พระไตรปิฏก ฉบับพ้นทุกข์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย aprin, 9 เมษายน 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    คนทำบาปในปัจจุบันได้รับทุกข์ก็มี สุขก็มี

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย พอสรุปได้ว่า คนในโลกนี้แม้จะทำบาปเหมือนกัน แต่ในปัจจุบันนี้เอง บางคนก็ได้รับความทุกข์ บางคนก็ได้รับความสุข โดยทรงยกเอากรรมบถ ๑๐ มาเป็นตัวอย่าง พอสรุปเป็นใจความได้ดังนี้

    <DIR><DIR>
    ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์... ได้รับความทุกข์บ้าง ความเสียใจบ้าง เพราะการฆ่าสัตว์นั้นเป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก
    ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์... ได้รับความสุขบ้าง ความดีใจบ้าง เพราะการฆ่าสัตว์นั้นเป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก
    ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นจากการฆ่าสัตว์... ได้รับความเสียใจบ้าง เพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์นั้นเป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสวรรค์
    ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเว้นจากการฆ่าสัตว์... พร้อมกับได้รับความสุขบ้าง ได้รับความสบายใจบ้าง เพราะการเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้นเหตุ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสวรรค์.
    </DIR></DIR>

    มหาธรรมสมาทานสูตร ๑๒/๔๖๗
    www.tamdee.net
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ชำระศีลให้ดีก่อนจึงทำวิปัสสนา

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าและกราบทูล ขอให้ทรงแสดงธรรม เพื่อปลีกตัวออกไปปฏิบัติคนเดียว ด้วยความไม่ประมาท พระพุทธองค์ตรัสว่า


    "ภิกษุ! ก่อนอื่นเธอจงทำเหตุเบื้องต้น แห่งกุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน เหตุเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และ ความเห็นตรง


    เมื่อใด ศีลของเธอบริสุทธิ์ดีแล้ว และความเห็นของเธอก็ตรงดีแล้ว เมื่อนั้นเธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีกาย เวทนา จิต และ ธรรม ต่อไป


    ภิกษุ! เมื่อใด เธออาศัยศีลและตั้งอยู่ในศีลแล้ว จะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้โดยส่วน ๓ อย่างนี้


    เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ตลอดคืน หรือ วัน อันจะมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย"


    ภิกษุนั้นยินดีชื่นชม รับไปปฏิบัติอยู่ไม่นาน ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในโลก

    ภิกขุสูตร ๑๙/๑๘๕
    www.tamdee.net
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อันตรายของภิกษุผู้อยู่ป่า

    พระพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารนิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ ได้ตรัสกะพระอานนท์ ถึงภุกษุมากรูปคลุกคลีกันเป็นการไม่สมควร เพราะจะไม่พบความสุขอันเกิดจากความสงัด ภิกษุควารใส่ใจความว่างภายใน คือ การทำจิตให้ว่างอยู่เสมอ ตอนหนึ่งได้ตรัสถึงอันตรายของอาจารย์และศิษย์ ที่ปลีกตนออกไปอยู่ในที่สงบสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ถ้ำ ภูเขา ป่าช้า ฯ แล้ว


    ต่อมามีชาวบ้านพากันไปหา ผู้อยู่ป่าจะหมกมุ่นวุ่นวาย เวียนมาเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นอันตราย ความลามกเศร้าหมองย่อมครอบงำ มีความกระวนกรวาย มีทุกข์เป็นผล ต้องเกิดในภพใหม่ไม่พ้นการเกิด แก่ และตาย


    ถ้าภิกษุที่เป็นอาจารย์หรือเป็นศิษย์ก็ดี เมื่ออยู่ป่าแล้วไม่หลงลืมตัวให้อกุศลธรรมครอบงำได้ ก็จะพ้นจากอันตรายชนะทุกข์ ก้าวหน้าในพรหมจรรย์ต่อไป

    ในตอนท้ายของสูตรนี้ ได้ทรงกล่าวเตือนภิกษุทั้งหลายผ่านพระอานนท์ว่า


    "อานนท์! เราจะไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองหม้อดินที่ยังเปียกยังดิบอยู่ แต่เราจะข่มแล้วข่มอีก จะยกย่องแล้วยกย่องอีก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้"

    สุญญตสูตร ๑๔/๒๐๖
    www.tamdee.net
     

แชร์หน้านี้

Loading...