิกษุเกิดความพอใจบ่อย ๆ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งของความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ตัณหาย่อมเกิดขึ้น เพราะตัณหาเป็นเหตุ จึงเกิดอุปาทานเป็นผล เพราะอุปาทานเป็นเหตุ จึงเกิดภพเป็นผลฯ อย่างนี้


    อานนท์! เมื่อภิกษุเห็นโทษบ่อย ๆ ในสิ่งทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งความยึดมั่นถือมั่น ตัณหาย่อมดับเพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้"

    นิทานสูตร ๑๖/๑๐๑
    www.tamdee.net
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    วิธีแก้ความกลัว

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี พราหมณ์ชาณุโสณี ได้เข้าไปเฝ้าและทูลถามปัญหาว่า ภิกษุอยู่ในที่สงบสงัดในป่า หรือ ป่าเปลี่ยวและโดดเดี่ยว ยากที่จะอยู่ได้ หรือ ยากที่จะทำจิตให้เป็นสมาธิได้


    พระพุทธเจ้าทรงเล่าความหลังของพระองค์ ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ว่า ทรงเคยอยู่ในป่าและป่าเปลี่ยวมาแล้ว แต่เพราะทรงมีกาย วาจา และใจ สะอาดสุจริต มีราคะและนิวรณ์ ๕ สงบระงับแล้ว จึงไม่มีความหวาดกลัวแล้ว หรือเกิดความหวาดกลัว เมื่ออยู่ในป่าหรือป่าเปลี่ยวเช่นกัน


    ในตอนท้ายสูตร พระพุทธองค์ทรงเล่าเป็นเชิงแนะการแก้ความหวาดกลัวว่า

    ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำลังเดินอยู่ จะไม่ทรงยืน ไม่ทรงนั่ง และไม่ทรงนอนเลย จะทรงเดินจนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป


    ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำลังยืนอยู่ จะไม่ทรงเดิน ไม่ทรงนั่ง และไม่ทรงนอนเลย จะทรงยืนจนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป


    ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนั่งอยู่ จะไม่ทรงนอน ไม่ทรงยืน และไม่ทรงเดินเลย จะทรงนั่งอยู่จนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป


    ถ้าความหวาดกลัวเกิดขึ้นในขณะที่กำลังนอนอยู่ จะไม่ทรงนั่ง ไม่ทรงยืน และไม่ทรงเดินเลย จะทรงนอนอยู่จนกว่าความหวาดกลัวจะหายไป


    ภยเภรวสูตร ๑๒/๒๖-๓๒
    www.tamdee.net
     
  4. ต.โต้ง SE

    ต.โต้ง SE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +821
    อนุโมทนา สาูธุ ที่คัดธรรมมะดีดี มาให้อ่านครับ บางข้อสามารถนำมาปรับใช้กับตัวเองไ้ด้ด้วยครับ
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี พวกเจ้าลิจฉวีเป็นอันมาก ขึ้นยานอย่างดีมีเสียงอื้ออึง เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระเถระหลายรูป รู้ว่าเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อฌาน และพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ความมีเสียงเบา จึงพากันหลบไปอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลทายวัน


    พระพุทธองค์ทรงเห็นภิกษุบางตา จึงตรัสถาม เมื่อทรงทราบแล้ว ตรัสอนุโมทนา และทรงแสดงสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ๑๐ ประการ คือ

    <DIR>
    . ผู้ยินดีในการคลุกคลีกับหมู่คณะ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้ยินดีในที่สงัด
    . การประกอบไว้ซึ่งสุภนิมิต ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้ประกอบไว้ซึ่งอสุภนิมิต
    . การดูมหรสพเป็นข้าศึก ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้สำรวมอินทรีย์
    . การติดต่อกับมาตุคาม ย่อมเป็นปฏิปักษ์ กับผู้พระพฤติพรหมจรรย์
    . เสียง ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อปฐมฌาน
    . วิตกและวิจาร ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อทุติยฌาน
    . ปีติ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อ ตติยฌาน
    . ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อจตุตถฌาน
    . สัญญาและเวทนา ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
    ๑๐
    . ราคะ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ ต่อโทสะ
    </DIR>

    <DIR>
    เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์เถิด พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีปฏิปักษ์ เพราะเป็นผู้หมดปฏิปักษ์แล้ว

    กัณฏกสูตร ๒๔/๑๓๗
    www.tamdee.net
    </DIR>
     
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    หลักการฟังคำพูดของผู้อื่น

    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล ทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ได้ตรัสว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่น จะพึงกล่าวกะพวกเธอมีอยู่ ๕ ประการ คือ

    <DIR>
    . กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
    . กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง
    . กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย
    . กล่าวด้วยคำมีประโยชน์หรือไร้ประโยชน์
    . กล่าวด้วยจิตเมตตาภายในหรือประสงค์ร้าย
    </DIR>

    ภิกษุทั้งหลาย! เมื่อผู้อื่นจะพูดด้วยประการใด ๆ ก็ตาม พวกเธอพึงตั้งจิตอย่าให้แปรปรวน เราจะไม่พูดจาที่ลามก เราจะสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจะต้องมีเมตตาจิต ไม่มีความโกรธภายในใจ เราจะแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้น เราจะต้องแผ่เมตตาจิตไปไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง


    ภิกษุทั้งหลาย! หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า เอาเลื่อยที่มีที่จับสองข้าง มาเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกายของเธอ ด้วยการกระทำของพวกโจรนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีจิตคิดร้ายต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไว้ไม่ได้นั้น


    ภิกษุทั้งหลาย! แม้เพราะเหตุนั้น พวกเธอพึงปฏิบัติอย่างนี้ว่า จิตของเราจะไม่แปรปรวน เราจะไม่พูดคำที่ลามก เราจะอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งเป็นประโยชน์ เราจะมีเมตตาจิต ไม่มีความโกรธภายใน เราจะแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลเหล่านั้น และบุคคลทั่วไปอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้."


    กกจูปมสูตร ๑๒/๒๑๐
    www.tamdee.net
     
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การปฏิบัติธรรมที่ให้ผลต่างกัน

    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงการปฏิบัติธรรมะ ที่ได้รับผลต่างกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต พอสรุปใจความได้ว่า

    <DIR><DIR><DIR>
    ๑. การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นผลต่อไป คือ ผู้ที่ไม่เห็นโทษของกาม ย่อมดื่มด่ำในกาม เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนสาหัส
    ๒. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นผลต่อไป คือ ผู้ที่ประพฤติตนทรมานกายด้วยประการต่าง ๆ อย่างพวกเดียรถีย์เป็นต้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก ได้รับทุกข์เผ็ดร้อนสาหัส
    ๓. การปฏิบัติธรรม มีทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นผลต่อไป คือผู้ที่มีราคะแรงกล้า ไม่โทสะแรงกล้า มีโมหะแรงกล้า แต่ต้องอดกลั้นอดทนเมื่อกระทบกับความทุกข์นั้น ต้องร้องไห้ น้ำตานองหน้า แต่รักษาศีลรักษาพรหมจรรย์ไว้ได้ อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์
    ๔. การปฏิบัติธรรม มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นผลต่อไป คือผู้ที่มีราคะไม่แรงกล้า มีโทสะไม่แรงกล้า มีโมหะไม่แรงกล้า ไม่ต้องได้รับทุกข์เวทนาในการประพฤติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็ก้าวหน้าโดยลำดับ เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติ โลก สวรรค์.
    </DIR></DIR></DIR>

    จูฬธรรมสมาทานสูตร
    www.tamdee.net
     
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    คนตาบอดคลำช้าง
    พระพุทธเจ้า
    ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสปรารภเจ้าลัทธิต่าง ๆ ที่มีความคิดความเห็นต่างกัน ต่างทุ่มเถียงกันตามความเห็นของตน ๆ ครั้นแล้วทรงนำเอาเรื่องคนตาบอดคลำช้าง มาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง พอสรุปได้ว่า

    มีพระราชาองค์หนึ่ง ในเมืองสาวัตถีนี้ในอดีต ได้สั่งให้เรียกคนตาบอดทั้งหมดให้มาประชุมกัน แล้วสั่งให้นำช้างไปให้คนตาบอดเหล่านั้นคลำ ครั้นคนตาบอดคลำทั่วทุกคนแล้วพระราชาได้ตรัสถามว่า ช้างมีลักษณะอย่างไร
    ?


    คนตาบอดเหล่านั้น ต่างมีความเห็นแตกต่างกันไป ตามแต่ที่ตนคลำพบ พอสรุปได้ ดังนี้
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกศีรษะช้างตอบว่า
    ช้างเหมือนหม้อ​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกหูช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนกะด้ง​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกงาช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนผาล​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกงวงช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนงอนไถ​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกตัวช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนฉางข้าว​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกเท้าช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนเสา​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกหลังช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนครกตำข้าว​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกโคนหางช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนสาก​
    คนตาบอดพวกที่คลำถูกหางช้างตอบว่า​
    ช้างเหมือนไม้กวาด
    คนตาบอดเหล่านั้น ต่างทุ่มเถียงกันและกันว่า ช้างเป็นเช่นนี้ ช้างไม่ได้เป็นอย่างนั้น แล้วก็หาข้อยุติไม่ได้ เพราะต่างก็ไม่รู้จักช้างที่แท้จริง พวกลัทธิต่าง ๆ ที่ไม่รู้จริง ก็มีลักษณะเหมือนคนตาบอดคลำช้าง ฉะนั้น
    .

    กิรสูตร ๒๔/๑๕๔
    www.tamdee.net
     
  9. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พระมหากัสสปผู้ยอดสันโดษ

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสยกย่องพระมหากัสสป ว่าเป็น ยอดของผู้สันโดษ ด้วยปัจจัยสี่ ไว้ดังนี้


    "ภิกษุทั้งหลาย! กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชตามมีตามได้ เป็นผู้กล่าวคุณแห่งความสันโดษ ไม่แสวงหาด้วยวิธีอันไม่สมควร เมื่อไม่ได้ก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อมใช้สอย ย่อมบริโภค


    เหตุนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้สันโดษ ด้วยปัจจัย ๔ ตามมีตามได้ จักไม่แสวงหาอันไม่สมควร


    ภิกษุทั้งหลาย! เราจะสอนพวกเธอ จงตามอย่างกัสสป หรือทำตัวเหมือนกัสสป พวกเธอเมื่อฟังแล้ว จงทำอย่างนั้นเถิด"


    สันตุฏฐสูตร ๑๖/๒๑๖
    www.tamdee.net
     
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พระกายพระพุทธเจ้าเหมือนพระสาวก

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ สวนอัมพวัน ของหมอชีวก โกมารภัจจ์ เมืองราชคฤห์ เพื่อแก้ข้อข้องใจของบางท่านที่ว่า พระกายของพระพุทธเจ้า จะเหมือนกับของคนทั่วไปในสมัยนั้น หรือไม่ บางท่านก็ว่าไม่เหมือน บางท่านก็ว่าเหมือน ยังหาเป็นที่ยุติไม่ แต่ในพระสูตรนี้ ได้แสดงหลักฐานที่น่าเชื่อ ว่าพระกายของพระพุทธเจ้าเหมือนกับของสาวกทั่วไป


    เรื่องโดยย่อมีว่า คืนวันหนึ่งเดือนหงายแจ่มดี พระเจ้าอชาตศัตรูได้ชวนหมอชีวกโกมารภัจจ์ ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ขณะที่เสด็จไปถึงนั้น พระพุทธเจ้ากำลังประทับอยู่ในที่ประชุมพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ทรงทราบว่าองค์ไหนคือพระพุทธเจ้า ต้องตรัสถามหมอชีวกว่า


    "ชีวกผู้สหาย! ไหนพระผู้มีพระภาค?"

    หมอชีวกได้ทูลตอบว่า

    "ขอเดชะ นั่นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ภิกษุสงฆ์แวดล้อมอยู่"

    สามัญผลสูตร ๙/๕๗
    www.tamdee.net
     
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ทรงเตือนภิกษุอย่าเป็นฟืนเผาศพ

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ทรงขับไล่ภิกษุแล้วจึงเสด็จไปพักยังป่ามหาวัน โคนต้นมะตูม แล้วทรงเกิดพระเมตตา เกรงภิกษุผู้บวชใหม่จะมีจิตแปรปรวนเหมือนลูกวัวอ่อนขาดแม่ จึงทรงกลับมาประทานพระโอวาทไว้ดังนี้


    "
    ภิกษุทั้งหลาย! ข้อเลวทรามในการเลี้ยงชีพ คือ การแสวงหาบิณฑบาต ภิกษุย่อมได้รับการแช่งด่า ว่าเป็นผู้ขอ แต่ผู้มาบวชนี้มิใช่เป็นผู้มีโทษ แต่พวกเธอบวชเพราะเห็นทุกข์ มีทุกข์ครอบงำแล้ว ทำไฉนการทำที่สุดแห่งทุกข์ จึงจะปรากฏได้


    แต่ว่ากุลบุตรนั้น เป็นผู้โลภมาก มีราคะแรงกล้า มีจิตพยาบาท มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่เป็นสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์


    ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวบุคคลผู้เสื่อมแล้ว จากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วย ไม่ทำประโยชน์ คือ ความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ด้วย ว่ามีอุปมาเหมือนกับดุ้นฟืนในที่เผาศพ ซึ่งมีไฟติดทั้งสองข้าง แถมตรงกลางก็เปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟืนในบ้านก็ไม่ได้ จะใช้เป็นฟืนในป่าก็ไม่ได้ ฉะนั้น"

    ปิณโฑลยสูตร ๑๗/๙๙
     
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พระพุทธเจ้าทรงปวารณา

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป วันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ภิกษุสงฆ์นั่งนิ่งประชุมพร้อมกันอยู่ พระพุทธองค์ได้ตรัสท่ามกลางหมู่สงฆ์ว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอปวารณาแด่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนการกระทำอะไร ๆ ที่แสดงออกทางกายหรือทางวาจาของเราบ้างหรือ?"


    ที่ประชุมสงฆ์เงียบสงบ ขณะนั้นพระสารีบุตรลุกขึ้น ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วประนมอัญชลีไปทางพระพุทธเจ้ากราบทูลขึ้นว่า


    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระองค์ทั้งหลายจะติเตียนการกระทำอะไร ๆ ของพระองค์ที่เป็นไปทางพระกายและพระวาจามิได้เลย เพราะพระองค์เป็นผู้ตัดทาง ทรงเป็นผู้บอกทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง สาวกทั้งหลายเป็นผู้เดินตามทางของพระองค์ บัดนี้แลขอปวารณาแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนการกระทำอะไร ๆ อันเป็นไปทางกายหรือวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ?"


    พระพุทธเจ้าทรงตรัสชมพระสารีบุตร ว่าเป็นบัณฑิต มีปัญญาว่องไว เป็นธรรมบุตรของพระองค์


    ปวารณาสูตร ๑๕/๒๖๕
    www.tamdee.net
     
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การปฏิบัติธรรมเหมือนตัดไม้มีแก่น

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ทรงแสดงสัญโญชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัด) เบื้องต่ำ ๕ คือ

    <DIR><DIR>
    ๑. สักกายทิฐิ (ความเห็นเป็นเหตุยึดกายของตน)
    ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)
    ๓. สีลัพพตปรามาส (การลูบคลำศีล)
    ๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
    ๕. พยาบาท (ความคิดปองร้าย)
    </DIR></DIR>โดยทรงยกเอาตัวอย่างเด็กทารกนอนแบเบาะ มาเป็นตัวอย่างแห่งการเกิดสัญโญชน์ ซึ่งมองดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่เป็นอนุสัย (กิเลสที่แฝงตัวตาม) มีอยู่ตลอดเวลา ในตอนท้ายได้ทรงแสดงหนทางปฏิบัติ เพื่อละสัญโญชน์ ๕ เหมือนคนที่ต้องการตัดไม้แก่น แต่ต้องผ่านเปลือกและกะพี้ไม้ ก่อนที่จะถึงแก่นไม้ ไว้ดังนี้


    "อานนท์! สัญโญชน์ ๕ เป็นของมีกำลัง ถ้าไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำที่ดี ไม่มีอุบายที่ดี ย่อมไม่สามารถจะละได้ ผู้ไม่อาศัยหนทางเพื่อละสัญโญชน์ ย่อมไม่อาจจะละได้


    อานนท์! เปรียบเหมือนการตัดต้นไม้มีแก่น ต้องถากเปลือกและกะพี้ออกเสียก่อน จึงจะตัดแก่นไม้ได้ ฉันใด ? ผู้ต้องการละสัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ ก็ต้องปฏิบัติไปตามลำดับขั้น ฉันนั้น".

    มหามาลุงโกยวาทสูตร ๑๓/๑๓๗
    www.tamdee.net
     
  14. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ผู้ชนะย่อมก่อเวร

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระพุทธเจ้า ถึงพระเจ้าอชาตศัตรู ยกทัพไปตีแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ยกทัพไปป้องกัน แต่พ่ายแพ้กลับมา ทรงทราบแล้วได้ตรัสว่า


    "ภิกษุทั้งหลาย! วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงแพ้มาแล้วอย่างนี้ จะบรรทมเป็นทุกข์ตลอดคืนนี้"


    และทรงแสดงผลแห่งสงคราม เป็นคติเตือนใจว่า


    "ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ บุคคลละความชนะและความแพ้เสียแล้ว จึงสงบระงับ (เวร) นอนเป็นสุข"


    ตอนท้ายอีกสูตรต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชนะบ้าง พระพุทธองค์ตรัสว่า


    "คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็นสุข เมื่อบาปยังไม่ให้ผล ถ้าบาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมได้รับทุกข์เมื่อนั้น


    ผู้ฆ่าย่อมถูกฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมถูกด่าตอบ ผู้โกรธย่อมได้รับการโกรธตอบ เพราะความหมุนเวียนแห่งกรรม"


    สังคามวัตถุสูตร ๑๕/๑๑๙
    www.tamdee.net
     
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    พระอานนท์ยอดพระนักประหยัด

    สมัยนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสี ประทับอยู่ในพระราชอุทยาน พร้อมด้วยบริวารพระมเหสี ได้ปลีกพระองค์ เข้าไปหาพระอานนท์ เมื่อฟังธรรมแล้ว จึงถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน


    พระเจ้าอุเทนทรงทราบ จึงติเตียนว่าพระโลภมาก คิดจะตั้งร้านขายผ้าหรืออย่างไร? จึงเสด็จไปหาพระอานนท์ ตรัสถามว่า


    "ผ้าตั้ง ๕๐๐ ผืน ท่านจะเอาไปทำอะไร?"

    "อาตมาจะแจกจ่ายแก่พระ ที่มีจีวรคร่ำคร่า"

    "แล้วจีวรที่คร่ำคร่าล่ะ ท่านจะทำอย่างไรต่อไป?"

    "อาตมาจะทำเป็นผ้าดาดเพดาน.

    "ถ้าผ้าดาดเพดานคร่ำคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำอะไร?"

    "อาตมาจะใช้ทำเป็นผ้าปูฟูก"

    "ถ้าผ้าปูฟูกคร่ำคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำอะไร?"

    "อาตมาจะใช้ทำเป็นผ้าปูพื้น"

    "ถ้าผ้าปูพื้นคร่ำคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำอะไร?"

    "อาตมาจะใช้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า"

    "ถ้าผ้าเช็ดเท้าคร่ำคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำอะไร?"

    "อาตมาจะใช้ทำเป็นผ้าเช็ดฝุ่น"

    "ถ้าผ้าเช็ดฝุ่นคร่ำคร่าล่ะ ท่านจะใช้ทำอะไร?"

    "อาตมาจะขยำกับโคลน แล้วฉาบทาฝากุฏิ มหาบพิตร"


    ในที่สุดพระเจ้าอุเทนเกิดความเลื่อมใส น้อมถวายผ้าอีก ๕๐๐ ผืน


    พระวินัย ๗/๓๑๓
    www.tamdee.net
     
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    การให้ทานที่เลื่อนชั้นทางจิต

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณีคัดครา เมืองจัมปา พระสารบุตรได้พาพวกอุบาสกชาวนครจัมปา เข้าเฝ้าและทูลถามปัญหา ถึงผลของทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบ และทรงแสดงผลของทานตามลำดับ ดังนี้

    ๑. คนบางคนในโลกนี้ มีความหวังแล้วให้ทาน มีจิตผูกพันในทาน มุ่งการสั่งสมทาน ด้วยคิดว่าเราตายไปจะได้รับผลของทานนี้ เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิดอย่างนี้อีก

    ๒. คนบางคนในโลกนี้ ไม่มีความหวังแล้วให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลของทาน ไม่มุ่งการสั่งสมทาน ไม่คิดว่าตายแล้วจะได้รับผลของทานนี้ แล้วจึงให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่าทานเป็นของดี เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิดอย่างนี้อีก

    ๓. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ทานเป็นของดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี แล้วจึงให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นยามา เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิดอย่างนี้อีก

    ๔. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เคยให้เคยทำมา แต่ให้ทานด้วยคิดว่าเราหุงหากิน พวกนักบวชเหล่านี้ไม่ได้หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ท่านผู้ไม่หุงหา ดูเป็นการไม่สมควร แล้วจึงให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิต เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิดอย่างนี้อีก

    ๕. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ แต่นักบวชเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ จึงให้ทาน แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจะเป็นผู้บริจาคทาน เหมือนฤาษีต่าง ๆ ในอดีต แล้วจึงให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดี เมื่อสิ้นกรรมก็มาเกิดอย่างนี้อีก

    ๖. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เราจะเป็นผู้บริจาคทาน เหมือนฤาษีต่าง ๆ ในอดีต แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส แล้วจึงให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นปรนิมตวสวัสดี เมื่อสิ้นกรรมก็มากเกิดอย่างนี้อีก

    ๗. คนบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส แต่ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือเพื่อเลื่อนชั้นทางจิต แล้วจึงให้ทาน เมื่อตายไปย่อมเกิดเป็นเทวดาชั้นพรหม เมื่อสิ้นกรรมแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมา คือไม่ต้องกลับมาสู่โลกนี้อีกแล้ว

    นี้แลเป็นเหตุและปัจจัย ที่คนบางคนในโลกนี้ ให้ทานแล้ว จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
    <DIR><DIR>
    ทานสูตร ๒๓/๕๙
    www.tamdee.net
    </DIR></DIR>
     
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ผู้ไม่มีศีล ๕ ย่อมมีแต่ภัยเวร

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดี ถึงเรื่องศีล ๕ ว่า ผู้ไม่รักษาศีล ๕ ย่อมมีแต่ภัยและเวร ตายแล้วจะต้องตกนรกอีกด้วย ตอนหนึ่งทรงแสดงว่า


    "คฤหบดี! คนผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปในภพหน้าก็มี ได้รับทุกข์ทางใจก็มี เพราะการฆ่าสัตว์เป็นเหตุ เมื่อเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ภัยเวรอันนั้นก็ย่อมสงบระงับ

    คนผู้มีปกติลักทรัพย์ ย่อมประสบภัยเวร.....
    คนผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสบภัยเวร....
    คนผู้มีปกติพูดเท็จ ย่อมประสบภัยเวร....
    คนผู้มีปกติดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปในภพหน้าก็มี ได้รับทุกข์ทางใจก็มี เพราะการดื่มสุราเป็นเหตุและปัจจัย เมื่อเว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอันนั้นย่อมสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้
    "


    เวรภยสูตร ๑๙/๔๓๘
    www.tamdee.net
     
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ผู้โกรธตอบคนที่โกรธก่อน เป็นคนที่เลวกว่า

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ พราหมณ์อสุรินทกะทราบว่าเพื่อนรัก ไปบวชในสำนักพระพุทธเจ้า เขารู้สึกโกรธแค้นพระองค์มาก ได้รีบไปเฝ้าถึงที่ประทับ เมื่อพบพระพุทธเจ้าแล้ว เขาก็ระดมคำด่าอันหยาบคาย ใส่พระองค์จนนับไม่ทัน พระพุทธเจ้าทรงนิ่งให้เขาด่าข้างเดียว เขาด่าจนพอใจแล้วจึงคิดว่า พระพุทธเจ้ายอมแพ้ขาแล้วจึงพูดว่า


    "พระสมณะ! เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ! เราชนะท่านแล้ว"


    พระพุทธองค์ตรัสตอบด้วยพระเมตตาว่า

    <DIR><DIR>
    " - คนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อมสำคัญว่าชนะท่าเดียว
    - แต่ความอดกลั้นไม่ได้ตอบโต้ เป็นความชนะของบัณฑิต
    - ผู้ใดโกรธตอบคนผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นคนเลวกว่าผู้โกรธก่อน
    - ผู้ไม่โกรธตอบคนที่โกรธแล้ว ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
    - ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้ ย่อมเกิดคุณทั้งสองฝ่าย"
    </DIR></DIR>

    <DIR><DIR>
    สุดท้าย พราหมณ์อสุรินทกะเกิดความเลื่อมใส ทูลขอบวช ครั้นบวชแล้วไม่นาน ปลีกตนไปบำเพ็ญเพียร ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์.

    </DIR></DIR>
    อสุรินทกสูตร ๑๕/๒๒๖
    www.tamdee.net
     
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อายุของคนขึ้นอยู่กับศีลธรรม

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ได้ตรัสถึงความเสื่อมและความเจริญของคน ว่าขึ้นอยู่กับศีลธรรม คนอายุน้อยศีลธรรมเสื่อม คนอายุยืนศีลธรรมเจริญ ไว้ดังนี้


    "ภิกษุทั้งหลาย! ในเมื่อคนมีอายุขัย ๑๐ ปี จะมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วัน คือ คนเหล่านั้นจะเห็นคนด้วยกัน เป็นเหมือนหมู่เนื้อ เมื่อพบกันจะตรงเข้าฆ่าฟันกัน โดยคิดว่าเป็นพวกหมู่เนื้อ


    ภิกษุทั้งหลาย! ครั้งนั้นคนเหล่านั้น บางพวกมีความคิดว่า พวกเราอย่าฆ่าใคร ๆ และใคร ๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปอยู่ตามป่าหญ้า สุมทุมพุ่มไม้ หรือตามซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร เลี้ยงชีวิตอยู่ และอยู่อย่างนี้ตลอด ๗ วัน


    เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่า จากสุมทุมพุ่มไม้ หรือจากซอกเขา แล้วต่างตรงเข้าสวมกอดกันและกัน จะขับร้องด้วยความดีใจ แล้วทักทายกันว่า
    "ท่านผู้เจริญ เราพบกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ?"


    ภิกษุทั้งหลาย! ลำดับนั้น คนเหล่านั้น จะมีความคิดว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะประพฤติอกุศล อย่ากระนั้นเลย เราควรทำกุศล เราควรงดเว้นจากปาณาติบาต ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วปฏิบัติ เพราะเหตุที่เขาสมาทานกุศลแล้วปฏิบัตินี้ เขาจะเจริญด้วยอายุบ้าง จะเจริญด้วยวรรณะบ้าง ด้วยเหตุนี้ บุตรของเขาทั้งหลาย ที่มีอายุ ๑๐ ปี จะมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี และเจริญขึ้นไปตามลำดับถัง ๘๐,๐๐๐ ปี แล้วเมื่อศีลธรรมเสื่อมลง อายุของสัตว์ก็จะลดลงเหลือ ๑๐ ปีอีก วนเวียนกันอยู่อย่างนี้.."


    จักกวัตติสูตร ๑๑/๖๔
    www.tamdee.net
     
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าไผ่ นิคมกัชชังคา ได้ตรัสกะพระอานนท์ ถึงการฝึกหัดสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อกระทบอารมณ์ภายนอกแล้ว ควรจะปฏิบัติอย่างไร พอสรุปเป็นใจความได้ว่า


    เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้ถูกต้องสัมผัส และใจได้กระทบอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว


    เกิดความชอบใจ หรือไม่ชอบใจ ปรุงขึ้นในจิตแล้ว ยังหยาบอยู่ ส่งที่ละเอียดคืออุเบกขา ความวางเฉยในอารมณ์เหล่านั้น มีอุเบกขาตั้งมั่นไม่ให้ความชอบหรือความชังเกิดขึ้นได้ เมื่อฝึกหัดได้เร็วฉับพลัน ก็จะตัดอารมณ์นั้น ๆ ได้ เหมือนคนตาดีกระพริบตา ฉะนั้น


    นี่เป็นการเจริญอินทรีย์ ๖ ชนิดที่ไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ


    ในท้ายสูตร ทรงสอนให้ภิกษุปฏิบัติ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง.. แล้ว ให้รู้สึกอึดอัด เบื่อหน่ายในความชอบและความชัง ในอารมณ์นั้น ๆ ให้เห็นเป็นความสวยงาม และความเป็นปฏิกูล แล้ววางเฉยเสียอย่างมีสติสัมปชัญญะ ท้ายสุดได้ตรัสว่า


    "
    อานนท์! นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนใจในภายหลังเลย นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ"


    อินทรียภาวนาสูตร ๑๔/๔๖๕
    www.tamdee.net
     

แชร์หน้านี้

Loading...