พลังศรัทธา..วัดป่าไม้แดง สร้างพระพุทธรูปด้วยเงิน 9 บาท
มุมหนึ่งของวัดป่าไม้แดง จากศรัทธาของพุทธศาสนิกชน.
ตาน ก๋วยสลาก...เป็นกิจกรรมหนึ่งตาม พุทธประเพณี ของภาคเหนือ ซึ่งมีคาบเวลาการจัดตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 12 จนถึง เกี๋ยงดับ (เวลาทางจันทรคติของล้านนา) ซึ่งตรงกับช่วงขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ถึงแรม 15 ค่ำเดือน 11
โดย...ผู้ศรัทธาจะ เอาสิ่งของที่จะบริจาคใส่ในก๋วย (ชะลอม) แต่ละก๋วยมี สลาก แล้วเอาสลากทั้งหมด ไปรวมกันแล้ว แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของพระเจ้า (คือวัดที่จัด) อีก 2 ส่วนจัดให้ ภิกษุจากวัดอื่นๆที่นิมนต์มาร่วมกิจกรรม...ตานก๋วยฉลากจึงมิจำเพาะว่าจะให้ กับสงฆ์รูปใด ส่งผลให้ ได้รับอานิสงส์สูงO O O
เมื่อ ปลายเดือนตุลาคม...ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ทาง หน้าหนึ่งของเชียงใหม่ ณ วัดป่าไม้แดง พระเจ้าพรหมมหาราช 119 ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จัด ตานก๋วยสลาก มีผู้คนเข้าร่วมนับหมื่น ขบวนแห่ ก๋วยสลากยาวเป็นกิโลเมตร
กิจกรรม ครั้งนี้...ชาวบ้านแต่ละคนจัดข้าวของอาหารมาเผื่อแผ่เลี้ยงกันเอง แสดงถึงความสามัคคีของชุมชนทั้งใกล้ไกล และเน้นถึงความศรัทธาต่อประเพณี ศาสนสถาน ภิกษุสงฆ์...อย่างเป็นรูปธรรมO O O
วัด ป่าไม้แดง....เป็นวัดเก่าแก่สมัยโยนก (เชียงแสน) เป็น วัดสุดท้ายที่พระเจ้าพรหมมหาราช เป็นผู้สร้าง โดยในปี 1659 หลังจากกอบกู้เมืองโยนกให้ เป็นเอกราช แล้วจึงยกทัพสวนน้ำกกขึ้นมา สร้างเมืองไชยปราการ พร้อมๆกับสร้าง วัดคู่บ้านคู่เมือง ในคาบ เวลาเดียวกัน
และ ด้วยกาลเวลาที่เนิ่นนาน เมืองหน้าด่าน ไชยปราการถูกยุบไปขึ้นตรงกับเมืองฝาง วัดคู่เมืองก็ลดท่าล่าถอยในความสำคัญลงค่อยร้างไป บริเวณนั้น ประชากรไม้แดงขึ้นเป็นป่าหนาทึบ
แต่ก็ ยังคงซากของวัดเหลืออยู่ ชาวบ้านจึงเรียก ขานวัดร้างแห่งนี้ตามสภาพแวดล้อมว่า....วัดป่าไม้แดงO O Oหลวงพ่อดวงคำควั่นเทียนต่อหน้ารูปหล่อพระอาจารย์ (หลวงพ่อบุญเย็น).
ต่อ มา....หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม ชาวบ้าน ขนานนามว่า หลวงพ่อประกาศิต (เนื่องจากคิดและบอกว่าจะสร้างสิ่งใดก็สำเร็จ) ได้ ค้นหาหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับความเป็นมาของวัดแห่งนี้ จากนั้นได้ ปรับปรุงพื้นที่ตั้งเป็นสถานที่บำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม และเพื่อให้เกียรติแก่องค์ผู้สร้างในอดีต จึงตั้งชื่อว่า สำนักพระเจ้าพรหมมหาราช...แต่คนก็ยังเรียก ป่าไม้แดง กันติดปาก
ศาสนสถานแห่งนี้ ได้รับการพัฒนา และ สืบสานทั้งในด้านประเพณี สมาธิวิปัสสนาปฏิบัติ และปริยัติธรรมจนได้รับแรงศรัทธา มาอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีกิจต่างๆพุทธศาสนิกชนจากทั่วสารทิศจะมาร่วมสโมสรกันมากมายO O O
กฐิน เมื่อปีที่แล้วมี ปัจจัยสามัคคีร่วมกว่า 10 ล้านบาท เม็ดเงินเหล่านี้ ทางวัดมิได้เก็บไว้ นำออก ช่วยสังคม สร้างสาธารณประโยชน์ อาทิ ถนนหนทาง สะพานข้ามน้ำ เขื่อนกั้นน้ำ ระบบประปา บรรเทาสาธารณภัย อนามัย ฯลฯ ให้กับอำเภอ ตำบล ชุมชนมากกว่า 44 หมู่บ้าน (กับ 4 หมู่บ้านที่ต่างศาสนา)
ปี นี้...กำหนดกฐินสามัคคี ณ วัดป่าไม้แดง พระพรหมมหาราช วันที่ 13 พฤศจิกายน...ด้วยวัตถุ ประสงค์เดียวกัน เพื่อส่งปัจจัยบุญให้ชุมชนได้ประโยชน์ อย่างเต็มที่O O Oหลวงพ่อตามเสด็จ สมเด็จวัดปากน้ำ เจ้า คณะหนเหนือ เยือนชาวชุมชนไชยปราการ
เมื่อ....ปี 2514 ที่ หลวงพ่อบุญเย็น ฐานธัมโม เริ่มพัฒนาสำนักพระเจ้าพรหมมหาราช มีสามเณร รูปหนึ่งชื่อ ดวงคำ ตามปฏิบัติอย่างใกล้ชิด และได้เข้าสู่อุปสมบทเป็นสงฆ์ ฉายาฐานิสฺสโร กระทั่ง หลวงพ่อบุญเย็นละสังขาร จึงได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ต่อจนถึงปัจจุบันในฐานะ พระครูสถิตธรรมาภิรักษ์
ชาวไชยปราการ ฝาง และจังหวัดใกล้เคียง ได้ให้ ความเลื่อมใสศรัทธา ต่อ หลวงพ่อดวงคำ ด้วยเมตตา บารมีเฉกเช่นเสมอ หลวงพ่อบุญเย็น โดยเฉพาะในการช่วยเหลือตามศาสตร์ที่ได้รับถ่ายทอดมาจาก ครู (หลวงพ่อบุญเย็น) ด้วยพิธีกรรม....จุดเทียนอธิษฐานจิต
O O O
เทียน อธิษฐานจิต...สร้างโดย เขียนวัน เดือน ปี เกิด ของแต่ละบุคคลลงในยันต์ แล้วควั่นรวมกันเป็นไส้เทียน ขณะที่ เอาขี้ผึ้งหุ้มไส้หลวงพ่อดวงคำ จะบริกรรมคาถา ไปด้วย...พอควั่นเทียนเสร็จก็สามารถบอกได้ว่า มีทุกข์จากสาเหตุอะไร จะแก้ไขอย่างไร...จากนั้นก็ มอบเทียนให้ไป
เมื่อ นำเทียนไปจุด....เจ้าของเทียนต้องตั้งจิตอธิษฐานในสิ่งที่ต้องการ เช่น โชคลาภ ได้ยศตำแหน่งขึ้น ของหายคืน เจ็บ ป่วยไข้หาย ฯลฯ...คลายทุกข์สู่สุข
ด้วยศรัทธา....มีจำนวนไม่น้อย ที่ขอบารมี แล้วจะประสบความสำเร็จตามต้องการ จึงเป็นข่าวฮือฮา จากปากต่อปากจนได้รับแรงศรัทธา
ด้วยแรงแห่ง เมตตาบารมี เมื่อทำสิ่งใด ศรัทธาก็โหมมาอย่างล้นหลามO O O
หลวง พ่อดวงคำ นอกจากจะขลังในอาคมแล้ว ยังเป็น สงฆ์นักพัฒนาและสืบสานประเพณีวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นประธานคณะทำงาน โครงการพัฒนาธรรมตามแนวพระราชดำริ
ช่วงปี...ฉลอง 80 พรรษา พระเจ้าอยู่หัว ได้สร้าง พระพุทธมหามงคล ถวายเป็นพระราชกุศล เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะสำริด ขนาดหน้าตัก 99 นิ้ว สูง 1.50 เมตร
...การ สร้างครั้งนี้ต้องใช้เม็ดเงินถึง 2.7 ล้านบาท แต่ ให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคคนละ 9 บาทเท่านั้น (ให้เหรียญ 10 ทอนคืน 1 บาท) ชั่วเพียง 1 พรรษา (3 เดือน) ก็ แล้วเสร็จ จ่ายเงินครบถ้วนโดยไม่ต้องใช้ งบประมาณวัดเลย
หลวงพ่อ 9 บาท ...หรือ พระพุทธมหามงคล เมื่อแล้วเสร็จจึงสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานO O Oวิหาร....ก็ได้รับแรงจากความสามัคคี ส่งพลัง ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการสร้างองค์พระฯพระพุทธมหามงคล หรือหลวงพ่อ 9 บาท ในวิหาร.
ซึ่ง...สามารถมองเห็นรูปธรรม ในการจงใจร่วมสร้างอย่างจริงจัง เพียง เข้าไปในวิหารแล้วแหงนมอง ขึ้นไปบนหลังคา กระเบื้องมุงแต่ละแผ่นจะมีรอยเขียนขีด ด้วยหมึก
เป็นการบ่งบอก ว่า.... 260,000 แผ่นที่มุงวิหาร แห่งนี้มีเจ้าของจองบุญ (ซื้อถวายวัด) กันหมดแล้ว นั่นคือ ความสำเร็จในศาสนสถานที่เกิดขึ้นท่ามกลางป่าดงไม้แดง ในอดีต
ด้วย...แรงแห่ง เมตตา บารมี สามัคคีคือพลัง...!!
ก้อง กังฟู
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ก้อง กังฟู
- 7 พฤศจิกายน 2553, 05:00 น.
เรื่องเด่น พลังศรัทธา..วัดป่าไม้แดง สร้างพระพุทธรูปด้วยเงิน 9 บาท
ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย titawan, 11 พฤศจิกายน 2010.
-
ผมเคยไปพักปฏิบัติธรรมที่วัดป่าไม้แดง สถานที่พักดีมากๆ และหลวงพ่อ
ดวงคำ ก็มีเมตตามากองค์หนึ่ง ช่วงเช้าก่อนเดินทางต่อ ท่านได้ให้ลูกศิษย์
และแม่ชี ช่วยจัดอาหารเช้าไว้ให้ผู้ที่มาพักด้วย ท่านจะสนทนากับญาติ
โยมแบบไม่ถือตัว ทำให้ผมและเพื่อนๆที่ได้ไปพักที่วัดในครั้งนั้น ยังคง
ประทับใจกับบรรยากาศและความเมตตาของหลวงพ่อ มาจนถึงทุกวันนี้
หากใครยังคิดไม่ออกว่าจะไปปฏิบัติธรรมที่ไหนในช่วงหนาวนี้ ผมขอแนะ
นำที่วัดป่าไม้แดงครับ :cool:
-
กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ
อนุโมทนาทั้งหมดทั้งมวล กับท่านเจ้าของกระทู้ด้วยค่ะ:cool: -
ขอให้ช่วยลงแผนที่ให้ด้วย เผื่อพุทธบริษัทที่มีจิตศรัทธาจะไปกราบหลวงพ่อ 9 บาท โดยเฉพาะผมไม่ชำนาญทาง ทางภาคเหนือ เคยไปมาครั้งเดียวในชีวิต ตอนไปวัดถ้ำเมืองนะ และพระพุทธบาทสี่รอย
-
เจอแต่ลิ้งค์ของวัด ยังไม่เจอแผนที่ เอาไปดูก่อนนะ
วัดป่าไม้แดง พระเจ้าพรหมมหาราช
อนุโมทนา สาธุ กับ จขกท ด้วยคะ
วัด ป่าไม้แดง เลขที่ ๑๑๙ บ้าน ป่าไม้แดง (พระเจ้าพรหมมหาราช) หมู่ที่ ๙ ถนนโชตนา ตำบลหนองบัว อำhttp://www.watpamaidang.com/prawat.htmlเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่
วัวัด ป่าไม้แดง เลขที่ ๑๑๙ บ้าน ป่าไม้แดง (พระเจ้าพรหมมหาราช) หมู่ที่ ๙ ถนนโชตนา ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ด ป่าไม้แดง เลขที่ ๑๑๙ บ้าน ป่าไม้แดง (พระเจ้าพรหมมหาราช) หมู่ที่ ๙ ถนนโชตนา ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่